วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2013, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ทองจังโก, ทองสักโก
ความงามที่มีคุณค่า เอกลักษณ์แห่งล้านนา


ทองจังโก (ถิ่น-ภาคเหนือ)
หมายถึง ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง
นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ป้องกันการผุกร่อน, ทองสักโก ก็ว่า

ทองสักโก
หมายถึง ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง
นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ป้องกันการผุกร่อน, พายัพเรียก ทองจังโก
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒



ทองจังโก หมายถึง แผ่นทองที่ผสมโลหะหลายอย่าง
ในบางเอกสารใช้คำว่า ทองจังโกฎก์


ทองจังโกนี้บ้างทำจากทองเหลือง
ทองดอกบวบ (ทองที่ราคาไม่แพง มีสีเหลืองอ่อนๆ ปนสีเขียวอ่อน)
ทองแดงปนนาค เป็นทองคำผสมโลหะอื่น เช่น ดีบุก
ซึ่งมักตีเป็นแผ่นบางๆใช้ตะปูเย็บโลหะเย็บติดกับตัวพระธาตุหรือพระเจดีย์

ตัวอย่างจากการบูรณะพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งมีอายุยืนมาราว ๖๐๐ ปีเศษ
ก็ได้มีการค้นพบว่า ตะปูที่ใช้ตอกยึดชิ้นส่วนหุ้มองค์พระธาตุฯ
เป็นตะปูเหล็กขนาดใหญ่ รูปทรงสี่เหลี่ยมปลายด้านหนึ่งแหลมเล็ก
ส่วนปลายอีกด้านดัดงอเป็นสลักใช้ยึดเกี่ยววัสดุ
มีขนาดความยาวตั้งแต่ ๒ นิ้ว ไปจนถึง ๖ นิ้ว

หน้าที่โดยตรงของทองสักโก
ก็คือ การหุ้มห่อองค์พระเจดีย์ด้านในซึ่งก่อสร้างด้วยดินหรือปูน
เพื่อป้องกันไม่ให้โดนความชื้น ความร้อน
ลมหรือน้ำกัดกร่อนจนพังเร็วเกินควร
เช่น พระธาตุเจดีย์หริภุญชัย จ.ลำพูน, พระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง,
พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่, พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน เป็นต้น


:b46: :b46:

แต่ด้วยอัธยาศัยของชาวล้านนาที่ประณีต
แผ่นทองจังโกจึงมีความสวยงาม
อ่อนช้อยด้วยลวดลายตามแบบช่างของล้านนา
มีการฉลุลาย, ดุนลาย (ทำให้นูน), ตอกลาย เป็นลวดลายต่างๆ
การตัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เป็นต้น
รวมถึงการจารึกข้อความ จารึกชื่อผู้สร้างถวาย
เช่น ที่ปรากฏบนแผ่นทองจังโกบุพระธาตุหริภุญชัย มีนามผู้ถวายจารึกอยู่

และแผ่นทองจังโกนี้ยังคาดว่า
นอกจากมาจากการถวายของกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ คหบดีแล้ว
ยังได้จากการถวายจากประชาชนคนละเล็กละน้อย
จึงเป็นสิ่งที่เกิดจากพลังศรัทธาของชาวพุทธโดยตรง
ในบางยุคบางสมัย ยังมีการบูรณะโดยนำทองจังโก
มาหลอมแยกเอาทองคำออก เพื่อนำเงินมาบำรุงวัดหรือศาสนสถานอีกด้วย

เมื่อมีการบูรณะพระธาตุ พระเจดีย์คราใด
ก็มักจะพบเสมอว่า มีการลอกแผ่นทองจังโกหุ้มพระธาตุออก
ในบางสมัยก็เปลี่ยนเป็นแผ่นทองคำ
หรือในบางสมัยก็หุ้มเข้าไปใหม่ด้วยทองจังโกแบบเดิม
บางแห่งหุ้มถึง ๒ ชั้นก็มี

โดยลายที่นิยมทำบนแผ่นทองจังโก ได้แก่ ลายพระพุทธรูปปางต่างๆ
ลายดอกไม้ ลายพฤกษา ลายปีนักษัตร


ตัวอย่างแผ่นทองจังโกขึ้นลายสวยงาม

รูปภาพ
แผ่นทองจังโกบุปิดองค์พระเจดีย์และประดับแผ่นทองดุนลาย
ของพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง

ภาพจาก http://www.photoontour9.com

รูปภาพ
ทองจังโก สลักดุนลวดลายประจำยามก้านขด

รูปภาพ

รูปภาพ
ลายพญานาคที่มุมฐานบัวหงาย

รูปภาพ
ลายรูปพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
ลายสิบสองนักษัตร

รูปภาพ
ลวดลายประกอบภาพ พร้อมลายสิบสองนักษัตร

รูปภาพ
ผู้ตอกลายแผ่นทองนี้น่าจะเกิดปีชวด
และมีข้อความจารึกไว้ว่า
“พ่อน้อยสม วรรณโวหาร พร้อมลูกหลานทุกๆ คน
พร้อมใจกันถวายแผ่นทองไว้กับองค์ธาตุเจ้าลำปางหลวง
ขอข้าพเจ้าจงได้รับแต่ความสุข ความเจริญเทอญ”


รูปภาพ
ลายธรรมจักรอยู่ตรงกลาง
ภาพจาก บล็อคครูแผน http://www.oknation.net/blog/phaen


.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2015, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 05:25
โพสต์: 621


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร