วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 16:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระปฏิบัติสัทธรรม
บทคำสอน
พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตฺยาคโม)
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

รูปภาพ


สารบัญ (ลำดับเรื่อง)

หมวดที่ ๑ นมัสการพระไตรสรณาคมน์
๑. แบบวิธีนมัสการพระไตรสรณาคมน์
๒. ทำวัตรเช้า - ทำวัตรค่ำ

หมวดที่ ๒ แบบถึงพระไตรสรณาคมน์
๓. แบบวิธี ถึงพระไตรสรณาคมน์
๔. เจริญพรหมวิหารทั้ง ๔ (มีคำแปล)
๕. แบบวิธี บูชาดอกไม้ธูปเทียน

หมวดที่ ๓ บทจำเป็น
๖. เรื่อง ภาวนา

หมวดที่ ๔ บทนั่งสมาธิภาวนา
๗. แบบวิธี นั่งสมาธิภาวนา
๘. แบบวิธี ตั้งสติลงตรงหน้า
๙. แบบวิธี รวมจิต เข้าตั้งไว้ในจิต
๑๐. แบบวิธี นึกคำบริกรรมภาวนา
๑๑. แบบวิธี กำหนดรู้ จิตตกลงสู่ภวังค์เอง
๑๒. แบบวิธี ออกจากสมาธิ
๑๓. แบบวิธี อริยมัคคสมังคี
๑๔. แบบวิธี วิธีเดินจงกรมภาวนา
๑๕. แบบวิธี นิมิตตสมาธิ
๑๖. แบบวิธี แก้นิมิตตสมาธิ
๑๗. วิธีที่ ๑ ชื่อญาตปริญญาวิธี
๑๘. วิธีที่ ๒ ชื่อติรณปริญญาวิธี
๑๙. วิธีที่ ๓ เจริญปหานปริญญาวิธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 17:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำปรารภ (ในการพิมพ์ครั้งที่ ๑)

แบบถึงพระไตรสรณาคมน์
กับแบบนั่งสมาธิาภาวนานี้ ครั้งแรก ข้าพเจ้า
กับพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ป.๕ ได้เรียบเรียง
และพิมพ์ไว้ย่อ ๆ บัดนี้ได้ขยายเนื้อความ
ให้กว้างขวางขึ้น เืพื่อผู้ฟัง ผู้อ่าน และผู้ปฏิบัติตาม ได้
เข้าใจง่าย ๆ เป็นวิธีปฏิญญาณตน
ถึงพระไตรสรณาคมน์แห่งอุบาสก อุบาสิกา และ
เป็นวิธีไหว้พระโดยย่อ ๆ ฯ
พระบาลีมีมาในคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถาปรากฏแจ้ง
อยู่แล้วว่า
สมเด็จพระสัพพัญญูบรมครูเจ้าเมื่อทรงตรัสรู้
แล้ว ก็ทรงโปรดพุทธบริษัททั้ง ๔
ด้วยวิธีรับรองประชาชนผู้เลื่อมใส ให้
ถึงพระไตรสรณาคมน์ เป็นพุทธบริษัท ๔ คือ
เป็นอุบาสกอย่าง ๑ เป็นอุบาสิกาอย่าง ๑ บรรพชา
เป็นสามเณร แล้วอุปสมบทเป็นภิกษุอย่าง ๑
และบรรพชาเป็นสามเณรี แล้วอุปสมบทในสงฆ์
๒ ฝ่าย เป็นภิกษุณีอย่าง ๑ เมื่อมีพุทธบริษัท ๔ ครบ
แล้ว ได้ทรงตั้งพระธรรมวินัยไว้ในที่
เป็นพระบรมครู แล้วจึงทรงเสด็จ
เข้าสู่พระปรินิพพานล่วงลับไป ฯ
แบบถึงพระไตรสรณาคมน์ กับแบบนั่งสมาธิภาวนานี้
ได้ขาดคราวมานานจนเกือบจะไม่มี
ผู้ประกาศปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณาคมน์
เป็นอุบาสก อุบาสิกาเสียเลย ถึงแม้มี
อยู่บ้างก็เฉพาะเริ่มต้นแห่งการสมาทานศีล ๕ ศีล ๘
เท่านั้น ไม่ไ้ด้นับถือเพื่อปฏิบัติจริง ๆ
จนประชาชนบางเหล่ากลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ถือลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก
บางพวกถือลัทธิศาสนาผี
บางพวกถือลัทธิพราหมณ์ศาสนา
บางพวกถือลัทธิศาสนาอื่น ๆ ยังมีอยู่อีก ไม่
ใช่นับถือพุทธศาสนาทั้งหมด ฯ
ส่วนว่าบุคคลที่นับถือพระพุทธศาสนาจริง ๆ
ก็มีเฉพาะแต่บุคคลที่ได้ประกาศปฏิญาณตน
ถึงพระไตรสรณาคมน์ และ
ได้บรรพชาอุปสมบทโดยถูกต้อง
ด้วยพระธรรมวินัยเท่านั้น นอกนั้นเป็นศาสนาอื่น
ทั้งหมด ไม่ใช่นับถือแต่พระพุทธศาสนาอย่างเดียว ฯ
ข้าพเจ้าก็เคยได้นำประชาชนชาวไทยให้
ถึงพระไตรสรณาคมน์มาแล้วจำนวนมาก ขาดแต่
ยังไม่มีตำรับตำราแบบแผนจำแนกแจกจ่าย
ให้ศึกษาเล่าเรียน ท่องบ่นจดจำ
และประพฤติปฏิบัิติตามสืบไป ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ถึงพระไตรสรณาคมน์
แล้ว ก็ถึงได้แต่เพียงชั้นโลกียสรณาคมน์เท่านั้น ไม่
ได้ถึงโลกุตตรสรณาคมน์ ส่วนบุคคลที่จะ
ถึงโลกุตตรสรณาคมน์นั้น ต้องเ็ป็นผู้ชำนาญ
ในการนั่่งสมาธิภาวนา และแบบวิธีนั่งสมาธิภาวนาก็หา
ไม่ได้เสียด้วย เป็นการสมควรอย่างยิ่งจะ
ต้องเรียบเรียงและพิมพ์ไว้เป็นแบบปฏิบัติสืบไป ฯ
อีกประการที่ ๒ ความจนใจของบุคคลผู้
ไม่มีสมาธิภาวนา โดยมากย่อมจนใจอยู่ในข้อที่ว่า
ทำบุญล้างบาปก็ล้างไม่ได้ หรือคำว่าทำบุญแก้บาป
ก็แก้ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลผู้ที่
จะละบาปบำเพ็ญบุญนั้นจะต้องทำอย่างไรกัน
ข้อนี้ตอบได้ง่าย ๆ ว่าต้องนั่งสมาธิภาวนา นอก
จากนั่งสมาธิภาวนาแล้วไม่มีวิธีอย่างอื่นอีกจะพึงแก้ได้
เพราะเหตุว่าการนั่งสมาธิภาวนานี้มีอานิสงส์มาก
เป็นวิธีแก้จิตที่เ็ป็นบาปให้กลับเป็นบุญได้
ตลอดแก้จิตที่เป็นโลกีย์ให้เป็นโลกุตตระได้
เมื่อแก้จิตให้บริสุทธิ์ดี
แล้วบาปอกุศลก็หลุดหายไปเอง
อุทาหรณ์ข้อนี้พึงเห็นพระองคุลีมาลเป็นตัวอย่าง ฯ
หัวข้อที่ปรารภมาเหล่านี้ทั้งสิ้น ข้าพเจ้าเห็นว่า
เป็นการจำเป็นและสมควรอย่างยิ่ง
ในการเรียบเรียงและการพิมพ์ไว้
ในพระพุทธศาสนา เชื่อว่าคง
เป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัทที่เป็นนักปฏิบัติตลอดไป

คุณหา บุญมาไชย์ ปลัดขวา อำเภอพลับ
จังหวัดขอนแก่น อาราธนาให้เรียบเรียง แบบ
ถึงพระไตรสรณาคมน์ และแบบวิธีนั่งสมาธิภาวนา
หวังเพื่อประโยชน์แห่งพระพุทธศาสนา เป็นอย่างดียิ่ง ฯ
พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล
๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๔



คำปรารภ(ในการพิมพ์ครั้งที่ ๒)
ข้าพเจ้าได้ปรารภถึงพระพุทธศาสนา
ว่าฝ่ายคันถธุระ
มีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรม
ก็มีตำรับตำราแบบแผนไว้สอนกันต่อ ๆ ไป กุลบุตร
ผู้เกิดในภายหลัง เมื่อไ้ด้ศึกษาเล่าเรียนแล้วก็
ได้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาต่อไปอีก
แต่ฝ่ายวิปัสสนาธุระมีหน้าที่ประพฤติปฏิบัติพระพุทธศาสนา
เมื่อปฏิบัติถูกหนทางก็ก้าวล่วงจากโลกีย์
บรรลุโลกุตตระได้ แต่ก็บรรลุได้
โดยเฉพาะตัวบุคคลผู้เดียวเท่านั้น เมื่อผู้นั้นไม่ไ่ด้สอนผู้
อื่นต่อ ๆ ไปแล้ว ผู้อื่นก็ไม่รู้ต่อไป ครั้นเมื่อสอนเพื่อ
ให้รู้ ในสมัยนี้ก็ต้องมีตำรับตำราแบบแผน จึงจะรู้
ทั่วถึงกันได้ แต่ในสมัยพุทธกาล
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเอง พระองค์ทรง
เป็นตำรับตำราแบบแผนเองดีพออยู่แล้ว ในสมัยนี้
พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานล่วงไปแล้ว
จะไม่มีตำรับตำราแบบแผนย่อมไม่ได้อยู่เอง
แต่แบบแผนฝ่ายปริยัติมีเพียงพอแล้ว ฝ่ายปฏิบัติยัง
ไม่มีการแนะนำพร่ำสอนกัน ก็แนะนำพร่ำสอน
ด้วยปากเปล่า ตามแบบพุทธกาล ทั้งนี้
ต้องอาศัยมีพระอาจารย์ผู้ชำนาญในทางสมาธิภาวนา
จึงจะสอนได้ ถ้าขาดพระอาจารย์ผู้ชำนาญเสีย
แล้วก็สอนไม่ได้ แต่ถ้ามีแบบวิธี
ถึงพระไตรสรณาคมน์ กับแบบวิธีนั่งสมาธิภาวนา
ก็มีหนทางพอที่จะประพฤติปฏิบัติและสั่งสอนกันต่อ ๆ
ไปได้ ถ้าหากไม่มีแบบแผนเสียเลย
เมื่อหมดอายุของพระอาจารย์ผู้ชำนาญเสียแล้ว
กุลบุตรผู้เกิดในภายหลัง
ไม่มีแบบแผนศึกษาเล่าเรียน ก็ประพฤติปฏิบัติไม่ได้
พระพุทธศาสนาก็มีแต่ทางที่จะเสื่อมสูญอันตรธานเท่า
นั้น จึงตกลงใจเรียบเรียงขยายความแบบ
ถึงพระไตรสรณาคมน์ กับแบบวิธีนั่งสมาธิภาวนา ให้
เป็นหลักฐานแก่นักปฏิบัติสืบไป ฯ
นายวัน คมนามูล พร้อมด้วย นางทองสุก คมนามูล
เจ้าของโรงแรมสุทธิผล สถานีนครราชสีมา มี
ความเลื่อมใส บริจาคทรัพย์ ๑,๕๐๐ บาท
(หนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน) และได้อาราธนา
ให้แก้ไขเพิ่มเติม ขยายความให้กระจ่าง
วางระเบียบแบบแผนฝ่ายพระปฏิบัติสัทธรรมต่อไป ฯ
ข้าพเจ้าได้ขอเอารูปพิมพ์ไ้ว้ในหนังสือนี้ด้วย

พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๔


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 17:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำปรารภ (ในการพิมพ์ครั้งที่ ๓)
หนังสือพระปฏิปัตติสัทธรรมนี้
เป็นหลักฐานแห่งการประพฤติปฏิบัติพระพุทธศาสนา
เป็นอย่างดียิ่ง พุทธบริษัทในสมัยปัจจุบันทุกวันนี้
มีระเบียบและมีวิธีต่าง ๆ กัน
แต่ทุกท่านทุกคนก็ถือว่าตนเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติถูก
แล้ว ดีแล้ว ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เป็นอย่าง
อื่นอีก
เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเอาอะไรเป็นข้อตัดสิน นอกจาก พุทฺโธ
ธมฺโม สงฺโฆ ไม่มีแล้ว
พุทฺโธ แปลว่า รู้ หรือ ตรัสรู้ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ในพระพุทธศาสนา ต้องบำเพ็ญความรู้
ธมฺโม แปลว่า เที่ยงตรง ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ในพระพุทธศาสนา ต้องบำเพ็ญ กาย วาจา ใจ
ให้เที่ยงตรง ไม่ให้ลำเอียง เข้าตนหรือเข้าคนอื่น
สงฺโฆ แปลว่า ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนาต้องเป็น
ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามแบบ พุทธชาติ พุทธโคตร์
พุทธวาส พุทธวงษ์ พุทธประเพณี จริง ๆ หรือ
อริยชาติ อริยโคตร์ อริยวาส อริยวงษ์
อริยประเพณี จริง ๆ เป็นข้อตัดสินว่าถูกแล้ว ดี
แล้ว
หนังสือพระปฏิปัตติสัทธรรมนี้
เป็นหนังสือที่แสดงข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตามแบบพุทธชาติ พุทธโคตร์ พุทธวาส พุทธวงษ์
พุทธประเพณี นั้น จึงจัดว่า
เป็นหลักฐานแห่งการปฏิบัติประพฤติปฏิบัติพระพุทธศาสนาสำคัญยิ่ง
ควรพิมพ์ไว้ให้
เป็นหลักฐานของนักปฏิบัติพระพุทธศาสนาสืบไป
บัดนี้ วัดป่าสาลวัน
ได้ลงมือก่อสร้างอุโบสถมาตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม
๒๔๙๙ แต่มีทุนน้อยไม่เพียงพอแก่การก่อสร้าง จึง
ได้จัดการพิมพ์หนังสือพระปฏิปัตติสัทธรรมนี้ขึ้น
เป็นครั้งที่ ๓ เพื่อ
เป็นเครื่องชำร่วยแก่ท่านที่บริจาคทรัพย์ และ
เป็นนักปฏิบัติพระพุทธศาสนา จะได้ถือเป็นเครื่องมือ
ทั้งเป็นพระบรมครู แนะนำพร่ำสอน
ให้ประพฤติปฏิบัติถูกในหนทางพระพุทธศาสนา ซึ่ง
เป็นทางโลกุตตรธรรมนั้น ไม่ให้ผิดหวัง ทั้ง
ให้เห็นผลแจ้งประจักษ์ในปัจจุบันและเบื้องหน้า
เพราะฉะนั้น เมื่อท่าน
ได้รับหนังสือพระปฏิปัตติสัทธรรมฉบับนี้แล้ว
ขอท่านจงตั้งใจเป็นนักปฏิบัติพระพุทธศาสนาที่แท้จริง
และขอท่านจงร่วมใจเป็นเจ้าภาพบริจาคทรัพย์
สร้างอุโบสถวัดป่าสาลวันให้เ็ป็นผลสำเร็จ
หวังว่าคงไ้ด้รับความร่วมใจเ็ป็นอย่างดียิ่ง
พระครูญาณวิศิษฏ์


หมวดที่ ๑
นมัสการพระไตรสรณาคมน์
แบบวิธีนมัสการพระไตรสรณาคมน์
พุทธบริษัท พึงนมัสการพระไตรสรณาคมน์ทุกวัน
ๆ ละ ๒ เวลา คือเวลาเช้า ๑ เวลาเย็น ๑
วิธีนมัสการ เวลาเช้า เรียกว่า ทำวัตรเช้า
เวลาเย็น เรียกว่า ทำวัตรเย็น มีวิธีทำดังต่อไปนี้ ฯ
ทำวัตรเช้า
พึงกราบพระ ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้งก่อน
แล้วนั่งคุกเข่าประณมมือ เปล่งวา
จากล่าวคำนมัสการพระไตรสรณาคมน์
ดังต่อไปนี้
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา, พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ ฯ
กราบลงครั้งหนึ่ง
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, ธมฺมํ นมสฺสามิ ฯ
กราบลงครั้งหนึ่ง
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, สงฺฆํ นมามิ ฯ
กราบลงครั้งหนึ่ง
สวด นโม ดังต่อไปนี้
คำนำ ว่า
หนฺททานิ มยํ ตํ ภควนฺตํ วาจาย อภิคายิตํ
ปุพฺพภาคนมการํ กโรม เส ฯ
รับพร้อมกันว่า
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. ฯ ๓ จบ ฯ
(ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น)
สวด พุทธาภิถุตึ ดังต่อไปนี้
คำนำ ว่า
หนฺท มยํ พุทฺธาภิถุตึ กโรม เส ฯ
รับสวดพร้อมกันว่า
โย โส ตถาคโต
(พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด)
อรหํ
(เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ ควรบูชา)
สมฺมาสมฺพุทฺโธ
(เป็นผู้รู้ชอบเอง)
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
(เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ)
สุคโต
(เป็นผู้ไปดีแล้ว)
โลกวิทู
(เป็นผู้รู้แจ้งโลก)
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
(เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า)
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
(เป็นผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)
พุทฺโธ
(เป็นผู้เบิกบานแล้ว)
ภควาติ
(เป็นผู้จำแนกธรรม)
โย
(พระองค์ใด)
อิมํ โลกํ สเทวกํ สมารกํ สพฺรหฺมกํ,
สสฺสมณพฺราหฺมณึ ปชํ สเทวมนุสฺสํ สยํ อภิญฺญา
สจฺฉิกตฺวา ปเวเทสิ
(ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ กับ
ทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์ และเทวดา มนุษย์ ให้รู้ตาม)
โย
(พระองค์)
ธมฺมํ เทเสสิ
(ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม)
อาทิกลฺยาณํ
(ไพเราะในเบื้องต้น)
มชฺเฌกลฺยาณํ
(ไพเราะในท่ามกลาง)
ปริโยสานกลฺยาณํ
(ไพเราะในที่สุด)
สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ
พฺรหฺมจริยํ ปกาเสสิ ;
(ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อม
ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบรูรณ์สิ้นเชิง)
ตมหํ ภควนฺตํ อภิปูชยามิ
(ข้าพเจ้า ขอบูชาโดยยิ่ง ซึ่งพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น)
ตมหํ ภควนฺตํ สิรสา นมามิ.
(ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมซึ่งพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า)
กราบลงครั้งหนึ่ง
สวด ธัมมาภิถุตึ ดังต่อไปนี้
คำนำ ว่า
หนฺท มยํ ธมฺมาภิถุตึ กโรม เส ฯ
รับสวดพร้อมกันว่า
โย โส สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
(พระธรรมนั้นอันใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสดีแล้ว)
สนฺทิฏฐิโก
(เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง)
อกาลิโก
(เป็นของไม่มีกาลเวลา)
เอหิปสฺสิโก
(เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้)
โอปนยิโก
(เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ)
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ
(เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลาย พึงรู้แจ้งเฉพาะตัว)
ตมหํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ
(ข้าพเจ้า ขอบูชาโดยยิ่ง ซึ่งพระธรรมอันนั้น)
ตมหํ ธมฺมํ สิรสา นมามิ.
(ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมซึ่งพระธรรมอันนั้น
ด้วยเศียรเกล้า)
กราบลงครั้งหนึ่ง
สวด สังฆาภิถุตึ ดังต่อไปนี้
คำนำ ว่า
หนฺท มยํ สงฺฆาภิถุตึ กโรม เส ฯ
รับสวดพร้อมกันว่า
โย โส สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
(พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว)
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
(พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด เป็น
ผู้ปฏิบัติตรงแล้ว)
ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
(พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้า หมู่ใด เป็น
ผู้ปฏิบัติถูกแล้ว)
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
(พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด เป็น
ผู้ปฏิบัติชอบแล้ว)
ยทิทํ
(คือ)
จตฺตาริ ปุริสยุคานิ
(คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔)
อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา
(บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘)
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ
(นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า)
อาหุเนยฺโย
(ท่านเป็นผู้ควรสักการะที่เขานำมาบูชา)
ปาหุเนยฺโย
(ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ)
ทกฺขิเณยฺโย
(ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน)
อญฺชลิกรณีโย
(ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม)
อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส
(ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า)
ตมหํ สงฺฆํ อภิปูชยามิ
(ข้าพเจ้า ขอบูชาโดยยิ่ง ซึ่งพระสงฆ์หมู่นั้น)
ตมหํ สงฺฆํ สิรสา นมามิ.
(ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมซึ่งพระสงฆ์หมู่นั้น
ด้วยเศียรเกล้า)
กราบลงครั้งหนึ่ง นั่งพับพแนงเชิงประณมมือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 17:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวด คาถาประณตคุณพระไตรสรณาคมน์
ดังต่อไปนี้
คำนำ ว่า
หนฺท มยํ รตนตฺตยปณามคาถาโย ภณาม เส ฯ
รับสวดพร้อมกันว่า
พุทฺโธ สุสุทฺโธ กรุณามหณฺณโว
โยจฺจนฺตสุทฺธพฺพรญาณโลจโน
(พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นผู้หมดจดดีแล้ว
มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ
มีพระปัญญาจักษุหมดจดแล้ว โดยส่วนเดียว)
โลกสฺส ปาปูปกิเลสฆาตโก
(ฆ่าบาปและอุปกิเลสแห่งโลก)
วนฺทามิ พุทธํ อหมาทเรน ตํ
(ข้าพเจ้าขอไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดย
ความเคารพ)
ธมฺโม ปทีโป วิย ตสฺส สตฺถุโน
(พระธรรมของพระศาสดาจารย์เจ้าพระองค์นั้น
ราวกับประทีป)
โย มคฺคปากามตเภทภินฺนโก
(พระธรรมอันใดต่างโดยประเภท คือมรรคผล
และนิพพาน)
โลกุตฺตโร โย จ ตทตฺถทีปโน
(เป็นธรรมข้ามโลก และธรรมอันใดส่องเนื้อ
ความแห่งโลกุตตรธรรมนั้น)
วนฺทามิ ธมฺมํ อหมาทเรน ตํ
(ข้าพเจ้าขอไหว้พระธรรมอันนั้น โดยความเคารพ)
สงฺโฆ สุเขตฺตาภฺยติเขตฺตสญฺญิโต โย ทิฏฐสนฺโต
สุคตานุโพธโก
(พระสงฆ์หมู่ใด จัดเป็นนาดียิ่งกว่านาที่ดี มี
ความระงับอันประจักษ์แล้ว
รู้ตามเสด็จพระสุคตเจ้า)
โลลปฺปหีโน อริโย สุเมธโส
(มีกิเลสโลเลอันละได้แล้ว
เป็นอริยเจ้ามีปัญญาดี)
วนฺทามิ สงฺฆํ อหมาทเรน ตํ
(ข้าพเจ้า ขอไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยความเคารพ)
อิจฺเจวเมกนฺตภิปูชเนยฺยกํ วตฺถุตฺตยํ วนฺทยตาภิสงฺขตํ
ปุญญํ มยายํ มม สพฺพุปทฺทวา มา โหนฺตุ เว ตสฺส
ปภาวสิทฺธิยา.
(บุญอันใด ที่ข้าพเจ้าไหว้วัตถุ ๓ ซึ่งเป็นของควรบูชา
โดยส่วนเดียวสั่งสมแล้วอย่างนี้ ๆ ขอสรรพอุปัทวะ
ทั้งหลายจงอย่ามี ด้วยความประสิทธานุภาพแห่งบุญ
นั้นแล)

สังเวคปริกิตตนปาฐ
ปาฐต่อไปนี้ ถ้าสามเณรสวดให้เปลี่ยนตัวว่า
“ภิกขูนํ สิกฺขาสาชีวสมปนฺนา” เป็นคำว่า
สามเณรานํ สิกฺขาชีวิสมาปนฺนา” ดังนี้
สวด สังเวคปริกิตตนปาฐ ดังต่อไปนี้
คำนำ ว่า
หนฺท มยํ สํเวคปริกิตฺตนปาฐํ ภณาม เส ฯ
รับสวดพร้อมกันว่า
อิธ ตถาคโต โลเก อุปฺปนฺโน อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
(ในโลกนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้เกิดขึ้นแล้ว)
ธมฺโม จ เทสิโต
(และธรรมอันพระตถาคตเจ้าทรงแสดงแล้ว)
นิยฺยานิโก
(เป็นไปเพื่อนำสัตว์ออก)
อุปสมิโก
(เป็นไปเพื่ออันสงบระงับ)
ปรินิพฺพานิโก
(เป็นไปเพื่ออันดับรอบ)
สมฺโพธคามี
(ให้ถึงความตรัสรู้)
สุคตปฺปเวทิโต
(พระสุคตประกาศแล้ว)
มยนฺตํ ธมฺมํ สุตฺวา เอวํ ชานาม
(เราได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงรู้อย่างนี้ว่า)
ชาติปิ ทุกขา
(แม้ความเกิด เป็นทุกข์)
ชราปิ ทุกฺขา
(แม้ความแก่ เป็นทุกข์)
มรณมฺปิ ทุกขํ
(แม้ความตาย เป็นทุกข์)
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา
(แม้ความแห้งใจ ความร่ำไรเพ้อ ความทุกข์
ความเสียใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์)
อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข
(ความประจวบสิ่งอันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์)
ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข
(ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเป็นทุกข์)
ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ
(ปรารถนาอยู่ย่อมไม่ได้ แม้อันใดแม้อันนั้นเป็นทุกข์)
สงฺขิตฺเตน ปญจุปาทานกุขนฺธา ทุกฺขา
(โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์)
เสยฺยถีทํ
(กล่าวคือ)
รูปูปาทานกฺขนฺโธ
(อุปาทานขันธ์ คือ รูป)
เวทนูปาทานกฺขนฺโธ
(อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา)
สงฺขารูปาทานกฺขนฺโธ
(อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร)
วิญฺญาณูปาทานกฺขนฺโธ
(อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ)
เยสํ ปริญฺญาย ธรมาโน โส ภควา เอวํ พหุลํ สาวเก
วิเนติ
(เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังดำรงพระชนม์อยู่
ย่อมแนะนำสาวกทั้งหลาย เพื่อ
ให้กำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้โดยมาก)
เอวํ ภาคา จ ปนสฺส ภควโต สาวเกสุ อนุสาสนี พหุลา
ปวตฺตติ
(ก็แลอนุสาสนีเป็นอันมากของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นไปในสาวกทั้งหลาย
มีส่วนอย่างนี้)
รูปํ อนิจฺจํ
(รูป ไม่เที่ยง)
เวทนา อนิจฺจา
(เวทนา ไม่เที่ยง)
สญฺญา อนิจฺจา
(สัญญา ไม่เที่ยง)
สงฺขารา อนิจฺจา
(สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง)
วิญญาณํ อนิจฺจํ
(วิญญาณ ไม่เที่ยง)
รูปํ อนตฺตา
(รูป เป็นอนัตตา)
เวทนา อนตฺตา
(เวทนา เป็นอนัตตา)
สญฺญา อนตฺตา
(สัญญา เป็นอนัตตา)
สงฺขารา อนตฺตา
(สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา)
วิญฺญาณํ อนตฺตา
(วิญญาณ เป็นอนัตตา)
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
(สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง)
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ
(ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา ดังนี้)
เต มยํ โอติณฺณามฺห ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ
ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ
(เราทั้งหลายเป็นผู้อัน ชาติ ชรา มรณา โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว)
ทุกฺโขติณฺณา
(ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว)
ทุกฺขปเรตา
(มีทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว)
อปฺเปวนามิมสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยา
ปญฺญาเยถาติ
(ไฉน ความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
จะพึงปรากฏ)
จิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ สรณํ คตา
(เราถึงแล้วซึ่งพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น
เป็นสรณะ)
ธมฺมญฺจ
(ซึ่งพระธรรมด้วย)
ภิกฺขุสงฺฆญฺจ
(ซึ่งภิกษุสงฆ์ด้วย)
ตสฺส ภควโต สาสนํ ยถาสติ ยถาพลํ มนสิกโรม
อนุปฏิปชฺชาม
(กระทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสอนของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตามสติกำลัง)
สา สา โน ปฏิปตฺติ
(ขอความปฏิบัตินั้น ๆ ของเรา)
อิมสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยาย สํวตฺตตุ.
(จงเป็นไปเพื่ออันกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
เทอญ.
(ถ้าสตรีสวด “เต มยํ” เปลี่ยนเป็น “ตา มยํ” )
ถ้าเป็นภิกษุสวดถึง ปญฺญาเยถาติ แล้วเปลี่ยนสวด
ดังนี้
จิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ อุททิสฺส อรหนฺตํ
สมฺมาสมฺพุทฺธํ
(เราอุทิศเฉพาะพระ
ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น)
สทฺธา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิตา
(มีศรัทธาออกจากเรือน บวชหาเรือนมิได้)
ตสฺมึ ภควติ พฺรหฺมจริยํ จราม
(ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น)
ภิกฺขูนํ สิกฺขาสาชีวสมาปนฺนา
(ถึงพร้อมแล้วด้วยสิกขาอาชีพของภิกษุทั้งหลาย)
ตํ โน พฺรหฺมจริยํ
(ขอพรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น)
อิมสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยาย สํวตฺตตุ
(จงเป็นไปเพื่ออันกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวล
เทอญ)

ทำวัตรค่ำ
พึงกราบพระ ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้งก่อน
แล้วนั่งคุกเข่าประณมมือ เปล่งวา
จากล่าวนมัสการพระไตรสรณาคมน์ ดังต่อไปนี้
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา, พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ ฯ
กราบลงครั้งหนึ่ง
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, ธมฺมํ นมสฺสามิ ฯ
กราบลงครั้งหนึ่ง
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, สงฺฆํ นมามิ ฯ
กราบลงครั้งหนึ่ง
สวด นโม กับ พุทธานุสสติ ต่อกัน
คำนำ ว่า
หนฺททานิ มยํ ตํ ภควนฺตํ วาจาย อภิคายิตํ
ปุพฺพภาคนมการญฺเจว พุทฺธานุสสตินยญจ กโรม เส ฯ
รับสวดพร้อมกันว่า
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. ฯ ๓ จบ ฯ
พร้อมกันสวด พุทธานุสสติ ต่อกัน
ตํ โข ปน ภควนฺตํ เอวํ กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต
(ก็กิตติศัพท์อันงาม ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้นแล ฟุ้งเฟื่องไปดังว่านี้)
อิติปิ
(แม้เพราะเหตุนี้ ๆ )
โส ภควา
(พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น)
อรหํ
(เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ ควรบูชา)
สมฺมาสมฺพุทฺโธ
(เป็นผู้รู้ชอบเอง)
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
(เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ)
สุคโต
(เป็นผู้ไปดีแล้ว)
โลกวิทู
(เป็นผู้รู้แจ้งโลก)
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
(เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า)
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
(เป็นผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)
พุทฺโธ
(เป็นผู้เบิกบานแล้ว)
ภควาติ.
(เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้)
หยุดระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า
สวด พุทธาภิคีติ
คำนำ ว่า
หนฺท มยํ พุทฺธาภิคีตึ กโรม เส
รับสวดพร้อมกันว่า
พุทฺธวารหนฺตวรตาทิคุณาภิยุตฺโต
(พระพุทธเจ้า เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยพระคุณ มี
ความเป็นพระอรหันต์ เป็นต้น)
สุทฺธาภิญาณกรุณาหิ สมาคตตฺโต
(มีพระอัธยาศัย ประกอบด้วยพระบริสุทธิคุณ
พระปัญญาคุณ และพระกรุณาคุณ)
โพเธสิ โย สุขนตํ กมลํว สูโร
(พระองค์ใด ยังประชุมชนดีให้เบิกบานแล้ว
ดังดวงพระอาทิตย์ยังดอกบัวในบานฉะนั้น)
วนฺทามหํ ตมรณํ สิรสา ชิเนนฺทํ
(ข้าพเจ้า ขอไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้
ไม่มีข้าศึก ผู้เป็นจอมชนะ ด้วยเศียรเกล้า)
พุทฺโธ โย สพฺพปาณีนํ, สรณํ เขมมุตฺตมํ
(พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษมสุด
ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย)
ปฐมานุสฺสติฏฺฐานํ วนฺทามิ ตํ สิเรนหํ
(ข้าพเจ้า ขอไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้
เป็นที่ตั้งแห่งอนุสสนติที่ ๑ ด้วยเศียรเกล้า)
พุทฺธสฺสาหสฺมิ ทาโส (ทาสีว)
(ข้าพเจ้า ขอเป็นทาส (ทาสี) ของพระพุทธเจ้าเทียว)
พุทฺโธ เม สามิกิสฺสโร
(พระพุทธเจ้าเป็นนายของข้าพเจ้า)
พุทฺโธ ทุกฺขสฺส ฆาตา จ
(พระพุทธเจ้าเป็นผู้กำจัดทุกข์ด้วย)
วิธาตา จ หิตสฺส เม
(เป็นผู้ทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าด้วย)
พุทฺธสฺสาหํ นิยฺยาเทมิ สรีรญฺชีวิตญฺจิทํ
(ข้าพเจ้า ขอมอบกายถวายชีวิตอันนี้แก่พระพุทธเจ้า)
วนฺทนฺโตหํ (ตีหํ) จริสฺสามิ พุทฺธสฺเสว สุโพธิตํ
(ข้าพเจ้าไหว้ จักประพฤติซึ่งความตรัสรู้ดี
ของพระพุทธเจ้าทีเดียว)
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ
(สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี)
พุทฺโธ เม สรณํ วรํ
(พระพุทธเจ้า เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า)
เอเตน สจฺจวชฺเชน
(ด้วยความกล่าวสัตย์นี้)
วฑฺเฒยฺยํ สตฺถุ สาสเน
(ขอข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา)
พุทฺธํ เม วนฺทมาเนน (วนฺทมานาย) ยํ ปุญฺญํ ปสุตํ อิธ
(บุญใด อันข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้า ขวนขวายแล้ว
ในที่นี้)
สพฺเพปิ อนฺตรายา เม มาเหสุง ตสฺส เตชสา
(แม้สรรพอันตรายทั้งหลาย อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า
ด้วยเดชบุญนั้น)
กราบลง หมอบอยู่ว่า
กาเยน วาจาย ว เจตสา วา พุทฺเธ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ
(กรรมน่าเกลียดอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว
ในพระพุทธเจา ด้วยกาย หรือวาจา ใจ)
พุทฺโธ ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ กาลนฺตเร สํวริตุ ว
พุทฺเธ
(ขอพระพุทธเจ้าจงทรงงดโทษนั้น เพื่อระวังต่อไป
ในพระพุทธเจ้า)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 17:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวด ธัมมานุสฺสติ
คำนำ ว่า
หนฺท มยํ ธมฺมานุสฺสตินยํ กโรม เส ฯ
รับสวดพร้อมกันว่า
สฺวาขาโต ภควตา ธมฺโม
(พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว)
สนฺทิฏฺฐิโก
(เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง)
อกาลิโก
(เป็นของไม่มีกาลเวลา)
เอหิปสฺสิโก
(เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้)
โอปนยิโก
(เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ)
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ.
(เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลาย พึงรู้แจ้งเฉพาะตัว ดังนี้)
หยุดระลึกคุณพระธรรม
สวด ธมฺมาภิคีติ
คำนำ ว่า
หนฺท มยํ ธมฺมาภิคีตึ กโรม เส ฯ
รับสวดพร้อมกันว่า
สฺวาขาตตาทิคุณโยควเสน เสยฺโย
(พระธรรม เป็นของอันประเสริฐ
ด้วยอำนาจอันเประกอบด้วยคุณ มีความ
เป็นแห่งสวากขาตะเป็นต้น)
โย มคฺคปากปริยตฺติวิโมกฺขเภโท
(อันใด ต่างด้วยมรรคผล ปริยัติ และวิโมกข์)
ธมฺโม กุโลกปตนา ตทธาริธารี
(พระธรรมกันผู้ทรงธรรมนั้นจากความตกไป
ในโลกที่ชั่ว)
วนฺทามหํ ตมหรํ วรธมฺมเมตํ
(ข้าพเจ้า ขอไหว้พระธรรมอันขจัดความมืดอันนั้น)
ธมฺโม โย สพฺพปาณีนํ สรณํ เขมมุตฺตมํ
(พระธรรมอันใด เป็นสรณะอันเกษมสุด
ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย)
ทุติยานุสฺสติฏฺฐานํ วนฺทามิ ตํ สิเรนหํ
(ข้าพเจ้า ขอไหว้พระธรรมอันนั้น ซึ่ง
เป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติที่ ๑ ด้วยเศียรเกล้า)
ธมฺมสฺสาหสฺมิ ทาโส(ทาสี) ว
(ข้าพเจ้า ขอเป็นทาส(ทาสี) ของพระธรรมเทียว)
ธมฺโม เม สามิกิสฺสโร
(พระธรรมเป็นนายของข้าพเจ้า)
ธมฺโม ทุกฺขสฺส ฆาตา จ
(พระธรรมเป็นธรรมกำจัดทุกข์ด้วย)
วิธาตา จ หิตสฺส เม
(เป็นธรรมทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าด้วย)
ธมฺมสฺสาหํ นิยฺยาเทมิ สรีรญฺชีวิตญฺจิทํ
(ข้าพเจ้า ขอมอบกายถวายชีวิตอันนี้แด่พระธรรม)
วนฺทนฺโตหํ (ตีหํ) จริสฺสามิ ธมฺมสฺเสว สุธมฺมตํ
(ข้าพเจ้าไหว้อยู่ จักประพฤติซึ่งความเป็นธรรมดี
แห่งพระธรรมทีเดียว)
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ธมฺโม เม สรณํ วรํ
(สรณะอันอื่นของข้าพเจ้าไม่มี)
เอเตน สจฺจวชฺเชน
(ด้วยความกล่าวสัตย์นี้)
วฑฺเฒยฺยํ สตฺถุ สาสเน
(ขอข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา)
ธมฺมํ เม วนฺทมาเนน (วนฺทมานายา) ยํ ปุญฺญํ ปสุตํ อิธ
(บุญใด อันข้าพเจ้าไหว้พระธรรม ขวนขวายแล้ว
ในที่นี้)
สพฺเพปิ อนฺตรายา เม, มาเหสุง ตสฺส เตชสา
(แม้สรรพอันตรายทั้งหลายอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า
ด้วยเดชบุญนั้น)
กราบลง หมอบอยู่ว่า
กาเยน วาจาย ว เจตสา วา ธมฺเม กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ
(กรรมน่าเกลียดอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว
ในพระธรรม ด้วยกายหรือวาจา ใจ)
ธมฺโม ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ
(ขอพระธรรมจงทรงงดโทษนั้น)
กาลนฺตเร สํวริตุํ ว ธมฺเม.
(เพื่อระวังต่อไปในพระธรรม)

สวด สังฆานุสสติ
คำนำ ว่า
หนฺท มยํ สงฺฆานุสฺสตินยํ กโรม เส ฯ
รับสวดพร้อมกันว่า
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
(พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็น
ผู้ปฏิบัติดีแล้ว)
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
(พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระำภาคเจ้า เป็น
ผู้ปฏิบัติตรงแล้ว)
ายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
(พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระำภาคเจ้า เป็น
ผู้ปฏิบัติถูกแล้ว)
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
(พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระำภาคเจ้า เป็น
ผู้ปฏิบัติชอบแล้ว)
ยทิทํ
(คือ)
จตฺตาริ ปุริสยุคานิ
(คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔)
อฏฺปุริสปุคฺคลา
(บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘)
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ
(นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า)
อาหุเนยฺโย
(ท่านเป็นผู้ควรสักการะที่เขานำมาบูชา)
ปาหุเนยฺโย
(ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ)
ทกฺขิเณยฺโย
(ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน)
อญฺชลิกรณีโย
(ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม)
อนุตฺตรํ ปุญฺกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ.
(ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้)
หยุดระลึกถึงคุณพระสงฆ์
สวด สงฺฆาภิคีติ
คำนำ ว่า
หนฺท มยํ สงฺฆาภิคีตึ กโรม เส
รับสวดพร้อมกันว่า
สทฺธมฺมโช สุปฏิปตฺติคุณาทิยุตฺโต
(พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้เกิด
จากสัทธรรม ประกอบแล้วด้วยคุณ มีสุปฏิบัติคุณ
เป็นต้น)
โยฏฺฐพฺพิโธ อริยปุคฺคลสงฺฆเสฏฺโฐ
(พวกใดเป็นหมู่แห่งอริยบุคคลอันประเสริฐสุด ๘
จำพวก)
สีลาทิธมฺมปวราสยกายจิตฺโต
(มีกายและจิต อาศัยธรรมอันประเสริฐ มีศีล
เป็นต้น)
วนฺทามหํ ตมริยาน คณํ สุสทฺธํ
(ข้าพเจ้า ขอไหว้หมู่พระอริยะทั้งหลายพวกนั้น
ซึ่งหมดจดสะอาด)
สงฺโฆ โย สพฺพปาณีนํ สรณํ เขมมุตฺตมํ
(พระสงฆ์หมู่ใด
เป็นสรณะอันเกษมสุดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย)
ตติยานุสฺสติฏฺฐานํ วนฺทามิ ตํ สิเรนหํ
(ข้าพเจ้า ขอไหว้พระสงฆ์พวกนั้น ผู้
เป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติที่ ๓ ด้วยเศียรเกล้า)
สงฺฆสฺสาหสฺมิ ทาโสว (ทาสีว)
(ข้าพเจ้า ขอเป็นทาส (ทาสี) ของพระสงฆ์เทียว)
สงฺโฆ เม สามิกิสฺสโร
(พระสงฆ์เป็นเจ้านายของข้าพเจ้า)
สงฺโฆ ทุกฺขสฺส ฆาตา จ
(พระสงฆ์เป็นผู้กำจัดทุกข์ด้วย)
วิธาตา จ หิตสฺส เม
(เป็นผู้ทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าด้วย)
สงฺฆสฺสาหํ นิยฺยาเทมิ สรีรญฺชีวิตญฺจิทํ
(ข้าพเจ้า ขอมอบกายถวายชีวิตอันนี้ แด่พระสงฆ์)
วนฺทนฺโตหํ (ตีหํ) จริสฺสามิ สงฺฆสฺโสปฏิปนฺนตํ
(ข้าพเจ้าไหว้อยู่ จักประพฤติซึ่ง
ความปฏิบัติแห่งพระสงฆ์)
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ
(สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี)
สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
(พระสงฆ์ เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า)
เอเตน สจฺจวชฺเชน
(ด้วยความกล่าวสัตย์นี้)
วฑฺเฒยฺยํ สตฺถุ สาสเน
(ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา)
สงฺฆํ เม วนฺทมาเนน (วนฺทมานาย)ยํ ปุญฺญํ ปสุตํ อิธ
(บุญใด อันข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์ ขวนขวายแล้วในที่นี้)
สพฺเพปิ อนฺตรายา เม มาเหสุง ตสฺส เตชสา.
(แม้สรรพอันตรายทั้งหลาย อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า
ด้วยเดชบุญนั้น)
กราบลง หมอบอยู่ว่า
กาเยน วาจาย ว เจตสา วา สงฺเฆ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ
(กรรมน่าเกลียดอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว
ในพระสงฆ์ ด้วยกายหรือวาจา ใจ)
สงฺโฆ ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ
(ขอพระสงฆ์จงทรงงดโทษนั้น)
กาลนฺตเร สํวริตุํว สงฺเฆ.
(เพื่อระวังต่อไปในพระสงฆ์)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 18:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แบบวิธีเจริญพรหมวิหารทั้ง ๔ แปล
อหํ สุขิโต โหมิ
ขอเราจงเป็นผู้มีความสุขเถิด ฯ
นิทฺทุกฺโข โหมิ
ขอเราจงเป็นผู้ปราศจากทุกข์ทั้งปวงเถิด ฯ
อเวโร โหมิ
ขอเราจงเป็นผู้ปราศจากเวรทั้งปวงเถิด ฯ
อพฺยาปชฺโฌ โหมิ
ขอเราจงเป็นผู้ปราศจากความเบียดเบียนทั้งปวงเถิด ฯ
อนีโฆ โหมิ
ขอเราจงปราศจากความลำบากยากเข็ญทั้งปวงเถิด ฯ
สุขี อตฺตานํ ปริหรามิ
ขอเราจงบริหารตนให้มีความสุขตลอดทุกเมื่อเถิด ฯ
เมตตาตน จบเ่ท่านี้ ฯ
เจริญเมตตาสัตว์
สพฺเพ สตฺตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วย
กันหมดทั้งสิ้น
สุขิตา โหนฺตุ
จงเป็นสุข ๆ เถิด ฯ
สพฺเพ สตฺตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วย
กันหมดทั้งสิ้น
อเวรา โหนตุ
จงอย่าได้เป็นผู้มีเวรแก่กันและกันเลย ฯ
สพฺเพ สตฺตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วย
กันหมดทั้งสิ้น
อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ
จงอย่าได้เป็นผู้เบียดเบียนแก่กันและกันเลย ฯ
สพฺเพ สตฺตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วย
กันหมดทั้งสิ้น
อนีฆา โหนฺตุ
จงอย่าได้มีความลำบากยากแค้นทั้งปวงเถิด
สพฺเพ สตฺตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วย
กันหมดทั้งสิ้น
สุขี อัตฺตานํ ปริหรนฺตุ
จงบริหารตนให้มีความสุขตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ
เมตตาสัตว์จบเท่านี้ ฯ
เจริญกรุณาแก่สัตว์ทั้งปวง
สพฺเพ สตฺตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วย
กันหมดทั้งสิ้น
สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจนฺตุ
จงเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงเถิด ฯ
จบกรุณาเท่านี้ ฯ
เจริญมุทิตาแก่สัตว์ทั้งปวง
สพฺเพ สตฺตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วย
กันหมดทั้งสิ้น
ลทฺธสมฺปติโต มาวิคจฺฉนฺตุ ฯ
จงอย่าได้ปราศจากสมบัติ อันตนได้แล้วเถิด ฯ
จบมุทิตาเท่านี้ ฯ
เจริญอุเบกขาพรหมวิหาร
สพฺเพ สตฺตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วย
กันหมดทั้งสิ้น
กมฺมสฺสกา
เป็นผู้มีกรรม เป็นของ ๆ ตน
กมฺมทายาทา
มีกรรมเป็นผู้ให้ผล
กมฺมโยนี
มีกรรมเป็นแดนเกิด
กมฺมพนฺธู
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กมฺมปฏิสสรณา
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยํ กมฺมํ กริสฺสนฺติ
จักทำกรรมอันใดไว้
กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา
ที่เป็นบุญ หรือเป็นบาป
ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ฯ
จบอุเบกขาพรหมวิหาร

แบบวิธี บูชาดอกไม้ธูปเทียน
ยมหํ สมฺมาสมฺพุทฺธํ สรณํ ...คโต ปุํลิงค์ (ชายว่า
) ... คตา อิตฺถีลิงค์ (หญิงว่าป
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้ตรัสรู้ดีแล้วเอง
โดยชอบ พระองค์ใดแน่ะ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่ง
กำจัดภัยได้จริง
อิมินา สกฺกาเรน ตํ ภควนฺตํ อภิปูชยามิ ฯ
ข้าพเจ้าบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ด้วยเครื่องสักการะอันนี้ ฯ
กราบลงครั้งหนึ่ง
ยมหํ สฺวากฺขาตํ ภควตา ธมฺมํ สรณํ ... คโต ปุลิงค์ (
ชายว่า) ... คตา อิตฺถีลิงค์ (หญิงว่า)
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาไ้ว้ดี
แล้ว เหล่าใดแน่ะ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่ง
กำจัดภัยได้จริง
อิมินา สกฺกาเรน ตํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ ฯ
ข้าพเจ้าบูชาพระธรรมนั้น
ด้วยเครื่องสักการะอันนี้ ฯ
กราบลงครั้งหนึ่ง
ยมหํ สุปฏิปนฺนํ สงฺฆํ สรณํ ... คโต ปุลิงค์ (ชายว่า) ...
คตา อิตฺถีลิงค์ (หญิงว่า)
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี
แล้ว หมู่ใดแน่ะ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดภัย
ได้จริง
อิมินา สกฺกาเรน ตํ สงฺฆํ อภิปูชยามิ ฯ
ข้าพเจ้าบูชาพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเครื่องสักการะอันนี้ ฯ
กราบลงครั้งหนึ่ง
แบบวิธีไหว้พระ อีกแบบหนึ่ง
ยมหํ สมฺมาสมฺพุทฺธํ ภควนฺตํ สรณํ ...คโต ปุํลิงค์ (
ชายว่า) ... คตา อิตฺถีลิงค์ (หญิงว่าป
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสรู้ดีแล้วเอง
โดยชอบ พระองค์ใดแน่ะ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่ง
กำจัดภัยได้จริง
ตํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ ฯ
ข้าพเจ้ากราบไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯ
กราบลงครั้งหนึ่ง
ยมหํ สฺวากฺขาตํ ภควตา ธมฺมํ สรณํ ...คโต ปุํลิงค์ (
ชายว่า) ... คตา อิตฺถีลิงค์ (หญิงว่า)
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเทศนาไว้ดี
แล้ว เหล่าใดแน่ะ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่ง
กำจัดภัยได้จริง
ตํ ธมฺมํ นมสฺสามิ ฯ
ข้าพเจ้ากราบไหว้พระธรรมนั้น ฯ
กราบลงครั้งหนึ่ง
ยมหํ สุปฏิปนฺนํ สงฺฆํ สรณํ ...คโต ปุํลิงค์ (ชายว่า
) ... คตา อิตฺถีลิงค์ (หญิงว่าป
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปฏิบัติดี
แล้ว หมู่ใดแน่ะ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดภัย
ได้จริง
ตํ สงฺฆํ นมามิ ฯ
ข้าพเจ้ากราบไหว้พระอริยสงฆ์สาวกนั้น ฯ
กราบลงครั้งหนึ่ง
แบบคำประกาศทานมัยกุศล
อิทํ เม ทานํ อาสวกฺขยาวหํ นิพฺพานปจฺจโย โหตุ.
เรายินดีในทาน การให้ของ ขอจงได้สำเร็จอาสวขัย
สิ้นไปแห่งเครื่องดองสันดาน ขอจง
เป็นปัจจัยแก่พระนิพพานเถิด.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 18:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๓
บทจำเป็น
เรื่อง ภาวนา
ภาวนา เป็นชื่อแห่งความเพียร ที่นักปฏิบัติ
ในพระพุทธศาสนาได้ถือ
เป็นข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างดียิ่ง ไม่มีข้อปฏิบัติ
อื่นดียิ่งขึ้นไปกว่า
ที่มาแห่งภาวนา
ภาวนานี้ มีมาในสัมมัปปธาน ๔ ประการ คือ :
๑. ปหานปธาน เพียรสละบาปอกุศล ให้ขาด
จากสันดาน
๒. สังวรปธาน เพียรสำรวมระวังรักษา ไม่
ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
๓. ภาวนาปธาน เพียรภาวนา ให้บุญกุศลเกิดขึ้น
ในสันดาน
๔. อนุรักขนาปธาน เีพียรรักษาบุญกุศลที่เกิดขึ้น
แล้ว ไม่ให้เสื่อมสูญอันตรธาน
ข้อที่ ๓ แห่งสัมมัปปธาน ความว่า ภาวนาปธาน
เพียรบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้นในสันดานนี้
เป็นข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง
ไม่มีข้อปฏิบัติอื่นดียิ่งขึ้นไปกว่า พุทธบริษัททั้ง ๔
จะเว้นเสียมิได้ จำเป็น
ต้องบำเพ็ญภาวนาปธานทุกคนตลอดไป จึง
เป็นไปเพื่อพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร
สำเร็จพระอมตมหานครนฤพาน
หรือสำเร็จมรรคผลธรรมวิเศษ
บรรลุจตุปฏิสัมภิทาญาณแตกฉาน
ในห้องพระไตรปิฎก ด้วยการบำเพ็ญภาวนาปธานนี้
ทั้งนั้น
ถ้าไม่ได้บำเพ็ญภาวนาปธานนี้แล้ว ก็ไม่เป็นไปเพื่อพ้น
จากทุกข์ในวัฏสังสาร คือไม่สำเร็จพระนิพพานเลย
เป็นอันขาด ฯ
อนึ่ง ภาวนาปธานนี้ เป็นยอดแห่งข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ทั้งปวง คือ พุทธบริษัททั้ง ๔ เมื่อมีการบำเพ็ญทาน
และรักษาศีลให้บริสุทธิ์ดีแล้ว จำเป็น
ต้องมีการบำเพ็ญภาวนา หรือเหล่าพระภิกษุ
และสามเณร เมื่อได้บรรพชา อุปสมบท
ในพระพุทธศาสนาแล้ว ต้องบำเพ็ญสัมมัปปธานทั้ง ๔
ประการ มีภาวนาปธานเป็นยอด คือ บำเพ็ญศีล
สมาธิ ปัญญา ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท
คำว่า "ภาวนา" แปลว่า ทำให้เกิด ให้มี ให้เป็น คือ
ทำกาย วาจา ใจ ให้เป็นศีล สมาธิ ปัญญา
หรือทำขันธสันดานของตนที่เป็นปุถุชนให้
เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา หรือมิฉะ
นั้นก็กระทำขันธสันดานของตน ที่เป็นพระโพธิสัตว์ ให้
ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นในโลก นับว่ากระทำให้
เป็นไปในพระธรรมวินัย
ทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ทีเดียว ฯ
ประเภทแห่งการภาวนา
พระอนุรุทธาจารย์เจ้า
แยกประเภทภาวนาตามลำดับขั้นไว้ ๒ ประเภท คือ :
๑. สมถภาวนา ทำใจให้มีสติสัมปชัญญะสงบ
จากกามารมณ์ ตั้งมั่นเป็นสมาธิภาวนา
๒. วิปัสสนาภาวนา ทำใจให้มีสติสัมปชัญญะ
และมีสมาธิบริบูรณ์แล้ว ให้เกิดมีปัญญาในเบื้องต้น
จะกล่าวสมถภาวนาก่อนแล้วจึง
จะกล่าววิปัสสนาภาวนา โดยลำดับ เมื่อภายหลัง
ประเภทสมถภาวนา
ในพระคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
พระอนุรุทธาจารย์เจ้า แยกประเภทแห่งสมถภาวนา
ไว้ เป็น ๓ ประการ คือ :
๑. บริกรรมภาวนา เวลานั่งสมาธิภาวนา
ใช้บริกรรมบทใดบทหนึ่ง
๒. อุปจารภาวนา จิตตั้งมั่น เป็นอุปจารสมาธิ
๓. อัปปนาภาวนา จิตตั้งมั่น เป็นอัปปนาสมาธิ

สมถภาวนาวิธี
บทเนื้อความย่อ
ในเรื่องสมถภาวนาวิธี มีวิธีปฏิบัติละเอียดมาก แต่
ในบทเนื้อความย่อนี้ จะกล่าวเฉพาะใจความย่อ ๆ พอ
ให้ทราบล่วงหน้าไว้ ว่าสมถะคืออะไร ฯ
พระสมถกรรมฐานทั้ง ๔๐ ประการ คือ
อุบายภาวนาให้จิตเป็นสมาธิฯ เมื่อกล่าวถึงเรื่องที่จิต
เป็นสมาธิ ดำเนินถูกในหนทางอริยมรรคอริยผล
แล้วก็เป็นอันถูกต้องแล้ว ในพระสมถกรรมฐาน
ทั้ง ๔๐ ประการ
อีกประการหนึ่ง พระสมถกรรมฐานทั้ง ๔๐
ประการ เหล่านี้มีอาจารย์บางจำพวก
สอนคณะสานุศิษย์ของตน ให้ขึ้นพระสมถกรรมฐาน
ทั้ง ๔๐ ประการ ป็นห้อง ๆ ไป ครบทั้ง ๔๐
ประการ เป็น ๔๐ ห้อง กระทำให้คุณะสานุศิษย์
เข้าใจผิดและถือเป็นถูก คือถือเอาว่า
พระกรรมฐานทั้ง ๔๐ ห้อง ใครได้ขึ้นห้องไหน ก็
ได้แต่ห้องนั้น ไม่ได้ครบทั้ง ๔๐ ห้อง ถ้าต้องการ
ให้ครบทั้ง ๔๐ ห้อง ต้องขึ้นไปทีละห้อง ๆ จนครบทั้ง
๔๐ ห้อง จึงจะได้พระกรรมฐานทั้ง ๔๐ ประการ
ดังนี้ เป็นการสอนผิดและเข้าใจผิด ถือผิดเป็นถูก
จากพระบรมศาสดาจารย์ เป็นอย่างยิ่ง ฯ
ความจริง พระธรรมวินัย
ทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์
เป็นธรรมแท่งเดียวกัน
สมเด็จพระสัพพัญญูบรมครูเจ้า พระองค์ทรง
เป็นวิภัชชวาที คือ พระองค์ทรงจำแนกขันธ์ ๕ คือ กาย
กับใจ ในตัวของมนุษย์คนเดียวเท่านั้น เป็น
ทั้งพระธรรม ทั้งพระวินัย
ครบจำนวนแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์รวมกัน
เข้าก็เป็นธรรมแท่งเดียวกัน ฯ
เมื่อพระธรรมวินัยเป็นธรรมแท่งเดียวกันอยู่แล้ว
อาจารย์บางจำพวกมาสอนให้แตกต่างออกไปเป็นห้อง
ๆ ไม่สอนให้รวมเป็นแท่งเดียวกัน ชื่อว่าสอนผิด
จากพระบรมศาสดาจารย์ เป็นอย่างยิ่ง ฯ
อีกประการที่ ๒ นักปฏิบัติใหม่ทั้งหลายยัง
ไม่รู้ชั้นภูมิแห่งจิต ตัดสินไม่
ได้ว่าสมถกรรมฐานเพียงแค่ไหน เมื่อไรจะ
ถึงวิปัสสนากรรมฐานสักที ครั้นได้นั่งสมาธิ บังเกิดมี
ความรู้นิด ๆ หน่อย ๆ ก็เข้าใจว่าตน
ได้วิปัสสนาญาณเสียแล้ว ก็เป็นหลงติดอยู่
ในสมถกรรมฐานตลอดไป ฯ
เนื่องด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องกล่าวเนื้อ
ความย่อของสมถะไว้ดังต่อไปนี้
สมเด็จพระสัพพัญญูบรมครูเจ้า
เมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกแล้ว
พระองค์ย่อมทรงรู้แจ้งว่า เวไนยสัตว์ทั้งหลาย
ล้วนเป็นผู้หลงข้องอยู่ในวัฏสงสาร
ไม่เห็นหนทางพระนิพพาน จึงเอาตนให้พ้นจากทุกข์ไม่
ได้ ฯ
เมื่อพระองค์ทรงพระมหากรุณา โปรดเวไนยสัตว์
ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์ภัยในวัฏสงสาร จึงจำเป็น
ต้องตะล่อมเอาน้ำใจของเวไนยสัตว์ทั้งหลายให้สงบ
จากเครื่องข้อง รวมเข้าสู่วิถีหนทางพระนิพพาน ซึ่ง
เป็นหนทางเอกในโลก ไม่มีหนทางอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า
และเป็นทางอันเกษมจากโยคะทั้งปวง ฯ
วิธีที่พระองค์ทรงตะล่อมเอาจิตให้สงบ
จากเครื่องข้อง รวม
เข้าสู่วิถีหนทางพระนิพพานนี้แล เป็นวิธีที่สำคัญ จึงจำ
เป็นต้องทรงพระกรุณาตรัสเทศนาสั่งสอน
ให้เจริญพระสมถกรรมฐาน ๔๐ ประการ บท
ใดบทหนึ่ง เฉพาะเป็นที่สบายแก่จริตหรือนิสัยของตน
เท่านั้น ไม่ใช่ให้ขึ้นเป็นห้อง ๆ ไปจนครบ ๔๐ ห้อง ฯ
เมื่อได้พระสมถกรรมฐาน
เป็นที่สบายแก่จริตของตนแล้ว
พระองค์ทรงพระมหากรุณาตรัสเทศนาโปรด
ให้นั่งสมาธิภาวนาทีเดียว วิธีนั่งสมาธิภาวนา มีแจ้งอยู่
ในบทนั่งสมาธิข้างหน้า ฯ
ข้อที่นักปฏิบัติใหม่ทั้งหลายจะพึงวินิจฉัยว่า
สมถกรรมฐานเพียงแค่ไหน เมื่อไรจะ
ถึงวิปัสสนากรรมฐานสักที ข้อนี้ให้พึงวินิจฉัย
ในวิธีนั่งสมาธิภาวนา ซึ่งจะกล่าวต่อไป
ในบทนั่งสมาธิข้างหน้า ฯ
บทธรรมมีอุปการะมาก
นักปฏิบัติทั้งหลายในพระพุทธศาสนานี้ พึงเป็น
ผู้มีศีลเป็นที่รัก มีวัตตะปฏิบัติพร้อมบริบูรณ์
และมีธรรมซึ่งมีอุปการะมากเป็นที่เจริญอยู่ จึง
เป็นผู้เจริญรุ่งเรือง ฯ
ธรรมมีอุปการะมาก มีหลายประการ แต่
จะกล่าวในที่นี้เฉพาะ ๓ ประการ คือ :
๑. อปฺปมาโท อมตํ ปทํ พึงป็นผู้ไม่ประมาท ซึ่ง
เป็นบทธรรมอันไม่ตาย
๒. สติมา ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปติ พึงเป็น
ผู้มีสติเฉพาะหน้าเสมอ
๓. สมฺปชาโน พึงเป็นผู้มีสัมปชัญญะ รู้จิตเสมอ
ธรรม ๓ ประการเหล่านี้
เป็นธรรมมีอุปการะมาก นักปฏิบัติย่อมเจริญอยู่
เป็นนิตย์ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 18:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๔
บทนั่งสมาธิภาวนา
ปุพพภาคแห่งการปฏิบัติ
นักปฏิบัติ ฝ่ายคฤหัสถ์ พึงประกาศปฏิญาณตน
ถึงพระไตรสรณคมน์ เป็นอุบาสกอุบาสิกาก่อน
แล้วสมาทานศีล ๕ หรือศีล ๘ ให้บริสุทธิ์
กราบพระหรือไหว้พระเสร็จแล้ว
เจริญพรหมวิหาร ๔ จบแล้ว
จึงนั่งสมาธิภาวนาต่อไป ฯ
นักปฏิบัติ ฝ่ายบรรพชิต พึงทำการบรรพชา
อุปสมบท ให้บริบูรณ์ ด้วยสมบัติ ๕ ประการ คือ
วัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติ อนุสาวนาสมบัติ สีมาสมบัติ
ปริสสมบัติ ฯ
ชำระศีลให้บริสุทธิ์ ทำวัตร สวดมนต์
เจริญพรหมวิหาร ๔ จบแล้ว นั่งสมาธิต่อไป ฯ

๑. วิธีนั่งสมาธิภาวนา
พระพุทธพจน์ ในโอวาทปาฏิโมกข์
อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ
สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตนฺติ ฯ
ความว่าพระอริยสาวก ในพระธรรมวินัยนี้
กระทำกรรมฐาน คือนั่งสมาธิภาวนา
มีการสละละวางอารมณ์ ย่อมได้สมาธิ ได้
ความที่จิตมีธรรมชาติเป็นหนึ่ง ดังนี้ ฯ
วิธีนั่งสมาธิภาวนา ท่านสอนให้นั่งขัดสมาธิ
เอาขาเบื้องขวาวางทับขาเบื้องซ้าย
มือเบื้องขวาวางทับมือเบื้องซ้าย ฯ
อุชุง กายํ ปณิธาย พึงตั้งกายให้ตรง คืออย่านั่ง
ให้ก้มนักเป็นคนหน้าคว่ำ หน้าต่ำไม่ดี และอย่านั่ง
ให้เงยหน้านัก เป็นคนหน้าสูงเกินไป ไม่พอดีพองาม
ทั้งอย่าให้เอียงไปข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง
ตั้งตัวให้เที่ยงตรงจริง ๆ อย่ากด
และอย่าข่มอวัยวะร่างกายแห่งใดแห่งหนึ่ง
ให้ลำบากกายเปล่า ๆ พึงวางกายให้สบาย
เป็นปกติเรียบร้อย ฯ
ข้อที่ตั้งกายให้ตรงนี้พึงดูรูปพระพุทธเจ้านั่งสมาธิ
เป็นตัวอย่าง เมื่อนั่งตั้งตัวตรงดีแล้ว อุชุง จิตฺตํ
ปณิธาย พึงตั้งจิตให้ตรง คือ ตั้งสติลงตรงหน้า
กำหนดรู้ซึ่งจิตเฉพาะหน้า ไม่ส่งจิตให้ฟุ้งซ่านไป
ในเบื้องหน้า อนาคตกาล อันยังไม่มาถึง และไม่
ให้ฟุ้งซ่านส่งไปในเบื้องหลัง อดีตกาล อันล่วงไป
แล้วก็เป็นอันล่วงไปแล้ว ทั้งไม่ให้ฟุ้งซ่านไป
ในเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย เบื้องขวา ทั้งไม่
ให้ฟุ้งซ่านไปในทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
ทางใจ ทางใดทางหนึ่ง พึงเป็นผู้มีสติ กำหนดจิตรวม
เข้าตั้งไว้ในจิต จนกว่าจิตจะเป็นเอกัคคตาจิต ฯ

๒. วิธีตั้งสติลงตรงหน้า
(พระอาจารย์ผู้นำพึงอธิบายตรงนี้ให้แจ้ง)
จิต เป็นผู้รู้โดยธรรมชาติ เป็นแต่เพียงสักว่ารู้
คือรู้สึก รู้นึก รู้คิด รู้ร้อน รู้เย็น รู้ได้เห็น ได้ยิน
ได้ฟัง และรู้ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ถูก
ต้องสิ่งสารพัดทั้งปวง ไม่รู้จักพินิจพิจารณา
วินิจฉัยตัดสินอะไรไม่ได้ทั้งนั้น จึงเป็นอันว่า ไม่รู้จักดี
ไม่รู้จักชั่ว ไม่รู้จักผิด ไม่รู้จักถูก ฯ
สติ เป็นตัวควบคุม มีอำนาจอยู่เหนือจิต สามารถรู้
เท่าทันจิตและรู้เรื่องของจิตได้ดี ว่าเวลานี้จิตดี
เวลานี้จิตไม่ดี ตลอดถึงมีความ
สามารถทำการปกครองจิตของเราให้ดีได้จริง ๆ ฯ
นักปฏิบัติในพระพุทธศาสนานี้
พึงกำหนดเอาตัวสติที่มีอำนาจอยู่เหนือจิต
นั้นมาตั้งลงตรงหน้า ทำหน้าที่กำหนดรู้ซึ่งจิต
และรวมเอาดวงจิตเข้าตั้งไว้ในจิต พยายามจนกว่าจิต
จะรวมเป็นหนึ่ง ท่านจึงจะเป็น
ผู้มีสติมีสัมปชัญญะพร้อมบริบูรณ์ในขณะเดียวกัน ฯ

๓. วิธีรวมจิต เข้าตั้งไว้ในจิต
มนสา สํวโร สาธุ .......... สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ ........... สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ
แปลความว่า
สำรวมเอาจิตเข้าตั้งไว้ในจิตได้เป็นการดี
และสำรวมระวังไม่ให้จิตฟุ้งซ่านไปในที่ทั้งปวงได้
เป็นการดี ภิกษุผู้สำรวมระวังรักษารอบคอบในที่
ทั้งปวงแล้ว ย่อมเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงดังนี้ ฯ
วิธีรวมจิต พึงเป็นผู้มีสติตั้งไว้เฉพาะหน้า กำหนดรู้
ซึ่งจิต ซึ่งเป็นตัวผู้รู้โดยธรรมชาติ ที่รู้สึก รู้นึก
รู้คิด อยู่เฉพาะหน้า และพึงพิจารณา หรือระลึก
อยู่ในใจว่า พระพุทธเจ้าอยู่ในใจ พระธรรมอยู่
ในใจ พระอริยสงฆ์สาวกอยู่ในใจ เมื่อพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์อยู่ในใจของเรานี้แล้ว เรา
ไม่ต้องกังวลวุ่นวายอะไร และไม่ต้องส่งใจไปสู่ที่อื่น
เราต้องทำความตกลง
กำหนดเอาแต่ใจของเราดวงเดียวเท่านี้ให้ได้
เมื่อตกลงดังนี้ พึงตั้งสติลงตรงหน้า กำำหนดเอาตัว
ผู้รู้คือจิต เฉพาะหน้า
นึกคำบริกรรมภาวนากรรมฐานบทใดบทหนึ่ง ซึ่ง
เป็นที่สบายแก่จิตของตน บริกรรมภาวนาสืบไป ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 15:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. วิธีนึกคำบริกรรมภาวนา
ก่อนแต่จะนึกคำบริกรรมภาวนา พึงตรวจดู
ให้รู้แน่เสียก่อนว่าสติได้กำหนดจิตถูกแล้วหรือยัง
เมื่อรู้ว่าสติได้กำหนดจิตถูกแล้ว แต่จิตยังไม่สงบ
และยังไม่รวม พึงตรวจดูจิตต่อไป ว่าจิตที่ยัง
ไม่รวมเป็นเพราะเหตุใด เป็นเพราะจิตของเรายัง
ไม่ตกลงเชื่อมั่นต่อคุณพระรัตนตรัยอย่างนั้นหรือ
หรือจิตของเรายังฟุ้งซ่านไปในอารมณ์อะไร
ถ้าจิตของเราตกลงเชื่อมั่นต่อคุณพระรัตนตรัยว่า
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่
ในใจของเรานี้จริงแล้ว ก็
เป็นอันนึกคำบริกรรมภาวนาได้แล้ว แต่ถ้ายัง
ไม่ตกลงและไม่เชื่อมั่นต่อคุณพระรัตนตรัย ว่ามี
ในใจของเราจริง ก็นึกคำบริกรรมภาวนาไม่ไ้ด้
ถึงแม้นึกไป ก็ไม่สงบและไม่รวมเป็นหนึ่งลงได้ จำ
เป็นต้องพิจารณาให้รู้รอบคอบเสียก่อนว่า
จิตของเราคิดไปตามอารมณ์อะไร
ในอารมณ์ที่จิตคิดไปนั้น เป็นอารมณ์ที่น่ารัก หรือ
เป็นอารมณ์ที่น่าเกลียด เมื่อทราบว่าจิตของเราติด
อยู่ในความรักก็ดี หรือติดอยู่ในความเกลียดก็ดี
พึงทราบเถิดว่าจิตของเราลำเอียง จึงไม่ตกลง
และไม่สงบ ฯ
เมื่อทราบความจริงดังนี้แล้ว
พึงปฏิบัติดีปฏิบัติชอบดังต่อไปนี้ คือ ตั้งสติลง
เป็นคนกลาง กำหนดเอาดวงจิตเข้ามาตั้งไว้เป็นกลาง
ทำความรู้เท่าส่วนทั้ง ๒ คือเท่าทั้งส่วนความรัก ทั้ง
ส่วนความเกลียด ตั้งตรงแน่วแน่อยู่เฉพาะหน้า ฯ
เมื่อมีสติเป็นกลาง จิตก็ย่อมเป็นกลาง เมื่อจิต
เป็นกลางและได้ทำความรู้เท่าส่วนทั้ง ๒
รวมเอาจิตเข้ามาตั้งไว้เฉพาะหน้า ทั้ง
ได้แลเห็นคุณพระรัตนตรัยแล้ว จิตนั้นปราศ
จากนิวรณ์แล้วว่างจากอารมณ์
นึกคำบริกรรมภาวนาบทใดบทหนึ่ง ซึ่ง
เป็นที่สบายของตน เป็นต้นว่า "พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ๆ" ๓
จบแล้ว รวมลงเอาคำเดียวว่า "พุทโธๆ" เป็นต้น
เป็นอารมณ์ นึกอยู่แต่ในใจไม่ออกปากคือไม่ให้มีเสียง
มีสติจดจ่อต่อจิตจริง ๆ
จนจิตของเราตกลงสู่ภวังค์เอง
ให้หยุดคำบริกรรมนั้นเสียแล้ว มีสติตามกำหนด
เอาจิตในภวังค์ให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิต่อไป ฯ


๕. วิธีกำหนดรู้ จิตตกลงสู่ภวังค์เอง
ในเบื้องต้นนี้ จะกล่าวเรื่องภวังค์ให้ทราบก่อน แ้ล้ว
จึงจะกล่าวเรื่อง วิธีกำหนดรู้ ซึ่งจิตตกลงสู่ภวังค์เอง
ให้ทราบเมื่อภายหลัง ฯ
คำว่า "ภวังค์" แปลว่า จิตดวงเดิม คือจิตเมื่อแรก
เข้าสู่ปฏิสนธิในครรภ์ของมารดาแล้ว
จิตตั้งภวังค์ขึ้นเป็นตัวภพ เหตุนั้น จิตที่ตกลงสู่ภวังค์
แล้ว จึงเรียกว่า จิตดวงเดิม อนึ่ง หน้าที่ของจิต
ในเวลาอยู่ในภวังค์นี้
จิตมีหน้าที่ทำการสร้างภพคือสืบต่ออายุ
ให้เจริญรุ่งเรือง ไม่ทำการรับรู้รับเห็น
ในทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ภายนอก ฯ
มนุษย์ทุกคน เมื่อเข้าปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา
จิตตั้งภวังค์ขึ้นเป็นตัวภพแล้ว จึงได้ประสูติ
เป็นชาติมนุษย์มา ฯ
ในที่นี้มีประสงค์จะแสดงชื่อของภวังค์ ให้ผู้ปฏิบัติ
ได้ทราบไว้ทั้ง ๔ ชื่อ ในลำดับแห่งขณะจิตข้อ ๑-๒-๓
กับข้อที่ ๑๐ แห่งขณะจิต ๑๗ ขณะดังต่อไปนี้
๑. อตีตภวังค์ จิตอยู่ในภวังค์ ปล่อย
ให้อารมณ์ล่วงไปเปล่า ๆ ตั้งแต่ ๑ ขณะ ถึง ๑๕
ขณะจิต,
๒. ภวังคจลนะ จิตเคลื่อนไหวตัว จะออกจากภวังค์,
๓. ภวังคุปัจเฉท จิตขาดจากความไหวตัว,
๔. ปัญจทวาราวัชชนะ จิตออกสู่ทวารทั้ง ๕,
๕. สันตีรณะ จิตใคร่ครวญในอารมณ์,
๖. สัมปฏิจฉันนะ จิตน้อมรับอารมณ์,
๗. โวฏฐัพพนะ จิตที่ตกลงจะถือเอาอารมณ์,
๘. กามาพจรรชวนะ จิตกามาพจร แล่นเนื่อง ๆ
กันไป ๗ ขณะจิต
๙. ตทาลัมพนะ จิตรับเอาอารมณ์ได้สำเร็จ
ความปรารถนา,
๑๐. ภวังคปาต จิตตกลงจากภวังค์เดิมอีก
เรื่องภวังคจิต กับ เรื่องขณะจิต ที่กล่าวมานี้
เป็นจิตของสามัญมนุษย์ทั่วไปในโลก ที่ยังไม่
ได้ประพฤติปฏิบัติพระพุทธศาสนาเลย ก็เป็นอยู่อย่าง
นั้น ฯ
อนึ่ง เรื่องจิตที่ออกจากภวังค์ และตกเข้าสู่ภวังค์
ดังข้อที่กล่าวแล้วในขณะจิต ๑๗ ขณะนั้น
เป็นเรื่องที่จิตออกเร็ว เข้าเร็วมากที่สุด และออก
อยู่ทุกเวลา เข้าอยู่ทุกเวลา ที่กระพริบตา
จนสามัญมนุษย์ทั้งหลายไม่สามารถตามรู้ทันได้
แม้นัยน์ตาเมื่อดูสิ่งของอันหนึ่ง ๆ อยู่แล้ว
จะส่ายสายตาไปดูสิ่งอื่นอีก จิตก็ตกเข้าสู่ภวังค์ก่อน
แล้วออกจากภวังค์ จึงดูสิ่งอื่นต่อไปได้เป็นการรวด
เร็ว จนเราไม่รู้สึกว่าออกเมื่อไร เข้าเมื่อไร ฯ
นักปฏิบัติในพระพุทธศาสนานี้ มีประสงค์จะทำจิตให้
เป็นสมาธิ มีปัญญาปรีชาญาณ รู้แจ้งแทงตลอด
ในพระธรรมวินัย จึงจำเป็นต้องกำหนด
ให้รู้จิตที่ตกลงสู่ภวังค์เอง ฯ
วิธีกำหนดให้รู้จิตที่ตกลงสู่ภวังค์เอง พึงมีสติกำหนด
ให้รู้จิตในเวลาที่กำลังนึกคำบริกรรมภาวนาอยู่
นั้น
ครั้นเมื่อเรามีสติกำหนดจดจ่อต่อคำบริกรรมจริง
ๆ จิตของเราก็ย่อมจดจ่อต่อคำบริกรรมด้วยกัน
เมื่อจิตจดจ่อต่อคำบริกรรมอยู่แล้ว จิตย่อมตั้งอยู่
ในความเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลาง
จิตย่อมวางอารมณ์ภายนอก
เมื่อจิตวางอารมณ์ภายนอกหมดแล้ว
จิตย่อมตกลงสู่ภวังค์เอง เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์
ย่อมแสดงอาการให้รู้สึกได้ทุกคนตลอดไป คือแสดง
ให้รู้สึกว่ารวมวูบวาบลงทั้งแรงก็ดี หรือแสดง
ให้รู้สึกว่าสงบนิ่งแน่ลงถึงที่ แล้วสว่างโล่งเยือกเย็น
อยู่ในใจ จนลืมภายนอกหมด คือลืมตนลืมตัว
หรือลืมคำบริกรรมภาวนา เป็นต้น แต่บางคนก็ไม่
ถึงกับลืมภายนอก แต่ก็ย่อมรู้สึกว่า เบากาย เบาใจ
เยือกเย็น เป็นที่สบายเฉพาะภายในเหมือนกันทุกคน ฯ
พระพุทธเจ้าทรงรับรองความเบากาย เบาใจ นี้
เรียกว่า พระยุคคละ มี ๖ ประการ คือ :
๑. กายลหุตา จิตตลหุตา แปลว่า เบากาย เบาใจ
๒. กายมุทุตา จิตตมุทุตา แปลว่า อ่อนหวานพร้อม
ทั้งกายทั้งใจ
๓. กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ แปลว่า สงบพร้อม
ทั้งกายทั้งใจ
๔. กายุชุกตา จิตตุชุกตา แปลว่า เที่ยงตรงพร้อม
ทั้งกายทั้งใจ
๕. กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา แปลว่า
ควรแก่การกระทำ พร้อมทั้งกายทั้งใจ
๖. กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา แปลว่า
คล่องแคล่วสะดวกดีพร้อมทั้งกายทั้งใจ
และระงับทุกขเวทนาต่าง ๆ คือระงับ
ความเหน็ดเหนื่อย ความเมื่อย ความหิวทั้งปวง ตลอด
ความเจ็บปวดทุกประการ
ก็ระงับกลับหายไปพร้อมกัน รู้สึกได้รับ
ความสบายกาย สบายใจ ปลอดโปร่งในใจขึ้นพร้อม
กันทีเดียว ฯ
เมื่อรู้สึกดังข้อที่กล่าวมานี้ทั้งสิ้น หรือแม้แต่อย่าง
ใดอย่างหนึ่ง พึงรู้ว่าจิตตกภวังค์แล้ว (*)
ให้หยุดคำบริกรรมภาวนาที่นึกอยู่นั้นเสีย
ไม่นึกอะไรต่อไปอีก เป็นแต่ให้มีสติตามกำหนดเอาจิต
ในภวังค์นั้นให้ได้ คือให้กำหนดรู้ว่า จิตของเราเมื่อตก
เข้าไปสู่ภวังค์แล้ว ไปตั้งอยู่อย่างไร
เมื่อมีสติกำหนดรู้แล้ว ใ้ห้มีสติขีดวงให้รอบ
กำหนดเอาจิตไว้ในขอบเขต บริเวณแห่งสตินั้น
จนกว่าจิตนั้นจะหดตัวละเอียดเข้าเอง และใสบริสุทธิ์
เป็นหนึ่งอยู่เอง ตลอดประชุมอริยมัคคสมังคี
เป็นเอกจิต เอกธรรม เอกมรรคอยู่เอง ฯ
เมื่อรู้ว่า จิตประชุมอริยมัคคสมังคีเองแล้ว พึงเป็น
ผู้มีสติตรวจดูให้รู้แจ้งว่า สติพร้อมทั้งสัมปชัญญะ
และสมาธิ กับองค์ปัญญา ตลอดองค์อริยมรรค
ทั้ง ๘ ประการ ก็ประชุมพร้อมอยู่
ในอริยมัคคสมังคีอันเดียวกัน ฯ
เมื่อรู้แจ้งประจักษ์ดังกล่าวมาฉะนี้ พึงรักษาความ
ไม่ประมาท คืออย่าเผลอตัวและอย่าเผลอสติ
ทั้งอย่าทอดธุระ ให้มีสติตามกำหนดรู้อยู่อย่างนั้น
จนกว่าจะรู้สึกเหนื่อย หรือได้เวลาแล้ว จึงออก
จากที่นั่งภาวนา อย่างที่กล่าวมานี้ เรียกว่า "
ภาวนาอย่างละเอียด" ฯ
(* จิตในภวังค์เป็นจิตมืด เพราะมีอวิชชาหุ้มห่อ
ครั้นมีสติตามทันในขณะนั้น จิตย่อมหายมืดและ
เป็นสมาธิ ถ้าสติตามไม่ทันย่อมหลับไปชั่วขณะหนึ่ง
แล้วสะดุ้งตื่นขึ้นและออกจากภวังค์ เพราะฉะนั้น
ต้องทำสติให้แข็งแรง.)


๖. วิธีออกจากสมาธิ
เมื่อจะออกจากที่นั่งสมาธิภาวนานั้น ให้พึงออก
ในเวลาที่รู้สึกเหนื่อย หรือได้เวลาตามที่กำหนดไว้
แล้วจึงออกจากที่นั่งสมาธิภาวนา แต่เมื่อจะออก
จากที่นั่งจริง ๆ นั้น อย่าออกให้
เร็วนักจนเผอเรอลืมสติ ไม่ดี พึงออก
จากที่นั่งสมาธิภาวนาด้วยความมีสติ พิจารณาเหตุผล
ให้รอบคอบทั้งกิจเบื้องต้นและกิจเบื้องปลายก่อน
คือ :
กิจเบื้องต้น ให้ระลึกถึงวิธีที่เราได้
เข้านั่งสมาธิครั้งแรก ว่าเบื้องต้นเราได้
เข้าสมาธิอย่างไร และได้ตั้งสติกำหนดจิตอย่างไร
ได้พิจารณาและนึกคำบริกรรมภาวนาว่ากระไร
จิตของเราจึงสละลงและสงบจากอารมณ์ลงได้ ฯ
กิจเบื้องปลาย คือ เมื่อจิตของเราสงบแล้ว เรา
ได้ตั้งสติกำหนดจิตอย่างไร
ได้พิจารณารู้จริงเห็นจริงอย่างไร
ดวงจิตของเราจึงรวมเป็นหนึ่งอยู่ได้ ไม่ถอน
จากสมาธิภาวนา ฯ
เมื่อพิจารณาหรือระลึกได้แล้วว่า ในเบื้องต้น
เราได้เข้าสมาธิอย่างนั้น ตั้งสติอย่างนั้น
กำหนดจิตอย่างนั้น พิจารณา
และนึกคำบริกรรมอย่างนั้น จิตของเราจึงได้สงบ
และรวมลงเป็นอย่างนี้ เมื่อจิตของเรารวมลง
แล้ว เราได้ตั้งสติกำหนดจิตอย่างนี้ พิจารณาอย่างนี้
ได้ความรู้จริง เห็นจริงอย่างนี้ ฯ
เมื่อได้ความชัดเจนแล้ว พึงทำโยนิโสมนสิการ
คือกำหนดไว้ในใจว่า ถ้าเราออกจากที่นั่งนี้แล้ว เราก็
จะกำหนดจิตของเราไว้ให้ดีอยู่อย่างนี้เสมอตลอดไป
ไม่ให้เผลอสติได้ ครั้นเมื่อเข้าสมาธิอีกคราวหลัง
เราก็จะเข้าให้ถูกตามวิธีที่เราได้ทำมา
แล้วนี้ทุกประการ ฯ
เมื่อได้ทำโยนิโสมนสิการ คือกำหนดไว้ในใจดีแล้ว
จึงออกจากที่นั่งสมาธิภาวนา นอนลงไป ก็ให้กำหนดใจ
นั้นไว้จนนอนหลับ ครั้นเมื่อตื่นขึ้นจากหลับ ก็
ให้มีสติกำหนดเอาใจไว้ตลอดวันและคืน ยืน เดิน นั่ง
นอน พึงพยายามทำความเป็นผู้มีสติ กำหนดรู้
ซึ่งจิตของตนเสมอจนกว่าจะชำนาญ คล่องแคล่ว
ด้วยวสี ๕ ประการ คือ :
๑. อาวัชชนวสี ชำนาญ
ในการพิจารณาอารมณ์ของสมาธิภาวนา
๒. สมาปัชชนวสี ชำนาญในการเข้าสมาธิภาวนา
๓. อธิฏฐานวสี ชำนาญในการตั้งสติ ทำจิตให้เป็นสมาธิ
ไว้ให้มั่นคง ดำรงไว้ได้นานตามต้องการ ไม่
ให้เคลื่อนคลาดจากที่กำหนดเดิม
๔. วุฏฐานวสี ชำนาญในการออกจากสมาธิภาวนา
โดยเคลื่อนจิตออกจากที่กำหนดเป็นสมาธิภาวนานั้น
โดยลำดับ ออกมาตามระยะที่เข้าไป
๕. ปัจจเวกขณวสี ชำนาญ
ในการพิจารณาองค์ของฌานให้รอบคอบ
ในเวลาที่จะออกจากที่นั่งสมาธิภาวนานั้น
นักปฏิบัติพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นผู้ชำนาญในวสีทั้ง ๕
ประการเหล่านี้ ฯ
ครั้นเมื่อเป็นผู้ชำนาญในวสีทั้ง ๕ ประการเหล่านี้
แล้ว พึงตรวจชั้นภูมิแห่งจิต ว่าภูมิจิตของเรา
เ่ท่าที่เราได้พิจารณา เห็นว่าชำนาญด้วยวสีทั้ง ๕
ประการนั้น ภูมิจิตได้สำเร็จอริยมรรค ฯ
ในคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะ
พระอนุรุทธาจารย์เจ้า สอนให้บำเพ็ญวสีให้ชำนาญ
โดยลำดับชั้นภูมิ
แห่งอริยมรรคอริยผลดังต่อไปนี้ ฯ
เมื่อชำนาญในปฐมมรรคหรือปฐมฌานดีแล้ว
จึงกระทำความเพียรเพื่อละเสียซึ่งส่วนที่หยาบมีวิตก
เป็นต้น ให้ถึงซึ่งความละเอียดมีวิจารณ์เป็นต้น
โดยสมควรแก่ลำดับแห่งอริยมรรคอริยผล
ต่อไปจึงเข้าสู่ทุติยมรรค ทุติยผล หรือทุติยฌาน
และตติยมรรค ตติยผล หรือตติยฌาน
ตลอดจตุตถมรรค จตุตถผล หรือจตุตถฌาน
โดยสมควรแก่การบำเพ็ญ ในข้อปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบทุกประการเทอญ ฯ


๗. อริยมัคคสมังคี
คำที่เรียกว่า "อริยมัคคสมังคี"
เป็นคำพูดเรียกชื่อแห่งภูมิจิตที่นักปฏิบัติได้นั่งสมาธิ
รวมจิตลงถึงความเป็นหนึ่งแล้ว และ
ในที่ประชุมแห่งอริยมัคคสมังคีนั้น
เป็นที่ประชุมพร้อมแห่งองค์อริยมรรคทั้ง ๘
ประการ ประชุมพร้อมอยู่เองด้วย
อริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ประการก็ประชุมพร้อม
อยู่เองด้วย ตลอดพระธรรมวินัยทั้ง ๘๔,๐๐๐
พระธรรมขันธ์ ก็ประชุมพร้อมอยู่เอง
ในขณะจิตอันเดียวกันนั้นด้วย ฯ
นักปฏิบัติผู้รู้เร็ว สามารถรู้พร้อม
ในขณะจิตที่รวมลงเ็ป็นหนึ่งนิ่ง
ถึงที่ประชุมแห่งอริยมัคคสมังคีนั้นโดยเร็ว เรียกว่า
สุขปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ
แต่นักปฏิบัติผู้รู้ช้า ก็ไม่สามารถจะรู้เร็วพร้อม
ในขณะที่จิตรวมลงถึงความ
เป็นหนึ่งแห่งอริยมัคคสมังคีนั้น เรียกว่า
สุขปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ
อีกโวหารหนึ่ง โบราณาจารย์เจ้า เรียกว่า "
เอกวิธาภิสมัย" แปลว่า ตรัสรู้ได้ในขณะจิตดวงเดียว

บัดนี้จะอธิบาย คำว่า "มรรค อริยมรรค ผล
อริยผล" นั้นต่อไป
คำว่า "มรรค" เป็นชื่อแห่งหนทางทั่วไปในมนุษยโลก
เทวโลก พรหมโลก ตลอด
เป็นชื่อแห่งหนทางพระนวโลกุตตระ
คือทางพระนิพพาน ฯ
คำว่า "อริยมรรค"
เป็นชื่อแห่งหนทางพระนวโลกุตตระ คือ
เป็นชื่อแห่งหนทางพระนิพพานอย่างเดียว ไม่ทั่วไป
ในหนทางอื่น ๆ ฯ
คำว่า "ผล" เป็นชื่อแห่งความสำเร็จ หรือ
ความบรรลุตลอดความตรัสรู้ ฯ ว่าโดยเฉพาะ
ในทางโลกีย์ หมายเอาความสำเร็จผลที่ตนต้องการ
ในทางโลกุตตระ หมายดวงปัญญา ฯ
คำว่า "อริยผล" เป็นชื่อแห่งมรรคผล
ธรรมวิเศษ ในทางโลกุตตระอย่างเดียว
ไม่เกี่ยวข้องในทางโลกีย์ ฯ
บัดนี้ จะอธิบาย เหตุ หรือ ปัจจัย ที่ให้บังเกิดมีมรรค
มีผล ขึ้น ฯ
ข้อนี้ นักปฏิบัติพึงทราบดังนี้ว่า "มรรคก็ดี
อริยมรรคก็ดี" ตกแต่งเอาเองได้ "ผลก็ดี
อริยผลก็ดี" ตกแต่งเอาเองไม่ได้ เป็นของเป็นเอง
หรือสำเร็จเอง มาจากมรรค
และอริยมรรคที่ตกแต่งถูกต้องแล้ว ฯ
เมื่อบุคคลต้องการผลประโยชน์ในทางโลกีย์ ก็
ให้พึงตกแต่งมรรคในทางโลกีย์ให้ถูกต้อง เช่น
ต้องการเดินไปมาสะดวกก็ให้ตกแต่งถนนหนทาง
ให้เรียบร้อย ต้องการมีวิชาความรู้ก็
ให้ศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้ต่อครูอาจารย์ ถ้า
ต้องการความมั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติมาก ๆ
ให้ตกแต่งการค้าขายให้ถูกต้องในทางสุจริตธรรม
ถ้าต้องการเป็นคนดี ก็ให้ตกแต่ง
ความประพฤติปฏิบัติของตนให้
เป็นคนซื่อสัตย์สุจริตธรรม ถ้าต้องการ
เป็นคนมีชื่อเสียงยศถาบรรดาศักดิ์ ให้ตกแต่งตน
เป็นคนทำราชการแผ่นดินให้ถูกต้อง
ในทางราชการนิยม ฯ
เมื่อบุคคลต้องการโลกุตตระ
ให้ตกแต่งอริยมรรคให้ถูก
ต้องตามพระพุทธพจน์เดิมของพระพุทธเจ้า ซึ่ง
จะแสดงในข้อต่อไปข้างหน้า ฯ
ในที่นี้มีประสงค์จะแสดงรูปเปรียบไว้พอเป็นนิทัสนะ ฯ
มรรค กับ ผล มีรูปเปรียบ
เหมือนบุคคลปลูกต้นไม้ลงในพื้นที่ไร่ที่สวน
หรือปลูกต้นข้าวลงในพื้นที่นา ในเวลากำลังปลูก
อยู่ก็ดี และเวลาบังเกิดเป็นต้นเป็นลำแล้ว
แต่ต้นลำยังอ่อนอยู่ก็ดี ย่อมไม่แลเห็นผล อาศัย
ความเชื่อแน่ในใจว่าถ้าต้นลำแก่เต็มที่ และถึงฤดู
เป็นผล ก็จะต้องเป็นผลแน่ และเป็นผลจริง ๆ
ด้วย ฉันใดก็ดี มรรคกับผล ก็มีรูปเปรียบเหมือน
กัน ฉันนั้น ฯ
อริยมรรค กับอริยผล
มีรูปเปรียบเหมือนบุคคลก่อไฟ
หรือจุดตะเกียงเจ้าพายุ ในเวลากำลังก่อไฟ
หรือกำลังจุดตะเกียงเจ้าพายุอยู่นั้น ไฟยังไม่ติด ก็ยัง
ไม่สว่างฉันใด อริยมรรค ก็เหมือนกันฉันนั้น
ต่อเมื่อเวลาก่อไฟติดแล้ว หรือจุดตะเกียงเจ้าพายุติด
แล้วย่อมบังเกิดแสงสว่างขึ้นพร้อมกัน ฉันใดก็ดี
อริยผลก็มีรูปเปรียบเหมือนกันฉันนั้น ฯ
ตรงตามพระพุทธภาษิตว่า นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา
แปลว่า แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี ดังนี้ ข้อนี้แสดง
ให้เห็นว่า อริยผลคือดวงปัญญาซึ่งบังเกิดสว่างไสวขึ้น
ในเวลาที่จิตประชุมอริยมรรคแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 15:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีตกแต่งอริยมรรค
นักปฏิบัติฝ่ายฆราวาส พึงตกแต่งให้
ถึงพระไตรสรณคมน์ เป็นโลกิยสรณคมน์ก่อน
แล้ว ปฏิบัติตนให้ถึงโลกุตตรสรณคมน์ต่อไป ฯ
และตกแต่งทาน ตกแต่งศีล ตกแต่งข้อวัตรปฏิบัติ
ให้ถูกต้องเรียบร้อยทุกประการ
ตลอดตกแต่งสติสัมปชัญญะ รวมจิตให้สงบแลตั้งมั่น
เป็นสมาธิ ประชุมอริยมัคคสมังคีดังนี้
ชื่อว่าตกแต่งอริยมรรค ฯ
นักปฏิบัติฝ่ายบรรพชิต ให้ตกแต่งศีลธรรม ๕
ประการ คือ :
๑. พึงตกแต่งสมบัติทั้ง ๕ ให้ปราศจากวิบัติทั้ง ๕
ประการ คือ
- ก. ตกแต่ง วัตถุสมบัติ ให้ปราศจากวัตถุวิบัติ
- ข. ตกแต่ง สีมาสมบัติ ให้ปราศจากสีมาวิบัติ
- ค. ตกแต่ง ญัตติสมบัติ ให้ปราศจากญัตติวิบัติ
- ฆ. ตกแต่ง อนุสาวนสมบัติ ให้ปราศจากอนุสาวนวิบัติ
- ง. ตกแต่งปริสสมบัติ ให้ปราศจากปริสวิบัติ
๒. พึงตกแต่ง กาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ปราศจากโทษ
๕ โทษ ๘ โทษ ๑๐ โทษ ๒๒๗ ทรงไว้ซึ่งความเป็น
ผู้มีศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗
และจตุปาริสุทธศีลทั้ง ๔ ประการ
ให้บริสุทธิ์เรียบร้อย ฯ
๓. พึงตกแต่ง กิจวัตร ๑๐ ธุดงควัตร ๑๓ ขันธวัตร
๑๔ ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ฯ
๔. พึงตกแต่ง สติ ให้เป็นมหาสติ คือเบื้องต้น
มีสติเฉพาะหน้า กำหนดตัวผู้รู้เฉพาะหน้า รวมจิต
ประชุมอริยมรรคได้แล้ว ตรวจค้นร่างกาย
พิจารณาเวทนา จิต ธรรม จนเป็นที่ตั้งของสติ
ได้จริง ๆ ตลอดทำสัมปชัญญะให้รู้ตัว
และรู้จิตพร้อมทุกขณะตลอดไป ฯ
๕. พึงตกแต่งสมาธิ พร้อมทั้งตกแต่งดวงจิต ความคิด
ความเห็น ตลอดความตั้งใจไว้ในที่ชอบ ให้ถูก
ต้องเรียบร้อยจริง ๆ
เมื่อนักปฏิบัติ ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต
ได้ตกแต่งข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบถูกต้องเรียบร้อยดี
แล้ว อัฏฐังคิกมรรคทั้ง ๘ ประการ ก็
เป็นอันตกแต่งถูกต้องไปพร้อมกันอยู่ในตัวเสร็จแล้ว
เหมือนหันลานนาฬิกา เมื่อหันถูกต้องเต็มบริบูรณ์
แล้ว เครื่องจักรอื่น ๆ ก็หันไปพร้อมกันเอง ฉันใดก็ดี
อัฏฐังคิกมรรคทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ ก็เหมือน
กันฉันนั้น ฯ
ข้อนี้ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้คือ :
เมื่อตกแต่งสมบัติทั้ง ๕ และตกแต่งกาย วาจา ใจ
ให้บริสุทธิ์ ปราศจากโทษทั้งปวงดังกล่าวแล้ว
ตลอดได้ตกแต่งกิจวัตร ๑๐ ธุดงควัตร ๑๓
ขันธวัตร ๑๔ ถูกต้องเรียบร้อยดีแล้ว
ก็ชื่อว่าตกแต่งอริยมรรคข้อ ๓-๔-๕ คือสัมมาวาจา
สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว แปลว่า มีวาจาชอบ
มีการงานชอบ มีอาชีพชอบ ประชุมพร้อมอยู่แล้ว
ในความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ เป็นอธิศีล ฯ
ในเมื่อไ้ด้ตกแต่ง สติ ให้เป็นสัมมาสติ พร้อมทั้งสมาธิ
และสัมปชัญญะ รู้ตัว รู้จิตทุกขณะตลอดไปนั้น
ชื่อว่าได้ตกแต่งอริยมรรค ข้อ ๖-๗-๘
คือสัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แปลว่า มี
ความเพียรชอบ มีสติชอบ มีสมาธิชอบ ประชุมพร้อม
อยู่แล้ว ในความเป็นผู้มีสมาธิสิกขา เป็นอธิจิตตสิกขา ฯ
ในเมื่อได้ตกแต่งความรู้ ความคิด ความเห็น ตลอด
ความตั้งใจไว้ในที่ชอบถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ชื่อว่า
ได้ตกแต่งอริยมรรคข้อที่ ๑-๒ คือสัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปโป แปลว่า ความเห็นชอบ ความดำริชอบ
ประชุมพร้อมอยู่ในความเป็นผู้มีปัญญาสิกขา
เป็นอธิปัญญา ฯ
นักปฏิบัติในพระพุทธศาสนานี้ พึงเดินมรรคให้ถูก
ดังต่อไปนี้ คือ บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ให้เป็น อธิศีล
อธิจิต อธิปัญญา ถึงพร้อมบริบูรณ์อยู่แล้ว ชื่อว่า
เป็นผู้เดินตามหนทางอริยมรรคถูกต้องแล้ว ฯ
บัดนี้ จักแสดงอริยมัคคสมังคีต่อไป
นักปฏิบัติ เมื่อเป็นผู้มีสติบริบูรณ์
มีสัมปชัญญะบริบูรณ์ ได้พยายามทำความเพียร
ประกอบกับจิตอยู่เสมอ คือมีสติ กำหนดจิต
หรือประคับประคองจิต ยังจิตให้ตกลงสู่ภวังค์เอง
แล้ว ประคับประคองเอาจิตในภวังค์ ให้ตั้งมั่น
เป็นสมาธิอยู่ได้ ไม่ไป ไม่มา ไม่ออก ไม่เข้า ไม่ขึ้น
ไม่ลง เป็นหนึ่งจริง ๆ ตลอด
เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ของจิต และ
เป็นเอกวิธาภิสมัย ตรัสรู้ได้ในขณะจิตดวงเดียว
ว่าอริยมรรคทั้ง ๘ ประการได้ประชุมพร้อม
แล้วในจิตดวงเดียวเมื่อใด เมื่อนั้น นักปฏิบัติย่อมรู้
เป็นปัจจัตตัง จำเพาะกับจิต ว่าจิตของเรา
ได้ประชุมอริยมัคคสมังคีครั้งหนึ่งแล้ว
หรือสองครั้ง สามครั้ง ตลอดประชุมถึง ๔ ครั้ง
ก็ย่อมรู้ตลอดไป ฯ
ตามนัยแห่งพระพุทธฎีกา ที่ตรัสเทศนาในสังฆคุณว่า "
ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐปุริสปุคฺคลา"
แปลว่า นี่อย่างไร คู่ของบุรุษ ๔ คู่
นับเรียงตามลำดับตัวบุคคลเป็น ๘ บุคคลดังนี้ ฯ
เมื่อนักปฏิบัติได้ปฏิบัติตามพระพุทธฎีกานี้ถูกต้องแล้ว
จิตย่อมประชุมอริยมัคคสมังคีถึง ๔ ครั้ง สำเร็จ
เป็นมรรค ๔ ผล ๔ ดังที่ปรากฏแจ้งอยู่แล้ว
ในพระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ ฯ
บัดนี้ จักแสดงอริยผลพอรู้เงื่อน เพื่อ
เป็นทางปฏิบัติดีปฏิบัติชอบสืบไป ฯ
นักปฏิบัติในพระพุทธศาสนานี้ เมื่อเป็น
ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ดำเนินตามหนทางอริยมรรคถูกต้องดังกล่าวแล้ว
ตลอดจิตประชุมอริยมัคคสมังคีเองแล้ว
ย่อมบังเกิดอริยผล แจ้งประจักษ์ใจ ดังต่อไปนี้ ฯ
๑. บังเกิด มีวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ พร้อม
ทั้งมีธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรมแจ้งประจักษ์ ฯ
๒. บังเกิดมี จักขุกรณี ญาณกรณี คือ เห็นทางปฏิบัติ
อันเป็นกลาง ซึ่งไม่ลำเอียงเข้าไปใกล้ในความรัก
และความเกลียด กระทำดวงตาภายใน ให้บังเกิด
เป็นตาอริยบุคคล พร้อมทั้งกระทำญาณ
ความรู้วิเศษ ดำเนินตามหนทางอันเกษมจากโยคะ
ทั้งปวงไปได้โดยสะดวก ฯ
๓. บังเิกิดมี อุปสมาย อภิญญาย คือเข้าถึงความเป็น
ผู้สงบรำงับ และบังเกิดมีอภิญญาญาณ ความรู้ยิ่ง
เห็นจริง ในพระธรรมวินัยนี้ ทุกประการ ฯ
๔. บังเกิดมีอริยผล คือ มีปัญญาจักษุ ดวงตา
เป็นดวงปัญญาปรีชาญาณ หยั่งรู้หยั่งเห็น
ในสารพัดไญยธรรมทั้งปวง ฯ
๕. บังเกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก คือถ้านักปฏิบัติ
เป็นพระโพธิสัตว์
ผู้ทรงสร้างพระสมติงสบารมีเต็มบริบูรณ์แล้ว
ได้มาปฏิบัติพระพุทธศาสนาถูกต้องตามหนทางแห่ง
ความตรัสรู้นี้ เป็นสัพพัญญูพุทธะ สัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้น
ในโลก ทรงทศพลญาณ มีพระสมันตจักษุ
ดวงตาอันแจ่มใสสว่างยิ่ง ไม่มีแสงสว่างอื่นเสมอได้
ทรงทัสนาการทั่วไปในพระธรรมวินัย ทั้ง
๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตลอด
ได้ทรงทัสนาการทั่วไปในไตรโลกธาตุทั้งสิ้นด้วย ฯ
อริยผล เท่าที่แสดงมาทั้งสิ้นนี้ เป็นอริยผลที่กล่าว
เป็นส่วนรวม และแสดงเป็นกลาง ๆ ฟังได้ทั้งสมถะ
และวิปัสสนา ไม่ได้ชี้ขาดลงไปว่า ผู้นั้น
ได้สำเร็จมรรคผลธรรมวิเศษชั้นนั้น ๆ ข้อนี้เอา
ไว้ให้นักปฏิบัติผู้ปฏิบัติได้แล้ว ได้รู้เป็นปัจจัตตัง
โดยเฉพาะตนเอง ฯ

๘. วิธีเดินจงกรมภาวนา
วิธีเดินจงกรมภาวนา เป็นวิธีภาวนา เปลี่ยนอิริยาบถ
คือเปลี่ยนจากการนั่งสมาธิภาวนา มาทำ
ความเพียรภาวนาในอิริยาบถเดิน เรียกว่า
เดินจงกรมภาวนา ฯ
เปลี่ยนมาทำความเพียรภาวนาในอิริยาบถยืน เรียก
ยืนกำหนดจิต ฯ
เปลี่ยนมาทำความเพียรภาวนาในอิริยาบถนอน
เรียก นอนพุทธไสยาสน์ หรือสีหไสยาสน์ ก็เรียก ฯ
เมื่อจะเดินจงกรม
นักปฏิบัติพึงกำหนดหนทางจงกรมที่เราจะพึงเดิน
ว่าเราจะเดินจากที่นี้ไปถึงที่นั้นหรือถึงที่โน้น
เป็นระยะทางจงกรมสั้น ๆ
หรือระยะทางจงกรมยาว ๆ แล้วแต่ความต้องการ
หรือแล้วแต่สถานที่พึงกำหนด
หรือตกแต่งทางจงกรมตามสมควรที่เราจะเดินได้
โดยสะดวก ฯ
วิธีเดินจงกรม ให้ไปยืนที่ต้นทางแห่งที่จงกรมนั้นแล้ว
พึงยกมือทั้ง ๒ ขึ้น ประณมมือทั้ง ๒ ไว้เหนือหว่างคิ้ว
ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย คือระลึก
ถึงคุณพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งคุณพระธรรม
และคุณพระอริยสงฆ์สาวก ว่า พระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งสามเป็นสรณะที่พึ่ง
ที่ระลึก ที่เคารพนับถือของข้าพเจ้า แล้วตั้งเป็น
ความสัตย์อธิษฐานไว้ในใจว่า บัดนี้ ข้าพเจ้า
จะตั้งใจปฏิบัติพระพุทธศาสนา เพื่อ
เป็นเครื่องปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า พร้อม
ทั้งพระธรรมและพระอริยสงฆ์สาวก
ด้วยอำนาจแห่งคุณพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์นี้ ขอจงดลบันดาลให้น้ำใจของข้าพเจ้า
จงสงบรำงับและตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว
จงบังเกิดมีปัญญา ปรีชาญาณ รู้แจ้งแทงตลอด
ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการเทอญ ฯ
เมื่อตั้งเป็นความสัตย์และอธิษฐานไว้ดีแล้ว เอามือทั้ง
๒ วางจากการประณมมือหย่อนมือทั้ง ๒ ลงมาแล้ว
เอามือข้างขวาจับมือข้างซ้าย หย่อนมือลง
ไว้ตรงข้างหน้า เจริญพรหมวิหารทั้ง ๔ จบ
แล้วทอดตาลงเบื้องต่ำ ตั้งสติกำหนดจิต
ตามแบบวิธีนั่งสมาธิ ที่กล่าวแล้ว
นึกคำบริกรรมภาวนาบทเดียวกันกับนั่งสมาธิภาวนา
เสร็จแล้วออกเดินจงกรม ตั้งแต่หัวส้นจงกรมข้างนี้
ไปถึงหัวส้นจงกรมข้างโน้น เดินกลับ
จากหัวส้นจงกรมข้างโน้น มาถึงหัวส้นจงกรมข้างนี้
เพียรพยายามเดินกลับไปกลับมาไม่ต้องนับเที่ยว
ให้นับสติ นับดวงจิต ว่าสติของเราดีหรือไม่
ดวงจิตของเราสงบหรือยัง ถ้ายังไม่สงบก็
ให้เพียรพยายามเดินอยู่อย่างนั้น
จนกว่าจิตของเราสงบลงได้จริง ๆ
เมื่อจิตสงบครั้งแรก ยังตั้งสติไม่ได้
ก็อย่าเพิ่งเดินต่อไป ให้หยุดยืนกำหนดจิตอยู่ก่อน
จนกว่าจิตรวมสนิทดีแล้ว เราตั้งสติได้แล้ว
จึงเดินต่อไปอีก ด้วยความเป็นผู้มีเพียรเพ่งอยู่
พยายามทำความเพียรให้เป็นไปทางใจ จนกว่า
จะชำนาญคล่องแคล่ว ในสมาธิภาวนา ฯ
ในวิธีเดินจงกรมภาวนานี้ มีวิธีกระทำความเพียรให้
เป็นไปทางใจด้วยใช้สติสัมปชัญญะ
นึกคำบริกรรมภาวนาบทเดียวกันกับนั่งสมาธิภาวนา
จุดประสงค์ต้องการให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเหมือนกัน
ต่างกันแต่อิริยาบถนั่งกับเดินเท่านั้น ฯ
นักปฏิบัติในพระธรรมวินัยนี้ ตั้งอยู่ในความเป็นผู้
ไม่ประมาท ย่อมสนใจและเอาใจใส่ กระทำ
ความพากความเพียร ทั้งยืน ทั้งเดิน ทั้งนั่ง ทั้งนอน
ให้ชำนาญคล่องแคล่วจริง ๆ จนกว่าจะแตกฉาน
ในห้องพระไตรปิฎก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 16:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๙. นิมิตตสมาธิ
บัดนี้ จักได้แสดงเรื่องนิมิตในสมาธิภาวนา
และเรื่องวิธีแก้นิมิตต่อไป ฯ
ในเบื้องต้นนี้ จะได้แสดงชื่อของนิมิต
ที่พระอนุรุทธาจารย์เจ้าได้แสดงไว้
ในคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะว่า "ตีณิ นิมิตฺตานิ"
แปลว่าในพระสมถกรรมฐานภาวนา ประกอบ
ด้วยนิมิตมี ๓ ประการ คือ :
๑.บริกรรมนิมิต
๒.อุคคหนิมิต
๓.ปฏิภาคนิมิต
นิมิตทั้ง ๓ ประการ เหล่านี้
พระอนุรุทธาจารย์เจ้าแสดงไว้แล้ว ก็เป็นอันถูก
ต้องดีแล้ว คือเป็นของมีจริงตามที่ท่านกล่าว
ไว้ทุกประการ ฯ
นักปฏิบัติในพระพุทธศาสนานี้ โดยมากก็ถือ
เป็นเครื่องรู้ เป็นเครื่องเล่น เป็นเครื่องพิจารณา
แต่ผู้มุ่งโลกุตตรธรรมเป็นเครื่องอยู่อันแท้จริง
แล้ว ย่อมไม่ติดข้องอยู่ในนิมิตทั้งหลายเหล่านี้ ฯ คือ
เมื่อเห็นแล้ว ก็แก้ไขให้หลุดพ้นผ่านไป
ก้าวหน้าสู่โลกุตตรธรรมอย่างเดียว ฯ
เรื่องนิมิตที่ปรากฏเห็น หรือบังเกิดขึ้นนั้น มีนัยดัง
จะกล่าวต่อไปนี้ คือ :
๑. จิตในวลานอนหลับ ก็บังเกิดนิมิตได้ เรียกว่า ฝัน
๒. จิตในเวลานั่งสมาธิ ก็บังเกิดนิมิตได้ เรียกว่า
นิมิตตสมาธิ ฯ
ในที่นี้มีประสงค์จะอธิบายเฉพาะแต่นิมิตตสมาธิเท่านั้น
เพื่อไม่ให้หลงไปตามนิมิต จะได้มีปัญญารู้เท่านิมิต
และแก้นิมิตต่อไป ฯ
เรื่องนิมิตตสมาธิ ในเวลานั่งสมาูธิภาวนา
จิตตกลงสู่ภวังค์แล้วเผลอสติ บังเิกิดนิมิต
เป็นเรื่องราวใหญ่โตขึ้นก็มี หรือไม่เผลอสติ จิต
เป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
ย่อมมีนิมิตต่าง ๆ บังเกิดขึ้น ปรากฏเห็นชัด
ในจักขุทวาร มโนทวาร ฯ
นักปฏิบัติบางจำพวกกระทำปุพพภาคแห่งการปฏิบัติเบื้องต้น
ไม่ถูกต้อง จะกระทำโลกุตตระให้แจ้งก็ทำไม่ได้
เมื่อนั่งสมาธิภาวนาได้แต่เพียงนิิมิตตสมาธิภาวนา คือ
ได้เห็นนิมิตต่าง ๆ มาปรากฏในจักขุทวาร มโนทวาร
เท่านั้น ก็ดีใจ บังเกิดถือทิฏฐิมานะ ว่าตนได้รู้ได้เห็น
และได้สำเร็จมรรคผล ธรรมวิเศษชั้นนั้น ๆ
ไม่รู้เลยว่าตนเป็นผู้หลงติดข้องอยู่ในชั้นโลกีย์ ไม่
ใช่ชั้นโลกุตตระ ฯ
นักปฏิบัติผู้ที่มีปุพพภาคแห่งการปฏิบัติเบื้องต้น
ได้กระทำุุถูกต้องแล้ว เมื่อนั่งสมาธิภาวนา
จิตตกลงสู่ภวังค์ บังเกิดมีนิมิตขึ้นก็ดี หรือจิต
เป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิอันใดอันหนึ่ง
บังเกิดมีนิมิตปรากฏเห็นชัดในจักขุทวาร มโนทวาร
ย่อมไม่ดีใจ เสียใจ คือ ไม่ยินดียินร้ายในนิมิตนั้น ๆ ย่อม
เป็นผู้มีสติทำจิตให้เป็นสมาธิตลอดไป ฯ
นิมิตบางประการ เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว เป็นอุบายให้
ได้สติ มีปัญญา พาให้จิตสงบตั้งมั่น
เป็นสมาธิเรียบร้อยดีก็มี ฯ
แต่นิมิตบางประการเป็นนิมิตที่น่ากลัว กระทำ
ให้จิตหวาดเสียวตกใจกลัวก็มี ผู้ไม่มีสติอาจฟุ้งซ่าน
เสียสติอารมณ์ไปก็เป็นได้ จึงขอเตือนสติไว้ในที่นี้ว่า
ท่านผู้ปฏิบัติใหม่ทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีสติกำหนดจิตไว้
ให้ดี อย่าตกใจกลัว และอย่าประหม่า
กระดากเก้อเขิน คืออย่าเป็นผู้กล้า หรือเป็น
ผู้กลัวจนเกินไป ถ้ากล้าเกินไปก็ทำให้ใจฟุ้งซ่านได้
หรือกลัวเกินไปก็ทำให้เสียสติอารมณ์ท้อถอยจาก
ความเพียร ไม่อาจนั่งสมาธิภาวนาอีกได้
เพราะหลงนิมิตเท่านั้น ฯ
อนึ่ง นิมิตบางประการแสดงเรื่องมนุษย์
บางประการแสดงเรื่องสวรรค์
บางประการแสดงเรื่องพระนิพพาน ฯ
นักปฏิบัติบางจำพวกชอบเล่นนิมิตเกินไป
ก็หลงเพลินไปเที่ยวเล่นในมนุษยโลก
และเที่ยวเล่นในสวรรค์ ตลอด
เข้าสู่พระนิพพานตามอาการของนิมิตที่ปรากฏ จน
สามารถพูดอวดได้ว่า ตนได้สำเร็จสวรรค์
สำเร็จพระนิพพานไปแล้ว ครั้นออกจากสมาธิ
แล้วก็เปล่า ๆ หาได้สำเร็จอะไรไม่
นี่แสดงว่านิมิตหลอกให้หลง ก็หลงตามจริง ด้วย
ความเข้าใจผิด เห็นผิดจาก
ความจริงทุกประการตลอดไป ฯ
นักปฏิบัติในพระธรรมวินัยนี้
ที่มุ่งโลกุตตรธรรมจริง ๆ ย่อมเป็นผู้
ไม่หลงไปตามอาการของนิมิต เมื่อนิมิตบังเกิดขึ้น
ย่อมมีสติพิจารณาให้รู้แจ้งว่า นิมิตนี้บังเกิดขึ้น
จากเหตุแห่งคำบริกรรม เรียกว่าบริกรรมนิมิต
และนิมิตนี้บังเกิดขึ้นเป็นอุบายให้มีสติ มีสมาธิยิ่ง ๆ
ขึ้นไป เรียกอุคคหนิมิต ทั้งอีกนิมิตนี้ บังเกิดขึ้น
จากปฏิภาคภายในร่างกายตัวเรา หรือภาย
ในร่างกายของคนอื่น เรียกว่าปฏิภาคนิมิต
ย่อมรู้รอบคอบตลอดทุกประการ ฯ
นิมิตที่ปรากฏ เห็นดวงเดือน ดวงดาว ดวงอาทิตย์
หรือเห็นแสงสว่างภายในดวงใจของเรา นับเข้า
ในพวกอุคคหนิมิต ไม่เป็นของที่น่ากลัว ฯ
นิมิตที่ปรากฏ เห็นโครงกระดูกในร่างกายเรา
หรือเห็นตัวของเราตาย เป็นซากศพนอนกลิ้ง
อยู่ต่อหน้า ตลอดเ็ห็นซากศพมนุษย์
ทั้งหลายตายเต็มโลก นับเข้าเป็นปฏิภาคนิมิต ผู้
ไม่มีสติย่อมตกใจกลัว แต่ผู้มีสติย่อมไม่กลัว ยิ่ง
ได้สติดีขึ้น คือได้ใช้
เป็นอุบายพิจารณาอสุภกรรมฐานแยกส่วน
แบ่งซากศพนั้นออกดูให้ตลอดก่อน แล้วน้อม
เข้ามาพิจารณาในร่างกายตน
จนเห็นจริงแจ้งประจักษ์
แล้วพิจารณาร่างกายของบุคคลอื่น
ก็แลเห็นแจ้งแทงตลอดทุกประการ
บังเกิดมีนิพพิทาญาณ เหนื่อยหน่ายสังเวชสลดใจ
น้ำใจสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่ดี สติก็มีกำลังดียิ่งขึ้น
เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต ฯ

วิธีแก้นิมิตตสมาธิ
เหตุจำเป็นที่จะต้องแก้นิมิตตสมาธิ
เพราะเหตุว่าเรื่องของนิมิตตสมาธิทั้งหมด
เป็นเรื่องของโลกีย์ไม่ใช่โลกุตตระ จัดว่า
เป็นเบญจมาร ๕ ประการ คือ กิเลสมาร ๑
เทวบุตรมาร ๑ ขันธมาร ๑ อภิสังขารมาร ๑
มัจจุมาร ๑ บันดลบันดาล
ให้บังเกิดมีนิมิตขึ้นหลอกล่อให้หลงติดข้องอยู่
ในวัฏสงสารตลอดไป คือให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่
ในภพทั้ง ๓ ประการ คือ กามภพ ๑ รูปภพ ๑
อรูปภพ ๑
นักปฏิบัติผู้ต้องการพ้นทุกข์ คือต้องการโลกุตตระ
ไม่ต้องการข้องอยู่ในวัฏสงสาร จึงจำเป็นต้องแก้นิมิต
ทั้ง ๓ ประการให้หลุดพ้นไป ฯ
บัดนี้ จะกล่าววิธีแก้นิมิตตามหนทางพระพุทธศาสนา
ท่านสอนไว้มี ๓ ประการ คือ :
วิธีที่ ๑ เจริญญาตปริญญาวิธี แปลว่าทำ
ความกำหนดรู้ ทั้งจิต ทั้งนิมิต อยู่เฉย ๆ
หรือมีสติกำหนดจิตนิ่งเฉยต่อนิมิต ฯ
วิธีที่ ๒ เจริญตีรณปริญญาวิธี
แปลว่าพิจารณาตรวจค้นเหตุผลของนิมิต
ให้รอบคอบ ฯ
วิธีที่ ๓ เจริญปหานปริญญาวิธี คือสละลงซึ่งนิมิต
นั้นให้ขาดหรือถอนตัณหาเสียทั้งโคน ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 16:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีที่ ๑
ชื่อ ญาตปริญญาวิธี
เป็นวิธีที่นักปฏิบัติใหม่ทั้งหลายจำเป็นต้องใช้ประกอบ
กับภูมิจิตของตน ที่ได้เจริญสมถกรรมฐานใหม่ ๆ
และได้ฝึกหัดสมาธิน้อย สติยังอ่อน ไม่มีกำลังพอที่
จะต่อสู้กับนิมิตทั้งปวงได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีที่ ๑
เจริญญาตปริญญาวิธี ทำความกำหนดรู้อยู่เฉยๆ
หรือมีสติกำหนดจิตนิ่งเฉยต่อนิมิตนั้น ๆ ทุกประการ ฯ
บัดนี้จะกล่าวถึงภูมิจิตแห่งนักปฏิบัติใหม่
ที่ควรเจริญญาตปริญญาวิธี คือ เมื่อนักปฏิบัติใหม่
ทั้งหลายได้เจริญสมถกรรมฐานใหม่ ๆ และ
ได้กระทำความเพียร นั่งสมาธิภาวนาใหม่ ๆ ยัง
ไม่ชำนาญคล่องแคล่วดีในวิถีหนทางโลกุตตระ
ในเวลานั่งสมาธิภาวนา จิตกำลังสงบตั้งมั่น
เป็นขณิกสมาธิหรืออุปจารสมาธิแล้ว
กำลังก้าวหน้าเข้าสู่อัปปนาสมาธิ บังเกิดมีนิมิตอัน
ใดอันหนึ่งมาปรากฏเฉพาะหน้า ครั้นจะถือเอานิมิตนั้น
เป็นอารมณ์ก็ถือเอาไม่ได้ เพราะเป็นเหตุให้เผลอสติ
จิตนั้นก็ถอนจากสมาธิ นิมิตนั้นก็หายไป จำเป็น
ต้องเจริญญาตปริญญาวิธี คือมีสติกำหนดจิตทำ
ความกำหนดรู้นิ่งเฉยอยู่ตลอดเวลา จนกว่านิมิต
นั้นสงบหายไปเอง ฯ
ญาตปริญญาวิธีนี้ เป็นวิธีอบรมบ่มอินทรีย์
ให้มีกำลังแก่กล้า คือทำให้จิตของเรามีความเชื่อมั่น
และมีความเพียรมากขึ้น มีสติดีขึ้น ตลอดทำ
ให้จิตตั้งมั่นแน่วแน่จริง ๆ
จนบังเกิดมีปัญญาเฉลียวฉลาดมากขึ้นโดยลำดับ
ยิ่งมีนิมิตมาปรากฏบ่อย ๆ และ
ได้เจริญญาตปริญญาวิธีนี้บ่อย ๆ ก็ยิ่งได้สติ
และมีปัญญาสามารถทำจิตให้เป็นสมาธิ
ดำเนินตามหนทางอริยมรรคได้ดีมากขึ้นโดยรวด
เร็ว ไม่ถอยหลัง ฯ
อนึ่ง ความรู้ความเห็นบางประการบังเกิดขึ้น
แล้วกลายเป็นสัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส
ทิฏฐิวิปลาส ความรู้ความเห็นเหล่านั้นไม่ใช่เป็น
ความรู้จริงเห็นจริงในพระธรรมวินัย เป็น
ความรู้ความเห็นที่เกิดจาก
ความหวั่นไหวง่อนแง่นไปตามอารมณ์สัญญา
และนึกเดาหรือคาดคะเนเอาจากนิมิตต่าง ๆ เนื่อง
ด้วยเหตุนี้ เมื่อความรู้
ความเห็นเกิดขึ้นอย่าพึงรู้หน้าเดียวเห็นหน้าเดียว
ให้พึงเจริญญาตปริญญา วิธีทำความเป็นผู้ไม่ยินดี
และยินร้ายในความรู้ความเห็นเหล่านั้น ฯ
การเจริญญาตปริญญาวิธี มีอานิสงส์มาก
สามารถทรมานจิตให้ละพยศอันร้ายได้ คือในเมื่อ
ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ในความรู้ความเห็น และ
ในนิมิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดไม่ส่งจิตให้คิดไปตามเช่น
นั้นแล้ว ตัณหา ความดิ้นรนกระวนกระวาย ย่อม
ไม่บังเกิดมีขึ้นเป็นพยศอันร้ายแรงแห่งจิต
คืออยากเห็นนิมิตนั้นแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น หรือมิฉะนั้นเมื่อ
ได้เห็นซึ่งนิมิตที่น่ากล้ว ก็อยากให้นิมิตที่น่ากลัว
นั้นหายไป เมื่อนิมิตที่น่ากลัวนั้น
ไม่หายไปตามประสงค์ ก็บังเกิดความเสียใจ
และร้อนใจไม่อยากพบ ไม่อยากเห็นซึ่งนิมิตที่น่ากลัว
นั้นเสียเลย ชื่อว่าพยศอันร้าย ฯ
ครั้นเมื่อจิตบังเกิดพยศอันร้ายดังกล่าวแล้ว ปฏิฆะ
กับความประมาทก็บังเกิดขึ้นพร้อม เป็นเหตุ
ให้เสื่อมเสียศรัทธา ท้อถอยจากการปฏิบัติ
ไม่บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ก็เสื่อมจากทางมรรค
ทางผล ทางสวรรค์ ทางนิพพาน ถ้า
ได้จริญญาตปริญญาิวิธีนี้เสมอก็สามารถทรมาน
ซึ่งพยศอันร้ายแรงแห่งจิตให้หายได้ กับบังเกิดเป็น
ผู้มีสติดีกำหนดรู้ซึ่งจิต ทำความสงบนิ่งเฉยอยู่ได้ดี
เมื่อจิตสงบตั้งมั่นลงได้แล้ว ตัณหาทั้ง ๓ คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็สงบไปเอง คือ
ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย และไม่ทะเยอทะยานอยาก
พร้อมทั้งความไม่อยาก ก็สงบระงับไปตามกัน
กลับตั้งใจไว้ได้ในมัชฌิมาปฏิปทา คือตั้งใจไว้
เป็นกลาง ไม่ตกใจกลัว และไม่กล้าเกินไป
สม่ำเสมอพอเหมาะพอดีเป็นหนึ่งอยู่ได้ ไม่เดือดร้อน
ในเรื่องนิมิตจะมีมาหรือไม่มีมา ก็แล้วแต่เหตุผล
หรือมีมาแล้วจะหายไปหรือไม่หายไป ก็
แล้วแต่เรื่องของเรื่อง "สันทิฏฐิโก" เป็นผู้เห็นเอง "
อกาลิโก" ไม่เลือกกาล "เอหิปัสสิโก"
มีเครื่องแสดงบอกให้รู้เห็นตามเป็นจริงอยู่อย่างนั้น "
ปัจจัตตัง" รู้จำเพาะกับจิตตลอดไป ฯ
เมื่อทรมานจิตให้ละพยศอันร้ายแล้ว
ย่อมบำเพ็ญสมาูธิดำเนินตามหนทางอริยมรรคได้ดี
คือ :
๑. ทางดำเนินของสติ ก็ดำเนินได้สะดวกดีขึ้น
๒. ทางดำเนินของสัมปชัญญะ ก็ดำเนินได้สะดวกดีขึ้น
๓. ทางดำเนินของมัชฌิมาปฏิปทา ก็ดำเนิน
ได้สะดวกดีขึ้น
๔. ทางดำเนินของทิฏฐุชุกรรม ก็ทำ
ความเห็นซื่อตรงดีขึ้น
๕. ทางดำเนินแห่งการรวมจิต พร้อม
ทั้งสติสัมปชัญญะ ทั้งความเห็นก็รวมได้สะดวกดีขึ้น
ชื่อว่าดำเนินอริยมรรคได้ดี เรียกว่า
ญาตปริญญาวิธี ด้วยประการฉะนี้

วิธีที่ ๒
ชื่อ ตีรณปริญญาวิธี
แปลว่า ใคร่ครวญตรวจตรองเหตุผลแห่งนิมิต
ในตีรณปริญญาวิธีที่ ๒ นี้
เป็นหน้าที่ของนักปฏิบัติชั้นสมถกรรมฐาน ผู้ชำนาญ
ในญาตปริญญาวิธีมาแล้ว มีหน้าที่จำเป็น
ต้องเจริญตีรณปริญญาวิธีต่อไป ฯ
ในขณะเมื่อเจริญตีรณปริญญาวิธีนั้น นักปฏิบัติ
ผู้ชำนาญย่อมเจริญในเวลารวมจิตได้แล้ว
และมีนิมิตมาปรากฏเฉพาะหน้าก่อนแต่
จะเจริญวิปัสสนากรรมฐาน นักปฏิบัติ
ผู้ชำนาญย่อมเจริญตีรณปริญญาวิธีให้ชำนาญก่อน
คือพิจารณาปฏิภาคนิมิตให้แตกฉาน ดังต่อไปนี้
ปฏิภาคนิมิตในที่นี้มี ๒ ประการ คือ :
๑. ปฏิภาคนิมิตภายนอก
ได้แก่รูปร่างกายของมนุษย์ภายนอกจากตัวของเรา
๒. ปฏิภาคนิมิตภายใน ได้แก่รูปร่างกายของเราเอง
รวมปฏิภาคนิมิตมี ๒ ประการ ดังกล่าวนี้ มี
ในตัวของมนุษย์ทุกคนตลอดโลก บังเกิดเป็นนิมิต
ปรากฏขึ้นในเวลานั่งสมาธิ เรียกว่าปฏิภาคนิมิต
นักปฏิบัติใหม่ทั้งหลาย ผู้ไม่ชำนาญ ก็รู้ไม่เท่า
และแก้ไม่ได้ ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง เพราะเหตุว่า
ตัวปฏิภาคนิมิตทั้งหมด เป็นตัวกองทุกข์
และอาสวะกองกิเลส ฯ
วิธีแก้ปฏิภาคนิมิต นักปฏิบัติผู้ชำนาญ
ย่อมแก้ปฏิภาคนิมิตภายนอกก่อน คือ
ในเมื่อเวลากำลังนั่งสมาธิภาวนา รวมจิตได้
แล้วบังเกิดเห็นนิมิตมาปรากฏต่อหน้าเป็นรูป
เป็นรูปมนุษย์ผู้หญิงหรือรูปมนุษย์ผู้ชาย
เป็นรูปเด็กเล็ก หรือรูปหนุ่มสาว
แสดงอาการแลบลิ้นปลิ้นตา หน้าบิดตาเบือน
แปลกประหลาด น่าตกใจกลัว อาการอย่าง
ใดอย่างหนึ่งก็ตาม หรือแสดงอาการให้เห็น
เป็นรูปคนตายก็ตาม ฯ
นักปฏิบัติผู้มีสติดี ย่อมพลิกจิตของตน ทวนกลับ
เข้ามาตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้ดี แล้ววิตก ถามด้วย
ในใจว่า "รูปนี้เที่ยง หรือไม่เที่ยง" จะแก่เฒ่าชรา
ตายลงไปหรือไม่ เมื่อวิตกถามด้วยในใจดังนี้แล้ว
พึงหยุดและวางคำที่นึกนั้นเสีย กำหนดจิต
ให้รวมสนิทนิ่งพิจารณาด้วยความวางเฉย จนได้
ความรู้แจ้งขึ้นเอง ปรากฏเห็นชัดซึ่งรูปนิมิตนั้น
ไม่เที่ยง แก่เฒ่าชราไปเอง ตลอดเพ่งให้ตาย
ก็ตายลงเอง ตามอาการที่วิตกในใจนั้น ๆ
ทุกประการ ต่อแต่นั้นจะวิตกในใจให้เห็น
ซึ่งรูปนิมิตที่ตายแล้ว เปื่อยเน่า
ตลอดแตกทำลายกระจัดกระจายเป็นดิน เ็ป็นน้ำ
เป็นลม เป็นไฟ ไปตามธรรมดา ธรรมธาตุ
ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม ย่อม
ได้ตามประสงค์ตลอดปลอดโปร่งทุกประการ
เว้นแต่จิตถอนจากสมาธิแล้ว หรือนึกคาดคะเน
หรือนึกเดาเอาเท่านั้น จึงไม่สำเร็จสมประสงค์
อันนักปฏิบัติผู้ชำนาญจริงแล้ว ย่อมไม่ใช้คาดคะเน
และไม่นึกเดาเอา คือย่อมทำตามระเบียบวิธีที่ถูก
ต้องจริงๆ จึงสำเร็จตามประสงค์ ฯ

วิธีแก้ปฏิภาคนิมิตภายใน
ในขณะเมื่อพิจารณาปฏิภาคนิมิตภายนอกได้ความชัด
แล้ว ชื่อว่าแก้ปฏิภาคนิมิตภายนอกได้แล้ว
อย่าหยุดเพียงแค่นั้น หรืออย่าพึงเป็น
ผู้ประมาททอดธุระเสีย
ให้น้อมเอาจิตของตนทวนกระแสกลับ
เข้ามาพิจารณาภายในร่างกายของเราเอง ฯ
ในเบื้องต้น ถ้าจิตของตนไม่ปลอดโปร่ง คือ
ไม่แลเห็นร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง
ให้พึงรวมเอาแต่จิตให้สนิทอยู่ก่อน
เมื่อจิตของตนรวมสนิทดีแล้ว พึง
ใช้อุบายวิตกดังกล่าวแล้ว ในที่นี้ประสงค์ให้วิตกว่า
ศีลของเราก็บริสุทธิ์ดีแล้ว สมาธิของเราก็ตั้งมั่นดี
แล้ว เมื่อมีศีลก็ต้องมีสมาธิ เมื่อมีสมาธิก็ต้องมีปัญญา
บัดนี้ ศีล สมาธิ มีแล้ว ปัญญาเป็นอย่างไร
เมื่อวิตกถามด้วยในใจดังนี้แล้ว
พึงหยุดแลวางเฉยจนกว่าได้ความรู้แจ้งขึ้นเอง
ปรากฏเห็นชัด ซึ่งผู้รู้ทั้งหลายมาชี้บอกว่าทางนี้
เป็นทางรัก ทางนี้เป็นทางเกลียด ทางนี้
เป็นทางมัชฌิมาปฏิปทา พร้อมทั้งแลเห็น
เป็นทางโปร่งโล่ง ทั้ง ๗ ทางในขณะเดียวกัน ก็รู้ชัด
ได้ว่าปัญญาคือความเห็นชอบ พร้อมทั้ง
ความรู้ก็รอบคอบด้วย ฯ
ต่อแต่นั้น พึงวิตกถามถึงส่วนของร่างกาย ภาย
ในร่างกายตนเองเป็นตอน ๆ ไป ในตอนแรกพึงวิตกว่า
ร่างกายของเราเป็นอย่างไร เที่ยงหรือไม่เี่ที่ยง
จะแก่เฒ่าชรา และแตกทำลาย
เปื่อยเน่าลงไปเหมือนกันหรือไม่ เมื่อวิตกถามด้วย
ในใจเช่นนั้นแล้ว พึงหยุดและวางคำวิตกนั้นเสีย
กำหนดจิตให้รวมสนิทนิ่งพิจารณาด้วยความวางเฉย
จนกว่าได้ความรู้แจ้งขึ้นเอง
และแลเห็นชัดแจ้งประจักษ์ว่าร่างกายของเรา
แก่เฒ่าชรา และล้มตายลงไปในปัจจุบันทันใจ
ในขณะนั้น สำเร็จสมประสงค์ ฯ
ตอนที่ ๒ พึงวิตกถามด้วยในใจว่า อาการ ๓๒ ภาย
ในร่างกายเราส่วนไหนตั้งอยู่อย่างไร
มีลักษณะอาการเป็นอย่างไร หทัยวัตถุอยู่ที่ไหน
ครั้นเมื่อวิตกถามด้วยในใจดังนี้แล้ว พึงหยุด
และวางคำวิตกนั้นเสีย กำหนดจิตให้รวมสนิทนิ่ง
พิจารณาด้วยความวางเฉย จนกว่าได้
ความรู้แจ้งขึ้นเองปรากฏเห็นชัดซึ่งดวงหทัยวัตถุ ตั้ง
อยู่ทรวงอกข้างซ้าย มีรูปลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
มีหน้าที่ทำงานฉีดเลือดส่งไปเลี้ยงร่างกาย
เมื่อเ็ห็นเครื่องภายในก่อนดังนี้
พึงพิจารณาเครื่องภายในให้ตลอด คือ
พิจารณาม้าม ว่าตั้งอยู่ที่ไหน มีรูปลักษณะอาการ
เป็นอย่างไร ให้วิตกถามด้วยในใจ แล้วหยุดวางคำวิตก
นั้นเสีย กำหนดจิตรวมให้สนิท นิ่งพิจารณาด้วย
ความวางเฉย จนกว่ารู้ขึ้นเองว่า ม้ามตั้ง
อยู่ข้างซ้ายของดวงหทัยวัตถุ
มีรูปลักษณะคล้ายตับมีสีแดง ส่วนตับนั้น ตั้ง
อยู่ข้างขวาของดวงหทัยวัตถุ มีสีดำคล้ำ ปอดตั้ง
อยู่ทรวงอกเบื้องบน มีหน้าที่รับลมหายใจเข้าออก
แลส่งไปเลี้ยงร่างกายทั่วสรรพางค์กาย อันตัง ไส้
ใหญ่ ต่อจากลำคอลงไปมีกระเพาะอาหาร
สำหรับรับอาหารใหม่ ต่อจากกระเพาะอาหาร
ใหม่ลงไป เรียกว่า ลำไส้ใหญ่ ตั้งอยู่ในท้องของเรา
เป็นขด ๆ มีไส้น้อย รัดรึง เรียกว่า สายรัดไส้ ต่อ
จากลำไส้ใหญ่
มีกระเพาะอาหารเก่าสำหรับรับกากของอาหาร
ต่อจากกระเพาะอาหารเก่าลงไป เป็นทวารหนัก
สำหรับถ่ายอุจจาระ ฯ
เมื่อเห็นแจ้งขึ้นเองซึ่งเครื่องภายในชัดเจนตลอดแล้ว
พึงพิจารณาอาการ ๓๒ เป็นอนุโลมปฏิโลม
โดยปัจจัตตัง รู้จำเพาะกับจิต ไม่
ใช่นึกไปตามตำราที่จำได้ นักปราชญ์ทั้งหลาย
ย่อมนึกวิตกถามผู้รู้ ในเวลานั่งสมาธิ รวมจิตสนิทดี
แล้ว มีสติกำหนดจิตได้แล้ว พึงวิตกถามด้วยในใจว่า
เกสา แปลว่า ผม ตั้งอยู่ที่ไหน
มีรูปพรรณสัณฐานอย่างไร เมื่อวิตกถามแล้ว
พึงหยุดและวางคำถามนั้นเสีย มีสติ รวมจิตให้สนิท
นิ่งพิจารณาด้วยความวางเฉย
จนปรากฏเห็นชัดขึ้นเอง ว่าผมอยู่บนศีรษะ
มีสีดำคล้ำ รูปพรรณสัณฐานเป็นเส้นยาว ๆ แก่
แล้วหงอกขาว ตายแล้วลงถมแผ่นดิน โลมา
แปลว่า ขน เกิดอยู่ตามขุมขน มีทั่วร่างกาย
ครั้นเมื่อเราตายถมแผ่นพระธรณี นขา แปลว่า
เล็บ มีอยู่ที่ปลายนิ้ว ทั้งตีน
ทั้งมือทุกคนย่อมถือว่าเล็บของตน
สิ้นชีพวายชนม์ลงถมแผ่นดิน ทันตา แปลว่า ฟัน
ในปากของเรา ครั้นเมื่อแก่เฒ่า
ฟันเราโยกคลอนหนักเข้าหลุดถอน ลงถมแผ่นดิน
ตโจ แปลว่า หนัง หุ้มร่างกายเรา ตายแล้วถูกเผา
ถมแผ่นพระธรณี ฯ
ครั้นเมื่ิอพิจารณา ปรากฏเห็นเอง
แจ้งประจักษ์ใจตามความเป็นจริง
ในมูลกรรมฐานนี้แล้ว ชื่อว่า พิจารณา
เป็นอนุโลม พึงพิจารณาย้อนกลับเป็นปฏิโลม
กลับไป กลับมา ให้ชำนาญดีแล้ว จึงพิจารณา
เป็นลำดับต่อไปอีก ว่า มังสัง แปลว่า เนื้อมีหนังหุ้ม
อยู่รอบ จะแลดูด้วยตาย่อมไม่เห็น เมื่อเรา
จะพิจารณาดูซึ่งเนื้อ จำเป็นจะต้องถลกหนังนี้ออก
ให้หมดเสียก่อน จึงจะพิจารณาดูซึ่งเนื้อ
ให้เห็นจริงแจ้งประจักษ์ได้ แต่จะต้องถลอกออก
ด้วยอุบายปัญญา
ครั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว พึงทำในใจ
ด้วยอุบายที่ชอบ คือมีสติยกจิตขึ้นเพ่ง
ให้หนังเลิกออกไป ตั้งแต่หนังศีรษะเป็นต้นไป
โดยลำดับ ตลอดถึงหนังพื้นเท้าเป็นที่สุด เสร็จ
แล้วเอากองไว้ที่พื้นแผ่นดิน เมื่อเพ่งพิจารณา
ให้หนังเลิกออกไปหมดแล้ว ก็แลเห็นกล้ามเนื้อ
เป็นกล้าม ๆ ทั่วสรรพางค์กาย จึงตั้งสติ กลับจิต
ให้รวมสนิท แล้วยกจิตขึ้นเพ่ง
ให้กล้ามเนื้อหลุดออกจากกระดูก หมดทุกกล้าม
ตลอดทั่วสรรพางค์กาย ตกลงไปกอง
อยู่ที่พื้นแผ่นดิน เมื่อกล้ามเนื้อหลุดออก
จากโครงกระดูกหมดแล้ว
ก็แลเห็นเส้นเอ็นอย่างกระจ่างแจ้ง ว่าเส้นเอ็น
ทั้งหลายรัดรึงโครงกระดูกให้ติดกันอยู่ได้ เพื่อ
จะพิจารณาให้เส้นเอ็นหลุดจากโครงกระดูกนั้น
จึงพลิกจิตให้กลับรวมสนิทดีแล้ว ยกจิตขึ้นเพ่ง
ให้เส้นเอ็นทั้งหลายหลุด
จากโครงกระดูกหมดทุกเส้น เมื่อเส้นเอ็นหลุด
จากโครงกระดูกหมดแล้ว ก็แสดง
ให้แลเห็นโครงกระดูกได้อย่างกระจ่างแจ้ง ฯ
เมื่อเห็นโครงกระดูกแจ่มแจ้ง แต่เครื่องภาย
ในโครงกระดูกยังมีอยู่ พึงกระทำพิธี พิจารณา
ให้เครื่องภายในโครงกระดูกนั้นหลุดออกไปก่อน
แล้ว จึงพิจารณายกจิตขึ้นเพ่ง
ให้โครงกระดูกหลุดออกเมื่อภายหลัง ฯ
วิธีพิจารณาให้เครื่องภายในหลุดออก
จากโครงกระดูก ให้มีสติพลิกจิต กำหนดรวมจิต
ให้สนิทแน่วแน่ แล้วยกจิตขึ้นเพ่ง ให้เครื่องภาย
ในหลุดออกจากโครงกระดูก ทีละอย่าง ๆ
คือเพ่งม้าม ให้ม้ามหลุดออกไป เพ่งหทัยวัตถุ
ให้หทัยวัตถุหลุดออกไป เพ่งตับ ให้ตับหลุดออกไป
เพ่งพังผืด ให้พังผืดหลุดออกไป เพ่งไต
ให้ไตหลุดออกไป เพ่งปอด ให้ปอดหลุดออกไป
เพ่งลำไส้ใหญ่ ให้ลำไส้ใหญ่หลุดออกไป เพ่งไส้น้อย
ให้ไส้น้อยหลุดออกไป เพ่งอาหารใหม่ อาหารเก่า
ให้อาหารใหม่ อาหารเก่าหลุดออกไป
เมื่อเครื่องภายในโครงกระดูกหลุดออกไปหมด
แล้ว ธาตุน้ำทั้งหลายมีน้ำเลือด น้ำเหลือง เป็นต้น
มีน้ำมูตรเป็นที่สุด ก็หลุดออกจากโครงกระดูก
ตกลงไปกองอยู่ที่พื้นแผ่นดิน ฯ
เมื่อมีสติ เพ่งพิจารณาให้เครื่องภาย
ในภายนอกหลุดออกจากโครงกระดูกหมดแล้ว
ก็แสดงให้เห็นโครงกระดูกอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งทั้งข้าง
ในข้างนอก จึงพิจารณาโครงกระดูก
เป็นอนุโลมปฏิโลมต่อไป ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 17:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีพิจารณาโครงกระดูกเป็นอนุโลม
พึงมีสติ กำหนดจิตให้รวมสนิทดีเรียบร้อยก่อนแล้ว
ยกจิตขึ้นเ่พ่งพิจารณา กำหนดให้รู้โครงกระดูก
โดยลำดับ ตั้งแต่เบื้องบนลงไปถึงที่สุดเบื้องต่ำ
คือเพ่งพิจารณาดูกระดูกกะโหลกศีรษะ
แลกำหนดให้รู้แจ้งว่า กระดูกกะโหลกศีรษะนี้
เป็นแผ่นโค้งเข้าหากัน มีฟันเกาะกันไว้เป็นกะโหลกอยู่
ได้ กระดูกคอ เป็นข้อ ๆ และเป็นท่อน ๆ สวมกันไว้
เป็นลำดับลงไป กระดูกหัวไหล่
กระดูกไหปลาร้าต่อออกจากระหว่างกระดูกคอ
ทั้ง ๒ ข้าง กระดูกแขนทั้ง ๒ แขน กระดูกศอกทั้ง ๒
ศอก กระดูกข้อมือเป็นกระดูกฝ่ามือ กระดูกนิ้วมือทั้ง
๑๐ นิ้ว กระดูกซี่โครงทั้ง ๒๔ ซี่ กระดูกสันหลัง
เป็นข้อ ๆ และเป็นท่อน ๆ สวมกันไว้
เป็นลำดับลงไปตั้งแต่กระดูกคอ ตลอด
ถึงกระดูกบั้นเอว กระดูกตะโพก กระดูกโคนขา
กระดูกเข่า กระดูกแข้ง กระดูกข้อเท้า
เป็นกระดูกฝ่าตีน กระดูกนิ้วเท้าทั้ง ๑๐ นิ้ว พิจารณา
โดยลำดับอย่างนี้ เรียกว่าพิจารณาเป็นอนุโลม
เมื่อพิจารณาเป็นอนุโลมโดยลำดับดังนี้แล้ว
พึงพิจารณาย้อนกลับเป็นปฏิโลมดังต่อไปนี้
วิธีพิจารณาโครงกระดูกเป็นปฏิโลม
พึงมีสติ กำหนดจิตให้รวมสนิทเป็นหนึ่งตลอดไป
ยกจิตขึ้นเพ่งพิจารณา กำหนดรู้ โครงกระดูก
ย้อนกลับเป็นปฏิโลม ตั้งแต่เบื้องต่ำลำดับขึ้นไป จน
ถึงที่สุดเบื้องบน คือเพ่งพิจารณาดูให้รู้
ให้เห็นกระดูกนิ้วตีนทั้ง ๑๐ นิ้ว ตลอดแล้ว
เพ่งพิจารณาดูให้รู้ให้เห็นกระดูกฝ่าเท้า
กระดูกข้อเท้า กระดูกแข้ง กระดูกเข่า
กระดูกโคนขา กระดูกตะโพก กระดูกบั้นเอว
กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกหัวไหล่
กระดูกไหปลาร้า กระดูกแขน กระดูกศอก
กระดูกข้อมือ กระดูกฝ่ามือ กระดูกนิ้วมือ
กระดูกคอ กระดูกกะโหลกศีรษะ
พิจารณาย้อนกลับ ตั้งแต่เบื้องต่ำตลอดขึ้นไปจน
ถึงเบื้องบน อย่างนี้เรียกว่าพิจารณาเป็นปฏิโลม ฯ

พิจารณารวมศูนย์กลาง เป็นจุดหมายที่ตั้งมั่น
เมื่อพิจารณาโครงกระดูก เป็นอนุโลม ปฏิโลม
ถอยลง ถอยขึ้น รอบคอบตลอดแล้ว
พึงพิจารณารวมศูนย์กลาง
ที่ท่ามกลางอกดังต่อไปนี้ ฯ
พึงมีสติ รวมจิต พร้อมทั้งความคิดความเห็นที่
ได้พิจารณาเห็นโครงกระดูกตั้งแต่เบื้องบนลงไป
ถึงเบื้องล่าง ตั้งแต่เบื้องล่างย้อนกลับขึ้นมาจน
ถึงเบื้องบน รอบคอบตลอดแล้วนั้น
ทวนกระแสรวมเข้าตั้งไว้ในท่ามกลางอก
มีสติพิจารณาให้รู้แจ้งว่า ร่างกายนี้ก็
เป็นแต่เพียงสักว่ากาย ถ้าไม่มีใจครองก็ไม่รู้สึก รู้นึก
รู้คิด และเคลื่อนไหวไปมาไม่ได้
มีวิญญาณจิตดวงเดียวเท่านั้น เป็นใหญ่ในชีวิตของเรา
ร่างกายทั้งสิ้นนี้ก็อยู่ในใต้อำนาจแห่งจิตดวงนี้ ฯ
เพราะฉะนั้น จำเป็นเรา
ต้องรวมเอาดวงจิตของเราตั้งไว้ให้เป็นเอกจิต
เอกธรรม เอกมรรค คือให้เป็นจิตดวงเดียว ตั้งมั่น
อยู่ที่ทรวงอก
วิธีที่ ๒ ดังกล่าวมานี้
เรียกว่าเจริญตีรณปริญญาวิธี จบเท่านี้ ฯ

วิธีที่ ๓
เจริญปหานปริญญาวิธี
แปลว่า ละ หรือ วาง นิมิตได้ขาด
(อาจารย์อธิบายตรงนี้)
นักปฏิบัติในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีเพียรเพ่งอยู่
และมีประสงค์จะบำเพ็ญตน
ให้ก้าวสู่โลกุตตรธรรม จึงจำเป็น
ต้องเจริญปหานปริญญาวิธีต่อไป
การเจริญปหานปริญญาวิธี ย่อมเจริญ
ด้วยวิปัสสนากรรมฐาน ๓ ประการ คือ
๑. วิปัสสนานุโลม ใช้บริกรรมภาวนาอนุโลม
เข้าหาวิปัสสนาิวิธี ฯ
๒. วิปัสสนาสุญญตวิโมกข์
ใช้บริกรรมภาวนาดับสัญญาให้ขาดสูญ ฯ
๓. วิปัสสนาวิโมกขปริวัติ ใช้บริกรรมภาวนา
วิปัสสนาญาณวิธีให้เต็มรอบ ระงับนิมิตให้ขาด
ถอนอุปาทานขันธ์ ตลอดถอนตัณหาทั้งโคน ฯ
บัดนี้ จะกล่าวภูมิจิตแห่งนักปฏิบัติที่สมควร
ได้เจริญวิปัสสนาทั้ง ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง
เพื่อผู้ปฏิบัติจะไ้ด้ปฏิบัติถูก คือ :
๑. นักปฏิบัติบางคนหรือบางองค์
เมื่อนั่งสมาธิภาวนารวมจิตสนิทได้ดี แต่มีปีติแรงกล้า
บังเกิดขึ้นทับถมกลบเกลื่อนดวงใจ
จะยกจิตขึ้นพิจารณาอะไรก็ไม่สะดวก จำเป็นต้อง
ใช้บริกรรมภาวนาวิปัสสนานุโลมว่า "ขยวยธมฺมา
สงฺขารา" หรือ "ขยธมฺมา วยธมฺมา สงฺขารา" เป็นต้น
๒. นักปฏิบัติบางคนหรือบางองค์ เมื่อนั่งสมาธิภาวนา
รวมจิตก็สนิทได้ดีเหมือนกัน
แต่เมื่อบังเิกิดมีนิมิตขึ้นมาก เหลือวิสัยที่จะแก้ไขได้
กลายไปเป็นสัญญาเนื่องอยู่ในจิต ระงับไม่ได้ จำเป็น
ต้องเจริญวิปัสสนาสุญญตวิโมกข์
ใช้บริกรรมภาวนาว่า "สพฺเพ สงฺขารา สพฺพสญฺญา
อนตฺตา" เป็นต้น ฯ
๓. นักปฏิบัติผู้มีภูมิจิตสูง ได้เจริญญาตปริญญาวิธี
และได้เจริญตีรณปริญญาวิธี จนตลอดดังกล่าว
แล้ว ชื่อว่ามีภูมิจิตสูง ก้าวล่วงวิปัสสนานุโลม
และวิปัสสนาสุญญตวิโมกข์แล้ว ควร
ได้เจริญวิปัสสนาวิโมกขปริวัติต่อไป ฯ

วิธีเจริญวิปัสสนาวิโมกขปริวัติ
ในขณะเมื่อตรวจค้นปฏิภาคนิมิต
เลิกถอนเครื่องภายในภายนอกออกหมดแล้ว
ยังเหลือแต่โครงกระดูกเปล่า และ
ได้พิจารณาโครงกระดูกเป็นอนุโลม ปฏิโลม
รอบคอบตลอดแล้ว ได้รวมจิตให้สนิทตั้งมั่น
ในที่ทรวงอกดีแล้ว มีสติ ยกจิตขึ้นเพ่ง
ซึ่งโครงกระดูกนั้นด้วยอุบายปัญญา ซึ่งบังเกิดขึ้นเอง
แลเห็นด้วยในใจของตนเอง ว่าโครงกระดูกทั้งสิ้นนี้
เป็นของไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา
ชื่อว่าเห็นอนัตตาด้วยในใจของตนเอง และเห็น
เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แน่แก่ใจแล้ว
ยกคำบริกรรมวิปัสสนาวิโมกขปริวัติ
ขึ้นบริกรรมภาวนาว่า
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
สพฺเพ ธมฺมา อนิจฺจา
สพฺเพ ธมฺมา ทุกฺขา
ให้บริกรรมภาวนา นึกอยู่ในใจอย่างเีดียวไม่ออกปาก
และไม่ให้มีเสียง มีสติกำหนดจิต เพ่งด้วยความนิ่ง
และวางเฉย จนกว่าจะปรากฏเห็นโครงกระดูก
นั้นหลุดถอนจากกัน ตกลงไปกองอยู่ที่พื้นแผ่นดิน ฯ
เมื่อปรากฏเ็ห็นชัดว่า โครงกระดูกนั้นหลุดออกจาก
กันตกลงไปกองอยู่ที่พื้นแผ่นดินหมดแล้ว
พึงมีสติยกจิตขึ้นเพ่ง
และบริกรรมภาวนาวิปัสสนาวิโมกขปริวัติอีกว่า
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
สพฺเพ ธมฺมา อนิจฺจา
สพฺเพ ธมฺมา ทุกฺขา
ให้นึกอยู่ในใจอย่างเดียว จนกว่าจะปรากฏเห็นชัดว่า
เครื่องอวัยวะทุกส่วนที่ตกลงไปกองอยู่ที่พื้นแผ่นดิน
นั้น ได้ละลายกลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม
เป็นไฟไปเองหมดแล้ว ฯ
เมื่อระงับสัญญาที่หมายพื้นแผ่นปฐพี
พึงมีสติยกจิตขึ้นเพ่งบริกรรมภาวนาวิปัสสนาวิโมกขปริวัติ
ดังกล่าวแล้ว ฯ
เมื่อระงับเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็
ให้บริกรรมภาวนาวิปัสสนาวิโมกขปริวัติแบบเดียว
กัน ตลอดระงับอรูปฌานทั้ง ๔ ก็
ใช้คำบริกรรมภาวนาวิปัสสนาวิโมกขปริวัติแบบนี้ตลอดไป ฯ
นี้แลชื่อว่าได้เจริญปหานปริญญาวิธี ฯ
ในตอนสุดท้ายนี้ ขอเตือนไว้ว่า ในเวลาได้
ใช้คำบริกรรมภาวนาวิปัสสนาวิโมกขปริวัตินี้
พิจารณาให้โครงกระดูกละลายไปเองแล้วก็ดี
และได้พิจารณาให้เครื่องอวัยวะต่าง ๆ
ที่ตกลงไปกองอยู่พื้นแผ่นดินนั้นละลายกลาย
เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม ไปแล้วก็ดี ตลอด
ได้เพ่งพิจารณาให้พื้นแผ่นดินละลายไปเองแล้วก็ดี
พึงเป็นผู้มีสติบริบูรณ์ กำหนดเอาจิตของตนไว้
ให้รวมสนิทเป็นเอกจิต เอกธรรม เอกมรรค คือ
เป็นหนึ่งอยู่กับที่ตลอดไป อย่าพึงเป็น
ผู้ประมาททอดธุระ ปล่อยจิตของตนให้ฟุ้งซ่านไป ฯ
เมื่อได้บำเพ็ญข้อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
ในพระพุทธศาสนาดังกล่าวมาถึงขั้นนี้แล้ว
ย่อมแลเห็นอานิสงส์แห่งการปฏิบัติพระพุทธศาสนามาก
ไม่มีประมาณ ชื่อว่าได้
ถึงพระไตรสรณคมน์อันแท้จริง ส่วนที่ยิ่งกว่านี้ยังมี
อยู่อีก
............................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร