วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 10:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้.
อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน
ธรรมชาตินี้.
นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้.
เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. เกวัฏฏ์ คฤหบดีบุตรมีใจชื่นชม เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.



ธรรมชาติที่รู้แจ้งไม่ใช่หมายถึงจิตนะครับ
ธรรมชาติที่รู้แจ้ง หมายถึง ธรรมชาติที่ควรรู้แจ้งคือพระนิพพาน


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 19 ก.ค. 2014, 19:05, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
อ้างคำพูด:
ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้.
อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน
ธรรมชาตินี้.
นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้.
เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. เกวัฏฏ์ คฤหบดีบุตรมีใจชื่นชม เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.



ธรรมชาติที่รู้แจ้งไม่ใช่หมายถึงจิตนะครับ
ธรรมชาติที่รู้แจ้ง หมายถึง ธรรมชาติที่ควรรู้แจ้งคือพระนิพพาน


ธรรมชาติที่รู้แจ้ง คือ วิญญาณธาตุ ถูกแล้วครับ
เป็นธรรมธาตุ บริสุทธิ์ครับ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ครับ

จิตนั้นประภัสสร ผุดผ่อง แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา คือจิตนั้นมีความไม่รู้อยู่
เมื่อจิตนั้นรู้แจ้ง แล้ว ย่อมไม่มีการมาการไป ไม่มีการเกิดการดับ
เมื่อกายแตกทำลายไป จิตนั้นจุติ แต่ไม่แต่งปฏิสนธิในภพไหนๆ
จิตนั้น เราไม่อาจจะกล่าวพูดหรือกล่าวด้วยโวหาร แล้วว่าอะไร เพราะ นิพพานแล้ว.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อมาจะเกิดปัญหาที่ว่า พระพุทธองค์นิพพาน แต่ยังมีชีวิตอยู่จิตมีการมาการไปหรือไม่

จิตที่รู้แจ้งนั้นเป็นธรรมธาตุที่บริสุทธิ์ เราๆ ท่านๆ ทุกคนก็มี
วิญญาณธาตุที่บริสุทธิ์นั้นตั้งอยู่ ไม่เกิดไม่ดับไม่มา ไม่ไปโดยปรกติอยู่แล้ว

สิ่งที่เกิดที่ดับ ที่มีการมาการไป คือจิตที่ไปรู้อารมณ์แล่นไปมาในอารมณ์ต่างๆ
ซึ่งรับรู้เอาอารมณ์นั้นและถูกการปรุงแต่งคิดนึกให้ชักนำท่องเที่ยวไปในโลก

ธรรมธาตุที่ไม่รู้นั้นจึงกระวนกระวายไปในอารมณ์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปตามอำนาจของอนุสัยความเคยชิน
ตามอำนาจของอวิชชา.

เมื่อธรรมธาตุนั้นรู้แจ้งผ่องใสไม่มีอุปกิเลส แต่ยังอาศัย อัตตภาพนี้ซึ่งยังไม่หมดอายุ. ธรรมธาตุนั้นจึงรับรู้เพียงเวทนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเกิดต้องดับ. แต่เวทนานั้นเป็นสิ่งดับเย็นไม่ก่อให้เกิดความกระวนกระวายอีกต่อไป.

การกระทำต่างๆ ที่ปรากฏทางกาย ทางวาจา จึงเป็นเพียงกิริยาแห่งธรรมธาตุนั้นที่ให้กายเป็นไปเท่านั้น.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
อ้างคำพูด:
ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้.
อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน
ธรรมชาตินี้.
นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้.
เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. เกวัฏฏ์ คฤหบดีบุตรมีใจชื่นชม เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.



ธรรมชาติที่รู้แจ้งไม่ใช่หมายถึงจิตนะครับ
ธรรมชาติที่รู้แจ้ง หมายถึง ธรรมชาติที่ควรรู้แจ้งคือพระนิพพาน



ยืนยันตามนี้ครับ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์หรือ/และไม่ใช่วิญญาณธาตุด้วย
ไม่ได้พูดให้เชื่อครับ แต่เพื่อให้พิจารณา จะได้ไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่ได้อ่านจนเข้าใจว่านิพพานเป็นจิต เพราะโดยความเป็นจริงนิพพานรู้แจ้งได้ด้วยโลกุตตรจิต เป็นคนละอย่างกัน

บางสำนวนไม่แปลว่าธรรมชาติที่รู้แจ้งเลยครับ แต่แปลว่าธรรมชาติที่ควรรู้แจ้ง
ในอรรถกถาก็แสดงไว้ว่าเป็นธรรมชาติที่ควรรู้แจ้งหมายถึงพระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 19:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งนั้น ที่เห็น ไม่อาจจะเรียกว่า จิต

และ ไม่อาจจะชี้ลงไปได้ ว่าไม่ใช่

ไม่ใช่ว่า เพราะมันเป็นอะไร เพราะมันไม่อาจจะหมายลงไปได้

....

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 20:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


คือ...มันเห็น
ความไม่มีสาระใดๆอีกแล้วที่จะหมายว่าอะไรน่ะ

ดังนั้น จิตก็ช่าง หรือ นิพพานก็ช่าง

เห็นแล้ว ไม่ว่านั่นจะเป็นอะไร

มันก็.........

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ยืนยันตามนี้ครับ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์หรือ/และไม่ใช่วิญญาณธาตุด้วย
ไม่ได้พูดให้เชื่อครับ แต่เพื่อให้พิจารณา จะได้ไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่ได้อ่านจนเข้าใจว่านิพพานเป็นจิต เพราะโดยความเป็นจริงนิพพานรู้แจ้งได้ด้วยโลกุตตรจิต เป็นคนละอย่างกัน

บางสำนวนไม่แปลว่าธรรมชาติที่รู้แจ้งเลยครับ แต่แปลว่าธรรมชาติที่ควรรู้แจ้ง
ในอรรถกถาก็แสดงไว้ว่าเป็นธรรมชาติที่ควรรู้แจ้งหมายถึงพระนิพพาน


นิพพานไม่ใช่จิต
แต่ธรรมชาติที่รู้แจ้ง คือจิต เป็นที่ดับของนามรูป
นามรูปดับ เพราะความดับแห่งวิญญาณ


Quote Tipitaka:
[๓๕๐] วิญญาณํ อนิทสฺสนํ อนนฺตํ สพฺพโต ปภํ
เอตฺถ อาโป จ ปฐวี จ เตโช วาโย น คาธติ
เอตฺถ ทีฆญฺจ รสฺสญฺสํจ อนน ถูลํ สุภาสุภํ
เอตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ อเสสํ อุปรุชฺฌติ
วิญฺญาณสฺส นิโรเธน เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌตีติ ฯ

[๓๕๐] ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้.
อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน
ธรรมชาตินี้.
นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้.
เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. เกวัฏฏ์ คฤหบดีบุตรมีใจชื่นชม เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.


อนิททสฺสนํ.....คือเห็นไม่ได้ ยกตัวอย่างให้ดูให้รู้ก็ไม่ได้

วิญญาณธาตุ ธาตุที่ 6 เมื่อไม่ประกอบกับธาตุใดๆ
ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่อย่างนั้น เมื่อขันธ์ทั้งหลายดับก็ไม่ก่อภพใดๆ
โลกกุตตรจิตใดๆ ก็ตาม น้อมไปสู่อมตะธาตุนั้น แน่นอน

eragon_joe เขียน:
สิ่งนั้น ที่เห็น ไม่อาจจะเรียกว่า จิต

และ ไม่อาจจะชี้ลงไปได้ ว่าไม่ใช่

ไม่ใช่ว่า เพราะมันเป็นอะไร เพราะมันไม่อาจจะหมายลงไปได้

....

:b1:


ที่ไม่อาจหมายลงไปได้ เพราะธรรมธาตุนั้น ไม่ก่อรูปก่อนามนั่นเองครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


"วิญฺญาณํ อนิทสฺสนํ
เอตฺถ ทีฆญฺจ รสฺสญฺจ
อตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ
วิญฺญาณสฺส นิโรเธน อนนฺตํ สพฺพโต ปภํ
อนุ ํ ถูลํ สุภาสุภํ
อเสสํ อุปรุชฺฌติ
เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ."
"ธรรมชาติที่พึงรู้แจ้ง มองด้วยตาไม่เห็น ไม่มีที่สุด สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, นามและรูปดับไปหมดไม่เหลือในธรรมชาตินี้, เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้." (ม.มู.12/554/596)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 01:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
"วิญฺญาณํ อนิทสฺสนํ
เอตฺถ ทีฆญฺจ รสฺสญฺจ
อตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ
วิญฺญาณสฺส นิโรเธน อนนฺตํ สพฺพโต ปภํ
อนุ ํ ถูลํ สุภาสุภํ
อเสสํ อุปรุชฺฌติ
เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ."
"ธรรมชาติที่พึงรู้แจ้ง มองด้วยตาไม่เห็น ไม่มีที่สุด สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, นามและรูปดับไปหมดไม่เหลือในธรรมชาตินี้, เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้." (ม.มู.12/554/596)

ม.มู.12/554/596
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=10134&Z=10286&pagebreak=0
บาลีเป็นดังนี้
วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ปวิยา
ปวิตฺเตน อนนุภูต อาปสฺส อาปตฺเตน.....

สำนวนแปล...
นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิ
ทัสสนะ (ไม่เห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ) เป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด หรือ หายไปจากความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อม) มีรัศมีในที่ทั้งปวง อันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ....

สำนวนแปล เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามความเห็นผู้แปล
แต่บาลี ไม่เปลี่ยนแปลง คือ

"วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด.....

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:
"วิญฺญาณํ อนิทสฺสนํ
เอตฺถ ทีฆญฺจ รสฺสญฺจ
อตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ
วิญฺญาณสฺส นิโรเธน อนนฺตํ สพฺพโต ปภํ
อนุ ํ ถูลํ สุภาสุภํ
อเสสํ อุปรุชฺฌติ
เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ."
"ธรรมชาติที่พึงรู้แจ้ง มองด้วยตาไม่เห็น ไม่มีที่สุด สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, นามและรูปดับไปหมดไม่เหลือในธรรมชาตินี้, เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้." (ม.มู.12/554/596)

ม.มู.12/554/596
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=10134&Z=10286&pagebreak=0
บาลีเป็นดังนี้
วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ปวิยา
ปวิตฺเตน อนนุภูต อาปสฺส อาปตฺเตน.....

สำนวนแปล...
นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิ
ทัสสนะ (ไม่เห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ) เป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด หรือ หายไปจากความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อม) มีรัศมีในที่ทั้งปวง อันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ....

สำนวนแปล เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามความเห็นผู้แปล
แต่บาลี ไม่เปลี่ยนแปลง คือ

"วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด.....




ถ้าตีความแบบนี้ "วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด

งั้นหมายถึง จิตนั้นเที่ยงสิ เช่นนั้น


ซึ่งเหมือนที่บางสำนัก ตีความว่า
“ทุกข์นี้ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น เป็นเพียงกระแสแห่ง การปรุงแต่งทางจิต”



วลัยพรไม่เชิงคัดค้าน สำนวนการแปล
ซึ่งผู้แปล แปลตามความรู้ของตน รู้แค่ไหน การตีความ จะออกมาลักษณะนั้น

จึงควรยึดพระธรรมคำสอน เป็นสิ่งที่ควรศึกษามากกว่า

ส่วนอรรกถาจารย์ จะแปลหรือตีความว่าอย่างไร
ให้ดูพระธรรมคำสอน เป็นหลัก แล้วนำมาเทียบเคียง

หากไม่ลงรอยกับพระธรรมคำสอน การตีความหรือคำแปลนั้นๆ ใช้ไม่ได้
แต่รู้ไว้เพื่อเป็นแนวทางว่า มีการตีความ หรือแปลออกมาแบบนี้ๆ


สิ่งที่สำคัญ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของผู้ศึกษาด้วย
รู้แค่ไหน ถึงจะนำพระธรรมคำสอนมาเทียบเคียง รู้แค่ไหน ย่อมตีความได้แค่นั้น
ทีนี้จะสร้างเหตุให้เกิดต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของผู้นั้นด้วย
ซึ่งเป็นการทำ พระสัทธรรม ให้เป็นสัทธรรมปฏิรูปไปด้วยความไม่รู้


วลัยพรก็เคยทำพลาดพลั้งมาแล้ว ใช้สำนวนตามที่ตนเข้าใจ เช่น
ปัจจุบัน ขณะ ปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์ ที่วลัยพรใช้ในการหมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน

เมื่อมารู้ว่า แท้จริงแล้ว สิ่งที่วลัยพรเคยขีดเขียนไปนั้น
มีอยู่ในพระธรรมคำสอน เป็นสิ่งที่เรียกว่า ธรรมปัจจุบัน
เป็นสภาพธรรม ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นของ ผัสสะ

ตั้งแต่นั้นมา เวลาที่วลัยพรจะนำพระธรรมคำสอน มาตีความ
จะระมัดระวัง ในการใช้ถ้อยคำ เพื่อเป็นการรักษาพระสัทธรรม

คือ คงสำนวนทั้งหมด ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เคยตรัสไว้
คงเนื้อความนั้นไว้ทั้งหมด

หากวลัยพร มีทิฏฐิอย่างไร
จะไม่นำไปสอดแทรกลงในพระธรรมคำสอน

ส่วนปัจจุบัน สำนวนการแปล หรือตีความ มักนิยมสอดแทรกลงไปในพระธรรมคำสอน
ล้วนเกิดจาก ความไม่รู้ที่มีอยู่ ของผู้กระทำ

พระไตรปิฎก ที่นำมาในแต่ละที่
เป็นพระธรรมคำสอน จากพระโอษฐ์ หรือ จากอัครสาวก ก็มี

และที่เป็นสำนวนการแปล หรือ ตีความ จากพระธรรมคำสอน
จากอรรถกถาจารย์อีกที ก็มีปรากฏอยู่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 20 ก.ค. 2014, 08:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานอันผู้บรรลุ

วิฺาณ
พึงรู้แจ้งได้

อนิทัสสนะ
ไม่เห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ

เป็นอนันตะ
ไม่มีที่สุด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 10:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับการปฏิบัติ ไม่ควรยึดมั่นในอะไรจนเกินพอดี

เพราะสิ่งที่ยึดนั้น แม้จะใช่หรือไม่ ถูกหรือผิด โดยที่สุดแล้ว มันก็ไม่อาจจะตั้งอยู่ได้เมื่อ...ประจักษ์ในสิ่งนั้น

เมื่อประจักษ์ในสิ่งนั้น ก็จะรู้เองว่ายังไงที่ลงรอย
มีเพียง การรู้แจ้ง นั่นล่ะ
ส่วนที่นอกไปจากนั้น ... มันก็ ตกไปเอง ละไปเอง ซึ่งมันก็ทั้งหมดนั่นล่ะ
ทั้งอะไร ๆ ที่เคยว่าใช่ และไม่ใช่ ที่เคยว่าถูก และผิด ทั้งหมด
คือ ถูก ก็อยู่ไม่ได้ ผิดก็อยู่ไม่ได้
อะไรที่มันเกิดปรากฎ และดับปรากฎ มันก็คือ มันไม่ต่างกัน

ตถตา ไม่ได้อยู่ที่คำ
ตถตา อยู่ที่ ตถตาตรัสรู้อะไร สิ่งที่ตรัสรู้
องค์ความรู้ที่ตรัสรู้นั้น จึงแสดงความเป็นแห่งตถตา

เห็นธรรม ย่อมเห็นตถาคต

ตถาคตเห็นได้ด้วย การรู้แจ้ง
และ การรู้แจ้งนั้น ก็จะเป็นใหญ่ในชีวิตเราต่อไป จนกว่ากายนี้จะดับสลายไปตามกาล

มันจะหมดข้อสงสัยในหลาย ๆ อย่าง

โดยเฉพาะกับคำถามประเภท พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ยังปรากฎให้เห็นได้อีกมั๊ย
:b1: ...ได้...แต่ให้เข้าใจว่า ที่เห็นนั่นไม่ใช่ตถาคต

ซึ่งมีพระสูตรในหนหลังมากมายที่ปรากฎ ที่กล่าวว่านั่นเป็นมารบ้าง เป็นพรหมบ้าง จำแลงกาย
...
นั่นคือภูมิปัญญานักปฏิบัติในกาลก่อน...ที่ซ่อนนัยยะแห่งสภาวะธรรมต่าง ๆ
ที่รอนักปฏิบัติได้เข้ามาศึกษา และค้นพบความจริงในนั้น
แต่...นักปฏิบัติบางครั้งจะตัดสินวาทะธรรมต่าง ๆ ลงด้วย ความเชื่อ

เชื่อเถอะ เมื่อชีวิตหันหน้าเข้ามาสนใจศึกษาปฏิบัติธรรมแล้ว
มันคุ้มค่าที่จะใส่ใจปฏิบัติตนให้เป็นคนดีอยู่ได้ตามคำสอนพุทธองค์
...

:b1: :b1: :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 20 ก.ค. 2014, 10:43, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 10:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
อ้างคำพูด:
"วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด.....


ถ้าตีความแบบนี้ "วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด

งั้นหมายถึง จิตนั้นเที่ยงสิ เช่นนั้น



การพิจารณาเห็น จิตที่ประภัสสระ
ไม่ใช่แบบเดียวกับการนั่นพิจารณา กระป๋องนมตราหมี ที่อยู่ตรงหน้านะ
ที่เราจะต้องเข้าไปตามรู้ว่า มันจะสลายไปตามกาลเมื่อไร อย่างไร
ที่เราจะหมายเอาค้อนมาทุบเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสิ้นสุดของมันได้
แล้วชี้บอกออกมาได้ว่า มันเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง อย่างไร

เพราะสิ่งที่ดับก่อน มันก็จะดับไป

ซึ่งสิ่งที่ดับที่หลัง ยังไม่ดับ จะหมายว่า เที่ยง ก็ไม่ใช่
มันเป็น เรื่องที่ พ้นไปจากภาษาที่จะใช้มาอธิบายได้

สำหรับธรรมที่พระพุทธองค์สอน
สิ่งที่เป็นปัญญาก็ได้จากการพิจารณาเห็นผลจากสิ่งที่ดับไปแล้วนั่นล่ะ

จนกว่าจะดับจนไม่เหลืออะไรที่จะดับแล้ว นั่นล่ะ
พระพุทธองค์ก็่ว่า นั่นล่ะ คือรู้หมดแล้ว จะมีอะไรที่ต้องรู้ไปกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ถ้าตีความแบบนี้ "วิญฺญาญํ อนิทสฺสนํ อนนฺตํ สพฺพโตปภํ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด

งั้นหมายถึง จิตนั้นเที่ยงสิ เช่นนั้น

จิตที่ประภัสสรนั้นเที่ยง

จิตที่ผัสสะ ก็ไม่เที่ยง มีความเกิดมีความดับ มีการมาการไป.
จิตที่ปรุงแต่ง เพราะผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัย ก็ไม่เที่ยง มีความเกิดความดับ

จิตประภัสสรนั้นนั่นเองตั้งอยู่ ไม่เกิดไม่ดับ ที่รู้ผัสสะ รู้การปรุงแต่ง โดยปราศจากการปรุงแต่งใดๆ .

ไม่เที่ยง เพราะแปรปรวน ไปตามเหตุตามปัจจัย
เหตุปัจจัยอันไม่อาศัยแล้ว ปรุงแต่งไม่ได้นั้น เที่ยง.

ธรรมธาตุ ที่ "รู้" นั้น ไม่แบ่งแยกดีชั่ว ว่าจะรู้แต่ดี หรือรู้แต่ชั่ว
ไม่แบ่งแยกกุศลหรืออกุศล ว่า รู้แต่กุศล หรือรู้แต่อกุศล
ไม่แบ่งแยกที่จะเลือกผัสสะ

แต่เมื่อ ธรรมธาตุ ที่ "รู้" นั้น ไปก่ออุปธิขึ้นมา. ไปหลงก่ออัตตสัญญา หลงยึดอัตตสัญญาขึ้นมา
ธรรมธาตุที่ "รู้"นั้น จึงต้องไปตามกระแสแห่งการปรุงแต่งอันไม่มีที่สุด ตราบเท่าที่ยังมีเหตุปัจจัย.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

วลัยพรก็เคยทำพลาดพลั้งมาแล้ว ใช้สำนวนตามที่ตนเข้าใจ เช่น
ปัจจุบัน ขณะ ปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์ ที่วลัยพรใช้ในการหมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน

เมื่อมารู้ว่า แท้จริงแล้ว สิ่งที่วลัยพรเคยขีดเขียนไปนั้น
มีอยู่ในพระธรรมคำสอน เป็นสิ่งที่เรียกว่า ธรรมปัจจุบัน
เป็นสภาพธรรม ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นของ ผัสสะ



:b8: :b8: :b8:

มีความสับสนทางคำแปล อย่างไร. ดูที่บาลี.
สอบสวนจากนักธรรม.
ปฏิบัติตามพุทธภาษิต ... :b8:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร