วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 14:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอดีไปได้ยินมาว่าเมื่อคืน คือ คืนกาฬปักษ์ ดาวอังคาร และราหูเล็งดวงเมือง คนไหนที่จิตอ่อนไม่มีอำนาจพระปริตรคุ้มครองจะฝันร้าย

เลยสงสัยว่าคืออะไร เซิจหาก็ไม่เจอคำอธิบาย หรืออะไรที่จะทำให้เข้าใจ เจอแต่เป็นคืนที่เหมาะแก่การทำคุณไสย

สรุปแล้วว่า คืนกาฬปักษ์ คืออะไรคืนไหนบ้างค่ะ ใครทราบช่วยอธิบายหน่อย ขอบคุณมากนะคะ

http://pantip.com/topic/32325829

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กัณหปักข์, กัณหปักษ์ (ฝ่ายดำ) หมายถึงข้างแรม, กาฬปักษ์ ก็เรียก, ตรงข้ามกับ ชุณหปักษ์ หรือ ศุกลปักษ์ (ฝ่ายขาว) ข้างขึ้น


ดาวพระเคราะห์ ในทางโหราศาสตร์ หมายถึงดาวทั้ง ๙ ที่เรียกว่า นพเคราะห์ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ, แต่ในทางดาราศาสตร์เรียก ดาวเคราะห์ หมายถึง ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์มี ๙ ดวง คือ พุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัสบดี เสาร์ มฤตยู (ยูเรนัส) เกตุหรือพระสมุทร์ (เนปจูน) พระยม (พลูโต)


ดูกร, ดูก่อน คำเอ่ยเรียกให้เตรียมตัวฟังความที่จะพูดต่อไป, "แน่ะ" หรือ "ดูรา" ก็ใช้บ้าง


ดวงตาเห็นธรรม แปลจากคำว่า ธรรมจักษุ หมายถึงความรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา

ได้รับสมมติ ได้รับมติเห็นชอบร่วมกันในที่ประชุมสงฆ์ตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่หรือทำกิจที่สงฆ์มอบหมาย อย่างใดอย่างหนึ่ง


ดับไม่มีเชื้อ ดับหมด คือดับทั้งกิเลสทั้งขันธ์ (= อนุปาทิเสสนิพพาน)


ดาบส ผู้บำเพ็ญตบะ, ผู้เผากิเลส


ดาวดึงส์ สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีจอมเทพผู้ปกครองชื่อท้าวสักกะ ซึ่งโดยทั่วไปเรียกกันว่าพระอินทร์, อรรถกถาอธิบายความหมายของ "ดาวดึงส์" ว่า คือ "แดนที่คน ๓๓ คนผู้ทำบุญร่วมกันได้อุบัติ" (จำนวน ๓๓ บาลีว่า เตตฺตึส, เขียนตามรูปสันสกฤต เป็น ตรัยตรึงศ์ หรือ เพี้ยนเป็น ไตรตรึงษ์ ซึ่งในภาษาไทยก็ใช้เป็นคำเรียกดาวดึงส์นี้ด้วย)

ดังมีตำนานว่า ครั้งหนึ่ง ที่มจลคาม ในมคธรัฐ มีนักบำเพ็ญประโยชน์คณะหนึ่ง จำนวน ๓๓ คน นำโดยมฆมาณพ ได้ร่วมกันทำบุญต่าง่ๆ เช่น ทำถนน สร้างสะพาน ขุดบ่อน้ำ ปลูกสวนป่า สร้างศาลาที่พักคนเดินทาง ให้แก่ชุมชน และทำทาน ชวนชาวบ้านตั้งอยู่ในศีล และทำความดีทั้งหลาย เฉพาะอย่างยิ่งตัวมฆมาณพเอง ยังรักษาข้อปฏิบัติพิเศษ ที่เรียกว่า วัตรบท ๗ อีกด้วย ครั้นตายไป ทั้ง ๓๓ คน ก็ได้เกิดในสวรรค์ที่เรียกชื่อว่าดาวดึงส์นี้ โดยมฆมาณพได้เป็นท้าวสักกะ คือ พระอินทร์ ดังที่พระอินทร์นั้น มีนามหนึ่งว่า "มฆวา" (ในภาษาไทย เขียน มฆวัน มัฆวา หรือ มัฆวาน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พอดีไปได้ยินมาว่าเมื่อคืน คือ คืนกาฬปักษ์ ดาวอังคาร และราหูเล็งดวงเมือง คนไหนที่จิตอ่อนไม่มีอำนาจพระปริตรคุ้มครองจะฝันร้าย

เลยสงสัยว่าคืออะไร เซิจหาก็ไม่เจอคำอธิบาย หรืออะไรที่จะทำให้เข้าใจ เจอแต่เป็นคืนที่เหมาะแก่การทำคุณไสย


กาฬปักษ์ หมายถึง ข้างแรม ดาวอังคาร ราหู เป็นชื่อสองในเก้าของดาวนพเคราะห์

โหร,หมอดู ก็อาศัยการโคจรของดวงดาวเหล่านี้แหละทำนายทายทักดวงเมือง ชะตาราศรีผู้คน ดาวนี้เล็งกับดาวนั่น ระยะนี้ดวงเมือง/ดวงคน จะเป็นยังงี้ๆ ปีนี้ชงกับปีนั้น นายกคนต่อไป มีอักษรย่อ ก ข ค ป จ ว่าไป นี่คือวิธีของโหร ซึ่งทำให้คนร้อนรนไปหาแล้วสบายใจ บางทีก็เล่นเอาลำบากใจ (หมดเงินไปหลาย) คิกๆๆ

เขาพูดถึงพระปริตรด้วย ดูความหมายปริตรกันหน่อยก่อน


ปริตต์, ปริตร ๑. (ปะ-ริด) น้อย, เล็กน้อย, นิดหน่อย, ต่ำต้อย, ด้อย, คับแคบ, ไม่สำคัญ (ตรงข้ามกับ) มหา หรือมหันต์

๒. ปริตต์, ปริตร (ปะ-ริด) สภาวะที่ด้อย หรือคับแคบ หมายถึงธรรมที่เป็นกามาวจร, พึงทราบว่า ธรรมทั้งปวง หรือสิ่งทั้งหลายประดามีนั้น นัยหนึ่งประมวลจัดแยกได้ เป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ปริตตะ (ธรรมที่ด้อยหรือคับแคบ คือ เป็นกามาวจร) มหัคคตะ หรือมหรคต (ธรรมที่ถึงความยิ่งใหญ่ คือเป็นรูปาวจร หรืออรูปาวจร) และ อัปปมาณะ (ธรรมที่ประมาณมิได้ คือ เป็นโลกุตระ)

๓. ปริตต์, ปริตร (ปะ-ริด) "เครื่องคุ้มครองป้องกัน" บทสวดที่นับถือเป็นพุทธมนต์ คือ บาลีภาษิตดั้งเดิมในพระไตรปิฎก ซึ่งได้ยกมาจัดไว้เป็นพวกหนึ่งในฐานะเป็นคำขลัง หรือคำศักดิ์สิทธิ์ ที่มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันช่วยให้พ้นจากภยันตราย และเป็นสิริมงคลทำให้เกษมสวัสดีมีความสุขความเจริญ

(ในยุคหลังมีการเรียบเรียงปริตรเพิ่มขึ้นมานอกเหนือจากบาลีภาษิตในพระไตรปิฎกบ้าง พึงทราบตามคำอธิบายต่อไป และพึงแยกว่า บทสวดที่มักสวดเพิ่ม หรือพ่วงกับพระปริตรในพิธี หรือในโอกาสเดียวกัน มีอีกมาก มิใช่มาจากพระไตรปิฎก แต่เป็นของนิพนธ์ขึ้นภายหลัง ไม่ใช่พระปริตรแต่เป็นบทสวดประกอบ โดยสวดนำบ้าง สวดต่อท้ายบ้าง)

(เขาถามปริตร ความหมายที่ ๓ ปริตร มีในหนังสือสวดมนต์ ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน ปริตรมีความเป็นมาอย่างไร ดูที่ http://group.wunjun.com/#!/whatisnippan ... 0503-25640)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 10:45 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาค่ะ :b16:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 55 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร