วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 06:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 200 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2014, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎกแปลช่วยได้ แต่จะแน่ต้องให้ถึงพระไตรปิฎกบาลี


ท่านที่ใช้พระไตรปิฎกฉบับแปล หรือหนังสือแปลจากพระไตรปิฎก (ไม่ว่าจะแปลเป็นภาษาไทย ภาษาพม่า ภาษาอังกฤษ หรือภาษาไหนๆ) ในการศึกษา ก็จะต้องทำในใจหรือตระหนักไว้ตลอดเวลาว่า คำแปลที่ดีๆ ที่งดงามนั้น ท่านผู้แปลเป็นผู้เสียสละ ทำสิ่งที่ทำได้ยาก ทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ มีคุณูปการอย่างสูงต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาของเราและคนมากมาย

แต่กระนั้น ถึงอย่างไร ๆ คำแปลพระไตรปิฎกก็เป็นเพียงอุปกรณ์เครื่องช่วยในการศึกษา เพื่อเป็นสื่อช่วยให้เข้าถึงพุทธวจนะได้สะดวกขึ้นเท่านั้น เพราะว่า ในที่สุด เราจะมั่นใจได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และถือเป็นเกณฑ์ตัดสินได้ ก็ต่อเมื่อได้ตรวจสอบกับพระไตรปิฎกภาษาบาลีที่เป็นแหล่งต้นเดิม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2014, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


พระไตรปิฎกฉบับแปลนั้น ท่านผู้แปลอาศัยอรรถกถามากบ้างน้อยบ้าง บางแห่งบางส่วน เมื่อเราไปอ่านไปค้นดู กลายเป็นอ่านคำแปลตามคำอธิบายของอรรถกถา เพราะท่านผู้แปลเอาคำไขความของอรรถกถามาใส่เป็นคำแปล


บางที อรรถกถาอธิบายไว้กว้างบ้าง แสดงความหมายหลายนัยให้เลือกได้บ้าง ท่านผู้แปลก็จับเอามาส่วนหนึ่ง หรือยุติกับตัวเลือกนัยหนึ่ง


ยิ่งกว่านั้น บางที คำบาลีคำเดียวกัน ปรากฏในพระไตรปิฎกต่างแห่งหลายเล่ม ผู้แปลหลายท่านแบ่งงานแบ่งเล่มกันไปแปลคำแปลที่ออกมา แตกต่างกันกลายเป็นสิ่งของคนละอย่างไปเสีย

ไม่ต้องพูดถึงว่า บางทีแปลไปมากๆ คำบาลีตกหล่น พลาดตาไปเสียบ้าง บางทีเวลาแปลนึกถึงเนื้อความสำคัญที่กำลังเพ่งอยู่ด้านหนึ่ง แปลข้ามคำทีขณะนั้นไม่ได้นึกว่าจะมีความหมายสำคัญอะไร แต่ต่อมา เกิดมีเรื่องแง่อื่นที่ต้องวินิจฉัย คำเล็กน้อยนั้นกลับเป็นตัวตัดสินสำคัญ แต่แปลข้ามขาดไปเสียแล้ว อาจเกิดปัญหาทำให้เสียหายได้ อย่างน้อยก็แปลไม่ครบ ไม่เต็มความ ไม่สมบูรณ์ หรืออุตสาหะทำอย่างดี แต่คำสำคัญที่ควรใส่วงเล็กหรือหมายเหตุบอกคำเดิมไว้ให้เปนที่สังเกตในการ ศึกษา บางทีผ่านเลยไปเสีย ฯลฯ


นอกจากว่าในพระไตรปิฎกแปลชุด เดียวกัน ต่างแห่ง ต่างผู้แปลบ้าง ่ ต่างเวลาแปลบ้าง ทั้งที่พุทธพจน์ทั้งตอนเหมือนกัน แต่แปลออกมาต่างกัน (บางทีถึงกับขัดแย้งกัน ถ้าที่หนึ่งแปลถูก อีกที่หนึ่งก็ผิด) นอกจากนั้นแล้ว เวลานี้มีพระไตรปิฎกแปลหลายชุด แม้แต่พุทธพจน์ที่เดียวกัน ก็แปลต่างๆกันไป ถ้าเพียงแค่ต่างสำนวนก็ยังดี แต่บางทีแปลผิดกันคนละความ

ในขณะที่ เรายังไม่มีการนำพระไตรปิฎกแปลทุกชุด มาตรวจสอบพร้อมกัน เพื่อปรับแก้ให้ถูกต้องลงตัวกันทั้งหมด มองในแง่ดีก็สามารถใช้ชุดและฉบับที่แตกต่างกันเหล่านี้เป็นเครื่องตรวจสอบ ซึ่งกันและกัน

แต่รวมความแล้ว ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม พอถึงขั้นตัดสินจริง ก็ต้องไปให้ถึงพระไตรปิฎกบาลี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2014, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ในที่นี้ จะยกตัวอย่างคำแปลพุทธพจน์ที่เดียวกัน จากพระไตรปิฎกแปลต่างชุดมาให้ดู พอให้มองเห็นภาพแห่งความแตกต่าง โดยยกเอาตอนที่ไม่ยาก และไม่ต่างกันมากนัก จะได้เห็นทางที่จะวางตัวเราให้ถูกต้อง

(พระไตรปิฎกแปลภาษาไทย เรียงตามกาลเวลาที่จัดทำก่อนและหลัง)

พุทธพจน์ในพระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ ดังนี้

สุภปรมาหํ ภิกฺขเว เมตฺตาเจโตวิมุตฺตึ วทามิ ฯ

อิธ ปญฺญสฺส (ฉบับอื่น เช่น อักษรพม่า เป็นอิธปญฺญสฺส) ภิกฺขุโน อุตฺตริวิมุตฺตึ อปฺปฏิวิชฺฌโต ฯ (สํ.ม.19/597/164)


พระไตรปิฎกแปล ฉบับอนุสรณ์ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ที่กรมการศาสนาดูแลสืบมา (แปลจากบาลีฉบับสยามรัฐ) ว่า

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติว่า มีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัย ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์


พระไตรปิฎกแปล ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย (แปลจากบาลีฉบับสยามรัฐ) ว่า

ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติว่า มีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์


พระไตรปิฎกแปล ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (แปลจากบาลีฉบับฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ) ว่า

ภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติว่ามีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันโลกิยะ ยังไม่รู้วิมุตติยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้



พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ของพุทธทาสภิกขุ (แปลจากบาลีฉบับสยามรัฐ) ว่า

ภิกษุ ท. เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติ ว่าเป็นธรรมมีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง ในกรณีนี้ เป็นวิมุตติของภิกษุ ผู้มีปัญญาชนิดที่ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่งขึ้นไป



Bhikkhu Bodhi แปลไว้ใน The Connected Discourses of the Buddha, vol. II, p. 1609 (แปลจากบาลีอักษรโรมัน ฉบับของ Pali Text Sociery) ว่า

Bhikkhus, the liberation of mind by lovingkindness has the beautiful as its culmination, I say, for a wise bhikkhu here who has not penetrated to a superior liberation.

(แปลต่อออกมาเป็นไทยได้ว่า) ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติว่ามีสุภสภาวะเป็นอย่างยิ่ง สำหรับภิกษุผู้มีปัญญา ในธรรมวินัยนี้ ที่ยังมิได้แทงตลอดวิมุตติอันยิ่งขึ้นไป

(บางท่านอาจสงสัยว่า Bhikkhu Bodhi/ภิกขุโพธิ เป็นใคร พอจะแปลบาลีได้แค่ไหน เท่าที่ควรทราบ ท่านเป็นชาวอเมริกัน มาบวชในศรีลังกา เป็นศิษย์ของพระมหานายกะ อานันทไมตรี ขณะนี้ มีพรรษา ๓๗ หรือ ๓๘ แปลพระไตรปิฎกไว้มากมาย เฉพาะสังยุตตนิกายนี้ ท่านแปล ๑๐ ปีจึงจบ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2014, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะเห็นว่า พระไตรปิฎกแปลไทยทั้ง ๓ ชุด มีคำว่า ปัญญาเป็นโลกิย์/โลกิยะ นี่ก็คือใส่คำแปลของอรรถกถาเข้ามาด้วย

(อรรถกถา ตรงนี้ว่า อิธปญฺญสฺสาติ อิเธว ปญฺญา อสฺส นยิมํ โลกํ อติกฺมตีติ อธิปญฺโญ ตสฺส อิธปญฺญสฺส โลกิยปญฺญสฺสาติ อตฺโถ ฯ


(คำ ว่า ไอิธปญฺญสฺส” มีอธิบายว่า ปัญญาของเธอแค่ในโลกนี้เท่านั้น ไม่เกินโลกนี้ เหตุนั้น เธอจึงชื่อว่า อิธปัญโญ ภิกษุผู้มีปัญญาแค่โลกนี้ คือมีโลกิยปัญญา นั้น) - สํ.อ.3/256/242)


ส่วนท่านพุทธทาส มิได้นำคำไขความเพิ่มเติมของอรรถกถามาใส่ในคำแปลของท่าน คือคงดูอรรถกถาเพียงค้นหาความหมายหรือปรึกษาให้มั่นใจ

อีก ท่านหนึ่ง คือ Bhikkhu Bodhi บอกว่า ท่านดูอรรถกถาตรงนี้แล้ว ไม่เต็มใจ พอดีคำว่า อิธปญฺญสฺส นี้ มีคำอธิบายในอรรถกถาอีกคัมภีร์หนึ่งด้วย คือ มโนรถปูรณี (ที่ดูข้างต้น คือ สารัตถปกาสินี) ก็เทียบกันดู

ในมโนรถปูรณี อธิบายว่า อิธปญฺญสฺสาติ อิมสฺมึ สาสเน ปญฺญา อิธปญฺญา นาม สาสนจริยตาย อริยปญฺญาย ฐิตฺส อริยสาวกสฺสาติ อตฺโถ ฯ (คำว่า อิธปญฺญสฺส มีอธิบายว่า ปัญญาในหลักคำสอนนี้ ชื่อว่า อิธปัญญา ได้แก่ อริยสาวกผู้ดำรงในอริยปัญญาที่ได้บำเพ็ญมาในพระศาสนา) (องฺ.อ.3/880/380)

Bhikkhu Bodhi บอกว่า ดูอรรถกถาแห่งนี้แล้วแน่ใจกว่า ท่านจึงยุติแค่ว่าข้างต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2014, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีศึกษาพระไตรปิฎก นอกจากเข้าถึงโดยตรงแล้ว ก็เปิดให้ผู้ศึกษาใช้ปัญญาอย่างเพียงพอ โดยเป็นอิสระด้วย เพราะอย่างที่พูดแล้ว่า หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา รวมทั้งคัมภีร์ทั้งหลาย ท่านถือเป็น ข้อมูลเพื่อให้รู้ ไม่ใช่ข้อมูลเพื่อให้เชื่อ


(จากหนังสือพระไทยใช่เขาใช่เรา - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) หน้า 59)


ต่อ อรรถกถาคืออะไร ทีี่ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47847

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
วิธีศึกษาพระไตรปิฎก นอกจากเข้าถึงโดยตรงแล้ว ก็เปิดให้ผู้ศึกษาใช้ปัญญาอย่างเพียงพอ โดยเป็นอิสระด้วย เพราะอย่างที่พูดแล้ว่า หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา รวมทั้งคัมภีร์ทั้งหลาย ท่านถือเป็น ข้อมูลเพื่อให้รู้ ไม่ใช่ข้อมูลเพื่อให้เชื่อ


(จากหนังสือพระไทยใช่เขาใช่เรา - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) หน้า 59)


ต่อ อรรถกถาคืออะไร ทีี่ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47847


วิธีศึกษาพระไตรปิฏก นอกจากเข้าถึงโดยตรงแล้ว ก็เปิดให้ผู้ศึกษาใช้ปัญญาอย่างเพียงพอ
โดยอิสระด้วย เพราะหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ไม่ว่าจะเป็นฉบับบาลี หรือฉบับแปล ด้วยภาษาอื่นใด ให้ศึกษาเพื่อรู้ เพื่อให้เกิดศรัทธาแน่นแฟ้น อย่างเพียงพอที่จะนำไปใช้นำไปปฏิบัติต่อการดำเนินชีวิต ให้มีความปรกติสุข หรือให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดคือพ้นจากทุกข์ได้

ท่านไหน..................

ศรัทธาปสาทะไม่เกิดขึ้น ฉันทะไม่มีแรงเพียงพอที่จะนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติหรอก

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
วิธีศึกษาพระไตรปิฎก นอกจากเข้าถึงโดยตรงแล้ว ก็เปิดให้ผู้ศึกษาใช้ปัญญาอย่างเพียงพอ โดยเป็นอิสระด้วย เพราะอย่างที่พูดแล้ว่า หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา รวมทั้งคัมภีร์ทั้งหลาย ท่านถือเป็น ข้อมูลเพื่อให้รู้ ไม่ใช่ข้อมูลเพื่อให้เชื่อ


(จากหนังสือพระไทยใช่เขาใช่เรา - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) หน้า 59)


ต่อ อรรถกถาคืออะไร ทีี่ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47847


วิธีศึกษาพระไตรปิฏก นอกจากเข้าถึงโดยตรงแล้ว ก็เปิดให้ผู้ศึกษาใช้ปัญญาอย่างเพียงพอ
โดยอิสระด้วย เพราะหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ไม่ว่าจะเป็นฉบับบาลี หรือฉบับแปล ด้วยภาษาอื่นใด ให้ศึกษาเพื่อรู้ เพื่อให้เกิดศรัทธาแน่นแฟ้น อย่างเพียงพอที่จะนำไปใช้นำไปปฏิบัติต่อการดำเนินชีวิต ให้มีความปรกติสุข หรือให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดคือพ้นจากทุกข์ได้

ท่านไหน..................

ศรัทธาปสาทะไม่เกิดขึ้น ฉันทะไม่มีแรงเพียงพอที่จะนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติหรอก



เอาเป็นว่า ถ้าเรามีสัทธาพร้อมแล้ว เช่นนั้น จะแนะนำให้เขาปฏิบัติอะไรยังไง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เอาเป็นว่า ถ้าเรามีสัทธาพร้อมแล้ว เช่นนั้น จะแนะนำให้เขาปฏิบัติอะไรยังไง :b1:

กรัชกาย
ทุกข์ของใคร ก็ของเขาเฉพาะตัว
การแนะนำอย่างไร ก็ต้องให้เขามาถามเอง
การแนะนำหว่านแห ไม่ถูกต้อง........

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เอาเป็นว่า ถ้าเรามีสัทธาพร้อมแล้ว เช่นนั้น จะแนะนำให้เขาปฏิบัติอะไรยังไง :b1:

กรัชกาย
ทุกข์ของใคร ก็ของเขาเฉพาะตัว
การแนะนำอย่างไร ก็ต้องให้เขามาถามเอง
การแนะนำหว่านแห ไม่ถูกต้อง........



เอาทุกข์หลักกลางคือตามความหมายของพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เอาทุกข์หลักกลางคือตามความหมายของพุทธศาสนา


เว้นวรรคให้อ่านแล้วได้ใจความหน่อยครับ กรัชกาย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เอาทุกข์หลักกลางคือตามความหมายของพุทธศาสนา


เว้นวรรคให้อ่านแล้วได้ใจความหน่อยครับ กรัชกาย



ถ้างั้นเอาใหม่ เอาความหมายของทุกข์ซึ่งเป็นกลาง ตามนัยของพระพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เอาทุกข์หลักกลางคือตามความหมายของพุทธศาสนา


เว้นวรรคให้อ่านแล้วได้ใจความหน่อยครับ กรัชกาย



ถ้างั้นเอาใหม่ เอาความหมายของทุกข์ซึ่งเป็นกลาง ตามนัยของพระพุทธศาสนา

"อัตตา"

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เอาทุกข์หลักกลางคือตามความหมายของพุทธศาสนา


เว้นวรรคให้อ่านแล้วได้ใจความหน่อยครับ กรัชกาย



ถ้างั้นเอาใหม่ เอาความหมายของทุกข์ซึ่งเป็นกลาง ตามนัยของพระพุทธศาสนา

"อัตตา"



อะไรอัตตา ขยายความหน่อยซี่ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เอาทุกข์หลักกลางคือตามความหมายของพุทธศาสนา


เว้นวรรคให้อ่านแล้วได้ใจความหน่อยครับ กรัชกาย



ถ้างั้นเอาใหม่ เอาความหมายของทุกข์ซึ่งเป็นกลาง ตามนัยของพระพุทธศาสนา

"อัตตา"



อะไรอัตตา ขยายความหน่อยซี่ :b1:

ทุกข์ ซึ่งเป็นกลาง
ก็คืออัตตา
อัตตา เกิดขึ้นเพราะ ความยึดถืออย่างไม่รู้
มีความไม่รู้และความหลง เป็นสิ่งก่อเกิด
อัตตา นั่นล่ะทุกข์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 200 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร