วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 14:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2014, 23:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2014, 15:21
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
พูดเรื่องเจตสิก ผมอยากจะแสดงความเห็นของผมเองเกี่ยวกับเจตสิก เช่น ถือถ้วยกาแฟอยู่ จะประกอบด้วย น้ำหนัก ความร้อนของกาแฟ ความอ่อนแข็ง ปสาทรูปปรากฎ และอื่นๆ ความเห็นผมคือ หากจิตรับรู้ความร้อนอยู่ จิตจะไม่รับรู้น้ำหนัก หรือความอ่อนแข็ง ดังนั้น ธรรมเกิดร่วมกันก็จริง แต่ธรรมปรากฎทีละอย่าง ไม่ปรากฎพร้อมกัน

ที่คุณฟักบอกว่า เจตสิกเกิดรวมกันนั้น ความเห็นผมนั้นเจตสิกเกิดรวมกันไม่ได้ครับ แต่เกิดขึ้นร่วมกัน คือปรากฎทีละดวง ไม่ใช่เอาเจตสิกหลายๆดวงมารวมกันเป็นดวงเดียวกัน


เฮ้ออ นึกว่า ตัวเองเป็น ตลกคาเฟ่ คอยถือ พจนานุกรม มาตีความ
เพื่อพื้นฝอยหาตะเข็บ เก็บยิบย่อย กับ คำว่า และ / หรือ เช่นนั้น เหรอ
แนะนำให้ไปหา คณิตศาสตร์ ม.4 เรื่อง ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน
และคอมพลีเมนต์ของเซต มาอ่านนะ เผื่อจะเก็ท ขึ้นมามั่ง
อ้อ แล้ว ไปหาอ่านเรื่อง สสารกับธาตุ และ อะตอม
ในวิชา เคมี ด้วย ก็จะเกิด มรรคผล ยิ่งขึ้น :b32:

ไอ้เรื่อง เจตสิก อะไร นั่นน่ะ เราก็ไป ก๊อปฯ ชาวบ้านเขามา
แล้ว เราไก็ไม่ได้ มานั่ง จุกจิก ใส่ใจ ด้วยว่า มันจะเป็น การเกิด ร่วม หรือ รวมกัน ฯลฯ
เราไม่ได้พูด โดยเจาะลึก ถึง ระดับ ปรมณู
ใน บริบท ของ สิ่งที่แบ่งแยกมิได้ เหมือน อะตอม
แต่เราพูดถึง สภาพกว้าง ๆ ในระดับ ที่ ทวารทั้ง 6 จับรายละเอียดได้
ถ้าเป็น ทางเคมี ก็เรียกว่า พูดในบริบท สสารที่เป็นของผสม อาทิเช่น
การเอา สีดำ มาผสม สีขาว มันก็กลายเป็น สีเทา
เอาสีน้ำเงิน มา ผสมสีเหลือง มันก็กลายเป็น สีเขียว
สโคปที่เราพูดถึง คือ ผลลัพท์ ที่ได้ ว่า สีน้ำเงิน หรือ สีเทา มันเป็น กุศล /อกุศล
ผลของ วิบาก ( การรวมกันของแม่สีนั้น ๆ ) มันเป็นไง ตกนรกไหม ฯลฯ

แต่ คุณ ก็ พยาม จะ แยกแยะ ในระดับ อนุภาคของสี ประมาณว่า
สีน้ำเงิน กับ สีเหลือง มัน ไม่ได้รวมกัน แต่มัน เป็น อนุภาค มีเหลือง+น้ำเงิน


เรา พยามจะดูแบบองค์รวม แต่ คุณ ก็พยาม พูดแบบแยกส่วน
เหมือนจะทำใจไม่ได้ ถ้า วิบากของไอ้ความรักชาติ มันจะให้ ผลที่ ไม่ถูกใจ คุณ
อนึ่ง ในชีวิตจริง มันไม่มี ภาพ สโลวชั่น แบบแมทริกซ์ ให้ สังเกตได้หรอกนะ
ว่า เวลาเกิด เจตสิก ขึ้นมา มันจะผุดขึ้นมาเป็น ดวง ๆ จนเห็นได้ชัด


เวลาคุณถือถ้วยกาแฟ ไม่เคยรู้สึกทั้งหนัก ทั้ง ร้อน ร่วมกันหรือไง
นั่นแหล่ะ ในภาษา คณิตศาสตร์ เขาเรียก ยูเนี่ยน
( ซึ่งจะ ใช้ศัพท์ ว่า รวม หรือ ร่วม กันก็ได้
ไม่ได้ แตกต่างอะไรแบบมีนัยยะสำคัญ
จน ต้องแบ่งแยก นักหรอก จุกจิกอะไรนักหนา ฟระ )



student เขียน:
ดังนั้น ความรักชาติเป็นโสภณเจตสิกในความเห็นของผม ขอยกตัวอย่าง ความเมตตาครับ ความเมตตาเป็นโสภณเจตสิก แต่หากมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วม ก็จะกลายเป็นความลำเอียง กลายเป็นวิบัติ

เช่นกันกับความรักชาติ เป็นโสภณเจตสิก แต่หากมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วม ก็จะกลายเป็นรักชาติแต่มีความวิบัติของธรรม เช่น ความต้องการทำลายล้าง

ความเห็นผมไม่ได้ขัดแย้งกันตั้งแต่แรกครับ


ตกลง คุณจะให้ รักชาติ เป็น อะไรกันแน่
จะเป็น เมตตา หรือ เป็น ปัญญา เอาให้แน่
แค่ คำพูดคุณ ในโพสนี้ กับโพส ก่อน มันก็ ขัดแย้งกันเองแล้ว

กุศล แปลว่า อะไร
ใช่ ละแล้ว ซึ่ง รัก โลภ โกรธ หลง
ปราศจาก ซึ่ง อุปทานขันธ์ทั้ง 5 ที่เรียกว่า ตัวกู ของกู หรือไม่

ความรัก แปลว่า อะไร มีคำว่า ตัวกูของกู เข้ามาเกี่ยวไหม ?
ความรักในชาติ มันก็คือ การ รักผูกพันธ์ ใน ชา่ติพันธ์ ของตน
แล้ว มัน ขัด กันเอง กับ คำว่า กุศล หรือไม่
แล้ว คำว่า รักชาติ จะเป็น โสภณเจตสิกไปได้อย่างไร ?
ในเมื่อ มันยังมี การแบ่งแยกเป็น ประเทศชาติของกรู ปรเทศชาติของมรึ้ง อยู่


จะ ยกเคสสตั็ดดี้ มาถกกันนะ

ความรักชาติ คืออะไร
แล้ว เมื่อ มี อริราชศัตรู มารุกราน ประเทศ ทหารผู้ รักชาติ ต้องทำเช่นไร
จึงจะเรียกว่า รักชาติ จะต้อง กำจัดเข่นฆ่า อริราชศัตรู เพื่อปกป้องประเทศ หรือไม่
แล้ว การ ก้าวล่วงศีล ข้อ 1 เช่นนี้ จะ เรียกว่า เป็น กุศล เป็น ปัญญา ได้เต็มปากเต็มคำ หรือไง ?


แก้ไขล่าสุดโดย ไอ้ฟัก เมื่อ 19 มี.ค. 2014, 23:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2014, 23:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2014, 15:21
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ไอ้ฟัก เขียน:
1.คนดี ที่ รักชาติ ( แต่ปราศจาก ศีล 5 )

"คนดี"
คือ คนที่มีศีล มีหิริโอตัปปะ มีเมตตาพรหมวิหาร

คนที่ปราศจากศีล หรือไม่มีศีล ไม่เรียก "คนดี" ลักษณะตาม ๑
เรียกว่า "ดีแต่ปาก" หรือ "มือถือสากปากถือศีล"

"รักชาติ" ก็หวังผลประโชน์จากชาติ ไม่ใช่รักชาติเพื่อเสียสละ


ไอ้ฟัก เขียน:
2.คนธรรมดา ๆ มีศีล 5 ( แต่ว่า ไม่รักชาติ )

ผู้มีศีล เรียกว่า "อริยะชน คนดี" คำว่า "ไม่รักชาติ" ไม่มี

ประเทศชาติ ท่านเปรียบเหมือนต้นโพธิต้นไทร

เหมือนคนที่อาศัยต้นโพธิต้นไทร ได้รับร่มรื่น มีความสุขสบาย ย่อมทำนุบำรุงรักษา
ต้นโพธิต้นไทรนั้น ให้ยั่งยืน เติบโตไปตราบนานเท่านาน อยู่ ๆ จะมาโค่นทิ้งทำลายเสีย
ย่อมไม่ใช่วิสัยของ "อริยะชน" ผู้มีศีล ..

:b1:


ถ้า ประเทศชาติ เปรียบเหมือน ต้นโพธิ ต้นไทร
(หรือ คล้าย ๆ กับ บ้านเรือนที่คอยคุ้มแดด คุ้มฝน ป้องกัน ภยันตรายให้ )
เหมือนเช่นที่ คุณ พยามจะ อุปมา อุปไมย ให้เราฟัง

งั้น บุคคลที่ กล่าวเช่นนี้ ใช่ "อริยะชน" หรือไม่ ?
เหตุใด เขาจึง รื้อทำลาย เรือน ทิ้งเสีย


อ้างคำพูด:

" เราแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือนคือตัณหา เมื่อไม่พบก็ต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก

การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูกร นายช่างผู้สร้างเรือนคือตัณหา เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนแก่เราอีกไม่ได้แล้ว

โครงสร้างเรือนของท่าน เราก็หักหมดแล้วยอดเรือนคือ อวิชชา เราก็รื้อเสียแล้ว


จิตเราถึง วิสังขารปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว "



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้า ประเทศชาติ เปรียบเหมือน ต้นโพธิ ต้นไทร
(หรือ คล้าย ๆ กับ บ้านเรือนที่คอยคุ้มแดด คุ้มฝน ป้องกัน ภยันตรายให้ )
เหมือนเช่นที่ คุณ พยามจะ อุปมา อุปไมย ให้เราฟัง

งั้น บุคคลที่ กล่าวเช่นนี้ ใช่ "อริยะชน" หรือไม่ ?
เหตุใด เขาจึง รื้อทำลาย เรือน ทิ้งเสีย



เป็นคำพูดที่ถูกทั้งหมด แต่เป็นคนละแง่มุม
คำพูดอันแรกนั้นเป็นการสอนให้รู้จักบุญคุณของประเทศชาติที่อาศัย

อีกคำพูดหนึ่งเมื่อทรงกำจัดมารแล้วทรงเปล่งพระอุทาน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล ประทับนั่ง ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์
เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคตทรงกำจัดมารและพลแห่งมารแล้ว
ในปฐมยาม ทรงทำลายความมืดที่ปกปิดปุพเพนิวาสญาณ

ในมัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว
ในปัจฉิมยาม ทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงหยั่งพระญาณลงในปัจจยาการแล้ว
ทรงพิจารณาปัจจยาการนั้น ด้วยสามารถแห่งอนุโลมและปฏิโลม
ในเวลาอรุณขึ้นทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
พร้อมด้วยอัศจรรย์หลายอย่าง เมื่อจะทรงเปล่งอุทานว่า

อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง
เมื่อเรายังไม่พบญาณ แลได้แล่นท่องเที่ยวไปใน สงสารเป็นเอนกชาติ

คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน คือตัณหาผู้สร้าง
ภพการเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป

คะหะกะระกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ
นี่แน่ะ นายช่างปลูกเรือน เรารู้จักเจ้า เสียแล้ว
เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไปแล้ว

สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตัง
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว
ยอดเรือนเราก็รื้อทิ้งเสียแล้วด้วย

วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ชะยะมัชฌะคาติฯ
จิตของเราถึงแล้ว ซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้
อีกต่อไปมันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหาคือพระนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 13:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2014, 15:21
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จขกท. นะ ตะกี้ ตั้งกระทู้

www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47469

ที่ ห้องสนทนาธรรมทั่วไป แล้ว มีคนแนะนำว่า

กบนอกกะลา เขียน:
เขาก็ได้โอกาสคัดค้านแล้ว....คุณก็ไปให้เหตุผลซิครับ...ก็เป็นไปตามกฏิกา

มาให้เหตุผลข้างนอก..นี้..ไม่มีประโยชน์จะไปช่วเระทู้นั้นได้...


เราก็เลยมา โพสในนี้ อีกครั้ง
แต่เรา ก็ยังไม่รู้เลย ว่า ตกลงที่ กระทู้นี้ ของเรา มันโดนแบน เนี่ย
มันเป็นเพราะเหตุใด แล้วจะให้เราแก้ข้อ กล่าวหา ยังไงล่ะหว่า ?

:b7: :b7: :b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


บอกตรงๆคุนน้องรู้สึกปวดกะบาลกับวิธีการที่ ทีมงานพิจารณากระทู้ของสมาชิกแล้วก็ ลงเสียงเป็นเอกฉันท์ว่า เอาลงขยะ ถ้ามีคนมาค้านให้เหตุผลฟังขึ้นค่อยย้ายมาไว้ตามเดิมถ้าไม่มีคนค้านก็สมควรลบ กรรม :b5:
แล้วเหตุผลของการเอาลงขยะ มันคืออะไร มันต้องรู้เหตุก่อนถึงจะถามหาผลได้ เฮ้อปวดกะบาล s002
อุปมาเช่น เราจับโจรผู้ร้าย เราก็ต้องบอกเค้าว่าเค้าโดนข้อหาอะไรทำไมถึงจับแหละต้องมีพยานหลักฐาน มีของกลาง นี่อยู่ๆสงสัยว่าคนนี้จะเป็นผู้ร้ายเอาจับเข้าคุก หลักฐานก็ไม่มีมะรู้โดนข้อหาอะไร แถมประกาศว่าถ้าไม่มีผู้ร้องทุกข์หรือผู้คัดค้าน ก็เตรียมตัวขึ้นแท่นประหาร เวรกรรม grin


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไอ้ฟัก เขียน:
ถ้า ประเทศชาติ เปรียบเหมือน ต้นโพธิ ต้นไทร
(หรือ คล้าย ๆ กับ บ้านเรือนที่คอยคุ้มแดด คุ้มฝน ป้องกัน ภยันตรายให้ )
เหมือนเช่นที่ คุณ พยามจะ อุปมา อุปไมย ให้เราฟัง

งั้น บุคคลที่ กล่าวเช่นนี้ ใช่ "อริยะชน" หรือไม่ ?
เหตุใด เขาจึง รื้อทำลาย เรือน ทิ้งเสีย
อ้างคำพูด:

" เราแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือนคือตัณหา เมื่อไม่พบก็ต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก

การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูกร นายช่างผู้สร้างเรือนคือตัณหา เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนแก่เราอีกไม่ได้แล้ว
โครงสร้างเรือนของท่าน เราก็หักหมดแล้วยอดเรือนคือ อวิชชา เราก็รื้อเสียแล้ว

จิตเราถึง วิสังขารปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว "

ตามมาเสวนา .. เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย ..

ที่คุณยกมา ..

"ตัณหา" คือผู้สร้าง "เรือน" เรือนในที่นี่ ท่านหมายถึง ร่างกาย สกนธ์กาย อันได้แก่ กายมนุษย์ กายสัตว์เดรัจฉาน
สัตว์นรก เทวดา พรหมฯ เป็นต้น เมื่อขจัดหรือดับ "ตัณหาอวิชชา" ได้แล้ว ท่านก็ไม่ต้องแสวงหา "เรือน" ที่ไหนอีก

หรือ ..

"ธรรม" ท่านเปรียบเหมือน "เรือหรือแพ" ที่พาเราข้ามฝัง ข้ามโลกสงสาร เมื่อถึงฝั่ง(นิพพาน)แล้ว
เราก็ปล่อย เรือหรือแพเสีย ซึ่งท่านเปรียบกับธรรมบทที่ว่า "ธรรมาอนัตตา" ..

หรือ ..

"ร่างกายนี้" ท่านเปรียบเหมือน "เรือรั่ว" หรือ "บ้านที่ไฟกำลังไหม้" ให้พากันขนสิ่งที่มีประโยชน์ออกจากเรือ
หรือออกจากบ้านให้เร็วไว อันได้แก่ แก้วแหวนเงินทอง ท่านเตือนให้เอาไปให้ "ทาน" เสียบ้าง เป็นต้น ..

การอุปมาอุปมัยหรือเปรียบเทียบนี้ หมายถึง การขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจ
เพราะสิ่งที่ตนรู้ ตนเข้าใจนั้นท่านเรียก "ปัจจัตตัง" รู้เฉพาะตน สิ่งที่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปมัย
ก็ไม่ใช่สิ่งที่มีความหมายตายตัวเสมอไป ..

อย่างที่เปรียบเทียบไว้ เรื่องชาติบ้านเมือง ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เกิดปัญญา ..


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 15:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2014, 15:21
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ตามมาเสวนา .. เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย ..

ที่คุณยกมา ..

"ตัณหา" คือผู้สร้าง "เรือน" เรือนในที่นี่ ท่านหมายถึง ร่างกาย สกนธ์กาย อันได้แก่ กายมนุษย์ กายสัตว์เดรัจฉาน
สัตว์นรก เทวดา พรหมฯ เป็นต้น เมื่อขจัดหรือดับ "ตัณหาอวิชชา" ได้แล้ว ท่านก็ไม่ต้องแสวงหา "เรือน" ที่ไหนอีก

หรือ ..

"ธรรม" ท่านเปรียบเหมือน "เรือหรือแพ" ที่พาเราข้ามฝัง ข้ามโลกสงสาร เมื่อถึงฝั่ง(นิพพาน)แล้ว
เราก็ปล่อย เรือหรือแพเสีย ซึ่งท่านเปรียบกับธรรมบทที่ว่า "ธรรมาอนัตตา" ..

หรือ ..

"ร่างกายนี้" ท่านเปรียบเหมือน "เรือรั่ว" หรือ "บ้านที่ไฟกำลังไหม้" ให้พากันขนสิ่งที่มีประโยชน์ออกจากเรือ
หรือออกจากบ้านให้เร็วไว อันได้แก่ แก้วแหวนเงินทอง ท่านเตือนให้เอาไปให้ "ทาน" เสียบ้าง เป็นต้น ..

การอุปมาอุปมัยหรือเปรียบเทียบนี้ หมายถึง การขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจ
เพราะสิ่งที่ตนรู้ ตนเข้าใจนั้นท่านเรียก "ปัจจัตตัง" รู้เฉพาะตน สิ่งที่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปมัย
ก็ไม่ใช่สิ่งที่มีความหมายตายตัวเสมอไป ..

อย่างที่เปรียบเทียบไว้ เรื่องชาติบ้านเมือง ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เกิดปัญญา ..


:b1:


อืม...แต่ สำหรับ เรา อ่ะนะ
เรา คิดว่า เรือน ในที่นี้ มันคือ อะไรก็ได้ ที่ก่อให้เกิด อุปทานขันธ์ทั้ง 5
หรือ ทำให้เกิดเป็น การยึดมั่นถือมั่น ในจิต
การเกิด ปฏิฆะ การเกิดความผูกพันธ์ในใจ ฯลฯ
ฉะนั้น เรือน ในความหมาย ที่ ตถาคต กล่าว ไว้ ในพระไตรปิฎก
จึงไม่น่าจะ หมายถึง เฉพาะ กาย เท่านั้น
แต่ น่าจะครอบคลุมรวมไปถึง ใจในลักษณะ ของ การเกิดยึดมั่นถือมั่น ในจิต ด้วย

ถ้าคุณยังจำ พุทธ ประวัติ ได้ ใครเล่าที่ พลั้งปาก ออกมา ว่า " ราหุล ชาตะ พันธนะ " ?
ความรัก เอง ก็จัดว่า เป็น ราหุล ชนิดหนึ่ง ที่เปรียบเสมือน เชือก
ที่ยึดโยง ร้อยรัด ผูกมัดเสาเรือน ขื่อคา เอาไว้ ให้เกิดเป็นเรือน
ดังนั้น ความรักในลักษณะที่ มีการจำแนกเป็นของกรูของเมิง
เช่น ความรักชาติ(พันธุ์) ของกรู จึง ไม่น่าจะเป็น กุศล ไปเสียได้

แต่ความรักและปรารถนาดี มีเมตตาต่อ ทุกชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน
โดยมี ความยุติธรรม มาเป็นเครื่อง กำกับ
และ ไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ จากใคร ๆ ต่างหากล่ะ ที่เป็น กุศลอย่างแท้จริง
ไม่ใช่ความรักชาติที่หลงใน อัตตา ตัวกรูของกรู เฉกเช่นที่เห็นกันเกร่อ แบบทุกวันนี้

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ไอ้ฟัก เขียน:
วิริยะ เขียน:
ตามมาเสวนา .. เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย ..

ที่คุณยกมา ..

"ตัณหา" คือผู้สร้าง "เรือน" เรือนในที่นี่ ท่านหมายถึง ร่างกาย สกนธ์กาย อันได้แก่ กายมนุษย์ กายสัตว์เดรัจฉาน
สัตว์นรก เทวดา พรหมฯ เป็นต้น เมื่อขจัดหรือดับ "ตัณหาอวิชชา" ได้แล้ว ท่านก็ไม่ต้องแสวงหา "เรือน" ที่ไหนอีก

หรือ ..

"ธรรม" ท่านเปรียบเหมือน "เรือหรือแพ" ที่พาเราข้ามฝัง ข้ามโลกสงสาร เมื่อถึงฝั่ง(นิพพาน)แล้ว
เราก็ปล่อย เรือหรือแพเสีย ซึ่งท่านเปรียบกับธรรมบทที่ว่า "ธรรมาอนัตตา" ..

หรือ ..

"ร่างกายนี้" ท่านเปรียบเหมือน "เรือรั่ว" หรือ "บ้านที่ไฟกำลังไหม้" ให้พากันขนสิ่งที่มีประโยชน์ออกจากเรือ
หรือออกจากบ้านให้เร็วไว อันได้แก่ แก้วแหวนเงินทอง ท่านเตือนให้เอาไปให้ "ทาน" เสียบ้าง เป็นต้น ..

การอุปมาอุปมัยหรือเปรียบเทียบนี้ หมายถึง การขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจ
เพราะสิ่งที่ตนรู้ ตนเข้าใจนั้นท่านเรียก "ปัจจัตตัง" รู้เฉพาะตน สิ่งที่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปมัย
ก็ไม่ใช่สิ่งที่มีความหมายตายตัวเสมอไป ..

อย่างที่เปรียบเทียบไว้ เรื่องชาติบ้านเมือง ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เกิดปัญญา ..


:b1:


อืม...แต่ สำหรับ เรา อ่ะนะ
เรา คิดว่า เรือน ในที่นี้ มันคือ อะไรก็ได้ ที่ก่อให้เกิด อุปทานขันธ์ทั้ง 5
หรือ ทำให้เกิดเป็น การยึดมั่นถือมั่น ในจิต
การเกิด ปฏิฆะ การเกิดความผูกพันธ์ในใจ ฯลฯ
ฉะนั้น เรือน ในความหมาย ที่ ตถาคต กล่าว ไว้ ในพระไตรปิฎก
จึงไม่น่าจะ หมายถึง เฉพาะ กาย เท่านั้น
แต่ น่าจะครอบคลุมรวมไปถึง ใจในลักษณะ ของ การเกิดยึดมั่นถือมั่น ในจิต ด้วย

ถ้าคุณยังจำ พุทธ ประวัติ ได้ ใครเล่าที่ พลั้งปาก ออกมา ว่า " ราหุล ชาตะ พันธนะ " ?
ความรัก เอง ก็จัดว่า เป็น ราหุล ชนิดหนึ่ง ที่เปรียบเสมือน เชือก
ที่ยึดโยง ร้อยรัด ผูกมัดเสาเรือน ขื่อคา เอาไว้ ให้เกิดเป็นเรือน
ดังนั้น ความรักในลักษณะที่ มีการจำแนกเป็นของกรูของเมิง
เช่น ความรักชาติ(พันธุ์) ของกรู จึง ไม่น่าจะเป็น กุศล ไปเสียได้

แต่ความรักและปรารถนาดี มีเมตตาต่อ ทุกชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน
โดยมี ความยุติธรรม มาเป็นเครื่อง กำกับ
และ ไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ จากใคร ๆ ต่างหากล่ะ ที่เป็น กุศลอย่างแท้จริง
ไม่ใช่ความรักชาติที่หลงใน อัตตา ตัวกรูของกรู เฉกเช่นที่เห็นกันเกร่อ แบบทุกวันนี้

รูปภาพ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 16:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2014, 15:21
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับ น้ำใจไมตรีของทุกทั่น
ที่มาร่วมด้วยช่วยกัน จนสามารถ อุ้มกระทู้ กลับมาได้ Kiss

tongue tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2014, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ไอ้ฟัก เขียน:
student เขียน:
พูดเรื่องเจตสิก ผมอยากจะแสดงความเห็นของผมเองเกี่ยวกับเจตสิก เช่น ถือถ้วยกาแฟอยู่ จะประกอบด้วย น้ำหนัก ความร้อนของกาแฟ ความอ่อนแข็ง ปสาทรูปปรากฎ และอื่นๆ ความเห็นผมคือ หากจิตรับรู้ความร้อนอยู่ จิตจะไม่รับรู้น้ำหนัก หรือความอ่อนแข็ง ดังนั้น ธรรมเกิดร่วมกันก็จริง แต่ธรรมปรากฎทีละอย่าง ไม่ปรากฎพร้อมกัน

ที่คุณฟักบอกว่า เจตสิกเกิดรวมกันนั้น ความเห็นผมนั้นเจตสิกเกิดรวมกันไม่ได้ครับ แต่เกิดขึ้นร่วมกัน คือปรากฎทีละดวง ไม่ใช่เอาเจตสิกหลายๆดวงมารวมกันเป็นดวงเดียวกัน


เฮ้ออ นึกว่า ตัวเองเป็น ตลกคาเฟ่ คอยถือ พจนานุกรม มาตีความ
เพื่อพื้นฝอยหาตะเข็บ เก็บยิบย่อย กับ คำว่า และ / หรือ เช่นนั้น เหรอ
แนะนำให้ไปหา คณิตศาสตร์ ม.4 เรื่อง ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน
และคอมพลีเมนต์ของเซต มาอ่านนะ เผื่อจะเก็ท ขึ้นมามั่ง
อ้อ แล้ว ไปหาอ่านเรื่อง สสารกับธาตุ และ อะตอม
ในวิชา เคมี ด้วย ก็จะเกิด มรรคผล ยิ่งขึ้น :b32:

ไอ้เรื่อง เจตสิก อะไร นั่นน่ะ เราก็ไป ก๊อปฯ ชาวบ้านเขามา
แล้ว เราไก็ไม่ได้ มานั่ง จุกจิก ใส่ใจ ด้วยว่า มันจะเป็น การเกิด ร่วม หรือ รวมกัน ฯลฯ
เราไม่ได้พูด โดยเจาะลึก ถึง ระดับ ปรมณู
ใน บริบท ของ สิ่งที่แบ่งแยกมิได้ เหมือน อะตอม
แต่เราพูดถึง สภาพกว้าง ๆ ในระดับ ที่ ทวารทั้ง 6 จับรายละเอียดได้
ถ้าเป็น ทางเคมี ก็เรียกว่า พูดในบริบท สสารที่เป็นของผสม อาทิเช่น
การเอา สีดำ มาผสม สีขาว มันก็กลายเป็น สีเทา
เอาสีน้ำเงิน มา ผสมสีเหลือง มันก็กลายเป็น สีเขียว
สโคปที่เราพูดถึง คือ ผลลัพท์ ที่ได้ ว่า สีน้ำเงิน หรือ สีเทา มันเป็น กุศล /อกุศล
ผลของ วิบาก ( การรวมกันของแม่สีนั้น ๆ ) มันเป็นไง ตกนรกไหม ฯลฯ

แต่ คุณ ก็ พยาม จะ แยกแยะ ในระดับ อนุภาคของสี ประมาณว่า
สีน้ำเงิน กับ สีเหลือง มัน ไม่ได้รวมกัน แต่มัน เป็น อนุภาค มีเหลือง+น้ำเงิน


เรา พยามจะดูแบบองค์รวม แต่ คุณ ก็พยาม พูดแบบแยกส่วน
เหมือนจะทำใจไม่ได้ ถ้า วิบากของไอ้ความรักชาติ มันจะให้ ผลที่ ไม่ถูกใจ คุณ
อนึ่ง ในชีวิตจริง มันไม่มี ภาพ สโลวชั่น แบบแมทริกซ์ ให้ สังเกตได้หรอกนะ
ว่า เวลาเกิด เจตสิก ขึ้นมา มันจะผุดขึ้นมาเป็น ดวง ๆ จนเห็นได้ชัด


เวลาคุณถือถ้วยกาแฟ ไม่เคยรู้สึกทั้งหนัก ทั้ง ร้อน ร่วมกันหรือไง
นั่นแหล่ะ ในภาษา คณิตศาสตร์ เขาเรียก ยูเนี่ยน
( ซึ่งจะ ใช้ศัพท์ ว่า รวม หรือ ร่วม กันก็ได้
ไม่ได้ แตกต่างอะไรแบบมีนัยยะสำคัญ
จน ต้องแบ่งแยก นักหรอก จุกจิกอะไรนักหนา ฟระ )



student เขียน:
ดังนั้น ความรักชาติเป็นโสภณเจตสิกในความเห็นของผม ขอยกตัวอย่าง ความเมตตาครับ ความเมตตาเป็นโสภณเจตสิก แต่หากมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วม ก็จะกลายเป็นความลำเอียง กลายเป็นวิบัติ

เช่นกันกับความรักชาติ เป็นโสภณเจตสิก แต่หากมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วม ก็จะกลายเป็นรักชาติแต่มีความวิบัติของธรรม เช่น ความต้องการทำลายล้าง

ความเห็นผมไม่ได้ขัดแย้งกันตั้งแต่แรกครับ


ตกลง คุณจะให้ รักชาติ เป็น อะไรกันแน่
จะเป็น เมตตา หรือ เป็น ปัญญา เอาให้แน่
แค่ คำพูดคุณ ในโพสนี้ กับโพส ก่อน มันก็ ขัดแย้งกันเองแล้ว

กุศล แปลว่า อะไร
ใช่ ละแล้ว ซึ่ง รัก โลภ โกรธ หลง
ปราศจาก ซึ่ง อุปทานขันธ์ทั้ง 5 ที่เรียกว่า ตัวกู ของกู หรือไม่

ความรัก แปลว่า อะไร มีคำว่า ตัวกูของกู เข้ามาเกี่ยวไหม ?
ความรักในชาติ มันก็คือ การ รักผูกพันธ์ ใน ชา่ติพันธ์ ของตน
แล้ว มัน ขัด กันเอง กับ คำว่า กุศล หรือไม่
แล้ว คำว่า รักชาติ จะเป็น โสภณเจตสิกไปได้อย่างไร ?
ในเมื่อ มันยังมี การแบ่งแยกเป็น ประเทศชาติของกรู ปรเทศชาติของมรึ้ง อยู่


จะ ยกเคสสตั็ดดี้ มาถกกันนะ

ความรักชาติ คืออะไร
แล้ว เมื่อ มี อริราชศัตรู มารุกราน ประเทศ ทหารผู้ รักชาติ ต้องทำเช่นไร
จึงจะเรียกว่า รักชาติ จะต้อง กำจัดเข่นฆ่า อริราชศัตรู เพื่อปกป้องประเทศ หรือไม่
แล้ว การ ก้าวล่วงศีล ข้อ 1 เช่นนี้ จะ เรียกว่า เป็น กุศล เป็น ปัญญา ได้เต็มปากเต็มคำ หรือไง ?


เป็นความเห็นครับ คุณฟักจะแยกเจตสิกหรือไม่แยกเจตสิกมันก็เป็นเรื่องของคุณฟัก ผมยกตัวอย่างให้พิจารณา ว่าหากกำหนดรู้ร้อนเย็น ก็ไม่รู้อ่อนแข็ง หรือน้ำหนัก เช่นเดียวกันกับความรักชาติ เป็นธรรม เป็นอารมณ์ แต่เพราะไปหลงกับความทะเลาะ ความโกรธ จึงไม่รู้ความรักชาติ มันคนละอารมณ์กัน อารมณ์โกรธกับอารมณ์รักชาติมันคนละเจตสิกกัน ความรักชาติจึงไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์โกรธ อาจจะเป็นอารมณ์เมตตา ก็มีให้เห็นกันเยอะแยะ ที่คุณฟักพยายามจะเข้าใจไปในทางที่เกิดการหลอมเข้าด้วยกัน เช่น รักชาติ แล้วมีคำถามของ
อ้างคำพูด:
แล้ว เมื่อ มี อริราชศัตรู มารุกราน ประเทศ ทหารผู้ รักชาติ ต้องทำเช่นไร
จึงจะเรียกว่า รักชาติ จะต้อง กำจัดเข่นฆ่า อริราชศัตรู เพื่อปกป้องประเทศ หรือไม่
แล้ว การ ก้าวล่วงศีล ข้อ 1 เช่นนี้ จะ เรียกว่า เป็น กุศล เป็น ปัญญา ได้เต็มปากเต็มคำ หรือไง
มันคนละอย่างกันครับ ทำไมต้องเข่นฆ่าอริราชศัตรู เพื่อปกป้องประเทศ การเข่นฆ่า จึงมีเหตุจากความอาฆาต ไม่ใช่ความรักชาติ แต่ความรักชาติมีเหตุมาจากความเห็นถูก จึงเกิดความรักชาติ คุณฟักจะเอาอารมณ์มาปนกันนั้น มันก็เหมือนเอาเจตสิกมารวมกันเป็นก้อนเดียวกันนั่นแหละครับ ความเห็นใครกันแน่ที่เปรียบวิชาเลขแล้วงงกับ subset เอง

กุศลธรรมก็กุศลธรรม อกุศลก็อกุศล มันคนละอย่าง คำถามแรกที่คุณถามคือ รักชาติ แต่ผิดศีล ก็เป็นไปได้ครับ มีให้เห็นเยอะแยะ แต่ความรักชาติเป็นความเห็นถูก เป็นกุศลของอารมณ์ แต่ผิดศีลคุณก็พูดเองว่า ฆ่าเพราะความรักชาติ ฆ่านั้นผิดศีลครับ แต่เพราะความอาฆาตพยาบาทนั้นเป็นวิบัติครับ เป็นอกุศล ผมก็ยกตัวอย่างให้เห็นแล้ว แล้วไม่เกี่ยวกับรักชาติด้วย การฆ่านั้นมีมูลเหตุจากอารมณ์อื่นที่วิบัติจากความรักชาติ ลองไปเรียง subset ให้ดีๆครับ

อ้างคำพูด:
แต่เราพูดถึง สภาพกว้าง ๆ ในระดับ ที่ ทวารทั้ง 6 จับรายละเอียดได้
ถ้าเป็น ทางเคมี ก็เรียกว่า พูดในบริบท สสารที่เป็นของผสม อาทิเช่น
การเอา สีดำ มาผสม สีขาว มันก็กลายเป็น สีเทา
เอาสีน้ำเงิน มา ผสมสีเหลือง มันก็กลายเป็น สีเขียว
สโคปที่เราพูดถึง คือ ผลลัพท์ ที่ได้ ว่า สีน้ำเงิน หรือ สีเทา มันเป็น กุศล /อกุศล
ผลของ วิบาก ( การรวมกันของแม่สีนั้น ๆ ) มันเป็นไง ตกนรกไหม ฯลฯ

ทวารทั้ง6 นี่ยิ่งชัดเจนว่า แยกธาตุรู้กัน อย่างตาเอาไว้มอง แต่ใช้ฟังเสียงหรืออย่างอื่นไม่ได้ หูเอาไว้ฟัง จะเอามาใช้แทนตาหรืออย่างอื่นไม่ได้ ทวารทั้ง6 ยังแยกธาตุรู้กัน ฉันใดก็ฉันนั้น รักชาติ การฆ่า ผิดศีล จึงไม่เกี่ยวข้องกัน แม้จะเกิดร่วมกันเพราะเจตสิกบางอารมณ์เกิดร่วมกันได้ คุณพิจารณาเอา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2014, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไอ้ฟักเขียน
ตกลง คุณจะให้ รักชาติ เป็น อะไรกันแน่
จะเป็น เมตตา หรือ เป็น ปัญญา เอาให้แน่
แค่ คำพูดคุณ ในโพสนี้ กับโพส ก่อน มันก็ ขัดแย้งกันเองแล้ว

กุศล แปลว่า อะไร
ใช่ ละแล้ว ซึ่ง รัก โลภ โกรธ หลง
ปราศจาก ซึ่ง อุปทานขันธ์ทั้ง 5 ที่เรียกว่า ตัวกู ของกู หรือไม่

ความรัก แปลว่า อะไร มีคำว่า ตัวกูของกู เข้ามาเกี่ยวไหม ?
ความรักในชาติ มันก็คือ การ รักผูกพันธ์ ใน ชา่ติพันธ์ ของตน
แล้ว มัน ขัด กันเอง กับ คำว่า กุศล หรือไม่
แล้ว คำว่า รักชาติ จะเป็น โสภณเจตสิกไปได้อย่างไร ?
ในเมื่อ มันยังมี การแบ่งแยกเป็น ประเทศชาติของกรู ปรเทศชาติของมรึ้ง อยู่


ก่อนจะพูดถึงอุปทานขันธ์5 นั้น เราต้องรู้ก่อนว่าขันธ์5 นั้นคืออะไร รู้ด้วยวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่รู้ด้วยความคิดอ่านทางความจำ จากนั้นจึงมาดูว่าอุปทานขันธ์5นั้นเป็นตัวกูของกูอย่างไร

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2014, 18:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2014, 15:21
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ไอ้ฟัก เขียน:
student เขียน:
พูดเรื่องเจตสิก ผมอยากจะแสดงความเห็นของผมเองเกี่ยวกับเจตสิก เช่น ถือถ้วยกาแฟอยู่ จะประกอบด้วย น้ำหนัก ความร้อนของกาแฟ ความอ่อนแข็ง ปสาทรูปปรากฎ และอื่นๆ ความเห็นผมคือ หากจิตรับรู้ความร้อนอยู่ จิตจะไม่รับรู้น้ำหนัก หรือความอ่อนแข็ง ดังนั้น ธรรมเกิดร่วมกันก็จริง แต่ธรรมปรากฎทีละอย่าง ไม่ปรากฎพร้อมกัน

ที่คุณฟักบอกว่า เจตสิกเกิดรวมกันนั้น ความเห็นผมนั้นเจตสิกเกิดรวมกันไม่ได้ครับ แต่เกิดขึ้นร่วมกัน คือปรากฎทีละดวง ไม่ใช่เอาเจตสิกหลายๆดวงมารวมกันเป็นดวงเดียวกัน


เฮ้ออ นึกว่า ตัวเองเป็น ตลกคาเฟ่ คอยถือ พจนานุกรม มาตีความ
เพื่อพื้นฝอยหาตะเข็บ เก็บยิบย่อย กับ คำว่า และ / หรือ เช่นนั้น เหรอ
แนะนำให้ไปหา คณิตศาสตร์ ม.4 เรื่อง ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน
และคอมพลีเมนต์ของเซต มาอ่านนะ เผื่อจะเก็ท ขึ้นมามั่ง
อ้อ แล้ว ไปหาอ่านเรื่อง สสารกับธาตุ และ อะตอม
ในวิชา เคมี ด้วย ก็จะเกิด มรรคผล ยิ่งขึ้น :b32:

ไอ้เรื่อง เจตสิก อะไร นั่นน่ะ เราก็ไป ก๊อปฯ ชาวบ้านเขามา
แล้ว เราไก็ไม่ได้ มานั่ง จุกจิก ใส่ใจ ด้วยว่า มันจะเป็น การเกิด ร่วม หรือ รวมกัน ฯลฯ
เราไม่ได้พูด โดยเจาะลึก ถึง ระดับ ปรมณู
ใน บริบท ของ สิ่งที่แบ่งแยกมิได้ เหมือน อะตอม
แต่เราพูดถึง สภาพกว้าง ๆ ในระดับ ที่ ทวารทั้ง 6 จับรายละเอียดได้
ถ้าเป็น ทางเคมี ก็เรียกว่า พูดในบริบท สสารที่เป็นของผสม อาทิเช่น
การเอา สีดำ มาผสม สีขาว มันก็กลายเป็น สีเทา
เอาสีน้ำเงิน มา ผสมสีเหลือง มันก็กลายเป็น สีเขียว
สโคปที่เราพูดถึง คือ ผลลัพท์ ที่ได้ ว่า สีน้ำเงิน หรือ สีเทา มันเป็น กุศล /อกุศล
ผลของ วิบาก ( การรวมกันของแม่สีนั้น ๆ ) มันเป็นไง ตกนรกไหม ฯลฯ

แต่ คุณ ก็ พยาม จะ แยกแยะ ในระดับ อนุภาคของสี ประมาณว่า
สีน้ำเงิน กับ สีเหลือง มัน ไม่ได้รวมกัน แต่มัน เป็น อนุภาค มีเหลือง+น้ำเงิน


เรา พยามจะดูแบบองค์รวม แต่ คุณ ก็พยาม พูดแบบแยกส่วน
เหมือนจะทำใจไม่ได้ ถ้า วิบากของไอ้ความรักชาติ มันจะให้ ผลที่ ไม่ถูกใจ คุณ
อนึ่ง ในชีวิตจริง มันไม่มี ภาพ สโลวชั่น แบบแมทริกซ์ ให้ สังเกตได้หรอกนะ
ว่า เวลาเกิด เจตสิก ขึ้นมา มันจะผุดขึ้นมาเป็น ดวง ๆ จนเห็นได้ชัด


เวลาคุณถือถ้วยกาแฟ ไม่เคยรู้สึกทั้งหนัก ทั้ง ร้อน ร่วมกันหรือไง
นั่นแหล่ะ ในภาษา คณิตศาสตร์ เขาเรียก ยูเนี่ยน
( ซึ่งจะ ใช้ศัพท์ ว่า รวม หรือ ร่วม กันก็ได้
ไม่ได้ แตกต่างอะไรแบบมีนัยยะสำคัญ
จน ต้องแบ่งแยก นักหรอก จุกจิกอะไรนักหนา ฟระ )



student เขียน:
ดังนั้น ความรักชาติเป็นโสภณเจตสิกในความเห็นของผม ขอยกตัวอย่าง ความเมตตาครับ ความเมตตาเป็นโสภณเจตสิก แต่หากมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วม ก็จะกลายเป็นความลำเอียง กลายเป็นวิบัติ

เช่นกันกับความรักชาติ เป็นโสภณเจตสิก แต่หากมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วม ก็จะกลายเป็นรักชาติแต่มีความวิบัติของธรรม เช่น ความต้องการทำลายล้าง

ความเห็นผมไม่ได้ขัดแย้งกันตั้งแต่แรกครับ


ตกลง คุณจะให้ รักชาติ เป็น อะไรกันแน่
จะเป็น เมตตา หรือ เป็น ปัญญา เอาให้แน่
แค่ คำพูดคุณ ในโพสนี้ กับโพส ก่อน มันก็ ขัดแย้งกันเองแล้ว

กุศล แปลว่า อะไร
ใช่ ละแล้ว ซึ่ง รัก โลภ โกรธ หลง
ปราศจาก ซึ่ง อุปทานขันธ์ทั้ง 5 ที่เรียกว่า ตัวกู ของกู หรือไม่

ความรัก แปลว่า อะไร มีคำว่า ตัวกูของกู เข้ามาเกี่ยวไหม ?
ความรักในชาติ มันก็คือ การ รักผูกพันธ์ ใน ชา่ติพันธ์ ของตน
แล้ว มัน ขัด กันเอง กับ คำว่า กุศล หรือไม่
แล้ว คำว่า รักชาติ จะเป็น โสภณเจตสิกไปได้อย่างไร ?
ในเมื่อ มันยังมี การแบ่งแยกเป็น ประเทศชาติของกรู ปรเทศชาติของมรึ้ง อยู่


จะ ยกเคสสตั็ดดี้ มาถกกันนะ

ความรักชาติ คืออะไร
แล้ว เมื่อ มี อริราชศัตรู มารุกราน ประเทศ ทหารผู้ รักชาติ ต้องทำเช่นไร
จึงจะเรียกว่า รักชาติ จะต้อง กำจัดเข่นฆ่า อริราชศัตรู เพื่อปกป้องประเทศ หรือไม่
แล้ว การ ก้าวล่วงศีล ข้อ 1 เช่นนี้ จะ เรียกว่า เป็น กุศล เป็น ปัญญา ได้เต็มปากเต็มคำ หรือไง ?


เป็นความเห็นครับ คุณฟักจะแยกเจตสิกหรือไม่แยกเจตสิกมันก็เป็นเรื่องของคุณฟัก ผมยกตัวอย่างให้พิจารณา ว่าหากกำหนดรู้ร้อนเย็น ก็ไม่รู้อ่อนแข็ง หรือน้ำหนัก เช่นเดียวกันกับความรักชาติ เป็นธรรม เป็นอารมณ์ แต่เพราะไปหลงกับความทะเลาะ ความโกรธ จึงไม่รู้ความรักชาติ มันคนละอารมณ์กัน อารมณ์โกรธกับอารมณ์รักชาติมันคนละเจตสิกกัน ความรักชาติจึงไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์โกรธ อาจจะเป็นอารมณ์เมตตา ก็มีให้เห็นกันเยอะแยะ ที่คุณฟักพยายามจะเข้าใจไปในทางที่เกิดการหลอมเข้าด้วยกัน เช่น รักชาติ แล้วมีคำถามของ
อ้างคำพูด:
แล้ว เมื่อ มี อริราชศัตรู มารุกราน ประเทศ ทหารผู้ รักชาติ ต้องทำเช่นไร
จึงจะเรียกว่า รักชาติ จะต้อง กำจัดเข่นฆ่า อริราชศัตรู เพื่อปกป้องประเทศ หรือไม่
แล้ว การ ก้าวล่วงศีล ข้อ 1 เช่นนี้ จะ เรียกว่า เป็น กุศล เป็น ปัญญา ได้เต็มปากเต็มคำ หรือไง
มันคนละอย่างกันครับ ทำไมต้องเข่นฆ่าอริราชศัตรู เพื่อปกป้องประเทศ การเข่นฆ่า จึงมีเหตุจากความอาฆาต ไม่ใช่ความรักชาติ แต่ความรักชาติมีเหตุมาจากความเห็นถูก จึงเกิดความรักชาติ คุณฟักจะเอาอารมณ์มาปนกันนั้น มันก็เหมือนเอาเจตสิกมารวมกันเป็นก้อนเดียวกันนั่นแหละครับ ความเห็นใครกันแน่ที่เปรียบวิชาเลขแล้วงงกับ subset เอง

กุศลธรรมก็กุศลธรรม อกุศลก็อกุศล มันคนละอย่าง คำถามแรกที่คุณถามคือ รักชาติ แต่ผิดศีล ก็เป็นไปได้ครับ มีให้เห็นเยอะแยะ แต่ความรักชาติเป็นความเห็นถูก เป็นกุศลของอารมณ์ แต่ผิดศีลคุณก็พูดเองว่า ฆ่าเพราะความรักชาติ ฆ่านั้นผิดศีลครับ แต่เพราะความอาฆาตพยาบาทนั้นเป็นวิบัติครับ เป็นอกุศล ผมก็ยกตัวอย่างให้เห็นแล้ว แล้วไม่เกี่ยวกับรักชาติด้วย การฆ่านั้นมีมูลเหตุจากอารมณ์อื่นที่วิบัติจากความรักชาติ ลองไปเรียง subset ให้ดีๆครับ

อ้างคำพูด:
แต่เราพูดถึง สภาพกว้าง ๆ ในระดับ ที่ ทวารทั้ง 6 จับรายละเอียดได้
ถ้าเป็น ทางเคมี ก็เรียกว่า พูดในบริบท สสารที่เป็นของผสม อาทิเช่น
การเอา สีดำ มาผสม สีขาว มันก็กลายเป็น สีเทา
เอาสีน้ำเงิน มา ผสมสีเหลือง มันก็กลายเป็น สีเขียว
สโคปที่เราพูดถึง คือ ผลลัพท์ ที่ได้ ว่า สีน้ำเงิน หรือ สีเทา มันเป็น กุศล /อกุศล
ผลของ วิบาก ( การรวมกันของแม่สีนั้น ๆ ) มันเป็นไง ตกนรกไหม ฯลฯ

ทวารทั้ง6 นี่ยิ่งชัดเจนว่า แยกธาตุรู้กัน อย่างตาเอาไว้มอง แต่ใช้ฟังเสียงหรืออย่างอื่นไม่ได้ หูเอาไว้ฟัง จะเอามาใช้แทนตาหรืออย่างอื่นไม่ได้ ทวารทั้ง6 ยังแยกธาตุรู้กัน ฉันใดก็ฉันนั้น รักชาติ การฆ่า ผิดศีล จึงไม่เกี่ยวข้องกัน แม้จะเกิดร่วมกันเพราะเจตสิกบางอารมณ์เกิดร่วมกันได้ คุณพิจารณาเอา


เราว่า คุณตอบไม่ค่อยจะตรงประเด็น เลยนะ
พื้นฝอยหาตะเข็บ พยามจะ เล่นสำบัดสำนวน กับศัพท์แสง ไงก็ไม่รู้ อ่ะ
งั้น เรา แยกถาม เป็น รายข้อดีกว่า
ในที่นี้ จะพูด ใน ประเด็น ความรักชาติ เป็น เจตสิก แบบไหน นะ
เพราะ ถ้าเรา รู้ ว่า ความรักชาติ เป็น เจตสิก แบบใด
ก็ย่อม พอจะ อนุมานได้ว่า ความรักชาติ มันเป็นกุศล หรือ อกุศล หรือ อื่น ๆ ฯลฯ

1.สรุปแล้ว คุณ เห็นว่า รักชาติ เป็น ปัญญา ใช่หรือไม่ ?

2.ปัญญา เป็น ซับเซต ของโสภณเจตสิก หรือ จิต ที่เป็น กุศล ใช่หรือไม่ ?

3. ความรัก คือ อะไร
และถ้าสำหรับคุณ ความรัก หมายถึง เมตตา ( ปราถนา ให้ผู้อื่น มีความสุข )
หากมี เมตตา เพียงอย่างเดียว ( โดยปราศจาก อุเบกขา และ ความ ยุติธรรม มากำกับ ) เมตตา จะ เป็น ซับเซต ของปัญญา ได้อย่างไร ในเมื่อ ตัวเมตตาเพียว ๆ นั้น
มันไม่สามารถ ทำให้ เสา ของ พรหมวิหาร ครบ 4 เสา จนเกิด ดุลยภาพได้เลย




4.กุศล คือ อะไร คุณเห็นด้วยกับ คำกล่าวนี้ หรือไม่

อ้างคำพูด:

กุศลนั้น เป็นสิ่งที่ ทำหน้าที่ แผ้วถาง สิ่งกีดขวาง ผูกรัด หรือ รกรุงรัง
ไม่ข้องแวะ กับความฟูใจ หรือ พอใจ เช่นนั้น แต่มีความมุ่งหมายจะกำจัดเสียซึ่ง

สิ่งต่างๆ อันเป็นเหตุ ให้พัวพัน อยู่ใน กิเลสตัณหา อันเป็น เครื่องนำให้ เกิดแล้ว

http://www.buddhadasa.com/freethinkbook/boonkusol.html




5. และ หาก คุณ เห็นด้วย กับคำกล่าว ใน ข้อ 3
ความรักชาติ จะเป็น ซับเซต ของ กุศล ไป ได้อย่างไร
ในเมื่อ กุศล ต้องมี ลักษณะ แผ้วถาง สิ่งกีดขวาง ผูกรัด หรือ รกรุงรัง

ใน ขณะที่ ความรักชาติ มันจะมีลักษณะของความ ผูกพันธ์ เข้ามาด้วย
นั่นคือ มีเมตตา ( ปราถนาดีอย่างจำเพาะเจาะจงต่อชาติแผ่นดินเกิดที่ตน อาศัย ฯลฯ )
ซึ่ง เงื่อนไขในลักษณะดังกล่าว ไม่น่าจะใช่ ลักษณะ ของเจตสิก ที่เป็น กุศล

แต่ถ้าเป็น ความรักที่ปราศจากเงื่อนไขของพระเยซู
ที่มีให้กับ ทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะ เป็น มิตร หรือ ศัตรู
อันนี้ ก็๋ พอจะ อนุโลม ได้ว่า อาจจะเป็น กุศล )



6.หาก คุณ ไม่เห็นด้วยกับ คำกล่าวในข้อ 3 ก็แสดงว่า
กุศลนั้น มัน ...ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่ ทำหน้าที่ แผ้วถาง สิ่งกีดขวาง ผูกรัด หรือ รกรุงรัง แต่เป็นสิ่งที่ ทำให้เกิด การผูกรัด
จนเกิดเป็น ความ ยึดมั่นถือมั่นใจจิต

อ่ะดิ s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2014, 00:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่า "ตกนรกด้วยกันทั้งคู่ครับ"
คนที่ไม่มีศีลนี่ ยังไงโอกาสเสี่ยงต่อการตกนรกสูงอย่แล้วครับ
มันก้แปลกอย่อย่างก้ค้ือ คนไม่มีศีล นี่ศีลยังรักษาไม่ได้ เขาจะเอาอะไรไปรักชาตินี่ เพราะศีลเปนเรื่องของบุคคล แต่ชาติที่รักษานี่เปนเรื่องของส่วนรวม เรื่องของตัวเองทำไม่ได้ แต่กลับจะไปทำเรื่องที่ยิ่งใหญ่กว่าให้ได้ มันก้ขัดๆกันเหมือนกันนะ :b41:

ส่วนคนมีศีลแต่ไม่รักชาติ ถึงมีศีลแต่ไม่มีชาติของเราให้เราอย่นี่ มันแย่ยิ่งกว่าตกนรกซะอีกนะ
คือตกนรกตั้งแต่ตัวเองยังมีชีวิตอยู่ (โดยปกติคนที่มีศีล5 จริงๆ ยังไงเขาก้ต้องรักชาติ รักมาตุภูมิอยู่แล้ว
เพียงแต่ว่าเขาจะแสดงออกต่อการรักชาติด้วยวิธีไหนเท่านั้น พูดง่ายๆว่ารักซะยิ่งกว่าชีวิตตัวเองซะอีก) :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2014, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool คับ มาอีกแล้ว อิอิ

มันอาจจะขัดกับความรู้สึกนะ. แต่ถ้าจะมองในมุมของศาสนา, ความรักชาติ เป็น อกุศล นะ.

:b6: ชาติ ที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ เป็นประเทศ มีอาณาเขตที่แน่นอน จะข้ามไปข้ามมาโดยอิสระไม่ได้. ชาติแบบนี้ ดำรงอยู่ได้ด้วย ความเกลียด ความกลัว และความไม่ไว้วางใจ.

คนชาติหนึ่ง ย่อมเห็นคนชาติอื่น มีความเป็นคน น้อยกว่าคนชาติเดียวกัน. และแน่นอนว่า เราก็ย่อมเป็นคนต่างชาติ ในมุมมองของคนชาติอื่น.

ความรักชาติ เป็นความรักแต่ชื่อเท่านั้น, จริงๆ มันคือความเกลียดที่มีต่อคนชาติอื่น. ยิ่งรักชาติมากเท่าไร เราก็ยิ่งมีความเกลียดมากขึ้นเท่านั้น. หรือแม้แต่เกลียดคนชาติเดียวกัน ที่ไม่ได้แสดงความรักชาติ ในแบบที่เราต้องการ.

:b6: ชาติ ไม่ได้เป็นสิ่งสากลในธรรมชาติ มันเพิ่งเกิดในยุคหลังๆ นี่เอง.
ในสมัยโบราณ มันเป็นลักษณะของ เขตอิทธิพล (ชิงพื้นทีกัน แต่คนไม่เกี่ยว). ประเทศสยามจึงไม่มี มีแต่เขตอิทธิพลของสยาม เขตอิทธิพลของล้านนา เขมร มายัน ไอยคุปต์ เมโสโปเตเมีย ฯลฯ
เป็นเขตของเจ้าพ่อที่จะหาผลประโยชน์ แต่ไม่เกี่ยวกับชาวบ้าน, ชาวบ้านไม่ต้องมีบัตรประชาชน. คนจากเขตอิทธิพลอื่น จะย้ายเข้ามาก็ได้ ไม่ต้องมีวีซ่า พาสปอร์ต, ไม่ต้องบอกว่า เราเป็นคนในสังกัดของเขตใด เพราะไม่มีใครสน.

s004 ในเมืองไทย คนจำนวนหนึ่งถือว่า ชาติ หมายถึง ราชอาณาจักร. ความรักชาติของคนจำนวนนั้น จึงหมายถึง การยอมสวามิภักดิ์ต่อราชา, ไม่ว่าคนๆ นั้นจะมาจากประเทศใด หากยอมสวามิภักดิ์แล้ว ย่อมได้ชื่อว่า รักชาติ.

จริงๆ ในศตวรรษที่ 21 นี้, ชาติในความหมายว่า อาณาจักรของราชา มันก็ดูจะตกยุคไปหน่อย. ชาติในศตวรรษนี้ ควรจะหมายถึง ประชาชน มากกว่า.

onion เอาละ จากที่เขียนมา, ท่านๆ คิดว่า ความรักชาติเป็นกุศล เป็นความดีทางธรรมหรือเปล่า.

จบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2014, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


บางทีมุมมองที่เกิดจากกระแสทางโลก ทำให้เกิดการตีความหมายความรักชาติไปต่างๆนาๆ

ถ้าเรามองดูตัวอารมณ์จริงๆ ล่ะ ไม่ต้องมองประเทศ ไม่ต้องแบ่งอาณาเขต ไม่ต้องพูดถึงประเทศอะไร มองที่ตัวอารมณ์อย่างเดียว มองแล้วพิจารณาดูว่า เป็นอกุศลอย่างไร หรือเป็นกุศลอย่างไร

ไม่ต้องไปตีความหมายว่ารักชาติไทยหรือชาติอื่น เพราะคำถามขึ้นต้นว่ารักชาติ เป็นอารมณ์ จะแย้งว่าเป็นกิเลส ก็แย้งมา

เอาอารมณ์มาสนทนากันว่า อารมณ์ที่ว่า เป็นกุศล หรือไม่เป็นกุศล ทำไม? แล้วหากเป็นกิเลส ทำไมจึงเป็นกิเลส หรือเป็นปัญญา ทำไมจึงเป็นปัญญา? แล้วทำไมอารมณ์นี้ต้องตกนรก? อารมณ์นี้ไปเบียดเบียน หรือวิบัติของอารมณ์นี้ไปเบียดเบียน?

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร