วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2013, 13:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ต.ค. 2013, 21:07
โพสต์: 7

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวลาเราดูจิตนี้เพื่อให้ จิตเป็นกลาง (หมายถึง จิตนั้นทีแรกมันก็เป็นกลางอยู่แล้วครับ แต่พอมันไปรู้อารมณ์เข้า มันเกิดความยินดี ยินร้ายขึ้นมา มันจึงเสียความเป็นกลางไป ดังนั้นถ้าหมั่นสังเกตจิตใจตนเองไว้ มันเกิดความยินดี ก็รู้ทัน มันเกิดความยินร้าย ก็รู้มัน จิตจะกลับมาเป็นกลางเองครับ ไม่ต้องไปพยายาม ทำให้มันเป็นกลางหรอกครับ)

ส่วนโลกธรรม 8 ก็ให้ วางใจเป็นกลาง
แล้ววางใจเป็นกลาง กับ จิตเป็นกลาง มันเกี่ยวข้องกันยังไงครับ ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2013, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาบทความนี้


“ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ เหล่านี้ เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนไปได้เป็นธรรมดา


“ผู้มีปัญญาดี มีสติ รู้จักสิ่งเหล่านี้แล้ว พิจารณาเห็นว่าเป็นของผันแปรไปได้เป็นธรรมดา สิ่งน่าปรารถนา ก็ย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ถึงสิ่งไม่น่าปรารถนา ก็ไม่ทำให้ท่านคับแค้น ความยินดี ก็ตาม ความยินร้ายก็ตาม ท่านกำจัดได้หมด หายลับ ไม่มีเหลือ ท่านรู้สภาวะที่ไร้โศก ไร้ธุลี มีสัมมาปัญญา เป็นผู้ลุถึงฟากฝั่งภพ”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2013, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อกล่าวไปแล้ว ใจ เป็น 1 ใน อายตนะคือ ใจนั้นเอง
อายตนะมี คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นการรับรู้ให้เกิดอารมณ์ ส่วนใจนั้นอาจเป็นความคิด เป็นต้น

จิตจะเป็นตัวรับรู้อารมณ์ของอายตนะ 6 อีกทีครับ

ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สวัสดีคุณจขกท
ขอขยายความเรื่อง จิต และใจ ให้อย่างนี้ค่ะ


วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น

[๗๐๗] ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้ และที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้ เป็นไฉน?

ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
โสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณ
รู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
ชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้น กายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณ
รู้ไม่ได้.

ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
ฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้น
ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้,
ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณ
รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณ
รู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้.

ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
ชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้
ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณ
รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสต
วิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้

ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
กายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณ
รู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
โสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณ
รู้ไม่ได้.

ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
จักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณ
รู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
ฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณไม่รู้ได้ ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณ
รู้ไม่ได้

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้และที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้.
จูฬันตรทุกะ



จิต-วิญญาณ คือมีสภาพรู้อารมณ์

จิตมีลักษณะรู้จำเพาะ แต่ใจรู้ในขอบเขตที่กว้างขวางมากกว่า เช่น ถ้าถือ อายตนะ หรือ ทวาร เป็นหลักจะจัดเป็น ความรู้ได้ 2 ประเภท
1.ความรู้ที่ได้ทางปัญจทวาร คือ จักขุ(ความรู้สี) โสตะ(ความรู้เสียง) ฆานะ(ความรู้กลิ่น) ฃิวหา(ความรู้รส) กาย(ความรู้สิ่งต้องกายทั้งหลาย มีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เป็นต้น สรุปรวมเป็น ปฐวี เตโช วาโย)
2. ความรู้ที่ได้ทางมโนทวาร คือ ใจ ได้แก่ ธรรมารมณ์ หรือ ธรรม คือสิ่งทั้งหลายที่ใจรู้ที่ใจคิด (รวมความรู้ที่เกิดทางปัญจทวารด้วย)

อาจจะเข้าใจยากสักหน่อย แต่ถ้าเราแยกความรู้ที่เกิดทางปัญจทวารและความรู้ที่เกิดทางมโนทวารออก จะทำให้เราเข้าใจสภาวธรรม จะยกตัวอย่างง่ายๆ
เช่น เมื่อได้ยินคนพูด ความรู้ทางปัญจทวาร คือโสตทวาร จะรู้เพียงแค่ ได้ยินเสียงเท่านั้น เป็นอัพยากตธรรมซึ่งเป็นธรรมกลางๆ
ส่วนการรู้คำพูด รู้ตีความเป็นความหมาย เรื่องราว จะเกิดทางมโนทวาร เช่นได้ยินเสียงเป็นเสียงของสุนัข แล้วปรุงแต่งเป็นความพอใจ ไม่พอใจก็เกิดเป็น กุศลหรือ อกุศลธรรม ขึ้นมา

เจริญในธรรมค่ะ

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


แก้ไขล่าสุดโดย ปลีกวิเวก เมื่อ 28 ต.ค. 2013, 07:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2013, 04:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ปลีกวิเวก เขียน:
tongue สวัสดีคุณจขกท
ขอขยายความเรื่อง จิต และใจ ให้อย่างนี้ค่ะ


วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น

[๗๐๗] ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้ และที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้ เป็นไฉน?
ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
โสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณ
รู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
ชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้น กายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณ
รู้ไม่ได้.
ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
ฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้น
ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้,
ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณ
รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณ
รู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้.
ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
ชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้
ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณ
รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสต
วิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้
ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
กายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณ
รู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
โสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณ
รู้ไม่ได้.
ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
จักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณ
รู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
ฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณไม่รู้ได้ ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรม
เหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณ
รู้ไม่ได้
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้และที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้.
จูฬันตรทุกะ



จิต-วิญญาณ คือมีสภาพรู้อารมณ์

จิตมีลักษณะรู้จำเพาะ แต่ใจรู้ในขอบเขตที่กว้างขวางมากกว่า เช่น ถ้าถือ อายตนะ หรือ ทวาร เป็นหลักจะจัดเป็น ความรู้ได้ 2 ประเภท
1.ความรู้ที่ได้ทางปัญจทวาร คือ จักขุ(ความรู้สี) โสตะ(ความรู้เสียง) ฆานะ(ความรู้กลิ่น) ฃิวหา(ความรู้รส) กาย(ความรู้สิ่งต้องกายทั้งหลาย มีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เป็นต้น สรุปรวมเป็น ปฐวี เตโช วาโย)
2. ความรู้ที่ได้ทางมโนทวาร คือ ใจ ได้แก่ ธรรมารมณ์ หรือ ธรรม คือสิ่งทั้งหลายที่ใจรู้ที่ใจคิด (รวมความรู้ที่เกิดทางปัญจทวารด้วย)

อาจจะเข้าใจยากสักหน่อย แต่ถ้าเราแยกความรู้ที่เกิดทางปัญจทวารและความรู้ที่เกิดทางมโนทวารออก จะทำให้เราเข้าใจสภาวธรรม จะยกตัวอย่างง่ายๆ
เช่น เมื่อได้ยินคนพูด ความรู้ทางปัญจทวาร คือโสตทวาร จะรู้เพียงแค่ ได้ยินเสียงเท่านั้น เป็นอัพยากตธรรมซึ่งเป็นธรรมกลางๆ
ส่วนการรู้คำพูด รู้ตีความเป็นความหมาย เรื่องราว จะเกิดทางมโนทวาร เช่นได้ยินเสียงเป็นเสียงของสุนัข แล้วปรุงแต่งเป็นความพอใจ ไม่พอใจก็เกิดเป็น กุศลหรือ อกุศลธรรม ขึ้นมา

เจริญในธรรมค่ะ


ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2013, 20:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


mox2537 เขียน:
เวลาเราดูจิตนี้เพื่อให้ จิตเป็นกลาง (หมายถึง จิตนั้นทีแรกมันก็เป็นกลางอยู่แล้วครับ แต่พอมันไปรู้อารมณ์เข้า มันเกิดความยินดี ยินร้ายขึ้นมา มันจึงเสียความเป็นกลางไป ดังนั้นถ้าหมั่นสังเกตจิตใจตนเองไว้ มันเกิดความยินดี ก็รู้ทัน มันเกิดความยินร้าย ก็รู้มัน จิตจะกลับมาเป็นกลางเองครับ ไม่ต้องไปพยายาม ทำให้มันเป็นกลางหรอกครับ)

ส่วนโลกธรรม 8 ก็ให้ วางใจเป็นกลาง
แล้ววางใจเป็นกลาง กับ จิตเป็นกลาง มันเกี่ยวข้องกันยังไงครับ ?

จิตเป็นผู้รู้ ใจเป็นผู้รับครับ จิตหากรู้แล้วไม่เป็นกลาง(อุเบกขา) จิตมันก็จะปรุงแต่งไปแล้วใจก็รับเอาสิ่งนั้นแหละมาเป็นอารมณ์ มี โลภ โกรธ หลง เป็นต้นครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร