วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 16:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2014, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนา แปลว่า ทำให้เกิดให้มีขึ้น ทำให้เป็นขึ้น สิ่งที่ยังไม่เป็นก็ทำให้มันเป็น สิ่งที่ยังไม่มีก็ทำให้มันมีขึ้น เรียกว่า ภาวนา เพราะฉะนั้น จึงเป็นการปฏิบัติ ฝึกหัด หรือลงมือทำ ภาวนา จึงแปลอีกความหมายหนึ่งว่า การฝึกอบรม ฝึก นั้น เมื่อยังไม่เป็น ก็ทำให้มันเป็น อบรม นั้น เมื่อยังไม่มีก็ทำให้มันมีขึ้น ยิ่งกว่านั้น เมื่อทำให้เกิด ให้มี ให้เป็นขึ้นมาแล้ว ก็ต้องทำให้เจริญงอกงามเพิ่มพูนพรั่งพร้อมขึ้นไปด้วยจนเต็มที่

ภาวนา จึงมีความหมายตรงกับคำว่า พัฒนาด้วย และจึงแปลว่าง่ายๆว่า เจริญ



ต่อจากหัวข้อนี้ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47765

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2014, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการ/ผลสำเร็จของการปฏิบัติธรรมขั้นภาวนา


ทีนี้ต่อไป ตัวหลักการของสมาธิอยู่ที่ไหน การบำเพ็ญเพียรทางจิต การบำเพ็ญสมถะ การบำเพ็ญสมาธินั้น ตัวหลักการที่แท้อยู่ที่่ไหน บางท่านงง การทำสมาธินี้เดี๋ยวกำหนดลมหายใจ เดี๋ยวไปเพ่งกสิณ เดี๋ยวไปภาวนาพุทโธ เดี๋ยวไปเจริญเมตตา เดี๋ยวเจริญพรหมวิหาร อะไรกันแน่ เป็นสมาธิ

ถ้าจับหลักได้แล้ว ก็นิดเดียวเท่านั้นเอง สมาธิ ไม่มีอะไร คือการที่สามารถทำให้จิตกำหนดแน่วอยู่กับสิ่งเดียวได้ตามที่ต้องการเท่านั้นเอง

การที่เรากำหนดลมหายใจเพื่ออะไร ก็เพราะว่าใจของเรามันยังไม่แน่แน่ ยังกำหนดสิ่งเดียวไม่ได้ มันฟุ้งซ่านเลือนลอยเรื่อยไป เราก็เลยพยายามหาเทคนิค หากลวิธีมาช่วยให้มันกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งเดียวให้ได้ สิ่งที่เอามาช่วยนั้นเราเรียกว่า กรรมฐาน (เขียน กัมมัฏฐาน ก็ได้) เป็นเครื่องมือ เป็นที่ทำงาน หรือที่ฝึกงานของจิตใจ


กัมมัฏฐาน แปลว่า ที่่ทำงาน คือที่่ทำงานหรือที่ฝึกงานของจิต เพื่อให้จิตได้รับการฝึกจนสามารถอยู่กับสิ่งเดียวได้ ฝึกให้จิตทำงานเป็น เพราะจิตทำงานไม่ได้ดี จิตยุ่งวุ่นวาย คอยจะเล่นเดี๋ยวก็ไปเที่ยวซุกซน ฟุ้งซ่าน จึงให้มันทำงาน ให้มันอยู่กับสิ่งเดียวให้ได้ เอาลมหายใจมาให้มันกำหนดบ้าง เอาเมตตามาให้มันกำหนดบ้าง เอาอสุภะมาให้มันกำหนดบ้าง เอากสิณมาให้มันเพ่งบ้าง เอามือมาเคลื่อนไหวให้มันตามให้ทันบ้าง เดินจงกรมบ้าง เอามาเป็นอุบายเป็นเทคนิคต่างๆ แต่สิ่งที่ต้องการเมื่อเกิดผลสำเร็จแล้วมีอันเดียวคือ จิตกำหนดจับอยู่กับสิ่งเดียวได้


ถ้าเมื่อใดจิตกำหนดแน่วอยู่กับสิ่งเดียวได้ นั้นคือสมาธิ ไม่ว่าท่านจะใช้วิธีการอย่างไรก็ตาม ขอให้ได้ผลสำเร็จนี้ก็ใช้ได้ ไม่จำเป็นต้องเอาวิธีที่ท่านบอกไว้ก็ได้ แต่วิธีที่ท่านบอกไว้นั้น ท่านเคยได้ทดลองกันมาแล้วว่าได้ผล เป็นประสบการณ์ที่ได้บอกเล่ากันมาบันทึกกันไว้เป็นปริยัติ เราก็เชื่อปริยัติ ในแง่ที่ว่าเป็นประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติมาแล้ว ได้ผลมาแล้ว เราจะได้ไม่ต้องมาลองผิดลองถูกกันอีก


เป็นอันว่าหลักการของ สมถะ มีอันเดียว คือทำให้จิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งเดียวที่ต้องการได้ แล้วก็ตามต้องการได้ด้วย


อยู่กับสิ่งเดียวที่ต้องการ บางทีทำสำเร็จแล้วแต่ไม่ตามต้องการ เช่น มันอยู่ได้สักพักเดียวก็ไปเสียอีกแล้ว อย่างนี้เรียกว่าไม่ได้ตามต้องการ ถ้าจะสำเร็จจริงก็ต้องให้ได้ตามต้องการ จะเอาชั่วโมงก็ได้ชั่วโมง ครึ่งชั่วโมงก็ได้ครึ่งชั่วโมง สองชั่วโมงก็ได้สองชั่วโมง ถ้าอย่างนั้น เรียกว่า สมาธิจริง แน่วแน่ ต้องการให้อยู่กับอะไรนานเท่าาไรก็อยู่กับอันนั้นนานเท่านั้น ใจไม่วอกแวกไปอื่นเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2014, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไป วิปัสสนา จะมีวิธีปฏิบัติมีเทคนิคอย่างไรก็ตาม สาระ หรือหลักการของมันมีอันเดียว คือการรู้เห็นตามเป็นจริง หรือรู้เห็นตามที่มันเป็น ไม่ใช่รู้เห็นตามที่เราคิดให้มันเป็น ไม่ใช่รู้เห็นตามที่อยากให้มันเป็น

คนเรานี้มักจะเป็นอย่างนั้น คือรู้เห็นตามที่คิดให้มันเป็น เรียกว่าคิดปรุงแต่งไป แล้วมันก็เหมือนจะเป็นตามที่คิดอย่างนั้น เมื่อใด รู้เห็นตามที่มันเป็นของมันเป็นของมันจริงๆ ก็เรียกว่า นี่ละเกิดวิปัสสนา ความรู้แจ้งแล้ว วัตถุประสงค์ของวิปัสสนา ตัวหลักการที่แท้ก็เท่านี้เอง คือ รู้เห็นตามที่มันเป็น แต่ว่าเพียงเท่านี้แหละมันยากนักหนา เพราะว่าคนเรารู้เห็นตามที่่ใจอยากให้มันเป็น หรือรู้เห็นตามที่คิดปรุงแต่งให้มันเป็นเสียมาก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2014, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ทีนี้ พอได้หลักแล้ว ต่อไป เมื่อปฏิบัติได้ผลดีแล้ว สมถะก็จะนำไปสู่ผลสำเร็จที่เรียกว่า ฌาน กล่าวคือ พอได้สมาธิลึกๆแล้ว แน่วแน่ขึ้น ดีขึ้นตามต้องการ ต่อไปก็ได้ฌาน


ฌานคือสภาพจิตที่มีสมาธิเป็นแกน ประกอบด้วยคุณสมบัติอื่นๆ ที่ดีงามอีก ๒-๓-๔-๕ อย่าง แล้วแต่ฌานขั้นไหน ฌานเป็นผลผลที่ประสงค์สำคัญของสมถะ หรือจิตตภาวนา


ฝ่ายวิปัสสนา ที่ว่ามีหลักการคือรู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น ผลที่เกิดขึ้นของมันคือ ญาณ ชื่อใกล้กันมาก ระวังสับสน ผลที่มุ่งหมายของวิปัสสนาคือ ญาณ

เมื่อกี้ผลที่ประสงค์ของสมถะ คือ ฌาน พอถึงผลสำเร็จของวิปัสสนาเป็น ญาณ

ฌานของสมถะนั้น แปลว่า การเพ่งพินิจ แน่วแน่อยู่ จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ แต่วิปัสสนาทำให้เกิด ญาณ คือตัวความรู้ หรือความหยั่งรู้ ญาณ จึงเป็นผลที่มุ่งหมายของวิปัสสนา

ที่พูดมาแล้วนี้เป็นผลสำเร็จทั่วไป ต่อไป ผลสำเร็จขั้นสุดท้าย


ผลสำเร็จขั้นสุดท้ายของสมถะ เมื่อทำให้จิตแน่วแน่เป็นอารมณ์เดียวเกิดฌาน พอได้ฌานแล้ว จะเกิดความสำเร็จขั้นสุดท้ายขึ้น คือจิตจะปลอดพันหลุดไป หมายถึงหลุดพ้นไปจากสิ่งที่ไม่ดีที่ไม่ต้องการทั้งหมด


จิตใจของคนเรานี้มีความขุ่นมัว มีความเศร้าหมอง มีกิเลสมีเรื่องทุกข์ร้อนต่างๆ มากมาย พอเราทำสมาธิ ได้ฌานแล้ว จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ สงบ มันก็พ้นไปจากสิ่งที่ไม่ต้องการ สิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่เป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นความขุ่นมัวเดือดร้อนวุ่นวาย สิ่งที่เป็นกิเลสทั้งหมด ก็เรียกว่าเป็นความหลุดพ้น

แต่ความหลุดพ้นนั้นเป็นไปได้ชั่วคราว ตลอดเวลาที่เราอยู่ในสภาพจิตนั้น เมื่อไรเราออกจากสิ่งที่กำหนด ออกจากสมาธิ จิตของเราก็เข้าสภาพเดิม เราก็มีปัญหาได้อีก เราก็มีความทุกข์ได้อีก จิตใจของเราก็มีความขุ่นมัวเศร้าหมอได้อีก อันนี้ จึงถือว่าเป็นความหลุดพ้นชั่วคราว ตอนนี้จะมีความยุ่งเรื่องศัพท์นิดหน่อย ศัพท์ไม่จำเป็นต้องจำ แต่ถือว่าฟังไว้ประดับความรู้ เรียกว่า วิกขัมภนวิมุตติ


วิกขัมภนวิมุตติ บางทีท่านเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สยวิมุตติ แปลว่า หลุดพ้นชั่่วสมัย สมย หรือสมัย แปลว่า เวลา วิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้น พ้นจากกิเลสและความทุกข์ สมย ชั่วสมัย คือชั่วเวลา ได้แก่ ชั่วเวลาที่เราอยู่ในสมาธิ แต่สมัยหลังมักเรียกกันว่า วิกขัมภนวิมุตติ แปลว่า หลุดพ้นด้วยกดทับไว้ เหมือนอย่างเอาหินไปทับหญ้า ทำให้หยุดงอกงามไป พอเอาหินออกแล้วหญ้าก็กลับเจริญงอกงามต่อไปอีก เหมือนกับกิเลสและความทุกข์ พอได้สมาธิ กิเลสและความทุกข์ก็สงบเงียบเหมือนกับหายไปหมดไป แต่พอออกจากสมาธิ กิเลสและความทุกข์นั้นก็เฟื่่องฟูขยายตัวขึ้นมาได้อีก นี่คือผลสำเร็จสุดท้ายของสมาธิหรือของสมถะ คือ สมยวิมุตติ หลุดพ้นชั่วคราว หรือวิกขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นด้วยกดทับหรือข่มไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2014, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ส่วน วิปัสสนา ทำให้เกิดญาณมีความรู้แจ่มแจ้ง รู้ตามที่เป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามที่เป็นจริงแล้ว จิตจะเป็นอิสระหลุดพ้นจากสิ่่งนั้นๆ เด็ดขาดไปเลย

เมื่อเรารู้เข้าใจสิ่งใดตามความเป็นจริงแล้ว จิตของเราก็จะหลุดพ้นจากความยึดติดในสิ่งนั้น แล้วเราก็ไม่ขุ่นมัวไม่ขัดข้อง เพราะส่ิ่งนั้น เมื่อยังไม่รู้ว่าอะไรเราก็ขัดข้องอยู่กับสิ่งนั้น เมื่อเรารู้ เราก็หลุด เราก็พ้นได้ รู้เมื่อไรก็หลุด เมื่อนั้น


ทีนี้ ความรู้เห็นตามเป็นจริงก็นำไปสู่ความหลุดพ้น เป็นอิสระอย่างชนิดเด็ดขาดสิ้นเชิง เรียกว่า อสมยวิมุตติ คือหลุดพ้นไม่จำกัดสมัย เรียกอีกอย่างว่า สมุจเฉทวิมุตติ คือหลุดพ้นโดยเด็ดขาด

นี่เป็นการให้หลักการทั่วๆไป เป็นอันว่า ภาวนา มี ๒ อย่าง


ทวนอีกครั้งหนึ่ง คือ

อย่างที่ ๑ จิตตภาวนา หรือสมถภาวนา หรือสมาธิภาวนา มีหลักการคือการทำให้จิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งเดียว ที่กำหนดได้ตามที่ต้องการ แล้วก็ทำให้เกิดฌาน ทำให้เกิดความหลุดพ้นจากความทุกข์ความทุกข์ความขุ่นมัวเศร้าหมอง จากกิเลสทั้งหลายได้ชั่วคราว


อย่างที่ ๒ ปัญญาภาวนา มุ่งเอาวิปัสสนาภาวนา มีหลักการสำคัญที่เป็นสาระคือการรู้เห็นตามความเป็นจริง หรือ ตามสภาวะของมัน แล้วทำได้เกิดญาณ ความหยั่งรู้ ทำให้เกิดความหลุดพ้นจากความทุกข์ความขุ่นมัวเศร้าหมอง และกิเลสทั้งหลาย อย่างไม่จำกัดกาลเวลา อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิงตลอดไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2014, 20:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


grin
เหนื่อยไหมกรัชกาย บรรยายทฤษฏีเพื่อการปฏิบัติเยอะๆเนี้ยะ

แต่ก็ดีนะเป็นบุญกุศลที่จะให้วิบากที่มาทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในความรู้มากที่พาให้ยากนานเหล่านี้ ช่วงนี้มันยังมันส์อยู่กับความรู้ยิ่ง ก็รู้มันไป ไม่ช้าก็ข้ามได้
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2014, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
grin
เหนื่อยไหมกรัชกาย บรรยายทฤษฏีเพื่อการปฏิบัติเยอะๆเนี้ยะ

แต่ก็ดีนะเป็นบุญกุศลที่จะให้วิบากที่มาทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในความรู้มากที่พาให้ยากนานเหล่านี้ ช่วงนี้มันยังมันส์อยู่กับความรู้ยิ่ง ก็รู้มันไป ไม่ช้าก็ข้ามได้
:b8:



กวักมือเรียกอโศกอยู่สองวันสองคืนแล้ว เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ 2 หัวข้อ ก็ไม่ไป แอบมาแอ๊บแบ้วอยู่นี่ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2014, 20:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


[ s004 s004 quote="กรัชกาย"]
asoka เขียน:
grin
เหนื่อยไหมกรัชกาย บรรยายทฤษฏีเพื่อการปฏิบัติเยอะๆเนี้ยะ

แต่ก็ดีนะเป็นบุญกุศลที่จะให้วิบากที่มาทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในความรู้มากที่พาให้ยากนานเหล่านี้ ช่วงนี้มันยังมันส์อยู่กับความรู้ยิ่ง ก็รู้มันไป ไม่ช้าก็ข้ามได้
:b8:



กวักมือเรียกอโศกอยู่สองวันสองคืนแล้ว เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ 2 หัวข้อ ก็ไม่ไป แอบมาแขวะอยู่นี่ คิกๆๆ[/quote]
:b12:
เห็นออกกระทู้ใหม่รัวเหมือนปืนกล มีแต่เรื่องยาวมากล้นให้ค้นค่า
แถมคำถามเดิมๆแปลงโฉมมา ชวนให้น่าเหน็ดเหนื่อยในดวงจินต์
เราวนไปเวียนมากันอยู่นี่ ในอ่างแห่งวิธีที่ซ้ำหน้า ควรจะมีเรื่องใหม่แปลกแหวกแนวมา ให้ตื่นตาตื่นใจในแง่ธรรม
s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2014, 23:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อันที่จริง การปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาอันมีพระพุทธองค์เป็นพระศาสดานี้
ท่านทรงรู้เห็นอย่างวิเศษ
"รู้" ตามความเป็นจริง จนเบื่อหน่าย และคลายกำหนัดในกายในใจนี้ ซึ่งพระพุทธองค์สอนไว้ชัดเจน
"สมถะ" หรือ "สมาธิ" เป็นเครื่องช่วย หากทำให้พอดี ก็ช่วยให้จิตตั้งมั่น มั่นคง สงบ พอที่จะทำให้จิตเข้มแข็งไป "รู้" อย่างวิเศษได้ อีกส่วน หากทำสมาธิมาก มันติดสงบ แช่อยู่ในความสงบ ยินดีในความนิ่ง ที่ไม่ต้องออกมากระทบโลกภายนอก ส่วนนี้ มีมานานแล้ว ระวังนะ นิ่งๆเฉยๆ เวลาออกมาอยู่กับโลกจะมีอารมณ์โมโหรุนแรงกว่าเดิม เพราะถูกรบกวนความสงบ

หากถามว่า อะไร ช่วยให้ข้ามโลก พ้นโลก "การเห็นอย่างวิเศษ" ช่วยให้ข้ามโลก

ส่วน สมาธิอย่างตั้งมั่น ก็เป็นเครื่องมือในการช่วย ในการเดินปัญญานะ ช่วยกันให้ข้ามพ้นไปได้

และสมาธิแบบความสงบ บางท่านเรียกว่าฌาณ 1 2 3 4 และอาจมีต่อไปอีกนะ บางท่านชำนาญ สามารถเห็นอย่างวิเศษ ในขั้นนี้ได้ ก็สามารถข้ามพ้นได้เหมือนกัน

ทีนี้ จะสรุปว่า ทางไหนถูก ก็คงแล้วแต่จริต ของผู้ลงมือปฏิบัติว่า ชอบกรรมฐานแบบใด แบบใดทำแล้วสติเจริญได้ดี ซึ่งพระพุทธองค์ ทรงให้แนวทางไว้ 4 แนวทาง ด้วยกัน
1. สมาธินำปัญญา
2. ปัญญานำสมาธิ
3. สมาธิและปัญญาควบคู่กัน
4. (ข้อนี้ข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจนัก)

ดังนั้น วิธีการปฏิบัติ ไม่ว่าจะสายไหนๆ อุบายไหนๆ ก็สรุปได้ 4 แนวทางใหญ่ข้างต้น
เมื่อเราทราบแล้วควรพิจารณาด้วยความแยบคาย ว่า ไม่ว่าจะปฏิบัติอย่างไร ก็จะไม่เกินขอบข่ายที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสั่งสอนไว้

และผลสำเร็จสุดท้ายของวิชานี้ ต่อกิจในธรรมวินัยนี้คือ ความบริสุทธิ์ หมดจดจากกิเลสทั้งหลาย ไม่ใช่ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ใดๆ สิ่งเหล่านี้เป็นของแถม ที่ได้จากการเจริญกรรมฐาน ไม่ใช่วัตถุประสงค์ ที่พระพุทธองค์ท่านตั้งใจจะสั่งสอน ดังนั้น สิ่งที่จะวัดว่า ใคร เป็นอะไร ระดับไหน ไม่ใช่ ฤทธิ์ แต่เป็นการละกิเลส ชำระล้างกิเลสในใจต่างหาก ดังนั้น ท่านผู้สำเร็จกิจในธรรมวินัยนี้ จะไม่มีฤทธิ์ก็เป็นได้ แต่ท่านสามารถ ชำระล้างกิเลสได้ ซึ่งเราๆท่านๆ มิสามารถทราบได้หลอกว่าท่านใดถึงที่ใดแล้ว อย่าเผลอไปทำกรรมไม่ดีต่อท่านเหล่านั้นหล่ะ ไม่ว่าจะทางกาย วาจา ใจ หรือแม้กระทั่งการใช้สื่อออนไลน์ก็ถือว่าเป็นกรรมนะ

ทางที่ดีที่สุดที่เราๆท่านๆ จะไปถึงฝั่งได้ดีได้เร็วที่สุด ก็คือ การตั้งใจ สำรวมใจ ในการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นแล ......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2014, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สองใจ เขียน:


ทางที่ดีที่สุดที่เราๆท่านๆ จะไปถึงฝั่งได้ดีได้เร็วที่สุด ก็คือ การตั้งใจ สำรวมใจ ในการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นแล ......


ปริยัติ (การอ่าน การสดับตรับฟัง...) ปฏิบัติ (ลงมือทำ) ปฏิเวธ (ถึงฝั่ง)

คุณสองใจ มีวิธีภาวนา คือลงมือทำยังไง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2014, 14:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อที่หัวข้อนี้ viewtopic.php?f=1&t=47779&p=352423#p352423

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 144 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร