วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 346 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2014, 01:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงว่าพี่อโสกะเห็นว่าหรือเชื่อว่า พระพุทธเจ้าตลอดจนพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ในชาติก่อนที่จะสำเร็จมรรคผล กำเนิดเกิดมาได้ดีที่สุดแค่เพียงปุถุชนเท่านั้นใช่มั้ยครับ ไม่มีชาติภพไหนที่ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาบันเลย

อีกอย่างพี่พิจารณาความว่า "หมกมุ่น"ให้ดีๆนะครับ ว่ามีความหมายมากนัอยเพียงไหน มีความหมายแค่การ"ครุ่นคิด วิตก จมปลัก จดจ่อ" เท่านั้นเองหรือ...หรือที่จริงแล้วมันรวมไปถึงสิ่งที่ละเอียดกว่านั้น

พิจารณาธรรมทั้งทีก็ควรพิจารณาธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกัน ที่มีในพระสูตรต่างๆให้ครบถ้วนก่อนนะครับ ถ้าธรรมทั้งหลายเป็นไปในทางเดียวกันก็แสดงว่าถูกต้อง แต่ถ้ามันมีที่ขัดกันแสดงว่าเราอาจจะเข้าใจผิดไปเองนะครับ ผมไม่ค่อยชำนาญพระไตรปิฎกแต่เข้าใจว่าพระสูตรที่ว่าเรื่อง การเกิดของพระโสดาบันไม่เกิด 7 ชาตินั้นมีอยู่ พิจารณาดูนะครับพี่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2014, 06:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริง.....การที่โสดาบัน....จะมาเกิดเป้นคนหรือไม่นั้น.....ความเชื่อหรือไม่เชื่อ...ก็ไม่น่ามีผลอะไร...กรือระทำให้คุณธรรมสูงขึ้น..รึ..ลดลงแต่อย่างใด..นะ

แต่ลักษณะตีความที่อโสกะ...ว่ามา...รึ..ใครที่บอกอเสกะมาอย่างนี้..นี้นะ...
บอกได้อย่างเดียว...คือ...ยังต้องเหนื่อยต่อไปอีกนานเลย..

:b5: :b5: grin


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 11:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อโสกะครับ.....อย่าไปเอาคำแปล...มาเป็นสรณะแล้วก็ยึดมาเป็นหลักในการวิจัยยะเลยนะครับ....มันผิดหลัก

แล้วยัง...ไปยึด..เอาวงเล็บ....ว่าเป็นการล็อค....ไม่ให้คิดวิจัยยะเป็นอื่นอีก....ยิ่งตลกครับผม

เอางี้....เดียวผมขยับวงเล็บให้...นะ

ใครเป็นคนไปล็อคใว้รึครับ....วงเล็บ..รึ...จึงทำให้มองอะไรไม่ออก
อิอิ...เดียวผมขยับให้นะ...

asoka เขียน:

พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
บุคคลผู้มีเมตตา ไม่เข้ายึดถือทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก ( คืออนาคามีมรรค)

นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ
ย่อมไม่ถึงความนอน(เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว


:b12: :b12:
ไม่เอาคำแปลมาเป็นหลักแล้วจะไปรู้เรื่องกันได้ยังไงล่ะ คุณกบ แล้วที่ยกคำว่า "พรัหมะเมตัง" มานี่ก็คงหวังพึ่งคำว่าพรหมนี่จะเกี่ยวกับพระอนาคามีละกระมัง

แล้วท่อน ทิฏฐินจะ.......นั่นก็เกี่ยวกับคุณสมบัติของพระโสดาบันทั้งสิ้น ไม่มีอันไหโยงขึ้นไปถึงพระอนาคามี

ส่วนวงเล็บกาเมสุ วิเนยะเคธังนั่นก็กบเอามาเขียนเองผิดด้วย

บอกแล้วให้พิจารณาเทียบจากศีลข้อ 3 ในศีล 5 และ ศีล 8 เขาใช้คำที่มีน้ำหนักต่างกันเห็นชัดอยู่แล้วอันหนึ่ง กาเมสุ มิจฉาจาร

อันหนึ่ง อะพรหมจริยา

เชื่อใครเชื่อมันเถิดนะ กบ จะได้ยุติการโต้เถียงกัน
:b7:
:b11:
:b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 12:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
แสดงว่าพี่อโสกะเห็นว่าหรือเชื่อว่า1. พระพุทธเจ้าตลอดจนพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ในชาติก่อนที่จะสำเร็จมรรคผล กำเนิดเกิดมาได้ดีที่สุดแค่เพียงปุถุชนเท่านั้นใช่มั้ยครับ ไม่มีชาติภพไหนที่ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาบันเลย

อีกอย่างพี่ 2.พิจารณาความว่า "หมกมุ่น"ให้ดีๆนะครับ ว่ามีความหมายมากนัอยเพียงไหน มีความหมายแค่การ"ครุ่นคิด วิตก จมปลัก จดจ่อ" เท่านั้นเองหรือ...หรือที่จริงแล้วมันรวมไปถึงสิ่งที่ละเอียดกว่านั้น

พิจารณาธรรมทั้งทีก็ 3.ควรพิจารณาธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกัน ที่มีในพระสูตรต่างๆให้ครบถ้วนก่อนนะครับ ถ้าธรรมทั้งหลายเป็นไปในทางเดียวกันก็แสดงว่าถูกต้อง แต่ถ้ามันมีที่ขัดกันแสดงว่าเราอาจจะเข้าใจผิดไปเองนะครับ ผมไม่ค่อยชำนาญพระไตรปิฎกแต่เข้าใจว่าพระสูตรที่ว่าเรื่อง 4.การเกิดของพระโสดาบันไม่เกิด 7 ชาตินั้นมีอยู่ พิจารณาดูนะครับพี่

smiley
เจริญธรรมคุณลูกพระป่า

1.ใช่แล้วถูกต้องแล้วตามธรรม พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวกทั้งหลาย เป็นปุถุชนมนุษย์ ปุถุชนเทวดา ปุถุชนพรหม กันอยู่ก่อนที่จะได้เข้าสู่ความเป็นอริยชนจนถึงพระอรหันต์ในชาติสุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธเจ้าทรงมีพุทธประวัติแสดงไว้ชัดเจนในพระสูตร

2.ความว่าหมกมุ่น.....เป็นขั้นตอนหนึ่งของความหลง ลองพิจารณาน้ำหนักของคำต่อไปนี้เขาเรียงกันขึ้นมาตามลำดับ

เกลือกกลั้ว.....ปุถุชน

หมกมุ่น .......อริยบุคคลชั้นต้น (พระโสดาบัน)

เบื่อหน่ายคลาายจาง.....พระสกิทาคามี

ละวาง.....พระอนาคามี

หมดสิ้น......พระอรหันต์

3.ผมอ่านตำราไม่เก่ง ทั้งๆที่เคยอ่านพระไตรปิฎกมาแล้ว 1 รอบ ก็จับประเด็นมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติจริงได้ไม่กี่สูตรไม่กี่คาถา และพุทธภาษิต ถ้าจะให้พิจารณาธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกัน ที่มีในพระสูตรต่างๆให้ครบถ้วนก่อน ก็คงหมดลมหายใจเสียก่อนที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริงนะครับ มีหลายเรื่องในข้อธรรมจากพระสูตรที่มีการแปลต่างสำนวนกันไป ตามคุณสบบัติลัทธิ นิกาย ของผู้แปล จึงไม่ควรด่วนตัดสินอะไรลงไปทันที ต้องพิสูจน์ธรรม

4.การเกิดของพระโสดาบันไม่เกิด 7 ชาตินั้นมีอยู่.....ข้อนี้น้องอาจจะพิมพ์ผิดจึงตีความลำบาก น่าจะเป็น

พระโสดาบันจะเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ...........3 ชาติ หรือ ชาติเดียว ตามชั้นของพระโสดาบัน

ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ถูกต้องตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ชาติที่จะกลับมาเกิดนั้นไปที่ไหนบ้าง ไม่มีที่อื่นระบุชัด ที่ชัดและสวดกันอยู่บ่อยๆคือในกรณียเมตตาสูตร

แต่การแปลความยังมีความเห็นแตกต่างกัน

หากจะว่ากันโดยธรรมแล้ว

ขนาดปุถุชนทำความดี มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ยังเป็นเหตุให้ได้ไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าได้สมาธิได้ฌาณยังมีโอกาสไปเกิดเป็นพรหมได้ตั้ง 15 ชั้น อีก 5 ชั้นไปไม่ได้เพราะเป็นที่อยู่ของพรหมอริยะ คือสุทธาวาสพรหม

แล้วนี้พระอริยโสดาบัน มีศีลและจิตบริสุทธิ์ยิ่งกว่า ใยจะต้องกลับมาเกิดในโลกมนุษย์อีก พิจารณาเอาตามธรรมอย่างนี้ก็ได้นะครับ อย่ายึดแต่ความถูกผิดของบัญญัติแต่เพียงฝ่ายเดียว
:b11:
onion onion
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคล ๔ จำพวก


ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก หาได้โลก.

สี่จำพวกเหล่าไหนบ้าง ? สี่จำพวก คือ :-

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายที่ยังละไม่ได้,
มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกที่ยังละไม่ได้, และมีสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.

(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
แต่มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีก ที่ยังละไม่ได้, มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.

(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
ทั้งยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีการเกิดอีกได้ด้วย, แต่มีสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.
(๔)บุคคลบางคนในโลกนี้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
ละสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้แล้ว และยังละสังโยชน์ด้วยเหตุ ให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.
(ประเภทที่ ๑) ภิกษุ ท. ! พระสกิทาคามี นี้แล เป็นผู้ยังละสังโยชน์ ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลาย ไม่ได้ทั้งหมด
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกยังไม่ได้ และละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพ ยังไม่ได้.

(ประเภทที่ ๒) ภิกษุ ท. ! พระอนาคามีพวกที่มีกระแสในเบื้องบน ไปสู่อกนิฏฐภพ นี้แล
เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ทั้งหมด แต่ยังละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องเกิดอีกไม่ได้
และละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพยังไม่ได้.

(ประเภทที่ ๓) ภิกษุ ท. ! พระอนาคามี พวกที่จักปรินิพพานในระหว่างนี้แล
เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ด้วย ละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องเกิดอีกได้ด้วย
แต่ยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีภพไม่ได้.

(ประเภทที่ ๔) ภิกษุ ท. ! พระอรหันต์ขีณาสพ นี้แล เป็นผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้ และยังละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ คือบุคคล ๔ จำพวก มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.
- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๑/๑๓๑.








บุคคล ๙ จำพวก


เช้าวันหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรครองจีวร ถือบาตร เข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี ท่านเห็นว่าเวลายังเช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาต จึงแวะเข้าไปในอารามของพวกปริพาชกลัทธิอื่นได้ทักทายปราศรัยกันตามธรรมเนียมแล้ว นั่งลง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

ก็ในเวลานั้นแล พวกปริพาชกทั้งหลายนั้น กำลังยกข้อความขึ้นกล่าวโต้เถียงกันอยู่ ถึงเรื่องบุคคลใด ใครก็ตาม ที่ยังมีเชื้อเหลือ ถ้าตายแล้ว ย่อมไม่พ้นเสียจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้เลยสักคนเดียว ดังนี้.

ท่านพระสารีบุตร ไม่แสดงว่าเห็นด้วย และไม่คัดค้าน ข้อความของปริพาชกเหล่านั้น, ลุกจากที่นั่งไป โดยคิดว่าทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักได้ทราบ
ความข้อนี้.

ครั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังอาหารแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนเช้าทุกประการ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

สารีบุตร ! พวกปริพาชกลัทธิอื่น ยังอ่อนความรู้ ไม่ฉลาด จักรู้ได้อย่างไรกันว่า ใครมีเชื้อเหลือ ใครไม่มีเชื้อเหลือ.
สารีบุตร ! บุคคลที่มีเชื้อ (กิเลส) เหลือ ๙ จำพวก ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้

แม้ตายไป ก็พ้นแล้วจากนรก

พ้นแล้วจากกำเนิดเดรัจฉาน

พ้นแล้วจากวิสัยแห่งเปรต

พ้นแล้วจากอบาย ทุคติ วินิบาต.

บุคคลเก้าจำพวกเหล่านั้น เป็นอย่างไรเล่า เก้าจำพวก คือ :-

(๑) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณ ในส่วนปัญญา.
เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่าง ในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพาน ในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง.

สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๑
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำ?เนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๒) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้
พอประมาณในส่วนปัญญา.

เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพาน เมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด.

สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๒
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๓) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา.
เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพาน โดยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.

สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๓
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๔) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา.
เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพาน โดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.

สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๔ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๕) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา.

เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้มีกระแส ในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ.

สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๕ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๖) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำได้พอประมาณในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา.

เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่าง ให้สิ้นไป, และเพราะมีราคะ โทสะ โมหะ เบาบางน้อยลง,เป็น สกทาคามี ยังจะมาสู่เทวโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๖ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำ?เนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๗) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำ??ได้พอประมาณในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา.

เพราะทำ?สังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น โสดาบันผู้มีพืชหนเดียว คือ จักเกิดในภพแห่งมนุษย์อีกหนเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๗ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำ?เนิดเดรัจฉาน จากวิสัย แห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๘) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำได้พอประมาณในส่วนสมาธิ
ทำ??ได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำ?สังโยชน์ ๓ อย่าง
ให้สิ้นไป, บุคคลผู้นั้นเป็น โสดาบันผู้ต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุล
อีก ๒ หรือ ๓ ครั้ง แล้วกระทำ?ที่สุดแห่งทุกข์ได้.
สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๘
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำ?เนิดเดรัจฉาน จากวิสัย
แห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.


(๙) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้
ทำ??ได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำ??ได้พอประมาณในส่วนสมาธิ
ทำ??ได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำ?สังโยชน์ ๓ อย่าง
ให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น โสดาบันผู้ต้องเที่ยวไปในเทวดา
และมนุษย์อีก ๗ ครั้งเป็นอย่างมาก แล้วกระทำ?ที่สุด
แห่งทุกข์ได้.
สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๙
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำ?เนิดเดรัจฉาน จากวิสัย
แห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

สารีบุตร ! ปริพาชกลัทธิอื่น ยังอ่อนความรู้
ไม่ฉลาด จักรู้ได้อย่างไรกันว่า ใครมีเชื้อเหลือ ใครไม่มี
เชื้อเหลือ. สารีบุตร ! บุคคลเหล่านี้แล ที่มีเชื้อเหลือ
๙ จำ?พวก เมื่อตายไป ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำ?เนิด
เดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.
สารีบุตร ! ธรรมปริยายข้อนี้ ยังไม่เคยแสดง
ให้ปรากฏ แก่หมู่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย
มาแต่กาลก่อน.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเราเห็นว่าถ้าเขาเหล่านั้นได้ฟังธรรมปริยาย
ข้อนี้แล้ว จักพากันเกิดความประมาท;
อนึ่งเล่า ธรรมปริยายเช่นนี้ เป็นธรรมปริยาย
ที่เรากล่าว ต่อเมื่อถูกถามเจาะจงเท่านั้น; ดังนี้ แล.
นวก. อํ. ๒๓/๓๙๑-๓๙๖/๒๑๖.


สอุปาทิเสสะ และ อนุปาทิเสสะ

ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ผู้เป็น สอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต

ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวกโง่เขลา ไม่ฉลาด
อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็น สอุปาทิเสสะ ว่า เป็นสอุปาทิเสสะ
หรือจักรู้บุคคลผู้เป็น อนุปาทิเสสะ ว่า เป็นอนุปาทิเสสะ.....


อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมโสดา
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ยังเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้


ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย
พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต

ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวก
โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ
หรือจักรู้บุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ

ดูกรสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล เป็นสอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติและวินิบาต ฯ


ดูกรสารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกาก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ฟังธรรมปริยายที่เรากล่าวด้วยความ
อธิบายปัญหานี้แล้ว อย่าถึงความประมาท ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 018&Z=8096







แม้จะมี ๔ จำพวก แตกรายละเอียดของสภาวะ ออกมาเป็น ๙ จำพวก

[๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคูถแม้เพียงเล็กน้อย ก็มีกลิ่นเหม็น ฉันใด
ภพแม้เพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญโดยที่สุดแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียว
เลย ฯ




หมายเหตุ:

ผู้ที่หมายมั่น สำคัญ น้อมเอา คิดเอาเองว่า ได้อะไรเป็นอะไร

ความหมายมั่น ไม่ใช่ความผิดอันใด เป็นความปกติของผู้ที่มียังมีกิเลสอยู่


แต่ การนำความคิดเอา น้อมเอาเองว่า ตนเองได้อะไร เป็นอะไร แล้วนำไปสร้างเหตุแห่งภพ ให้เกิดขึ้น
ขึ้นชื่อว่า ตราบใดที่ยังมีการเกิดขึ้นแห่งภพอยู่ นั่นคือ ความประมาท ที่ยังมีอยู่


ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้ หลงสร้างเหตุในสังสารวัฏ ย่อมมีอยู่
ถึงแม้จะน้อยลง หรือ ทำให้เกิดมากขึ้น ตามเหตุปัจจัยของตน(อวิชชา และสังโยชน์กิเลส ที่มีอยู่)



ควรใช้กูเกิ้ลให้เป็นประโยชน์ ในการค้นหา พระธรรมคำสอน
ไม่ใช่ยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิของตน เพียงฝ่ายเดียว

สัทธรรมปฏิรูป จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้
เหตุจาก อวิชชา ที่มีอยู่ และ ความทะยานอยาก อยากมี อยากได้ อยากเป็นอะไรๆ บดบังสภาวะ ไม่ให้เห็นสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 15:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

แต่ก็อย่าว่า..แหละครับ..ไม่รู้อโสกะ..จะยอมเปลี่ยนความยึดของตนรึไม่นะ...

อาจจะยากซะหน่อย..เพราะอาจจะกระทบถึงความศรัทธาส่วนตัวต่อบุคคลของอโสกะ...

ขอเตือน..อโสกะ..นะครับ....ถ้ายังไม่พร้อมที่จะถอนศรัทธาหรือความเชื่อเก่าๆของตน..แนะนำว่า..ให้เงียบไปเลยครับ...
กรรมของการเชื่อแบบเดิม..มีพิษไม่มาก...แต่หาก..วิจารณ์พระสัทธรรม....จะกลายเป็นการปรามาสพระรัตนตรัย..ไป

กรรม..มันจะหนัก...เข้าอริยะไม่ได้...เสี่ยงโดยเปล่าประโยชน์...ครับ

ไม่ใช่.....ยิ่งเตือน....ก็ยิ่งทำ...นะ555....ยิ่งเป็นคนคิดว่าตัวดีแล้วยิ่งด้วย..อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 20:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b8: :b8: :b8:

แต่ก็อย่าว่า..แหละครับ..ไม่รู้อโสกะ..จะยอมเปลี่ยนความยึดของตนรึไม่นะ...

อาจจะยากซะหน่อย..เพราะอาจจะกระทบถึงความศรัทธาส่วนตัวต่อบุคคลของอโสกะ...

ขอเตือน..อโสกะ..นะครับ....ถ้ายังไม่พร้อมที่จะถอนศรัทธาหรือความเชื่อเก่าๆของตน..แนะนำว่า..ให้เงียบไปเลยครับ...
กรรมของการเชื่อแบบเดิม..มีพิษไม่มาก...แต่หาก..วิจารณ์พระสัทธรรม....จะกลายเป็นการปรามาสพระรัตนตรัย..ไป

กรรม..มันจะหนัก...เข้าอริยะไม่ได้...เสี่ยงโดยเปล่าประโยชน์...ครับ

ไม่ใช่.....ยิ่งเตือน....ก็ยิ่งทำ...นะ555....ยิ่งเป็นคนคิดว่าตัวดีแล้วยิ่งด้วย..อิอิ

:b1:
ใครค้นตำราเก่งช่วยเอาส่วนที่เป็นบาลี ของท่อนที่กล่าวว่าสัตตคัตตุโสดาบันจะกลับมาเวียนว่ายในเทวดาและมนุษย์อีก 7 ชาติมาให้ดูหน่อยนะครับ จะอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง
:b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กูเกิ้ลมี หากใช้ไม่ถนัด
ควรฝึกที่จะใช้ ใช้เกิดประโยชน์
ไม่ใช่ทำจนติดเป็นนิสัย เที่ยวคอยเรียกร้องจากคนอื่นๆ

สงสัยคำเรียกไหน เขียนลงไปแล้วเสริชหา
ถึงแม้เขียนตัวหนังสือต่างกัน เดี่ยวก็หาเจอเอง

ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม
เป็นผู้สัตตักขัตตุปรมะ ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพ
แห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้ง เป็นอย่างมาก แล้ว
ย่อมกระทำาที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม
เป็นผู้โกลังโกละ จักต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุล
อีกสองหรือสามครั้ง แล้วย่อมกระทำาที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม
เป็นผู้เป็นเอกพีชี คือ จักเกิดในภพแห่งมนุษย์
อีกหนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำาที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ติก. อํ. ๒๐/๒๙๙-๓๐๑/๕๒๗.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 22:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: สาธุ..กับเจ้ด้วยครับ

asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
:b8: :b8: :b8:

แต่ก็อย่าว่า..แหละครับ..ไม่รู้อโสกะ..จะยอมเปลี่ยนความยึดของตนรึไม่นะ...

อาจจะยากซะหน่อย..เพราะอาจจะกระทบถึงความศรัทธาส่วนตัวต่อบุคคลของอโสกะ...

ขอเตือน..อโสกะ..นะครับ....ถ้ายังไม่พร้อมที่จะถอนศรัทธาหรือความเชื่อเก่าๆของตน..แนะนำว่า..ให้เงียบไปเลยครับ...
กรรมของการเชื่อแบบเดิม..มีพิษไม่มาก...แต่หาก..วิจารณ์พระสัทธรรม....จะกลายเป็นการปรามาสพระรัตนตรัย..ไป

กรรม..มันจะหนัก...เข้าอริยะไม่ได้...เสี่ยงโดยเปล่าประโยชน์...ครับ

ไม่ใช่.....ยิ่งเตือน....ก็ยิ่งทำ...นะ555....ยิ่งเป็นคนคิดว่าตัวดีแล้วยิ่งด้วย..อิอิ

:b1:
ใครค้นตำราเก่งช่วยเอาส่วนที่เป็นบาลี ของท่อนที่กล่าวว่าสัตตคัตตุโสดาบันจะกลับมาเวียนว่ายในเทวดาและมนุษย์อีก 7 ชาติมาให้ดูหน่อยนะครับ จะอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง
:b44: :b44: :b44:


ดีครับ...ที่ถามแค่นี้...
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 22:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


นักวิทยาศาสตร์พบว่า....การที่คนเราจะเปลี่ยนข้อมูลใดๆ...ในสมอง...จากอันเดิมสู่อันใหม่.
สมองจะต้องทำลายใยสมองอันเก่าออก..แล้วสร้างใยสมองอันใหม่ขึ้นมาแทน...พบว่า...สมองไม่ชอบทำลายใยสมองเก่าเท่าไร...มันขี้เกียจ

แต่นักวิทยาศาสตร์...ก็ไม่รู้ว่าอะไรอยู่เบื้องหลังการสั่งการให้สมองทำเช่นนั้น

แต่...ชาวพุทธรู้...รูปถูกสั่งงานด้วยนาม.....อุปาทาน..และ..ภพ.....อยู่ในส่วนนามขันธ์

อุปาทานและภพ...นั้นเองที่...ขัดขวาง...ความรู้ความเข้าใจใหม่ๆ...

จึงไม่ได้คาดการว่าอโสกะจะเปลี่ยนแปลง....เพราะมันเป็นเรื่องยากพอสมควร...ใครๆก็เป็นครับ..ผมก็เป็น
ดังนั้น..การได้พบกัลยาณมิตร..ที่รู้จริง..ตั้งแต่แรกเลย....จึงถือว่าเป็นความโชคดีของคน..คนนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 23:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
นักวิทยาศาสตร์พบว่า....การที่คนเราจะเปลี่ยนข้อมูลใดๆ...ในสมอง...จากอันเดิมสู่อันใหม่.
สมองจะต้องทำลายใยสมองอันเก่าออก..แล้วสร้างใยสมองอันใหม่ขึ้นมาแทน...พบว่า...สมองไม่ชอบทำลายใยสมองเก่าเท่าไร...มันขี้เกียจ

แต่นักวิทยาศาสตร์...ก็ไม่รู้ว่าอะไรอยู่เบื้องหลังการสั่งการให้สมองทำเช่นนั้น



ตอนนี้เอกอนค้นพบว่า เอกอนขี้ลืม ... ยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น และก็ยิ่งขึ้น :b32: :b32: :b32:

เด็กที่มาฝึกงานที่ทำงาน เขาฝึกมาเกือบเดือนแล้ว แต่เอกอนก็ต้องถามชื่อเขาอยู่หลายครั้ง
เอกอนจำหน้าคนไม่ค่อยได้ จำคนไม่ค่อยได้
จำชื่อคนแทบจำไม่ได้ ต้องเจอกันอยู่หลาย ๆ รอบ และเอกอนต้องถามชื่อเขาใหม่ทุก ๆ รอบ

วันนี้เอกอนไปหาผู้ช่วยผู้จัดการ แต่เอกอนดันเรียกชื่อเขาเป็นผู้ช่วยผู้จัดการคนเก่า...

:b32: :b32: :b32:

เป๋อเร๋อ...เข้าขั้นใช้ได้...

:b1: เอกอนเป็นคนที่มีแนวโนม้ที่จะเป็นโรคความจำเสื่อมสูง :b32:

:b32: :b32: :b32:

นึกภาพตัวเองในอนาคตไม่ออกเลย...ท่าจะอาเฟดน่าดูชม

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2014, 08:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
พระบรมศาสดาทรงสอนให้อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ ดังในกาลามสูตร
พระองค์ทรงสอนให้พิสูจน์ให้เห็นจริงก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ

ดังนั้นการยั่วยุให้ให้เกิดการค้นหาหลักฐานอันสมบูรณ์พร้อมแบบเถียงไม่ขึ้นมาแสดงว่าพระโสดาบันยังวนกลับมาเกิดในโลกมนุษย์ได้อีกจึงยังคงเหลือภาคปริยัติขั้นตอนสุดท้ายว่า

ต้นฉบับบาลี กับคำแปลภาษาไทย ใช่กันหรือไม่ ใครเก่งค้นตำราช่วยหามาหน่อยนะครับ จะได้ระงับอธิกรณ์ทั้งหมดที่เกิดในกระทู้นี้ได้ไปอีกเปลาะหนึ่งในส่วนของปริยัติการ
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2014, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อให้พระุทธเจ้า มายืนตรงหน้า
ก็ยังเดินส่ายหน้าหนี เฉกเช่นเดียวกับ โยคี ที่เดินส่ายหน้าหนีพระพุทธเจ้าไป

เพราะไม่ได้สร้างเหตุปัจจัย ให้มาเชื่อกัน
ย่อมยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิที่ตนยึดติดอยู่อย่างเหนียวแน่น


สิ่งใด เป็นสาระ คือ การหยุดสร้างเหตุนอกตัว ควรกล่าว
เพราะ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตน และผู้อื่น


คำที่ควรกล่าว

ภิกษุ ท. ! ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕
อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างอย่างไรเล่า ?
ห้าอย่างคือ :-

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งกามทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในกามทั้งหลาย ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งเนกขัมมะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในเนกขัมมะ.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดีปราศจาก กามทั้งหลายด้วยดี ;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายอันทำ ความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งพ๎ยาบาท,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในพ๎ยาบาท;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอัพ๎ยาบาท,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอัพ๎ยาบาท.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากพ๎ยาบาทด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะพ๎ยาบาทเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งพ๎ยาบาท.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งวิหิงสา,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในวิหิงสา ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอวิหิงสา,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอวิหิงสา,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจาก วิหิงสาด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งวิหิงสา.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในรูปทั้งหลาย ;

แต่เมื่อ ภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอรูป,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอรูป.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากรูปทั้งหลายด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งรูปทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ
เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งสักกายะ (ความยึดถือว่าตัวตน),
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งความดับแห่งสักกายะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากสักกายะด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะสักกายะ เป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่ง สักกายะ.

นันทิ (ความเพลิน) ในกาม ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในพ๎ยาบาท ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในวิหิงสา ก็ไม่นอนตาม (ในจิต)ของเธอ ;
นันทิในรูป ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ ;
นันทิในสักกายะ ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ.

เธอนั้น เมื่อกามนันทิก็ไม่นอนตาม พ๎ยาปาท นันทิก็ไม่นอนตาม วิหิงสานันทิก็ไม่นอนตาม รูปนันทิก็ไม่นอนตาม สักกายนันทิก็ไม่นอนตาม ดังนี้แล้ว ;

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวภิกษุนี้ว่า ปราศจากอาลัยตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ๕ อย่าง.
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.




หมายเหตุ:

เมื่อผัสสะเกิด(สิ่งที่เกิดขึ้น) เช่น ตาเห็น หูได้ยินฯลฯ เป็นเหตุให้ มีความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เกิดขึ้น ให้แค่รู้ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการ ดับเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน ให้สั้นลงไปเรื่อยๆ

ชั่วขณะ ที่เกิดผัสสะ แล้วไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นการสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ตามธรรมบทข้างบน

วิธีการดังกล่าวมานี้ ใช้ได้ทั้ง ผู้ที่ไม่มีเวลา และผู้ที่มีเวลา ทั้งผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติรูปแบบใด มาก่อน เป็นการสร้างเหตุ ดับเหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน ที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ เมื่อหลงสร้างเหตุออกไป ตามแรงผลักดันของกิเลส

การปฏิบัติแบบนี้ เรียกว่า ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม




สิ่งใด ไม่เป็นสาระ กล่าวไปแล้ว มีแต่เหตุของการเกิด เวียนวนอยู่อย่างนั้น ไม่ควรกล่าว
มีแต่เหตุของวิวาทะ มากกว่า การกระทำเพื่อดับเหตุที่กำลังจะทำให้เกิดขึ้นใหม่ ในแต่ละขณะๆๆๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2014, 16:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
กูเกิ้ลมี หากใช้ไม่ถนัด
ควรฝึกที่จะใช้ ใช้เกิดประโยชน์
ไม่ใช่ทำจนติดเป็นนิสัย เที่ยวคอยเรียกร้องจากคนอื่นๆ

สงสัยคำเรียกไหน เขียนลงไปแล้วเสริชหา
ถึงแม้เขียนตัวหนังสือต่างกัน เดี่ยวก็หาเจอเอง

ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม
เป็นผู้สัตตักขัตตุปรมะ ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพ
แห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้ง เป็นอย่างมาก แล้ว
ย่อมกระทำาที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม
เป็นผู้โกลังโกละ จักต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุล
อีกสองหรือสามครั้ง แล้วย่อมกระทำาที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม
เป็นผู้เป็นเอกพีชี คือ จักเกิดในภพแห่งมนุษย์
อีกหนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำาที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ติก. อํ. ๒๐/๒๙๙-๓๐๑/๕๒๗.

:b17: :b17:
ขอบาลีต้นฉบับด้วยครับ

ยิ่ง เอกพีชี จะต้องมาเกิดในภพมนุษย์อีกหนเดียวนี่ ยิ่งต้องเอาบาลีต้นฉบับมาพิสูจน์กัน เพราะดูเหมือนจะเพี้ยนจากธรรม อัน ยิ่งกว่าสัทธัมปฏิรูปเสียอีกนะครับ

grin


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2014, 16:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
หมายเหตุ:

เมื่อผัสสะเกิด(สิ่งที่เกิดขึ้น) เช่น ตาเห็น หูได้ยินฯลฯ เป็นเหตุให้ มีความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เกิดขึ้น ให้แค่รู้ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการ ดับเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน ให้สั้นลงไปเรื่อยๆ

ชั่วขณะ ที่เกิดผัสสะ แล้วไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นการสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ตามธรรมบทข้างบน

วิธีการดังกล่าวมานี้ ใช้ได้ทั้ง ผู้ที่ไม่มีเวลา และผู้ที่มีเวลา ทั้งผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติรูปแบบใด มาก่อน เป็นการสร้างเหตุ ดับเหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน ที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ เมื่อหลงสร้างเหตุออกไป ตามแรงผลักดันของกิเลส

การปฏิบัติแบบนี้ เรียกว่า ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม

สิ่งใด ไม่เป็นสาระ กล่าวไปแล้ว มีแต่เหตุของการเกิด เวียนวนอยู่อย่างนั้น ไม่ควรกล่าว
มีแต่เหตุของวิวาทะ มากกว่า การกระทำเพื่อดับเหตุที่กำลังจะทำให้เกิดขึ้นใหม่ ในแต่ละขณะๆๆๆ

:b27:

จากข้อความที่อ้างอิงมานี้ลองเทียบเคียงกับคำพูดต่อไปนี้ซิ ว่าเข้าถึงจุดประสงค์อันเดียวกันหรือไม่

อ้างคำพูด:
"นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์ จนดับไปต่อหน้าต่อตา"

smiley


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 346 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร