วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 20:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 05:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติ ของที่เกิดเองตามวิสัยของโลก เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น


ธรรม สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง, เหตุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฎการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด, คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ, หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่, ความชอบ, ความยุติธรรม, พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฎขึ้น


ธรรม ในประโยคว่า "ให้กล่าวธรรมโดยบท" บาลีแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่ท่านเรียงไว้ จะเป็นพุทธภาษิตก็ตาม สาวกภาษิตก็ตาม ฤษีภาษิตก็ตาม เทวดาก็ตาม เรียกว่า ธรรมในประโยคนี้


ธรรม (ในคำว่า การกรานกฐินเป็นธรรม) ชอบแล้ว, ถูกระเบียบแล้ว


ธรรม ๒ หมวดหนึ่ง คือ ๑. รูปธรรม ได้แก่ รูปขันธ์ทั้งหมด ๒. อรูปธรรม ได้แก่ นามขันธ์ และนิพพาน
อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. โลกียธรรม ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก ๒. โลกุตรธรรม ธรรมอันไม่ใช่วิสัยของโลก ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด ๒. อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมกาย ๑. "ผู้มีธรรมเป็นกาย" เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยใจแล้วนำออกเผยแพร่ด้วยวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งพระธรรมอันปรากฎเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก, พรหมกาย หรือ พรหมภูต ก็เรียก

๒. "กองธรรม" หรือ "ชุมนุมแห่งธรรม" ธรรมกายย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคล ผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์แล้ว ฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขา เจริญมรรคให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน ดังตัวอย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้า เพื่อปรินิพพานตามความในคัมภีร์ปทานตอนหนึ่งว่า

"ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์, ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็เป็นสิ่งอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต"

สรุปตามนัยอรรถกถา ธรรมกาย ในความหมายนี้ ก็คือ โลกุตรธรรม ๙ หรืออริยสัจจ์


ธรรมขันธ์ กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่ มี ๕ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์, กำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็นวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ สุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ และอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์


ธรรมคุณ คุณของพระธรรม มี ๖ อย่าง คือ

๑. สฺวากขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

๒. สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง

๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล

๔. เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู

๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา

๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน


ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญารู้เห็นความจริงว่า สิ่งใด็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา, ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะ เมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่ โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมัคคญาณ คือ ญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน


ธรรมจารี ผู้ประพฤติธรรม, ผู้ประพฤติเป็นธรรม, ผู้ประพฤติถูกธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมานุธรรมปฏิบัติ การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงการปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลัก เช่น หลักย่อยสอดคล้องกับหลักใหญ่ และเข้าแนวกับธรรมที่เป็นจุดมุ่งหมาย

ธรรมารมณ์ อารมณ์คือธรรม, สิ่งที่ถูกรับรู้ทางใจ, สิ่งที่รู้ด้วยใจ, สิ่งที่ใจรู้สึกนึกคิด

ธรรมนิยาม กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ, ความจริงที่มีอยู่หรือดำรงอยู่ตามธรรมดาของมัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาแสดงชี้แจงอธิบายให้คนทั้งหลายได้รู้ตาม มี ๓ ตามพระบาลี ดังนี้

๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง

๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้

๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวง มิใช่เป็นตน


ธรรมดา อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ, สามัญ, ปกติ, พื้นๆ


ธรรมวินัย ธรรมและวินัย, คำสั่งสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วย
ธรรม = คำสอนแสดงหลักความจริง และแนะนำความประพฤติ, วินัย = บทบัญญัติกำหนดระเบียบความเป็นอยู่และกำกับความประพฤติ,
ธรรม = เครื่องควบคุมใจ, วินัย = เครื่องควบคุมกาย และวาจา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมาธิษฐาน มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือ เทศนายกธรรมขึ้นแสดง เช่นว่า ศรัทธา ศีล คืออย่างนี้ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น คู่กับ บุคคลาธิษฐาน

บุคคลาธิษฐาน มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนายกบุคลขึ้นตั้ง คือ วิธีแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นอ้าง


ธัมมวิจยะ ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่อง สืบค้นธรรม, การวิจัยหรือค้นคว้าธรรม (ข้อ ๒ ในโพชฌงค์ ๗)


ธัมมายตนะ อายตนะคือธรรม, ธรรมารมณ์, เป็นข้อที่ ๖ ในอายตนะภายนอก ๖ (คู่กับมนายตนะ (อายตนะคือใจ) ในฝ่ายอายตนะภายใน ๖ ) ได้แก่ สภาวธรรมต่อไปนี้ คือ นามขันธ์ ๓ (เวทนา สัญญา สังขาร) และรูปบางอย่าง ในรูปขันธ์ (คือ เฉพาะอนิทัสสนอัปปฏิฆรูป อันได้แก่ สุขุมรูป ๑๖) กับทั้งอสังขตธาตุ คือนิพพาน ซึ่งเป็นขันธวิมุต คือ เป็นสภาวะพ้นจากขันธ์ ๕ (อภิ.วิ.35/100/86)


ธัมมุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านด้วยสำคัญผิดในธรรม คือ ความฟุ้งซ่านเนื่องจากเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นแล้ว สำคัญผิดว่าตนบรรลุธรรมคือมรรคผลนิพพาน จิตก็เลยคลาดเขวออกไปเพราะความฟุ้งซ่านนั้น ไม่เกิดปัญญาที่จะเห็นไตรลักษณะได้จริง, ธรรมุธัจจ์ ก็เขียน


ธรรมบูชา ๑. "การบูชาด้วยธรรม" การบูชา้วยการปฏิบัติธรรม เฉพาะอย่างยิ่ง การบูชาพระพุทธเจ้าด้วยธรรมานุธัมมปฏิบัติ (ข้อ ๒ ในบูชา ๒)
๒. "การบูชาซึ่งธรรม" การบูชาพระธรรม อันเป็นอย่างหนึ่งในพระรัตนตรัย (คือ บูลาพระธรรมรัตนะ) ด้วยดอกไม้ ธุูป เทียน ของหอม เป็นต้น หรือ (ที.อ.3/96) บูชาท่านผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรมทรงวินัย ด้วยไตรจีวร เป็นต้น ตลอดจนเคารพธรรม ถือธรรมเป็นใหญ่ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงเคารพธรรม และทรงบำเพ็ญพุทธกิจด้วยเห็นแก่ธรรม เพื่อให้หมู่ชนเข้าถึงธรรม ได้ประโยชน์จากธรรม (เช่น ม.อ.4/208 ฯลฯ)


ธรรมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรม, การปฏิบัติถูกต้องตามธรรม


ธรรมปฏิรูป ธรรมปลอม, ธรรมที่ไม่แท้, ธรรมเทียม


ธรรมปฏิสันถาร การต้อนรับด้วยธรรม คือ กล่าวธรรมให้ฟังหรือแนะนำใหนทางธรรม อย่างนี้ เป็นธรรมปฏิสันถารโดยเอกเทศ คือ ส่วนหนึ่งด้านหนึ่ง ธรรมปฏิสันถารที่บำเพ็ญอย่างบริบูรณ์ คือ การต้อนรับโดยธรรม ได้แก่ เอาใจใส่ช่วยเหลือสงเคราะห์ แก้ไขปัญหาบรรเทาข้อสงสัย ขจัดปัดเป่าข้อติดขัดยากลำบากเดือดร้อนทั้งหลาย ให้เขาลุล่วงกิจอันเป็นกุศล พ้นความอึดอัดขัดข้อง (ข้อ ๒ ในปฏิสันถาร ๒)


ธรรมมีอุปาระมาก ๒ คือ ๑. สติ ความระลึกได้ ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร