วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 12:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจากหัวข้อนี้ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47736

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีปฏิบัติต่อความอยาก


ในทางธรรมนั้น ท่านแยกวิธีปฏิบัติต่อความอยาก ๒ ประการนี้ ความอยากประเภทที่ ๑ คือ ตัณหา ที่เกิดจากความไม่รู้ หรือเป็นไปโดยไม่มีความรู้ ซึ่งเป็นไปเพื่อการบำรุงบำเรอปรนเปรอประสาทสัมผัสนั้น ท่านบอกว่ามันเกิดขึ้นมาแล้ว เราต้องควบคุมให้ดี หรือแม้แต่ละเลิกให้ได้ แทนที่ด้วยฉันทะ หรือเอาไว้แต่ฉันทะ


ถ้าเรายังไม่มีฉันทะ ไม่มีปัญญามาก ตัณหา นี้ต้องใช้ในลักษณะของการควบคุม หรือเบนเอามาใช้ให้เป็นปัจจัยแก่ ความอยากประเภทที่ ๒ คือจะต้องหันเหให้เข้ามาเป็นความอยากประเภทที่ ๒ ให้ได้


ความอยากประเภทที่ ๒ ที่เรียกว่า ฉันทะ นั้น เกิดขึ้นแล้ว ให้ระงับด้วยการทำให้สำเร็จ เมื่อทำสำเร็จแล้ว ฉันทะนี้จะระงับไปเอง อย่างที่ ๑ นั้น ระงับทันที หรือควบคุมทันทีเมื่อมันเกิดขึ้น หรือว่าคุมทันที หรือว่าเบนทันที ให้มันมาเชื่อมกับฉันทะให้ได้ ส่วนประเภทที่ ๒ คือฉันทะ ไม่ว่าจะเบนมาจากตัณหาก็ตาม หรือเกิดจากความรู้โดยตรงก็ตาม ให้ระงับด้วยการทำให้สำเร็จ


เพราะฉะนั้น ฉันทะนั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าต้องระงับเหมือนกัน แต่ระงับด้วยการทำให้สำเร็จ ไม่ใช่ปล่อยให้มันค้างอยู่ เมื่อมีฉันทะแล้วก็ต้องพยายามทำให้สำเร็จ นี่คือหลักสำคัญในการที่จะปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้า


คนที่จะปฏิบัติธรรม จะต้องมีฉันทะเป็นตัวเริ่มต้น ท่านถือว่า ฉันทะ เป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง ในเมื่อเราจะต้องมีฉันทะเป็นตัวเริ่มต้น เป็นแรงขับเคลื่อนเบื้องแรก จึงต้องรู้จักแยกกันให้ดี ระหว่างความอยากที่ถูกต้อง หรือความอยากที่เป็นธรรม ชอบธรรม กับ ความอยากที่ไม่ถูกต้อง หรือ ความอยากที่ไม่ชอบธรรม แล้วก็เลือกปฏิบัติในความอยากที่ถูกต้องชอบธรรม และการกระตุ้นเร้าให้มันเกิดขึ้นด้วย เพราะฉันทะนี้เป็นแรงจูงใจที่ถูกต้อง


ในภาษาสมัยใหม่เขาใช้คำว่า แรงจูงใจ เราก็แบ่งแรง แรงจูงใจออกเป็น ๒ ประเภท คือ แรงจูงใจประเภทตัณหา ที่ไม่สัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจ และไม่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต กับ แรงจูงใจประเภทฉันทะที่เป็นไปด้วยความรู้ และส่งเสริมคุณภาพชีวิต


ฉันทะหรือความอยากประเภทที่ ๒ นี้ ถ้าเราใช้ภาษาบ้าน ก็จะแยกออกจากฉันทะประเภทที่ ๑ ได้ง่าย ความอยากประเภทที่ ๑ หรือตัณหา นั้น ถ้าแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ก็คือ อยากได้ อยากมี หรือใช้อีกคำหนึ่งว่า อยากเสพ ส่วนฉันทะหรือความอยากฝ่ายกุศล แปลว่า อยากรู้ อยากทำ หรือใฝ่รู้ ใฝ่ทำ เวลาท่านแปลเป็นภาษาบาลีโดยใช้ศัพท์เต็ม ฉันทะท่านขยายเป็น กตฺตุกมฺยตาฉนฺท แปลว่าฉันทะ คือ ความต้องการจะทำ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นบุญเป็นกุศล


ความอยากทั้งสองนี้ เมื่อเอามาใช้ในแนวคิดสมัยใหม่ ก็สัมพันธ์ กับ ค่านิยม คือ อยากได้อยากมี นั้น เข้ากันกับค่านิยมบริโภค ส่วนอยากทำ อยากรู้ เข้ากันกับค่านิยมผลิต มันสัมพันธ์กันอย่างนี้ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องของการปฏิบัติธรรมในความหมายแคบๆ แต่ใช้ได้กับการพัฒนาประเทศทั้งหมดด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ปัจจุบันประเทศของเรามีปัญหาเรื่องค่านิยม และเรื่องแรงจูงใจนี้มาก คนในสังคมมีแรงจูงใจประเภทตัณหามาก และทำให้เกิดค่านิยมบริโภค ซึ่งทำให้ไม่เกิดการสร้างสรรค์ และทำให้พัฒนาประเทศไม่สำเร็จ


คนไทยเรามักมองสิ่งทั้งหลายด้วยความรู้สึกที่อยากจะมีอยากจะใช้เท่านั้น ไม่ได้คิดอยากจะผลิต ทำอย่างไรจะเปลี่ยนให้คนของเรา เมื่อเห็นอะไรที่เป็นความเจริญแล้ว อยากจะทำให้ได้อย่างนั้น


แม้แต่ความเข้าใจในคำว่า เจริญนี่ คนไทยเราก็มักเข้าใจความหมายแบบนักบริโภค ถามว่าเจริญคืออย่างไร เห็นฝรั่งเจริญ เราก็บอกว่า เจริญคือมีใช้อย่างฝรั่ง เพราะฉะนั้น เราก็เป็นนักบริโภค เพราะคิดแต่หาทางให้มีอย่างเขา


ทีนี้ ถ้าเข้าใจความหมายของความเจริญอย่างนักผลิต ก็จะมองใหม่ คือมองว่า เจริญคือทำได้อย่างเขา เราเคยมองอย่างนี้ไหม เด็กหรือคนของเรานี่ มองภาพของความเจริญว่า คือทำได้อย่างเขา มีบ้างไหม แม้แต่ว่าจะเล่น เด็กๆของเราก็มักจะเล่นเพียงเพื่อสนุกสนาน เล่นแบบนักบริโภค นักเสพ เราไม่ค่อยได้ฝึกเด็กของเราให้เล่นแบบนักผลิต หรือนักทำ


สำหรับนักผลิตนั้น แม้แต่จะเล่นก็มีความหมายว่าเล่นแบบนักทำ คือฝึกทำอะไรต่ออะไรให้เป็น พยายามเล่นทำอะไรต่างๆให้เป็น อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก มันสัมพันธ์โยงกันไปหมด

เพราะฉะนั้น จากอันนี้คือแรงจูงใจที่ผิดพลาด เมื่อมีแรงจูงใจแบบตัณหาอยู่แล้ว ก็ยากที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้


ในการแก้ไขปัญหานั้น เราจะมัวมาลบล้างกำจัดตัณหากันอยู่ก็ไม่ไหว เป็นการแก้ด้านลบอย่างเดียว แต่เราก็มักจะเน้นกันมากในแง่นี้ แม้แต่ในวงการนักปฏิบัติก็ไปเน้นที่การลดละตัณหา ลดละความอยาก ไม่เน้นในด้านบวก การเน้นด้านบวกก็คือให้ส่งเสริมฉันทะขึ้นมา ทำอย่างนี้จะเป็นการดีกว่ามัวไปเน้นด้านลบ คือส่งเสริมให้เอาตัวบวกมาแทนตัวลบ เอาฉันทะมาแทนตัณหา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ



ผู้ที่ปฏิบัติธรรมต้องมีฉันทะ แล้วก็ระงับความอยาก ที่เรียกว่า ฉันทะ นั้น ด้วยการทำให้สำเร็จ ซึ่งอันนี้ก็เป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศด้วย เพราะความอยากมี อยากใช้ อยากได้ อยากบริโภคนั้น เป็นตัวการทำให้ประเทศชาติไม่พัฒนา ก็จะต้องแก้ไขปรับปรุงพัฒนาให้มีความอยากทำ อยากผลิต พร้อมทั้งความอยากรู้ จึงจะพัฒนาไปได้

ธรรมฉันทะ แปลว่า อยากในธรรม ธรรมแปลว่า อะไร ธรรมแปลว่า สิ่งที่ดีงาม และความจริง หรือความจริง ความถูกต้องดีงาม


แง่ที่ ๑ ธรรม คือความจริง ธรรมฉันทะ ก็คืออยากในความจริง เมื่ออยากในความจริง ต้องการเข้าถึงความจริง ก็ต้องอยากรู้ เพราะฉะนั้น อยากในความจริงจึงต้องมีความอยากรู้ จึงมีความหมายของฉันทะแง่ที่หนึ่งว่า อยากรู้ หรือใฝ่รู้


แง่ที่ ๒ ธรรม แปลว่า สิ่งที่ดีงาม ธรรมฉันทะ ก็คืออยากให้เกิดมีสิ่งที่ดีงาม เมื่ออยากให้เกิดมีสิ่งที่ดีงาม ก็ต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น สิ่งที่ดีงามจะเกิดมีขึ้นสำเร็จได้ก็ด้วยการทำ เพราะฉะนั้น ธรรมฉันทะหรือเรียกสั้นๆว่า ฉันทะก็จึงมีความหมายว่าอยากทำ


รวมความว่า ต้องการเข้าถึงความจริง และต้องการให้สิ่งเกิดขึ้น เมื่อต้องการเข้าถึงความจริง และให้สิ่งที่ดีงามเกิดขึ้น ก็ต้องอยากรู้และอยากทำ อยากรู้ก็จะได้เข้าถึงความจริง อยากทำก็เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดมีเป็นจริงขึ้นมา เพราะฉะนั้น จึงแปลฉันทะว่า อยากรู้ และอยากทำ


ในเมืองไทยปัจจุบันนี้ต้องส่งเสริมเรื่องนี้ให้มาก ส่งเสริมความใฝ่รู้ และใฝ่ทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังขาดแคลนมากในสังคมไทยปัจจุบัน


รวมความว่า ในหลักของพระพุทธศาสนานี้ มีความอยาก ๒ ประเภท ที่เราจะต้องแยกให้ถูกต้อง อย่าไปนึกว่าการปฏิบัติธรรมนั้น เป็นการพยายามที่มุ่งแต่เพียงลดละความอยาก แล้วก็รังเกียจกลัวความอยาก แสดงตัวว่าไม่มีความอยาก จะทำให้เกิดท่าทีที่ผิดพลาด แล้วก็เป็นภาพที่ไม่ดี ทำให้เกิดผลเสียทั้งแก่ตน เองและพระพุทธศาสนา


อย่างที่บอกแล้วว่า ความอยากที่ถูกต้องสัมพันธ์ กับ ปัญญา ตอนแรกจะต้องรู้ การที่จะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นความจริง และอะไรเป็นสิ่งดีงาม ก็คือต้องมีปัญญา คนเราก็จึงต้องมีการเรียนรู้


การศึกษามีความมุ่งหมายประการหนึ่งเพื่อสร้างแรงจูงใจที่ถูกต้อง แต่แรงจูงใจที่ถูกต้องนั้น จะเกิดมีและเดินหน้าไปไม่ได้ ในเมื่อยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่รู้ว่าความจริงคืออะไร ไม่รู้ว่าสิ่งที่ถูกต้องดีงามคืออะไร แล้วทีนี้ เมื่อการศึกษาดำเนินไปถูกต้องแล้ว การศึกษานั้นก็ทำให้คนเกิดปัญญา มีความรู้ความเข้าใจ เมื่อมองเห็นคุณค่าของสิ่งใด ก็มีฉันทะในสิ่งนั้น พร้อมที่จะมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ซึ่งเป็นลักษณะของการดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา


พระพุทธศาสนาบอกว่า ชีวิตที่ประเสริฐ คือชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา ตอนนี้ไม่ได้เป็นอยู่ด้วยตัณหา ไม่ได้เป็นอยู่ด้วยอวิชชา เปลี่ยนจากความไม่รู้ที่ทำให้ดิ้นรนไปตามความอยาก ซึ่งแต่จะบำรุงบำเรอตนเอง หันมามีความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้วจึงมีความต้องการในสิ่งต่างๆ อย่างถูกต้อง จึงอยากในสิ่งที่ควรอยาก คืออยากในสิ่งที่รู้ว่ามีคุณประโยชน์ ทำให้เกิดคุณภาพชีวิต


ความอยากอย่างนี้จึงต้องเริ่มต้นด้วยความรู้ก่อน หรือเป็นไปพร้อมด้วยความรู้ ความต้องการหรือแรงจูงใจที่ถูกต้องจึงเริ่มจากการมีความรู้ แต่จะมีความรู้ได้ก็ต้องศึกษาคือพัฒนาคนให้มีปัญญา เมื่อมีปัญญาจึงจะรู้จักที่จะอยากอย่างถูกต้อง แล้วก็ดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง เมื่อชีวิตดำเนินไปอย่างนี้ก็จึงเป็นชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศกมีอะไรเสริมเติมแต่งไหมขอรับ ห้อยท้ายได้นะ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 18:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ท่านอโศกมีอะไรเสริมเติมแต่งไหมขอรับ ห้อยท้ายได้นะ :b1:

:b8:
การศึกษา แจงแจง วิเคราะห์วิจัยเรื่องของตัณหาเป็นสิ่งที่ดี แต่อาจทำให้มากความไปก็เป็นได้ ผู้ใหม่อาจงงและสับสน อีกทั้งตัณหายังเป็นเหตุรองไม่ใช่เหตุหลักที่แท้จริงของทุกข์และวัฏฏสงสารทั้งหมด

การศึกษาเรื่องของตัณหาน่าจะชี้ประเด็นไปที่ ตัณหา ความอยาก เกิดจากเหตุใด เกิดกับใครหรือสิ่งใด จะถอนทำลายตัณหาได้ที่ไหนจึงจะไม่ยากไม่มากความ

ตัณหา........ความอยาก........ใครอยาก........ถ้าไม่มี ใคร เสียแล้ว อยากจะเกิดได้ไหม

งานของเราเอาอยาก หรือ เอา ใคร ออกจึงจะใช่และดีถูกต้องตามธรรม ดังนี้เป็นต้น

tongue
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เทียบการสนทนาความอยาก (ตัณหา) กับอโศกข้างบน ^ กับที่ก่อนหน้า V :b1:

อ้างคำพูด:
อโศกเขียน

เอาตัณหา ไปถอนตัณหา นั่นแหละ เหมือนอุปมาว่า "เกลือจิ้มเกลือ" อัฐยายซื้อขนมยาย"

เข้าใจ๋บ่........นักวิชาการใหญ่

กรักชายเขียน

วิธีทำ ทำยังไง ขอรับ นักปฏิบัติใหญ่ คิกๆๆ

ดูนะ อโศกจะเหมือนๆนักชิม ดื่มๆซดๆว่านั่นอร่อยลิ้น นี่ไม่อร่อย แต่พอให้ทำกินเอง หงายท้องเลย แล้วลุกขึ้นมาถามกลับว่า ใช้อะไรใส่อะไรบ้างล่ะ :b32:

อโศกเขียน

ถามแบบไม่คิดพิจารณาให้ดีเหมือนเด็กปัญญาอ่อนอีกแล้ว นักวิชาการใหญ่กรัชกาย ภาษิตไทยง่ายๆอย่างนี้ยังตีความไม่ออก บอกใครไม่เป็น แล้วมันจะไปรอดรื้อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ต่อ



ผู้ที่ปฏิบัติธรรมต้องมีฉันทะ แล้วก็ระงับความอยาก ที่เรียกว่า ฉันทะ นั้น ด้วยการทำให้สำเร็จ ซึ่งอันนี้ก็เป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศด้วย เพราะความอยากมี อยากใช้ อยากได้ อยากบริโภคนั้น เป็นตัวการทำให้ประเทศชาติไม่พัฒนา ก็จะต้องแก้ไขปรับปรุงพัฒนาให้มีความอยากทำ อยากผลิต พร้อมทั้งความอยากรู้ จึงจะพัฒนาไปได้

ธรรมฉันทะ แปลว่า อยากในธรรม ธรรมแปลว่า อะไร ธรรมแปลว่า สิ่งที่ดีงาม และความจริง หรือความจริง ความถูกต้องดีงาม


แง่ที่ ๑ ธรรม คือความจริง ธรรมฉันทะ ก็คืออยากในความจริง เมื่ออยากในความจริง ต้องการเข้าถึงความจริง ก็ต้องอยากรู้ เพราะฉะนั้น อยากในความจริงจึงต้องมีความอยากรู้ จึงมีความหมายของฉันทะแง่ที่หนึ่งว่า อยากรู้ หรือใฝ่รู้


แง่ที่ ๒ ธรรม แปลว่า สิ่งที่ดีงาม ธรรมฉันทะ ก็คืออยากให้เกิดมีสิ่งที่ดีงาม เมื่ออยากให้เกิดมีสิ่งที่ดีงาม ก็ต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น สิ่งที่ดีงามจะเกิดมีขึ้นสำเร็จได้ก็ด้วยการทำ เพราะฉะนั้น ธรรมฉันทะหรือเรียกสั้นๆว่า ฉันทะก็จึงมีความหมายว่าอยากทำ


รวมความว่า ต้องการเข้าถึงความจริง และต้องการให้สิ่งเกิดขึ้น เมื่อต้องการเข้าถึงความจริง และให้สิ่งที่ดีงามเกิดขึ้น ก็ต้องอยากรู้และอยากทำ อยากรู้ก็จะได้เข้าถึงความจริง อยากทำก็เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดมีเป็นจริงขึ้นมา เพราะฉะนั้น จึงแปลฉันทะว่า อยากรู้ และอยากทำ


ในเมืองไทยปัจจุบันนี้ต้องส่งเสริมเรื่องนี้ให้มาก ส่งเสริมความใฝ่รู้ และใฝ่ทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังขาดแคลนมากในสังคมไทยปัจจุบัน


รวมความว่า ในหลักของพระพุทธศาสนานี้ มีความอยาก ๒ ประเภท ที่เราจะต้องแยกให้ถูกต้อง อย่าไปนึกว่าการปฏิบัติธรรมนั้น เป็นการพยายามที่มุ่งแต่เพียงลดละความอยาก แล้วก็รังเกียจกลัวความอยาก แสดงตัวว่าไม่มีความอยาก จะทำให้เกิดท่าทีที่ผิดพลาด แล้วก็เป็นภาพที่ไม่ดี ทำให้เกิดผลเสียทั้งแก่ตน เองและพระพุทธศาสนา


อย่างที่บอกแล้วว่า ความอยากที่ถูกต้องสัมพันธ์ กับ ปัญญา ตอนแรกจะต้องรู้ การที่จะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นความจริง และอะไรเป็นสิ่งดีงาม ก็คือต้องมีปัญญา คนเราก็จึงต้องมีการเรียนรู้


การศึกษามีความมุ่งหมายประการหนึ่งเพื่อสร้างแรงจูงใจที่ถูกต้อง แต่แรงจูงใจที่ถูกต้องนั้น จะเกิดมีและเดินหน้าไปไม่ได้ ในเมื่อยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่รู้ว่าความจริงคืออะไร ไม่รู้ว่าสิ่งที่ถูกต้องดีงามคืออะไร แล้วทีนี้ เมื่อการศึกษาดำเนินไปถูกต้องแล้ว การศึกษานั้นก็ทำให้คนเกิดปัญญา มีความรู้ความเข้าใจ เมื่อมองเห็นคุณค่าของสิ่งใด ก็มีฉันทะในสิ่งนั้น พร้อมที่จะมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ซึ่งเป็นลักษณะของการดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา


พระพุทธศาสนาบอกว่า ชีวิตที่ประเสริฐ คือชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา ตอนนี้ไม่ได้เป็นอยู่ด้วยตัณหา ไม่ได้เป็นอยู่ด้วยอวิชชา เปลี่ยนจากความไม่รู้ที่ทำให้ดิ้นรนไปตามความอยาก ซึ่งแต่จะบำรุงบำเรอตนเอง หันมามีความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้วจึงมีความต้องการในสิ่งต่างๆ อย่างถูกต้อง จึงอยากในสิ่งที่ควรอยาก คืออยากในสิ่งที่รู้ว่ามีคุณประโยชน์ ทำให้เกิดคุณภาพชีวิต


ความอยากอย่างนี้จึงต้องเริ่มต้นด้วยความรู้ก่อน หรือเป็นไปพร้อมด้วยความรู้ ความต้องการหรือแรงจูงใจที่ถูกต้องจึงเริ่มจากการมีความรู้ แต่จะมีความรู้ได้ก็ต้องศึกษาคือพัฒนาคนให้มีปัญญา เมื่อมีปัญญาจึงจะรู้จักที่จะอยากอย่างถูกต้อง แล้วก็ดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง เมื่อชีวิตดำเนินไปอย่างนี้ก็จึงเป็นชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา

พี่กรัชกาย แสดงว่าจิตคุนน้องที่ผุดขึ้นมาสอนธรรม เป็นปัญญาจริงๆใช่ไหมเจ้าค่ะ เพราะคำว่าธรรม บอกตรงๆคุนน้องเอ๋อไปไม่เป็นอ่าน่ะคือไม่เข้าใจว่า ธรรมนี่มันยังไง อะไรถึงเรียกว่าธรรม แล้วจิตก็ผุดมาสอนว่า ธรรม คือความจริงของสิ่งเหล่านั้น คุนน้องสนใจคำว่า สิ่งเหล่านั้น มันคลอบคลุมกว้างมากเลย ในความหมายของธรรม ถ้าเราไม่มีปัญญาเราจะรู้ไหมว่า สิ่งเหล่านั้นอะไรเล่าคือความจริง นึกๆแล้วก็แปลกใจที่ทำไมคุนน้องเกิดตัวรู้ขึ้นมาในจิตตอนตกภวังค์ คุนน้องพูดความจริงนะเจ้าค่ะว่า จิตผูดตอนตกภวังค์หลับอยู่ และตอนนั้นก็เหมือนว่า จิตถามตอบกัน แต่ไม่เข้าใจว่า จิตที่เกิดดับสลับกันนั้น เป็น จิตที่ผุดขึ้นเพราะสะสมมาแบบนั้น หรือเป็นเพราะเสียงกระซิบของกัลยามิตรหรือครูบาอาจารย์ที่มีกระแสเกี่ยวเนื่องกับคุนน้องหรือเปล่า คือบางครั้งก็ยังสับสนตนเองเพราะ คุนน้องเป็นคนไม่เชื่ออะไรง่ายๆ เพราะแม้แต่จิต คุนน้องยังไม่เชื่อด้วยซ้ำ ถ้ามีใครมาบอกให้คุนน้องเข้าใจ คงจะง่ายกว่าให้คุนน้องยอมเข้าใจมันเอง ให้รู้ด้วยตนเองนี่ คงรู้ยากแน่ๆเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2014, 20:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้มีดวงตา เมื่อทราบแล้ว มองย้อนกลับไปย่อม พิจารณาเห็นถึง เหตุ และผล
ความอยากนั้น ก็มีลักษณะเดียวกันกับธรรมทั้งหลาย มีเหตุ ปรากฏอยู่ และ ดับไปเมื่อเหตุดับ

เมื่อพิจารณาเห็นเช่นนี้แล้ว เราจักเห็น ว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา เรื่องของโลก
ไม่ควรยึด ไม่ปรุงแต่งต่อ
ในเมื่อไม่ปรุงต่อ ความอยาก ก็เป็นแค่สภาวะ นึงเท่านั้น
ไม่สามารถไปกระตุ้น อะไรๆให้เกิดขึ้นได้อีก
ก็เพราะ ทราบแล้ว รู้แล้ว แจ้งแล้ว
ไม่มีประโยชน์ ซ้ำยังเป็นของหนัก ขวางทางอีกต่างหาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2014, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


สองใจ เขียน:
ผู้มีดวงตา เมื่อทราบแล้ว มองย้อนกลับไปย่อม พิจารณาเห็นถึง เหตุ และผล
ความอยากนั้น ก็มีลักษณะเดียวกันกับธรรมทั้งหลาย มีเหตุ ปรากฏอยู่ และ ดับไปเมื่อเหตุดับ

เมื่อพิจารณาเห็นเช่นนี้แล้ว เราจักเห็น ว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา เรื่องของโลก
ไม่ควรยึด ไม่ปรุงแต่งต่อ
ในเมื่อไม่ปรุงต่อ ความอยาก ก็เป็นแค่สภาวะ นึงเท่านั้น
ไม่สามารถไปกระตุ้น อะไรๆให้เกิดขึ้นได้อีก
ก็เพราะ ทราบแล้ว รู้แล้ว แจ้งแล้ว
ไม่มีประโยชน์ ซ้ำยังเป็นของหนัก ขวางทางอีกต่างหาก

ขอบคุนคุนสองใจนะเจ้าค่ะ ที่มาชี้แนะคุนน้องว่าไม่ให้ปรุงแต่งต่อ คุนน้องทราบว่า จิตมันเกิดดับ คุนน้องจะเกิดอุปทานบ้างในสิ่งที่ปรากฏขึ้นมันก็ไม่แปลกใช่ไหม ก็คุนน้องยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม คุนน้องต้องการเห็นความจริงทุกสิ่งทุกอย่างในโลกแห่งนี้ เมื่อเห็นแล้วทำไมมันจะไม่มีประโยชน์หละเจ้าค่ะ เพราะถ้าคุนน้องเห็นคุนน้องก็ย่อมนำสิ่งที่เห็นสิ่งที่รู้มาบอกผู้อื่นให้รู้ตามได้ แล้วที่บอกไม่มีประโยชน์ อะไรค่ะไม่มีประโยชน์ อะไรคือของหนัก คุนน้องไม่เห็นว่าสังขารธรรมที่ผุดขึ้นมาเป็นของหนัก มันทำให้คุนน้องเข้าใจอะไรๆได้เพราะมันผุดขึ้นมานี่แหละ แต่เมื่อยังสงสัยก็ถามเพื่ออยากรู้คำตอบ แต่ถ้าไม่มีผู้ใดให้คำตอบได้ คุนน้องก็ทราบดีว่า คงมีแค่ตนเองที่ต้องหาคำตอบหาความจริงในสิ่งเหล่านั้น คุนน้องเข้าไม่ถึงธรรม ไม่มีดวงตาในชาตินี้ก็ไม่ได้รู้สึก สะดุ้งหรือหวาดกลัวอะไรกับวัฏฏะเลย คุนน้องอยากเป็นพหูสูตร อยากเป็นคนที่รู้ทุกอย่าง และอยากสอนอยากบอกคนอื่น เหมือนพระพุทธองค์ที่ยังยอมวนเวียนในวัฏฏะเพื่อสรรพสัตว์ มันจะเป้นของหนักคุนน้องก็เต็มใจแบกเจ้าค่ะ เพราะแบกปัญญาไปทุกภพทุกชาติ มันไม่ได้หนักสำหรับคุนน้อง ดีกว่าแบกเงินแบกทองแค่ชาติเดียวแล้วสูญ ในเมื่อคุนน้องยังไม่รู้ คุนน้องก็จะต้องรู้ รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง และสิ่งที่รู้มันต้องมีประโยชน์มันต้องบอกคนอื่นได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2014, 11:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออภัยในสิ่งที่ข้าพเจ้าอธิบาย ไม่ละเอียดพอ
ไม่มีประโยชน์ในที่นี้ หมายถึง ไม่มีประโยชน์ที่จะไปยึด ไปยื้อ ความอยากนั้น ด้วยการสนองตัวตน
ทำตามความต้องการนั้น

ของหนัก หมายถึง หากท่านเข้าไปยึด ไปยื้อมา สนองตัวตนอยู่เช่นนั้น ท่านจะไม่สามารถพ้นไปได้

พระอริยเจ้าชั้นสูงทั้งหลาย ท่านวางแล้ว แจ้งแล้ว แทงตลอดแล้ว ท่านจึงเบา และพ้นไปได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2014, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาธรรมะเพื่อให้มีความเข้าใจว่าไม่มีเรา ไม่ใช่ของเรา
ตัณหาก็เป็นธรรมะ เกิดแล้วเพราะปัจจัย แล้วก็ดับไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2014, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:



พี่กรัชกาย แสดงว่าจิตคุนน้องที่ผุดขึ้นมาสอนธรรม เป็นปัญญาจริงๆใช่ไหมเจ้าค่ะ เพราะคำว่าธรรม บอกตรงๆคุนน้องเอ๋อไปไม่เป็นอ่าน่ะคือไม่เข้าใจว่า ธรรมนี่มันยังไง อะไรถึงเรียกว่าธรรม แล้วจิตก็ผุดมาสอนว่า ธรรม คือความจริงของสิ่งเหล่านั้น คุนน้องสนใจคำว่า สิ่งเหล่านั้น มันคลอบคลุมกว้างมากเลย ในความหมายของธรรม ถ้าเราไม่มีปัญญาเราจะรู้ไหมว่า สิ่งเหล่านั้นอะไรเล่าคือความจริง นึกๆแล้วก็แปลกใจที่ทำไมคุนน้องเกิดตัวรู้ขึ้นมาในจิตตอนตกภวังค์ คุนน้องพูดความจริงนะเจ้าค่ะว่า จิตผูดตอนตกภวังค์หลับอยู่ และตอนนั้นก็เหมือนว่า จิตถามตอบกัน แต่ไม่เข้าใจว่า จิตที่เกิดดับสลับกันนั้น เป็น จิตที่ผุดขึ้นเพราะสะสมมาแบบนั้น หรือเป็นเพราะเสียงกระซิบของกัลยามิตรหรือครูบาอาจารย์ที่มีกระแสเกี่ยวเนื่องกับคุนน้องหรือเปล่า คือบางครั้งก็ยังสับสนตนเองเพราะ คุนน้องเป็นคนไม่เชื่ออะไรง่ายๆ เพราะแม้แต่จิต คุนน้องยังไม่เชื่อด้วยซ้ำ ถ้ามีใครมาบอกให้คุนน้องเข้าใจ คงจะง่ายกว่าให้คุนน้องยอมเข้าใจมันเอง ให้รู้ด้วยตนเองนี่ คงรู้ยากแน่ๆเลย



ผู้ปฏิบัติต้องกำหนดรู้เท่าทันทุกๆสภาวะตามที่มันเป็นของมันทุกขณะ จึงจะเห็นต้นสายปลายเหตุของมัน เมื่อรู้เห็นต้นเหตุมันแล้ว จิตก็หลุดพ้นจากความสงสัยความติดข้อง

ถ้ายังสงสัยอยู่ยังข้องอยู่ก็แสดงว่า ยังไม่เห็นต้นเหตุของมัน

ธรรมชาติคือจิตนี้มีอะไรมากกว่าที่เราคิด :b1:

ตัวอย่างหนึ่ง


อ้างคำพูด:
พอดีเมื่อวานได้นั่งสมาธิแล้วได้กำหนดพุธ-โธเมื่อจิตสงบก็ พิจารณากายในกาย เช่นหายใจเข้าเป็นลมเข้าไปสู่ร่างกายออกมาพิจาณาสิ่งปฏิกูลในร่างกายไป สักพัก เหมือนเปลี่ยนฐานะตัวเองเป็นผู้ดู มีสติ เห็นเหมือนภาพ มีกล่องใบใหญ่มาก สีขาว

ทันใดนั้นกายก็ถูกแยกออกเป็นส่วนๆ เช่น ปอด ม้าม ตับ ไต ไส้ สมอง เล็บ ขน ฟัน หลุดเอาไปรวมในกล่องนั้น แล้วก็มีภาพพ่อ แม่ คนที่มีใจผูกพันธ์ ถูกแยกกายออกเป็นชิ้นๆเหมือนเราอวัยวะถูกรวมไปในกล่องใหญ่ใบนั้น จิตเรามันอยากเห็นอะไรในกล่องพอมองลงไปก็เห็นแต่อวัยวะต่างๆกองรวมกัน

ทันใดก็มีเสียงหนึ่งถามว่า "กายเธออยู่ที่ไหน" เมื่อได้เห็นแบบนี้ก็เลยตอบว่า "ไม่มี" แล้วเสียงนั้นก็ตอบว่า "แล้วจิตเธออยู่ที่ไหน" ดิฉันพยายามมองหาคำตอบว่า จิตอยู่ที่ไหน เพราะตอนนี้กายไม่มีแล้ว ก็จะบริกรรมพุธโธต่อแต่ ไม่มีกายก็ไม่มีลม คำบริกรรมก็หาย มันมีสภาวะที่โล่งๆว่างๆ เลยตอบไปว่า "จิตก็คงไม่มี" แล้วมันก็สว่างวาบแล้วเหมือนมีกระแสไฟกระจายไปทั่วความสว่างนั้น

อยากจะถามผู้รู้ ว่า

1.สิ่งที่เกิดขึ้นนี่คืออะไร เป็นนิมิตอะไร อะไรแสดงธรรมอยู่
2.ดิฉันควรปฏิบัติต่อไปอย่างไร

ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ครั้งแรก ดิฉันเห็นตัวเองเป็นซากศพ มีอะไรมากัดกิน
ส่วนครั้งอื่นๆ จะไม่เกิดนิมิตเกิดแต่ความสว่างจ้า สถาวะสงบสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 64 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร