วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 08:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


--คุณกรัชกาย
Idea เคยทำเหมือนคุณค่ะ และตอนนี้ก็ยังทำอยู่ แต่ด้วยเหตุผลต่างกัน
เพราะเป็นคนขี้กลัวค่ะ หากหลับตาแล้วจะรู้สึกเหมือนมีคนรุมเข้ามา ทุกวันนี้เลยมีข้อจำกัดในการทำสมาธิ
ที่บ้านจะหานั่งตรงระเบียงแคบพอหนึ่งคนยืนสบายค่ะ ต้องรู้ว่ามีคนอยู่ด้วย แต่ที่นั่งอยู่หลบจากสายตาคนนะคะ บางทีก็เสียงดังกัน แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรค
เคยพยายามฝึกมองเข้าไปในความกลัว เวลาที่รู้สึก แต่จิตไม่แข็งพอจะตกใจ ตอนเริ่มฝึกใหม่ๆคราวที่แล้วยิ่งลำบาก เพราะเกิดความรู้สึกบ่อยๆ หลับตาลืมตา จนจิตหาความสงบไม่ได้ เลยเลือกเอาความสบายใจก่อน เพราะหากตกใจแรงๆจะกลัวจนจะทำให้ยิ่งกลัวการนั่งสมาธิไปเลย แต่ก็สู้ค่ะ ก็หาอุบายแก้ก่อน คือหากใจเริ่มสงบบ้าง แวบกลัวขึ้นมา
ก็จะแผ่เมตตาทันที พอบ่อยๆก็ไม่ตกใจอะไร เหมือนถ้ารู้สึกก็กำหนดแผ่เมตตาไปเลย โดยจะกำหนดไปหาประมานไม่ได้ และรู้สึกได้ถึงร่างกายที่ขยายไปตามที่เรากำหนด จนเหมือนไม่มีกาย เป็นคล้ายๆกระแสพลังงานหนึ่งที่กระจายออกไป พอจบก็กลับมาที่องค์ภาวนา จิต,ลมจะละเอียดขึ้นชัดเจน แต่ไม่ได้ทำเป็นจุดเริ่มต้นเพราะไม่รู้ควรไม่ควร แต่รู้ว่าหากจิตพอสงบ แล้วได้กำหนดจบ ผลจะทำให้จิตละเอียดขึ้นกว่าเดิม(แต่หากทำตอนฟุ้งซ่านไม่เกิดผลนะคะ)
จะทำเฉพาะเวลารู้สึกกลัว กับตอนที่ ด้วยเหตุผลส่วนตัวนะ คือจะคิดว่าหากได้ทำสมาธิจนถึงจิตใจตั้งมั่นพอสมควร สว่างไสว จะเกิดเป็นตัวบุญที่เราสามารถเผื่อแผ่ให้ กับทุกสภาวะจิต ก็จะเริ่มจากเริ่มระลึกถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ บุคคลอันเป็นที่รัก เริ่มจากจุดที่ตั้งแผ่ไปหาประมานมิได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
--คุณปลีกวิเวก สมาธิตั้งมั่น หมายถึง การที่เรากำหนดภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วตั้งมั่นอยู่ในการภาวนานั้นเพียงหนึ่งเดียว ใช่ใหมคะ ซึ่งก่อนจะสามารถตั้งได้ก็จะผ่านกับความฟุ้งปรุงแต่งกับอารมณ์ภายนอก อารมณ์ภายใน จนสุดท้ายตั้งมั่นเพียงคำภาวนาที่เรากำหนดไม่มีเหตุหรืออารมณ์ใดเกิดเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง


ใช่ค่ะ เราจะฝึกให้จิตอยู่กับอารมณ์ที่เราต้องการเมื่อจิตคลอเคลียอยู่ในอารมณ์นั้นได้นานๆก็จะเกิดสมาธิความแนบแน่นของสมาธิก็มีต่างระดับกันไป...
ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นเวลาเราอ่านหนังสือ ช่วงแรกๆที่เริ่มต้นอ่านหนังสือจิตใจเราก็จะไปรับอารมณ์อื่นที่นอกเหนือไปจากการอ่าน อาจจะรู้เสียง ตาไปเห็นรูปบ้าง คิดนึกตรึกไปในเรื่องราวต่างๆ แล้วก็กลับมาที่การอ่านอีกก็คือจิตจะอยู่กับหนังสือแบบประเดี๋ยวประด๋าวหรือชั่วคราวก็จะไปรู้อารมณ์อื่นอีก แล้วก็กลับมาอ่านต่ออีก อย่างนี้เรียกว่าสมาธิแบบชั่วคราวพอให้เราทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ แต่ถ้าอ่านต่อไปสักพัก เราก็พยายามดึงจิตกลับมาที่การอ่านทุกครั้งที่จิตไหลออกไปรู้นอกเรื่องที่เราไม่ต้องการ เมื่อรู้สึกตัวก็รีบดึงจิตกลับมาที่การอ่านต่อไป...ทำไปเรื่อยๆ นานเข้าจิตจะไม่ออกไปรู้อารมณ์อื่นที่เราไม่จำปรารถนาเขาจะอยู่กับการอ่านอย่างเดียวไม่ไปไหน...ทีนี้เราก็อ่านหนังสือรู้เรื่องราวทั้งหมด จำได้ดี
เพราะมีสมาธิตั้งมั่นอยู่กับการอ่านและเป็นสมาธิที่แนบแน่น...

ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ต้องอาศัยสติและสมาธิเสมอ การที่จิตไปรับรู้อารมณ์อื่นที่เราไม่ต้องการ เราก็ต้องอาศัยสติที่จะระลึกรู้ว่าเรื่องที่จิตไปรู้อารมณ์อื่นไม่อยู่ในวัตถุประสงค์ที่เราต้องการฝึกฝน ถ้าเราจะฝึกจิตให้มีสมาธิก็ต้องดึงจิตกลับมาในองค์ของกรรมฐาน เราต้องการให้จิตอยู่กับอะไรก็พยายามดึงกลับมาที่อารมณ์นั้น(คือสิ่งที่จิตรู้หรือสิ่งที่ถูกรู้)

ในคนที่มีสมาธิดีกว่าคนอื่นจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องความจำ จิตใจโปร่งเบา เปรียบเหมือนกระจกใสที่สามารถสะท้อนสิ่งต่างๆได้ชัดเจน ฯลฯ จิตใจลักษณะนี้เหมาะที่จะเอาไปใช้ในการพิจารณา หรือต่อยอดในด้านปัญญาค่ะ

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 09:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


--คุณปลีกวิเวก,คุณเช่นนั้น
เมื่อวานนั่งสมาธิตามแบบคุณเช่นนั้น+คุณปลีกวิเวกแนะนำ
ก่อนหลับตานึกถึงว่าไม่ว่าจะเกิดอะไร จะกลับมาตั้งมั่นในอารมณ์กรรมฐาน คือระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกจุดเดียว
ตรงลมกระทบตรงจมูก ก็พยายามทำอย่างนั้น ค่ะ ยากเหมือนกัน เพราะเคยตามลมตลอดสาย แต่สักพักเดียวก็ทำได้ ความรู้สึกที่อธิบายได้ก็คือ ปกติเคยตามลมไงคะ ตอนนี้หมือนเฝ้าดู เหมือนแค่คอยสังเกตุ อารมณ์ตั้งมั่นได้ดี,นานกว่าปกติ แวบรู้สึกบ้างแต่จะกลับมาองค์กรรมฐานตลอด ปิติมีเบาๆ เหมือนนั่งลอยเรือ แสงสว่างจ้า มากขึ้นเรื่อยๆ แต่เป็นแสงที่ดูสม่ำเสมอ รู้ถึงข้อแตกต่างที่เคยทำปกติ หากมีปิติจะรู้สึกยินดี ก่อน กำหนดรู้ว่าเรากำลังยินดีจึงหยุด หากเห็นแสงสว่าง ก็จะตามมองจะวิ่งไปวิ่งมา หากรู้ว่าเราหลงมองจึงหยุด แบบนี้ก่อนจึงจะตั้งมั่น แต่นี่เหมือนแค่สังเกต เอาแต่ลมกระทบจมูกอย่างเดียว แต่จนถึงท้ายๆร่างกายเกร็งอึดอัด แต่แค่ร่างกายนะคะ จิตยังสบาย เหมือนถูกตรึงไว้ ไม่อยากขยับ แต่ร่างกายสิมันเหมือนบิดเบี้ยว จะแหลกจะหักจะหาย ก็พยายามเอากลับมาดูลมกระทบจุดเดียวเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็ปล่อยจิตตามดู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
--คุณปลีกวิเวก,คุณเช่นนั้น
เมื่อวานนั่งสมาธิตามแบบคุณเช่นนั้น+คุณปลีกวิเวกแนะนำ
ก่อนหลับตานึกถึงว่าไม่ว่าจะเกิดอะไร จะกลับมาตั้งมั่นในอารมณ์กรรมฐาน คือระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกจุดเดียว
ตรงลมกระทบตรงจมูก ก็พยายามทำอย่างนั้น ค่ะ ยากเหมือนกัน เพราะเคยตามลมตลอดสาย แต่สักพักเดียวก็ทำได้ ความรู้สึกที่อธิบายได้ก็คือ ปกติเคยตามลมไงคะ ตอนนี้หมือนเฝ้าดู เหมือนแค่คอยสังเกตุ อารมณ์ตั้งมั่นได้ดี,นานกว่าปกติ แวบรู้สึกบ้างแต่จะกลับมาองค์กรรมฐานตลอด ปิติมีเบาๆ เหมือนนั่งลอยเรือ แสงสว่างจ้า มากขึ้นเรื่อยๆ แต่เป็นแสงที่ดูสม่ำเสมอ รู้ถึงข้อแตกต่างที่เคยทำปกติ หากมีปิติจะรู้สึกยินดี ก่อน กำหนดรู้ว่าเรากำลังยินดีจึงหยุด หากเห็นแสงสว่าง ก็จะตามมองจะวิ่งไปวิ่งมา หากรู้ว่าเราหลงมองจึงหยุด แบบนี้ก่อนจึงจะตั้งมั่น แต่นี่เหมือนแค่สังเกต เอาแต่ลมกระทบจมูกอย่างเดียว แต่จนถึงท้ายๆร่างกายเกร็งอึดอัด แต่แค่ร่างกายนะคะ จิตยังสบาย เหมือนถูกตรึงไว้ ไม่อยากขยับ แต่ร่างกายสิมันเหมือนบิดเบี้ยว จะแหลกจะหักจะหาย ก็พยายามเอากลับมาดูลมกระทบจุดเดียวเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็ปล่อยจิตตามดู

ยินดีด้วยครับ
เพื่อความแน่นแฟ้นแห่งการปฏิบัติ
คุณ idea พิจารณาตาม คำสอนของพระสารีบุตรเถระ ที่ท่านแนะนำว่า ทำไมจึงไม่ให้ตามลมตลอดสาย
เมื่อพิจารณาตาม และปฏิบัติต่อไป สติก็จะแข็งแรงขึ้น นิวรณ์ที่ปรากฏ ก็จะถึงความดับในฉับพลัน.

ความหนึ่งมีอยู่ว่า
Quote Tipitaka:
"เมื่อบุคคลใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก
จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ
เมื่อบุคคลใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า จิตถึงความฟุ้งซ่านใน
ภายนอก ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ

ความปรารถนา ความพอใจลมหายใจออก การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ
ความปรารถนา ความพอใจลมหายใจเข้า การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ

ความหลงในการได้ลมหายใจเข้า แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจออกเข้าครอบงำ ย่อมเป็น
อันตรายแก่สมาธิ
ความหลงในการได้ลมหายใจออก แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ

สติที่ไปตามลมหายใจออก ที่ไปตามลมหายใจเข้า ที่ฟุ้งซ่านในภายใน ที่ฟุ้งซ่านในภายนอก ความปรารถนาลมหายใจออกและความปรารถนาลมหายใจเข้า อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ

อุปกิเลสเหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ"

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ

เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิตจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ

เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออกนี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ

เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก เมื่อ
คำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึง
ถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลม
หายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ
ออก ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ
เข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก อุปกิเลส ๖ ประการ
นี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุป-
*กิเลสเหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็น
เครื่องไม่ให้หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์
ให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ
จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ

จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ
จิตที่ถือจัด ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ

จิตที่รู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ
จิตที่ไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ

จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ จิตที่
หดหู่ ที่ถือจัด ที่รู้เกินไป ที่ไม่รู้ ย่อมไม่ตั้งมั่น อุปกิเลส
๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานา-
ปาณสติ อุปกิเลสเหล่านั้นย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความ
ดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดด้วยสติจึง เพียงเฝ้ามองอย่างระวัง เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ
เป็นอานาปานสติสมาธิภาวนา

เมื่อจิตเป็นเอกัคคตาเมื่อไหร่ จะทรงจิตอยู่ได้ด้วยคุณภาพของจิตนั้น
จิตนั้นจะเหมาะแก่การทำอนุปัสสนา โดยนิวรณ์จะไม่มารบกวนในขณะทำอนุปัสสนา.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 12:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


--คุณเช่นนั้น
อีกสักนิดเถอะ s006
เมตตาแล้วกรุณาชี้ตรงมาที่ideaได้เลยค่ะ
ขอความเข้าใจเกี่ยวกับความเห็นของคุณกับเหตุการณ์นี้โดยตรง
อยากรู้หลักการแนวทาง ของบางบุคคล แบบเป็นคำพูดง่ายๆ
เป็นคนเข้าใจอะไรยากค่ะ ไม่ค่อยเชื่ออะไรง่ายๆ อยากรู้หลักการ กระบวนการ
แต่แน่นอน ว่าต้องยืนยันด้วยการลงมือทำจริงๆ กลั่นกรองทุกถ้อยคำมาจากที่สัมผัสจริงๆ
smiley
ขอบคุณค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
--คุณเช่นนั้น
อีกสักนิดเถอะ s006
เมตตาแล้วกรุณาชี้ตรงมาที่ideaได้เลยค่ะ
ขอความเข้าใจเกี่ยวกับความเห็นของคุณกับเหตุการณ์นี้โดยตรง
อยากรู้หลักการแนวทาง ของบางบุคคล แบบเป็นคำพูดง่ายๆ
เป็นคนเข้าใจอะไรยากค่ะ ไม่ค่อยเชื่ออะไรง่ายๆ อยากรู้หลักการ กระบวนการ
แต่แน่นอน ว่าต้องยืนยันด้วยการลงมือทำจริงๆ กลั่นกรองทุกถ้อยคำมาจากที่สัมผัสจริงๆ
smiley
ขอบคุณค่ะ

แนวทางหลักการของบางบุคคล ใช้ไม่ได้ครับ เพราะเราไม่อาจทราบได้ว่าให้ผลบริสุทธิ์บริบูรณ์หรือไม่
ไม่พึงใส่ใจต่อสิ่งอื่น เรื่องของบุคคลอื่น นอกจาก การนำเอาหลักการที่ให้ผลดี นำไปปฏิบัติและเห็นได้เอง.
ตนเองจะเป็นพยานในตนเอง.
พระสุปฏิปันโนทุกรูป ก่อนจะให้ผู้ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาอบรมจิต ต่างก็ให้ฟังธรรมนำการปฏิบัติเสมอครับ.

คำแสดงของพระสารีบุตรเถระบ่งบอกวิธีการที่ชัดเจน สำเร็จในตนเอง
ด้วยสติสัมปชัญญะ เกื้อหนุนให้จิตมั่นคง นิวรณ์ก็หายไปเร็วพลัน

จำไว้นะครับ อย่าไปเที่ยวอ่านประสบการณ์คนอื่นๆ ไร้ประโยชน์ต่อตนทั้งสิ้นครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะนี้ คุณ Idea ใส่ใจเรื่องความเป็นอันตรายต่อสมาธิว่าจริงหรือไม่?
เพียงนี้ก็พอ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:


แนวทางหลักการของบางบุคคล ใช้ไม่ได้ครับ เพราะเราไม่อาจทราบได้ว่าให้ผลบริสุทธิ์บริบูรณ์หรือไม่
ไม่พึงใส่ใจต่อสิ่งอื่น เรื่องของบุคคลอื่น นอกจาก การนำเอาหลักการที่ให้ผลดี นำไปปฏิบัติและเห็นได้เอง.
ตนเองจะเป็นพยานในตนเอง.
พระสุปฏิปันโนทุกรูป ก่อนจะให้ผู้ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาอบรมจิต ต่างก็ให้ฟังธรรมนำการปฏิบัติเสมอครับ.

คำแสดงของพระสารีบุตรเถระบ่งบอกวิธีการที่ชัดเจน สำเร็จในตนเอง
ด้วยสติสัมปชัญญะ เกื้อหนุนให้จิตมั่นคง นิวรณ์ก็หายไปเร็วพลัน

จำไว้นะครับ อย่าไปเที่ยวอ่านประสบการณ์คนอื่นๆ ไร้ประโยชน์ต่อตนทั้งสิ้นครับ



เห็นหรือยังว่า เช่นนั้น ย้อนกลับไปเพ้อเรื่องการปฏิบัติ สมัยสองพันกว่าปี แล้วข้อคิดนี่ เป็นคำพูดเลื่อนลอย ไม่มีอะไรที่ใครจะนำไปใช้ปฏิบัติได้


อ้างคำพูด:
พระสุปฏิปันโนทุกรูป ก่อนจะให้ผู้ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาอบรมจิต ต่างก็ให้ฟังธรรมนำการปฏิบัติเสมอครับ.



ตอนนี้เช่นนั้นจะให้ไปฟังธรรมจากใคร อะไรยังไง


อ้างคำพูด:
คำแสดงของพระสารีบุตรเถระบ่งบอกวิธีการที่ชัดเจน สำเร็จในตนเอง
ด้วยสติสัมปชัญญะ เกื้อหนุนให้จิตมั่นคง นิวรณ์ก็หายไปเร็วพลัน



พระสารีบุตรไม่อยู่แล้ว จะทำยังไง นิวรณ์จึงหายไปฉับพลันทันที :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ขณะนี้ คุณ Idea ใส่ใจเรื่องความเป็นอันตรายต่อสมาธิว่าจริงหรือไม่?
เพียงนี้ก็พอ



นี่ก็พูดไม่ชัด อะไรล่ะอันตรายของสมาธิ แล้วจะกำจัดอันตายนั่นด้วยวิธีใด
เป็นคำพูดเลื่อนลอยทั้งสิ้น

มันต้องบอกชัดๆไปเลย เขาจะได้นำไปทำไปสานต่อได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย อึดอัดมาก ทำตนเป็นศาสดาไม่ได้มากขนาดนี้เชียวรึ :b17: :b17: :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย อึดอัดมาก ทำตนเป็นศาสดาไม่ได้มากขนาดนี้เชียวรึ :b17: :b17: :b17:



เช่นนั้น ต้องพูดให้ชัด อย่าเพ้อฝันเลื่อนลอย เช่นนั้น เริ่มฉายแววชัดแล้วนะ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย อึดอัดมาก ทำตนเป็นศาสดาไม่ได้มากขนาดนี้เชียวรึ :b17: :b17: :b17:



เช่นนั้น ต้องพูดให้ชัด อย่าเพ้อฝันเลื่อนลอย เช่นนั้น เริ่มฉายแววชัดแล้วนะ คิกๆๆ

เช่นนั้นพูดชัดเจน แจ่มแจ้ง
อิงหลักอิงธรรม ไม่เพ้อฝันนั่งทำเจตนาฟุ้ง :b19: :b19:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร