วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณ ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้,

ญาณ ๓ หมวดหนึ่ง ได้แก่

๑. อตีตังสญาณ ญาณในส่วนอดีต

๒. อนาคตังสญาณ ญาณในส่วนอนาคต

๓. ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณในส่วนปัจจุบัน,


อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่

๑. สัจจญาณ หยั่งรู้อริยสัจจ์แต่ละอย่าง

๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจจ์

๓. กตญาณ หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจจ์


อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ วิชชา ๓

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณจริต คนที่มีพื้นนิสัยหนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ (เป็นอีกชื่อหนึ่งของพุทธิจริต)


ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณหรือเห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุด หมายถึงวิปัสสนาญาณ นอกนั้นในที่หลายแห่ง หมายถึง ทิพพจักขุญาณ บ้าง มรรคญาณ บ้าง และในบางกรณี หมายถึง ผลญาณ บ้าง ปัจจเวกขณญาณ บ้าง สัพพัญญุตญาณ บ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ


ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ ได้แก่ ญาณในอริยมรรค ๔


ญาณวิปปยุต ปราศจากญาณ, ไม่ประกอบด้วยปัญญา, ปราศจากปรีชาหยั่งรู้ , ขาดความรู้


ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ (ข้อ ๓ ในสังวร ๕)


ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก คือ กำหนดรู้สิ่งนั้นๆ ตามลักษณะที่เป็นสภาวะของมันเอง พอให้แยกออกจากสิ่งอื่นๆ ได้ เช่น รู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ดังนี้ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในปริญญา ๓)


ญายะ, ญายธรรม ความถูกต้องชอบธรรม, ความยุติธรรม, สิ่งที่สมเหตุผล, ทางที่ถูก, วิธีการที่ถูกต้อง, ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง อริยมอัฏฐังคิกมรรค, ภาวะอันจะลุถึงได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ นิพพาน


ญายปฏิปนฺโน (พระสงฆ์) เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง หรือปฏิบัติเป็นธรรม คือปฏิบัติปฏิปทาที่จะให้เกิดความรู้ หรือปฏิบัติเพื่อได้ความรู้ธรรม ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ อีกนัยหนึ่งว่า ปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ ถือความถูกต้องเป็นประมาณ (ข้อ ๓ ในสังฆคุณ ๙)


ไญยธรรม ธรรมอันควรรู้, สิ่งที่ควรรู้ควรเข้าใจ, เญยธรรม ก็เขียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือ มรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่าง, ญาณ ๑๖ นี้ มิใช่เป็นหมวดธรรมที่มาครบชุดในพระบาลีเดิมโดยตรง แต่พระอาจารย์ปางก่อนได้ประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ และวิทสุทธิมัคค์ แล้วสอนสืบกันมา บางทีเรียกให้เป็นชื่อชุดเลียนคำบาลีว่า "โสฬสญาณ" หรือเรียกกึ่งไทยว่า "ญาณโสฬส" ทั้งนี้
ท่านตั้ง วิปัสสนาญาณ ๙ เป็นหลักอยู่ตรงกลาง แล้วเติมญาณขั้นต่างๆ ทียังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ เพิ่มเข้าก่อนข้างหน้า และเติมญาณขั้นสูงที่เลยวิปัสสนาญาณไปแล้ว เข้ามาต่อท้ายด้วย ให้เห็นกระบวนการปฏิบัติตลอดแต่ต้นจนจบ จึงเป็นความปรารถนาดีที่เกื้อกูลแก่การศึกษาไม่น้อย

ญาณ ๑๖ นั้น ดังนี้ (ในที่นี้ จัดแยกให้เห็นเป็น ๓ ช่วง เพื่อความสะดวกในการศึกษา) คือ


ก) ก่อนวิปัสสนาญาณ: ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป (นามรูปปริคคหญาณ หรือสังขารปริจเฉทญาณ ก็เรียก)

๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแหงนามรูป (บางทีเรียก กังขารวิตรณญาณ หรือ ธัมมัฏฐิติญาณ)

๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์


ข) วิปัสสนาญาณ ๙ : ๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและดับแห่งนามรูป


๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นเฉพาะความดับเด่นชัดขึ้นมา ๖. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว

๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ ๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย

๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย ๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง

๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร ๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์


ค) เหนือวิปัสสนาญาณ: ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน ๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน



อนึ่ง คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ถือต่างจากที่กล่าวมานี้บ้าง โดยจัดญาณที่ ๓ (สัมมสนญาณ) เป็นวิปัสสนาญาณด้วย จึงเป็นวิปัสสนาญาณ ๑๐ อีกทั้งเรียกชื่อญาณหลายข้อให้สั้นลง เป็น ๔. อุทยัพพยญาณ ๕. ภังคญาณ ๖ ภยญาณ ๗. อาทีนวญาณ ๘. นิพพิทาญาณ ๑๐. ปฏิสังขาญาณ ๑๒. อนุโลมญาณ (นอกนั้นเหมือนกัน) ทั้งนี้ พึงทราบเพื่อไม่สับสน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อควรทราบพิเศษว่า

เมื่อผู้ปฏิบัติก้าวหน้ามาจนเกิดวิปัสสนาญาณข้อแรก คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าได้ตรุณ

วิปัสสนา (วิปัสสนาอ่อนๆ) และในตอนนี้ วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้น ชวนให้สำคัญผิดว่าถึงจุด

หมาย แต่เมื่อรู้เท่าทัน กำหนดแยกได้ว่าอะไรเป็นทางอะไรมิใช่ทาง ก็จะผ่านพ้นไปได้ อุทยัพ

พยานุปัสสนาญาณนั้น ก็จะพัฒนาเป็นมัคคามัคคญาณ
เข้าถึงวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์ที่สำคัญขั้น

หนึ่ง เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ (วิสุทธิข้อที่ ๕) อุทยัพพยญาณ ที่ก้าวมาถึงตอนนี้

คือ เป็นวิปัสสนาญาณที่เดินถูกทาง ผ่านพ้นวิปัสสนุปกิเลสมาได้แล้ว ได้ชื่อว่าเป็นพลววิปัสสนา

(วิปัสสนาที่มีกำลัง หรือแข็งกล้า) ซึ่งจะเดินหน้าเป็นวิปัสสนาญาณที่สูงขึ้นต่อๆไป


บางที ท่านกล่าวถึงตรุณวิปัสสนา และพลววิปัสสนา โดยแยกเป็นช่วง ซึ่งกำหนดด้วยญาณต่างๆ คือ ระบุว่า (ช่วงของ) ญาณ ๔ คือ สังขารปริจเฉทญาณ กังขารวิตรณญาณ สัมมสนญาณ มัคคามัคคญาณ เป็นตรุณวิปัสสนา และ (ช่วงของ) ญาณ ๔ คือ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ และสังขารุเปกขาญาณ เป็นพลววิปัสสนา

ในญาณ ๑๖ นี้ ข้อ ๑๔ และ ๑๕ (มัคคญาณ และผลญาณ) เท่านั้น เป็นโลกุตรญาณ อีก ๑๔ อย่างนอกนั้น เป็นโลกียญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อสังเกตที่สำคัญ คือ วิปัสสนูปกิเลส

ไม่เกิดขึ้นแก่ท่านที่บรรลุมรรคผลแล้ว ๑

ไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ปฏิบัติผิดทาง ๑ และ

ไม่เกิดขึ้นแก่คนขี้เกียจผู้ทอดทิ้งกรรมฐาน ๑

แต่เกิดขึ้นเฉพาะ แก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาอย่างถูกต้องเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ข้อสังเกตที่สำคัญ คือ วิปัสสนูปกิเลส

ไม่เกิดขึ้นแก่ท่านที่บรรลุมรรคผลแล้ว ๑

ไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ปฏิบัติผิดทาง ๑ และ

ไม่เกิดขึ้นแก่คนขี้เกียจผู้ทอดทิ้งกรรมฐาน ๑

แต่เกิดขึ้นเฉพาะ แก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาอย่างถูกต้องเท่านั้น

วิปัสสนาอย่างถูกต้องเป็นยังไง ถึงเกิดวิปัสสนูปกิเลสได้ กรัชกาย :b4: :b4: :b4: :b17: :b17: :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ข้อสังเกตที่สำคัญ คือ วิปัสสนูปกิเลส

ไม่เกิดขึ้นแก่ท่านที่บรรลุมรรคผลแล้ว ๑

ไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ปฏิบัติผิดทาง ๑ และ

ไม่เกิดขึ้นแก่คนขี้เกียจผู้ทอดทิ้งกรรมฐาน ๑

แต่เกิดขึ้นเฉพาะ แก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาอย่างถูกต้องเท่านั้น

วิปัสสนาอย่างถูกต้องเป็นยังไง ถึงเกิดวิปัสสนูปกิเลสได้ กรัชกาย


พูดไปก็ไม่เข้าใจ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ข้อสังเกตที่สำคัญ คือ วิปัสสนูปกิเลส

ไม่เกิดขึ้นแก่ท่านที่บรรลุมรรคผลแล้ว ๑

ไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ปฏิบัติผิดทาง ๑ และ

ไม่เกิดขึ้นแก่คนขี้เกียจผู้ทอดทิ้งกรรมฐาน ๑

แต่เกิดขึ้นเฉพาะ แก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาอย่างถูกต้องเท่านั้น

วิปัสสนาอย่างถูกต้องเป็นยังไง ถึงเกิดวิปัสสนูปกิเลสได้ กรัชกาย


พูดไปก็ไม่เข้าใจ คิกๆๆ

กรัชกาย มั่วไปวันๆ 5555

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ข้อสังเกตที่สำคัญ คือ วิปัสสนูปกิเลส

ไม่เกิดขึ้นแก่ท่านที่บรรลุมรรคผลแล้ว ๑

ไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ปฏิบัติผิดทาง ๑ และ

ไม่เกิดขึ้นแก่คนขี้เกียจผู้ทอดทิ้งกรรมฐาน ๑

แต่เกิดขึ้นเฉพาะ แก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาอย่างถูกต้องเท่านั้น

วิปัสสนาอย่างถูกต้องเป็นยังไง ถึงเกิดวิปัสสนูปกิเลสได้ กรัชกาย


พูดไปก็ไม่เข้าใจ คิกๆๆ

กรัชกาย มั่วไปวันๆ 5555


"ธัมมุทธัจจ์" ความฟุ้งซ่านธรรม อรรถกถาเรียก "วิปัสสนูปกิเลส" บอกยังงี้พอจะเข้าใจไหม :b32:

ซ้ำให้อีกที

ในพระไตรปิฎก เรียกอาการฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิด เอาโอภาส เป็นต้น นั้นเป็นมรรคผลนิพพาน ว่า "ธัมมุทธัจจะ" (ธรรมุธัจจ์ ก็เขียน) แต่ท่านระบุชื่อโอภาส เป็นต้น นั้น ทีละอย่าง โดยไม่่มีชื่อเรียกรวม, "วิปัสสนูปกิเลส" เป็นคำที่ใช้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา (พูดสั้นๆ ธรรมุธัจจ์ ก็ คือ ความฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิดต่อวิปัสสนูปกิเลส)


เมื่่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาน้อย จะฟุ้งซ่านเขวไป และเกิดกิเลสอื่นๆ ตามมาด้วย, ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาปานกลาง ก็ฟุงซ่านไป แม้จะไม่เกิดกิเลสอื่นๆ แต่จะสำคัญผิด, ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้า ถึงจะฟุ้งซ่านเขวไป แต่จะละความสำคัญผิดได้ และเจริญวิปัสสนาต่อไป, ส่วนผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้ามาก จะฟุ้งไม่ซ่านเขวไปเลย แต่จะเจริญวิปัสสนาก้าวต่อไป


วิธีปฏิบัติต่อเรื่องนี้ คือ เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงรู้เท่าทันด้วยปัญญาตามเป็นจริงว่า สภาวะนี้ (เช่นว่า โอภาส) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดมีขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วก็จะต้องดับสิ้นไป ฯลฯ เมื่อรู้เท่าทัน ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ฟุ้งไปตามมัน คือกำหนดได้ว่ามันไม่ใช่มรรคไม่ใช่ทาง แต่วิปัสสนาที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ ซึ่งดำเนินไปตามวิถีนั่นแหละเป็นมรรคเป็นทางที่ถูกต้อง

นี่คือเป็นญาณที่รู้แยกได้ว่ามรรค และมิใช่มรรค นับเป็นวิสุทธิข้อที่ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนาวิสุทธิ

วิปัสสนาตั้งแต่ญาณเริ่มแรก (คือ นามรูปปริจเฉทญาณ) จนถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้ ท่านจัดเป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา) ส่วนวิปัสสนาตั้งแต่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปแล้ว (จนถึงสังขารุเปกขาญาณ) จัดเป็นวิปัสสนาที่มีกำลัง ที่แรงกล้า หรืออย่างเข้ม (พลววิปัสสนา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
"ธัมมุทธัจจ์" ความฟุ้งซ่านธรรม อรรถกถาเรียก "วิปัสสนูปกิเลส" บอกยังงี้พอจะเข้าใจไหม :b32:

5555 เก่งแต่คำแปล
อ้างคำพูด:
"แต่เกิดขึ้นเฉพาะ แก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาอย่างถูกต้องเท่านั้น"


หาสาระอะไรไม่ได้เล๊ยกรัชกาย

อธิบายมาชัดๆ ซิ อย่างถูกต้องอย่างไร จึงเกิด ธัมมุทธัจจ์ ได้ :b32: :b32: :b32:

อย่าไปก๊อปแปะมาซะล่ะ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

ซ้ำให้อีกที

ในพระไตรปิฎก เรียกอาการฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิด เอาโอภาส เป็นต้น นั้นเป็นมรรคผลนิพพาน ว่า "ธัมมุทธัจจะ" (ธรรมุธัจจ์ ก็เขียน) แต่ท่านระบุชื่อโอภาส เป็นต้น นั้น ทีละอย่าง โดยไม่่มีชื่อเรียกรวม, "วิปัสสนูปกิเลส" เป็นคำที่ใช้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา (พูดสั้นๆ ธรรมุธัจจ์ ก็ คือ ความฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิดต่อวิปัสสนูปกิเลส)


เมื่่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาน้อย จะฟุ้งซ่านเขวไป และเกิดกิเลสอื่นๆ ตามมาด้วย, ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาปานกลาง ก็ฟุงซ่านไป แม้จะไม่เกิดกิเลสอื่นๆ แต่จะสำคัญผิด, ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้า ถึงจะฟุ้งซ่านเขวไป แต่จะละความสำคัญผิดได้ และเจริญวิปัสสนาต่อไป, ส่วนผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้ามาก จะฟุ้งไม่ซ่านเขวไปเลย แต่จะเจริญวิปัสสนาก้าวต่อไป


วิธีปฏิบัติต่อเรื่องนี้ คือ เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงรู้เท่าทันด้วยปัญญาตามเป็นจริงว่า สภาวะนี้ (เช่นว่า โอภาส) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดมีขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วก็จะต้องดับสิ้นไป ฯลฯ เมื่อรู้เท่าทัน ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ฟุ้งไปตามมัน คือกำหนดได้ว่ามันไม่ใช่มรรคไม่ใช่ทาง แต่วิปัสสนาที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ ซึ่งดำเนินไปตามวิถีนั่นแหละเป็นมรรคเป็นทางที่ถูกต้อง

นี่คือเป็นญาณที่รู้แยกได้ว่ามรรค และมิใช่มรรค นับเป็นวิสุทธิข้อที่ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนาวิสุทธิ

วิปัสสนาตั้งแต่ญาณเริ่มแรก (คือ นามรูปปริจเฉทญาณ) จนถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้ ท่านจัดเป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา) ส่วนวิปัสสนาตั้งแต่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปแล้ว (จนถึงสังขารุเปกขาญาณ) จัดเป็นวิปัสสนาที่มีกำลัง ที่แรงกล้า หรืออย่างเข้ม (พลววิปัสสนา)

ยิ่งซ้ำยิ่งเห็นความเละเทะ ในการสรุป "อย่างถูกต้องเท่านั้น" :b17: :b17: :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
"ธัมมุทธัจจ์" ความฟุ้งซ่านธรรม อรรถกถาเรียก "วิปัสสนูปกิเลส" บอกยังงี้พอจะเข้าใจไหม :b32:

5555 เก่งแต่คำแปล
อ้างคำพูด:
"แต่เกิดขึ้นเฉพาะ แก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาอย่างถูกต้องเท่านั้น"


หาสาระอะไรไม่ได้เล๊ยกรัชกาย

อธิบายมาชัดๆ ซิ อย่างถูกต้องอย่างไร จึงเกิด ธัมมุทธัจจ์ ได้ :b32: :b32: :b32:

อย่าไปก๊อปแปะมาซะล่ะ



ก็บอกแล้วไงว่า บอกไปก็ไม่เข้าใจ เพราะอะไร ? เพราะวิธีที่เช่นนั้นคิดแล้วทำนั่นน่าไปไม่ถึงตรงนี้ เมื่อไปไม่ถึง ต่อให้พูดให้อธิบายจนกล่องเสียงอักเสบ ผู้ฟังก็คิดไม่ถึง เข้าทำนองอารมณ์เต่า กับ ปลา :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
"ธัมมุทธัจจ์" ความฟุ้งซ่านธรรม อรรถกถาเรียก "วิปัสสนูปกิเลส" บอกยังงี้พอจะเข้าใจไหม :b32:

5555 เก่งแต่คำแปล
อ้างคำพูด:
"แต่เกิดขึ้นเฉพาะ แก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาอย่างถูกต้องเท่านั้น"


หาสาระอะไรไม่ได้เล๊ยกรัชกาย

อธิบายมาชัดๆ ซิ อย่างถูกต้องอย่างไร จึงเกิด ธัมมุทธัจจ์ ได้ :b32: :b32: :b32:

อย่าไปก๊อปแปะมาซะล่ะ



ก็บอกแล้วไงว่า บอกไปก็ไม่เข้าใจ เพราะอะไร ? เพราะวิธีที่เช่นนั้นคิดแล้วทำนั่นน่าไปไม่ถึงตรงนี้ เมื่อไปไม่ถึง ต่อให้พูดให้อธิบายจนกล่องเสียงอักเสบ ผู้ฟังก็คิดไม่ถึง เข้าทำนองอารมณ์เต่า กับ ปลา :b32:

ไปไม่เป็นก็บอกมาน่ะกรัชกาย
เก่งแต่ก๊อปแปะ แต่ไม่รู้ว่าไอ้ที่ก๊อปแปะ ผิดหรือถูก
เพราะ กรัชกาย มันโบ๋เบ๋
:b17: :b17: :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:




ไปไม่เป็นก็บอกมาน่ะกรัชกาย
เก่งแต่ก๊อปแปะ แต่ไม่รู้ว่าไอ้ที่ก๊อปแปะ ผิดหรือถูก
เพราะ กรัชกาย มันโบ๋เบ๋



เช่นนั้น พอนึกถึงสภาพจิต ผช.นี้ออกไหม

แฟนเป็นคนที่เสเพลมาก กินเหล้า แบบว่าไม่ได้เรื่องน่ะค่ะ
แต่มีหมอดูหลายท่านทักว่าถ้าแฟนได้ศึกษาธรรมะอย่างจริงจังจะบวชไม่สึกตลอดชีวิต
ตอนแรกดิฉันคบกับแฟนก็ไม่ทราบหรอกนะคะว่ามีหมอดูเคยทักไว้กับพ่อแม่แฟน

ดิฉันเป็นคนชอบทำบุญทำทาน นั่งสมาธิและสวดมนต์ แฟน ก็ทำตามดิฉันเพราะดิฉันบังคับแรกๆเมื่อไม่กี่วันนี้พาแฟนไปนั่งสมาธิมา (แบบยุบหนอพองหนอ) แค่ไม่กี่ชั่วโมง แฟนดิฉันก็ผิดปกติไปค่ะ

เค้าตื่นมาจากสมาธิ เค้าถามดิฉันว่า รู้สึกถึงลมหายใจที่ชัดเห็นเค้ารู้สึกว่าส่วนท้องเค้ามันยุบลงไปแค่ไหนอย่างไรเวลาหายใจเข้าออก เวลาเดินจงกรม เค้ารู้สึกถึงเท้าที่ย่ำลงพื้นว่าส่วนไหนที่กระทบพื้นชัดเจน

เค้าถามดิฉันว่ามันคืออะไร ดิฉันได้แต่นั่ง ไม่เคยเป็นแบบนี้เลยค่ะ

กลับมาจากวัดเค้าพูดว่า เค้าสดชื่น จับพวงมาลัยรถรู้ว่า มือเค้าจับพวงมาลัย รู้สึกชัดเจนมากๆ มีสติ
เค้าบอกเค้าเข้าใจถึงคำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานว่ามันมีจริงๆ เหมือนคนใส่เเว่นมัวๆมาแล้วเช็ดจนมันใสชัดเจน

เค้าพูดแต่เรื่องนั่งสมาธิ กลับมาเค้าไม่ดื่มเหล้า สวดมนต์ นั่งสมาธิ ยิ้ม ใจเย็นและดูจะอิ่มบุญมากมาหลายวันแล้วค่ะ

ดิฉันดีใจค่ะที่เค้าเป็นแบบนี้ เค้าบอกเค้ากลัวที่ไปสูบบุหรี่ หรือ กินเหล้าอีกความรู้สึกแบบนี้จะหายไป
เค้ากำลังเข้าถึงสมาธิใช่ไหมคะ ดิฉันจะพาเค้าไปนั่งบ่อยๆเค้าจะได้เป็นคนดี

ดิฉันอยากนั่งได้แบบเค้าจังเลยค่ะ ทำมาตั้งนานก็ยังไม่เป็นเหมือนเค้า เค้านั่งแป๊บเดียวเองไม่เคยสนใจเรื่องนี้ด้วย
มันน่าน้อยใจนัก!!

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:




ไปไม่เป็นก็บอกมาน่ะกรัชกาย
เก่งแต่ก๊อปแปะ แต่ไม่รู้ว่าไอ้ที่ก๊อปแปะ ผิดหรือถูก
เพราะ กรัชกาย มันโบ๋เบ๋



เช่นนั้น พอนึกถึงสภาพจิต ผช.นี้ออกไหม

อย่ามานอกเรื่อง :b17: :b17: :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร