วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เนื้อความต่อจากหัวข้อนี้
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47729

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวแท้ของปฏิบัติอยู่ที่ไหน


เริ่มด้วยชุดแรกก่อน ที่่เรียกว่า ปฏิบัติ ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คำว่า ปฏิบัติ จะต้องมีความหมายครบ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แต่ปัจจุบันนี้ เรามักจะใช้คำว่า ปฏิบัติโดยเน้นไปที่สมาธิกันมาก

ศีล สมาธิ ปัญญานี้ เราจะเห็นว่าเรียงจากข้างนอกไปหาข้างใน


ศีล อยู่ที่ตัวของเราที่มองเห็น คือตัวของเราที่แสดงออกมาภายนอก ทางกาย และทางวาจา ถ้ากระทำทางกาย ก็เป็นกายกรรม ถ้าเป็นด้านวาจา คือ คำพูด ก็เป็นวจีกรรม แม้ว่าทั้งหมดนั้น จะออกมาจากใจ คือ เจตนา แต่การกำหนดศีลนั้น กำหนดที่พฤติกรรม ซึง่แสดงออกมาทางกาย และวาจา อยู่ที่ตัวเราที่ต่อกับภายนอก

ข้อต่อไปคือสมาธิ ลึกเข้าไปข้างในมองไม่เห็น ไม่อยู่ที่ตัวข้างนอก ไม่มองเห็นที่กาย วาจา แต่อยู่ที่จิตใจ

แล้วสุดท้ายก็ปัญญา เป็นขั้นที่อาศัยจิตนั่นแหละทำงาน เมื่อใช้จิตนั้นทำงานให้เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลาย ก็เกิดปัญญาขึ้น เป็นส่วนที่มาเสริม เพื่อปรับปรุงคุณภาพของจิตใจ แล้วจิตใจที่มีความรู้มีปัญญา ก็เอาความรู้นั้นมาใช้ปรับปรุงชีวิตด้านกาย วาจา อีกต่อหนึ่ง อันนี้ก็เป็นเรื่องของการปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้างบน ^ ท่านอโศกพอดูเข้าใจไหมขอรับ :b32: คิกๆๆ

นำมาจากหนังสือ "ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง" โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ชุดที่ ๒ ที่เน้นสำหรับคฤหัสถ์ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา ชุด ทาน ศีล ภาวนา นี้จะเห็นว่า เน้นส่วนภายนอกมากขึ้น เริ่มจากทาน ทานนี้ไปจับที่ของนอกตัวเลย ศีลยังอยู่ที่ตัว แต่ทานนี่ออกไปที่ข้างนอกตัว เป็นการเอาสิ่งของไปให้แก่ผู้อื่น การเอื้อเฟื้อช่วยเหลือเผื่อแผ่กัน พอถึงศีลก็มาอยู่ที่ตัว จากข้างนอกตัวแล้วมาอยู่ที่ตัว เสร็จแล้วถึงภาวนาก็เข้าไปในตัว

ภาวนาที่เข้าไปในตัวก็ไปแยกเป็น ๒ ส่วน คือ ด้านจิตที่เป็นสมาธิ กับ ด้านปัญญา ได้แก่ สมาธิ และ ปัญญามารวมเข้าด้วยกันเป็นภาวนา

คำว่า ภาวนา นั้น หมายถึงทั้งภาวนาที่เป็นการฝึกอบรมด้านจิต ซึ่งเรียกว่าจิตตภาวนา และภาวนาที่เป็นการฝึกอบรมด้านปัญญา ที่เรียกว่า ปัญญาภาวนา ภาวนาจึงแบ่งเป็น ๒ คือ จิตตภาวนา กับ ปัญญาภาวนา พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นสมาธิ และ ปัญญานั่นเอง


เพราะฉะนั้น ๒ ชุด คือ ทาน ศีล ภาวนา กับ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ ที่จริงก็เรื่องเดียวกัน แต่ชุดหนึ่งเน้นด้านภายนอก เน้นด้านหยาบ จัดเป็นทาน ศีล และภาวนา โดยขยายด้านนอกเป็น ๒ อย่าง คือ ทาน กับ ศีล เอาข้างใน ๒ อย่างคือ สมาธิ และ ปัญญาไปยุบเป็นภาวนาอย่างเดียว


ส่วนชุด ทาน ศีล ภาวนา นั้น เอาด้านในคือภาวนาไปแยกละเอียดเป็นจิต (สมาธิ) กับ ปัญญา แต่ด้านนอกคือทาน กับ ศีล นั้นรวมเป็นอันเดียว เพราะว่า ศีล นั้นหลักการก็คืออยู่ร่วมกันด้วยดี กับ ผู้อื่นในสังคม ส่วนทานก็เป็นองค์ประกอบในการที่จะอยู่ร่วมกันด้วยดีกับผู้อื่นในสังคม ก็เลยมารวมอยู่ในคำว่า ศีล


เพราะฉะนั้น เมื่อท่านได้ฟังคำว่า ทาน ศีล ภาวนา กับ ศีล สมาธิ ปัญญานี้ ก็ให้ทราบว่า ที่จริงเป็นระบบอันเดียวกัน แต่เราแยกเพื่อให้เห็นจุดเน้นที่ต่างกัน สำหรับคฤหัสถ์จะเน้นด้านนอก จัดเป็นทาน ศีล ภาวนา แต่สำหรับพระสงฆ์จะเน้นด้านใน วางหลักเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

อนึ่ง ชื่่อเรียกก็คล้ายๆกัน ชุด ศีล สมาธิ ปัญญา ทุกท่านรู้จักกันดีแล้วว่าไตรสิกขา ไตร แปลว่า ๓ สิกขา คือ การศึกษา รวมเป็นไตรสิกขา แปลว่า การศึกษา ๓ อย่าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 พ.ค. 2014, 13:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ส่วนชุดทาน ศีล ภาวนา เรียกชื่อต่างไปนิดหนึ่งว่า ปุญญสิกขา หรือ บุญสิกขา ก็คือ การฝึกฝนในเรื่องความดี หรือการฝึกหัดทำความดีนั่นเอง ปุญญ = ความดี สิกขา = การฝึกอบรม คือ การฝึกฝนปฏิบัติอบรมในเรื่องความดี การทำให้คนเจริญงอกงามขึ้นในความดีต่างๆ ด้วยทาน ศีล ภาวนา

รวมแล้วทั้ง ๒ ชุดก็เป็นอันเดียวกัน ต่างกันที่จุดเน้นดังกล่าว

จากที่พูดมานี้ จะเห็นได้ทันทีว่า ในเรื่องการศึกษานั้น สาระสำคัญของมันมาปรากฏเด่นที่การปฏิบัติ เพราะว่า การศึกษานั้น คือ สิกขา ซึ่งหมายถึง ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ทาน ศีล ภาวนานั้น และสิกขา หรือการศึกษา ๓ อย่างนั่นแหละ ที่ท่านบอกว่าเป็นการปฏิบัติ

เมื่อเป็นเช่นนี้ การศึกษาอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่ตัวการปฏิบัติ คือ อยู่ที่ทาน ศีล ภาวนา อยู่ที่ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเรื่องของการกระทำทั้งนั้น

ฉะนั้น การศึกษาต้องเน้นที่การปฏิบัติ ไม่ใช่ความหมายที่ว่าเพียงมาเล่าเรียนตำรับตำรา นี้เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันในเบื้องต้น


อย่างไรก็ตาม เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ต่อไป เราสามารถใช้ศัพท์ตามที่นิยมกันได้ ถึงแม้จะใช้คำว่าปฏิบัติธรรม โดยรู้ตามเขาว่าจะไปทำสมาธิก็เอา แต่เรารู้ว่าที่จริงนั้นความหมายมันกว้าง หมายถึงเอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตทั้งหมด ในการกระทำทุกอย่าง หรือเมื่อพูดว่าศึกษา และปฏิบัติ ก็ต้องรู้ว่า ที่จริงศึกษานั้น คลุมปฏิบัติอยู่แล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ปฏิบัติโดยไม่มีปริยัติ จริงหรือ


ขอก้าวต่อไป ในการทำความเข้าใจเบื้องต้น เพื่อปรับความรู้ความเข้าใจให้เข้ากันดีก่อน มีผู้ถกเถียงกันว่า ไปปฏิบัติเลยโดยไม่มีปริยัติก็ได้ เข้าป่าไปอยู่กับอาจารย์ หรือไปอยู่คนเดียว ไปถึงก็ลงมือบำเพ็ญสมาธิเลย ไม่ต้องมีปริยัติ นอกจากนั้นก็ยังมีการติเตียนว่า ถ้าปริยัติอย่างเดียวโดยไม่ปฏิบัติ ก็ไม่ทำให้ได้ประโยชน์อะไรขึนมา เพราะเมื่อไม่มีการปฏิบัติก็ไม่เกิดผลคือปฏิเวธ นี่ก็เป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ แต่ก่อนที่จะเข้าใจเรื่องนี้ก็ต้องรู้ความสัมพันธ์ระหว่าง่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เล็กน้อย

อย่างที่กล่าวมาในเบื่องต้นแล้วว่า ปริยัติคือการเล่าเรียน สดับฟังจากผู้อื่น แม้แต่พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพระธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เป็นสิ่งที่ได้รับฟังมาจากผู้อื่น คือรับฟังจากที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้


ต่อที่นี่ viewtopic.php?f=2&t=43806

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 21:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ข้างบน ^ ท่านอโศกพอดูเข้าใจไหมขอรับ :b32: คิกๆๆ

นำมาจากหนังสือ "ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง" โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

s004
อย่าให้มันเยอะแยะและกว้างขวางเกินไป ทำให้สั้นและเรียบง่ายน่าจะดีนะ

เพราะจั่วหัวว่า "ปฏิบัติธรรม" จึงสามารถกินความไปได้กว้างๆ การกระทำทุกอย่างในชีวิตของมนุษย์ในชีวิตประจำวันจึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการปฏิบัติธรรมทั้งสิ้น ซึ่งก็ถูกต้อง ไม่ผิดอะไร

แต่ถ้าเรามาจั่วหัวว่า "ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น"

อย่างนี้สิจึงจะมีขอบเขตที่แคบ ชี้ชัด ลัดตรง ปลงจิต ไม่คิดเรื่องอื่น ยืนยัน มั่นคงอยู่ในทางอันเอก คือมัชฌิมาปฏิปทา การเดินทางบนถนนสายกลางคือมรรคมีองค์ 8 อย่างเข้มข้นและเป็น Intensive
ถ้าเป็นอย่างนี้

ปริยัติจะพอดี ๆ ไม่เฝือ ไม่มากเกินไป

[b]ปฏิบัติคือเจริญสติ เจริญปัญญา หรือภาวนาจะมากและสอดคล้องเข้าไปในชีวิตประจำวัน


ปฏิเวทจะพอกพูนให้ผลมากขึ้นเรื่อยๆตลอดเวลา
:b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ข้างบน ^ ท่านอโศกพอดูเข้าใจไหมขอรับ :b32: คิกๆๆ

นำมาจากหนังสือ "ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง" โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

s004
อย่าให้มันเยอะแยะและกว้างขวางเกินไป ทำให้สั้นและเรียบง่ายน่าจะดีนะ

เพราะจั่วหัวว่า "ปฏิบัติธรรม" จึงสามารถกินความไปได้กว้างๆ การกระทำทุกอย่างในชีวิตของมนุษย์ในชีวิตประจำวันจึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการปฏิบัติธรรมทั้งสิ้น ซึ่งก็ถูกต้อง ไม่ผิดอะไร

แต่ถ้าเรามาจั่วหัวว่า "ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น"

อย่างนี้สิจึงจะมีขอบเขตที่แคบ ชี้ชัด ลัดตรง ปลงจิต ไม่คิดเรื่องอื่น ยืนยัน มั่นคงอยู่ในทางอันเอก คือมัชฌิมาปฏิปทา การเดินทางบนถนนสายกลางคือมรรคมีองค์ 8 อย่างเข้มข้นและเป็น Intensive
ถ้าเป็นอย่างนี้

ปริยัติจะพอดี ๆ ไม่เฝือ ไม่มากเกินไป

[b]ปฏิบัติคือเจริญสติ เจริญปัญญา หรือภาวนาจะมากและสอดคล้องเข้าไปในชีวิตประจำวัน


ปฏิเวทจะพอกพูนให้ผลมากขึ้นเรื่อยๆตลอดเวลา
:b44:


อ้างคำพูด:
ปฏิบัติคือเจริญสติ เจริญปัญญา หรือภาวนาจะมากและสอดคล้องเข้าไปในชีวิตประจำวัน


อโศก นี่ดีแต่พูด ไหนลองบอกวิธีเจริญแต่ละอย่างๆมาหน่อยสิ หรือที่อย่างที่เคยบอกบ่อยๆประมาณว่า ...นิ่งดูไม่ตะบอย ตะงอย...จิตจะถอยจากความเป็นกู... คิกๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 09:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ข้างบน ^ ท่านอโศกพอดูเข้าใจไหมขอรับ :b32: คิกๆๆ

นำมาจากหนังสือ "ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง" โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

s004
อย่าให้มันเยอะแยะและกว้างขวางเกินไป ทำให้สั้นและเรียบง่ายน่าจะดีนะ

เพราะจั่วหัวว่า "ปฏิบัติธรรม" จึงสามารถกินความไปได้กว้างๆ การกระทำทุกอย่างในชีวิตของมนุษย์ในชีวิตประจำวันจึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการปฏิบัติธรรมทั้งสิ้น ซึ่งก็ถูกต้อง ไม่ผิดอะไร

แต่ถ้าเรามาจั่วหัวว่า "ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น"

อย่างนี้สิจึงจะมีขอบเขตที่แคบ ชี้ชัด ลัดตรง ปลงจิต ไม่คิดเรื่องอื่น ยืนยัน มั่นคงอยู่ในทางอันเอก คือมัชฌิมาปฏิปทา การเดินทางบนถนนสายกลางคือมรรคมีองค์ 8 อย่างเข้มข้นและเป็น Intensive
ถ้าเป็นอย่างนี้

ปริยัติจะพอดี ๆ ไม่เฝือ ไม่มากเกินไป

[b]ปฏิบัติคือเจริญสติ เจริญปัญญา หรือภาวนาจะมากและสอดคล้องเข้าไปในชีวิตประจำวัน


ปฏิเวทจะพอกพูนให้ผลมากขึ้นเรื่อยๆตลอดเวลา
:b44:


อ้างคำพูด:
ปฏิบัติคือเจริญสติ เจริญปัญญา หรือภาวนาจะมากและสอดคล้องเข้าไปในชีวิตประจำวัน


อโศก นี่ดีแต่พูด ไหนลองบอกวิธีเจริญแต่ละอย่างๆมาหน่อยสิ หรือที่อย่างที่เคยบอกบ่อยๆประมาณว่า ...นิ่งดูไม่ตะบอย ตะงอย...จิตจะถอยจากความเป็นกู... คิกๆๆ :b32:

:b34: :b34:
กรัชกายนี่ก็ดีแต่ถาม ไม่เคยจำไม่เคยใส่ใจไว้เลยว่า ถามอะไรไป เขาตอบมายังไง เข้าใจไม่เข้าใจก็ไม่ซักค้น
เป็นคนมักง่าย นึกขึ้นมาได้ก็ถามเอาๆ

อโศกะตอบและบอกวิธีเจริญธรรมเจริญวิปัสสนาภาวนา เจริญมรรค 8 มาตั้งหลายครั้งหลายวิธีแต่กรัชกายไม่เคยจำมาย้อนถามคำถามเก่าๆซ้ำอีก ก็เลยเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ เหมือนครูทีึ่ไปสอนเด็กปัญญาอ่อนไม่รู้จักโต ต้องอาศัยความอดทน ข่มใจ และเมตตา กรุณามากๆจะอยู่ได้สอนได้กับคนประเภทนี้

กลับไปค้นกระทู้เก่าๆมาอ่านใหม่ไป๊..........

grin


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 22:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

"ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น"

อย่างนี้สิจึงจะมีขอบเขตที่แคบ ชี้ชัด ลัดตรง ปลงจิต ไม่คิดเรื่องอื่น ยืนยัน มั่นคงอยู่ในทางอันเอก คือมัชฌิมาปฏิปทา การเดินทางบนถนนสายกลางคือมรรคมีองค์ 8 อย่างเข้มข้นและเป็น Intensive
ถ้าเป็นอย่างนี้

:b44:


เห็นด้วยครับว่า...ต้องบอกด้วยว่า...ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์...

อยากจะติงอโสกะหน่อย..ครับ

ทางอันเอก....เอโก..มัคโค...คือ..มรรค์8 นะครับ

ส่วน..มัชฌิมาปฏิปทา...คือ..ทางสายกลาง..ครับ...อย่าสลับกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 14:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:

"ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น"

อย่างนี้สิจึงจะมีขอบเขตที่แคบ ชี้ชัด ลัดตรง ปลงจิต ไม่คิดเรื่องอื่น ยืนยัน มั่นคงอยู่ในทางอันเอก คือมัชฌิมาปฏิปทา การเดินทางบนถนนสายกลางคือมรรคมีองค์ 8 อย่างเข้มข้นและเป็น Intensive
ถ้าเป็นอย่างนี้

:b44:


เห็นด้วยครับว่า...ต้องบอกด้วยว่า...ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์...

อยากจะติงอโสกะหน่อย..ครับ

ทางอันเอก....เอโก..มัคโค...คือ..มรรค์8 นะครับ

ส่วน..มัชฌิมาปฏิปทา...คือ..ทางสายกลาง..ครับ...อย่าสลับกัน

s006
แล้วทางสายกลางไม่ใช่การเจริญมรรค 8 หรือครับ?
s004


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร