วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 11:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2014, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเข้าใจพื้นฐาน


คำว่า การปฏิบัติธรรม ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีความหมายค่อนข้างจะถูกจำกัดคับแคบลงมา และบางครั้งก็ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่่สู้จะตรงกับความจริง หรือแม้ว่าจะตรงก็ไม่เท่ากับความจริง ไม่พอดีกับความจริง อย่างที่บอกตอนต้นว่าออกจะคับแคบไป


เราเข้าใจความหมายของการปฏิบัติธรรมอย่างไร เวลานี้เมื่อพูดถึงการปฏิบัติธรรม หลายท่านจะนึกถึงการไปนั่งทำสมาธิ การปลีกตัวออกไปจากสังคม ไปอยู่ในที่สงบเงียบ แล้วก็บำเพ็ญเพียรทางจิตใจ ฝึกทำกัมมัฏฐานอย่างที่เรียกว่าจิตตภาวนา คำว่าปฏิบัติธรรมที่เราใช้ในปัจจุบันมักจะใช้ในความหมายแคบๆอย่างนี้ ก็จึงเป็นเรื่องที่เราควรจะมาพูดกัน ทำความเข้าใจกันตั้งแต่ต้น เพื่อให้มีความแจ่มชัดเกี่ยวกับเรื่องถ้อยคำ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2014, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติธรรม คืออย่าง่ไร


คำว่า ปฏิบัติธรรม นั้น หมายความว่าอย่างไร ปฏิบัติธรรม ก็คือ เอาธรรมาปฏิบัติ เอาธรรมาใช้ เอามาใช้ดำเนินชีวิตทำการทำงาน คือเอาธรรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริงนั่นเอง เมื่อปฏิบัติธรรมก็หมายถึงว่า เอาธรรมมาใช้ในชีวิตจริง หรือเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต ถ้ายังไม่ได้ใช้ ก็ไม่เรียกว่าเป็นการปฏิบัติ


ว่าถึงตัวคำว่า "ปฏิบัติ" เองนี้ เดิมนั้นแปลว่า "เดินทาง" มาจากภาษาบาลี ของเดิมนี้ มีคำคล้ายๆ กันอีกคำหนึ่ง คือ "ปฏิปทา"

"ปฏิปทา" แปลว่าอะไร จะเห็นได้ในคำว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" ที่เราแปลกันว่า "ทางสายกลาง" มัชฌิมา แปลว่า สายกลาง และปฏิปทา แปลว่า ทาง ทางคืออะไร ทางนั้นคือ ที่ที่จะเดิน คำว่า ปฏิปทา ก็คือทีที่จะเดิน

คำว่า ปฏิปทา กับคำว่า ปฏิบัติ นี้ เป็นคำเดียวกัน รากศัพท์อันเดียวกัน ถ้าเป็นกริยา มีรูปเป็นปฏิปชฺชติ เช่นในคำว่า "มคฺคํ ปฏิปชฺชติ" แปลว่า เดินทาง


เพราะฉะนั้น ปฏิปชฺชติ มาเป็น ปฏิบัติ หรือเป็นปฏิปทาก็ตาม ก็แปลว่า การเดินทาง หรือแปลว่า ทางที่เดิน ถ้าเป็นการเดินทางก็นิยมใช้ในรูปว่า ปฏิปตฺติ หรือไทยใช้ว่า ปฏิบัติ ถ้าเป็นทางที่เดินก็นิยมใช้ ปฏิปทา เพราะฉะนั้น เราเอาถ้อยคำสำหรับสิ่งที่เป็นรูปธรรมนั้นเอง มาประยุกต์ใช้ในทางนามธรรม

การเดินทางตามปกตินั้น เป็นการเดินทางภายนอก เป็นการเดินทางด้านวัตถุ เอาเท้าเดิน หรือแม้มีรถแล้ว เอารถวิ่งไปตลอดจนไปด้วยเครื่องบิน ก็เรียกว่า เป็นการเดินทาง


ทีนี้ ชีวิตของเราก็เหมือนกัน ชีวิตก็เป็นการเดินทางชนิดหนึ่ง แต่เรามักเปลี่ยนคำพูดจากเดินมาเป็นดำเนิน ที่จริงเดินกับดำเนินนั้น ก็ศัพท์เดียวกันนั่นแหละ เดินก็แผลงมาเป็นดำเนิน แล้วเราก็มีการดำเนินชีวิต ในการดำเนินชีวิตนั้น ก็เหมือนกับว่า แล้วเราก็มีการดำเนินชีวิต ในการดำเนินชีวิตนั้น ก็เหมือนกับว่า เราเอาชีวิตนี้ไปเดินทาง หรือว่าการเป็นอยู่ของเรานั้นเปรียบเสมือนทาง ถ้าเป็นอยู่อย่างถูกต้อง ก็เรียกว่าเดินทางชีวิตอย่างถูกต้อง คือ ดำเนินชีวิตได้ดี ถ้าเดินทางชีวิตไม่ถูกต้อง ก็เรียกว่าดำเนินชีวิตที่ผิด

มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2014, 15:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ในเมื่อปฏิปทา หรือปฏิบัตินี้ แปลว่า การเดินทาง และทางที่เดิน เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมก็คือเอาธรรมะมาใช้ในการดำเนินชีวิต หรือเอามาช่วยให้ดำเนินอย่างถูกต้อง หรือเอามาช่วยในการเดินทางชีวิต เพื่อให้การดำเนินชีวิตนั้นเป็นไปด้วยดี


หมายความว่า ถ้าเราไม่เอาธรรมาใช้ การเดินทางชีวิตของเราก็อาจจะผิด อาจจะเขว อาจจะพลาด อาจจะหลง อาจจะไปในทางที่เกิดความเสื่อมความพินาศ แทนที่จะเป็นทางแห่งความสุขความเจริญ เราก็เลยเอาธรรมาช่วย เอาธรรมมาปฏิบัติ ก็คือเอาธรรมมาใช้ช่วยให้การเดินทางชีวิตนี้ถูกต้องเกิดประโยชน์ขึ้น


พูดง่ายๆ จึงว่า การปฏิบัติธรรมคือการเอาธรรมมาใช้นั่นเอง ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของเรา

เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมก็จึงเป็นเรื่องกว้างๆ ไม่เฉพาะการที่จะปลีกตัวออกจากสังคม ไปอยู่ที่วัด ไปอยู่ที่ป่าแล้วก็ไปนั่งบำเพ็ญสมาธิอะไรอย่างนั้น ไม่ใช่แค่นั้น อันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เป็นการพยายามนำธรรมมาใช้ในขั้นลึก ในการที่จะฝึกฝนจิตใจอย่างจริงๆ จังๆ

ถ้าจะเรียกเป็นภาษาสมัยใหม่ การปลีกตัวไปปฏิบัติแบบนั้นก็เรียกว่าเป็นการปฏิบัติแบบ intensive เป็นการปฏิบัติแบบเข้มข้น หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง

ที่จริงนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีมีตลอดเวลา เรานั่งกันอยู่ในที่นี้ ก็ต้องมีการปฏิบัติธรรม คือเอาธรรมมาใช้ เมื่อปฏิบัติสิ่งนั้น ทำสิ่งนั้นอย่างถูกต้อง ก็เป็นการปฏิบัติธรรม


ดังนั้น ถ้าตนมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน แล้วศึกษาเล่าเรียนอย่างถูกต้อง มีความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจเล่าเรียน เล่าเรียนให้ได้ผล ก็เป็นการปฏิบัติธรรม เช่น เล่าเรียนโดยมีอิทธิบาท ๔ มีฉันทะ พอใจรักในการเรียนนั้น มีวิริยะ มีความเพียร ใจสู้ มีจิตตะ เอาใจใส่รับผิดชอบ มีวิมังสา คอยไตร่ตรอง ตรวจสอบ ทดลอง ให้ได้ผลดียิ่งขึ้นไป อย่างนี้ก็ เรียกว่า ปฏิบัติธรรม

หรือในการทำงานก็เหมือนกัน เมื่อมีอิทธิบาท ๔ เอาอิทธิบาท ๔ มาใช่้ในการทำงานนั้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

แม้แต่ออกไปในท้องถนน ไปขับรถ ถ้าขับโดยรักษากฎจราจร ขับเรียบร้อยดีไม่ประมาท มีความสุภาพ หรือลึกเข้าไป แม้กระทั่งว่า ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด มีความผ่องใสสบายใจในเวลาที่่ขับรถนั้นได้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรมในระดับต่างๆ

แล้วแต่ว่าใครจะสามารถเอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต หรือในการทำกิจหน้าที่นั้นๆ ให้ได้ผลแค่ไหนเพียงไร ก็เรียกว่าปฏิบัติธรรมทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงนั้น ต้องมีอยู่ตลอดเวลา เพราะเราทุกคนมีหน้าที่ต้องดำเนินชีวิตให้ดีงามถูกต้อง

แม้แต่การนั่งฟังปาฐกถานี่ก็มีการปฏิบัติธรรม ในมงคล ๓๘ ก็มีข้อปฏิบัติที่ว่า "กาเลน ธมฺมสฺสวนํ" การฟังธรรมตามกาล เป็นมงคลอันอุดม นี่ก็เป็นธรรมข้อหนึ่ง เมื่อตั้งใจฟัง ฟังเป็น ใช้ความคิพิจารณาใตร่ตรองสิ่งที่รับฟังนั้น ทำให้เกิดปัญญาขึ้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรมทั้งนั้น

เป็นอันว่า การปฏิบัติธรรมนี้ เป็นเรื่องที่กว้างมาก หมายถึงการนำเอาธรรมมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิต หรือการทำกิจทำงานทำหน้าที่ให้ถูกต้อง ทำทุกเรื่องทุกอย่างให้ถูกต้อง ให้ดี ให้เกิดผลเป็นประโยชน์นั่นเอง เป็นการปฏิบัติธรรม

แต่เราเอาคำว่าปฏิบัติธรรมมาใช้ในความหมายแคบๆ เฉพาะการปฏิบัติธรรมที่มุ่งเน้นจะฝึกฝนกันอย่าง่จริงจังในทางจิตใจ และสงวนคำว่าปฏิบัติธรรมไว้ใช้ในความหมายนั้น หรือนิยมใช้กันในความหมายนั้น

ถ้าจะพูดให้ถูก ต้องบอกว่าปฏิบัติธรรมด้านนั้นด้านนี้ การที่เราปลีกตัวไปทำกัมมัฏฐาน ไปบำเพ็ญสมาธิ ก็คงจะเรียกว่าปฏิบัติธรรมด้านจิตตภาวนา อย่างนี้ได้ คือเรียกให้เต็ม แต่ถ้าจะพูดสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจกันเอง โดยใช้คำนั้นต่อไป ก็ต้องใช้อย่างรู้กัน คือใช้ในความหมายที่ถือว่า เข้าใจกันอยู่แล้วหรือละไว้ในฐานเข้าใจ นี่เป็นข้อหนึ่ง ที่ควรจะทำความเข้าใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2014, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยากขึ้นอีกหน่อย


การศึกษา กับ การปฏิบัติ ไม่ใช่คนละอย่าง


ต่อไป ประการที่สอง ธรรมนั้นเมื่อเราเอามาใช้ เอามาลงมือทำ ก็จะมาเข้าคู่กับธรรมที่ยังไม่ได้เอามาใช้ ยังไม่ได้เอามาทำ

ตอนที่ยังไม่เอามาใช้ ไม่เอามาทำ ธรรมนั้นก็เป็นเพียงธรรมที่ได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมา ธรรมที่ยังไม่ได้ใช้ไม่ได้ลงมือทำ ยังเป็นเพียงสิ่งที่รับฟังมา เล่าเรียนมานี่ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง

ตอนที่เอามาใช้เอามาทำเรียกว่า "ปฏิบัติ" ตอนที่ยังไม่ได้ใช้ไม่ได้ทำ เป็นเพียงเล่าเรียน จะเรียกว่าอะไร

หลายท่านคงจะบอกว่า การปฏิบัตินี้คู่กับการศึกษา เมื่อเอามาใช้เอามาทำเป็นการปฏิบัติ ยังไม่ได้ใช้ยังไม่ได้ทำก็เป็นเพียงการศึกษา อันนี้ก็เป็นปัญหาอีกแล้ว

คำว่า การศึกษานี้ ในเมืองไทยนำมาใช้เป็นคำพูดคู่่กับการปฏิบัติ ศึกษาหมายความว่าเล่าเรียน ยังไม่ได้ทำ เข้าใจกันว่า ถ้าศึกษา ก็คือยังไม่ได้ทำ เพียงเล่าเรียนมา เมื่อปฏิบัติก็คือเอาสิ่งที่ศึกษานั้นมาลงมือทำ ความเข้าใจอย่างนี้ก็ไม่ถูกต้องอีก


คำว่าศึกษานั้น เดิมไม่ได้คู่ กับ การปฏิบัติ อันนี้จะต้องแยกจากความหมายที่แท้จริง ความหมายที่่เข้าใจกันในสังคมไทยปัจจุบัน ที่ให้คำว่า ศึกษาคู่ กับคำว่า ปฏิบัติ นั้น เป็นเรื่องของสังคมไทย เป็นเรื่องของภาษาไทยที่่กลายหรือเพี้ยนไปเท่านั้น

คำที่คู่กับปฏิบัติ เป็นเพียงความรู้ที่เล่าเรียนรับฟังมานั้น มีศัพท์เฉพาะของมันอยู่แล้ว เรียกว่า ปริยัติ

คำที่คู่ กับ ปฏิบัติ ก็คือปริยัติ ปริยัติ คือเล่าเรียนมา แล้วปฏิบัติก็เอามาลงมือทำ แต่ทำไมการศึกษาจึงกลายความหมายมาเป็นการเล่าเรียน

การศึกษาเดิมนั้น มีความหมายกว้าง ตั้งแต่เรียนรู้ไปจนกระทั่งฝึกหัด ลงมือปฏิบัติ ปฏิบัตินี้ในแง่หนึ่ง ก็คือฝึกหัดเพื่อทำให้เป็น และทั้งหมดตลอดกระบวนการนั้น เราเรียกว่า การศึกษา



อาจจะเป็นไปได้ว่าในสมัยหลังๆนี้ การศึกษาได้เน้นในด้านการเล่าเรียนหนังสือ อ่านตำราหรือคัมภีร์มากไป ความหมายของการศึกษาก็เลยแคบลง เหลือเป็นเพียงเล่าเรียนตำราไป พอเหลือเพียงเล่าเรียนตำรา ก็ไปได้แค่ปริยัติ แต่ที่จริงคำว่า ศึกษานั้น มีความหมายเท่ากับปริยัติและปฏิบัติรวมกัน


ความหมายที่แท้จริงนั้น ปฏิบัติคู่กับปริยัติ ถ้าเป็นเพียงความรู้จากการเล่าเรียน ท่องจำอ่านตำรา เป็นธรรมะที่ฟังเขามาอย่างนั้น ก็เป็นขั้นปริยัติ ถ้าเป็นการเอามาลงมือฝึกหัดทำ ก็เป็นขั้นปฏิบัติ ทั้งปริยัติ และปฏิบัติ ๒ อย่างนี้รวมกัน เรียกว่า การศึกษา

ที่นี้ เมื่อลงมือทำแล้วก็จะเกิดผลขึ้นมา เป็นผลจากการศึกษา ผลจากการศึกษาที่ถึงขั้นปฏิบัติแล้ว ก็คือสิ่งที่เรียกว่า "ปฏิเวธ"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2014, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


เราต้องแยกว่าการศึกษามี ๒ ขั้น คือ การศึกษาในขั้นปริยัติ กับ การศึกษาขั้นปฏิบัติ เม่ื่อผ่านการศึกษาขั้นปริยัติมาแล้ว ก็ต่อด้วยการศึกษาขั้นปฏิบัติ พอปฏิบัติแล้ว ก็จะส่งผลเป็นปฏิเวธ ปฏิเวธก็เป็นอันดับที่ ๓ คือ เป็นผลจากการปฏิบัตินั่นเอง

เพราะฉะนั้น ในทางพระศาสนา ท่านจึงมีคำใช้ ๓ คำ เรียงลำดับกันว่า ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ถ้าใช้ ๒ ก็เหลือศึกษา และปฏิเวธ ในพระไตรปิฎก บางแห่งท่านใช้ศึกษาคู่ กับ ปฏิเวธไปเลย เพราะศึกษานับรวมทั้งปริยัติ และปฏิบัติไปแล้ว จึงก้าวไปถึงปฏิเวธได้เลย

ในการใช้คำว่าการศึกษาในปัจจุบัน ถ้าจะเข้าถึงความหมายที่แท้จริง จะต้องให้คำว่า การศึกษานี้คลุมไปถึงการฝึกหัด การลงมือทำ หรือการปฏิบัติด้วย


เป็นอันว่า ตอนนี้ เราได้มาถึงความหมายของศัพท์ที่มีความสัมพันธ์กันน ๓ คำ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ

ปริยัติ เป็นขั้นเล่าเรียน รับฟังผู้อื่นมา โดยเฉพาะสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ซึ่งสืบต่อกันมาในพระไตรปิฎก และเรามีครูอาจารย์แนะนำบอกกล่าว เอามาท่องมาบ่น มาสอบสวนทบทวนกัน ทั้งหมดนี้ เรียกว่า ปริยัติ

เมื่อเอาสิ่งที่ได้เล่าเรียนนั้นมาลงมือทำ ก็เป็นปฏิบัติ การปฏิบัติก็คือตัวศีล สมาธิ ปัญญา หรือถ้าขยายสำหรับคฤหัสถ์ นิยมใช้คำว่า ทาน ศีล ภาวนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 05:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
:b16:
สะเทือนใจที่ถูกกล่าวหาว่าไม่ปฏิบัติธรรม เลยนำความมาตั้งกระทู้ บอกกล่าวให้คนรู้ว่าปฏิบัติธรรมนั้นคืออย่างไร บรรยายมาเสียยาวยืด แต่ก็มีประโยชน์มากหลายเพราะจะได้ชี้กันให้ชัดว่า ปฏิบัติธรรมนั้นควรจะทำแค่ไหน อย่างไร จึงจะเห็นจุดหมายและประเด็นสำคัญ
:b17:
เพราะจั่วหัวว่า "ปฏิบัติธรรม" จึงสามารถกินความไปได้กว้างๆ การกระทำทุกอย่างในชีวิตของมนุษย์ในชีวิตประจำวันจึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการปฏิบัติธรรมทั้งสิ้น ซึ่งก็ถูกต้อง ไม่ผิดอะไร

แต่ถ้าเรามาจั่วหัวว่า "ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น"

อย่างนี้สิจึงจะมีขอบเขตที่แคบ ชี้ชัด ลัดตรง ปลงจิต ไม่คิดเรื่องอื่น ยืนยัน มั่นคงอยู่ในทางอันเอก คือมัชฌิมาปฏิปทา การเดินทางบนถนนสายกลางคือมรรคมีองค์ 8 อย่างเข้มข้นและเป็น Intensive

การเดินหรือเจริญมรรค 8 ในชีวิตประจำวันนั้นต้องทำอย่างไรบ้าง นี่คือประเด็นที่ทำให้เกิดคำสบประมาท ท้าทาย ที่มีมุ่งหมายจะบอกว่า

"คุณไม่ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น"อย่างจริงจังมัวไปนั่งค้นอ้างตำรา ศึกษาเน้นหนักเฉพาะปริยัติ ฟัดเหวี่ยงกับผู้คนด้วยสัญญาปริยัติ ไม่เห็นมีสัญญาทางผลปฏิบัติมาเล่ากล่าว พากันเมาหลงตำราไม่มุ่งหน้าดับไฟในตนอย่างแท้จริง
:b14:
ขอสร้างความสะดุดธรรมในกระทู้นี้ไว้เป็นเบื้องต้นสักนิดเช่นนี้เพื่อให้มีรสชาดขึ้นอีกหน่อยนะครับกรัชกาย ขออภัยที่ขัดคอ แต่ก็หวังให้เห็นประเด็นธรรมครับ
:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1382287104-1367332977-o.gif
1382287104-1367332977-o.gif [ 16.55 KiB | เปิดดู 3163 ครั้ง ]
asoka เขียน:
s004
:b16:
สะเทือนใจที่ถูกกล่าวหาว่าไม่ปฏิบัติธรรม เลยนำความมาตั้งกระทู้ บอกกล่าวให้คนรู้ว่าปฏิบัติธรรมนั้นคืออย่างไร บรรยายมาเสียยาวยืด แต่ก็มีประโยชน์มากหลายเพราะจะได้ชี้กันให้ชัดว่า ปฏิบัติธรรมนั้นควรจะทำแค่ไหน อย่างไร จึงจะเห็นจุดหมายและประเด็นสำคัญ
:b17:
เพราะจั่วหัวว่า "ปฏิบัติธรรม" จึงสามารถกินความไปได้กว้างๆ การกระทำทุกอย่างในชีวิตของมนุษย์ในชีวิตประจำวันจึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการปฏิบัติธรรมทั้งสิ้น ซึ่งก็ถูกต้อง ไม่ผิดอะไร

แต่ถ้าเรามาจั่วหัวว่า "ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น"

อย่างนี้สิจึงจะมีขอบเขตที่แคบ ชี้ชัด ลัดตรง ปลงจิต ไม่คิดเรื่องอื่น ยืนยัน มั่นคงอยู่ในทางอันเอก คือมัชฌิมาปฏิปทา การเดินทางบนถนนสายกลางคือมรรคมีองค์ 8 อย่างเข้มข้นและเป็น Intensive

การเดินหรือเจริญมรรค 8 ในชีวิตประจำวันนั้นต้องทำอย่างไรบ้าง นี่คือประเด็นที่ทำให้เกิดคำสบประมาท ท้าทาย ที่มีมุ่งหมายจะบอกว่า

"คุณไม่ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น"อย่างจริงจังมัวไปนั่งค้นอ้างตำรา ศึกษาเน้นหนักเฉพาะปริยัติ ฟัดเหวี่ยงกับผู้คนด้วยสัญญาปริยัติ ไม่เห็นมีสัญญาทางผลปฏิบัติมาเล่ากล่าว พากันเมาหลงตำราไม่มุ่งหน้าดับไฟในตนอย่างแท้จริง
:b14:
ขอสร้างความสะดุดธรรมในกระทู้นี้ไว้เป็นเบื้องต้นสักนิดเช่นนี้เพื่อให้มีรสชาดขึ้นอีกหน่อยนะครับกรัชกาย ขออภัยที่ขัดคอ แต่ก็หวังให้เห็นประเด็นธรรมครับ


คิกๆๆ อโศก เขาเป็นอะไร และจะแก้ไขยังไง


อ้างคำพูด:
บอกตรงๆว่าฝึกสติปัฐฐาน 4 เป็นแค่อย่างเดียว
และชีวิตนี้ก็เคยแค่ครอบครูช่างอย่างเดียว เนื่องจากเป็นคนสมัยใหม่ไม่เชื่อเรื่องไสยศาสตร์แต่ชอบเรื่องตื่นเต้น ชอบดูของแปลก ก็เลยชอบงานแนวทรงเจ้าเข้าผี (ดูเอามัน ดูเพื่อความบันเทิง)
แต่ช่วงไม่นานมานี้คือเริ่มฝึกสมาธิมากขึ้น และจิตก็เริ่มนิ่งขึ้นด้วย แต่กับไม่คิดว่าโลกยุคนี้มันจะมีเรื่องแบบนี้อยู่จริง(คิดว่านิทานหลอกเด็กตลอด) คือตอนนั่งสมาธิจะมีเงาดำๆฟืบเข้าร่างเรา และก็ต้องนั่งสมาธิเพื่อจี้ออก แต่มันต้องใช้กำลังของสมาธิมาก แต่พอสมาธิตกก็เข้าอีก และยิ่งไปอยู่วัดที่เขาถอนของแต่ตัวเองยังไม่ถอนเพราะต้องอัญเชิญครูช่างกลับไปยังสถานที่เอามาอง คราวนี้มายังกระบวนพาเลทเลย พลัดกันเข้า กันออกเลยไม่รู้อะไรเป็นอะไร แม่ชีที่นั่นบอกว่าจิตเปิด และของหนูก็เยอะ คราวนี้เกิดอาการค่อนข้างจะสับสน(ช็อค) เพราะเป็นพวกห้ามยัดเยียดอะไรใส่หัวจะฟุ้งมาก อยู่กับผู้คนก็ไม่ได้เพราะยิ่งถูกกระทบก็ยิ่งอยู่ในสถาณการณ์ที่แย่กว่าเดิม แม่ชียิ่งพูดหรือคนรอบข้างยิ่งใส่อาการหนักตั้งสติไม่อยู่เลย อ้อวัดนี้เป็นแนวสมถะ เน้นการสวดมนต์ พอขึ้นไปหาหลวงพ่อท่านให้ถอนของออก และท่านก้ให้กรรมฐานมา คือ ให้ว่าง และยืน กับเดิน แต่ปัญหามันอยู่ตรงนี้และเพราะร่างกายไม่แข็งแรงพอ พอหลับก็เข้าอีก บอกตรงๆว่ายังไม่เคยเห็นตัว แต่แค่สัมผัสกลุ่มก้อนพลังงานได้และะรับรู้จากกลิ่นน้ำหมาก หรืออะไรที่ไม่มีในบริเวณนั้นแน่ๆ และที่แย่การที่ถูกครอบมันไม่สดชื่นมึนหัวทั้งวัน และตอนนี้กลับมาบ้านแล้วแต่ยังไม่ถอน เพราะมีเหตุให้เอาของไปคืนไม่ได้ในตอนนี้ แต่ตอนนี้ก็ยังถูกครอบถูกแฝงอยู่ ไม่รู้จะทำไงดี เพราะกำลังจิตและกำลังกายมีไม่พอ พูดง่ายๆว่ากลับจากวัดนี้สติเตลิด กลับมารวบรวมสติไม่อยู่ ฟุ้งจนไม่รู้จะทำไงดี พอคิดมากจิตมันเหนื่อยมันก็โยนทิ้งคราวนี้ก็มาอีกแล้ว พูดง่ายๆว่าตอนนี้เอาตัวไม่รอด ทำสมาธิได้แค่จี้จนร้อนตั้งแต่บริเวณศรีษะไล่ไปจนบริเวณหลังเพราะตั้งสติไว้ลิ้นปี แต่พอหัวร้อนๆเหมือนไออะไรออกจากหัวมันก็เบาขึ้นเยอะ (บอกตรงๆว่า ตัวเองก็ไม่อยากเชื่อถึงเรื่อง แบบนี้ ยังคิดอยูว่านี้เราจินตนาการไปเองรึเปล่า) และนี้ก็เป็นช่วงขอคำแนะนำช่วงที่ยังไม่ไม่ได้ถอนของออกควรทำไงดี และจะทำไงไมให้จิตวิญญาณพวกนี้แฝงอีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ต่อ


เราต้องแยกว่าการศึกษามี ๒ ขั้น คือ การศึกษาในขั้นปริยัติ กับ การศึกษาขั้นปฏิบัติ เม่ื่อผ่านการศึกษาขั้นปริยัติมาแล้ว ก็ต่อด้วยการศึกษาขั้นปฏิบัติ พอปฏิบัติแล้ว ก็จะส่งผลเป็นปฏิเวธ ปฏิเวธก็เป็นอันดับที่ ๓ คือ เป็นผลจากการปฏิบัตินั่นเอง

เพราะฉะนั้น ในทางพระศาสนา ท่านจึงมีคำใช้ ๓ คำ เรียงลำดับกันว่า ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ถ้าใช้ ๒ ก็เหลือศึกษา และปฏิเวธ ในพระไตรปิฎก บางแห่งท่านใช้ศึกษาคู่ กับ ปฏิเวธไปเลย เพราะศึกษานับรวมทั้งปริยัติ และปฏิบัติไปแล้ว จึงก้าวไปถึงปฏิเวธได้เลย

ในการใช้คำว่าการศึกษาในปัจจุบัน ถ้าจะเข้าถึงความหมายที่แท้จริง จะต้องให้คำว่า การศึกษานี้คลุมไปถึงการฝึกหัด การลงมือทำ หรือการปฏิบัติด้วย


เป็นอันว่า ตอนนี้ เราได้มาถึงความหมายของศัพท์ที่มีความสัมพันธ์กันน ๓ คำ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ

ปริยัติ เป็นขั้นเล่าเรียน รับฟังผู้อื่นมา โดยเฉพาะสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ซึ่งสืบต่อกันมาในพระไตรปิฎก และเรามีครูอาจารย์แนะนำบอกกล่าว เอามาท่องมาบ่น มาสอบสวนทบทวนกัน ทั้งหมดนี้ เรียกว่า ปริยัติ

เมื่อเอาสิ่งที่ได้เล่าเรียนนั้นมาลงมือทำ ก็เป็นปฏิบัติ การปฏิบัติก็คือตัวศีล สมาธิ ปัญญา หรือถ้าขยายสำหรับคฤหัสถ์ นิยมใช้คำว่า ทาน ศีล ภาวนา


ต่อที่ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47734

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 95 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร