วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 07:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2014, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านเช่นนั้น ขออนุญาตลง ภาวิตจิต : มีจิตที่ได้พัฒนาแล้ว ต่อนะขอรับ ต่อจาก ภาวิตศีล นี่ :b13:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47808

กลัวท่านเช่นนั้นว่าเอา จึงต้องขออนุญาตก่อน

เจริญธรรม :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2014, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวิตจิต : มีจิตที่ได้พัฒนาแล้ว


ภาวะทางจิตที่สำคัญเป็นพื้นฐาน คือ ความเป็นอิสระ หรือเรียกตามคำพระว่า ความหลุดพ้น ภาวะนี้เป็นผลสืบเนื่องจากปัญญา คือ เมื่อเห็นตามเป็นจริง รู้เท่าทันสังขารแล้ว จิตจึงพ้นจากอำนาจครอบงำของกิเลส ท่านมักกล่าวบรรยายการเข้าถึงภาวะนี้ว่า


"จิต ที่ปัญญาบ่มงอมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย" หรือ "เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากภวาสวะ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากอวิชชาสวะ"


ลักษณะ ด้านหนึ่ง ของความเป็นอิสระ ในเมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ก็คือ การไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวนหรือยั่วยุ อย่างที่ท่านเรียกว่า อารมณ์เป็นที่ตั้งของราคะหรือโลภะ โทสะ และโมหะ เพราะจิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว


ยิ่งกว่านั้น ยังมีผลสืบเนื่องจากความปราศจากราคะ โทสะ โมหะต่อไปอีก คือ ทำให้ไม่มีความหวาดเสียว สะดุ้ง สะท้าน หวั่นไหว


นอกจากไม่มีเหตุที่จะทำให้ความชั่วเสียหายที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีหลักประกันความสุจริตใจในการทำงานด้วย สามารถเป็นนายของอารมณ์ ถึงขั้นที่เรียกว่า เป็นผู้อบรมเจริญอินทรีย์แล้ว (มีอินทรียภาวนา) คือ เมื่อรับรู้อารมณ์ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น เกิดความรู้ตามปกติขึ้นมาว่า ของน่าชอบใจ ไม่น่าชอบใจ หรือเป็นกลางๆ ก็ตาม ก็สามารถบังคับสัญญาของตนได้ ให้เห็นของปฏิกูล เป็นไม่ปฏิกูล เห็นของไม่ปฏิกูล เป็นปฏิกูล เป็นต้น ตลอดจนจะสลัดทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล วางใจเฉยเป็นกลาง อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ทำได้ตามต้องการ ดังที่กล่าวแล้วในหลักเกี่ยวกับภาวิตินทรีย์ ในด้านของภาวิตกาย เป็นผู้มีสติควบคุมตนได้ เรียกว่าเป็นคนที่ฝึกแล้ว หรือผู้ชนะตนเอง ซึ่งเป็นยอดของผู้ชนะสงคราม


พร้อมกันนั้นก็มี จิตหนักแน่น มั่นคง ไม่หวั่นไหวโยกคลอนไปตามอิฏฐารมณ์อนิฏฐารมณ์ เหมือนภูเขาหินใหญ่ ไม่หวั่นไหวด้วยแรงลม หรือเหมือนผืนแผ่นดินเป็นต้น ที่รองรับทุกสิ่ง ไม่ขัดเคืองผูกใจเจ็บต่อใคร ไม่ว่าจะทิ้งของดีของเสียของสะอาดไสสะอาดหรือไม่ว่าอะไรลงไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2014, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อีกด้านหนึ่งของความหลุดพ้นเป็นอิสระ คือ ความไม่ติดในสิ่ง ต่างๆ ซึ่งท่านมักเปรียบกับใบบัวที่ไม่ติดไม่เปียกน้ำ และดอกบัวที่เกิดในเปือกตม แต่สะอาดงามบริสุทธิ์ ไม่เปื้อน โคลน เริ่มต้นแต่ไม่ติดในกาม ไม่ติดในบุญบาป ไม่ติดในอารมณ์ ต่างๆ อันจะเป็นเหตุให้ต้องรำพึงหลังหวังอนาคต ดังบาลีว่า


"ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็น ปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณของท่านจึงผ่องใส ส่วนเหล่าชนผู้อ่อนปัญญา เฝ้าแต่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง และหวนละห้อยถึงความหลังอันล่วงแล้ว จึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือน ต้นอ้อสดที่เขาถอนทึ้งขึ้นทิ้งไว้ที่ในกลางแดด"


มีข้อความที่น่า สังเกต และทำความเข้าใจเป็นพิเศษในเรื่องนี้ คือ จะเห็นว่า การไม่รำพึงหลัง ไม่หวังอนาคตนี้ ได้จัดไว้เป็นลักษณะของภาวะทางจิต ไม่ใช่ลักษณะของภาวะทางปัญญา ถ้าเทียบกับคำฝ่ายตะวันตก ก็ตรงกับด้าน emotion จึงมิได้หมายความว่า พระอรหันต์ไม่ใช้ปัญญาพิจารณากิจการงานภายหน้า และไม่ใช้ประโยชน์จากความรู้เกี่ยวกับอดีต แต่ตรงข้าม เพราะพระอรหันต์มีภาวะทางจิตที่ปลอดโปร่งจากอดีต และอนาคต จึงนำเอาความรู้เกี่ยวอดีตและมาใช้ประโยชน์ทางปัญญาได้เต็มที่ ดังนั้นคำแสดงลักษณะของผู้ตรัสรู้แล้ว ที่เกี่ยวกับเรื่องอดีตและอนาคตจึงยังมีอยู่ แต่เป็นเรื่องทางด้านปัญญา เช่น ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อตีตังสญาณ และการที่พระอรหันต์จะทำการใดมักคำนึงเพื่ออนุเคราะห์ชุมชนผู้จะเกิดภาย หลัง ดังจะได้กล่าวต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2014, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ลักษณะบางอย่างทางจิตใจของผู้บรรลุนิพพาน อาจขัดต่อความรู้สึกของปุถุชน เพราะเมื่อดูเผินๆ จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปุถุชนถือกันว่าไม่ดี ไม่น่าชื่นชม ลักษณะอย่างหนึ่งในประเภทนี้ ที่เด่น ท่านกล่าวถึงบ่อยๆ คือ "นิราส" หรือ "นิราสา" แปลอย่างสามัญว่า หมดหวัง สิ้นหวัง หรือไร้ความหวัง


แต่ความสิ้นหวัง หรือไร้ความหวังของผู้บรรลุนิพพาน มีความหมายลึกซึ้งเลยไปจากที่ปุถุชนนึกถึง หรือพูดถึงกันตามปกติ


อธิบาย ว่า ตามธรรมดา มนุษย์ปุถุชนมีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง ความหวังนี้ตั้งอยู่บนความอยาก เพราะอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ จึงหวังว่าจะได้จะเป็น และความหวังนั้น ก็เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตไว้ คนใดผิดหวัง เพราะไม่ได้ตามที่หวัง หรือไร้ความหวัง หมดหวัง เพราะไม่มีทางจะได้ตามที่หวัง คนนั้นเขาถือกันว่า เป็นคนเคราะห์ร้าย เต็มไปด้วยทุกข์ คนใดสมหวังเพราะได้ตามต้องการ หรือมีความหวัง เพราะมองเห็นทางว่าคงจะหรืออาจจะได้ตามที่หวัง คนนั้น เขาถือกันว่าเป็นผู้โชคดี มีความสุข



ว่าที่จริง คนมีหวังนี้ ยังมีความหวังอีกอย่างหนึ่ง แฝงซ่อนอยู่ด้วยตลอดเวลา แม้ว่าเจ้าตัวจะไม่อยากนึกถึง คือ มีความหวังว่าอาจจะกลายเป็นคนผิดหวัง หรือสิ้นหวังได้ต่อไปด้วย แต่ความหวังด้านนี้ ตามปกติเรียกว่า "ความหวาด" คือหวาดว่าจะไม่ได้อย่างที่หวัง ซึ่งเป็นความทุกข์อย่างหนึ่ง จึงกลายเป็นว่า ความหวังมาคู่กับความหวาด เมื่อยังอยู่ด้วยความหวัง ก็ยังต้องมีความหวาดคู่ไปด้วย



ส่วนผู้บรรลุนิพพานกลับไปคล้ายคนแรก คือคนที่ไม่มีหวัง แต่ความจริงคล้ายคนที่สาม แต่ก็ไม่เหมือนอีกนั่นแหละ เพราะผู้ถึงนิพพานแล้ว หมดหวัง หรือไร้ความหวัง มิใช่เพราะไม่มีทางได้ตามที่หวัง แต่เพราะเต็มแล้ว อิ่มแล้ว ไม่มีอะไรพร่องที่จะต้องอยาก ไม่ขาดอะไรที่จะต้องอยากได้ให้เกิดเป็นความหวัง ว่าโดยสาระก็คือความสิ้นหวัง หรือไร้ความหวังของผู้บรรลุนิพพาน เกิดจากไม่มีความอยากที่เป็นเหตุให้ต้องหวัง คือ เมื่อไม่อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ไม่มีความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องหวัง เมื่อไม่มีสิ่งที่ต้องหวัง ก็เป็นอยู่โดยไม่ต้องมีความหวัง เป็นคนที่ได้ละ ได้เลิก หรือหมดสิ้นความหวังที่สร้างความหวาดไปได้แล้ว

...............

* "นิราส" นี้นิยมใช้ในคาถา คือ คำร้อยกรอง เป็นวิธีใช้แบบล้อคำพูดของปุถุชน อย่างเดียวกับ "อัสสัทธะ" (ไม่มีศรัทธา) ในฝ่ายภาวะทางปัญญา ในความร้อยแก้ว ใช้อีกศัพท์หนึ่งว่า "วิคตาส" เพื่อให้ต่างจากความสิ้นหวังหรือผิดหวัง คือ เท่ากับเสร็จสิ้นสิ่งที่หวัง หรือเลิกไม่ต้องหวังอีกต่อไปแล้ว

(องฺ.ติก.20/452/135)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2014, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


รวมความว่า ผู้ถึงนิพพานอยู่โดยไม่ต้องอาศัยความหวัง ไม่ต้องการความหวัง ไม่ต้องอยู่ด้วยความหวัง ไม่ต้องขึ้นต่อความหวัง ไม่ต้องฝากชีวิต หรือความสุขของตนไว้กับความหวัง เป็นผู้พ้นทั้งความสมหวังและความสิ้นหวัง ตามความหมายของปุถุชน เป็นคนบริบูรณ์เต็มอิ่มอยู่ในตัว เป็นผู้ที่สูงเลยจากคนสมหวังหรือคนมีหวังขึ้นไปอีก เรียกว่าเป็นขั้นอยู่เหนือความหวัง ไม่มีทางที่จะผิดหวัง สิ้นหวัง หรือหมดหวังต่อไปได้เลย (พึงเทียบกับ "อัสสัทธะ" ที่แปลว่าไม่มีศรัทธา ซึ่งเป็นฝ่ายภาวะทางปัญญา)


ลักษณะทาง จิตอย่างอื่นๆ ซึ่งสัมพันธ์กับลักษณะที่กล่าวมาแล้ว อันมีอีกมากมาย เช่น ไม่มีเรื่องติดใจกังวล ไม่มีอะไรค้างใจ (อกิญจนะ) ไม่คิดพล่าน ไม่มีความกระวนกระวายใจ ไม่งุ่นง่าน ไม่หงุดหงิด ไม่หงอยเหงา ไม่เบื่อหน่าย ไม่หวาดสะดุ้ง ปราศจากภัย จิตใจสงบ (สันตะ) เป็นสุข ไม่มีความโศก (อโศก) ไม่มีธุลีที่ทำให้ขุ่นมัวหรือฝ้าหมอง (วิรชะ) ปลอดโปร่งเกษม (เขมะ) ผ่องใส เยือกเย็น (สีติภูตะ นิพพุตะ) เอิบอิ่ม พอใจ (สันตุฏฐะ) หายหิว (นิจฉาตะ) จะเดิน จะยืน จะนั่ง จะนอน ก็เบาใจ วางใจสนิท เบิกบานใจตลอดเวลา


ลักษณะที่ควรกล่าวย้ำ ไว้ เพราะท่านกล่าวถึงบ่อยๆ คือ ความเป็นสุข มีทั้งคำแสดงภาวะของนิพพานว่า เป็นสุข คำกล่าวถึงผู้บรรลุนิพพานว่าเป็นสุข และคำกล่าวของผู้บรรลุเองว่าตนมีความสุข เช่น ว่านิพพานเป็นบรมสุข นิพพานเป็นสุขยิ่งหนอ สุขยิ่งกว่านิพพานสุข ไม่มี นี่คือสุขที่ยอดเยี่ยม พระอรหันต์ทั้งหลายมีความสุขจริงหนอ ผู้ปรินิพพานแล้ว นอนเป็นสุขทุกเมื่อแล ผู้ไร้กังวลเป็นผู้มีความสุขหนอ พวกเรา ผู้ไม่มีอะไรให้กังวล เป็นสุขจริงหนอ สุขจริงหนอๆ


แม้แต่ผู้ปฏิบัติธรรม ก็ต้องมองนิพพานว่าเป็นสุข จึงจะเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังพุทธพจน์ว่า

"ภิกษูทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้มองเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้ประกอบด้วยข้อพินิจที่เกื้อแก่การบรรลุสัจจะ (อนุโลมิกาขันติ)* ย่อมเป็นไปไม่ได้ ข้อที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยข้อพินิจที่เกื้อแก่การบรรลุสัจจะ จักก้าวลงสู่สีมมัตตนิยาม (กำหนดแน่นอนในภาวะที่ถูกต้อง หรือกฎเกณฑ์แห่งความถูกต้อง) ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ข้อที่ภิกษุผู้ไม่ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม จักบรรลุโสดาปัตติผล หรือสกทาคามิผล หรืออนาคามิผล หรืออรหัตผล ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้"


"ภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้มองเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบด้วยข้อพินิจที่เกื้อแก่การบรรลุสัจจะ ย่อมเป็นสิ่งที่ไปได้ ข้อที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยข้อพินิจที่เกื้อแก่ การบรรลุสัจจะ จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก็เป็นสิ่งที่ไปได้ ข้อที่ภิกษุผู้ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม จัก บรรลุโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ก็ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้"


แม้นิพพานจะ เป็นสุข และผู้บรรลุนิพพานก็เป็นผู้มีความสุข แต่ผู้ บรรลุนิพพานไม่ติดในความสุข ไม่ว่าชนิดใดๆ รวมทั้งไม่ติดเพลินนิพพานด้วย

(ม.มู. 12/5-7/7-9)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2014, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

เมื่อรับรู้อารมณ์ต่างๆ จากภายนอก ทางตา ทางหู ทางจมูก เป็นต้น พระอรหันต์ยังคง

เสวยเวทนาที่เนื่องจากอารมณ์เหล่านั้น ทั้งที่เป็นสุข เป็นทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ เช่นเดียวกับ

คนทั่วไป
แต่มีข้อพิเศษตรงที่ท่านเสวยเวทนาอย่างไม่มีกิเลสร้อยรัด ไม่ติดเพลินหรือข้องขัดอยู่กับ

เวทนานั้น เวทนานั้นไม่เป็นเหตุให้เกิดตัณหา เป็นการเสวยเวทนาชั้นเดียว เรียกสั้นๆว่า เสวย

แต่เวทนาทางกาย ไม่เสวยเวทนาทางจิต ไม่ทำให้เกิดความเร่าร้อนกระวนกระวายภายใน เรียก

ว่าเวทนานั้นเป้นของเย็นแล้ว การเสวยเวทนาของท่าน เป็นการเสวยชนิดที่ไม่มีอนุสัยตกค้าง



ที่ว่าพระอรหันต์เสวยเวทนาโดยไม่มีอนุสัยตกค้างนี้ เป็นจุดพึงสังเกตสำคัญข้อหนึ่ง คือเป็นความแตกต่างจากปุถุชนที่ว่า เมื่อเสวยสุข ก็มีราคานุสัยตกค้าง เสวยทุกข์ ก็มีปฏิฆานุสัยตกค้าง เสวยอารมณ์เฉยๆ ก็มีอวิชชานุสัยตกค้าง เพิ่มความเคยชิน และความแก่กล้าให้แก่กิเลสเหล่านั้นมากยิ่งๆขึ้น (สํ.นิ. 16/192/99...) แต่สำหรับพระอรหันต์ สุขทุกข์จากภายนอก ไม่สามารถเข้าไปกระทบถึงภาวะที่ดับเย็นเป็นสุขในภายใน ความสุขของท่านจึงเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่ออารมณ์หรือสิ่งต่างๆ ภายนอก คือไม่ต้องอาศัยอามิส ท่านเรียกว่าเป็นนิรามิสสุขอย่างยิ่ง หรือยิ่งกว่านิรามิสสุข (นิรามิสสุขชั้นสามัญ คือสุขในฌาน)

(สํ.ฬ. 18/451-2/293)


ในเมื่อสุขของผู้ถึงนิพพาน ไม่ขึ้นต่อปัจจัยภายนอก ความผันแปรเปลี่ยนแปลงของสิ่งทั้งหลายอันเป็นไปตามคติธรรมดาแห่งสภาพสังขาร จึง ไม่เป็นเหตุให้ท่านเกิดความทุกข์ ถึงอารมณ์ ๖ จะแปรปรวนเคลื่อนคลาหายลับ ท่านก็คงอยู่เป็นสุข ถึงขันธ์ ๕ (รวมหมดทั้งตัว) จะผันแปรกลับกลายไปเป็นอื่น ท่านก็ไม่เศร้าโศกเป็นทุกข์


ความรู้เท่าทันในความไม่เที่ยงแท้และสภาพที่ผันแปรนั้นเอง ย่อมทำให้เกิดความสงบเย็น ไม่พล่านส่าย ไม่กระวนกระวาย อยู่เป็นสุขได้ตลอดเวลา ภาวะเช่นนี้ท่านว่าเป็นความหมายอย่างหนึ่งของการพึ่งตนได้ หรือการมีธรรมเป็นที่พึ่ง

(สํ.ข.17/87-88/53-54)

คำสำคัญที่แสดงภาวะทางจิตของผู้บรรลุนิพพานอีกคำหนึ่ง ซึ่งครอบคลุมลักษณะหลายอย่างทีกล่าวมาแล้ว คือ คำว่า "อาโรคยะ" แปลว่า ความไม่มีโรค หรือภาวะไร้โรค ที่ในภาษาไทยเรียกว่า สุขภาพ หรือความมีสุขภาพดี


"อาโรคยะ" นี้ ใช้เป็นคำเรียกนิพพานอย่างหนึ่ง ดังได้กล่าวมาแล้ว ความไร้โรคหรือสุขภาพในที่นี้มุ่งเอาความไม่มีโรคทางจิตใจ หรือสุขภาพจิต ดังพุทธพจน์ที่ตรัสสอนคหบดีผู้เฒ่าคนหนึ่งว่า


"ท่านพึงศึกษาสอนตน ดังนี้ว่า ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วยออดแอด แต่จิตของเราจักไม่ป่วยออดแอดด้วย"

(สํ.ข.17/2/3)

และตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า โรคมี ๒ อย่าง คือ โรคทางกาย และโรคทางจิต

"สัตว์ที่ยืนยันว่าตนปราศจากโรคทางจิต แม้เพียงครู่หนึ่งนั้น หาได้ยาก ยกเว้นแต่พระขีณาสพ"

(องฺ.จตุกฺก.21/156/192)


พุทธพจน์นี้ แสดงให้เห็นว่า พระอรหันต์เป็นผู้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ การแสดงภาวะของผู้บรรลุนิพพานในแง่ที่เป็นผู้ไม่มีโรค หรือมีสุขภาพดีนี้ เป็นวิธีที่ดีอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยให้เข้าใจคุณค่าของการบรรลุนิพพานดีขึ้น เพราะปุถุชนมักสงสัยว่า ในเมื่อผู้บรรลุนิพพานปราศจากการแสวงหา และเสวยความสุข อย่างที่ปุถุชนนิยมชมชอบกันอยู่ ท่านจะมีความสุขได้อย่างไร และนิพพานจะดีอะไร


ความไม่มีโรค มีสุขภาพดี แข็งแรง ย่อมเป็นความสุข และเป็นภาวะที่สมบูรณ์อยู่ในตัวของมันเอง ดียิ่งกว่าการเจ็บป่วยหรือมีโรคประจำตัวอยู่ แล้วได้รับความสุขจากการระงับทุกขเวทนาไปคราวหนึ่งๆ



คนที่เจ็บป่วยหรือมีโรคนั้น พออาการของโรคกำเริบขึ้น เกิดความกระวนกระวาย กระสับกระส่าย หรือทุรนทุราย ได้ยาหรือวิธีแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งมาระงับอาการนั้นลงได้ ก็มีความสุขไปคราวหนึ่งๆ ยิ่งอาการนั้นรุนแรง เวลาระงับลงได้ก็ยิ่งรู้สึกมีความสุขมาก คนที่สุขภาพดีไม่มีโรค มองในแง่หนึ่ง คล้ายว่าเสียเปรียบ เพราะไม่มีโอกาสได้รับความสุขแบบนี้ แต่คนที่จิตใจเป็นปกติดี มีปัญญา คงไม่มีใครปรารถนาความสุขแบบคนเจ็บป่วย ที่คอยรอรับรสแห่งความสงบของทุกขเวทนาอย่างนี้


ความสุข ที่ตามปกติไม่รู้สึกว่าเป็นสุข เป็นแต่เพียงความปลอดโปร่งโล่งเบาอยู่ภายใน อันเป็นความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง ตามสภาวะของความไม่มีโรค ซึ่งทำให้ไม่มีโอกาสได้รับความสุขบ่อยๆ หรือเป็นครั้งคราวจากการระงับความกระสับกระส่ายทุรนทุรายที่เป็นอาการของโรคนั้น เทียบได้กับภาวะของผู้บรรลุนิพพาน หรือความสุขจากภาวะของนิพพาน ส่วนความสุขจากการระงับอาการของโรคได้เป็นคราวๆ เปรียบเหมือนการแสวงหาความสุขของปุถุชน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2014, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ท่านแสดงข้ออุปมาไว้ว่า เปรียบเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน มีแผลตามตัว เห่อขึ้นทั่วทั้งร่าง ตัวเชื้อโรคก็คอยเร้าระคาย เขาต้องใช้เล็บเกาปากแผลอยู่เรื่อยๆ และผิงกายที่หลุมถ่านเพลิง เมื่อเขาเกาและผิงย่างตัวกับไฟหนักเข้า ปากแผลก็ยิ่งคะเยอเฟะมากขึ้น แต่กระนั้นความสุข ความชื่นใจความมีรสชาติใดๆ ที่เขาจะได้รับ ก็อยู่ตรงปากแผลคันที่จะได้เกานั่นแหละ


บุรุษโรคเรื้อน ตกอยู่ในภาวะเช่นนั้น จนกระทั่งมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง มาปรุงยารักษา ทำให้เขาหายจากโรคเรื้อนได้ บุรุษนั้นพ้นจากโรคเรื้อนไปได้ กลายเป็นคนมีสุขภาพดี (อโรค) มีความสุข (สุขี) มีเสรีภาพ (เสรี) มีอำนาจในตัว (สยังวสี) จะไปไหนก็ได้ตามพอใจ (เยนกามังคม)


ถึงตอนนี้ การเกาปากแผล ก็ดี การผิงย่างตัวที่หลุม หรือกองไฟ ก็ดี ที่เขาเคยรู้สึกว่าทำให้เกิดความสุขสบายชื่นใจนั้น คราวนี้ เขาไม่เห็นว่าเป็นความสุขเลย และถ้าจะให้เขาทำอย่างนั้นเวลาที่หายโรคแล้วอย่างนี้ เขากลับเห็นว่าจะเจ็บปวดเป็นทุกข์ด้วยซ้ำ แต่ภาวะเช่นนี้ เมื่อครั้งยังถูกโรคเรื้อนรุมเร้าอยู่ เขาหามองเห็นตระหนักไม่


ข้ออุปมานี้ เปรียบได้กับปุถุชน ผู้ยังมีกิเลสอันเป็นเหตุให้ต้องแสวงหาความสุขจากอารมณ์ทั้งหลายที่เป็นกามคุณ แม้จะได้ความสุขจากการหาอารมณ์มาสนองความอยากนั้น แต่ก็ถูกเชื้อความอยากต่างๆ ทั้งหลาย เร้าระคาย ให้เร่าร้อนทุรนทุราย กระสับกระส่ายมากยิ่งขึ้น เมื่อดำเนินชีวิตไปในแนวทางเช่นนี้ ความสุขความรื่นรมย์ชมชื่นใจที่มีอยู่ ก็วนอยู่แค่การปลุกเร้าเชื้อความอยากให้ร้อนรนยิ่งขึ้น แล้วก็หาสิ่งที่จะเอามาสนองระงับดับความกระสับกระส่าย กระวนกระวายนั้นลงไปคราวหนึ่งๆ


เมื่อใดบรรลุนิพพาน หมดเชื้อความอยากที่ทำให้เกิดความเร่าร้อนกระสับกระส่ายกระวนกระวายแล้ว เป็นอิสระ เป็นไทยแก่ตัว ก็ไม่เห็นความสุขในการกระทำเพื่อสนองระงับความเร่าร้อนกระวนกระวายเช่นนั้นอีก

(ดู ม.ม. 13/283-287/277-281)

แง่หนึ่งจากคำอุปมาข้างต้นนั้น พอจะจับเอามาพูดได้ว่า ปุถุชนเปรียบเหมือนคนมีคันที่ต้องเกา และความสุขของปุถุชน ก็คือความสุขจากการได้เกา ณ ที่คันนั้น ยิ่งคันก็ยิ่งเกา และยิ่งเกา ก็ยิ่งคัน ยิ่งคันมาก ความสุขจากการเกา ก็ยิ่งมาก และยิ่งคันมาก ก็ยิ่งได้เกามาก ปุถุชนยิงเพิ่มอัตราหรือขีดระดับของความสุขให้สูงขึ้น ด้วยการหาทางเพิ่มความเร้าระคายเพื่อทำให้คันมากขึ้น เพื่อจะได้รับความสุขจากการเกาให้มากยิ่งขึ้น

ส่วนผู้หลุดพ้นแล้ว เป็นเหมือนคนที่หายจากโรคคัน มีร่างกายสมบูรณ์เป็นปกติ ย่อมมีความสุขจากการไม่มีที่คันที่จะต้องเกา แต่อาจถูกปุถุชนกล่าวติว่า เป็นผู้สูญเสียขาดความสุขจากการได้เกาที่คัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2014, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกอย่างหนึ่ง การแสวงสุขของปุถุชน เป็นเหมือนการก่อกระพือโหมไฟขึ้นแล้วได้รับความสนุกสนานชื่นฉ่ำชุ่มเย็นจากการดับไฟนั้น ยิ่งโหมไฟให้ลุกโพลงร้อนแรงขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งได้ใช้ความแรงในการดับ ทำให้เกิดเสียงฉี่ฉ่าซู่ซ่าวูบวาบโลดโผนมากขึ้นเท่านั้น ปุถุชนจึงมักดำเนินชีวิตในแบบของการโหมไฟ แม้ว่าจะเป็นการเสี่ยงต่อการก่ออันตรายทั้งแก่ตน และคนอื่นมากขึ้นก็ตาม ส่วนผู้หลุดพ้นที่ได้ดับไฟสำเร็จแล้ว อยู่สุขสบายเยือกเย็นปลอดโปร่งใจ ไม่ต้องถูกเผาลน และไม่ต้องคอยระวังภัยจากความเร่าร้อน ไม่คำนึงห่วงในต่อความซ่านซ่าที่จะได้รับจากการคอยตามดับไฟซึ่งตนโหมกระพือขึ้น

ภาวะที่กล่าวมานี้ มองอีกด้านหนึ่ง เป็นลักษณะแห่งพัฒนาการของชีวิตจิตใจ ซึ่งทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพ ตลอดจนท่าทีต่อสิ่งต่างๆ หรือต่อโลกและชีวิตโดยส่วนรวม


ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพัฒนาการของชีวิตจิตใจนั้น ทุกคนพอจะมองเห็นได้ เมื่อเทียบเคียงกับการเติบโตจากเด็กขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ ของเล่นต่างๆ ที่เคยรักใคร่หวงแหน ถือเอาเป็นเรื่องจริงจังสลักสำคัญนักหนา มีความหมายต่อชีวิตและต่อความสุขความทุกข์ของตนถึงเป็นถึงตายในสมัยเป็นเด็ก ครั้นเติบโตเป็นเป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็จืดจาง กลายเป็นของไม่เร้าความรู้สึก เมื่อเห็นเด็กๆ ชื่นชมกันนักตั้งตาคอยจ้องจะชิงมาเป็นเจ้าของก่อน ผู้ใหญ่อาจมองเป็นขำไป แม้วิธีหาความสุขสนุกสนานต่างๆ ตามแบบของเด็กๆ ก็กลายเป็นสิ่งไร้ความหมาย ข้อนี้ฉันใด ผู้ที่บรรลุนิพพาน เข้าถึงการพัฒนาการที่สูงเลยขึ้นไปจากปุถุชน ย่อมมีท่าทีต่อโลกและชีวิต ต่อสิ่งที่ชื่นชมยินดี และต่อวิถีทางดำเนินชีวิตของปุถุชนเปลี่ยนแปลงไป ฉันนั้น

(ดูองฺ.ทสก.24/99/216)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2014, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวิตจิต จบ

ต่อภาวิตปัญญาที่ viewtopic.php?f=1&t=47812


คำแปลของภาวนา และภาวิตว่า “พัฒนา” นั้น จะใช้คำว่า เจริญ หรือ อบรม แทนก็ได้ แต่ในที่นี้ใช้คำว่า พัฒนา เพราะเป็นคำที่ทั้งในภาษาไทยก็ใช้กันคุ้น และเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีเช่นเดียว กับ ภาวนา/ภาวิต อีกทั้งเป็นคำที่ในคัมภีร์ใช้เป็นคำแปลของภาวนา และภาวิตนั้นด้วย เช่น “ภาวิตกาโยติ วฑฺฒิตกาโย” นิทฺ.อ.267 “ภาวิตสีโลติ วฑฺฒิตสีลโล”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ค. 2014, 07:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2014, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ท่านเช่นนั้น ขออนุญาตลง ภาวิตจิต : มีจิตที่ได้พัฒนาแล้ว ต่อนะขอรับ ต่อจาก ภาวิตศีล นี่ :b13:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47808

กลัวท่านเช่นนั้นว่าเอา จึงต้องขออนุญาตก่อน

เจริญธรรม :b8:

ได้ครับ
ขอบคุณครับ ที่มีสัมมาคาระวะ
เชิญตามสบายครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 03:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ท่านเช่นนั้น ขออนุญาตลง ภาวิตจิต : มีจิตที่ได้พัฒนาแล้ว ต่อนะขอรับ ต่อจาก ภาวิตศีล นี่ :b13:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47808

กลัวท่านเช่นนั้นว่าเอา จึงต้องขออนุญาตก่อน

เจริญธรรม :b8:

ได้ครับ
ขอบคุณครับ ที่มีสัมมาคาระวะ
เชิญตามสบายครับ



ท่านเช่นนั้น นี่หมดทางไปจริงๆ :b32: ถามคำตอบคำ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ท่านเช่นนั้น นี่หมดทางไปจริงๆ :b32: ถามคำตอบคำ คิกๆๆ

กรัชกาย ขออนุญาต เช่นนั้น ก็อนุญาต
หมดทางอย่างไรครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ท่านเช่นนั้น นี่หมดทางไปจริงๆ :b32: ถามคำตอบคำ คิกๆๆ

กรัชกาย ขออนุญาต เช่นนั้น ก็อนุญาต
หมดทางอย่างไรครับ


ok ครับ ต่อไปจะไม่ขออนุญาตแล้ว ถือว่าเข้าใจกันแล้ว :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ท่านเช่นนั้น นี่หมดทางไปจริงๆ :b32: ถามคำตอบคำ คิกๆๆ

กรัชกาย ขออนุญาต เช่นนั้น ก็อนุญาต
หมดทางอย่างไรครับ


ok ครับ ต่อไปจะไม่ขออนุญาตแล้ว ถือว่าเข้าใจกันแล้ว :b1:

ขอบคุณครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2014, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ท่านเช่นนั้น นี่หมดทางไปจริงๆ :b32: ถามคำตอบคำ คิกๆๆ

กรัชกาย ขออนุญาต เช่นนั้น ก็อนุญาต
หมดทางอย่างไรครับ


ok ครับ ต่อไปจะไม่ขออนุญาตแล้ว ถือว่าเข้าใจกันแล้ว :b1:

ขอบคุณครับ


เจริญธรรมครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 62 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร