วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 02:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 13:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ส่วนพระไตรปิฎก ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่ แล้วอ้างอิงไปยังคำสอน ที่พระพุทธเจ้า

จะมีความแตกต่างตรงนี้



หมายถึงอะไรครับคุณวลัยพร
หรือคุณเห็นเช่นเดียวกับพุทธทาสที่ใส่ร้ายพระพุทธโฆสะว่าเผาบาลีพระไตรเดิมแล้วทำขึ้นใหม่ครับ
กรณีนี้แยกกระทู้ตั้งใหม่ได้เลยครับ ยาวแน่

ถ้าเข้าใจผิดขอภัยด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
พอพูดคำว่าธรรมะเท่านั้น เรามองข้ามธรรมะไปเลย :b32: มาเริ่มเรียนธรรมะกัน


http://www.youtube.com/watch?v=gnCId5vDZO8


สฬายตนะ = อายตนะ ๖ คือ ๑. จักขุ (ตา) ๒. โสตะ (หู) ๓. ฆาน (จมูก. ๔. ชิวหา (ลิ้น) ๕. กาย (ร่างกาย) ๖. มโน (ใจ)

เต็มๆก็ดังนี้ ๑. จักขายตนะ ๒. โสตายตนะ ๓. ฆานายตนะ ๔.ชิวหายตนะ ๕.กายายตนะ ๖. มนายตนะ

เมื่อท่านอธิบายชีวิตนี้โดยความเป็นธาตุ ก็เอาธาตุต่อท้ายศัพท์นั่นเข้าไป เช่น จักขุธาตุ โสตธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ

เมื่อท่านต้องการอธิบายชีวิตนี้โดยความเป็นอินทรีย์ก็เอาคำอินทรีย์ต่อท้ายศัพท์นั่นเข้าไป เช่น จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฯลฯ มนินทรีย์

แล้วก็เรียกวิญญาณที่รับรู้อารมณ์ตามช่อง (ทวาร, ประตู) ทั้ง ๖ แต่ละช่องๆนั่นเอง เช่น วิญญาณที่รู้อารมณ์ทางจักขุ (ตา) เรียกว่า จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ ตามลำดับ



สรุปให้เห็นอีกทีว่า อายตนะ ๖ อารมณ์ ๖ และวิญญาณ ๖ มีชื่อในภาษาธรรม และมีความเกี่ยวเนื่องกัน ดังนี้

๑. จักขุ - ตา - เป็นแดนรับรู้ รูป - รูป - เกิดความรู้คือ จักขุวิญญาณ -- เห็น

๒. โสตะ- หู - เป็นแดนรับรู้ สัททะ - เสียง - เกิดความรู้คือ โสตวิญญาณ – ได้ยิน

๓. ฆานะ – จมูก - เป็นแดนรับรู้ คันธะ - กลิ่น - เกิดความรู้คือ ฆานะวิญญาณ- ได้กลิ่น

๔. ชิวหา - ลิ้น - เป็นแดนรับรู้ - รส - รส - เกิดความรู้คือ ชิวหาวิญญาณ – รู้รส

๕. กาย – กาย – เป็นแดนรับรู้ โผฏฐัพพะ - สิ่งต้องกาย เกิดความรู้คือ กายวิญญาณ - รู้สิ่งต้องกาย

๖. มโน – ใจ เป็นแดนรับรู้ - ธรรมารมณ์ - เรื่องในใจ เกิดความรู้คือ มโนวิญญาณ - รู้เรื่องในใจ



เรียกย่อๆก็ ข้อ ๑-๕ เป็นฝายรูป เรียกเต็มว่า รูปธรรม ข้อ ๖ เป็นฝ่ายนาม เรียกเต็มว่า นามธรรม ชีวิตถ้าเรียกสั้นๆ ก็มีเพียงรูปนาม (รูปกับนาม) หรือนามรูป (นามกับรูป) :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
ส่วนพระไตรปิฎก ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่ แล้วอ้างอิงไปยังคำสอน ที่พระพุทธเจ้า

จะมีความแตกต่างตรงนี้



หมายถึงอะไรครับคุณวลัยพร
หรือคุณเห็นเช่นเดียวกับพุทธทาสที่ใส่ร้ายพระพุทธโฆสะว่าเผาบาลีพระไตรเดิมแล้วทำขึ้นใหม่ครับ
กรณีนี้แยกกระทู้ตั้งใหม่ได้เลยครับ ยาวแน่

ถ้าเข้าใจผิดขอภัยด้วยครับ



ไม่ได้มีความเห็นเหมือนท่านพุทธทาส
นั่นเป็นเหตุของท่านพุทธทาส ไม่เกี่ยวกับวลัยพร


ส่วนที่วลัยพรบอกว่า พระไตรปิฎก ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่ แล้วอ้างอิงไปยังคำสอน ที่พระพุทธเจ้า

ไม่ได้หมายเจาะจงถึงใครเป็นพิเศษ แต่หมายถึง ที่เจอในอินเตอร์เนต
ใช้ชื่อว่า พระไตรปิฎก โดยอาศัยคำสอนของพระพุทธเจ้า นำมาตีความอีกที

ตามลิงค์ ที่ได้แนบไปนั่นแหละ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
นี่ก็จิ้นอีก

เฮ้อเอางี้แล้วกันครับ
ผมขี้เกียจถกกับความมั่วของคุณแล้ว
คนนึงอาศัยพุทธพจน์ คนนึงอาศัยจิ้นเอาเอง
คนนนึงบอกแมวมีหนวดมีสี่ขาร้องเมี๊ยวชอบกินปลาทู อีกคนบอกแมวร้องโฮ่งๆชอบกินกระดูก
ศัพท์เดียวกันคนนนึงอาศัยพุทธพจน์และอรรถกถาธิบาย อีกคนจิ้นเอาเอง


คุณคันฯนี่มีอารมณ์ขันเหลือเฟือนะครับ
เวลาได้อ่านความเห็นของคุณแล้ว มันอดนึกถึงเรื่องขำๆในวงเหล้าไม่ได้
เรื่องของเรื่อง คนอีสานโดนจิ๊กโก๋รุมกระทืบ ได้แต่ร้องตะโกนว่า..."อย่าทำค่อยๆๆๆๆ"

ผมได้ยินคุณพูดว่า "ขี้เกียจพูด ขี้เกียจถก เสียเวลาและอีกแยะแยะ"
ผมยังบอกคุณว่า ถ้าคุณวางเฉยได้ก็ยินดี นี่มาอีกแล้ว
ถามจริงคุณเป็นพวกตระกูล เชิญยิ้มหรือเปล่า อีกหน่อยต้องเรียกว่า "คันเชิญยิ้ม"
หรือจะเป็น"เกาชวนชื่น"ดีครับ :b32:

cantona_z เขียน:
ศัพท์เดียวกันคนนนึงอาศัยพุทธพจน์และอรรถกถาธิบาย อีกคนจิ้นเอาเอง


ยังกล้าพูด! คุณมันเอาพุทธวจนะที่มีเนื้อหายาวเหยียด
มาทำให้เป็นคำศัพท์ซะสั้นจุ๊ดจู่ และคุณเอาขี้ปากใครก็ไม่รู้มามั่วนิ่มว่า
เป็นอรรถกถาแปล.... :b32:

cantona_z เขียน:
เพราะขนาดสูตรที่คุณยกมาอย่างอนัตตลักขณสูตร กับสิ่งที่คุณอธิบาย
ยังเป็นไปคนละทิศละทาง


นั้นมันเป็นความคิดเห็นของคุณ ผมไม่ถือสา ผมรู้จักมรรยาทครับ :b13:

cantona_z เขียน:

ส่วนใอ้ที่จิ้นเอาไม่ต้องพูดถึง
ขันธ์ 5 ผัสสะ อายตนะ12 กลับไปทำความเข้าใจให้เคลียร์ก่อนดีกว่าครับ
เข้าใจนิยามให้ชัดแล้วค่อยกระโดดไปปฏิจจสมุปบาท กระโดดไปธรรมฐิติธรรมนิยาม
กระโดดไปสังขตอสังขต

อย่ามั่วเอาเองครับ


ผมว่าคุณก็คงพึ่งรู้จักบัญญัติต่างๆเหล่านี้ จากความเห็นที่ผมแสดงมั้งครับ

อยากให้คุณสงบจิตสงบใจ อย่าให้มันพุ่งพร่าน
ไม่งั้นกิเลสในใจมันออกมาแร๊พโย่วข้างนอกน่ะครับ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
ส่วนพระไตรปิฎก ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่ แล้วอ้างอิงไปยังคำสอน ที่พระพุทธเจ้า

จะมีความแตกต่างตรงนี้



หมายถึงอะไรครับคุณวลัยพร
หรือคุณเห็นเช่นเดียวกับพุทธทาสที่ใส่ร้ายพระพุทธโฆสะว่าเผาบาลีพระไตรเดิมแล้วทำขึ้นใหม่ครับ
กรณีนี้แยกกระทู้ตั้งใหม่ได้เลยครับ ยาวแน่

ถ้าเข้าใจผิดขอภัยด้วยครับ



ไม่ได้มีความเห็นเหมือนท่านพุทธทาส
นั่นเป็นเหตุของท่านพุทธทาส ไม่เกี่ยวกับวลัยพร


ส่วนที่วลัยพรบอกว่า พระไตรปิฎก ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่ แล้วอ้างอิงไปยังคำสอน ที่พระพุทธเจ้า

ไม่ได้หมายเจาะจงถึงใครเป็นพิเศษ แต่หมายถึง ที่เจอในอินเตอร์เนต
ใช้ชื่อว่า พระไตรปิฎก โดยอาศัยคำสอนของพระพุทธเจ้า นำมาตีความอีกที

ตามลิงค์ ที่ได้แนบไปนั่นแหละ


คงจะทำนองเดียวกันกับที่คุณ "เกาชวนชื่น" ไปเอาขี้ปากใครก็ไม่รู้
แล้วมาบอกว่าเป็น อรรถกถาแปลมั้งครับ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:

ครับ ปุถุชนไม่ว่า ผู้ใหญ่หรือเด็กก็ยังมีอวิชชานอนเนื่องในจิต
เมื่อมีผัสสะเกิด ก็ไม่รู้ชัดในเวทนา สัญญา ที่เกิดจากผัสสะนั้นว่าเกิดขี้นเพราะมีเหตุปัจจัย

คุณเกาชวนชื่น พูดธรรมเรื่อยเปื่อย หาแก่นสาระธรรมไม่ได้เลยครับ
ขึ้นชื่อว่าปุถุชน ไม่มีทางที่จะเห็นหรือรู้ว่ามีสิ่งที่คุณพูดหรอกครับ
และผมว่าคุณก็ไม่เคยเห็น ไอ้ที่คุณพูดมาทั้งหมด มันเป็นเพียงบัญญัติ
ของจริงมันเป็นสภาวธรรมในกายใจ

พูดยังกะว่าเห็นตัวหนังสือลอยไปลอยมายังงั้นแหล่ะ :b32:

cantona_z เขียน:
เมื่อได้เสพเวทนาอันเป็นสุขทุกข์ ก็เกิดติดใจเพลิดเพลินเกิดนันทิราคะ
เกิดตัณหาทำให้มีอุปาทานก่อภพก่อชาติต่อไปไม่รู้จบสิ้น


คุณเกาฯครับ ผมถามคุณจริง คุณพูดจาเคยคำนึงถึงเหตุหรือเปล่าครับ
บอกว่า....เสพเวทนาอันเป็นสุขทุกข์ แล้วดันบอกว่าเกิดติดใจเพลิดเพลิน
ผมถามคุณครับเวทนาเป็นทุกข์ คุณติดใจเพลิดเพลินหรือครับ
ถามจริง คุณเป็นซาดิสหรือเปล่าครับ :b32:

cantona_z เขียน:

ต่อเมื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดมีความเกิดขี้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นย่อมมีความดับเป็นธรรมดา
จึงเห็นการทำงานของปฏิจจสมุปบาท เกิดเป็นดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาบัน
เมื่อละราคะโทสะได้ก็เป็นอนาคามีบุคคล
จนเมื่อละโมหะได้ก็ละอวิชชาอันเป็นเหตุให้ปฏิจจสมุปบาททำงานนั้นสิ้นเสีย
จึงไม่ก่อภพก่อชาติทั้งทางใจและทางกายต่อไป


สาวกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้ละอย่างที่คุณกำลังจ้อซะหน่อย
พระพุทธองค์ท่านให้ ละสังโยชน์๑๐ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
ส่วนพระไตรปิฎก ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่ แล้วอ้างอิงไปยังคำสอน ที่พระพุทธเจ้า

จะมีความแตกต่างตรงนี้



หมายถึงอะไรครับคุณวลัยพร
หรือคุณเห็นเช่นเดียวกับพุทธทาสที่ใส่ร้ายพระพุทธโฆสะว่าเผาบาลีพระไตรเดิมแล้วทำขึ้นใหม่ครับ
กรณีนี้แยกกระทู้ตั้งใหม่ได้เลยครับ ยาวแน่

ถ้าเข้าใจผิดขอภัยด้วยครับ


คุณเกาฯ อย่าไปหาเรื่องชาวบ้านเขาเลยครับ เรื่องท่านพุทธทาส มันเป็นเรื่องของเราสองคน
ถ้ากระทู้นี้คุณไม่คุยต่อ ผมว่าคุณไปเอาเรื่อง ที่คุณกล่าวหาท่านพุทธทาส
มาคุยให้มันกระจ่างแจ้งจางปางกันดีกว่าครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 17:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

ไม่ได้มีความเห็นเหมือนท่านพุทธทาส
นั่นเป็นเหตุของท่านพุทธทาส ไม่เกี่ยวกับวลัยพร


ส่วนที่วลัยพรบอกว่า พระไตรปิฎก ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่ แล้วอ้างอิงไปยังคำสอน ที่พระพุทธเจ้า

ไม่ได้หมายเจาะจงถึงใครเป็นพิเศษ แต่หมายถึง ที่เจอในอินเตอร์เนต
ใช้ชื่อว่า พระไตรปิฎก โดยอาศัยคำสอนของพระพุทธเจ้า นำมาตีความอีกที

ตามลิงค์ ที่ได้แนบไปนั่นแหละ


ผมยังงงๆไม่เข้าใจความหมายของคุณวลัยพรครับ
linkที่คุณวลัยพรให้ผมมาเชื่อมต่อไปยัง
พระอภิธรรมปิฏก จากพระไตรปิฎกแปลไทยสยามรัฐ เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์ ๖. ปัจจยาการวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์

โดยแปลตรงตัวมาจากพระไตรปิฏกฉบับบาลี มาเป็นภาษาไทย

ทำไมคุณวลัยพรจึงเห็นว่าเป็นการทำขึ้นใหม่แล้วอ้างอิงคำสอนพระพุทธเจ้า นำเอามาตีความอีกทีล่ะครับ?
หรือเห็นว่าการที่แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยเป็นการตีความใหม่ครับ?

หรือคุณวลัยพรเห็นว่าพระไตรปิฏกแปลไทยนี้เป็นฉบับตีความซึ่งเนื้อหาในนี้ต่างจากฉบับบาลีครับ?
หรือเห็นว่าพระไตรปิฏกทั้งบาลีทั้งไทยนี้ ต่างจากธรรมวินัยที่พระสาวก500 มุขปาฐะครั้งปฐมสังคายนาครับ?

คือคำพูดคุณวลัยผมอ่านแล้วยังไม่เคลียร์ เลยอยากให้ช่วยอธิบายความหมายให้ชัดกว่านี้ครับ


อ้างคำพูด:
เหตุนี้ จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท ที่เรียกว่า คร่อมภพ คร่อมชาติ
จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้



ปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าสอนสามารถอธิบายโดยนัยยะหลายๆแบบครับ
ทั้งคร่อมภพชาติและชั่วขณะจิต
การยกมาเพียงบางสูตรแล้วบอกว่ามีเพียงชั่วขณะจิตเท่านั้นเป็นการไม่สมควรครับ


อ้างคำพูด:
ไหงงั้น จึงกลับกลายเป็นเช่นนี้ไปได้

สิ่งที่ก่อ ให้เกิดการกระทำ ได้แก่ ความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
เฉกเช่นเดียวกับ มโนกรรม


ความไม่รู้ชัดในผัสสะพูดง่ายๆคืออวิชชาถูกไหมครับ
คุณวลัยพรเห็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ แค่เห็นเฉยๆ เกิดผัสสะไหมครับ
คุณวลัยพรยังไม่เป็นพระอรหันต์ ยังมีอวิชชาไหมครับ
ถ้างั้นการมองเห็นจอคอมพิวเตอร์เป็นกรรมไหมครับ

กรรมจะเป็นกรรมได้ต้องมีเจตนาครับ ไม่ได้มีแค่ผัสสะครับ


อ้างคำพูด:
ไม่ต้องเป็นพระอรหันต์หรอก เรื่องที่ว่า ไม่ก่อให้เกิดกรรม

ถึงแม้จะรู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น หากยังมีกิเลสอยู่ มโนกรรม ย่อมมีเกิดขึ้นได้
ไม่ว่าจะเป็นกุศล อกุศล หากมีเหตุปัจจัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)

และไม่เป็นทั้งกุศล อกุศล หากไม่มีเหตุปัจจัย กับสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)


รู้ชัดในผัสสะของคุณวลัยพรหมายถึงอะไรครับ
ในความหมายที่ผมเข้าใจ
การรู้ชัดหมายถึงรู้เหตุ รู้ปัจจัย รู้ชัดว่าสภาวะธรรมนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน บังคับควบคุมไม่ได้
รู้แบบที่ปัญญาเกิดขึ้นมารู้ทัน ไม่ใช่รู้แบบจำได้จากการศึกษา

ดังนั้นการรู้ชัดในสภาวะธรรมที่ผมเข้าใจคือ เกิดปัญญารู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทขึ้นแล้ว
อย่างน้อยก็ต้องเข้าวิปัสสนาญาณขั้นกลางไปแล้วครับ

ส่วนที่บอกว่าหากมีกิเลสมโนกรรมเกิดขึ้นได้ อันนี้เห็นด้วยครับ
แต่คำว่าหากไม่มีเหตปัจจัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่เข้าใจความหมายครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 17:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนคุณโฮฮับ
เห็นพยายามสื่อสารกับผมเหลือเกิน
จะบอกแบบนี้ครับว่า
ตราบใดที่คุณยังใช้วิธีจิ้น หาที่มาของข้อกล่าวหาที่คุณกล่าวหาผมไว้ตั้งแต่ต้นกระทู้มาแสดงไม่ได้
คำพูดของคุณก็ไม่มีค่าไม่มีราคาที่ผมต้องสนใจครับ

ผมย้ำอีกทีว่าขี้เกียจคุยครับ
อยากโพสต์อะไรต่อก็เชิญครับ

ไว้มีที่มาของคำถามที่ผมถามไปทั้งสามข้อที่นอกเหนือจากการจิ้นเมื่อไหร่
ค่อยคุยกัน

เข้าใจนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
ส่วนคุณโฮฮับ
เห็นพยายามสื่อสารกับผมเหลือเกิน
จะบอกแบบนี้ครับว่า
ตราบใดที่คุณยังใช้วิธีจิ้น หาที่มาของข้อกล่าวหาที่คุณกล่าวหาผมไว้ตั้งแต่ต้นกระทู้มาแสดงไม่ได้
คำพูดของคุณก็ไม่มีค่าไม่มีราคาที่ผมต้องสนใจครับ

ผมย้ำอีกทีว่าขี้เกียจคุยครับ
อยากโพสต์อะไรต่อก็เชิญครับ

ไว้มีที่มาของคำถามที่ผมถามไปทั้งสามข้อที่นอกเหนือจากการจิ้นเมื่อไหร่
ค่อยคุยกัน

เข้าใจนะครับ


เอาเป็นว่า คุณให้สัจจะวาจาแล้วน่ะครับว่า คุณจะวางเฉยกับความเห็นผม
สำหรับผม ถ้าผมไปอ่านความเห็นที่ไม่เข้าท่าของคุณ ผมขออนุญาติอ้างอิงน่ะครับ

ผมบอกเพื่อมรรยาทครับ เพราะทุกคนที่เป็นสมาชิก สามารถอ้างอิงความเห็นทุกความเห็น
โดยไม่ต้องขออนุญาติครับ


ผมขออนุโมทนา กับการที่คุณจะวางเฉยในครั้งนี้
อย่าลืมน่ะครับ ผมอนุโมทนาคุณแล้ว อย่าต้องให้ผมอนุโมทนาเก้อ
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
walaiporn เขียน:

ไม่ได้มีความเห็นเหมือนท่านพุทธทาส
นั่นเป็นเหตุของท่านพุทธทาส ไม่เกี่ยวกับวลัยพร


ส่วนที่วลัยพรบอกว่า พระไตรปิฎก ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่ แล้วอ้างอิงไปยังคำสอน ที่พระพุทธเจ้า

ไม่ได้หมายเจาะจงถึงใครเป็นพิเศษ แต่หมายถึง ที่เจอในอินเตอร์เนต
ใช้ชื่อว่า พระไตรปิฎก โดยอาศัยคำสอนของพระพุทธเจ้า นำมาตีความอีกที

ตามลิงค์ ที่ได้แนบไปนั่นแหละ


ผมยังงงๆไม่เข้าใจความหมายของคุณวลัยพรครับ
linkที่คุณวลัยพรให้ผมมาเชื่อมต่อไปยัง
พระอภิธรรมปิฏก จากพระไตรปิฎกแปลไทยสยามรัฐ เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์ ๖. ปัจจยาการวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์

โดยแปลตรงตัวมาจากพระไตรปิฏกฉบับบาลี มาเป็นภาษาไทย

ทำไมคุณวลัยพรจึงเห็นว่าเป็นการทำขึ้นใหม่แล้วอ้างอิงคำสอนพระพุทธเจ้า นำเอามาตีความอีกทีล่ะครับ?
หรือเห็นว่าการที่แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยเป็นการตีความใหม่ครับ?

หรือคุณวลัยพรเห็นว่าพระไตรปิฏกแปลไทยนี้เป็นฉบับตีความซึ่งเนื้อหาในนี้ต่างจากฉบับบาลีครับ?
หรือเห็นว่าพระไตรปิฏกทั้งบาลีทั้งไทยนี้ ต่างจากธรรมวินัยที่พระสาวก500 มุขปาฐะครั้งปฐมสังคายนาครับ?

คือคำพูดคุณวลัยผมอ่านแล้วยังไม่เคลียร์ เลยอยากให้ช่วยอธิบายความหมายให้ชัดกว่านี้ครับ


อ้างคำพูด:
เหตุนี้ จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท ที่เรียกว่า คร่อมภพ คร่อมชาติ
จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้



ปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าสอนสามารถอธิบายโดยนัยยะหลายๆแบบครับ
ทั้งคร่อมภพชาติและชั่วขณะจิต
การยกมาเพียงบางสูตรแล้วบอกว่ามีเพียงชั่วขณะจิตเท่านั้นเป็นการไม่สมควรครับ


อ้างคำพูด:
ไหงงั้น จึงกลับกลายเป็นเช่นนี้ไปได้

สิ่งที่ก่อ ให้เกิดการกระทำ ได้แก่ ความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
เฉกเช่นเดียวกับ มโนกรรม


ความไม่รู้ชัดในผัสสะพูดง่ายๆคืออวิชชาถูกไหมครับ
คุณวลัยพรเห็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ แค่เห็นเฉยๆ เกิดผัสสะไหมครับ
คุณวลัยพรยังไม่เป็นพระอรหันต์ ยังมีอวิชชาไหมครับ
ถ้างั้นการมองเห็นจอคอมพิวเตอร์เป็นกรรมไหมครับ

กรรมจะเป็นกรรมได้ต้องมีเจตนาครับ ไม่ได้มีแค่ผัสสะครับ


อ้างคำพูด:
ไม่ต้องเป็นพระอรหันต์หรอก เรื่องที่ว่า ไม่ก่อให้เกิดกรรม

ถึงแม้จะรู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น หากยังมีกิเลสอยู่ มโนกรรม ย่อมมีเกิดขึ้นได้
ไม่ว่าจะเป็นกุศล อกุศล หากมีเหตุปัจจัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)

และไม่เป็นทั้งกุศล อกุศล หากไม่มีเหตุปัจจัย กับสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)


รู้ชัดในผัสสะของคุณวลัยพรหมายถึงอะไรครับ
ในความหมายที่ผมเข้าใจ
การรู้ชัดหมายถึงรู้เหตุ รู้ปัจจัย รู้ชัดว่าสภาวะธรรมนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน บังคับควบคุมไม่ได้
รู้แบบที่ปัญญาเกิดขึ้นมารู้ทัน ไม่ใช่รู้แบบจำได้จากการศึกษา

ดังนั้นการรู้ชัดในสภาวะธรรมที่ผมเข้าใจคือ เกิดปัญญารู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทขึ้นแล้ว
อย่างน้อยก็ต้องเข้าวิปัสสนาญาณขั้นกลางไปแล้วครับ

ส่วนที่บอกว่าหากมีกิเลสมโนกรรมเกิดขึ้นได้ อันนี้เห็นด้วยครับ
แต่คำว่าหากไม่มีเหตปัจจัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่เข้าใจความหมายครับ




คุณcantona_z ควรศึกษาพุทธวจนะ ว่าด้วย อายตนะ เรื่องกรรม

วลัยพร ไม่ถนัดในเรื่อง การอธิบายอะไรๆ ที่ยืดยาว

คือ ประมาณว่า ถ้าเห็นว่า อีกฝ่าย รู้แค่ไหน
ให้อธิบายเกินจากนั้น อธิบายยังไงๆ ก็แค่นั้นเอง

เช่น อธิบายเรื่อง สภาวะนิพพาน แต่อีกฝ่าย ยังไม่รู้ชัดในสภาวะนิพพาน จะคุยกันรู้เรื่องไหม

ยิ่งสภาวะปฏิจจสมุปบาท ยิ่งไม่ควรกล่าวถึงเป็นอย่างยิ่ง เพราะ พูดไป ก็แค่นั้น

นิพพาน ยังไม่รู้ แล้วปฏิจจสมุปบาท จะรู้ได้อย่างไร

ถึงได้ให้คุณ ลองอธิบาย ปฏิจจสมุปบาท ในแบบที่คุณเข้าใจไง


ถ้าเห็นเงียบไป นั่นคือ ไม่สนทนาต่อแล้วค่ะ


cantona_z เขียน:


ปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าสอนสามารถอธิบายโดยนัยยะหลายๆแบบครับ
ทั้งคร่อมภพชาติและชั่วขณะจิต




ช่วยอธิบาย และนำลิงค์มาแนบ ด้วยได้ไหม
อย่าไปหยิบยกมาเพียงบางข้อความ แล้วไม่มีการแนบ ที่มาของสิ่งที่หยิบยกมา
เพราะ วลัยพรจะอ่านข้อความ จากที่มาทั้งหมด ไม่ใช่แค่ที่หยิบยกนำมาวางไว้




cantona_z เขียน:


รู้ชัดในผัสสะของคุณวลัยพรหมายถึงอะไรครับ
ในความหมายที่ผมเข้าใจ
การรู้ชัดหมายถึงรู้เหตุ รู้ปัจจัย รู้ชัดว่าสภาวะธรรมนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน บังคับควบคุมไม่ได้
รู้แบบที่ปัญญาเกิดขึ้นมารู้ทัน ไม่ใช่รู้แบบจำได้จากการศึกษา



ที่คุณกล่าวมาน่ะแหละ เรียกว่า รู้แบบ ท่องจำมา ศึกษามา
ไม่ใช่สภาวะตามความเป็นจริง ของผัสสะ ที่เกิดขึ้น




cantona_z เขียน:


ดังนั้นการรู้ชัดในสภาวะธรรมที่ผมเข้าใจคือ เกิดปัญญารู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทขึ้นแล้ว
อย่างน้อยก็ต้องเข้าวิปัสสนาญาณขั้นกลางไปแล้วครับ



นี่ก็ท่องจำมา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
ผมยังงงๆไม่เข้าใจความหมายของคุณวลัยพรครับ
linkที่คุณวลัยพรให้ผมมาเชื่อมต่อไปยัง
พระอภิธรรมปิฏก จากพระไตรปิฎกแปลไทยสยามรัฐ เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์ ๖. ปัจจยาการวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์

โดยแปลตรงตัวมาจากพระไตรปิฏกฉบับบาลี มาเป็นภาษาไทย

ทำไมคุณวลัยพรจึงเห็นว่าเป็นการทำขึ้นใหม่แล้วอ้างอิงคำสอนพระพุทธเจ้า นำเอามาตีความอีกทีล่ะครับ?
หรือเห็นว่าการที่แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยเป็นการตีความใหม่ครับ?

หรือคุณวลัยพรเห็นว่าพระไตรปิฏกแปลไทยนี้เป็นฉบับตีความซึ่งเนื้อหาในนี้ต่างจากฉบับบาลีครับ?
หรือเห็นว่าพระไตรปิฏกทั้งบาลีทั้งไทยนี้ ต่างจากธรรมวินัยที่พระสาวก500 มุขปาฐะครั้งปฐมสังคายนาครับ?

คือคำพูดคุณวลัยผมอ่านแล้วยังไม่เคลียร์ เลยอยากให้ช่วยอธิบายความหมายให้ชัดกว่านี้ครับ


มันไม่แปลกที่คุณจะงง เล่นเอาบัญญัติของพระอนุรุทธาจารย์มาพูด
ยังไม่รู้ตัว คิดว่าเป็นพระไตรปิฎกแปล

เวลาอ้างอิงพระไตรปิฎกแปล มันถึงได้เป็นหัวมังกุท้ายมังกร
เวลาพูดๆอย่าง พออ้างอิงดันเป็นอีกอย่าง :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
cantona_z เขียน:
ผมยังงงๆไม่เข้าใจความหมายของคุณวลัยพรครับ
linkที่คุณวลัยพรให้ผมมาเชื่อมต่อไปยัง
พระอภิธรรมปิฏก จากพระไตรปิฎกแปลไทยสยามรัฐ เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์ ๖. ปัจจยาการวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์

โดยแปลตรงตัวมาจากพระไตรปิฏกฉบับบาลี มาเป็นภาษาไทย

ทำไมคุณวลัยพรจึงเห็นว่าเป็นการทำขึ้นใหม่แล้วอ้างอิงคำสอนพระพุทธเจ้า นำเอามาตีความอีกทีล่ะครับ?
หรือเห็นว่าการที่แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยเป็นการตีความใหม่ครับ?

หรือคุณวลัยพรเห็นว่าพระไตรปิฏกแปลไทยนี้เป็นฉบับตีความซึ่งเนื้อหาในนี้ต่างจากฉบับบาลีครับ?
หรือเห็นว่าพระไตรปิฏกทั้งบาลีทั้งไทยนี้ ต่างจากธรรมวินัยที่พระสาวก500 มุขปาฐะครั้งปฐมสังคายนาครับ?

คือคำพูดคุณวลัยผมอ่านแล้วยังไม่เคลียร์ เลยอยากให้ช่วยอธิบายความหมายให้ชัดกว่านี้ครับ


มันไม่แปลกที่คุณจะงง เล่นเอาบัญญัติของพระอนุรุทธาจารย์มาพูด
ยังไม่รู้ตัว คิดว่าเป็นพระไตรปิฎกแปล

เวลาอ้างอิงพระไตรปิฎกแปล มันถึงได้เป็นหัวมังกุท้ายมังกร
เวลาพูดๆอย่าง พออ้างอิงดันเป็นอีกอย่าง :b32:




ที่คุณโฮฮับอธิบายน่ะ ตามนั้น

เพียงแต่ วลัยพร ไม่รู้ที่มาของลิงค์ว่า เป็นของใครเขียนขึ้นมา หรือ นำมาจากไหนกัน

คำแปล รู้ไว้น่ะดี

แต่ถ้าวางไม่ถูกตำแหน่ง สภาวะที่เกิดขึ้น ของสิ่งๆนั้น จะเปลี่ยนไปทันที

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:

อ้างคำพูด:
เหตุนี้ จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท ที่เรียกว่า คร่อมภพ คร่อมชาติ
จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้



ปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าสอนสามารถอธิบายโดยนัยยะหลายๆแบบครับ
ทั้งคร่อมภพชาติและชั่วขณะจิต
การยกมาเพียงบางสูตรแล้วบอกว่ามีเพียงชั่วขณะจิตเท่านั้นเป็นการไม่สมควรครับ


เลอะแล้วครับ! ถ้าจะพูดตามแบบุบุคคลาธิษฐาน พระพุทธองค์ทรงบอกว่ารู้ว่า
ปฏิจจสมุบาท ก็คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย(วัฏฏสงสาร)....เป็นทุกข์ในอริยสัจจ์

ส่วนเรื่องของกระบวนการที่เกิดจากกายใจ เป็นเรื่องของสังขาร
พระพุทธองค์บอกว่า เป็นสมุทัย ในอริยสัจจ์

สรุปมันเป็นคนล่ะเรื่อง จะเอาเรื่องกระบวนการของกายใจ(สังขาร)
มาอธิบายปนเปกับปฏิจจสมุปบาทไม่ได้

สิ่งที่เรียกชั่วขณะจิต เอามาอธิบายในปฏิจจ์ไม่ได้
การอธิบายต้องอธิบาย ในส่วนที่เป็นเหตุปัจจัยต่อกันในความเป็นอริยสัจจ์สี่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 19:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
โฮฮับ เขียน:
cantona_z เขียน:
ผมยังงงๆไม่เข้าใจความหมายของคุณวลัยพรครับ
linkที่คุณวลัยพรให้ผมมาเชื่อมต่อไปยัง
พระอภิธรรมปิฏก จากพระไตรปิฎกแปลไทยสยามรัฐ เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์ ๖. ปัจจยาการวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์

โดยแปลตรงตัวมาจากพระไตรปิฏกฉบับบาลี มาเป็นภาษาไทย

ทำไมคุณวลัยพรจึงเห็นว่าเป็นการทำขึ้นใหม่แล้วอ้างอิงคำสอนพระพุทธเจ้า นำเอามาตีความอีกทีล่ะครับ?
หรือเห็นว่าการที่แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยเป็นการตีความใหม่ครับ?

หรือคุณวลัยพรเห็นว่าพระไตรปิฏกแปลไทยนี้เป็นฉบับตีความซึ่งเนื้อหาในนี้ต่างจากฉบับบาลีครับ?
หรือเห็นว่าพระไตรปิฏกทั้งบาลีทั้งไทยนี้ ต่างจากธรรมวินัยที่พระสาวก500 มุขปาฐะครั้งปฐมสังคายนาครับ?

คือคำพูดคุณวลัยผมอ่านแล้วยังไม่เคลียร์ เลยอยากให้ช่วยอธิบายความหมายให้ชัดกว่านี้ครับ


มันไม่แปลกที่คุณจะงง เล่นเอาบัญญัติของพระอนุรุทธาจารย์มาพูด
ยังไม่รู้ตัว คิดว่าเป็นพระไตรปิฎกแปล

เวลาอ้างอิงพระไตรปิฎกแปล มันถึงได้เป็นหัวมังกุท้ายมังกร
เวลาพูดๆอย่าง พออ้างอิงดันเป็นอีกอย่าง :b32:




ที่คุณโฮฮับอธิบายน่ะ ตามนั้น

เพียงแต่ วลัยพร ไม่รู้ที่มาของลิงค์ว่า เป็นของใครเขียนขึ้นมา หรือ นำมาจากไหนกัน

คำแปล รู้ไว้น่ะดี

แต่ถ้าวางไม่ถูกตำแหน่ง สภาวะที่เกิดขึ้น ของสิ่งๆนั้น จะเปลี่ยนไปทันที


คุณวลัยพรยืนยันเหตุผลตามคุณโฮฮับ
ลิ้งค์ที่คุณวลัยพรยกมาเป็นพระไตรปิฏก
ผมก็ถามถึงพระไตรปิฏก
ทั้งหมดไม่มีอะไรที่โยงกับอภิธรรมัตถสังคหะ

แล้วพระอนุรุธาจารย์มาเกี่ยวอะไรด้วย?
แล้วที่บอกคำที่พระอนุรุธาจารย์บัญญัติ
ท่านไปบัญญัติตอนไหน? คำทั้งหลายเหล่านี้ เช่นปุญญาอปุญญาอเนญชาภิสังขาร
มีปรากฏในชั้นพุทธพจน์ มีปรากฏในปฏิสัมภิทามรรค เกิดตั้งแต่พศ0
พระอนุรุธาจารย์เขียนอภิธัมมัตถสังคหะ พศ 1000
เขียนมาทีหลังตั้งพันปี ท่านไปบัญญัติศัพท์พวกนี้ตอนไหน?

อ้างคำพูด:
ไม่ถนัดในเรื่อง การอธิบายอะไรๆ ที่ยืดยาว
บอกคือ ประมาณว่า ถ้าเห็นว่า อีกฝ่าย รู้แค่ไหน
ให้อธิบายเกินจากนั้น อธิบายยังไงๆ ก็แค่นั้นเอง


เรื่องรู้ชัด
คือเขียนไม่เคลียร์ พอจะถามให้เคลียร์ก็บอกแบบด้านบน

ผมงงครับ ผมไม่ได้ถามว่าสภาวะผัสสะเป็นแบบไหน
ผมถามว่าคำว่า"รู้ชัด" น่ะ คุณวลัยพรนิยามไว้อย่างไร ตรงกับผมไหม

อ้างคำพูด:
เช่น อธิบายเรื่อง สภาวะนิพพาน แต่อีกฝ่าย ยังไม่รู้ชัดในสภาวะนิพพาน จะคุยกันรู้เรื่องไหม



อ้างคำพูด:
cantona_z เขียน:


ปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าสอนสามารถอธิบายโดยนัยยะหลายๆแบบครับ
ทั้งคร่อมภพชาติและชั่วขณะจิต


ช่วยอธิบาย และนำลิงค์มาแนบ ด้วยได้ไหม
อย่าไปหยิบยกมาเพียงบางข้อความ แล้วไม่มีการแนบ ที่มาของสิ่งที่หยิบยกมา
เพราะ วลัยพรจะอ่านข้อความ จากที่มาทั้งหมด ไม่ใช่แค่ที่หยิบยกนำมาวางไว้


ด้่วยตรรกะเดียวกับเรื่องนิพพานด้านบน
เราก็อย่าพูดเรืองปฏิจจสมุปบาทดีไหมครับ
เพราะจะพูดถึงเรื่องปฏิจจสมุปบาทข้ามภพชาติหรือชั่วขณะจิตไปทำไม?
ในเมื่อคนที่จะรุ้ชัดปฏิจจสมุปบาทนั้นต้องเป็นชั้นโสดาบันขึ้นไป
ผมน่ะเป็นปุถุชนแน่ และคุณวลัยพรเป็นโสดาบันหรือครับ

อธิบายยังไงๆ ก็แค่นั้นเอง

ในเมื่อไม่ใช่ทั้งคู่ อย่าพูดเรื่องปฏิจจสมุปบาทกันดีกว่ากระมังครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron