วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกริ่นนำก่อนเดี๋ยวจะงง สมุฐานความเป็นมา มันก็เป็นเรื่องของญาติธรรมท่านหนึ่ง
ที่เข้าไปสนทนาธรรมในเว็บแห่งหนึ่ง ที่ชื่อ "พาลถีบ"(ชื่อสมมุติ) การสนทนาเป็นไปอย่างติดขัด
เป็นเพราะเว็บแห่งนั้น เป็นไปในลักษณะไม่เอื้อต่อการสนทนา ญาติธรรมท่านนั้นเห็นว่า
เว็บลานธรรมจักรนี้แหล่ะ ที่เหมาะแก่การสนทนาธรรมที่ต่อเนื่องเป็นอย่างยิ่ง

และด้วยเหตุผลบางประการ (ก็จะอะไรซะอีก ก็ไม่ถูกกับผู้ดูแล)
จึงได้ไหว้วานให้ผมรับหน้าเสื่อต่อ ผมไม่ปฏิเสธรับปากรับคำ

เอาเป็นว่า ถ้าบุคคลท่านนั้นเข้ามาสนทนา ก็ถือเสียว่า
ผมเป็นบุคคลที่คุณมีเหตุกับเขาก็แล้วกัน.................

คำพูดที่เป็นปัญหา.......

อ้างคำพูด:
เขาว่า "จิตเป็นไปตามพระไตรลักษณ์"
ดูก็รู้แล้วว่า ท่านผู้นี้แสดงความเห็น โดยขาดความเข้าใจในพุทธพจน์
ไม่รู้ว่า พุทธพจน์ใดเป็นสมมุติบัญญัติ พุทธพจน์ใดเป็นปรมัตถบัญญัติ

สรุปก็คือเอาธรรมที่เป็นสภาวะ มาผสมปนเปกับธรรมที่เป็นบัญญัติ
และยิ่งกว่านั้นยังหลงเข้าใจผิดในสภาวธรรม


ตัวอย่างคำพูดที่ผมวิจารณ์ครับ

"จิตไม่ได้เป็นอัตตาเวียนว่ายตายเกิด จิตเป็นไปตามพระไตรลักษณ์ คืออนิจจังทุกขังอนัตตา"

คำพูดข้างบนเป็นคำพูดของคุณ...คันโทน่าครับ ยังขำไม่หาย...............

บอกมาได้ว่า จิตไม่ได้เป็นอัตตา แต่ดันบอกว่า จิตเป็นไปตามพระไตรลักษณ์
อ่านมันหัวมังกุท้ายมังกรจริงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คันโทน่า เขียน:
แต่ที่ผมกล่าวไว้ก็ยืนยันตามนั้นเต็มๆทุกคำครับ
"จิตไม่ได้เป็นอัตตาเวียนว่ายตายเกิด จิตเป็นไปตามพระไตรลักษณ์ คืออนิจจังทุกขังอนัตตา"


น่าขำน่าตลกตามหัวข้อกระทู้เดิมจริงๆครับ คุณปรามาสท่านทาส
หาว่าท่านดูถูกพระไตรปิฎกเรื่อง คร่อมภพคร่อมชาติ........

แต่สงสัยครับ ทำไมมาจ้อว่า "จิตไม่ได้เป็นอัตตาเวียนว่ายตายเกิด"
จากคำพูดที่คุณปรามาสท่านพุทธทาส สรุปอะไรมันเวียนว่ายตายเกิดหรือไม่เวียนว่ายเกิด
เอาให้แน่สักอย่าง แล้วค่อยตอบ

บอกว่าเลยว่า จิตในความหมายของคุณคืออะไร อธิบายให้เห็นน่ะครับ
ไม่ใช่เอาบัญญัติไปแปลเป็นบัญญัติ(ก็คือการแปลคำศัพท์) :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เกริ่นนำก่อนเดี๋ยวจะงง สมุฐานความเป็นมา มันก็เป็นเรื่องของญาติธรรมท่านหนึ่ง
ที่เข้าไปสนทนาธรรมในเว็บแห่งหนึ่ง ที่ชื่อ "พาลถีบ"(ชื่อสมมุติ) การสนทนาเป็นไปอย่างติดขัด
เป็นเพราะเว็บแห่งนั้น เป็นไปในลักษณะไม่เอื้อต่อการสนทนา ญาติธรรมท่านนั้นเห็นว่า
เว็บลานธรรมจักรนี้แหล่ะ ที่เหมาะแก่การสนทนาธรรมที่ต่อเนื่องเป็นอย่างยิ่ง

และด้วยเหตุผลบางประการ (ก็จะอะไรซะอีก ก็ไม่ถูกกับผู้ดูแล)
จึงได้ไหว้วานให้ผมรับหน้าเสื่อต่อ ผมไม่ปฏิเสธรับปากรับคำ

เอาเป็นว่า ถ้าบุคคลท่านนั้นเข้ามาสนทนา ก็ถือเสียว่า
ผมเป็นบุคคลที่คุณมีเหตุกับเขาก็แล้วกัน.................

คำพูดที่เป็นปัญหา.......

อ้างคำพูด:
เขาว่า "จิตเป็นไปตามพระไตรลักษณ์"
ดูก็รู้แล้วว่า ท่านผู้นี้แสดงความเห็น โดยขาดความเข้าใจในพุทธพจน์
ไม่รู้ว่า พุทธพจน์ใดเป็นสมมุติบัญญัติ พุทธพจน์ใดเป็นปรมัตถบัญญัติ

สรุปก็คือเอาธรรมที่เป็นสภาวะ มาผสมปนเปกับธรรมที่เป็นบัญญัติ
และยิ่งกว่านั้นยังหลงเข้าใจผิดในสภาวธรรม


ตัวอย่างคำพูดที่ผมวิจารณ์ครับ

"จิตไม่ได้เป็นอัตตาเวียนว่ายตายเกิด จิตเป็นไปตามพระไตรลักษณ์ คืออนิจจังทุกขังอนัตตา"

คำพูดข้างบนเป็นคำพูดของคุณ...คันโทน่าครับ ยังขำไม่หาย...............

บอกมาได้ว่า จิตไม่ได้เป็นอัตตา แต่ดันบอกว่า จิตเป็นไปตามพระไตรลักษณ์
อ่านมันหัวมังกุท้ายมังกรจริงครับ


"พาลถีบ" (เข้าใจตั้งชื่อ พาลถีบ :b32: เคยแต่เมียถีบ ) ไม่มาด้วยหรอ :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 10:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
คันโทน่า เขียน:
แต่ที่ผมกล่าวไว้ก็ยืนยันตามนั้นเต็มๆทุกคำครับ
"จิตไม่ได้เป็นอัตตาเวียนว่ายตายเกิด จิตเป็นไปตามพระไตรลักษณ์ คืออนิจจังทุกขังอนัตตา"


น่าขำน่าตลกตามหัวข้อกระทู้เดิมจริงๆครับ คุณปรามาสท่านทาส
หาว่าท่านดูถูกพระไตรปิฎกเรื่อง คร่อมภพคร่อมชาติ........

แต่สงสัยครับ ทำไมมาจ้อว่า "จิตไม่ได้เป็นอัตตาเวียนว่ายตายเกิด"
จากคำพูดที่คุณปรามาสท่านพุทธทาส สรุปอะไรมันเวียนว่ายตายเกิดหรือไม่เวียนว่ายเกิด
เอาให้แน่สักอย่าง แล้วค่อยตอบ

บอกว่าเลยว่า จิตในความหมายของคุณคืออะไร อธิบายให้เห็นน่ะครับ
ไม่ใช่เอาบัญญัติไปแปลเป็นบัญญัติ(ก็คือการแปลคำศัพท์) :b13:


มันมีอะไรเวียนตายเวียนเกิดหรือครับ?
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

ในชาติภพปัจจุบัน จิตก็เกิดดับทุกขณะอยู่แล้ว
เมื่อจุติจิตดับลง ปฏิสนธิจิตก็เกิดขึ้นด้วยมีอวิชชาเป็นเหตุปัจจัย
ไม่ได้มีจิตล่องลอยออกจากร่าง ไปเวียนตายเวียนเกิดนี่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 10:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ผมยกมาเป็นปฏิจจสมุปบาทข้ามภพชาติ ไม่มีอัตตาตัวตนเวียนตายเวียนเกิด

ส่วนเรื่องที่่คุณโฮบอกผมปรามาสท่านทาสนั้น
ผมไม่ได้ปรามาสแกแม้แต่น้อยครับ
ผม"ด่า" ตามประเด็นที่มีหลักฐานชัดเจนเท่านั้นครับ
ท่านทาสของคุณโฮ แกปฏิเสธปฏิจจสมุปบาทข้ามภพชาติน่ะครับ
แล้วที่บอกว่าดูถูกพระไตรปิฏก แกก็ดูถูกจริงน่ะครับ
ตั้งแต่จาบจ้วงพระอภิธรรมว่าฟั่นเฝือโยนทิ้งทะเลก็ไม่เสียหายอะไร
หรือเปรียบเทียบการเลือกศึกษาธรรมจากพระไตรว่าเลือกหาทองจากกองขยะเป็นต้น
หรือกรณีท่านทาสของคุณโฮไปใส่ร้ายพระพุทธโฆสะว่าเผาบาลีพระไตรเดิมทิ้งเสียแล้วเขียนใหม่
หรือกรณีที่ท่านทาสจาบจ้วงพระศาสดาว่าเป็นพวกเอออวยสวมรอยคอยหาช่องผสมโรง

และอื่นๆอีกมาก

อย่างไรก็ดี กระทู้ที่คุณโฮ อุตส่าห์ไปยกมาจาก พาลถีบ ไม่ได้กล่าวถึงท่านทาสของคุณโฮเลยนะขอรับ
เอาทีละประเด็นดีไหมขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คันโทน่า เขียน:
และอยากรู้จังว่า ที่คุณ บอกว่าจิตกับวิญญาณขันธ์ เป็นคนละตัวกัน
เอาคำสอนนี้มาจากไหน หรือบัญญัติเอาเอง?


มันต้องพิจารณาหาเหตุที่ทำให้เกิดวิญญาน และการหาเหตุที่ว่าต้องพิจารณาจากพระสูตรนี้

[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ. ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป
ความดับแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งเหตุเกิดแห่ง
วิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
อย่างนี้ ปฏิบัติแล้ว เพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อม
หยั่งลงในธรรมวินัยนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่ง
วิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่ง
ข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลาย
กำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุด
พ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มี
กำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความ
วนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.


ความหมายของวิญญานก็คือ....จักขุวิญญาน, โสตวิญญาน,ชิวหาวิญญาน,ฆานวิญญาน,
กายวิญญาน,มโนวิญญาน นั้นก็คือ วิญญานหกนั้นเอง

ท่านให้ความหมายของวิญญานหก เป็นจิต เพราะว่า วิญญาณเป็นอาการรู้ของจิต
การรู้ตัวผู้รู้ก็คือ จิต
เหตุใดจึงบอกว่า วิญญานเป็นอาการรู้ของจิต นั้นก็ดูจากการที่จิตตกภวังค์
จะไม่มีอาการรู้หรือวิญญานเกิดขึ้น
ในขณะที่จิตตกภวังค์ ถึงแม้จะไม่มีวิญญาน แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีจิต
เราเรียกจิตนี้ว่าภวังคจิต
เหตุนี้จิตกับวิญญานจึงเป็นคนล่ะสภาวะกัน
วิญญานเป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นกับจิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่มาพูดถึงขันธ์....


[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 742&Z=6822

อธิบาย...ธรรมเป็นจิต วิญญานหกเป็นจิตเพราะเป็นอาการของจิต ตามที่อธิบายไว้แล้ว

การที่ท่าน กล่าวเพียงว่า วิญญานหก เป็นธรรมเป็นจิต โดยยังไม่กล่าวว่าเป็นวิญญานขันธ์
ก็เพราะ.....วิญญานหก เป็นเพียงอาการที่ไปรู้สิ่งที่มากระทบกับปสาทรูป

ความเป็นขันธ์หรือไม่เป็นขันธ์ จะเกิดขึ้นตอนที่เป็นสภาวะแห่งการกระทบ
หรือผัสสะ ถ้าจิตไม่ยึดรูปหรือปสาทรูป ความเป็นรูปขันธ์ก็ไม่เกิด
รูปก็เป็นเพียงธาตุสี่หรือมหาภูติรูป เมื่อรูปขันธ์ไม่เกิด มันก็ไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดขันธ์ตัวต่อๆไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 10:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างพระไตรงั้นผมอ้างด้วย
ไม่ทราบว่าคุณโฮเอาความหมายวิญญาณเป็นอาการรู้ของจิต
หรือแปลอีกอย่างว่ามีจิตต่างหากนอกจากวิญญาณขันธ์มาจากไหน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ปสูรสุตตนิเทสนิทเทสที่ ๘
[๓๑๙] ชื่อว่า ใจ ในคำว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ ความว่า ใจ คือ จิต ใจ
มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณ
ธาตุที่เกิดแต่ผัสสะเป็นต้นนั้น.
ท่านคิดนึกถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยจิตว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่
เที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
มหาวรรค อานาปาณกถา

จิตนั้นเป็นไฉน วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว จิต คือ
มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น วิญญาณจิต
ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว
ฯลฯ ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจออก จิต คือ มนะ
มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น นี้เป็นจิต ฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๑ พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกาย
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง จากกายนั้น
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะจิตเป็นต้นนี้ ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน
เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจาก
จิตเป็นต้นนั้นได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงยึดถือกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต
ทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นอัตตายังประเสริฐกว่า ส่วนการยึดถือจิตโดยความเป็นอัตตา
ไม่ประเสริฐเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง
๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง
๑๐๐ ปีบ้าง หรือเกินกว่าบ้าง ก็ยังปรากฏ
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่ง
เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก
และป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งไม้นั้นแล้ว ย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับ
กิ่งอื่นต่อไป ฉะนั้น ตถาคตจึงเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทนั้นแหละโดย
แยบคาย ในกายและจิตนั้นว่า ‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิด
ขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”



อภิธรรมด้วยไหมครับ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
จิตตุปปาทกัณฑ

[๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร ๑- มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 11:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และที่คุณโฮยกมา ก็ขัดกับคำอธิบายของคุณโฮเองนั่นแหละครับ

[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.


แต่คุณบอกว่า อธิบาย...ธรรมเป็นจิต วิญญานหกเป็นจิตเพราะเป็นอาการของจิต ตามที่อธิบายไว้แล้ว

วิญญาณหก เป็นตัวจิต ครับ ไม่ใช่ตัว อาการของจิต

วิญญาณขันธ์ ก็คือตัววิญญาณหกทั้งในส่วนที่เป็นอดึต ปัจจุบัน อนาคตอันเกิดขึ้นขณะมีผัสสะเป็นเหตุบัญญัติที่อายตนะภายในภายนอกกระทบกันแล้วมีวิญญาณเกิดขึ้นรู้นั้นเอง

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์


วิญญาณขันธ์
[๒๖] วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณอดีต วิญญาณอนาคต
วิญญาณปัจจุบัน วิญญาณภายใน วิญญาณภายนอก วิญญาณหยาบ
วิญญาณละเอียด วิญญาณทราม วิญญาณประณีต วิญญาณไกล
วิญญาณใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คันโทน่า เขียน:
จิตเป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นเพื่อรู้ เพื่อคิด เพื่อเสพอารมณ์ครับ
ไม่มีหน้าตา ไม่มีรูปร่างครับ

จขกท ลองทวนคำพูดตัวเอง เอาแค่ในกระทู้นี้คุณจะเห็นเองว่าคำพูดคุณมันแย้งกันเอง
ตอนแรกผมบอกจิตไม่ใช่อัตตา คุณขำ บอกจิตนั่นแหละเป็นอัตตา
แต่พอนอนหลับ คุณบอกไม่มีจิต?

ตกลงจิตเป็นอัตตาเที่ยงแท้ แต่ดับหายไปได้?


คุณคันโทน่าไม่มีสติแยกแยะธรรม พูดธรรมด้วยการโยงบัญญัติ
คำพูดที่ออกมามันจึงย้อนแย้งกันเอง

ตัวคำพูดของคุณ...............

"จิตไม่ได้เป็นอัตตาเวียนว่ายตายเกิด จิตเป็นไปตามพระไตรลักษณ์ คืออนิจจังทุกขังอนัตตา"


ประโยคแรก บอกว่า "จิตไม่เป็นอัตตาเวียนว่ายตายเกิด"

ฟังแล้วมันก็ตลกจริงๆนั้นแหล่ะ จิตไม่เป็นอัตตาทเวียนว่ายตายเกิด
แล้วอะไรที่มันเวียนว่าตายเกิดครับ

เพราะจิตมันเป็นอัตตา มันถึงได้เวียนว่ายตายเกิด

แล้วบอกว่าจิตเป็นไปตามพระไตรลักษณ์
ถามคุณหน่อย....แล้วจิตของพระอรหันต์ เป็นไปตามพระไตรลักษณ์หรือ

ผมจะยกพุทธวจนมาให้ดู ไม่รู้คุณจะเข้าใจถึงความเป็นสังขารมั้ย.....

[๕๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติ
ขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา
ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้น
ก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้ง
อยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ครั้นแล้ว
จึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่าง
นั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นแล้วจึง
บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... 520&Z=7533


ถามหน่อยคุณรู้เรื่องเข้าใจพุทธวจนบทนี้มั้ย
ลองดูสิว่า สังขารกับจิตของมนุษย์มันเป็นตัวเดียวกันมั้ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 11:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านให้ความหมายของวิญญานหก เป็นจิต เพราะว่า วิญญาณเป็นอาการรู้ของจิต
การรู้ตัวผู้รู้ก็คือ จิต
เหตุใดจึงบอกว่า วิญญานเป็นอาการรู้ของจิต นั้นก็ดูจากการที่จิตตกภวังค์
จะไม่มีอาการรู้หรือวิญญานเกิดขึ้น
ในขณะที่จิตตกภวังค์ ถึงแม้จะไม่มีวิญญาน แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีจิต
เราเรียกจิตนี้ว่าภวังคจิต
เหตุนี้จิตกับวิญญานจึงเป็นคนล่ะสภาวะกัน
วิญญานเป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นกับจิต


จิตกับวิญญาณขันธ์เป็นตัวเดียวกันครับ
ภวังคจิต เป็นมโนวิญญาณเกิดขึ้นรู้ปฏิสนธิอารมณ์ที่มนายตนะครับ
จิตกับวิญญาณเป็นสภาวะเดียวกันเพียงแต่เรียกต่างกันเพราะมีนัยยะที่ใช้อธิบายแตกต่างกัน
เหมือนคุณโฮอยู่ที่นี่เรียกโฮฮับ ไปบ้านเมียเรียกที่รัก ลูกเรียกพ่อ
วินมอไซเรียกเฮีย ลู่กน้องเรียกเจ้านาย พ่อเรียกลูก etc
แต่ท้ายที่สุดแล้วก็คือคนๆเดียวกันเพียงแต่ชื่อเรียกต่างกันเพราะมีนัยยะที่ใช้แตกต่างกัน


http://www.thepathofpurity.com/พระอภ-ธรรม/พระอภ-ธ-มม-ตถส-งคหะ/ปร-จเฉทท-๑/
จิตคืออะไร
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่ง รู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้นั้นเป็นอารมณ์ จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นแหละคืออารมณ์
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า จิตคือธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ จิตต้องมีอารมณ์ และต้องรับ อารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไปสมตามนัยขยายความตามบาลีว่า

จิตฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถ ฯ

ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต มีอรรถว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์คือ จิต

ในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่เรียกใช้เรียกขานกันตั้ง ๑๐ ชื่อ แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้

ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ

ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างพระไตรงั้นผมอ้างด้วย
ไม่ทราบว่าคุณโฮเอาความหมายวิญญาณเป็นอาการรู้ของจิต
หรือแปลอีกอย่างว่ามีจิตต่างหากนอกจากวิญญาณขันธ์มาจากไหน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ปสูรสุตตนิเทสนิทเทสที่ ๘
[๓๑๙] ชื่อว่า ใจ ในคำว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ ความว่า ใจ คือ จิต ใจ
มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณ
ธาตุที่เกิดแต่ผัสสะเป็นต้นนั้น.
ท่านคิดนึกถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยจิตว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่
เที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
มหาวรรค อานาปาณกถา

จิตนั้นเป็นไฉน วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว จิต คือ
มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น วิญญาณจิต
ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว
ฯลฯ ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจออก จิต คือ มนะ
มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น นี้เป็นจิต ฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๑ พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกาย
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง จากกายนั้น
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะจิตเป็นต้นนี้ ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน
เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจาก
จิตเป็นต้นนั้นได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงยึดถือกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต
ทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นอัตตายังประเสริฐกว่า ส่วนการยึดถือจิตโดยความเป็นอัตตา
ไม่ประเสริฐเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง
๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง
๑๐๐ ปีบ้าง หรือเกินกว่าบ้าง ก็ยังปรากฏ
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่ง
เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก
และป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งไม้นั้นแล้ว ย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับ
กิ่งอื่นต่อไป ฉะนั้น ตถาคตจึงเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทนั้นแหละโดย
แยบคาย ในกายและจิตนั้นว่า ‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิด
ขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”



อภิธรรมด้วยไหมครับ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
จิตตุปปาทกัณฑ

[๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร ๑- มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.


อ้างพระไตรปิฏกน่ะอ้างได้ แต่ไม่ใช่อ้างมาเป็นลักษณะเหวี้ยงแห
มันต้องชี้ให้เห็นว่า อะไรเป็นเหตุ

ถึงได้บอกว่าอย่า เอาพุทธพจน์ไปแปล ดูซิแค่จิตคำเดียว
ไปขยายเป็นบัญญัติตั้งกี่ตัว

เอากันแบบเนื้อๆนั้ไม่เอา นั้นก็คือ....
๑. จิตเป็นวิญญาน ถามไง ตอนนอนหลับสนิท จิตตกภวังค์ไม่มีผัสสะใดมากระทบ
จิตอยู่ที่ไหน


แนะนำครับ จะโต้แย้งคน มันต้องอธิบายเหตุผลด้วย ไม่ใช่โพสพระไตรปิฎกตะพึด
ที่ผมอยู่แค่ลานแห่งนี้ไม่อยากไป พาลถีบ ก็เพราะมันแย่งกันโพสพระไตรปิฎก
แบบหาสาระไม่ได้


แล้วที่ผมอ้างพุทธพจน์ ก็เห็นคุณประชดว่าเอามาจากไหนไม่ใช่หรือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 11:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณคันโทน่าไม่มีสติแยกแยะธรรม พูดธรรมด้วยการโยงบัญญัติ
คำพูดที่ออกมามันจึงย้อนแย้งกันเอง


อันนี้ผมยังไม่เห็นว่าย้อนแย้งครับ

อ้างคำพูด:
ตัวคำพูดของคุณ...............
"จิตไม่ได้เป็นอัตตาเวียนว่ายตายเกิด จิตเป็นไปตามพระไตรลักษณ์ คืออนิจจังทุกขังอนัตตา"
ประโยคแรก บอกว่า "จิตไม่เป็นอัตตาเวียนว่ายตายเกิด"
ฟังแล้วมันก็ตลกจริงๆนั้นแหล่ะ จิตไม่เป็นอัตตาทเวียนว่ายตายเกิด
แล้วอะไรที่มันเวียนว่าตายเกิดครับ
เพราะจิตมันเป็นอัตตา มันถึงได้เวียนว่ายตายเกิด


ก็ไม่มีอะไรเลยที่เป็นอัตตาไงครับ
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตานะครับ
จิตดวงที่เกิดในชาตินี้ก็ไม่ใช่จิตดวงเดียวกับชาติที่แล้วนะครับ
แต่เพราะปัจจัยจากชาติที่แล้วคืออวิชชายังมี ปุญญาอปุญญาอเนญชาภิสังขารจึงมี
ปฏิสนธิวิญญาณอันมีเหตุจากด้านบนก็เกิดขึ้น
เหมือนไฟดวงนี้กับดวงถัดไป เกิดสืบต่อเนื่องกันแต่เป็นไฟคนละดวงกัน
แนะนำให้ไปศึกษาธัมมสันตติจากมิลินทปัญหาครับ





อ้างคำพูด:
แล้วบอกว่าจิตเป็นไปตามพระไตรลักษณ์
ถามคุณหน่อย....แล้วจิตของพระอรหันต์ เป็นไปตามพระไตรลักษณ์หรือ


เป็นสิครับ จิตพระอรหันต์ก็เกิดดับสืบต่อเช่นกัน ใครบอกคุณว่าจิตพระอรหันต์เที่ยงล่ะครับ
จิตพระอรหันต์เกิดดับสืบต่อ เป็นอนิจจัง
จิตพระอรหันต์ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนอัตตา ยังดำรงอยู่ได้เป็นสภาวะอนัตตา
จิตพระอรหันต์ทนอยู่ไม่ได้นาน เป็นสภาวะทุกขัง(ทุกขัง แปลได้ว่าทนอยู่ไม่ได้)

พระอรหันต์ยังเสวยสุขทุกขเวทนาทางกาย แต่ไม่เสวยสุขทุกขเวทนาทางใจครับ
ขณะเสวยสุขทุกขเวทนาทางกาย ก็มีจิตเกิดขึ้นรับรู้ครับ
จิตนั้นเกิดรับรู้เสร็จก็ดับลงไป ค้างอยู่ไม่ได้ครับ

จิตพระอรหันต์ไม่ก่อให้เกิดภพชาติใหม่ เพราะสิ้นไปแล้วซึ่งเจตนาอันเป็นเหตุแห่งกรรม
เรียกว่ามหากิริยาจิตครับ


อ้างคำพูด:
ผมจะยกพุทธวจนมาให้ดู ไม่รู้คุณจะเข้าใจถึงความเป็นสังขารมั้ย.....

[๕๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติ
ขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา
ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้น
ก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้ง
อยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ครั้นแล้ว
จึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่าง
นั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นแล้วจึง
บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... 520&Z=7533


ครับ
ก็พอเข้าใจได้ตามปัญญาที่ผมมีครับ
แต่ผมไม่แน่ใจว่าคุณโฮยกมานี้คุณโฮเข้าใจหรือเปล่า
สังขารธรรมคือธรรมที่เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย ทั้งปวงไม่เที่ยง
แต่ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาครับ ไม่ใช่เฉพาะสังขตธรรมเท่านั้นที่เป็นอนัตตา
พระองค์ก็ยกมาชัดนี่ครับ
แล้วคุณโฮเอาจิตเป็นอัตตามาจากไหนล่ะครับ
หาให้ผมดูหน่อยเถอะครับ

Quote Tipitaka:
ถามหน่อยคุณรู้เรื่องเข้าใจพุทธวจนบทนี้มั้ย
ลองดูสิว่า สังขารกับจิตของมนุษย์มันเป็นตัวเดียวกันมั้ย


จิตก็เกิดจากเหตุนี่ครับ
เพราะสังขารเป็นปัจจัยวิญญาณจึงมี
กวฬิงการาหาร (อาหาร คือ คำข้าว) นำรูปมีโอชะเป็นที่ ๘ มาให้ (อวินิพโภค รูป ๘)
ผัสสาหาร ( ผัสสะทั้ง ๖ อย่างมีจักขุสัมผัส เป็นต้น ) นำเวทนา ๓ มาให้
เจตนานั้นเอง ท่านเรียกว่า มโนสัญเจตนา นำภพทั้ง ๓ มาให้
วิญญาณาหาร นำนามรูปในปฏิสนธิมาให้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
จิตกับวิญญาณขันธ์เป็นตัวเดียวกันครับ
ภวังคจิต เป็นมโนวิญญาณเกิดขึ้นรู้ปฏิสนธิอารมณ์ที่มนายตนะครับ
จิตกับวิญญาณเป็นสภาวะเดียวกันเพียงแต่เรียกต่างกันเพราะมีนัยยะที่ใช้อธิบายแตกต่างกัน
เหมือนคุณโฮอยู่ที่นี่เรียกโฮฮับ ไปบ้านเมียเรียกที่รัก ลูกเรียกพ่อ
วินมอไซเรียกเฮีย ลู่กน้องเรียกเจ้านาย พ่อเรียกลูก etc
แต่ท้ายที่สุดแล้วก็คือคนๆเดียวกันเพียงแต่ชื่อเรียกต่างกันเพราะมีนัยยะที่ใช้แตกต่างกัน


พุทโธ่! ภวังคจิต มันเป็นสภาวะที่จิตไม่มีวิถีจิต นั้นหมายความว่า
ทวารทั้งหกปิดหมด ไม่มีการกระทบ

ไอ้ทีคุณบอกว่า มโนวิญญาน ถ้ามีมโนวิญญาน มันจะเป็น ภวังคจิตได้ไง
แบบนี้มันเป็นอาการของคนนอนฝัน นอนหลับไม่สนิท

การนอนหลับสนิทที่เป็นภวังคจิต นั้นคือมโนทวารไม่มีการกระทบ คุณเข้าใจมั้ย

เอ่! มันชักจะยังไงๆแล้ว นึกว่ามาจากพาลถีบ จะเข้าใจพระไตรปิฎก(เห็นแย่งกันโพส)

เอาเป็นว่า เราอ้างพระไตรปิฎกให้น้อยๆหน่อยก็แล้วกัน
เพราะผมเห็นว่า มันจะทำให้ลงทะเลออกอ่าวไปไกล


จิตมันเป็นบัญญัติ คุณจะให้ความหมายมันอย่างไรก็ได้
แต่ความสำคัญคุณจะต้องบอกได้ว่า บัญญัติที่อ้าง เป็นสภาวใดในกายใจ

ปัญหาทั้งหมดทั้งมวล คุณต้องตอบให้ได้ว่า ในเมื่อคุณเอาจิตเป็นวิญญาน
ผมจึงถามคุณไงว่า ถ้าทวารปิดหมดจิตไปอยู่ที่ไหน แล้วทำไมทวารปิดหมดแล้ว
คนเราถึงมีชีวิตอยู่ได้


ไม่ใช่มัวไปว่า จิตเป็นภวังค์ แต่ยังมีมโนวิญญาน
มีมโนวิญญาน แบบนี้ทวารมันยังไม่ปิด จิตยังไม่เป็นภวังค์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 11:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เอากันแบบเนื้อๆนั้ไม่เอา นั้นก็คือ....
๑. จิตเป็นวิญญาน ถามไง ตอนนอนหลับสนิท จิตตกภวังค์ไม่มีผัสสะใดมากระทบ
จิตอยู่ที่ไหน


ก็อธิบายไปแล้วคุณโฮไม่อ่านเองนี่ครับ
จิตตกภวังค์ มีผัสสะครับ
ผัสสะ=อายตนะภายใน+อายตนะภายนอก+วิญญาณเกิดขึ้นรู้
ภวังคจิต=มีอารมณ์เดียวกับปฏิจสนธิจิต(ธรรมารมณ์=อายตนภายนอก)+มนายตนะ(อายตนะภายใน)+มโนวิญญาณเกิดขี้นรู้

อย่าว่าแต่นอนหลับสนิทเลยครับ
แม้ขณะร่างกายยังเป็นแค่ชิ้นเนื้ออยู่ในครรภ์ยังมีวิญญาณหรือจิตเลยครับ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
นับอายุ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์
พระกุมารกัสสปเป็นตัวอย่าง
[๑๔๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปมีอายุครบ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้
อุปสมบท. ต่อมาท่านได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า บุคคลมีอายุหย่อน
๒๐ ปี ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ ก็เรามีอายุครบ ๒๐ ทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้อุปสมบท จะเป็นอัน
อุปสมบทหรือไม่หนอ. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค
ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตดวงแรกใดเกิดแล้วในอุทรมารดา วิญญาณ
ดวงแรกปรากฏแล้ว อาศัยจิตดวงแรก วิญญาณดวงแรกนั้นนั่นแหละเป็นความเกิดของสัตว์นั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตรมีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร