วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 13:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
วิญญาณขันธ์ ที่คุณโฮฮับนำมาอ้างอิง
เป็นวิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ ที่เกิดจาก สังขาร เป็นเหตุปัจจัย


วิญญาณขันธ์ ที่คุณcantona_z นำมาตอบกลับ
เป็นวิญญาณขันธ์ ประเภท วิญญาณ ๖ ที่เกิดจาก ผัสสะ(การทำงานของอายตนะ) เป็นเหตุปัจจัย


วิญญาณขันธ์กับวิญญาณ6 เป็นสิ่งเดียวกันครับ

วิญญาณที่เกิดจากสังขารเป็นเหตุปัจจัยมาจากปฏิจจสมุปบาท
ต้องเข้าใจว่าสังขารตัวนี้ไม่ใช่สังขารขันธ์
แต่เป็นสังขารที่มี 2 นัยยะคือ
1ในปฏิจจสมุปบาทวงคร่อมภพคร่อมชาติ (สุตตันตภาชนียนัย)
ปุญญาอปุญญาอเนญชาภิสังขาร เป็นหตุปัจจัยของปฏิสนธิวิญญาณ
(ซึ่งจัดเข้าได้เป็นมโนวิญญาณในวิญญาณ6)
คือพูดแบบสมมติสัจจ์ง่ายๆว่าทำบุญทำบาปแบบไหนตายไปก็เกิดปฏิสนธิตามความเหมาะสม
ดูเรื่องจิตดวงแรก กรณีพระกุมารกัสสปะ ในพระวินัย

2ในปฏิจจสมุปบาทวงชั่วขณะจิต(อภิธัมมภาชนียนัย)
กายวจีมโนสังขาร(หรืออีกนัยคือกายวจีมโนสัญญเจตนา)เป็นเหตุปัจจัยให้วิญญาณตั้งมั่น
เมื่อตั้งเจตนาวิญญาณก็เกิดตั้งมั่นทำงานตามเจตนานั้น
ดูเรื่องเจตนาสูตร


แม้กระนั้น วิญญาณทั้งสองนัยยะ ก็ยังสามารถอนุเคราะห์หรือจัดเข้าพวกกับวิญญาณ6 ได้อยู่ดี

แต่สิ่งที่คุณวลัยพรยกมาคือวิญญาณ6 หรือวิญญาณขันธ์ในนัยยะหรือมุมมองที่ต่างออกไปเช่น
มุมของเวลาเกิด อดีตปัจจุบันอนาคต หรือมุมวิญญาณของตนเอง ของผู้อื่น หรือมุมวิญญาณนั้นสัมปยุตด้วยธรรมแบบไหนจึงหยาบละเอียด หรือวิญญาณนั้นใกล้ไกลเมื่อเทียบกับวิญญาณที่นำมาเทียบเป็นต้น
แต่โดยรวมยังจัดอยู่ในวิญญาณ6 ครับ


และวิญญาณทั้งสองนัยยะ(ข้อ1และ2)ที่ผมยกมานั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีผัสสะเช่นกันครับ






ถ้าคิดว่า รู้ และรู้นั้นๆ สามารถนำมา กระทำเพื่อ ดับเหตุของการเกิดได้

คือ เป็นเหตุให้หยุด การกระทำ ที่เป็นการสร้างเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน
และ ภพชาติการเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร

ไม่ว่าจะรู้อะไร เรียกว่าอย่างไร ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

เพราะสักแต่ว่า สัญญาเท่านั้นเองค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 01:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ กับเรื่องของวิญญาณ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 04:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
คำถามที่สอง
จิตเป็นอัตตา คุณเอามาจากไหนครับ
คำถามนี่ผมตอบไปแล้ว ผมบอกว่า ผมใช้หลักการพิจารณาธรรม ธัมมวิยะ
และบอกว่า จิตเป็นอัตตาเป็นจิตของปุถุชนและพระเสขะ

แล้วผมพิจารณาธรรมจากไหน นั้นก็คือ....อนัตตลักขณสูตร
ในบทที่ว่าด้วย ยถาภูติญานทัสสนะ

รบกวนคุณไปเปิดพระสูตรดูเอง พระสูตรบทนี้หาง่าย


ผมรู้จักครับ บทนี้บทโปรด ผมอ่านหลายรอบจำได้ครับ
ยถาภูตญาณทัสสนะ คือญาณที่ทำให้กำหนดรู้ตามความเป็นจริง
คือพูดง่ายๆว่าเห็นสภาพอนิจจังทุกขังอนัตตาของสภาวะธรรมที่กำลังพิจารณากำหนดรู้อยู่

อนัตตลักขณสูตร ก็ว่าด้วยรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณไม่ให้ยึดเป็นของตน
โดยพระพุทธองค์ให้พิจารณาว่าเทีย่งไหม เมื่อไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไหม เมื่อเป็นทุกข์ควรหรือจะยึดเป็นตัวตนของตน


มีตรงไหนในอนัตตลักขณสูตร แสดงว่า จิตเป็นอัตตา ครับ?


ก็เป็นแบบนี้ไง ถามหาที่มาพอบอกที่มาให้ ......ดันจะเอาปัจจัตตังของเราด้วย
ถ้าอ่านยถาภูติญานทัสสนะเข้าใจจริงๆ มันต้องเข้าใจในส่วนที่พระพุทธองค์ตรัสถามปัญจวัคคีย์
ในส่วนนี้แหล่ะที่พระพุทธองค์ทรงชี้ให้ปัญจวัคคีย์เห็น......ความเป็นอัตตา

และที่ถามว่าตรงส่วนไหนแสดงว่าจิตเป็นอัตตา
จะบอกให้ว่า ท่านไม่บอก ถึงจะบอกคุณก็ไม่รู้เรื่อง เพราะต้องอาศัยหลักของธัมมวิจยะหรือ
ที่คุณเรียกว่าจิ้นนั้นแหล่ะ เรื่องแบบนี้มันตัวใครตัวมัน

และขออธิบายกับคำว่าจิต จิตที่เป็นพุทธพจน์แท้ ไม่ใช่สังขตธรรม
ตัวจิตเป็นส่วนหนึ่งใน นามรูป นามรูปเป็นธรรมฐิติ เป็นปฏจจสมุปบาทเป็น อสังขตธรรม

อนึ่งที่คุณเคยปรามาสท่านพุทธทาส ที่ว่าด้วยเรื่อง การคร่อมภพชาติปฏิจจสมุปบาท
คุณต้องเข้าใจ เรื่องนามรูปในปฏิจจสมุปบาท

โปรดเข้าใจซะใหม่ด้วยว่า ยถาภูติญานทัสสนะ ก็คือ ให้บุคคลใช้ปัญญา
หาความเป็นอัตตา ตัวตนในกายใจตนเอง แล้วดับมันเสีย ด้วยปัญญาของตน
ดังนั้นอย่าเที่ยวเร่ถามคนอื่นว่าเป็นอย่างไร อยู่ตรงไหน มันอายเขา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ถกกันถึงพริกถึงขิงถึงกระเทียมไม่มีอะไรใหม่ ก็เรื่องจิต,วิญญาณ (สองชื่อนี้) ถึงจะยกพระสูตรมายันกันแตกแขนงออกไป แต่รากเง่าของมันก็จิต ก็วิญญาณ

ไวพจน์คำว่า จิต มีมากมาย (วิญญาณก็อีกชื่อหนึ่ง)

จิต ท่านพูดถึง ชีวิต คืออะไร (ขันธ์ ๕)

วิญญาณ ท่านพูดถึง ชีวิต เป็นไปอย่างไร (ปฏิจจสมุปบาท)

ถ้าจะอุปมาอุปไมยการอธิบายชีวิตหรือนามรูปในขันธ์ ๕ เปรียบเหมือนรถที่ตั้งแสดง (จอดอยู่) ในโชร์รูม แล้วนายช่่างก็ชี้ให้ดูส่วนประกอบแต่ละอย่างๆของรถว่ามีอะไรบ้าง

ส่วนชีวิตหรือนามรูปที่ท่านพูดอธิบายในปฏิจจสุปบาทเหมือนรถที่กำลังวิ่งอยู่

นึกดีๆชีวิตมีชีวิตเีดียว ไม่ใช่มีมากมายหลายชีวิต :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ม.ค. 2014, 05:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
นี่พระสูตรไหมครับ
Quote Tipitaka:
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงยึดถือกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต
ทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นอัตตายังประเสริฐกว่า ส่วนการยึดถือจิตโดยความเป็นอัตตา
ไม่ประเสริฐเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง
๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง
๑๐๐ ปีบ้าง หรือเกินกว่าบ้าง ก็ยังปรากฏ
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่ง
เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน [/color]เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก
และป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งไม้นั้นแล้ว ย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับ
กิ่งอื่นต่อไป ฉะนั้น ตถาคตจึงเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน



จิตบ้างมโนบ้างวิญญาณบ้าง ตกลงเป็นสิ่งเดียวกันไหมครับ?

ดวงหนึ่งเกิดขึ้นดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน ใช่จิตไหมครับ?
เกิดดับไหมครับ?

แล้วคุณเอามาจากไหนครับว่าจิตไม่เกิดดับ?

คือคิดเองเออเองไม่มีที่มาที่ไป ก็ตรูอยากจะคิดแบบนี้และเพื่อให้ดูเท่ห์ตรูเลยเรียกโยนิโสไง
โยนิโสที่คุณว่า ผมว่าเรียกว่า"จิ้น"ดีกว่าครับ


คุณนี้ตลกซ้ำซากน่ะครับ ชอบเซ้าซี้ถาม แต่พอเขาตอบก็ไม่ยักจะจำ
อธิบายถึงกระบวนการของจิต พร้อมทั้งเอาพระสูตรมาให้ดู
ตัวเองไม่รู้เรื่อง ดันมาโวยวายให้อายชาวบ้าน

หลักการพิจารณาธรรม มันต้องดูว่า มีพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับปรมัตถบัญญัติคำใดบ้าง
แล้วจึงพิจารณาไล่หาเหตุ ไม่ใช่พอเห็นคำศัพท์คำใดคำหนึ่งเหมือนกันกับที่ตัวหา
ก็สรุปเอาเอง

คุณคันฯครับ ในบทสรุปของพระสูตร มันมีแต่"จิต"คำเดียวหรือครับ
มโนหายไปไหนและวิญญานอีกล่ะทำไมไม่พูดถึง
พุทโธ่! มันต้องเอาทั้งสามคำมาพิจารณาร่วมกัน ไม่ใช่เอาตรงนี้นิด
หยิบตรงนี้หน่อย มาอ้าง

จะบอกให้ที่ท่านกล่าวถึง "จิต..มโน...วิญญาน" โดยไม่กล่าวเพียงอย่างเดียวเพราะว่า
พระองค์กำลังบอกว่า สภาวะนั้นคือ.....มโนสัมผัสหรือผัสสะ

และที่บอก"จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปทั้งวันทั้งคืน" ท่านหมายถึง..
มโนผัสสะที่กล่าวในตอนต้น

การเปรียบเทียบจิตกับลิง มันก็บ่งบอกให้รู้ว่า ตัวบุคคลชอบที่จะคิดโน้นคิดนี้
ความคิดก็เหมือนอาการเกาะต้นไม้ของลิง เขาให้ดูเฉพาะอาการของลิง ไม่ใช่ตัวลิง
ตัวลิงเป็นจิต อาการที่กระโดดไปกระโดดมามันเป็นมโนผัสสะ

การเกิดดับมันเป็นเพียงการเปรียบ แต่นั้นความเป็นจริง
คือลักษณะการเกิดของผัสสะและการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสังขารตัวอื่น

ผมเคยยกพระสูตรมาให้ดู ก็เพื่อจะให้คุณรู้ว่าแท้จริงแล้ว
บัญญัติที่ว่าจิตน่ะ มันมีเหตุปัจจัยมาจากไหน ให้คุณไล่หาเหตุให้จบที่นามรูป
คุณก็จะรู้ว่าจิตคืออะไร และอย่าถามน่ะว่าคำอธิบายข้างบนผมเอามาจากไหน
ผมก็เอามาจากพระสูตรที่คุณอ้างอิงนั้นแหล่ะ


ถามหน่อย คุณว่าในมหาภูติรูปสี่มีจิตมั้ย :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
เอ้า จะยอมเสียเวลาถกต่อ
อ้างคำพูด:
เอาวิญญาขันธ์ก่อน......................
[๙๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้.
นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.

http://www.84000.org/tipitaka/read/?17/95/58


ที่ยกมาน่ะเข้าใจความหมายไหม ศึกษารึยัง? วิญญาณอดีตคืออะไร วิญญาณปัจจุบันคืออะไร
วิญญาณอนาคตคืออะไร วิญญาณภายในภายนอก คืออะไร...


ก่อนที่จะบอกว่าคนละอย่างกับวิญญาณ6น่ะ รู้หรือยัง? ศึกษาหรือยัง?
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... =309&Z=392
[๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณอดีต เป็นไฉน
วิญญาณใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ
ดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์
เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา-
*วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอดีต

วิญญาณอนาคต เป็นไฉน
วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยัง
ไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยัง
ไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่จักขุวิญญาณ
ฯลฯ มโนวิญญาณ
นี้เรียกว่าวิญญาณอนาคต
วิญญาณปัจจุบัน เป็นไฉน
วิญญาณใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิด
ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อม
แล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโน-
*วิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณปัจจุบัน

[๒๘] วิญญาณภายใน เป็นไฉน
วิญญาณใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะ
บุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายใน

วิญญาณภายนอก เป็นไฉน
วิญญาณใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด
ในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุ-
*วิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
นี้เรียกว่าวิญญาณภายนอก
ศึกษาให้จบก่อนค่อยโม้


อ่านพระไตรปิฎกปะสาอะไร แบบนี้เขาไม่เรียกการพิจารณาธรรรม มันเป็นแค่การหาคำศัพท์
การพิจารณาธรรม มันต้องอ่านให้หมดทั้งบท ที่สำคัญต้องเอาเหตุปัจจัยการเกิดของบัญญัติ
ในพระไตรปิฎกนั้นมาพิจารณาร่วมด้วย

พระสูตรที่ผมยกมาที่อยู่ด้านบน.....มันเป็นการอธิบายให้รู้ว่า อะไรเป็นต้นเหตุให้เกิดวิญญานขันธ์
ตัวต้นเหตุก็คือ.....วิญญาน ในการบอกถึงสภาวะที่เป็นสังขตธรรม เราจะให้เข้าใจไปในทางเดียวกัน
เราจะต้องบอกถึงเหตุที่มาของบัญญัติตัวนั้น ที่ต้องบอกอย่างนี้ก็เพราะ สภาวะเป็นธรรมชาติที่เกิดดับ
จึงไม่สามารถบอกไปตรงให้คนอื่นเข้าใจได้

และในส่วนนี้ผมกำลังอธิบายว่า....จิตเป็นคนล่ะตัวกับวิญญานขันธ์
กรุณาดูประเด็นอย่าพยายามเอาบัญญัติ มาสร้างให้ประเด็นมันบิดเบี้ยวซิครับ


และในส่วนที่คุณยกมา เป็นเรื่องที่บอกให้รู้ว่า ความเป็นขันธ์เกิดกับวิญญานได้อย่างไร
ในความเป็นขันธ์ก็มีสาเหตุของมัน นั้นก็คือเหล่าวิญญานที่กล่าวมา มันเป็นสังขตธรรม
มันเป็นไตรลักษณ์ เมื่อมันเกิดหรือยังไม่เกิด ล้วนแล้วแต่เป็นไตรลักษณ์
เมื่อจิตเข้าไปยึดสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน มันจึงเป็นอัตตาหรือวิญญานขันธ์

ในพระธรรมท่านกล่าวทั้งคววามเป็นวิชชาและความเป็นอวิชาเอาไว้
อ่านพระธรรมต้องแยกแยะ
พระธรรมบางบทท่านอธิบายว่า อะไรคืออวิชา อ่านแล้วอย่ายึดซิครับ
คุณคันฯ คุณรู้ตัวหรือเปล่าว่า คุณกำลังความเป็นอวิชามาแย้งวิชชา
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
ที่นี่มาดูว่าวิญญานคืออะไร.....

[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 302&Z=1378



เห็นไหมว่ามันคือตัวเดียวกัน จักขุโสตฆานชิวหากายมโนวิญญาณเหมือนกัน
เป็นแค่ช่วงลำดับเวลา อดีตปัจจุบันอนาคต ของตัวเอง ของคนอื่น แค่นั้นเอง

ไม่ได้ต่างกันเลยทั้งสอง
ไหนบอกคล่องพระไตร?
และที่สำคัญที่สุด
ตรงไหนประโยคไหนที่บอกว่าจิตเป็นคนละอย่างกับวิญญาณ


"จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ"
ที่กล่าวมาทั้งหมด มันเป็นอาการที่จิตไปรู้รูป นั้นก็คือสฬารยตนะ๖
อาการที่รู้เรียกวิญญาน
สิ่งที่ถูกรู้เรียกสฬารยตนะหรือประสาทรูป๖ได้แก่....จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กายและมโน

ความต่างกันของวิญญาน๖ก็คือ สิ่งที่ถูกรู้คือสฬารยตนะและอาการรู้(วิญญาน)
ส่วนความเหมือนก็คือ ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เกิดจากจิตผู้รู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
ผมเอาพระอภิธัมมัตถสังคหะตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ
พระสูตรที่ผมยกมาก็แสดงว่าจิตเกิดดับไม่อ่านหรือครับ
ยกมาก็หลายอัน ก็บอกหลายที่แล้วว่าที่ยกมาเป็นพระสูตรพระอภิธรรมและอรรถกถา


ในพระสูตรท่านไม่ได้กล่าวว่า จิตเกิดดับ แต่ในความของคำว่า...
จิต.. มโน.. วิญญานก็คือ.....ผัสสะ(มโนสัมผัส)

ส่วนผมบอกว่าคุณมั่ว เพราะคุณเอานิยามของอนุธาจาย์ที่ว่า จิตเป็นวิญญาน
มามั่วในพระสูตร เพราะในพระสูตรเป็นการบอกให้รู้ว่า วิญญานเป็นตัวรู้(เป็นสังขตธรรม)
ส่วนตัวผู้รู้คือจิต จิตในความหมายของพุทธองค์คือ...นามในนามรูป

จิตของพระพุทธองค์ เมื่อบุคคลยังมีชีวิต จิตจะตั้งอยู่ในลักษณะของธรรมฐิติ
ที่ไม่ไปข้องเกี่ยวกับสังขาร(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อ
สฬายตนะมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไร
หนอมีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะมีย่อมเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อนามรูป
มีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะย่อมมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ...


ครับ
แล้วไงต่อครับ จะสื่ออะไรครับ ว่ามาต่อให้จบสิครับ


ก็จะยังไงต่อล่ะครับ ภพชาติปัจจุบันของคุณ มันเริ่มตรงไหนในปฏิจจฯไหนครับ

นามรูปมีจิตมั้ยครับ มหาภูติรูปสี่กับนามรูปเหมือนกันมั้ยครับ

cantona_z เขียน:

อ้างคำพูด:
ตรงไหนประโยคไหนที่บอกว่าจิตเป็นคนละอย่างกับวิญญาณ

ผมตอบคุณตรงนี้ก่อน มันจะได้จบๆ และจะบอกให้คนรำคาญมันต้องเป็นผมไม่ใช่คุณ
ปัญหามันไม่ใช่ว่า ตรงไหนที่บอกว่าจิตเป็นคนอย่างกับวิญญาน
แต่ในพระธรรมวินัยแท้ๆ ที่ท่านไม่กล่าวว่าว่าจิตเป็นคนล่ะอย่างกับวิญญาน
ก็เพราะถ้ามันเป็นอย่างเดียวกัน พระธรรมวินัยจะกล่าวว่าเป็นอย่างเดียวกัน :b13:



ก็พระไตรปิฏกกล่าวไว้ว่าเป็นตัวเดียวกันไงครับ
พระสูตรที่ยกมาตั้งหลายรอบ พระอภิธรรมปิฏกอีก
ยกมากี่ทีแล้วล่ะครับ


นั้นคุณมั่วเอาเองครับ ในพระสูตรกล่าวบัญญัติไว้ตั้งสาม
คุณเล่นเลือกเอาแต่สิ่งที่คุณต้องการมาเพียงหนึ่ง
แล้วอีกสองล่ะครับทำไมไม่เอามาพิจารณา ....มักง่ายไร้สติครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ที่ถกกันถึงพริกถึงขิงถึงกระเทียมไม่มีอะไรใหม่ ก็เรื่องจิต,วิญญาณ (สองชื่อนี้) ถึงจะยกพระสูตรมายันกันแตกแขนงออกไป แต่รากเง่าของมันก็จิต ก็วิญญาณ

ไวพจน์คำว่า จิต มีมากมาย (วิญญาณก็อีกชื่อหนึ่ง)

จิต ท่านพูดถึง ชีวิต คืออะไร (ขันธ์ ๕)

วิญญาณ ท่านพูดถึง ชีวิต เป็นไปอย่างไร (ปฏิจจสมุปบาท)

ถ้าจะอุปมาอุปไมยการอธิบายชีวิตหรือนามรูปในขันธ์ ๕ เปรียบเหมือนรถที่ตั้งแสดง (จอดอยู่) ในโชร์รูม แล้วนายช่่างก็ชี้ให้ดูส่วนประกอบแต่ละอย่างๆของรถว่ามีอะไรบ้าง

ส่วนชีวิตหรือนามรูปที่ท่านพูดอธิบายในปฏิจจสุปบาทเหมือนรถที่กำลังวิ่งอยู่

นึกดีๆชีวิตมีชีวิตเีดียว ไม่ใช่มีมากมายหลายชีวิต :b32:



ธรรมะหรือชีวิต ด้านหรือแง่ต่างๆ ตามหลักพระพุทธศาสนา


ผู้ใดพูดธรรมะเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ผู้นั้นพูดถึงชีวิตในแง่ว่า "ชีวิต คืออะไร"

ถ้าพูดธรรมะเกี่ยวกับเรื่องไตรลักษณ์ ผู้นั้นพูดถึงชีวิตในแง่ว่า "ชีวิต เป็นอย่างไร"

ถ้าเขาพูดธรรมะเกี่ยวกับเรื่องปฏิจจสมุปบาท + (กรรม - กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม) เขาถึงชีวิตในแง่ว่า "ชีวิต เป็นไปอย่างไร"

ถ้าพูดธรรมะเกี่ยวกับเรื่องวิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน + (ญาณขั้นนั่นขั้นนี่้ ชื่อนั้นชื่อนี้) เขากำลังพูดถึงชีวิตในแง่ว่า "ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร"

แต่ถ้าพูดธรรมะเรื่ององค์ประกอบของมรรค คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ พูดถึง ไตรสิกขา...เขากำลังพูดถึงชีวิตในแง่ว่า "ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร"

แต่ถ้าพูดธรรมะเกี่ยวกับเรื่องอริยบุคคลขั้นนั้นขั้นนี้ เขากำลังพูดถึงชีวิตในแง่ว่า "ชีวิตที่ดี เป็นอย่างไร"

ฯลฯ

ชีวิตแต่ละชีวิตที่โลดแล่นอยู่ในโลกในสังคมนี่ก็คือธรรมล้วนๆ แต่ถ้าพูดโดยใช้ภาษาสมมติบัญญัติเป็นบุคคล เป็นนายนั่น นางนี่ เป็น นาย ก. นาง ข. นางสาว ง. เป็นต้น ซึ่งเขาทำนั่นนี่ เขาพูดอย่างนั้นอย่าง เขาคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ พวกเขาเหล่านั้น ก็ใช้ธรรมหรือชีวิตนี่้ในแง่บุคคล...มันซ้อนๆกันอยู่หน่า คิดดีๆ :b1: :b32:


แต่ถ้าใครพูดธรรมออกนอกจากชีวิต เขากำลังออกทะเล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ม.ค. 2014, 08:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
ตามที่พูดไปเป็นร้อยครั้งแล้ว สภาวะที่เป็นสังขตธรรม
มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป สภาวะหนึ่งดับ สภาวะใหม่มาแทนที่

แล้วมันจะเป็นตัวเดียวกันได้อย่างไร
อย่าอ้างสัตติอีกน่ะ สันตติมันปิดบังอนิจลักษณะ
มันไม่เกี่ยวกับการสืบต่อ

ไปนอนก่อน อยากระบายอะไรก็เชิญพรุ่งนี้จะมาตอบให้


อย่าเนียนออกทะเลด้วยภาษาครับ ผมไม่ออกทะเลด้วยครับ


เราถกกันว่า จิต กับ วิญญาณ เป็นสภาวะเดียวกันไหม
เราไม่ได้ถกว่า จิตดวงที่หนึ่งกับจิตดวงที่สองเป็นดวงเดียวกันไหม
หรือวิญญาณดวงที่หนึ่งกับวิญญาณดวงที่สองเป็นดวงเดียวกันไหม

อย่ามั่วครับ


ผมจะพูดแยกแยะให้คุณและคนอื่นๆฟังด้วย พระอภิธรรมในบ้านเรา
ที่ศึกษากันส่วนใหญ่ จะศึกษาในส่วนที่เป็นพระอภิธรรมมัตถฯ ของพระอนุรุทธาจารย์
เนื้อหาในพระธรรมของพระอนุรุทธาจารย์ เป็นกล่าวสอนถึงบุคคลที่ยังติดในอวิชา
ความหมายก็คือ ปุถุชนนั้นเอง สิ่งที่อธิบายในนั้นล้วนแล้วแต่ให้รู้ถึงความเป็นกิเลส
ความเป็นอัตตายึกมั่นถือมั่นและความเป็นขันธ์ห้า
ที่กล่าวมาไม่ได้หมายความว่า ท่านอนุรุทธาจารย์เป็นปุถุชนน่ะครับ
ท่านอนุรุทธาจารย์ท่านเป็นพระอริยชนแล้ว เพราะสิ่งที่ท่านอธิบายเป็นเรื่องในอริยสัจจ์สี่
ท่านเป็นผู้รู้แล้ว


ปล.มันก็เหมือนกันกับที่ ท่านพุทธกล่าวถึงการคร่อมภพชาติ
ท่านเพียงบอกให้รู้ว่า...มันเป็นในส่วนของอวิชา

แต่พุทธวจนที่เป็นพระธรรมวินัยแท้ๆ เป็นการกล่าวความเป็นวิชชา
กล่าวให้รู้ว่า การไม่ยึดมั่นเป็นอย่างไร ความเป็นสังขารที่ปราศจากขันธ์ห้าเป็นอย่างไร
ซึ่งพระธรรมของท่านล้วนกล่าวถึงความเป็นอริยชน

ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีสติแยกแยะ ว่าพระธรรมนั้นเป็นพุทธวจน
พระธรรมไหนเป็นของพระอนุรุทธาจารย์


การที่บุคคลคิดว่าจิตกับวิญญานเป็นสภาวะเดียวกัน ก็เป็นเพราะจิตของปุถุชน
ชอบที่จะเข้าไปยึดสิ่งที่มากระทบ เลยทำให้หลงเข้าใจไปว่า มันเป็นสิ่งเดียวกัน

แต่ในพระอริยชน ท่านแยกนามรูป ดูสังขารอันเกิดจากการกระทบ
โดยไม่ให้นามรูปของท่านไปพัวพันกับสังขารที่เกิดขึ้น

สรุปเรื่องจิตกับวิญญานให้ฟังสั้น ในปุถุชนวิญญานในสังขารก็คือจิต
เพราะว่าปุถุชนยังมีอวิชา

แต่พระอริยชน จิตของท่านคือนามรูป ส่วนวิญญานคือสังขาร(สังขตะ)
ถ้าจะให้จิตเป็นวิญญานก็ได้ แต่ต้องเป็นวิญญานในปฏิจจสมุปบาท
เพราะวิญญานในปฏิจจ์คือผู้รู้นามรูป


วิญญานในปฏิจจสมุบาทกับวิญญานในสังขาร(สังขต)
เป็นคนล่ะอย่างกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

ถ้าพูดธรรมะเกี่ยวกับเรื่องไตรลักษณ์ ผู้นั้นพูดถึงชีวิตในแง่ว่า "ชีวิต เป็นอย่างไร"



พูดถึงชีวิตในแง่ไตรลักษณ์ว่า "ชีวิต เป็นอย่างไร?"

คำตอบได้แก่ตัวอย่างโยคีบุคคลนี้ คือ ชีวิตในด้านสภาวธรรมมันเป็นยังงี้ :b1:


อ้างคำพูด:
เมื่อคืนนี้ ในระหว่างที่นั่งสมาธิ หนูนั่งสมาธิแบบยุบหนอ-พองหนอค่ะ รู้สึกว่ามีอาการตัวโยกเอน (เป็นอยู่บ่อยๆค่ะ) ตัวหมุน ตัวพองออกจนรู้สึกว่ามือมันคลี่ออกจากกัน แล้วสักครู่ก้อลอยขึ้น หนูตกใจก้อเลยลืมตา

แล้วก้อตัดสินใจนั่งต่อค่ะ เกิดอาการเดิมๆ สลับกัน หมุนบ้าง คอผงกบ้าง ส่ายหน้าบ้าง ในบางช่วงเกิดอาการเหมือนหน้าหายไปแทบหนึ่ง ปากแน่น ตึงเหมือนจะพูดไม่ได้ แล้วมือที่ซ้ายทับขวาไว้ ก้อเลื่อนออกจากกัน เลื่อนออก แล้วก้อเลื่อนเข้า มีความรู้สึกว่านิ้วถูกกดให้เล็กลง ตัวแยกออก (คือมันเป็นความรู้สึกค่ะ บอกไม่ถูก แต่ไม่ได้เห็นเป็นภาพว่าตัวเองแยกถูกฉีกอ่ะค่ะ แต่จะว่าเห็นก้อไม่เชิง มันเหมือนคิดนะค่ะ ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกัน) ต่อมาก้อมีอาการปากเหมือนดูดลม เบ้ปาก บีบปาก รู้สึกว่าฟันงอก สกปรก (ไม่รู้คิดไปเองหรือยังไง สับสนเหมือนกันค่ะ เพราะช่วงนี้อ่านอาการพวก อสุภะบ้าง ตอนที่คิดว่าเหมือนคนแก่ เลยท่องๆในใจว่า ไม่เที่ยง แต่รู้สึกว่าตัวเองทำมั่วๆอ่ะค่ะแล้วก้อหยุด อาการเหล่านี้ เป็นติดต่อกันบ้าง สลับกับพองยุบบ้าง นั่งนิ่งๆ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จนสุดท้าย มีเวทนาเกิดขึ้นที่ขาและเอว กำหนดปวดหนอแล้วก้อยังไม่หาย (ปกติกำหนดแปปเดียวก้อหาย แต่ส่วนมากจะไม่ค่อยเกิดเวทนาค่ะ) ก้อเลยออกจากสมาธิในที่สุด

ขอเพิ่มเติมนะค่ะ คืนก่อนๆหน้านี้ค่ะ จิตมีอาการดิ่งวูบ แล้วก้อสว่าง แต่ว่าแปปเดียวค่ะ ทำยังไงถึงจะทรงไว้ได้นาน หรือว่าควรทำยังไงค่ะ แล้วหนูก็ไม่เข้าใจอีกเรื่อง คือเวลานอนหลับไปแล้ว หรือระหว่างกึ่งหลับกึ่งตื่น เคยมีอาการตัวลอย หรือไม่ก้อเกิดอาการ ชาๆ วูบๆทั่วตัว บ้างก้อเหมือนจะคลื่นไส้ บางทีที่เกิดหนูก้อไม่ได้ภาวนาแบบนอนนะค่ะ ก็หลับไปเฉยนี่แหละค่ะ

หนูสับสนมาก ว่าต้องทำยังไงต่อ อาการเหล่านี้ทั้งหมดเกิดขึ้นประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าค่ะ รบกวนท่านผู้รู้แนะนำด้วยนะค่ะ หนูฝึกเองอยู่บ้านค่ะ ก่อนหน้านี้ไปฝึกที่คุณแม่สิริค่ะ รบกวนด้วยค่ะ



แม้ผู้ปฏิบัติหรือผู้ฝึกอบรมจิตประสบสภาวะไตรลักษณ์แล้ว แต่ถ้าไม่รู้เท่าทันมัน พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า กลับทำเกิดทุกข์แก่ผู้ปฏิบัติได้ (การประสบไตรลักษณ์อย่างไม่รู้เท่าทัน กลับทำให้เกิดทุกข์ เช่น สํ.ข.17/4/4; 32/21; 87/53) อ้าว ...ทำไมเป็นยังงั้นไปได้...แทนที่จะพ้นจากทุกข์ กลับทำให้ทุกข์...คำตอบ ก็คือ สภาวะนั้นๆฝืนความรู้สึกเรา ขัดความต้องการของเรา คือว่า เราต้องการอย่างนี้ แต่มันเป็นอย่างนั้น ตามธรรมะ ธรรมดา ธรรมชาติของมัน (ความเป็นเราฝืนกระแสธรรมชาติ ทวนกระแสธรรม)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
อนุโมทนาครับ กับเรื่องของวิญญาณ


มโน อายตนะภายในข้อที่ ๖

ส่วนมโนคือใจนั้นได้ใช้เป็นอายตนะภายในข้อที่ ๖ หรือทวารข้อที่ ๖ นับเข้าในอายตนะภายในทั้ง ๖ หรือในทวารทั้ง ๖ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญต้องมีประกอบกันไป กับอายตนะ ๕ ข้อข้างต้น ทวาร ๕ ข้อข้างต้น และมีหน้าที่โดยเฉพาะของตนเอง รู้ธรรมะคือเรื่องราวต่างๆ ของรูปเสียงเป็นต้น ที่ประจวบพบผ่านมาแล้ว มโนจึงเป็นเรื่องของอายตนะภายใน เป็นเรื่องของทวารทั้ง ๖ ซึ่งมิได้ใช้ในความหมายอื่นมากเหมือนอย่างวิญญาณ และจิต

เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพุทธศาสนา จึงต้องศึกษาให้รู้จักความหมายของถ้อยคำที่ท่านใช้ เป็นอย่างเดียวกันบ้าง ต่างกันบ้าง และโดยเฉพาะที่เป็นอย่างเดียวกัน ก็คือวิญญาณกับจิตดังกล่าวมานั้น ซึ่งมีใช้เป็นอย่างเดียวกัน หรือเท่ากันเป็นอันมาก

เพราะฉะนั้น การที่จะอธิบายศัพท์จึ่งต้องกำหนดขอบเขตว่า จะอธิบายศัพท์ เช่นศัพท์ว่าวิญญาณนี้ ในข้อไหน ในเรื่องอะไร
ถ้าในเรื่องของธาตุ ๖ ก็ต้องอธิบายเท่ากับจิต หรือเสมอกับจิต ถ้าอธิบายในเรื่องของขันธ์ ๕ วิญญาณก็มีความหมายลดลงมา เป็นความรู้ของจิตที่ออกรับอารมณ์เป็นขั้นแรกดังกล่าวมานั้นเท่านั้น

อนุโมทนาครับ :b46: :b8: :b8: :b8: :b46:
ลองเข้าไปอ่านตามลิ้งดูนะครับ
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-091.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 09:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ก็เป็นแบบนี้ไง ถามหาที่มาพอบอกที่มาให้ ......ดันจะเอาปัจจัตตังของเราด้วย
ถ้าอ่านยถาภูติญานทัสสนะเข้าใจจริงๆ มันต้องเข้าใจในส่วนที่พระพุทธองค์ตรัสถามปัญจวัคคีย์
ในส่วนนี้แหล่ะที่พระพุทธองค์ทรงชี้ให้ปัญจวัคคีย์เห็น......ความเป็นอัตตา

และที่ถามว่าตรงส่วนไหนแสดงว่าจิตเป็นอัตตา
จะบอกให้ว่า ท่านไม่บอก ถึงจะบอกคุณก็ไม่รู้เรื่อง เพราะต้องอาศัยหลักของธัมมวิจยะหรือ
ที่คุณเรียกว่าจิ้นนั้นแหล่ะ เรื่องแบบนี้มันตัวใครตัวมัน



ยอมรับว่าจิ้นเองก็ดีครับจะได้ไม่ต้องคุยต่อ
ธรรมะคิดเองเออเองจิ้นเอง ก็ยอมรับเองไปเถอะครับ
ผมยอมรับพระไตรปิฏกครับ ไม่ได้ยอมรับธรรมของปุถุชนขี้กลากขี้เกลื้อนคิดเองเออเอง


อ้างคำพูด:
และขออธิบายกับคำว่าจิต จิตที่เป็นพุทธพจน์แท้ ไม่ใช่สังขตธรรม
ตัวจิตเป็นส่วนหนึ่งใน นามรูป นามรูปเป็นธรรมฐิติ เป็นปฏจจสมุปบาทเป็น อสังขตธรรม


หามาหน่อยซิครับ อย่าจิ้น
ตรงไหน ประโยคไหนที่บอกจิตไม่ใช่สังขตธรรม

คุณเพิ่งยกธรรมที่เป็นจิต ธรรมที่ไม่เป็นจิตมาเองเมื่อหน้า3
อ้างคำพูด:
โฮฮับ เขียน:
นี่มาพูดถึงขันธ์....
[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 742&Z=6822



เมาน้ำหมักชีวภาพเหรอครับ

ปฏิจจสมุปบาทบ้านคุณสิครับเป็นอสังขตธรรม
ถ้าปฏิจเป็นอสังขตธรรม ทุกข์จะดับได้หรือครับ นิพพานจะเกิดได้หรือครับ
พระอริยบุคคลละอวิชชา วงปฏิจจก็หยุด ทุกข์ก็ดับ เข้าถึงนิพพาน
อสังขตธรรมบ้านคุณหยุดได้ แปรเปลี่ยนได้สินะครับ

อ้างคำพูด:
อนึ่งที่คุณเคยปรามาสท่านพุทธทาส ที่ว่าด้วยเรื่อง การคร่อมภพชาติปฏิจจสมุปบาท
คุณต้องเข้าใจ เรื่องนามรูปในปฏิจจสมุปบาท


ถ้าลงบอกแบบนี้อย่ามาอวดเก่งสอนผมเลยครับ
ความรู้ปริยัติคุณไม่แม่นเลย แค่จับศัพท์มาชนกันงูๆปลาๆเท่านั้นเอง



อ้างคำพูด:
โปรดเข้าใจซะใหม่ด้วยว่า ยถาภูติญานทัสสนะ ก็คือ ให้บุคคลใช้ปัญญา
หาความเป็นอัตตา ตัวตนในกายใจตนเอง แล้วดับมันเสีย ด้วยปัญญาของตน
ดังนั้นอย่าเที่ยวเร่ถามคนอื่นว่าเป็นอย่างไร อยู่ตรงไหน มันอายเขา


ผมก็ชักเริ่มอายแล้วล่ะครับ
ยถาภูตญาณทัสสนะไม่ใช่ให้หาความเป็นอัตตาครับ
ทั้งกายใจไม่มีส่วนไหนเลยที่เป็นอัตตา
ยถาภูต ให้รู้ตามความเป็นจริงว่า รุปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณแท้จริงแล้วเป็นอนัตตา ครับ
แล้วให้ละอุปาทานที่ไปหลงผิดยึดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นอัตตา

มั่วมากครับคุณโฮ

ธรรมะจิ้นเอง เก็บไว้ใช้คนเดียวเถอะครับ

อ้างคำพูด:
คุณคันฯครับ ในบทสรุปของพระสูตร มันมีแต่"จิต"คำเดียวหรือครับ
มโนหายไปไหนและวิญญานอีกล่ะทำไมไม่พูดถึง
พุทโธ่! มันต้องเอาทั้งสามคำมาพิจารณาร่วมกัน ไม่ใช่เอาตรงนี้นิด
หยิบตรงนี้หน่อย มาอ้าง

จะบอกให้ที่ท่านกล่าวถึง "จิต..มโน...วิญญาน" โดยไม่กล่าวเพียงอย่างเดียวเพราะว่า
พระองค์กำลังบอกว่า สภาวะนั้นคือ.....มโนสัมผัสหรือผัสสะ

และที่บอก"จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปทั้งวันทั้งคืน" ท่านหมายถึง..
มโนผัสสะที่กล่าวในตอนต้น

การเปรียบเทียบจิตกับลิง มันก็บ่งบอกให้รู้ว่า ตัวบุคคลชอบที่จะคิดโน้นคิดนี้
ความคิดก็เหมือนอาการเกาะต้นไม้ของลิง เขาให้ดูเฉพาะอาการของลิง ไม่ใช่ตัวลิง
ตัวลิงเป็นจิต อาการที่กระโดดไปกระโดดมามันเป็นมโนผัสสะ

การเกิดดับมันเป็นเพียงการเปรียบ แต่นั้นความเป็นจริง
คือลักษณะการเกิดของผัสสะและการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสังขารตัวอื่น

ผมเคยยกพระสูตรมาให้ดู ก็เพื่อจะให้คุณรู้ว่าแท้จริงแล้ว
บัญญัติที่ว่าจิตน่ะ มันมีเหตุปัจจัยมาจากไหน ให้คุณไล่หาเหตุให้จบที่นามรูป
คุณก็จะรู้ว่าจิตคืออะไร และอย่าถามน่ะว่าคำอธิบายข้างบนผมเอามาจากไหน
ผมก็เอามาจากพระสูตรที่คุณอ้างอิงนั้นแหล่ะ

ถามหน่อย คุณว่าในมหาภูติรูปสี่มีจิตมั้ย :b32:


อันนี้ก็จิ้นเองทั้งนั้น
เฮ้อ
มหาภูติรูปสี่บ้านคุณโฮมีจิตสินะครับ


อ้างคำพูด:
และในส่วนนี้ผมกำลังอธิบายว่า....จิตเป็นคนล่ะตัวกับวิญญานขันธ์
กรุณาดูประเด็นอย่าพยายามเอาบัญญัติ มาสร้างให้ประเด็นมันบิดเบี้ยวซิครับ


พูดง่ายๆว่ากำลังจิ้น อย่าเอาพระไตรปิฏกมาขัด ว่างั้นสินะครับ


อ้างคำพูด:
และในส่วนที่คุณยกมา เป็นเรื่องที่บอกให้รู้ว่า ความเป็นขันธ์เกิดกับวิญญานได้อย่างไร
ในความเป็นขันธ์ก็มีสาเหตุของมัน นั้นก็คือเหล่าวิญญานที่กล่าวมา มันเป็นสังขตธรรม
มันเป็นไตรลักษณ์ เมื่อมันเกิดหรือยังไม่เกิด ล้วนแล้วแต่เป็นไตรลักษณ์
เมื่อจิตเข้าไปยึดสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน มันจึงเป็นอัตตาหรือวิญญานขันธ์

ในพระธรรมท่านกล่าวทั้งคววามเป็นวิชชาและความเป็นอวิชาเอาไว้
อ่านพระธรรมต้องแยกแยะ
พระธรรมบางบทท่านอธิบายว่า อะไรคืออวิชา อ่านแล้วอย่ายึดซิครับ
คุณคันฯ คุณรู้ตัวหรือเปล่าว่า คุณกำลังความเป็นอวิชามาแย้งวิชชา :b13:



เมื่อจิตเข้าไปยึดสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน มันจึงเป็นอัตตาหรือวิญญานขันธ์
บ้านคุณสิครับ
เมื่อจิตเข้าไปยึดสิ่งที่ไม่ใชตัวตน เขาเรียกอุปาทานครับ
ร้อยละร้อยไม่พ้นการยึดมั่นในขันธ์ภายในภายนอกว่าเป็นอัตตา
จึงเรียกอีกว่าเป็นอุปาทานขันธ์5


คุณนี่ปริยัติมั่วนิ่มมาก จิ้นเอาเองทั้งนั้น
ธรรมคิดเองเออเองแบบนี้ อย่ามาทำเก่งสอนคนอื่นเลยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

แต่พระอริยชน จิตของท่านคือนามรูป ส่วนวิญญานคือสังขาร(สังขตะ)
ถ้าจะให้จิตเป็นวิญญานก็ได้ แต่ต้องเป็นวิญญานในปฏิจจสมุปบาท
เพราะวิญญานในปฏิจจ์คือผู้รู้นามรูป[/b]

วิญญานในปฏิจจสมุบาทกับวิญญานในสังขาร(สังขต)
เป็นคนล่ะอย่างกัน


อ้างคำพูด:
แต่พระอริยชน จิตของท่านคือนามรูป



จิตก็จิต รูปก็รูป จะว่า จิตคือนามรูป ได้ยังไง รูปก็ส่วนรูป นามก็ส่วนนาม แยกกัน แต่ท่านเรียกชีวิตรวมกันว่า นามรูป (นามกับรูป) หรือ รูปนาม (รูปกับนาม)

http://www.youtube.com/watch?v=I84Yfm7vhKI

:b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ม.ค. 2014, 09:33, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร