วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2014, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กรรมดี, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ, กุศลกรรม, ความสุข, กุศลธรรม ที่กล่าวมานั้น เป็นความหมายทั่วไป โดยสรุป ต่อนี้พึงทราบคำอธิบายละเอียดขึ้น เริ่มแต่ความหมายตามรูปศัพท์ว่า


"กรรมที่ชำระสันดานของผู้กระทำให้สะอาด" "สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา" "การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ" ความดี, กรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ, กุศล (มักหมายถึงโลกิยกุศลหรือความดีที่ยังกอปรด้วยอุปธิ คือ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ปรารถนากันในหมู่ชาวโลก เช่น โภคสมบัติ)


บางทีหมายถึงผลของการประกอบกุศล หรือผลบุญนั่นเอง เช่น ในพุทธพจน์ (ที.ปา.11/33/62) ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพราะการสมาทานกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ บุญนี้ ย่อมเจริญเพิ่มพูนอย่างนี้" และมีพุทธพจน์ (ขุ.อิติ.25/200/240) ตรัสไว้ด้วยว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าได้กลัวบุญเลย คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อของความสุข" (บุญ ในพุทธพจน์ ทรงเน้นที่การเจริญเมตตาจิต)


พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ศึกษาบุญ "ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยฺย" (ขุ.อิติ.25/200/241; 238/270) คือ ฝึกปฏิบัติหัดทำให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นในความดีและสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติที่ดี


ในการทำบุญ ไม่พึงละเลยพื้นฐานที่ตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต ให้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมเจริญงอกงามหนุนกันขึ้นไปสู่ความดีงามที่สมบูรณ์ เช่น พึงระลึกถึงพุทธพจน์ (สํ.ส.15/146/46) ที่ว่า "ชนเหล่าใด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน (รวมทั้งจัดเรือข้ามฟาก) จัดบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงาม ทั้งคืนทั้งวัน ตลอดทุกเวลา, ชนเหล่านั้น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้เดินทางสวรรค์"


คัมภีร์ทั้งหลายกล่าวถึงบุญกรรมที่ชาวบ้านควรร่วมกันทำไว้เป็นอ้นมาก เช่น (ชา.อ.1/299) การปรับปรุงซ่อมแซมถนนหนทาง สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ สร้างศาลาที่พักและที่ประชุม ปลูกสวนปลูกป่า ให้ทาน รักษาศีล


พระพุทธเจ้าตรัสประมวลหลักการทำบุญที่พึงศึกษาไว้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ขุ.อิติ.25/238/270) ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้แจกแจงให้เห็นตัวอย่างในการขยายความออกไปเป็น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (เช่น สงฺคณี.อ. 208) ตรงข้ามกับบาป


บาป ความชั่ว, ความร้าย, ความชั่วร้าย, กรรมชั่ว, กรรมลามก อกุศลกรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน, สภาพที่ทำให้ถึงคติอันชั่ว, สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว คือ ทำให้เลวลง ให้เสื่อมลง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ม.ค. 2017, 16:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2014, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุศล ๑. “สภาวะที่เกี่ยวตัดสลัดทิ้งสิ่งเลวร้ายอันน่ารังเกียจ” “ความรู้ที่ทำความชั่วร้ายให้เบาบาง" "ธรรมที่ตัดความชั่วอันเป็นดุจหญ้าคา" สภาวะหรือการกระทำที่ฉลาด กอปรด้วยปัญญา หรือเกิดจากปัญญา เกื้อกูล เอื้อต่อสุขภาพ ไม่เสียหาย ไร้โทษ ดีงาม เป็นบุญ มีผลเป็นสุข, ความดี (กุศลธรรม), กรรมดี (กุศลกรรม)


ตามปกติ กุศล กับ บุญ เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ แต่ กุศล มีความหมายกว้างกว่า คือ กุศล มีทั้งโลกิยะ (กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร) และ โลกุตระ ส่วน บุญ โดยทั่วไปใช้กับโลกิยกุศล ถ้าจะหมายถึงระดับโลกุตระ มักต้องมีคำขยายกำกับไว้ด้วย เช่นว่า "โลกุตรบุญ"

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า บุญ มักใช้ในความหมายที่แคบกว่า หรือใช้ในขั้นต้นๆ หมายถึงความดีที่ยังประกอบด้วยอุปธิ (โอปธิก) คือ ยังเป็นสภาพปรุงแต่งที่ก่อผลในทางพอกพูน ให้เกิดสมบัติ อันได้แก่ความพรั่งพร้อม เช่น ร่างกายสวยงามสมบูรณ์ และมั่งมีทรัพย์สิน แต่ กุศล ครอบคลุมหรือเลยต่อไปถึง นิรูปธิ (ไร้อุปธิ) และเน้นที่นิรูปธินั้น คือ มุ่งที่ภาวะไร้ปรุงแต่ง ความหลุดพ้นเป็นอิสระ โดยไปถึงนิพพาน,

พูดอีกอย่างง่ายๆ เช่นว่า บุญ มุ่งเอาความสะอาดหมดจนในแง่ที่สวยงามน่าชื่นชม แต่ กุศล มุ่งถึงความสะอาดจนในแง่ที่เป็นความบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรติดค้าง ปลอดโปร่ง โล่ง ว่าง เป็นอิสระ,

ขอให้ดูตัวอย่างที่ บุญ กับ กุศล มาด้วยกันในคาถาต่อไปนี้ (ขุ.อิติ.25/262/290)

กาเยน กุสลํ กตฺวา วาจาย กุสลํ พหุํ

มนสา กุสลํ กตฺวา อปฺปมาณํ นิรูปธึ ฯ

ตโต โอปธิกํ ปุญฺญํ กตฺวา ทาเนน ตํ พหุํ

อญฺเญปิ มจฺเจ สทฺธมฺเม พฺรหฺมจริเย นิเวสย.


(ท่านจงทำให้มาก ทั้งด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ซึ่งกุศล อันประมาณมิได้ (อัปปมาณ แปลว่า มากมาย ก็ได้ เป็นโลกุตระ ก็ได้) อันไร้ อุปธิ (นิรูปธิ) แต่นั้น ท่านจงทำบุญ อันระคนอุปธิ ให้มาก ด้วยทาน แล้วจง (บำเพ็ญธรรมทาน) ชักจูงแม้คนอื่นๆ ให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม ในพรหมจริยะ)

คาถานี้ แม้จะเป็นคำแนะนำแก่เทวดา ก็ใช้ได้ทั่วไป คือเป็นคำแนะนำสำหรับผู้ที่จะอยู่เป็นคฤหัสถ์ว่า ในด้านแรกคือด้านหลัก ให้ทำกุศล ที่เป็นนิรูปธิ ซึ่งเป็นการศึกษาหรือปฏิบัติเพื่อให้ได้สาระของชีวิต โดยพัฒนาตนให้เป็นอริยชน โดยเฉพาะเป็นโสดาบัน จากนั้น อีกด้านหนึ่ง ในฐานะเป็นอริยชน ก็ทำความดี หรือ กรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ที่มีผลในทางอุปธิ เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข ซึ่งเป็นไปตามธรรมดาของมัน และที่เป็นเรื่องสามัญในสังคมคฤหัสถ์ได้ ไม่เสียหาย เพราะเป็นผู้มีคุณความดีที่เป็นหลักประกันให้เกิดแต่ผลดีทั้งแก่ตนเองและแก่สังคมแล้ว, ตรงข้ามกับ อกุศล เทียบ บุญ

๒. บางแห่ง (เช่น ขุ.เถร.26/170/268) กุศล หมายถึง ความเกษม, ความปลอดภัย, สวัสดิภาพ, ความหวังดี่, ความมีเมตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ม.ค. 2017, 16:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2014, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง, บารมีที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์ จึงจะบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มี ๑๐ คือ

๑. ทาน การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์

๒. ศีล ความประพฤติถูกต้อง สุจริต

๓. เนกขัมมะ ความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ, การออกบวช

๔. ปัญญา ความรอบรู้ เข้าถึงความจริง รู้จักคิดพิจารณาแก้ไขปัญหา และดำเนินการจัดการต่างๆ ให้สำเร็จ

๕. วิริยะ ความเพียรแกล้วกล้า บากบั่นทำการ ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่

๖. ขันติ ความอดทน ควบคุมตนอยู่ได้ในธรรม ในเหตุผล และในแนวทางเพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ยอมลุอำนาจกิเลส

๗. สัจจะ ความจริง ซื่อสัตย์ จริงใจ จริงจัง

๘. อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ตั้งจุดหมายไว้ดีงามชัดเจนและมุ่งไปเด็ดเดี่ยวแน่วแน่

๙. เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลหวังให้สรรพสัตว์อยู่ดีมีความสุข

๑๐. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง อยู่ในธรรม เรียบสงบสม่ำเสมอ ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังหรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ


บารมี ๑๐ นั้น จะบริบูรณ์ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญแต่ละบารมีครบสามขั้นหรือสามระดับ จึงแบ่งบารมีเป็น ๓ ระดับ คือ

๑. บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นต้น

๒. อุปบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นจวนสูงสุด

๓. ปรมัตถบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นสูงสุด


เกณฑ์ในการแบ่งระดับของบารมีนั้น มีหลายแง่หลายด้าน ขอยกเกณฑ์อย่างง่ายมาให้รู้พอเข้าใจ เช่น ในข้อทาน สละทรัพย์ภายนอกทุกอย่างได้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานบารมี สละอวัยวะ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานอุปบารมี สละชีวิต เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานปรมัตถบารมี


บารมีในแต่ละชั้นมี ๑๐ จึงแยกเป็น บารมี ๑๐ (ทศบารมี) อุปบารมี ๑๐ (ทศอุปบารมี) และปรมัตถบารมี ๑๐ (ทศปรมัตถบารมี) รวมทั้งสิ้น เป็นบารมี ๓๐ เรียกเป็นคำศัพท์ว่า สมดึงสบารมี (หรือ สมติงสบารมี) แปลว่า บารมีสามสิบถ้วน หรือบารมีครบเต็มสามสิบ แต่ในภาษาไทย บางทีเรียกสืบๆ กันมาว่า "บารมี ๓๐ ทัศ"


บรรลุ ถึง, สำเร็จ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2014, 20:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
คัดแปะได้ดี อนุโมทนา
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

คัดแปะได้ดี อนุโมทนา


คำพูดประโยคเดียวส่องถึงจิตถึงความคิดภายใน :b1:

เคยพูดว่า อโศกน่ะรู้อย่างครูพักลักจำ คือ เที่ยวๆฟังคนนั้นพูดที คนนี้พูดคำ แล้วก็นำคำพูดนั้นๆ มานั่งนึกนอนคิดหาธรรมะ เคยบอกว่า เป็นธรรมะตีหวย ธรรมะขูดต้นไม้หาเลขเด็ด ธรรมจับผีปอบ ธรรมะจับลม ธรรมะไล่จับเงาตัวเอง :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 12:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

คัดแปะได้ดี อนุโมทนา


คำพูดประโยคเดียวส่องถึงจิตถึงความคิดภายใน :b1:

เคยพูดว่า อโศกน่ะรู้อย่างครูพักลักจำ คือ เที่ยวๆฟังคนนั้นพูดที คนนี้พูดคำ แล้วก็นำคำพูดนั้นๆ มานั่งนึกนอนคิดหาธรรมะ เคยบอกว่า เป็นธรรมะตีหวย ธรรมะขูดต้นไม้หาเลขเด็ด ธรรมจับผีปอบ ธรรมะจับลม ธรรมะไล่จับเงาตัวเอง :b32:

grin
มาอำนวยพรด้วยบริสุทธิ์ใจ แต่กลับได้คำตอบที่เต็มไปด้วยความระแวงและเดาสุ่ม คำพูดประโยคนี้จึงขอมอบคืนให้กรัชกายเป็นที่ระลึก

คำพูดประโยคเดียวส่องถึงจิตถึงความคิดภายใน
s006
s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

คัดแปะได้ดี อนุโมทนา


คำพูดประโยคเดียวส่องถึงจิตถึงความคิดภายใน :b1:

เคยพูดว่า อโศกน่ะรู้อย่างครูพักลักจำ คือ เที่ยวๆฟังคนนั้นพูดที คนนี้พูดคำ แล้วก็นำคำพูดนั้นๆ มานั่งนึกนอนคิดหาธรรมะ เคยบอกว่า เป็นธรรมะตีหวย ธรรมะขูดต้นไม้หาเลขเด็ด ธรรมจับผีปอบ ธรรมะจับลม ธรรมะไล่จับเงาตัวเอง :b32:

grin
มาอำนวยพรด้วยบริสุทธิ์ใจ แต่กลับได้คำตอบที่เต็มไปด้วยความระแวงและเดาสุ่ม คำพูดประโยคนี้จึงขอมอบคืนให้กรัชกายเป็นที่ระลึก

คำพูดประโยคเดียวส่องถึงจิตถึงความคิดภายใน


ก็ต้องคัดแปะทั้งนั้นแหละ เพราะเป็นแบบเบื้องต้นสำหรับศึกษาทำความเข้าใจ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 21:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
อย่าให้มันเยอะเกินไปจนเฝือ จนไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหน ใช้ทฤษฎีมากน้อยเพียงไรจึงจะพอควรแก่งาน นะครับ
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บริจาค สละให้, เสียสละ, สละออกไปจากตัว, การสละให้หมดความเห็นแก่ตัว หรืออย่างมิให้มีความเห็นแก่ตน โดยมุ่งเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น เพื่อความดีงาม หรือเพื่อการก้าวสูงขึ้นไปในธรรม เช่น ธนะบริจาค (การสละทรัพย์) ชีวิตบริจาค (การสละชีวิต) กามสุขบริจาค (การสละกามสุข) อกุศลบริจาค (การสละละอกุศล) , บัดนี้ มักหมายเฉพาะการร่วมให้หรือการสละเพื่อการบุญอย่างเป็นพิธี


บาลี ๑. "ภาษาอันรักษาไว้ ซึ่งพุทธพจน์" ภาษาทีใช้ทรงจำ และจารึกรักษาพุทธพจน์ แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ่ ถือกันว่า ได้แก่ ภาษามคธ
๒. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่า พระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก,

ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า "บาลี" ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลี ในความหมายที่ ๑. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือ ศัพท์บาลี คำบาลี หรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๒. ให้ใช้คำว่า พระบาลี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ก.พ. 2017, 15:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s004
อย่าให้มันเยอะเกินไปจนเฝือ จนไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหน ใช้ทฤษฎีมากน้อยเพียงไรจึงจะพอควรแก่งาน นะครับ


อโศกเคยได้ยินหัวใจนักปราชญ์ที่ว่านี่ สุ จิ ปุ ลิ ไหม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2014, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บังสุกุล ผ้าบังสุกุล หรือ บังสุกุลจีวร ในภาษาไทยปัจจุบัน มักใช้เป็นคำกริยา หมายถึงการที่พระสงฆ์ชักเอาผ้าซึ่งเขาทอดวางไว้ที่ศพ ที่หีบศพ หรือที่สายโยงศพ โดยกล่าวข้อความที่เรียกว่า คำพิจารณาผ้าบังสุกุล ดังนี้

อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน

อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข.



บังสุกุลจีวร ผ้าที่เกลีอกกลั้วด้วยฝุ่น, ผ้าที่ได้มาจากกองฝุ่น กองหยากเยื่อซึ่งเขาทิ้งแล้ว ตลอดถึงผ้าห่อคลุมศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ไม่ใช่ผ้าที่ชาวบ้านถวาย, ปัจจุบันมักหมายถึงผ้าที่พระชักจากศพ โดยตรงก็ตาม จากสายโยงศพก็ตาม


บังสุกุลตาย - บังสุกุลเป็น ตามประเพณีเกี่ยวกับการศพ หลังจากเผาศพแล้ว เมื่อจะเก็บอัฐิ (เก็บในวันที่เผาก็ได้ แต่นิยมเก็บตอนเช้าวันรุ่งขึ้น) มีการนิมนต์พระมาบังสุกุลอัฐิ เรียกว่า "แปรรูป" หรือ "แปรธาตุ" (พระกี่รูปก็ได้ แต่นิยมกันว่า ๔ รูป บางท่านว่า ที่จริงไม่ควรเกิน ๓ รูป คงจะเพื่อให้สอดคล้องกับกรณีที่มีการทำบุญสามหาบ ซึ่งถวายแก่พระ ๓ รูป) ในการแปรรูปนั้น ก่อนจะบังสุกุล บางทีก็นิมนต์พระสงฆ์ทำน้ำมนต์มาประพรมอัฐิ เรียกว่าดับธาตุก่อน แล้วเจ้าหน้าที่ (สัปเหร่อ) จัดอัฐิที่เผาแล้วนั้น ให้รวมเป็นส่วนๆ ตามรูปของร่างกาย หันหัวไปทิศตะวันตก พร้อมแล้ว ญาติจุดธูปเคารพ บอกกล่าว และเอาดอกพิกุลเงินพิกุลทองหรือสตางค์วางกระจายลงไปทั่วร่างของอัฐิ แล้วประพรมด้วยน้ำอบน้ำหอม จากนั้นจึงทอดผ้าบังสุกุล และพระสงฆ์ก็กล่าวคำพิจารณาว่า "อนิจฺจา วต สงฺขารา" เป็นต้น อย่างที่ว่าตามปกติทั่วไป เรียกว่า บังสุกุลตาย เสร็จแล้วเจ้าหน้าที่ก็หมุนร่างอัฐิให้หันหัวไปทิศตะวันออก และพระสงฆ์กล่าวคิดพิจารณา เปลี่ยนเป็นบังสุกุลเป็น มีความหมายว่า ตายแล้วไปเกิด จบแล้ว เมื่อถวายดอกไม้ธูปเทียนแก่พระสงฆ์เสร็จ เจ้าภาพก็เก็บอัฐิ (เลือกเก็บจากหัวลงไปปลายเท้า) คำพิจารณาบังสุกุลเป็นนั้นว่า


อจิรํ วตยํ กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ

ฉุฑฺโฑ อเปตวิญญาโณ นิรตฺถํว กลิงฺครํ
.


บังสุกุลตาย - บังสุกุลเป็นนี้ ต่อมามีการนำไปใช้ในการสะเดาะเคราะห์ด้วย ทำนองจะให้มีความหมายว่า ตายหรือวิบัติแล้ว ก็ให้กลับฟื้นขึ้นมา อย่างไรก็ดี ถ้าไม่ระวังไว้ แทนที่จะเป็นการใช้ให้มีความหมายเชิงปริศนาธรรม ก็จะกลายเป็นการใช้ในแง่ถือโชคลาง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2014, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุพพาจารย์ ๑. อาจารย์ก่อนๆ, อาจารย์รุ่นก่อน, อาจารย์ปางก่อน ๒. อาจารย์ต้น, อาจารย์คนแรก คือ มารดาบิดา


บุพเพสันนิวาส การเคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน เช่น เคยเป็นพ่อแม่ลูกพี่น้องเพื่อนผัวเมียกันในภพอดีต


บุพการ ๑ "อุปการะก่อน" การช่วยเหลือเกื้อกูลที่ริเริ่มทำขึ้นก่อนเอง โดยมิได้คำนึงถึงเหตุเก่า เช่นว่า เขาเคยทำอะไรให้เราไว้ แลมิได้หวังข้างหน้าว่าเขาจะให้อะไรตอบแทนเรา (ในคำว่า บุพการี)
๒. ความเกื้อหนุนช่วยเหลือโดยถือเป็นสำคัญอันดับแรก, การอุปถัมภ์บำรุง เกื้อกูลนับถือรับใช้ที่ทำโดยตั้งใจให้ความสำคัญนำหน้าหรือก่อนอื่น (เช่นในข้อ ๕ แห่ง สมบัติของอุบาสก ๕)


บุพการี บุคคลผู้ทำอุปาระก่อน คือ ผู้มีพระคุณ ได้แก่ มารดาบิดา ครูอาจารย์ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในบุคคลหาได้ยาก ๒ อย่าง)

เบญจางค์ อวัยวะทั้ง ๕ คือ ศีรษะ ๑ มือทั้ง ๒ เท้าทั้ง ๒


เบญจางคประดิษฐ์ การกราบด้วยอวัยวะทั้ง ๕ อย่างลงกับพื้น คือกราบเอาเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง และศีรษะ (หน้าผาก) จดลงกับพื้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ก.พ. 2017, 20:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2014, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคล "ผู้กลืนกินอาหารอันทำอายุให้ครบเต็ม" คนแต่ละคน, คนรายตัว, อัตตา, อาตมัน, ในพระวินัย โดยเฉพาะในสังฆกรรม หมายถึงภิกษุรูปเดียว

บุทคล บุคคล (เขียนอย่างสันสกฤต)


บุคคล ๔ บุคคล ๔ จำพวก คือ

๑. อุคฆฎิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง

๒. วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ

๓. เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้

๔. ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย


พระอรรถกถาจารย์เปรียบบุคคล ๔ จำพวกนี้กับบัว ๔ เหล่าตามลำดับ คือ

๑. ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้

๒. ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้

๓. ดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ ยังไม่โผล่พ้นน้ำ จักบานในวันต่อๆไป

๔. ดอกบัวจมอยู่ในน้ำที่กลายเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า (ในบาลี ตรัสถึงแต่บัว ๓ เหล่าต้น เท่านั้น)



บุคคลหาได้ยาก ๒ คือ ๑. บุพการี ๒. กตัญญูกตเวที

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ก.พ. 2017, 19:56, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2014, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิภัชชวาที "ผู้กล่าวจำแนก" "ผู้แยกแยะพูด" เป็นคุณบท คือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแยะแจกแจงออกไปให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลาย เกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น

แยกแยะกระจายนามรูปออก เป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ เป็นต้น สิ่งทั้งหลาย มีด้านที่เป็นคุณ และด้านที่เป็นโทษอย่างไร เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอย่างไร การกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิดแง่ที่ดี และแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุม หรือเห็นแต่ด้านเดียว แล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆ อันทำให้ไม่เข้าใจถึงความจริงแท้ตามสภาวะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2016, 10:44 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 101 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร