วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 06:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2014, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิต, จิตต์ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ, ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือ พิสดารเป็น ๑๒๑)



เจตนา ความตั้งใจ, ความมุ่งใจหมายจะทำ, เจตจำนง, ความจำนง, ความจงใจ, เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง เป็นตัวนำในการคิดปรุงแต่ง หรือเป็นตัวการในการทำกรรม หรือกล่าวได้วาเป็นตัวกรรมทีเดียว ดังพุทธพจน์ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ" แปลว่า "เรากล่าวเจตนา ว่าเป็นกรรม"

เจตนา ๓ คือ เจตนาใน ๓ กาล ซึ่งใช้เป็นข้อพิจารณาในเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรม ได้แก่

๑. ปุพพเจตนา เจตนาก่อนจะทำ
๒. สันนิฏฐาปกเจตนา เจตนาอันให้สำเร็จในการทำ หรือให้สำเร็จความมุ่งหมาย
๓. อปรเจตนา เจตนาสืบเนื่องต่อๆไปจากการกระทำนั้น (อปราปรเจตนา ก็เรียก)

เจตนา ๓ นี้ เป็นคำในชั้นอรรถกถา แต่ก็โยงกับพระไตรปิฎก โดยเป็นการสรุปความในพระไตรปิฎกบ้าง เป็นการสรรถ้อยคำที่จะใช้อธิบายหลักกรรมตามพระไตรปิฎกนั้นบ้าง เฉพาะอย่างยิ่ง ใช้แนะนำเป็นหลักในการที่จะทำบุญ คือ กรรมทีดี ให้ได้ผลมาก และมักเน้นในเรื่องทาน (แต่ในเรื่องทานนี้ เจตนาที่ ๒ ท่านมักเรียกว่า "มุญจนเจตนา" เพื่อให้ชัดว่าเป็นความตั้งใจในขณะให้ทานจริงๆ คือขณะที่ปล่อยของออกไป แทนที่จะใช้ว่าสันนิฏฐาปกเจตนา หรือความจงใจอันให้สำเร็จการกระทำ ซึ่งในหลายกรณี ไม่ตรงกับเวลาของเหตุการณ์ เช่น คนที่ทำบาปโดยขุดหลุมดักให้คนอื่นตกลงไปตาย เมื่อคนตกลงไปตายสมใจ เจตนาที่ลุผลให้ขุดหลุมดักสำเร็จในวันก่อน เป็นสันนิฏฐาปกเจตนา) ดังที่ท่านสอนว่า

ควรถวายทานหรือให้ทานด้วยเจตนาในการให้ ที่ครบทั้ง ๓ กาล คือ

๑. ก่อนให้ มีใจยินดี (ปุพพเจตนา หรือ บุพเจตนา)

๒. ขณะให้ทำใจให้ผ่องใส (มุญจนเจตนา)

๓. ให้แล้ว ชื่นชมปลื้มใจ (อปรเจตนา)



คำอธิบายของอรรถกถานี้ ก็อ้างพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกนั่นเอง โดยเฉพาะหลักเรื่องทักขิณาที่พร้อมด้วยองค์ ๖ อันมีผลยิ่งใหญ่ ซึ่งในด้านทายก หรือทายิกา คือฝ่ายผู้ให้ มีองค์ ๓ ดังที่ พระพุทธเจ้าตรัสในเรื่องการถวายทาน ของเวฬุกัณฎกีนันทมารดา (องฺ.ฉกฺก.22/308/375) ว่า "ปุพฺเพว ทานา สุมโน โหติ ก่อนให้ ก็ดีใจ, ททํ จิตฺตํ ปสาเทติ กำลังให้อยู่ ก็ทำจิตให้ผุดผ่องเลื่อมใส, ทตฺวา อตฺตมโน โหติ ครั้นให้แล้ว ก็ชื่นชมปลื้มใจ"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2014, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๐ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕, ถ้าจัดโดยขันธ์ ๕ เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง


สุข ความสบาย, ความสำราญ, ความฉ่ำชื่นรื่นกายรื่นใจ มี ๒ คือ

๑. กายิกสุข สุขทางกาย
๒. เจตสิกสุข สุขทางใจ,

อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ
๑. สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ
๒. นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คือ อิงเนกขัมมะ หรือ สุขที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุ (ท่านแบ่งเป็นคู่ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)


เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝีกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ

เจตภูต สภาพเป็นผู้คิดอ่าน, ตามที่เข้าใจกัน หมายถึงดวงวิญญาณหรือดวงชีพอันเที่ยงแท้ที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่า ออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ และเป็นตัวไปเกิดใหม่เมื่อกายนี้แตกทำลาย เป็นคำที่ไทยเราใช้เรียกแทนคำว่า อาตมัน หรือ อัตตา ของลัทธิพราหมณ์ และเป็นความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2014, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ, ความคิดฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่านเลื่อนลอย, ความมีจิตจดจ่ออุทิศตัวอุทิศใจต่อสิ่งนั้น (ข้อ ๓ ในอิทธิบาท ๔)


จิตตสังขาร ๑. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญาและเวทนา ๒. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม

จิตตสันดาน การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต ในภาษาไทย หมายถึงพื้นความรู้สึกนึกคิดหรืออุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจมา แต่กำเนิด (ความหมายนัยหลังนี้ มิใช่มาในบาลี)


จิตตุปบาท (จิต-ตุบ-บาท) ความเกิดขึ้นแห่งจิต หมายถึงจิตพร้อมทั้งเจตสิกที่ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเกิดขึ้นครั้งหนึ่งๆ, การเกิดความคิดผุดขึ้น, ความคิดที่ผุดขึ้น


จุติ "เคลื่อน" (จากภพหนึ่ง ไปสู่ภพอื่น) ตาย (ในภาษาบาลี ใช้ได้ทั่ว่ไป แต่ในภาษาไทยส่วนมากใช้แก่เทวดา) ในภาษาไทย บางทีเข้าใจและใช้กันผิดไปไกล ถึงกับเพี้ยนเป็นว่า เกิด ก็มี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2014, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จักร ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย มี ๔ อย่าง คือ

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ

๒. สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี

๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

๔. ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน


จักรธรรม ธรรมเปรียบด้วยล้อรถ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญ หรือให้ถึงจุดมุ่งหมาย มี อย่าง ดู จักร


จริต ความประพฤติ, บุคคลผู้มีพื้นนิสัยหรือพื้นเพจิตใจที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไป จำแนกเป็น ๖ ตามจริยา ๖


จริยา ๑. ความประพฤติ, การครองตน, การดำเนินชีวิต
๒. ลักษณะความประพฤติ หรือการแสดงออกที่เป็นพื้นประจำตัว, พื้นจิตพื้นนิสัยของแต่ละบุคคลที่หนักไปด้านนั้นด้านนี้ แตกต่างกันไป ท่านแสดงไว้ ๖ อย่าง (เช่น วิสุทธิ. 1/127) คือ ราคจริยา โทสจริยา โมหจริยา สัทธาจริยา พุทธิจริยา บุคคลมีจริยาอย่างใด ก็เรียกว่าเป็นจริตอย่างนั้น เช่น ผู้มีราคจริยา ก็เป็นราคจริต
ในภาษาไทย นิยมใช้คำว่า "จริต" และมักเข้าใจความหมายของจริตเป็นจริยา


จักขุวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น (ข้อ ๑ ในวิญญาณ ๖)


จักขุสัมผัส อาการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน


จักขุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2014, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกับ


จตุปัจจัย เครื่องอาศัยของชีวิต หรือสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต สี่อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช (เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ ยา)


จริยธรรม "ธรรมคือความประพฤติ" "ธรรมคือการดำเนินชีวิต" หลักความประพฤติ, หลักการดำเนินชีวิต
๑. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม หรือกฎศีลธรรม (ความหมายตามบัญญัติสมัยปัจจุบัน ซึ่งกำหนดให้ จริยธรรม เป็นคำแปลสำหรับคำภาษาอังกฤษว่า ethics)
๒. จริยะ (หรือ จริยธรรม) อันประเสริฐ เรียกว่า พรหมจริยะ (พรหมจริยธรรม หรือ พรหมจรรย์) แปลว่า "ความประพฤติอันประเสริฐ" หรือ การดำเนินชีวิตอย่างประเสริฐ หมายถึง มรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 85 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron