วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2004, 12:30
โพสต์: 147


 ข้อมูลส่วนตัว www


จิตเกิดดับ ก็เป็นอย่างนั้น

จิตก็เป็ตจิต ขันธ์ก็เป็นขันธ์

เอาตำรามาแบกไว้ ก็ตายไปเปล่าๆ ไม่ต่างจากช้อนไม่รู้รสแกงฉันนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 04:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


jojam เขียน:
จิตเกิดดับ ก็เป็นอย่างนั้น

จิตก็เป็ตจิต ขันธ์ก็เป็นขันธ์

เอาตำรามาแบกไว้ ก็ตายไปเปล่าๆ ไม่ต่างจากช้อนไม่รู้รสแกงฉันนั้น



ก็บอกเขาไปว่าทำอย่างไร ปฏิบัติยังไง จึงจะรู้รสแกงเช่นว่านั้น :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:

cantona_z เขียน:
เอ๋า ไปออกเรื่องการพูดธรรมมันต้องอ้างถึงที่มาของตัวอักษรหรือบัญญัตินั้นอีก
เอ้า ว่ามาครับ
แสดงมาให้ชัดว่าเหตุใดจาก
วิญญาณขันธ์เป็นจิต ตามพระอภิธรรมที่คุณยกมานั่นแหละ
อ้างคำพูด:
ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.


กลายเป็นวิญญาณขันธ์ไม่ใช่จิตได้


สรุปคุณจะว่า วิญญานหกกับวิญญานขันธ์เป็นตัวเดียวกันเพราะเป็นจิตใช่มั้ย

ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วที่ว่า จิตเกิดดับ สังขารเกิดดับ จะอธิบายอย่างไร
ในเมื่อมันดับไปแล้ว
มันจะเป็นตัวเดียวกันได้อย่างไร ผมล่ะงงกับคุณจริงๆ

cantona_z เขียน:
เชิญแสดงที่มาครับ

ผมก็อยากรู้ว่าคุณโยนิโสด้วยวิธีไหนแบบไหน ใช้ธัมมวิจย อย่างไรเหมือนกันครับ
ที่ทำให้บัญญัติที่พระศาสดากล่าวไว้กลับหน้ามือเป็นหลังมือได้
ไม่งั้นก็คือคิดเองเออเองนั่นแหละ


ผมพูดไปแล้ว และคำพูดผมก็มาจากการใช้ธัมวจยะ โยนิโสฯ
มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะคิดว่า ผมคิดเองเออเอง
คนที่ยังไม่มีปัญญาไม่เคยพบเห็นสภาวะที่เป็นจริง
ย่อมต้องไม่เข้าใจธรรมที่มาจากการใช้ปัญญาเป็นหลัก :b13:

cantona_z เขียน:

แล้วไอ้วิธีการแถข้างๆคูๆของคุณโฮ เหมือนกันเดี๊ยะกับคุณ 999
ตกลงเป็นคนเดียวกันใช่หรือไม่ครับ


มันใช่สาระมั้ยครับ มันจะใช่หรือไม่ใช่ จะส่งผลให้คุณเกิดปัญญาหรือครับ
คนเรามันต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ความถนัดมันคนล่ะด้านครับ
ขานั้นเขาชอบการเมือง ผมว่าคุณคงแยกแยะออกนะครับว่า ใครเป็นใครในเว็บ"พาลถีบ"



มิได้ขัดคอขัดขวางการสนทนากันนะครับ แต่เห็นว่า ทั้งสองควรทำความเข้าใจคำว่า เกิด-ดับ เกิด-ดับ เกิด-ดับ เกิด-ดับ ให้เข้าใจตรงกันเสียก่อน :b1:


ไม่ได้เถียงเรื่องเกิดดับ ไอ้เรื่องเกิดดับมันเป็นขี้ปะติ๋ว รู้มาตั้งแต่เริ่มศึกษาพระธรรมแล้ว
ที่เถียงกันอยู่มันเป็นเรื่อง ตัวปรมัตถ์บัญญัติ

คนบางคนมันไม่รู้เรื่อง อ่านบัญญัติมาไม่เข้าใจ แล้วก็โมเมว่าเป็นอย่างเดียวกัน
แถมมาตั้งสมมติฐานไม่เข้าเรื่อง

พูดว่า จิตกับวิญญานขันธ์เป็นตัวเดียวกัน แต่ตัวเองบอกว่าสภาวะที่กล่าวมามันเกิดดับ
มันดับไปแล้ว มันจะเป็นตัวเดียวกันได้ไง แถมยังตะแบงว่า คนเรายังมีหลายชื่อได้
ตั้งสมมติฐานปะสาอะไรมั่วจริงๆ

การตั้งสมมติฐาน มันต้องตั้งแบบนี้......บุคคลชื่อโฮฮับมีอาการครบ๓๒
ถ้าเราตัดแขนออกไปหนึ่งข้าง เราจะเรียกแขนที่ตัดออกไปว่าโฮฮับหรือเปล่า
เราเรียกว่าแขน มันก็เหมือนกันไอ้สภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นและดับไป เราเรียกสภาวะโดยรวมว่าจิต
แต่ในสภาวะแต่ล่ะสภาวะก็มีชื่อเรียกเฉพาะ เราจะเรียกชื่อที่เป็นส่วนย่อยมาเป็นชื่อโดยรวมไม่ได้
มันก็เหมือนแขนของโฮฮับที่โดนตัดออกไปจะเรียกแขนนั้นว่าโฮฮับไม่ได้
.........จิตเป็นบัญญัติที่ใช้เรียกกระบวนการเกิดดับของสังขาร
แต่จิตไม่ใช่ตัวสังขาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
สรุปคุณจะว่า วิญญานหกกับวิญญานขันธ์เป็นตัวเดียวกันเพราะเป็นจิตใช่มั้ย


เอ๋า ใช่สิครับ

ไม่ได้อ่านเหรอครับผมยกมาแสดงอีกทีก็ได้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
จิตตุปปาทกัณฑ์

[๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร ๑- มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.


เอามาก็เอามาไม่หมด เหมือนกับเอาความเห็นท่านพุทธทาสมา โพสก็เอามาไม่หมด
ตัดมาเป็นท่อนๆแล้วก็วิจารณ์สาดเสียเทเสีย ไม่ได้เรื่องเลยครับ

พระอภิธรรมที่คุณยกมาน่ะ ท่านอธิบายถึงธรรมที่เป็นกุศล
ท่านบอกให้รู้ว่า ลักษณะธรรมที่เป็นกุศลนั้นมีปัจจัยอะไรบ้าง
ซึ่งจะรู้ว่ามีอะไร ก็ไปอ่านตั้งเริ่ม........

ในส่วนที่คุณเอามาอ้าง(๒๑) ที่ว่าด้วยเรื่องจิต ท่านหมายว่า
ธรรมที่เป็นกุศลต้องมีจิตเป็นปัจจัยร่วมด้วย และใน(๒๑)นี้ท่านอธิบาย
ให้รู้ว่ากระบวนการหรือมีสภาวะใดบ้าง ที่ทำให้เป็นจิตที่เป็นกุศลธรรม

นั้นก็คือ มโน มนายตนะ วิญญาน วิญญานขันธ์ มโนวิญญานธาตุ
ทั้งหมดกระบวนการนี้ รวมเรียกว่า จิตหรือจิตที่เป็นกุศล

มันไม่ได้หมายความว่า.....วิญญานขันธ์เป็นจิต
วิญญานขันธ์เป็นเพียงส่วนประกอบของจิตที่เป็นกุศลธรรม


ถ้าให้จิตเปรียบเป็นร่างกายของผมโฮฮับ เอาแขนผมออกไปข้างหนึ่ง
เขาไม่เรียกแขนที่ขาดไปว่า โฮฮับน่ะครับ คุณคันโท่น่า


อย่าลืมไปอ่านพระอภิธรรมที่คุณอ้าง อ่านอย่างมีสมาธิ อ่านทั้งหมดอย่ามักง่าย
http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php ... =598&Z=847


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:

อ้างคำพูด:
ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วที่ว่า จิตเกิดดับ สังขารเกิดดับ จะอธิบายอย่างไร
ในเมื่อมันดับไปแล้ว มันจะเป็นตัวเดียวกันได้อย่างไร ผมล่ะงงกับคุณจริงๆ


เอ่า ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาทกับสันตติหรือครับ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

แต่วิญญาณหรือจิตนั้นไม่เที่ยง ก็เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป
แต่เพราะอวิชชาไม่ได้ดับไปด้วย จิตก็เกิดขึ้นใหม่ เกิดดับๆไปเรื่อยๆ


รู้จักซิครับและยังรู้อีกด้วยว่าคุณกำลังมั่ว ในธรรมฐิติ(ธรรมชาติ)
มันมีธรรมอยู่สองอย่าง นั้นก็คือ ปฏิจจ์สมุปบาทและสังขตธรรม
คุณกำลังเอาปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นอสังขตธรรม มามั่วในสังขตธรรม
ปฏิจจสมุบาทไม่มีการเกิดดับ ปฏิจจสมุบาทอาศัยกันทั้ง๑๒ปัจจัยด้วย...อัญญมัญญปัจจัย

เพราะคุณมั่วแบบนี้ไง ผมถึงได้ย้ำถามว่า....คุณจะให้ความหมายของจิต
เป็นนามหรือวิญญานในปฏิจจสมุปบาท หรือจะให้จิตเป็นวิญญานในสังขตธรรม

คุณคงไม่รู้ที่คุณมั่วเป็นเพราะคุณแยกแยะไม่ออก
ระหว่างพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกและพระอภิธรรมมัตถสังคหะ
เล่นเอามาผสมปนเปกันซะเละ


และอยากจะบอกให้ว่า....สัตติที่คุณพูดถึงน่ะ ท่านหมายความว่า สิ่งที่มาบดบัง สังขตลักษณะ
เขาไม่ได้หมายถึงจิตเป็นดวงๆเป็นลูกไฟดับๆติดๆ
สังขตลักษณะ เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 06:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
ส่วนที่ถามว่า มันจะเป็นตัวเดียวกันได้อย่างไร
ก็๋จิตดวงแรกกับจิตดวงถัดมามันสัมพันธ์สืบต่อกันมาด้วยเหตุปัจจัย
จะเรียกว่าดวงเดียวกันก็ไม่ใช่คนละดวงก็ไม่เชิง
เหมือนไฟดวงขณะนี้กับไฟดวงอีกหนึ่งวินาทีข้างหน้า จะเป็นไฟดวงเดียวกันก็ไม่ใช่คนละดวงก็ไม่เชิง
แต่เกิดขึ้นเพราะยังมีเหตุปัจจัย มีไส้ มีO2 มีความร้อน etc
ก็ถ้าเหตุปัจจัยให้ไฟติดมันยังไม่หายไป ไฟมันก็ติดดับๆไปเรื่อยๆนั่นแหละครับ


พูดแบบนี้ไม่ใช่วิถีพุทธน่ะครับ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งเหตผล
ไอ้คำว่า "ไม่ใช่ ไม่เชิง" มันใช้ไม่ได้ในศาสนาพุทธ

นี้เป็นเพราะคุณไม่เข้าใจในพระอภิธรรมมัตถสังคหะ
ครูบาอาจารย์ท่านสอนธรรมด้วยการเปรียบเทียบ
ที่มีการเปรียบเทียบก็เพื่อให้เห็นไปตามสิ่งที่ไม่สามารถกล่าวเป็นคำพูดได้

เมื่อก่อนศึกษาธรรมใหม่ๆ ผมก็คิดแบบคุณ แต่ในความคิดมันมีสิ่งที่ค้างคาใจ
ผมก็จึงรู้ว่าแบบนี้มันไม่ใช่แล้ว จะมัวอ่านแต่ในตำรามันใช่ไม่ได้
ต้องดูไปที่กายใจว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ผมถามคุณจริง คุณไม่รู้สึกถึงความเป็นจริงกับสิ่งที่คุณคิดเลยหรือครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:

ส่วนที่ถามเรื่องสังขารเกิดดับ สังขารไหนครับสังขารขันธ์ไช่ไหม
ก็ same นั่นแหละครับ สังขารขันธ์เป็นเจตสิก เกิดพร้อมกับจิตดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต


ขอร้องครับ จะอ้างคำพูดของผม กรุณาอ้างให้มันถูกหน่อยครับ
สังขารที่ผมพูด หมายถึงสังขารในปฏิจจสมุบาทกับสังขารที่เป็นสังขตธรรม

ก็อย่างว่าครับบอกไปแล้ว คุณเอาพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกกับพระอภิธรรมมัตถสังคหะ
มามั่วเล่นผสมปนเปกันซะเละ

ที่คุณบอกว่า สังขารขันธ์เป็นเจตสิก ใช่ครับ แต่คุณรู้หรือเปล่าว่า
มันเป็นการสอนเรื่องที่เป็นอวิชา เป็นเรื่องของปุถุชน

พระอรหันต์ก็มีเจตสิก นั้นก็คือ อินทรีย์ห้า แต่เจตสิกของพระอรหันต์ไม่ใช่สังขารขันธ์
ในพระอภิธรรมมัตถฯ จึงมีกล่าวเรื่องนิพพานไว้ต่างหาก

cantona_z เขียน:

ส่วนถ้าพูดถึงสังขารอันเป็นสังขารธรรม ก็มี 3 อย่างคือ รูป จิต เจตสิก
ผมอธิบายจิตเจตสิกไปแล้ว
สังขารธรรมที่เป็นรูปก็เกิดดับเช่นกันครับ นึกภาพเซลต่างๆในร่างกายก็เกิดใหม่ ตายไปเรื่อยๆทุกวินาที
เซลที่ตายไปกับเซลไหม่ เป็นเซลเดียวกันรึปล่าวล่ะครับ?
หายงงหรือยังครับ


นี่ก็มั่ว สังขารธรรมที่คุณพูดมันมีห้าสภาวะ นั้นคือ รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาน

คุณไม่ได้รู้เรื่องพระอภิธรรมมัตถสังคหะ รูป จิต เจตสิก เป็นเรื่องของพระอภิธรรมมัตถสังคหะ

รูปในพระอภิธรรมมัตถฯ มีความหมายเป็นรูปธรรม นั้นก็คือร่างกาย

ส่วนรูปในพระไตรปิฎก หมายถึงนามธรรม(เรื่องของจิตใจ) เป็นสภาวะธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 06:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
ผมพูดไปแล้ว และคำพูดผมก็มาจากการใช้ธัมวจยะ โยนิโสฯ
มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะคิดว่า ผมคิดเองเออเอง
คนที่ยังไม่มีปัญญาไม่เคยพบเห็นสภาวะที่เป็นจริง
ย่อมต้องไม่เข้าใจธรรมที่มาจากการใช้ปัญญาเป็นหลัก :b13:


สรุปว่าคุณโยนิโสด้วยปัญญาคุณ ผมก็โยนิโสด้วยปัญญาผม
ผมเห็นว่าคุณเข้าใจผิด คุณเห็นว่าผมเข้าใจผิด แล้วมันจะจบตรงไหนล่ะครับ
อีกประการ คุณโฮถกกับผมเรื่องสภาวะธรรมขั้นสูงเกี่ยวกับเรื่องปฏิจจสมุปบาทและไตรลักษณ์
ถ้าเจอสภาวะที่แท้จริงก็ยินดีด้วยครับ
เพราะการที่คุณสามารถเจอสภาวะนั้นได้จริงๆ
ก็แปลว่าคุณผ่านวิปัสสนาญาณขั้นต้นเข้าชั้นกลางไปแล้ว
แถมมีการพูดถึงปฏิจจสมุปบาทด้วย
คนที่เห็นปฏิจจสมุปบาทครบวงได้ได้นี้ เข้าขั้นโสดาบันนะครับ


อย่าพยายามโยงเรื่องให้มันเกิดวิวาทะ มูลเหตุที่คุณกำลังสร้างเขาเรียกมูลขี้หมาครับ
มันมีแต่ที่ไม่พึ่งประสงค์ กรุณาอย่าสร้างเหตุเพื่อจะหาเรื่องด่าเลยครับ
cantona_z เขียน:
ก็ยินดีด้วยนะครับ
ถ้าไงช่วยเล่าอาการของญาณ16 แต่ละขั้นให้ฟังหน่อยนะครับ


ถ้าพูดด้วยจิตอกุศล คำพูดนั้นก็หาประโยชน์อะไรไมได้หรอกครับ
แล้วเรื่องให้เล่า เหตุในการเล่าหรือไม่เล่าคุณน่าจะรู้ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 06:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:

อ้างคำพูด:
มันใช่สาระมั้ยครับ มันจะใช่หรือไม่ใช่ จะส่งผลให้คุณเกิดปัญญาหรือครับ
คนเรามันต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ความถนัดมันคนล่ะด้านครับ
ขานั้นเขาชอบการเมือง ผมว่าคุณคงแยกแยะออกนะครับว่า ใครเป็นใครในเว็บ"พาลถีบ"


ส่วนเรื่องจะเป็นคนเดียวกับ 999 ไหม ผมไม่ได้ซีเรียสอะไรหรอกครับ
เห็นเถียงเหมือนกัน คำพูดแทบจะเดียวกัน วิธีการแถแบบเดียวกันแค่นั้นเอง
จะรับหรือไม่รับผมก็ไม่ได้สนใจอะไรมากมาย


ก็นั้นไงแล้วจะเอามาพูดทำไม จริงแล้วในความคิดผมมันไม่ใช่สาระ
แต่ที่ผมต้องพูดเหมือนเอามาเป็นสาระ ก็เพื่อเตือนสติคุณว่า
คุณกำลังเอาเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับธรรมที่เราถกกัน

นั้นก็คือพยายามสร้างเหตุนอกเรื่องเพื่อโจมตี
ผมถึงได้ไงว่า.....มันจะเป็นคนเดียวกันหรือไม่ มันไม่ใช่สาระ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:

สรุปว่าจนถึงบัดนี้ นอกจากที่คุณโฮบอกว่าคุณโฮ โยนิโสเอาเอง
(แถมบอกให้ไล่วิธีคิดให้ดูก็ไล่ให้ดูไม่ได้ด้วยแฮะ)
คุณไม่มีหลักฐานใดๆมาโต้แย้งผมเลยนะครับว่า
จิตและวิญญาณขันธ์เป็นตัวเดียวกัน
จิตไม่เป็นอัตตา
และจิตเป็นไปตามพระไตรลักษณ์



มีอะไรจะแย้งก็แย้งมานะครับ
ไม่งั้นผมขอปิดกระทู้แล้ว
เพราะเป็นมันกลายเป็นถกด้วยความสามารถในการ"จิ้น"
อันนี้ผมไม่ถนัดครับ


คุณจะบอกว่าผมโยนิโสเอาเองได้ไงครับ โยนิโสมนัสสิการและธัมมวิจยะ
เป็นหลักในการปฏิบัติของพระพุทธองค์
ถ้าผมบอกว่าผมโยนิโส นั้นหมายความว่า ผมปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า
คุณไม่รู้เรื่องปฏิปทา มันก็เลยทำให้คุณพูดจาส่งเดช

มันมีที่ไหนโยนิโสเอาเอง มันมีแค่โยนิโสหรือไม่โยนิโส

เรื่องปิดกระทู้เป็นหน้าที่ผม เพราะผมเป็นเจ้าของกระทู้
ในส่วนของคุณ ผมก็บอกไปแล้วว่า.... ถ้าคุณวางเฉยได้ก็ยินดีด้วยครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ไม่ได้เถียงเรื่องเกิดดับ ไอ้เรื่องเกิดดับมันเป็นขี้ปะติ๋ว รู้มาตั้งแต่เริ่มศึกษาพระธรรมแล้ว
ที่เถียงกันอยู่มันเป็นเรื่อง ตัวปรมัตถ์บัญญัติ



อ้างคำพูด:
ไม่ได้เถียงเรื่องเกิดดับ ไอ้เรื่องเกิดดับมันเป็นขี้ปะติ๋ว รู้มาตั้งแต่เริ่มศึกษาพระธรรมแล้ว



ใครปฏิบัติจนรู้เห็นอาการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ของความคิดแต่ละขณะๆ หรือของนามรูปแต่ละขณะๆแล้ว จึงเท่ากับว่าเขารู้เห็นชีวิตทั้งชีวิตเลยทีเดียว เท่ากับเห็นตัวปรมัตถ์เลยทีเดียว :b32: เพราะฉะนั้น การรู้เห็นรู้เท่าทันความคิด (จิต) แต่ละขณะๆตามธรรมดาของมัน จึงเป็นเรื่องที่ใหญ่โตมโหฬารมากกกกกกกกๆ :b32:


ที่กำลังถกเถียงกันอยู่นั่น เป็นการตีความข้อความตัวหนังสือ ที่เรียกกันว่าพระสูตร คล้ายๆตีความก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนนภากาศว่า เมฆก้อนนั่นคล้ายๆนก ก้อนนั้นเหมือนหนู ก้อนนั้นเหมือนกระต่าย นั่นเหมือนภูเขา ก้อนนั้นเหมือนช้าง ฯลฯ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 09:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
จิตตุปปาทกัณฑ์

[๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร ๑- มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.


เอามาก็เอามาไม่หมด เหมือนกับเอาความเห็นท่านพุทธทาสมา โพสก็เอามาไม่หมด
ตัดมาเป็นท่อนๆแล้วก็วิจารณ์สาดเสียเทเสีย ไม่ได้เรื่องเลยครับ

พระอภิธรรมที่คุณยกมาน่ะ ท่านอธิบายถึงธรรมที่เป็นกุศล
ท่านบอกให้รู้ว่า ลักษณะธรรมที่เป็นกุศลนั้นมีปัจจัยอะไรบ้าง
ซึ่งจะรู้ว่ามีอะไร ก็ไปอ่านตั้งเริ่ม........

ในส่วนที่คุณเอามาอ้าง(๒๑) ที่ว่าด้วยเรื่องจิต ท่านหมายว่า
ธรรมที่เป็นกุศลต้องมีจิตเป็นปัจจัยร่วมด้วย และใน(๒๑)นี้ท่านอธิบาย
ให้รู้ว่ากระบวนการหรือมีสภาวะใดบ้าง ที่ทำให้เป็นจิตที่เป็นกุศลธรรม

นั้นก็คือ มโน มนายตนะ วิญญาน วิญญานขันธ์ มโนวิญญานธาตุ
ทั้งหมดกระบวนการนี้ รวมเรียกว่า จิตหรือจิตที่เป็นกุศล

มันไม่ได้หมายความว่า.....วิญญานขันธ์เป็นจิต
วิญญานขันธ์เป็นเพียงส่วนประกอบของจิตที่เป็นกุศลธรรม


ถ้าให้จิตเปรียบเป็นร่างกายของผมโฮฮับ เอาแขนผมออกไปข้างหนึ่ง
เขาไม่เรียกแขนที่ขาดไปว่า โฮฮับน่ะครับ คุณคันโท่น่า


อ่านกันยังไง ศึกษากันยังไง หรือ หาวิธีการแถเอาตัวรอดกันอย่างเดียว
แถมมั่วนิ่มมาบอกว่า แต่ละอย่างเป็นองค์ประกอบกันเหมือนแขนขาแต่ละข้างซะอีก
พูดทำนองนี่ก็แปลว่าจะออกมุก
จิตประกอบด้วย องค์ประกอบ 11 อย่างคือ
1ตัวจิตเอง 2มโน 3มานัส 4หทัย 5ปัณฑร 6มโน 7มนายตนะ 8มนินทรีย์ 9วิญญาณ 10วิญญาณขันธ์11มโนวิญญาณธาตุไช่ไหม

ก็หาทางแถกันไปได้นะครับ
แล้วจิตมีองค์ประกอบเป็นตัวจิตเองเนี่ยนะครับ ไม่เบิ้ลเหรอครับคุณพี่โฮ

A=A+10
แหม่ จะหาเรื่องแถ ดันมีตัวจิตเองมาขัดซะนี่ พับผ่า
s002

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ปสูรสุตตนิเทสนิทเทสที่ ๘
[๓๑๙] ชื่อว่า ใจ ในคำว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ ความว่า ใจ คือ จิต ใจ
มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณ
ธาตุที่เกิดแต่ผัสสะเป็นต้นนั้น.
ท่านคิดนึกถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยจิตว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่
เที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ.



ถ้าตีความแบบคุณโฮ จิตก็คงเป็นองค์ประกอบของใจไปอีกชั้นนึงสินะครับ s002




อ้างคำพูด:
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๑ พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกาย
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง จากกายนั้น
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้


อ้างคำพูด:
การตั้งสมมติฐาน มันต้องตั้งแบบนี้......บุคคลชื่อโฮฮับมีอาการครบ๓๒
ถ้าเราตัดแขนออกไปหนึ่งข้าง เราจะเรียกแขนที่ตัดออกไปว่าโฮฮับหรือเปล่า
เราเรียกว่าแขน มันก็เหมือนกันไอ้สภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นและดับไป เราเรียกสภาวะโดยรวมว่าจิต
แต่ในสภาวะแต่ล่ะสภาวะก็มีชื่อเรียกเฉพาะ เราจะเรียกชื่อที่เป็นส่วนย่อยมาเป็นชื่อโดยรวมไม่ได้
มันก็เหมือนแขนของโฮฮับที่โดนตัดออกไปจะเรียกแขนนั้นว่าโฮฮับไม่ได้



ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’


แล้วอันนี้พระผู้มีพระภาค กลับเรียก แขนขา แทนตัวได้ด้วยกระมังครับ


แหม่ s007


อ้างคำพูด:
พูดว่า จิตกับวิญญานขันธ์เป็นตัวเดียวกัน แต่ตัวเองบอกว่าสภาวะที่กล่าวมามันเกิดดับ
มันดับไปแล้ว มันจะเป็นตัวเดียวกันได้ไง แถมยังตะแบงว่า คนเรายังมีหลายชื่อได้
ตั้งสมมติฐานปะสาอะไรมั่วจริงๆ


อรรถกถาจารย์อย่างพระพุทธโฆสะ กลับอธิบายแบบเดียวกันกับผมเลยนะครับ
ดูท่าคุณโฮฮับจะเก่งกว่าท่านพระพุทธโฆสะกระมังครับเนี่ย

อ้างคำพูด:
ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ

ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ



น่าดีใจที่บอร์ดแห่งนี้มีปราชญ์เหนือปราชญ์เช่นคุณโฮนะครับ
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ่านกันยังไง ศึกษากันยังไง หรือ หาวิธีการแถเอาตัวรอดกันอย่างเดียว
แถมมั่วนิ่มมาบอกว่า แต่ละอย่างเป็นองค์ประกอบกันเหมือนแขนขาแต่ละข้างซะอีก
พูดทำนองนี่ก็แปลว่าจะออกมุก
จิตประกอบด้วย องค์ประกอบ 11 อย่างคือ
1ตัวจิตเอง 2มโน 3มานัส 4หทัย 5ปัณฑร 6มโน 7มนายตนะ 8มนินทรีย์ 9วิญญาณ 10วิญญาณขันธ์11มโนวิญญาณธาตุไช่ไหม


อย่ามองให้เกิดเป็นตัวเป็นตนซิครับ จิตเป็นเพียงคำนิยาม
และสิ่งที่ทำให้เกิดคำนิยามก็คือ....กระบวนการของสังขตธรรม
ในกระบวนการของสังขตธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของสังขาร
ในแต่ล่ะสังขาร ตามที่กล่าวมา ทั้งกระบวนการนั้นรวมเรียกว่า มีธรรมเป็นจิต

ถ้าเราอ้าง สภาวะเดียวโดด ท่านไม่เรียกว่ามีธรรมเป็นจิต เข้าใจมั้ย
ที่ยกตัวอย่างเรื่องแขนขา เพื่อชี้ให้เห็นถึงคำนิยามเต็มๆ

อย่างตัวอย่างที่คุณยกมา เราๆท่านๆก็รู้อยู่ว่า เป็นคนล่ะสภาวะ
ถ้าบอกว่าทุกอย่างที่อ้างเป็นจิต...อย่างนี้ทุกสภาวะก็เหมือนกันหมดน่ะซิ(พูดไม่คิด)

cantona_z เขียน:

ก็หาทางแถกันไปได้นะครับ
แล้วจิตมีองค์ประกอบเป็นตัวจิตเองเนี่ยนะครับ ไม่เบิ้ลเหรอครับคุณพี่โฮ

A=A+10
แหม่ จะหาเรื่องแถ ดันมีตัวจิตเองมาขัดซะนี่ พับผ่า
s002


คุณอ่านพระธรรมไม่ใช่สมาธิ อีกทั้งไม่รู้ความเป็นมาของธรรม
ดันเอาพระอภิธรรมมาอ้างทั้งๆที่ไม่รู้เรื่อง ความหมายในพระอภิธรรม
มันต้องวางแบบนี้..............

[๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
.


จิตมีสมัยนั้น...หมายถึง จิตที่เป็นกุศล อันเป็นส่วนประกอบของธรรมที่เป็นกุศล
(แนะนำไปแล้วให้อ่านพระธรรมให้หมด ไม่ใช่อ่านเป็นท่อนๆ)

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ท่านบัญญัติจิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร กลุ่มนี้เป็นตัวจิตที่เป็นกุศลแท้ๆ

ส่วน มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาน วิญาฯขันธ์ มโนวิญญานธาตุ เป็นกระบวนการ
ที่ทำให้เกิดจิตที่เป็นกุศลกลุ่มแรก


ถ้าจะให้วางสูตรแบบคุณ....

ธรรมที่เป็นกุศล=จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร ๑- นี้คือกลุ่มของจิตที่เป็นกุศล=

มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุนี้เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดจิตที่เป็นกุศล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ปสูรสุตตนิเทสนิทเทสที่ ๘
[๓๑๙] ชื่อว่า ใจ ในคำว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ ความว่า ใจ คือ จิต ใจ
มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณ
ธาตุที่เกิดแต่ผัสสะเป็นต้นนั้น.
ท่านคิดนึกถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยจิตว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่
เที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ.



ถ้าตีความแบบคุณโฮ จิตก็คงเป็นองค์ประกอบของใจไปอีกชั้นนึงสินะครับ


ขอร้องครับอย่าพูดในลักษณะกระทบกระเทียบ อยากด่าก็ด่าเลย
หรือถ้ากลัวผู้ดูแล ด่าผมมาทางข้อความส่วนตัวก็ได้

คำพูดของคุณพูดด้วยอารมณ์ มันทำให้ผมจับประเด็นธรรมไม่ได้
มองคำพูดคุณแล้วเหมือนเห็นยักษ์มารกำลังขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน

เอาเป็นว่า คุณพยายามอ้างด้วยการเอาบัญยัติมาให้มันพอกพูน
โดยไม่รู้หรอกว่า.....บัญญัติแต่ละอย่าง เรียกตามสภาวะตามเหตุปัจจัย
สรุปก็คุณกำลังมั่วบัญญัติ

คุณคันฯ หาความเป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาไม่ได้เลยแม้แต่น้อย
เห็นแค่คำศัพท็ก็เอามาอ้างหน้าตาเฉย ไม่รู้ว่ามันยังมีเหตุแห่งธรรมแห่งบัญญัตินั้นๆ

พระอภิธรรมยังไม่เคลียร์ เอาพระสูตรมาอีกแล้ว(ดันบอกว่าไม่เหวี้ยงแห)
ไม่รู้เลยว่า....พระสูตรบางพระสูตรเป็นบุคลาธิษฐาน
แต่เรากำลังถกกันอยู่....เป็นธัมมาธิษฐาน


cantona_z เขียน:
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
แล้วอันนี้พระผู้มีพระภาค กลับเรียก แขนขา แทนตัวได้ด้วยกระมังครับ
แหม่ s007


คุณนี่ขี้เกียจน่ะครับ แรงก็ไม่ต้องออก แค่ใช้สมองคิดเปรียบธรรมกับบัญญัติ
คุณยังไม่ยอมที่จะทำเลย แบบนี้เมื่อไรจะเจอปัญญาครับ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ

ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ



น่าดีใจที่บอร์ดแห่งนี้มีปราชญ์เหนือปราชญ์เช่นคุณโฮนะครับ
Kiss


เอาอีกแล้ว เอาพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกกับพระอภิธรรมมัตถสังคหะมายำซะเละ
นี่มาอีกแล้วคร้าบ เอาท่านพุทธโฆษะมาอ้างอีก งานนี้สงสัยได้กินจับฉ่ายหรือไม่ก็แกงโฮ๊ะแน่ๆ

คุณนี่สงสัยไม่เข้าใจภาษา สนทนาธรรมกันด้วยภาษาไทย มันต้องมีหลักเทียบเคียง
มันต้องเอาให้แน่ว่า จะเอาอะไรเป็นหลัก......จะเอาพระไตรปิฎก หรือจะเอาพระอภิธรรมมัตถ์ฯ
มันให้มันแน่เป็นอย่างๆ นี่อะไรกันหาเหตุผลไม่ได้ดันไพร่ไปหา ท่านพุทธโฆษะแล้ว

เอาอย่างนี้คุณกล้าให้สัจจ์มั้ยว่า เนื้อหาที่คุณเอามาเป็นอรรถกถาของท่านพุทธโฆษะแท้ๆ
ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงบัญญัติที่ท่านพุทธโฆษาจารย์บัญญัติไว้


ผมว่าอีกหน่อยคุณต้องอ้าง คัมภีร์เก้าอิมของวัดเส้าหลินแน่ๆ :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร