วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 11:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าทิ้งปรุงแต่เสียทันที ถ้าปรุงแต่งดี ได้ถึงฌานสมาบัติอย่างสูง


สมาธิ เป็นองค์ธรรมแกนของสมถะ หรือเป็นตัวสมถะนั่นเอง ยังเป็นธรรมระดับปรุงแต่ง


พระพุทธเจ้าไม่ห้ามนการปรุงแต่ง ปรุงแต่งเป็น ก็ดีเป็นประโยชน์ มนุษย์เราอยู่ด้วยการปรุงแต่งมาก แต่ว่าให้ปรุงแต่งให้ดี


ได้พูดแล้วว่า การคิดมีสองอย่าง คือ การคิดปรุงแต่ง กับการคิดเชิงปัญญา เช่น สืบสาวหาเหตุปัจจัย


การคิดแบบปรุงแต่งนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะเสียอย่างเดียว ที่ดีก็มี คือ การคิดปรุงแต่งกุศลขึ้น


ยกตัวอย่างมาว่ากัน ความคิดปรุงแต่ง ท่านเรียกว่าอภิสังขาร ซึ่งมี ๓ อย่าง ปรุงแต่งไม่ดี เป็นบาป ก็เป็นอปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งดีก็เป็นปุญญาภิสังขาร เหนือขึ้นไปอีก ปรุงแต่งสูงสุด ก็เป็นอาเนญชาภิสังขาร


การปรุงแต่งที่เป็นตัวร้าย ท่านเรียกเป็นภาษาพระว่า อปุญญาภิสังขาร คือปรุงแต่งความคิด และสภาพจิตที่ไม่ดี รวมทั้งปรุงแต่งใจให้เป็นทุกข์ บีบคั้นใจตัวเอง ปรุงแต่งความโลภ ความโกรธ เช่น เห็นอารมณ์ที่ไม่สบายตาแล้วเกิดความชัง เกิดความยินร้าย เกิดความไม่สบายใจ เก็บเอาสิ่งโน้นถ้อยคำคนนี้มาปรุงแต่ง ทำให้ใจตัวเองมีความทุกข์ ปรุงแต่งความกลุ้ม ความกังวลอะไรต่างๆ เหล่านี้ เรียกว่า ปรุงแต่งอกุศล เป็นอปุญญาภิสังขาร

ส่วนการปรุงแต่งดี ปรุงแต่งเป็นบุญ ปรุงแต่งเป็นความสุข ทำให้เกิดกุศล ทำให้สร้างสรรค์ ทำให้ความดีงามเจริญเพิ่มพูน ทำให้ใจสบาย สดชื่นผ่องใส คิดไปในทางกุศล คิดถึงการทำบุญในอดีต เกิดปีติปลาบปลื้ม เป็นต้น นี้ท่านเรียกว่า ปุญญาภิสังขาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มนุษย์เราที่อยู่ในระดับของปุถุชน หนีไม่พ้นการปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งไปติเตียนการปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง ให้ปรุงแต่งีเถอะ ปรุงแต่งเป้นบุญเป็นกุศล ทำใจให้มีสุข ปรุงแต่งใจให้สบาย ปรุงแต่งความดีท่านไม่ว่า ท่านเรียว่าเป็นปุญญาภิสังขาร

แม้กระทั่งเจริญสมาธิได้ฌาน ก็เป็นปุญญาภิสังขาร ยังปรุงแต่งดีอยู่นั่นแหละ จนกระทั่งถึงอรุปฌานก็ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง เป็นอาเนญชาภิสังขาร เป็นการปรุงแต่งที่ประณีตขึ้นไป ก็ยังไม่พ้นการปรุงแต่งอยู่นั่นเอง


เพราะฉะนั้น สมาธิที่เราบำเพ็ญกันนี่ อย่าว่าแต่สมาธิธรรมดาเล็กน้อยเลย แม้แต่สมาธิสูงเยี่ยมยอดขนาดอรูปฌาน ได้สมาบัติสมบูรณ์แล้ว ก็ยังเป็นการปรุงแต่งอยู่ คือเป็นอาเนญชาภิสังขาร


การปรุงแต่งอย่างนี้ ก็ทำให้จิตพัฒนาไปถึงขั้นสูงสุด แต่ก็ต้องระวัง ต้องมีสติอยู่เสมอ มิฉะนั้น มันก็จะเป็นการกล่อม

สมาธินี้ ในเมื่อมันเป็นสิ่งปรุงแต่ง ก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องกล่อมจิตใจได้ เพราะฉะนั้น คนที่บำเพ็ญปฏิบัติได้สมาธิแล้วก็อาจจะเพลินกับสมาธิ


พอได้สมาธิเข้าก็สบาย ติดเพลินแล้ว มีปัญหาอะไรต่ออะไรเกิดขึ้น ก็มานั่งสมาธิแล้วใจสบาย หายทุกข์หายร้อน ลืมปัญหา มีความสุขเพลิดเพลินติดในความสุขนั้น นี่ก็กล่อมเหมือนกัน ค่ือกล่อมด้วยสมาธิเป็นแบบพวกโยคีฤษีดาบสก่อนพุทธกาล ได้ฌานสมาบัติแล้วก็เข้าสมาธิเล่นฌานกีฬาอยู่ในป่า ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร พระพุทธเจ้าไม่เห็นด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนที่พระพุทธเจ้าอุบัติ เขาได้สมาบัติกันสูงแล้ว โยคีในอินเดียนี่ เราก็ได้เรียนพุทธประวัติมาแล้ว เช่น อาฬารดาบส กาลามโคตร ได้อรูปฌานจนถึงขั้นอากิญจัญญายตนะ ท่านอุทกดาบส รามบุตร ยิ่งได้สูงกว่านั้น คือได้อรูปฌานถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ จบสมาบัติ ๘ เลย


พระพุทธเจ้าไปเรียนกับดาบสจนจบความรู้ของเขา และบำเพ็ญฌานได้ครบหมด จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ร่วมสำนัก พระพุทธเจ้าเห็นว่าไม่ใช่ทาง ก็เสด็จหลีกไป


เราอย่ามัวเพลินว่า สมาธินี่ดีนะ สุขสงบดีเหลือเกิน ดีนั้นดีแน่ แต่ต้องใช้ให้ถูก ถ้าใช้ไม่เป็น สมาธิที่สุขสงบนั้นก็จะเป็นแค่ส่ิ่งกล่อมที่เราใช้หนีปัญหาหลบทุกข์ แต่ไม่แก้ปัญหา ไม่ดับทุกข์ กิเลสไม่หมดไป ปัญหาไม่หมดไป ทุกข์ก็ไม่หมดไป ตราบใดอยู่ในสมาธิก็สบายไป ก็เลยเพลินอยู่แค่นั้น ข้างนอกก็ไม่แก้ปัญหา ข้างในก็ไม่เดินหน้าสู่อธิปัญญา....สมาธิ สบาย แต่ตกอยู่ในความประมาท


เพราะฉะนั้น ในทางธรรมท่านจึงเตือนไว้ ว่าธรรมทั้งหลายนั้นต้องรู้จักพิจารณา ต้องใช้โดยแยบคาย ไม่ใช้ในทางที่จะเกิดโทษ

สมาธินั้น เข้ากันได้กับโกสัชชะ คือความเกียจคร้าน แม้ว่าตัวมันเองเป็นกุศล และเป็นกุศลที่สำคัญมาก แต่มันก็เป็นปัจจัยแก่อกุศลได้ อย่างที่ท่านเตือนไว้ให้ระวังว่า ถ้าสมาธิแรง แต่ความเพียรอ่อน ความเกียจคร้านก็จะครอบงำ เพราะสมาธิเป็นพวกเดียวกับบความเกียจคร้าน (สมาธิสฺส โกสชฺชปกฺขตฺตา - เช่น ที.อ.2/403...)


ที่ว่าโกสัชชะเข้าครอบงำ คือตอนที่สุขสงบ สบาย ก็ติด เพลินเรื่อยเฉื่อย อะไรที่ควรจะทำก็ปล่อยไว้ก่อน ปัญหาที่ค้างอยู่ก็ทิ้งไว้ไม่แก้ กิจหน้าที่โดยเฉพาะการเจริญไตรสิกขา ก็ไม่เร่งรัดดำเนินไป กลายเป็นขี้เกียจ นี่คือกล่อมให้เพลินสบาย เพราะฉะนั้น กิเลสไม่หมด ทุุกข์ไม่หมดและพัฒนาไม่ไป


พระพุทธเจ้าจึงตรัสหลักอินทรียสมตากำกับไว้ คือให้ปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอสมดุลกัน ให้วิริยะคือความเพียรควบคู่ไปด้วยกันกับสมาธินั้น เช่น เดียวกับที่ต้องให้ศรัทธามีปัญญามาคู่กัน โดยมีสติคอบดูแลตรวจตราไม่ให้เผลอไม่ให้พลาด ไม่ให้ล้าไม่ให้ล้ำเกินกัน

(วินย.5/2 องฺ. ปญฺจก.22/326)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b34: :b28:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 62 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร