วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 20:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 84 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2014, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1cbaba340c7c96e68cff5a48d576c1df.jpg
1cbaba340c7c96e68cff5a48d576c1df.jpg [ 21.29 KiB | เปิดดู 4531 ครั้ง ]
หัวข้อนี้ พึงสังเกตทางแยกระหว่างการอ้อนวอน กับ อธิฐาน +อานุภาพของจิตให้จงดี :b1:

ให้ชื่อว่า อธิษฐาน หรือจะใช้ชื่ออื่นๆอีกก็ได้ ชื่อไม่สำคัญแต่ควรถือเอาสาระ


คำนำ

พวกไสยศาสตร์ทั่วๆไป ก็ใช้อะไรบางอย่างเป็นสื่อ สำหรับให้เป็นที่จับยึดของความเชื่อ ซึ่งเป็นแรงที่พาจิตให้มีพลังมั่นแน่วมุ่งดิ่งไป

ในทางพระพุทธศาสนา ท่านจับเอาสาระในเรื่องนี้ออกมา แล้วถือเอาส่วนที่ใช้ประโยชน์ที่จะมาสัมพันธ์กันได้กับการพัฒนามนุษย์ เรียก อธิษฐาน


(จาริกบุญ จารึกธรรม หน้า 326)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2014, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะนอนคุดคู้อยู่ด้วยการอ้อนวอนปรารถนา หรือจะเดินหน้าด้วยอธิษฐาน


มีแง่คิดเข้ามาอย่างหนึ่งว่า บางทีการอ้อนวอนก็ไม่ใช่ไร้ผล เอาล่ะซิ เดี่ยวก็บอกว่า เอ...ชักจะมาหนุนให้อ้อนวอนแล้ว

อันนี้เป็นเรื่องของความจริงตามธรรมชาติ จึงลองมาวิเคราะห์กันดู ที่ว่าการอ้อนวอนนี้ไม่ใช่ไร้ผลทีเดียวนั้น มีอะไรแฝงอยู่


การ อ้อนวอนนั้น โดยตัวมันเองไม่ใช่สิ่งที่ให้ผล แต่ในการอ้อนวอนนั้น มันได้ทำให้เกิดสภาพจิตอย่างหนึ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลพ่วงมาโดยไม่รู้ตัว พวกที่อ้อนวอนนั้นทำไปโดยไม่รู้ แต่บางครั้งมันได้ผล


ทำไมจึงบอกว่า บางครั้งมันได้ผล สิ่งที่แฝงมาโดยไม่รู้ตัวก็คือสภาพจิต เมื่อมีการอ้อนวอนนั้น จิตจะรวมในระดับหนึ่ง และทำให้เกิดแรงความมุ่งหวัง แรงความมุ่งหวังนั้นทำให้จิตแน่วมุ่งดิ่งไป และมีพลังขึ้นมาในแนวของสมาธินั่นเอง


จิตที่อ้อนวอนนั้น เมื่อความตั้งใจปรารถนาแรงมาก มันก็พุ่งดิ่งไปทางเดียว จิตก็แน่วตั้งมั่นขึ้นมา จิตที่ตั้งมั่นนี้แหละเป็นคุณประโยชน์ คนอ่อนแอจึงอาศัยการอ้อนวอนมาช่วยตัว


ส่วนคนที่ไม่อ้อนวอนเลย แต่พร้อมกันนั้น ก็ไม่รู้จักรวมจิตด้วย วิธีอื่น บางทีบอกว่าตัวเองเป็นคนมีปัญญา แต่เป็นคนที่พร่า จับจด เมื่อจิตพร่าจับจดไม่เอาอะไรมุ่งลงไปแน่นอน จิตก็ไม่มั่น ทำอะไรก็ไม่ค่อยได้ผล เลยกลับไปแพ้คนที่ตัวว่าโง่เขลางมงาย


เรื่อง ความตั้งมั่นแน่วแน่ของจิตนี้สำคัญมาก คนอาจจะทำให้มันเกิดขึ้นมาโดยไม่รู้เข้าใจและไม่รู้ตัว แล้วจิตมันก็ทำงานให้อย่างที่เจ้าตัวไม่รู้เข้าใจและไม่รู้ตัวด้วย เลยพูดง่ายๆว่า มันลงในระดับจิตที่ไม่รู้ตัวเลยทีเดียว



ที่จริง คนที่อ้อนวอนนั้น เขาก็รู้ตัวในการอ้อนวอนของเขา แต่ไม่ใช่รู้ด้วยปัญญา คือแทนที่จะมองเห็นการกระทำเหตุอันจะนำไปให้ถึงผลที่ตัวอยากได้ เขามองไปตันแค่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ลัดข้ามไปยังผลที่อยากจะได้ แต่เพราะความที่ใจอยากแรงกล้า ประสานกับความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น เป็นศรัทธาอันดิ่ง ก็จ่อแน่วเกิดเป็นแรงที่ทำให้จิตมั่นและมุ่ง


ถ้า พูดในแง่การทำงานของจิต ที่จริงเป็นการปรุงแต่งในจิตสำนึกนี่แหละ ปรุงแต่งอย่างแรงทีเดียว แต่แรงด้วยความรู้สึก ไม่ใช่แรงด้วยความรู้ ก่อนที่จะตกภวังค์สะสมเป็นวิบากต่อไป

รวมแล้ว การกระทำหลายอย่างที่เป็นไปนี้ เหมือนว่าเราไม่รู้ตัวแต่ได้กระทำไปเอง โดยความเคยชินในการดำเนินชีวิตประจำวันบ้าง โดยความเชื่อที่จูงนำตัวเองไปอย่างไม่รู้ตัวบ้าง โดยปัจจัยต่างๆ ชักพาให้เป็นไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องของมนุษย์ที่อยู่ในอวิชชา


เมื่อทำการต่างๆ ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง มีผลพลอยได้ขึ้นมาบ้างนั้น หลายอย่างเหมือนเป็นไปเอง คือ มันพอดีไปจำเพาะถูกจุดถูกจังหวะเข้า ปัจจัยที่ตรงเรื่องเกิดขึ้น ก็เลยได้ผล หรือตรงข้ามกับได้ผล

ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คนเราพัฒนาตนเพื่ออะไร ก็เพื่อให้ทำการต่างๆได้ผล โดยเป็นไปอย่างรู้ตัว มองเห็นชัดเจนด้วยปัญญา มีความรู้เข้าใจ ด้วยการเห็นจริง ทำตรงตัวเหตุปัจจัย ดุจบังคับบัญชามันได้ เมื่อทำโดยรู้เข้าใจมองเห็นความเป็นไป ก็ก้าวต่อได้ ไม่ใช่ว่าไปทำจับพลัดจับผลูพอดีตรงเข้า ก็เลยได้ผลขึ้นมา แล้วเมื่อไม่รู้เหตุผลที่เป็นไปก็จมวนอยู่แค่นั้น

สำหรับการอ้อนวอนนั้น ก็เป็นเรื่องของมนุษย์ที่มีอวิชชา แต่สภาพจิตของเขาที่มีอาการมั่นแน่วและได้ผลขึ้นมาในการอ้อนวอนนั้น ก็เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ คือ เป็นกรรม ได้แก่ การกระทำอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการของเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลขึ้นมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2014, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายหน่อยหนึ่งว่า จิตของเขา เอาสิ่งทีเป็นเป้าหมายของการอ้อนวอนนั้นเป็นสื่อ แต่มีแรงความมุ่งหวังขับดันไป ได้ความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากำกับ ทำให้เกิดความแน่วแน่และความพุ่งดิ่ง ก็ทำให้จิตในระดับของความไม่รู้ตัวนี้ จับมั่นมุ่งอยู่กับความปรารถนาอันนั้น ใจก็ครุ่นพัวพันอยู่ที่จุดหมายนั้น แล้วเกิดแรงโน้มนำชักพาไปสู่ผลที่ต้องการ แม้แต่โดยตนเองไม่รู้ตัว การอ้อนวอนในบางกรณีจึงได้ผลเป็นการจับพลัดจับผลูแบบหนึ่ง

พวกไสยศาสตร์ทั่วๆไป ก็ใช้อะไรบางอย่างเป็นสื่อ สำหรับให้เป็นที่จับยึดของความเชื่อ ซึ่งเป็นแรงที่พาจิตให้มีพลังมั่นแน่วมุ่งดิ่งไป

ในทางพระพุทธศาสนา ท่านจับเอาสาระในเรื่องนี้ออกมา แล้วถือเอาส่วนที่ใช้ประโยชน์ที่จะมาสัมพันธ์กันได้กับการพัฒนามนุษย์

พุทธศาสนิกชนที่ยังอยู่ในระดับนี้ เราก็ต้องยอมรับความเป็นปุถุชนของเขา อย่างน้อยก็ควรจะใช้หลักนี้ให้เป็นประโยชน์ในทางที่ดี และให้มีทางเชื่อมต่อเข้าสู่การพัฒนาในไตรสิกขาได้

พระพุทธศาสนาได้แยกสาระในเรื่องนี้ออกมาให้เราแล้ว แต่บางทีเราก็จับไม่ได้ ก็เลยยังวุ่นกันอยู่

ในระบบการอ้อนวอนที่บางทีได้ผลนี่ มันมีแกนแท้อยู่ นั้นก็คือตัวความมุ่งหวังและใฝ่ปรารถนาอย่างกล้าต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ทำให้จิตรวมกำลังพุ่งดิ่งไปในทางนั้น สาระนี้ท่านเอาออกมา แล้วให้ชาวพุทธใช้ได้ เรียกว่า อธิษฐาน

แต่ชาวพุทธทั่วไปก็แยกไม่ออกอีกนั่นแหละ ทั้งที่หยิบยอกแยกออกมาให้โดยเรียกว่า “อธิษฐาน” แล้ว ชาวพุทธในเมืองไทยเรากลับเอาอธิษฐานไปปนกับความหมายในเชิงอ้อนวอนอีกตามเคย จะเห็นว่าคนไทยทั่วไป แยกไม่ออกว่า อธิษฐาน ต่างกับการอ้อนวอนอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2014, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ ต้องการจะพูดให้แยกออกได้ก่อน ว่าในทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านเอาตัวแกนที่จะใช้ได้ออกมา คือ อธิษฐาน แล้วให้ชาวพุทธนำไปใช้ได้

อธิษฐาน นี้ แปลว่า ความตั้งใจเด็ดเดี่ยว คนเราจะทำอะไร ต้องมีจุดหมาย หรือมีเป้าที่มุ่งเจาะเฉพาะลงไป

แม้แต่จะบำเพ็ญกุศลธรรม สิ่งที่ดีงามนั้น ไม่ใช่ว่าเขาทำได้ทีเดียวทั้งหมด ทั้งชาติก็ทำไม่ไหว อย่าว่าแต่ปีสองปีหรือเดือนสองเดือนเลย ตลอดชาตินี้ เราจะทำกุศลหรือความดีทุกอย่างนี้ เราทำไม่ไหว

ไม่เฉพาะพวกเราหรอก แม้แต่พระโพธิสัตว์จะบำเพ็ญความดี บางทีทั้งชาติทำได้จริงจังข้อเดียว ไม่ใช่ว่าข้ออื่นไม่ทำ ทำดีทั่วๆไป แต่มีเด่นที่มุ่งจริงจังอยู่ข้อสองข้อ

เพราะฉะนั้น ในการเป็นพระโพธิสัตว์ชาติหนึ่ง ๆ นี้ จะต้องมีจุดที่มุ่งมั่น การทำดีต้องมีป้าหมายว่า จะทำความดีอันไหนให้เป็นพิเศษ เราต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจารณาก่อนว่า อันนี้เราควรจะทำ อันนี้เราจะต้องทำให้ได้ เมื่อมั่นใจกับตัวเองแล้วก็อธิษฐานจิต


การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้ อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว


๑.ต่อคุณธรรมความดี หรือกุศลธรรมบางอย่างที่ต้องการจะทำ

๒. ต่อจุดมุ่งหมาย หมายความว่า เรามีจุดมุ่งหมายที่ดีงามว่า เราจะต้องไปให้ถึงสิ่งนั้นให้ได้ แล้วราก็อธิษฐานจิต


อธิษฐานจิตนี้ เป็นการทำให้จิตของเรา พุ่งตรงดิ่งไปสู่เป้าหมายอันนั้น พูดเชิงภาพพจน์ว่าเป็นการสะสมแรงอัดลงไปถึงในภวังคจิตเลยทีเดียว (คือจิตปรุงแต่งอย่างแรง โดยประกอบด้วยปัญญาก่อนตกภวังค์) แล้วภวังคจิตอันเป็นวิบาก คือ เป็นผลของการปรุงแต่งนั้น ซึ่งเป็นแหล่ง่แ่หงศักยภาพของเรา ก็เหมือนกับทำงานให้เราเอง ที่จะชักจูงเรา นำพาวิถีชีวิตของเรา แม้แต่โดยไม่รู้ตัวให้หันเหเข้าไปหาสิ่งนั้น เกิดความสนใจต่ออะไรๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น

สิ่งแวดล้อมที่เราเกี่ยวข้อง เวลาเราเข้าไปสัมพันธ์ เราจะมีความโน้มเอียงที่จะเข้าไปหาสิ่งโน้นสิ่งนี้ โดยจะมีความรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้นไม่เหมือนกัน


จากจุดที่มีความรู้สึกหันเหโน้มเอียงต่อสิ่งเหล่านั้น ในเวลาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ เริ่มแต่รับรู้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เราแต่ละคนจะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านั้นไม่เหมือนกันนี่แหละ วิถีชีวิตของเราจะเปลี่ยนไปตามแนวทางของตนๆ ทำให้ชีวิตของคนเราไม่เหมือนกัน และนี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไปตามกรรม


ฉะนั้น แรงความโน้มเอียงจากความสนใจเป็นต้นที่ว่ามานี้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ แม้แต่ตัวเราเองบางทีก็ไม่รู้ตัว คนหนึ่ง มองสิ่งหนึ่งก็มีความรู้สึก และเข้าใจอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่ง ก็เข้าใจและรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง


จากจุดเริ่มต้นที่มองและรู้สึกอย่างใด ก็จะทำให้เขามีปฏิกิริยาต่อสิ่งนั้นไปตามแบบหรือลักษณะเฉพาะของตน รวมถึงการที่เขาจะหันเหไปหา จะมุ่งไปในทิศทางนั้น จะทำความเพียรพยายามให้ได้ให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นต้น


นี่เป็นการพูดในระยะยาว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2014, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิษฐานอีกครั้งที่ viewtopic.php?f=7&t=47941&p=354458#p354458



เกี่ยวกับภวังคจิต ต่อที่ viewtopic.php?f=1&t=47866&p=353660#p353660

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 มิ.ย. 2014, 19:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2014, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ความแตกต่างระหว่าง "อ้อนวอน" กับ "อธิษฐาน"

"อ้อนวอน" คือ ไหว้วาน กราบกรานให้คนอื่นทำให้
"อธิษฐาน" คือ มุ่งมั่น ตั้งความปรารถนา พร้อมลงมือกระทำด้วยตนเอง

"อธิษฐาน" จัดเป็น "บารมี" ๑ ใน "บารมี ๑๐" ท่านแบ่งไว้สามระดับ

๑. สละข้าวของเงินทอง เรียก บารมี
๒. สละเลือดเนื้ออวัยวะ เรียก อุปบารมี
๓. สละชีวิต เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมุ่งมั่น เรียกว่า ปรมัตถบารมี

"อธิษฐาน" นี่ จะเป็นจริงได้ต้องมีอีกสามบารมีช่วย คือ

- สัจจะบารมี
- ขันติบารมี
- วิริยะบารมี

ตัวอย่างชาดกเรื่อง "พระเตมีย์ใบ้" บารมีที่เด่นชัดคือ "อธิษฐานบารมี"
มีอีกสามบารมีหนุน คือ "สัจจะ ขันติและวิริยะ"

"ความปรารถนา มุ่งมั่น" นี้ จะะสัมฤทธิ์ผลได้ ต้องลงมือกระทำ บำเพ็ญด้วยตัวเอง
จึงจะสมกับความต้องการตามที่ ตั้งจิต "อธิษฐาน" ไว้ ..

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2014, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาค่ะ

การอธิษฐาน หรือเราเรียกกันง่ายๆว่า การตั้งเป้าหมายของชีวิต เป็นสิ่งสำคัญมาก
ชีวิตคนเราจะประสบความสำเร็จได้ไม่ว่ากิจอันใดล้วนต้องกำหนดเป้าหมายเป็นอันดับแรกตามด้วยวิธีการหรือการวางแผนเพื่อลงมือทำให้เป้าหมายเป็นจริงขึ้นมาได้ และหลักเด่นที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จตามเป้าหมายคือหลักอิทธิบาทสี่ นอกนั้นก็ยังต้องมีธรรมอื่นประกอบอีกเช่น ความอดทน ความเพียร ฯลฯ จะเห็นว่าการที่เราจะได้อะไรมาสักอย่างไม่ใช่เรื่องง่ายล้วนต้องลงมือทำด้วยตนเองทั้งสิ้น
สะท้อนให้เห็นว่าหลักธรรมที่องค์พระศาสดาท่านทรงวางหลักให้เราประพฤติปฏิบัตินั้นเป็นความจริงที่ดำเนินไปในชีวิตของเรานี่เอง....พระศาสดาท่านมีพระปัญญาอันลึกซึ้งประเสริฐยิ่งนัก
มนุษย์นี้จะมีสติปัญญาหรือมีศักยภาพที่จะประเสริฐได้ด้วยการฝึกฝนพัฒนาตนเท่านั้น...

ผู้ที่จะมีธรรมได้...ผู้นั้นต้องลงมือทำ
ถ้าไม่ลงมือทำ...ผู้นั้นยังชื่อว่าห่างไกล "ธรรม"

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2014, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


การอธิฐานจิต ถ้าอธิฐานทางกุศลกรรมนั้น ก็ทำไปเถอะ
แต่ทางอกุศลกรรมอย่าทำ เช่นเจ็บใจคนอื่นมากๆแล้วไปสาปแช่งเค้า
ตัวของผู้ที่สาปแช่งก็ต้องรับผลนั้นเช่นกัน
โดยเฉพาะตอนใกล้ตาย อย่าไปสาปแช่งใคร นั่นถือว่ากรรมหนักมาก :b41: :b55: :b49:

คุณกรัชกายเขียน

อ้างคำพูด:
การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้ อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว


๑.ต่อคุณธรรมความดี หรือกุศลธรรมบางอย่างที่ต้องการจะทำ

๒. ต่อจุดมุ่งหมาย หมายความว่า เรามีจุดมุ่งหมายที่ดีงามว่า เราจะต้องไปให้ถึงสิ่งนั้นให้ได้ แล้วราก็อธิษฐานจิต


อธิษฐานจิตนี้ เป็นการทำให้จิตของเรา พุ่งตรงดิ่งไปสู่เป้าหมายอันนั้น พูดเชิงภาพพจน์ว่าเป็นการสะสมแรงอัดลงไปถึงในภวังคจิตเลยทีเดียว (คือจิตปรุงแต่งอย่างแรง โดยประกอบด้วยปัญญาก่อนตกภวังค์) แล้วภวังคจิตอันเป็นวิบาก คือ เป็นผลของการปรุงแต่งนั้น ซึ่งเป็นแหล่ง่แ่หงศักยภาพของเรา ก็เหมือนกับทำงานให้เราเอง ที่จะชักจูงเรา นำพาวิถีชีวิตของเรา แม้แต่โดยไม่รู้ตัวให้หันเหเข้าไปหาสิ่งนั้น เกิดความสนใจต่ออะไรๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2014, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นกลไกการทำงานของชีวิตเพิ่มขึ้น ตัดบทความบทความนี้แทรกอีกหน่อย


“จริยะ” คืออะไร จริยะก็มาจาก “”จร” (อ่านอย่างภาษาบาลีว่า จะระ อ่านอย่างไทยว่า จอน)


“จร” คือเดิน เดินทาง หรือเที่ยวไป เช่น สัญจร คือเดินกันผ่านไปมา จราจร คือเดินไปเดินมา หรือเที่ยวไปเที่ยวมา พเนจร คือเดินป่า หรือเที่ยวไปในป่า (ในภาษาไทย กลายเป็นเที่ยวเรื่อยเปื่อยไปอย่างไร้จุดหมาย)


ทีนี้ “จร” หรือเดินทางนั้น เมื่อเอามาใช้ทางนามธรรม กลายเป็นเดินทางชีวิต อย่างที่นิยมพูดว่า “ดำเนินชีวิต”


คนแต่ละคนกำเนินชีวิตของตนไป แล้วการดำเนินชีวิตของคนเหล่านั้น ไปรวมกันเป็นสังคม เมื่อมองดูผิวเผินแค่ภายนอก ก็กลายเป็นวิถีแห่งการดำเนินชีวิต และระบบของการเป็นอยู่ประพฤติปฏิบัติของหมู่มนุษย์ ที่เรียกว่าสังคม

แต่มองแค่นั้นก็ผิวเผินเกินไป ไม่เพียงพอ ต้องดูให้ลึกลงไปอีก การดำเนินชีวิตของคนเรานี้ อยู่แคที่แสดงออกมาเห็นๆ กันเท่านั้นหรือ ไม่ใช่แน่


การดำเนินชีวิตของคนหนึ่งๆ ที่เรามองเห็น และที่คนอื่นเกี่ยวข้องด้วย คือการแสดงออกทางกาย และวาจา ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่นแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรามักเรียกว่า ความประพฤติ อันเป็นด้านนอกแห่งการดำเนินชีวิตของเขา เรามักมองคนแค่นี้ (และที่เรียกว่า “จริยธรรม” ก็มักจับเอาความหมายแค่นี้)


ถ้าเรามองคนแค่นี้ เราจะไม่เห็นตัวจริงของคนนั้นเลย ความประพฤติ หรือการแสดงออกภายนอกทางกายและวาจา ไม่ใช่ชีวิตทั้งหมดที่เขาดำเนินอยู่ ก็อย่างที่ว่าแล้ว มันเป็นเพียงด้านนอกของการดำเนินชีวิตของเขาเท่านั้น

ลึกลงไป เบื้องหลังการพูด และทำอะไรต่างๆ ที่เขาประพฤติ หรือแสดงออกมาข้างนอกนั้น มีตัวชี้นำที่กำหนด หรือสั่งการออกมาจากข้างในจิตใจ ตัวชี้นำกำหนดหรือสั่งการนี้ เราเรียกว่า “เจตนา

ทางพระบอกว่า ถ้าไม่มีเจตนานี้ การแสดงออกของคน ก็ไม่มีความหมายอะไร จะมีค่าเพียงแค่เหมือนกิ่งไม้ผุหักหล่นลงมา หรือต้นไม้ต้องลมสั่นไหวแล้วใบไม้ร่วง เท่านั้นเอง ดังนั้น เจตนาจึงสำคัญอย่างยิ่ง

เจตนาจะตัดสินใจสั่งการอย่างไร ก็มีแรงจูงใจที่ร้ายหรือดีคอยกระซิบบอก อย่างง่ายๆ ก็คือสั่งการไปตามที่ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ


แต่บางทีการตัดสินใจที่จะสั่งการนี้ ก็เป็นไปอย่างซับซ้อน เจตนาจึงมีกองบัญชาการทำงานให้มัน โดยมีตัวทำงานอยู่ในจิตใจมากมาย ซึ่งรวมแล้วก็คือ มีฝ่ายร้าย กับ ฝ่ายดี


ในฝ่ายร้าย มีตัวเด่นคือ โลภะ โทสะ โมหะ
ส่วนในฝ่ายดีก็มีมาก เช่น ศรัทธา เมตตา หิริ โอตตัปปะ ซึ่งเรานิยมเรียกกว้างๆว่า คุณธรรม

ตัวทำงานเหล่านี้ ส่งข้อเสนอแนะให้การสั่งการให้แก่เจตนานั้น ถ้าตัวใดมีกำลังมาก ก็จะมีอิทธิพลครอบงำการสั่งการของเจตนาเลยทีเดียว

ในกองบัญชาการของจิตใจนี้ ยังมีฝ่ายกำลังสนับสนุน เช่น ความขยัน ความเพียร ความอดทน ความกล้าหาญ ความเข้มแข็งมั่นคง คอยรับสนองงาน ที่จะขับเคลื่อนให้งานสำเร็จตามต้องการ เป็นสมรรถภาพของจิตใจ


แล้วก็มีฝ่ายแสดงผล-วัดผล คอยตามกำกับอยู่ตลอดเวลา ว่าอันไหน ทางไหน รับได้หรือไม่ได้ เช่น ความขุ่นมัว ความเครียด ความเศร้า ความหดหู่ ความหงอยเหงา ความว้าเหว่ หรือความสดชื่น ความร่าเริง ความเบิกบาน ความผ่องใส ความอิ่มใจ ความปลื้มใจ ความสุข เป็นต้น รวมแล้วก็เป็นฝ่ายสุข ที่ตามหา กับฝ่ายทุกข์ ที่จะให้ดับหาย

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจสั่งการ และการทำงานของกองบัญชาการในจิตใจทั้งหมดนั้น ต้องพึ่งพาข้อมูลความรู้ อาศัยความเข้าใจ และการมองเห็นเหตุผล เท่าที่จะมีปัญญารู้ไปถึง

ปัญญารู้เข้าใจมองเห็นแค่ไหน เจตนาก็สั่งการให้กายวาจามีพฤติกรรมคืบเคลื่อนไปได้ภายในขอบเขตแค่นั้น ถ้าปัญญารู้เข้าใจมองเห็นกว้างไกลออกไป ลึกลงไป มองเห็นชองทางและโอกาสมากขึ้น เจตนาก็สั่งการให้กายวาจาปรับขยายรูปแบบของพฤติกรรมออกไปช่วยให้ทำการได้ซับซ้อนยิ่งขึ้น พร้อมทั้งได้ผล มีทางสำเร็จมากขึ้น


ถ้าขาดความรู้ อับปัญญาเสียแล้ว พฤติกรรมก็ติดตัน ขัดข้อง จิตใจก็อึดอัด อับจน เครียด เป็นทุกข์ ดังนั้น ปัญญาที่รู้เข้าใจนี้ จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการบอกทิศ ชี้ช่อง นำทาง ขยายโอกาส ตลอดจนปลดปล่อยให้อิสรภาพ แก่พฤติกรรม และแก่จิตใจที่มีเจตนาเป็นหัวหน้างานนั้น


ที่ว่ามานี้ ก็คือระบบการดำเนินชีวิตของคน ที่ขับเขยื้อนเคลื่อนไหวเป็นไปอยู่ตามที่เป็นอยู่จริง ซึ่งเห็นได้ชัดว่าสรุปแล้ว มี 3 แดน ทำงานประสานก้าวไปด้วยกัน ต้องครบทั้ง 3 แดน จะขาดแดนหนึ่งแดนใดมิได้

จึงขอสรุปไว้ในที่นี้ว่า “จริยะ” คือการดำเนินชีวิตของคนเป็นระบบอันหนึ่ง ที่มีองค์ประกอบ 3 แดน (จะเรียกว่าด้าน หรือส่วนก็ได้) คือ

1. แดนพฤติกรรม (กาย-วาจา) ที่แสดงออก ติดต่อสัมพันธ์ และกระทำต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม *

(*นี้พูดอย่างง่าย แต่ถ้าจะให้ครบจริง ด้านที่ 1 ที่สัมพันธ์กับโลกภายนอก คือสังคมและสิ่งแวดล้อมนี้ ต้องแยกย่อยเป็น 2 ส่วน คือ ติดต่อสัมพันธ์โดยการรับรู้ ด้วยผัสสทวาร ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (ไปรวมที่ใจ) และติดต่อสัมพันธ์โดยการแสดงออก ด้วยกรรมทวาร คือ กาย วาจา (ออกมาจากเจตนาในใจ)


2. แดนจิตใจ ที่เป็นเหมือนเจ้าของพฤติกรรมทั้งหมด ตั้งแต่เป็นผู้ต้องการ บงการหรือสั่งการ ขับเคลื่อน ตลอดจนเสวยผลของพฤติกรรมทั้งหมดนั้น โดยมีตัวประกอบที่ร่วมในการทำงานแต่งสรรมากมาย ภายใต้การนำของเจตนา ที่เป็นทั้งหัวหน้าและเป็นตัวแทน ที่ทำงานเชื่อมต่อสั่งการออกมาให้มีผลเป็นพฤติกรรมออกไป ทั้งนี้ ตัวประที่ทำงานนั้น แยกได้เป็น 3 แดนย่อย คือ

-ตัวแต่งสรรฝ่ายดี กับ ฝ่ายร้าย ที่พึงคัดเอาไว้แต่ฝ่ายดี ซึ่งมักเรียกกันแบบรวมๆง่ายๆว่า “คุณธรรม” หรือ “คุณภาพจิต”

-ตัวทำงานที่ทำให้ก้าวไปอย่างแน่วแน่เข้มแข็งมั่นคง เรียกพอรู้กันว่า “สมรรถภาพจิต”

- ตัวแสดงผล ซึ่งเหมือนกับวัดผลไปในตัว เพราะจะมีอิทธิพลในการที่จะเลือกพฤติกรรมว่าจะทำจะเอาหรือไม่ คือฝ่ายสุข กับ ฝ่ายทุกข์ โดยจะมุ่งไปหาไปพบฝ่ายสุข ที่เรียกพอรู้กันว่า “สุขภาพจิต”

3. แดนปัญญา ที่เอื้ออำนวยข้อมูล ชี้ชอง ส่องทาง บอกทิศขยายขอบเขตและโอกาส ปรับแก้ ตลอดจนปลดปล่อยให้เกิดอิสรภาพแก่พฤติกรรมและจิตใจ


นี้คือ “จริยะ” หรือระบบการดำเนินชีวิตของคน ซึ่งประกอบด้วยทั้งกาย –วาจา ทั้งใจ ทั้งปัญญา ถ้าไม่ครบ 3 อย่างนี้ ชีวิตจะดำเนินไปไม่ได้ แต่ที่จริงก็คือ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ แต่เรานี่แหละ ถ้ามอง และปฏิบัติจัดการกับมันไม่ครบส่วน ไม่ครบด้าน เราก็ทำการที่มุ่งหมายไม่สำเร็จ และจะเกิดปัญหาแก่ตนเอง

มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2014, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อนึ่ง จริยะ คือระบบการดำเนินชีวิตของคน ที่พูดไปแล้วนี้ ว่าไปตามธรรมชาติของมัน ตอนนี้ ยังไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดี หรือควร และไม่ควรอย่างไร



ทีนี้มาถึงตอนที่ว่า เราต้องการมีจริยะ คือระบบการดำเนินชีวิตที่ดี ในเมื่อ จริยะ คือระบบการดำเนินชีวิต เป็นคำกลางๆ จะให้ดี หรือไม่ดี ก็เติมคุณศัพท์เข้าไปข้างหน้า



ถ้าเป็นจริยะคือการดำเนินชีวิตที่ดี ก็เป็นปุญญจริยะ หรือธรรมจริยะ หรือเศรษฐจริยะ ถ้าเป็นจริยะคือการดำเนินชีวิตที่ไม่ดี ก็เป็นปาปจริยะ หรืออธรรมจริยะ



ในที่นี้ เรามุ่งเอาจริยะคือการดำเนินชีวิตที่ดี ก็เป็นปุญญจริยะ หรือธรรมจริยะ หรือเศรษฐจริยะ ซึ่งในพระพุทธศาสนามีคำเฉพาะ เรียกไว้ว่า "พรหมจริยะ" ว่า แปลว่า จริยะอันประเสริฐ หรือจริยะที่แท้ ก็คือจริยะหรือการดำเนินชีวิต ซึ่งชีวิตทั้ง ๓ ด้านที่พูดไปแล้วนั้น ดีและประสานกันอย่างถูกต้อง



การที่ พระพุทธเจ้าเสด็จไปทรงสั่งสอนธรรมตลอดเวลา 45 ปี ที่เรียกว่าประกาศพระศาสนานั้น ก็คือทรงประกาศพรหมจริยะนี่แหละ (ประกาศพระศาสนา เป็นคำพูดของเรา แต่พระพุทธเจ้าเองตรัสว่า พระองค์ ประกาศพรหมจริยะ)


จริยธรรม ในความหมายทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ จริยะคือธรรม การดำเนินชีวิตถูกต้องดีงาม ซึ่งมีองค์ประกอบประสานสัมพันธ์กันทั้ง 3 ด้าน ทั้งกายวาจา จิตใจ และปัญญา ที่มีชื่อเดิมว่า “พรหมจริยะ”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2014, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะ คืออะไร กรัชกาย :b17: :b17: :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2014, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ธรรมะ คืออะไร กรัชกาย :b17: :b17: :b17:



แน่ะๆๆ ถามย้อนรอย :b1:

ถ้าถามว่า "ธรรม" คือ อะไร ควรมีคำว่า "วินัย" ควบคู่มาด้วย เป็น ธรรมวินัย ควรเรียนรู้วินัยประกอบด้วยจึงจะเห็นธรรมชัดขึ้น เพราะพระพุทธศาสนา ไม่ใช่สอนแต่ธรรมอย่างเดียว มีวินัยด้วย ธรรมะเป็นเรื่องของนามธรรม วินัยเป็นเรื่องของกฎ กติกา ข้อบังคับ ฯลฯ (รูปธรรม)

ตอบตัวเดียวก่อน ธรรม เป็นคำกลางๆ ยังไม่ดีไม่ชั่ว ธรรม แปลว่า ทรงไว้ซึ่งสภาพของมัน คือมันมีของมันอยู่ยังงั้น ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตามมันก็มีของมันอย่างนั้น จึงว่าทรงไว้ซึ่งสภาพของมัน

ธรรม แปลว่า ความจริง, ความถูกต้อง, ความดีงาม

หากต้องการจะแยก ก็แยกเป็น 2 ได้กุศลธรรม อกุศลธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2014, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปลีกวิเวก เขียน:


มนุษย์นี้จะมีสติปัญญาหรือมีศักยภาพที่จะประเสริฐได้ด้วยการฝึกฝนพัฒนาตนเท่านั้น...




บทความต่อนี้ เป็นการสนับสนุนข้อคิดของปลีกวิเวกนี้ด้วย เพื่อเชื่อมโยงบทความข้างบนด้วย



ขอสรุปอีกทีว่า จริยะ คือระบบการดำเนินชีวิตของเรานี้ มีส่วนประกอบ อยู่ ๓ ด้าน ซึ่งประสานกลมกลืนไปด้วยกัน แยกจากกันไม่ได้ คือ



๑. แดนพฤติกรรม หรือ แดนสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ที่ดำเนินไปด้วยกายและวาจา (พร้อม ทั้ง ตา หู จมูก ลิ้น กายประสาท ที่รับรู้โลกภายนอก



๒. แดนจิตใจ ที่ ดำเนินไปด้วยเจตนา โดยมีคุณสมบัติมากมาย ในจิตใจหล่อเลี้ยง สนอง งาน และเสวยผล มีทั้งด้านเครื่องปรุงแต่งให้ดีหรือชั่ว ด้านกำลังความ สามารถ และด้านความสุขความทุกข์



๓. แดนปัญญา ที่ดำเนินไปด้วยความรู้ ซึ่งเอื้อให้เจตนาในแดนแห่งจิตใจสามารถคิดหมายทำการต่างๆ ได้สำเร็จผล ให้ชีวิตเข้าถึงอิสรภาพได้


ครบ หมดทั้ง ๓ แดนนี้ ดำเนินหรือเป็นอยู่เป็นไปด้วยกัน เรียกว่า จริยะ และทั้งนี้ก็ควรให้มันเป็น จริยะที่ดีประเสริฐ เต็มตัว เป็นของ แท้ (พรหมจริยะ)



เพื่อให้เป็นจริยะที่ดีงามประเสริฐดัง ที่ว่ามานี้ เราจะต้องจัดการกับชีวิตทั้ง ๓ แดนนั้น โดยฝึกหัดพัฒนา แก้ไขปรับปรุงให้ชีวิตดำเนินไปได้ดียิ่งขึ้นไปๆ จนมีชีวิตที่ดีงามเป็น ประโยชน์มีความเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์


การฝึกหัดพัฒนาชีวิตทั้ง ๓ แดนที่ว่านั้น เรียกว่า การศึกษา ซึ่งมี ๓ ส่วน ตรงกับ ๓ แดนนั้น คือ

๑. ฝึกศึกษาพัฒนาแดนพฤติกรรม หรือ แดนสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยฝึกหัดกาย - วาจา (พร้อมทั้ง ตา หู จมูก ลิ้น กายประสาท ที่รับรู้โลกภาย นอก) เรียกว่า ศีล (ชื่อเต็มว่า อธิศีลสิกขา)


๒. ฝึกศึกษาพัฒนาแดนจิตใจ โดย พัฒนาเจตนาให้เจริญในกุศลยิ่งๆขึ้นไป พร้อมทั้งมีคามเข้มแข็งสามารถ และ ศักยภาพที่จะมีความสุข จนไร้ทุกข์สิ้นเชิง เรียกว่า สมาธิ (ชื่อ เต็มว่า อธิจิตตสิกขา)


๓. ฝึกศึกษาพัฒนาแดนปัญญา โดย พัฒนาความรู้ความรู้เข้าใจจนเข้าถึงรู้ทันเห็นประจักษ์แจ้งความจริงของ สิ่งทั้งหลาย มีชีวิตที่เป็นอิสระและเป็นอยู่ด้วยปัญญา เรียก ว่า ปัญญา (ชื่อเต็มว่า อธิปัญญาสิกขา)


ในฐานะที่การศึกษานี้มีองค์ประกอบ ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรสิกขา


พระพุทธศาสนาถือเรื่องการศึกษาเป็นสำคัญ ถึงกับจัดระบบของพระพุทธศาสนาทั้งหมด ให้เป็นระบบการศึกษา ที่เรียกว่า ไตรสิกขานี้

ทั้งนี้ สาระสำคัญในที่สุดก็คือ เพื่อช่วยให้มนุษย์เข้าถึงความจริงแล้วก็ ปฏิบัติตามหลักความจริง หรือตามกฎความจริงนั้น ให้ความจริงเป็นไปในทาง ที่เกิดผลดี แก่ชีวิตและสังคมของตน

เมื่อพัฒนาชีวิตด้วย ไตรสิกขานี้แล้ว ก็จะมีจริยะ คือการดำเนินชีวิตเป็นอยู่ ทั่งส่วน ตัว และขยายไปถึงสังคม ที่อยู่กันอย่างถูกต้องดีงาม มีสันติสุขที่ ยั่งยืน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2014, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ธรรมะ คืออะไร กรัชกาย :b17: :b17: :b17:



แน่ะๆๆ ถามย้อนรอย :b1:

ถ้าถามว่า "ธรรม" คือ อะไร ควรมีคำว่า "วินัย" ควบคู่มาด้วย เป็น ธรรมวินัย ควรเรียนรู้วินัยประกอบด้วยจึงจะเห็นธรรมชัดขึ้น เพราะพระพุทธศาสนา ไม่ใช่สอนแต่ธรรมอย่างเดียว มีวินัยด้วย ธรรมะเป็นเรื่องของนามธรรม วินัยเป็นเรื่องของกฎ กติกา ข้อบังคับ ฯลฯ (รูปธรรม)

ตอบตัวเดียวก่อน ธรรม เป็นคำกลางๆ ยังไม่ดีไม่ชั่ว ธรรม แปลว่า ทรงไว้ซึ่งสภาพของมัน คือมันมีของมันอยู่ยังงั้น ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตามมันก็มีของมันอย่างนั้น จึงว่าทรงไว้ซึ่งสภาพของมัน

ธรรม แปลว่า ความจริง, ความถูกต้อง, ความดีงาม

หากต้องการจะแยก ก็แยกเป็น 2 ได้กุศลธรรม อกุศลธรรม

อนุโมทนา ต่อคำตอบ
ไม่ได้ถามคำศัพท์ นะกรัชกาย
ถ้ากรัชกาย บอกว่า "ธรรม แปลว่าทรงไว้ซึ่งสภาพของมัน คือมันมีของมันอยู่ยังงั้น ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตามมันก็มีของมันอย่างนั้น จึงว่าทรงไว้ซึ่งสภาพของมัน"
นั่นหมายความว่า กรัชกาย ไม่ได้บอกอะไรเลย เพราะ กรัชกายใช้ "มัน" ในฐานะแทนคำว่า "ธรรม"

เขียนใหม่ ก็จะได้อย่างนี้

ธรรม แปลว่าทรงไว้ซึ่งสภาพของธรรม คือธรรมมีของธรรมอยู่ยังงั้น ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธรรมก็มีของธรรมอย่างนั้น จึงว่าทรงไว้ซึ่งสภาพของธรรม

กรัชกาย..... เมื่อผู้ใดมาอ่านแล้วก็ยังไม่รู้อยู่ดี

และยิ่งหาก กรัชกาย จำกัด ธรรม แปลว่า ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม
กรัชกาย ก็ยิ่งเป็นการปฏิเสธถึงการทรงสภาพ ^ ^

จึงยังคงต้อง ถาม กรัชกาย ด้วยคำถามเดิม
ธรรม คืออะไร .......

(ไม่ได้เป็นการย้อนรอย และก่อกวน)
:b41:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2014, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ธรรมะ คืออะไร กรัชกาย :b17: :b17: :b17:



แน่ะๆๆ ถามย้อนรอย :b1:

ถ้าถามว่า "ธรรม" คือ อะไร ควรมีคำว่า "วินัย" ควบคู่มาด้วย เป็น ธรรมวินัย ควรเรียนรู้วินัยประกอบด้วยจึงจะเห็นธรรมชัดขึ้น เพราะพระพุทธศาสนา ไม่ใช่สอนแต่ธรรมอย่างเดียว มีวินัยด้วย ธรรมะเป็นเรื่องของนามธรรม วินัยเป็นเรื่องของกฎ กติกา ข้อบังคับ ฯลฯ (รูปธรรม)

ตอบตัวเดียวก่อน ธรรม เป็นคำกลางๆ ยังไม่ดีไม่ชั่ว ธรรม แปลว่า ทรงไว้ซึ่งสภาพของมัน คือมันมีของมันอยู่ยังงั้น ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตามมันก็มีของมันอย่างนั้น จึงว่าทรงไว้ซึ่งสภาพของมัน

ธรรม แปลว่า ความจริง, ความถูกต้อง, ความดีงาม

หากต้องการจะแยก ก็แยกเป็น 2 ได้กุศลธรรม อกุศลธรรม

อนุโมทนา ต่อคำตอบ
ไม่ได้ถามคำศัพท์ นะกรัชกาย
ถ้ากรัชกาย บอกว่า "ธรรม แปลว่าทรงไว้ซึ่งสภาพของมัน คือมันมีของมันอยู่ยังงั้น ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตามมันก็มีของมันอย่างนั้น จึงว่าทรงไว้ซึ่งสภาพของมัน"
นั่นหมายความว่า กรัชกาย ไม่ได้บอกอะไรเลย เพราะ กรัชกายใช้ "มัน" ในฐานะแทนคำว่า "ธรรม"

เขียนใหม่ ก็จะได้อย่างนี้

ธรรม แปลว่าทรงไว้ซึ่งสภาพของธรรม คือธรรมมีของธรรมอยู่ยังงั้น ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธรรมก็มีของธรรมอย่างนั้น จึงว่าทรงไว้ซึ่งสภาพของธรรม

กรัชกาย..... เมื่อผู้ใดมาอ่านแล้วก็ยังไม่รู้อยู่ดี

และยิ่งหาก กรัชกาย จำกัด ธรรม แปลว่า ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม
กรัชกาย ก็ยิ่งเป็นการปฏิเสธถึงการทรงสภาพ ^ ^

จึงยังคงต้อง ถาม กรัชกาย ด้วยคำถามเดิม
ธรรม คืออะไร .......

(ไม่ได้เป็นการย้อนรอย และก่อกวน)
:b41:


ธรรมะ คือ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม :b1:


เอาธรรมะตามนิยามของเช่นนั้น มาวางเทียบกันดู แล้วจะได้เดินต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 84 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 133 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร