วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 22:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้นหามารยาท บอกอีกที ต่อไปไม่ต้องร้องหาให้รำคาญใจอีก ถือว่าบอกที่นี่แล้ว คือ หนังสือที่ดูอยู่ ก็มี

พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย) เฉพาะเนื้อหามีพันกว่าหน้า

ดู บันทึกของผู้เขียนบางตอน หน้า 1145 พูดว่า

ฯลฯ

ในการแสดงหลักฐานที่มาไว้มาก หรือถือเอาคัมภีร์ที่อ้างอิงเป็นหลักเป็นแกนเป็นเนื้อตัวของหนังสือนี้ ก็เพื่อทำให้หนังสือนี้เป็นอิสระจากผู้เขียน และให้ผู้เขียนเองก็เป็นอิสระจากหนังสือด้วยเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยว่า ผู้เขียนจัดทำหนังสือนี้อย่างเป็นนักศึกษาผู้หนึ่ง ทำหน้าที่เป็นผู้ไปสืบค้นรวบรวมเอาเนื้อหาทั้งหลายของพุทธธรรมมาส่งวางให้แก่ผู้อ่าน ถ้าสิ่งที่มาส่งวางให้นั้น เป็นของแท้จริง หยิบมาถูกต้อง ผู้นำมาส่งก็หมดความรับผิดชอบ จะหายตัวไปไหนก็ได้ ผู้ได้รับ ไม่ต้องนึกถึง ไม่ต้องมองที่ผู้นำส่งอีกต่อไป คงยุ่งอยู่กับของที่เขานำมาส่งเท่านั้นว่า จะเอาไปใช้เอาไปทำอะไรอย่างไรต่อไป แต่ถ้าของส่วนใหญ่ยังไม่ใช่ตัวของแท้ที่ถูกต้อง ผู้นำส่ง ก็ยังเปลื้องตัวไม่หมด ยังไม่พ้นความรับผิดชอบ โดยนัยนี้ การทำให้งานและตัวเป็นอิสระจากกันได้ จึงเป็นเครื่องวัดความสำเร็จของหนังสือนี้

เท่าที่ทำมาถึงคราวนี้ คงจะยังหวังไม่ได้ว่า จะทำตัวให้เป็นอสิระได้สิ้นเชิง แต่ก็พึงประกาศให้ทราบความมุ่งหวังไว้ ผู้เขียนนำเอาตัวพุทธธรรมมาแสดงแก่ผู้อ่านได้สำเร็จ ก็เหมือนกับได้พาผู้อ่านเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาเองแล้ว ผู้อ่านก็ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้เขียนอีกต่อไป พึงตั้งใจสดับ และพิจารณาพุทธธรรมที่แสดงจากพระโอษฐ์ของพระบรมศาสดาโดยตรง


โดยเหตุที่หนักในด้านหลักฐาน หนังสือนี้จึงเน้นในด้านหลักการ และวิธีปฏิบัติทั่วไป มากว่าภาคปฏิบัติโดยตรง เพราะรายละเอียดของการปฏิบัติ ขึ้นต่อปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และสิ่งที่จะต้องปฏิบัติเฉพาะกรณี พร้อมทั้งกลวิธีที่เหมาะสม


อย่างไรก็ตาม หลักการและวิธีปฏิบัติทั่วไปนี่แหละ เป็นแหล่งที่มาแห่งรายละเอียดของการปฏิบัติ ซึ่งเมื่อเข้าใจดีแล้ว ย่อมสามารถคิดกำหนดวางรายละเอียดเฉพาะกรณีต่างๆ ได้เอง และทั้งมีเครื่องมือสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของการปฏิบัติด้วย

ฯลฯ

เมื่อเน้นในด้านหลักฐาน ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่หนังสือนี้จะหนักไปทางวิชาการหรืออาจพูดได้ว่า มุ่งแสดงหลักวิชาทางพระพุทธศาสนาโดยตรง คำนึงถึงการอธิบายหลักธรรม มากกว่าจะคำนึงถึงพื้นฐานของผู้อ่าน


ดังนั้น หนังสือนี้ จึงเป็นหนังสือสำหรับผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว หรือสำหรับผู้ต้องการศึกษาอย่างจริงจัง มุ่งหาความรู้อย่างไม่กลัวความยาก ใจสู้ จะเอาชนะทำความเข้าใจให้จงได้ ไม่ใช่หนังสือสำหรับชวนให้ศึกษา หรือเข้าไปหาผู้อ่าน เพื่อชักจูงให้มาสนใจ คือ ถือเอาหลักวิชาเป็นที่ตั้ง มิใช่ถือเอาผู้อ่านเป็นที่ตั้ง แต่กระนั้น ก็มิใช่จะยากเกินกำลังของผู้อ่านทั่วไป ที่มีความใฝ่รู้และตั้งใจจริง จะเข้าใจได้

ในเมื่อเป็นหนังสือแสดงหลักวิชา ก็ย่อมมีคำศัพท์วิชาการทางพระพุทธศาสนา คือ ถ้อยคำทางธรรมที่มาจากภาษาบาลีเป็นจำนวนมาก ข้อนี้ก็เป็นเหตุอีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้หนังสือนี้ยากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ไม่คุ้นกับศัพท์ธรรม หรือคำที่มาจากบาลี แต่ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง ในเมื่อต้องการจะรู้หลักกันจริงๆ

อันที่จริง พุทธธรรมนั้น ถ้ารู้แจ้งเข้าใจจริงแล้ว เมื่อพูดชี้แจงอธิบาย แม้จะไม่ใช้ศัพท์ธรรมคำบาลีสักคำเดียว ก็เป็นพุทธธรรม แต่ตรงข้าม ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือรู้ผิดเข้าใจผิด แม้จะพูดออกมาทุกคำล้วนศัพท์บาลี ก็หาใช่เป็นพุทธธรรมไม่ กลายเป็นแสดงลัทธิอื่นที่ตนสับสนหลงผิดไปเสีย

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่รู้เข้าใจด้วยกันแล้ว คำศัพท์กลับเป็นเครื่องหมายรู้ ที่ช่วยสื่อถึงสิ่งที่เข้าใจได้โดยสะดวก พูดกันง่าย เข้าใจทันที หรือแม้สำหรับผู้ศึกษาประสงค์จะเข้าใจ หากอดทนเรียนรู้คำศัพท์สักหน่อย คำศัพท์เหล่านั้นแหละ จะเป็นสื่อแห่งการสอน ที่ช่วยให้เข้าใจพุทธธรรมได้รวดเร็ว หากจะชี้แจงสั่งสอนกันโดยไม่ใช้คำศัพท์เลย ในที่สุด ก็จะต้องมีศัพท์ธรรมภาษาอื่น รูปอื่น ชุดอื่น เกิดขึ้นใหม่อยู่ดี แล้วข้อนั้นอาจจะนำไปสู่ความสับสนยิ่งขึ้น

โดยนัยนี้ คำศัพท์อาจเป็นสื่อนำไปสู่ความเข้าใจพุทธธรรมก็ได้ เป็นกำแพงกั้นไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรมก็ได้ เมื่อเข้าใจเช่นนั้นแล้ว พึงนำศัพท์ธรรมมาใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน คือรู้เข้าใจ ใช้ถูกต้อง รู้กาลควรใช้ ไม่ควรใช้ ให้สำเร็จประโยชน์ แต่ไม่ยึดติดถือคลั่ง

ฯลฯ

ยังมีหนังสือที่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เขียนอีก เช่น

จาริกบุญ จารึกธรรม , ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง, ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคมสมในดุล, พระไทยใช่เขาใช่เรา ขว้างก้อนอิฐมา พัฒนาเป็นแก้วมณี ฯลฯ ไม่หน้ามาก ร้อยกว่าหน้าบ้าง ห้าร้อยกว่าหน้าบ้างประมาณเนี๊ยะ

หัวข้อนี้ก็จากหนังสือเล่มสุดท้ายนี่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดู


ตีความอย่างไรก็ได้ คือหนีไม่พ้นเป็นเท็จ


เรื่องการตีความ


คนเรานี้ เมื่อพูดจาใช้ภาษา ก็มีการตีความ โดยรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง โดยมากก็เป็นการตีความที่ถือว่าเป็นปกติ ยอมรับกันได้ แต่บางทีก็พบการตีความที่ไม่ปกติ ซึ่งคนรู้ทันบ้าง ไม่รู้ทันบ้าง บางทีชัดจนมองเห็นเจตนาไม่่ซื่อ ตลอดจนแม้กระทั่งการตีความเล่นๆเพียงเพื่อความสนุกสนาน บางกรณีค่อนข้างยากจะรู้ทันบอกได้ว่าจริงหรือเท็จ ก็ต้องมีความรู้เพียงพอที่จะวินิจฉัย ลองดูตัวอย่าง


ชาวบ้านได้ยินกันบ่อย มีบางคนจะหาข้ออ้างเพื่อดื่มเหล้า ก็พูดตีความบอกว่า "สุราเมรยะ" คือท่านสอนให้ดื่มสุราเป็นระยๆ ถ้ากินเหล้าเป็นระยะ ไม่กินตลอดเวลา ก็ไม่ผิด อย่างนี้ ชาวบ้านก็รู้ว่าไม่ถูก และเจตนาไม่ซื่อ


อีกคนหนึ่งฉลาดแกมโกง และมีความรู้หน่อย บอกว่า "สุรา" มาจาก "สุร" แปลว่า กล้า หมายความว่า ถ้าดื่มสะราจนเมาอาละวาด ก็ผิด แต่ถ้าดื่มแล้วเงียบๆ หรือนอนไปเลย ก็ไม่ผิด แต่ศีลข้อนี้ คนคุ้นกันมากแล้ว ก็รู้ทันอีกว่าไม่ถูกและไม่ซื่อ


อีกคนหนึ่ง บอกว่า "season" แปลว่า ทหารเรือ เพระว่า sea = ทะเล son = ลูก นี่ชัดๆ รวมกันจึงต้องแปลว่า ลูกทะเล หมายถึงทะหารเรือ รายนี้ไม่รู้จริง แต่ฉลาดคิด หรือไม่ก็มีความรู้ แต่ฉลาดแกมโกง แปลและตีความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษซ้อนหลายชั้นนัวเนีย แต่ไม่ถูก ในที่สุดก็จะไปไม่รอด มีคนรู้ทันจนได้ เพราะ season ไม่ใช่มาจาก sea+son แต่มาจากรากศัพท์ในภาษาละตินที่แปลว่าหว่านพืช คืบความหมายมาเป็นฤดูกาล เป็นอันว่า ที่แปลว่าเป็นลูกทะเลคือทหารเรือนั้นผิด


คล้ายกันนี้ ในภาษไทยก็มี เช่น ชาวต่างชาติคนหนึ่่งเรียนภาษาไทยยังไม่ชำนาญ มาเจอคำพูดว่า "เจ้าหญิงถูกแม่มดอุ้มไปแล้วต่อมาได้ถูกสาปเป็นหิน" เขาเข้าใจว่า (เขาตีความไม่ถูกเพราะรู้ไม่พอ ก็เลยแปลผิด) คำพูดนั้นบอกว่า แม่ของมด (มารดาของมด) ทำอย่างนั้น จึงบอกว่าเป็นไปไม่ได้ แม่ของมดจะอุ้ม จะสาปเจ้าหญิงได้อย่างไร


ในภาษาพระมีคำหนึ่งว่า ่"ขาทนียะ" ซึ่งแปลว่าของเคี้ยวหรือของขบเคี้ยว และมีวินัยบัญญัติข้อหนึ่ง มิให้พระฉันของขบเคี้ยวหลังเที่ยง พระใหม่รูปหนึ่งเคร่งครัด ไม่กล้าฉันน้ำแข็งเพราะเห็นชัดๆว่าเป็นของขบเคี้ยว นี่คือเจตนาดี แต่ไม่มีความรู้ ที่จริงฉันได้ เพราะของขบเคี้ยว คือ ขาทนียะ ไม่ใช่มีความหมายแค่ตามตัวอักษร แต่หมายถึงของกินพวกขนมและผลไม้ เป็นต้น


พระอีกรูปหนึ่ง กลางเก่ากลางใหม่ เย็นวันหนึ่ง อยากฉันลอดช่อง อ้าววินัยบัญญัติข้อเดียวกันนี้ บอกว่าพระพุทธเจ้าทรงห้ามฉันของขบเคี้ยวหลังเที่ยง ลอดช่องนี่ไม่ต้องขบเคี้ยว ก็ฉันได้สิ อย่างนี้ คือรู้อยู่ แต่เจตนาไม่ดี ตีความให้เข้ากับความต้องการของตัว ทำความผิด


นายคนหนึ่ง บอกเพื่อนบ้านว่า ฉันพบงูยาวมาก ราว 15 เมตร ชาวบ้านพากันตื่นเต้น ขอให้พาไปดู ก็เห็นแต่เชือกเส้นหนึ่ง ซึ่งยาวมาก ชาวบ้านต่อว่า ไม่เห็นมีงูเลย มีแต่เชือก นายคนนั้น (ได้เขียนคำว่างูติดไว้ที่เชือกแล้่ว) ตอบว่า เชื่อกนั่้นแหละ มันชื่อ "งู" อย่างนี้ไม่จริง คือเจตนาหลอก ตีความแบบศรีธนญชัย


อีกคนหนึ่ง เข้าไปในบ้านบอกว่า รถถังมาแล้ว คนในบ้านตื่นเต้น พากันวิ่งออกมาดู ไม่เห็นรถถัง ก็ถามว่า "ไหน รถถัง" เขาตอบว่า "นั่นไง" จริงของเขา รถบรรทุกถังมาเต็มคัน นี่ก็คือตีความแบบศรีธนญชัย


ชาวบ้านบางพวก ชอบไปเที่ยวหาดูรอยขีดรอยถากที่โคนต้นไม้ แล้วตีเป็นตัวเลขหวยเบอร์ นี่ก็เป็นการตีความแบบหนึ่ง เรียกได้ว่าถูกความหลงเชื่อของตนชักพาให้หลอกตัวเองเห็นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระไตรปิฎก พุทธภาษิตบทหนึ่งในคาถาธรรมบทบอกว่า "สมคฺคานํ ตโป สุโข" แปลว่า "ตบะ" (ตโป) ของผู้พร้อมเพรียงกัน ให้เกิดสุข


ตบะเป็นคำเก่าที่ใช้มาก่อนเกิดพุทธศาสนาในชมพูทวีป หมายถึงการเผาบาปด้วยการทรมานร่างกาย เช่น อดอาหาร นอนบนหนาม ยืนขาเดียว แต่ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงทดลองและทรงเลิกการบำเพ็ญตบะทรมานร่างกายนั้นแล้ว


เมื่อทรงสั่งสอนธรรม ใช้คำว่า "ตบะ" นั้นในความหมายใหม่ หมายถึงการพากเพียรอย่างสยบกิเลส (เรียกว่าเผากิเลส) ในการทำกิจทั้งหลาย (ในการเล่าเรียนพุทธพจน์ ประพฤติธุดงค์ ฯลฯ) เพราะฉะนั้น เราจึงแปลพุทธภาษิตข้างต้นนั้นเป็นภาษาไทยว่า "การพากเพียร (ตโป) ของผู้พร้อมเพียรงกัน ใหเกิดสุข"


ทีนี้ คนในศาสนาเก่าของอินเดีย รวมทั้งพราหมณ์ มาเจอพุทธภาษิตบทนี้ อาจจะถือโอกาสตีความว่า นี่ไง พระพุทธเจ้ายังสอนให้บำเพ็ญตบะทรมานร่างกาย ให้อดอาหาร ยืนกลางแดดในฤดูร้อน เอาตัวแช่น้ำในฤดูหนาว ฯลฯ เหมือนในลัทธิของพวกเขา จึงตรัสว่า การพร้อมเพรียงกันบำเพ็ญตบะทรมานร่างกาย (ตโป) ให้เกิดสุข


ชาวพุทธที่รู้หลักการของพระพุทธศาสนา รู้ทัน ก็บอกได้ อธิบายได้ว่า คนในศาสนาเก่าของอินเดียนั้น ไม่ซื่อ และคำแปลของเขานั้นผิด


อีกตัวอย่างหนึ่ง สังคมอินเดียโบราณอยู่ในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งกำหนดให้ถือวรรณะ แยกชนชั้นโดยชาติกำเนิด เกิดมาอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นตลอดชาติ พราหมณ์เป็นวรรณะสูงสุดประเสริฐเลิศบริสุทธิ์


เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา ทรงสอนไม่ให้ถือวรรณะ และตรัสว่า คนมิใช่เป็นพราหมณ์ คือ ผู้ประเสริฐเลิดสูงสุดด้วยชาติกำเนิด แต่ใครก็ตามดำเนินชีวิตดีงามเลิศประเสริฐบริสุทธิ์ ก็เป็นพราหมณ์ทั้งนั้น คือ มิใช่เกิดมาเป็นพราหมณ์ แต่มีชีวิตประเสริฐบริสุทธิ์ จึงจะเป็นพราหมณ์ได้


ด้วยเหตุนี้ ในพระพุทธศาสนา "พราหมณ์" ก็เลยกลายมาเป็นคำหนึ่งที่ใช้เรียกพระอรหันต์ คือพระอรหันต์ เป็นพราหมณ์ (ที่แท้)

ทีนี้ ถ้ามีคนฝ่ายพราหมณ์ฉวยโอกาสตีความเข้าในหลักศาสนาของเขาว่า เห็นไหม ในศาสนาพุทธนี่ คนต้องเพี่ยรพยายามปฏิบัติยากนักหนา จนกระทั้งเป็นพระอรหันต์ จึงจะเป็นพราหมณ์แล้วจึงมีสิทธิ์ประกอบพิธีบูชายัญ ไปๆมาๆ ในพุทธศาสนาก็เลยกลับไปมีพราหมณ์ มีพิธีบูชายัญ


คราวนี้ ชาวพุทธจะต้องมีความรู้ดี แม่นในหลัก จึงจะสามารถชี้แจงอธิบายบอกได้ว่า ที่คนพวกพราหมณ์พูดมานั้น เป็นการตู่ ไม่ถูกต้อง และเมื่อแยกความหมายได้ ก็จะรักษาพุทธศาสนาไว้ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่นำตัวอย่างการตีความต่างๆ มาให้ดูนี้ มีทั้งเรื่องง่ายๆ สนุกๆ จนถึงเรื่องสาระในพระไตรปิฎก จะเห็นว่า การตีความนั้น ไม่ใช่จะตีว่าอย่างไรก็ได้ แล้วแต่ใครจะว่าไป


แต่แท้จริงนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทั่วๆไป เรื่องพระพุทธศาสนา เรื่องพระไตรปิฎก หรือเรื่องอะไรก็ตาม การตีความมีขอบเขต และสามารถบอกจริง-เท็จ ถูก - ผิด ได้ โดยมีเกณฑ์ที่จะใช้พิจารณาตัดสิน เช่น หลักภาษา หลักการ กฎกติกา ตลอดจนธรรมดาวิสัย


(หน้า 48)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อที่ viewtopic.php?f=1&t=47911

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้นหามารยาท บอกอีกที ต่อไปไม่ต้องร้องหาให้รำคาญใจอีก ถือว่าบอกที่นี่แล้ว คือ หนังสือที่ดูอยู่ ก็มี

พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย) เฉพาะเนื้อหามีพันกว่าหน้า



โดยมารยาท
การนำมาแปะทุกครั้ง ต้องบอกทุกครั้ง
เข้าใจไหมกรัชกาย
การมีมารยาท แบบนี้ เป็นจริยธรรมที่ดี อย่าลืม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1385612441-o.gif
1385612441-o.gif [ 295.34 KiB | เปิดดู 1760 ครั้ง ]
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้นหามารยาท บอกอีกที ต่อไปไม่ต้องร้องหาให้รำคาญใจอีก ถือว่าบอกที่นี่แล้ว คือ หนังสือที่ดูอยู่ ก็มี

พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย) เฉพาะเนื้อหามีพันกว่าหน้า



โดยมารยาท
การนำมาแปะทุกครั้ง ต้องบอกทุกครั้ง
เข้าใจไหมกรัชกาย
การมีมารยาท แบบนี้ เป็นจริยธรรมที่ดี อย่าลืม


หมดตูดแล้ว คิกๆๆ อย่างนี้ต้องนี่ ไม่เคยมีใครสอนมารยาทแก่กรัชกาย เลยไม่ถือเรื่องมารยาท เข้าจ๋าย :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้นหามารยาท บอกอีกที ต่อไปไม่ต้องร้องหาให้รำคาญใจอีก ถือว่าบอกที่นี่แล้ว คือ หนังสือที่ดูอยู่ ก็มี

พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย) เฉพาะเนื้อหามีพันกว่าหน้า



โดยมารยาท
การนำมาแปะทุกครั้ง ต้องบอกทุกครั้ง
เข้าใจไหมกรัชกาย
การมีมารยาท แบบนี้ เป็นจริยธรรมที่ดี อย่าลืม


หมดตูดแล้ว คิกๆๆ อย่างนี้ต้องนี่ ไม่เคยมีใครสอนมารยาทแก่กรัชกาย เลยไม่ถือเรื่องมารยาท เข้าจ๋าย :b32:


อืมม์ เข้าใจแล้ว ไม่มีใครอบรมสั่งสอน
ถึงเที่ยวคิดเองเออเอง มั่วๆ ไปวันๆ

วันนี้ ก็สอนกรัชกาย ให้รู้จักมารยาทที่ดีสักเรื่อง
อย่างน้อยมาลานธรรมจักร จะได้มีสิ่งดีๆ สักอย่างติดสมองไป

อย่าลืม กรัชกาย ลอกอะไรมาแปะ ต้องให้ เครดิตเจ้าของบทความนั้นทุกครั้ง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1382287104-1367332977-o.gif
1382287104-1367332977-o.gif [ 16.55 KiB | เปิดดู 1738 ครั้ง ]
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้นหามารยาท บอกอีกที ต่อไปไม่ต้องร้องหาให้รำคาญใจอีก ถือว่าบอกที่นี่แล้ว คือ หนังสือที่ดูอยู่ ก็มี

พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย) เฉพาะเนื้อหามีพันกว่าหน้า



โดยมารยาท
การนำมาแปะทุกครั้ง ต้องบอกทุกครั้ง
เข้าใจไหมกรัชกาย
การมีมารยาท แบบนี้ เป็นจริยธรรมที่ดี อย่าลืม


หมดตูดแล้ว คิกๆๆ อย่างนี้ต้องนี่ ไม่เคยมีใครสอนมารยาทแก่กรัชกาย เลยไม่ถือเรื่องมารยาท เข้าจ๋าย :b32:


อืมม์ เข้าใจแล้ว ไม่มีใครอบรมสั่งสอน
ถึงเที่ยวคิดเองเออเอง มั่วๆ ไปวันๆ

วันนี้ ก็สอนกรัชกาย ให้รู้จักมารยาทที่ดีสักเรื่อง
อย่างน้อยมาลานธรรมจักร จะได้มีสิ่งดีๆ สักอย่างติดสมองไป

อย่าลืม กรัชกาย ลอกอะไรมาแปะ ต้องให้ เครดิตเจ้าของบทความนั้นทุกครั้ง



คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 51 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร