วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 06:03
โพสต์: 95

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้ามาสนทนาธรรมต่อ


สวัสดีครับ คุณกรัชกาย คุณ nongkong

ผมสนทนาธรรมกับเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการสนทนาครับ


ขอนำบทธรรมจากพระสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร บางส่วน มาแสดง ดังนี้


“......ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง

ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน
เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน
เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง
เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ

เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใด ๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้น ๆ

ดังพรรณนามาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง

พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง

ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น

เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ ......”


ผมพิจารณา ......อิริยาบถ...... ด้วยธรรม ทั้งปวง เหล่านี้


ขอเริ่มต้นบทสนทนาธรรม


“......ภิกษุเมื่อ ......เดิน...... ก็รู้ชัดว่าเราเดิน......”


ภิกษุเมื่อ ......เดิน...... ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เป็นอย่างไร ./


วันนี้สนทนาธรรมเท่านี้นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 21:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


มีสติ.....อยู้กับสิ่งที่ ทำ....เป็นการเจริญสติ...เมื่อมีสติดีได้ต่อเนื่อง...สติก็กลายเป็นสมาธิ...คือ...การตั้งมั่น

เมื่อมีสมาธิต่อเนื่อง...การทำงานก็ไม่ขาดตอน...จิต..ย่อมมีเวลามากขึ้นในการพิจาร์ธรรมใด ใด
ได้ต่อเนื่อง....เรียกว่างานของจิตมีโอกาศทำงานได้ลุล่วง...คือ...จิตเห็นจริงในธรรมนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 06:03
โพสต์: 95

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณกบนอกกะลา


คุณกบนอกกะลา กล่าวว่า

มีสติ.....อยู่กับสิ่งที่ ทำ....เป็นการเจริญสติ...เมื่อมีสติดีได้ต่อเนื่อง...สติก็กลายเป็นสมาธิ
...คือ...การตั้งมั่น

เมื่อมีสมาธิต่อเนื่อง...การทำงานก็ไม่ขาดตอน...จิต..ย่อมมีเวลามากขึ้นใน
การพิจาร์ธรรมใด ใด ได้ต่อเนื่อง....เรียกว่างานของจิตมีโอกาศทำงานได้ลุล่วง...คือ...
จิตเห็นจริงในธรรมนั้น



คุณกบนอกกะลา อธิบายธรรมปฏิบัติ ได้เป็นที่น่าชื่นชมยินดี อนุโมทนา นะครับ


เข้ามาสนทนาธรรมต่อ

ภิกษุเมื่อ ......เดิน...... ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เป็นอย่างไร

ผมกำลังศึกษา และ ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมนี้อยู่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 06:03
โพสต์: 95

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณโฮฮับ ผมชอบประโยคนี้ของคุณมาก


คุณโฮฮับ ได้กล่าวว่า ขอยกคำกล่าวของคุณโฮฮับ มาบางส่วนเท่านั้น นะครับ

......จุดประสงค์ของพุทธองค์คือ ต้องการให้สาวกเอาบัติญัติที่พระองค์กล่าว
ไปทำให้แจ้ง นั้นหมายความว่า......ไปทำบัญญัติให้เป็นสภาวะธรรมในกายใจตนเอง

จากกระทู้ชื่อ นิพพาน ที่นี่เดี๋ยวนี้ ของ คุณ walaiporn หน้า 2 บรรทัดที่สาม
วันที่ 30 กันยายน 2013 เวลา 10.28 น.




จากคำกล่าวของ คุณโฮฮับ ผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคำว่า บัญญัติ กับ สภาวธรรม


และ ถ้าผมกล่าวว่า บัญญัติ คือ ธรรม แบบนี้ถูกต้อง หรือไม่ครับ


ช่วยอธิบายได้หรือไม่ครับ


สนทนาในกระทู้นี้ เพราะเห็นว่า ไม่เกี่ยวกับหัวข้อกระทู้นั้น เกรงใจ
คุณ walaiporn เจ้าของกระทู้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 23:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฏฐิ เขียน:
เข้ามาสนทนาธรรมต่อ

ภิกษุเมื่อ ......เดิน...... ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เป็นอย่างไร

ผมกำลังศึกษา และ ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมนี้อยู่ครับ


รู้ชัดว่าเราเดิน.....อันนี้...รู้ชัดของแต่ละคนก็อาจต่างจุดกัน....บางคนตั้งจิตรู้จุดใดจุดหนึ่ง..จุดเดียว
บางคนตั้งจิตรู้...2-3 จุด.....บางคนอาจรู้ได้หลาย ๆจุด....อันนี้ก็ขึ้นกับว่าบำเพ็ญเนมาอย่างไร...

แต่....ที่เหมือนกันคือ....รู้ว่าเราเดินอย่างเดียว....จิตไม่แล่นไปอนาคต...พรุ่งนี้จะทำอะไร...จะเป้นอย่างไร...
จิตไม่แล่นไแในอดีต....เมื่อวานเราน่าจะทำอย่างนั้น....เพื่อนเราไม่น่าทำอย่างนี้....รู้ปัจจุบันอย่างเดียวว่าเราเดิน...และรู้ปัจจุบันแคบเข้า..แคบเข้า...จนเหลือเพียงจุดที่ตั้งจิตรู้อย่างเดียว...จิตย่อมสงบ
.เมื่อรู้กายชัด.....จะรู้เวทนา..ณ. จุดที่ตั้งจิตรู้..ว่าเวทนาอันไหนกำลังจะเกิด...จิตไม่เสวยเวทนานั้นเพราะเห็นเวทนานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม...จิตย่อมเป็นสุข
.เมื่อรู้กาย..ณ. จุดที่ตั้งจิตรู้ชัด....จิตจะรู้ว่า...กุศลหรืออกุศลใดกำลังจะเกิดกับจิต....จิตไม่เอาอกุศลเพราะรู้ว่ามีผลเป็นทุกข์...จิตย่อมปิติ
.เมื่อรู้กาย...ณ. จุดที่ตั้งจิตรู้..ชัด...จิตไม่เสวยเวทนา...ไม่เอาอกุศล..จิตสงบ.ปีติ..สุข....ย่อมจะเห็นโลกตามความเป้นจริงว่า...ไม่มีอะไรควรยึดเป็นแก่นสารสาระ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กบนอกกะลา เขียน
จะรู้เวทนา..ณ. จุดที่ตั้งจิตรู้..ว่าเวทนาอันไหนกำลังจะเกิด...จิตไม่เสวยเวทนานั้นเพราะเห็นเวทนานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม...จิตย่อมเป็นสุข

ขอคำอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ เพราะว่า เวทนาในที่นี้คืออะไร คือวันก่อนผมพิจารณา และตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทุกข์คืออะไร ก็พิจารณาไปเรื่อยๆกับอาการต่างๆที่เกิดขึ้น คืออะไรปรากฎขึ้นมา นั่นคือทุกข์นั่นเอง จึงอยากจะถามว่า เวทนาเป็นสิ่งแปลกปลอมได้อย่างไร คุณกบหมายถึงอารมณ์ หรือเวทนาขันธ์ และเสวยคืออะไร

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 06:03
โพสต์: 95

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณกบนอกกะลา คุณ student


อนุโมทนาธรรมปฏิบัติ ของ คุณกบนอกกะลา กับ คุณ student นะครับ


เกี่ยวกับหัวข้อธรรม เวทนา ผมไม่ชำนาญ ขออนุญาตอ่านอย่างเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณ student

เวทนา คือ การเสวยอารมณ์
อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตเข้าไปยึดเหนี่ยว/สัมผัสในขณะนั้น (อายตนะภายนอก)

กรณีตัวอย่าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุ(อายตนะภายใน) และรูป(อายตนะภายนอก) เกิดจักษุวิญญาณ
ความประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา) เป็นสุขบ้าง(สุขเวทนา) เป็นทุกข์บ้าง(ทุกขเวทนา) มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง(อทุกขมสุขเวทนา)

คราวนี้ต้องทำอย่างไร

เขา(บุคคล)อันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ
จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่

อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่(รำพันว่า)ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่

อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น(เกิดขึ้น) ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา, ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาบรรเทา, ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา, (และ)ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nkgen.com/patitja6.htm
หรืออ่านจาก ฉฉักกสูตร

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 22:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
อ้างคำพูด:
กบนอกกะลา เขียน
จะรู้เวทนา..ณ. จุดที่ตั้งจิตรู้..ว่าเวทนาอันไหนกำลังจะเกิด...จิตไม่เสวยเวทนานั้นเพราะเห็นเวทนานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม...จิตย่อมเป็นสุข

ขอคำอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ เพราะว่า เวทนาในที่นี้คืออะไร คือวันก่อนผมพิจารณา และตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทุกข์คืออะไร ก็พิจารณาไปเรื่อยๆกับอาการต่างๆที่เกิดขึ้น คืออะไรปรากฎขึ้นมา นั่นคือทุกข์นั่นเอง จึงอยากจะถามว่า เวทนาเป็นสิ่งแปลกปลอมได้อย่างไร คุณกบหมายถึงอารมณ์ หรือเวทนาขันธ์ และเสวยคืออะไร


ต้องขออภัยที่ตอบช้า....เหนื่อยกับภารกิจนะครับ...
จะพยายามสื่อให้ได้ใกล้เคียงกับความรู้สึกที่สุด...เท่าที่จะทำได้...

อย่างแรก...เวทนามี3 คือ.สุขเวทนา...ทุกข์เวทนา....ไม่สุขไม่ทุกข์เวทนา...ทุกเวทนาเกิดหลังผัสสะ...
สุข...เมื่อรู้ว่า..สิ่งนั้นดี...เป็นคุณกับเรา
ทุกข์...เมื่อรู้ว่า...สิ่งนั้นเป็นโทษกับเรา
เฉยๆ...เมื่อรู้ว่า...ยังไม่เป็นคุณหรือเป็นโทษกับเรา...

จะสังเกตว่า...เวทนาเกิดหลังจากรู้ว่า...สิ่งนั้นดีหรือไม่ดี....กับเรา....

ทีนี้....ดี...ไม่ดี...ตัวนี้..ในแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน...และในคนๆเดียวกัน...ยังเปลี่ยนแปลงได้อีก...(ไม่เป็นสันทิฏฐิโก...ไม่เป็นอกาลิโก). แสดงว่า...ไม่เป็นธรรมชาติแท้....ที่เราคุ้นกับคำว่า...ปรุงแต่ง...แต่ละคนก็ปรุงแต่งต่างกันไปตามแต่คิดว่าอะไรจะดีกับเรา

เมื่อผัสสะ...รู้ว่าสิ่งนั้นดีกับเรา....หรือแม้เพียงรู้ว่าจะดีในภายพากหน้า....ก็พอใจ....ชอบใจ....ปลื่มใจ...แล้ว...

ในเมื่อ...ดี...ไม่ดี...เป็นสิ่งสร้างขึ้นมาด้วยการปรุงแต่ง...ความรู้สึกที่งอกขึ้นมาจากปรุงแต่ง..ก็ย่อมจะไม่ใช่ธรรมชาติแท้ไปด้วย...ธรรมแท้ต้องเหมือนกันทุกครั้งที่เข้าถึง...และทุกคนที่เข้าถึงมันต้องรู้สึกอย่างเดียวกัน.....ผมเรียกสิ่งปรุงแต่งว่า..สิ่งแปลกปลอม...แล้วเก็ตดี...

อีกนัยหนึ่ง....เรากำลังเดินจงกรมฝึกสติฝึกสมาธิ...พอสติทันอาการหรือจุดที่ตั้งจิตรู้...ต่อเนื่อง...สิ่งที่จิตควรรู้ก็ควรรู้แค่จุดหรืออาการที่ตั้งจิตรู้เท่านั้น....หากมีความรู้สึกว่า...สมาธิกำลังดี...มีความพอใจ...ชื่นใจ....สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นส่วนเกิน...ย่อมเป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับจิตเราในขณะนั้น...

เท้าเหยียบพื้น...รู้ว่าเหยียบพื้น...ที่พื้นขรุขระไม่เรียบมีเม็ดหินเม็ดทราย...ก็ควรรู้ว่าขรุขระไม่เรียบมีเม็ดหินเม็ดทรายแค่นั้น...หากมีความรู้สึกว่า...เราสติดี...ทางดีหรือไม่ดี...อันนี้เริ่มแล้ว....แล้ว...พอใจ...ไม่พอใจ...จะตามมาติด ๆ...ผมจึงยกให้มันเป็นสิ่งแปลกปลอม...

นั้นคือ...สิ่งแปลกปลอมในแง่คิดของผม...ทั้งในแง่เป็นธรรมชาติที่ไม่แท้....ทั้งในแง่เป็นส่วนเกินจากที่ตั้งจิตรู้
ส่วนคำถามว่า..เสวย...คืออะไร?
เสวยคือ...กินครับ....หรือเข้าไปจับ....ไปยึด
ทำไม...จิตจึงไปเสวย?
ผมเห็นว่า....จิตนี้มันหิว.....หิวตลอด....คือ...มันทนที่จะไม่รู้อะไร...ไม่ได้...เมื่อประสพกับอะไรก็ตามแต่..มันจะรู้ให้ได้ว่า...นั้นมันดีหรือไม่ดี....อย่างเมื่อเราป่วย....ก็อยากรู้ว่ากินยาแล้วจะหายมั้ย....พรุ่งนี้จะหายมั้ย....พอรู้ว่า...อาการที่เป็นนั้นหายได้....พรุ่งนี้ก็หายแล้ว....ใจก็ชื้นขึ้นมาทันที....ราวกับว่ากำลังอยู่ในวันพรุ่งนี้.งั้นแหละ ( สร้างอารมณ์...ชัดเจน)..นี้นอกเรื่องนิดหน่อย

ทีนี้....ทำสมาธิเดินจงกรม....ตั้งจุดให้จิตรู้....ก็ย่อมต้องมีเป้าหมายคือ...จิตเป็นสมาธิ...ครั้นรู้กายดี....รู้ชัด....จิตก็รู้ว่ารู้ชัด...เมื่อรู้ชัดจิตย่อมรู้ว่าเข้าใกล้เป้าหมาย..(คือเป็นสมาธิ)...นี้จิตเริ่มออกล้ำไปหน้าแล้ว....เมื่อเริ่มมีคำว่า...จะดี....หรือ...ดี...ขึ้นในใจ...ความพอใจก็จะเกิด...หากปล่อยใว้ต่อไป...ก็จะเป็น...เราดี....เราพอใจ...นี้คือ....จิตไปเกาะดี....เกาะพอใจ...ผมเรียกมันตอนนี้ว่า..จิตเข้าไปเสวยเวทนา....ก็ไม่ทราบว่าตำราครูบาอาจารย์ท่านเรียกเสวยเป็นอาการอย่างไรนะ....

เพียงเท้าสัมผัสพื้น...จิตรู้สัมผัสชัด...ก็เริ่มเห็นความพอใจหรือไม่พอใจกำลังจะเกิด...คิดเอะใจ..ว่านี้เป็นสิ่งแปลกปลอมในการปฏิบัตินี้หว่า.....ก็ตัดไม่เข้าไปกับมัน...ที่พูดนี้ดูจะยาว....ที่เกิดจริงไม่ได้ยาวยืดอย่างนี้.....เรียกว่า..วินาทีก็ยังยาวไป.....ท่านอื่นเป็นอย่างไรไม่ทราบนะ....แต่ผมเป็นงี้

คำว่าเวทนา...ผมหมายรวม ๆ....ทุกอย่างที่เกิดขึ้นหลังการผัสสะ...นะ....อย่างตัญหาก็คืออาการเวทนาที่หยาบขึ้น...เป็นอุปาทานก็หยาบขึ้นไปอีก....ส่วนตัวเรียกมันรวมๆว่า..เวทนา..อย่างเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนากับคุณ โกเมศวร์ และคุณกบครับ

ผมอ่านแล้วสนใจกับความหมายที่ว่า จิตต้องการเสวย คือ พอกินยาก็รู้สึกดีขึ้นมาทันที คือกายยังไม่ดีแต่อารมณ์ดีแล้วตามอำนาจกิเลส หรือความน่าจะเป็นของอนาคต ทั้งๆที่อนาคตยังมาไม่ถึง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 05:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8:

พระพุทธองค์ตรัสว่า.....ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง....


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 05 ต.ค. 2013, 13:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ยินดีที่ได้สนทนากันครับ คุณ student

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 06:03
โพสต์: 95

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณโกเมศวร์ คุณกบนอกกะลา คุณ student

ขอบคุณมากครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2013, 05:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมครับ คุณสัมมาทิฏฐิ จากกระทู้เก่า ที่รวบรวมจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา และ พระวิปัสสนาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
viewtopic.php?f=2&t=29201


คำว่า " ปชานาติ " เป็นคำกิริยา ที่แปลว่า " รู้ชัด " เป็นการแปลไปก่อนเพื่อป้ปงกันคำพูดเยิ่นเย้อ หรือฟังไม่รื่นหูเท่านั้น ความจริงท่านให้ความหมายของศัพท์ไว้ดังนี้ " ปกาเรหิ ชานาติ ปชานาติ " แปลว่า " รู้โดยประการทั้งหลาย ชื่อว่า ปชานาติ " หมายความว่าในสิ่งที่ควรรู้นั้น มีประการอะไร ๆ ที่ควรรู้สักกี่ประการก็ตาม ก็ย่อมรู้สิ่งนั้น โดยประการทั้งหมดนั้น

ในเวลาที่เดินอยู่ ประการที่ควรรู้ในอิริยาบถเดิน มี ๓ ประการคือ
๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้

ประการแรก โก คจฺฉติ -- ใครเดิน, มีอรรถาธิบายว่า อาการเดิน ท่าทางที่เดิน เป็นเพียงอาการของรูปธรรมเท่านั้น รูปนั่นแหละเดิน หามีสัตว์ บุคคล หญิง ชาย ในอาการเดินนั้นไม่ การพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ เป็นไปเพื่อการถอนทิฏฐิ คือความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลผู้เดิน
ประการที่ ๒ กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร มีอรรถาธิบายว่า การเดิน คือ อาการที่เดิน ท่าทางที่เดิน ไม่ใช่ของสัตว์ ไม่ใช่ของบุคคล ไม่ใช่ของหญิง ไม่ใช่ของชาย ตลอดจนไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของพระกรรมฐาน เพราะว่าอย่าว่าแต่สัตว์ บุคคล หญิง ชายเลย แม้แต่ผู้ปฏิบัติหรือพระโยคีหรือพระกรรมฐานตามที่ใช้เป็นชื่อของผู้ปฏิบัตินั้น ก็หามีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ไม่ เป็นเพียงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่การเข้าใจความ หรือใช้สื่อความหมายในเวลาที่พูดเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การเดินนี้จะเป็นของใครที่ไหนได้ ก็เป็นของรูปนั่นแหละ เพราะเป็นอาการของรูป ประการที่ ๒ นี้ หากมองเพียงผิวเผินแล้ว จะไม่เห็นความแตกต่างกับประการแรก เพราะว่าความรู้ว่า รูปเดิน ไม่ใช่คนสัตว์เดิน กับความรู้ว่าการเดินเป็นของรูป น่าจะเป็นความรู้อันเดียวกัน แต่ทว่าความจริงยังมีข้อที่แตกต่างกันอยู่ กล่าวคือ ความรู้ในประการแรกนั้น เป็นเพียงปฏิเสธความมีอยู่แห่งสัตว์บุคคลผู้เดิน อันไม่มีอยู่จริง สิ่งที่มีอยู่จริง ที่สร้างความเข้าใจผิดว่ามีผู้เดินในเวลานั้น ก็คือรูปเดินเท่านั้น ความรู้อย่างนี้กล่าวได้ว่า เป็นความรู้ที่ถ่ายถอนทิฏฐิคือความเห็นผิดตรง ๆ ส่วนความรู้ในประการที่ ๒ เป็นการปฏิเสธแม้ความเป็นบุคคลพิเศษ คือ เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน อันพิเศษกว่าคนธรรมดา ก็ความรู้สึกว่า ตนเป็นคนพิเศษกว่าคนอื่น คือเป็นผู้ปฏิบัติเป็นต้นนี้ เป็นความเห็นผิด ที่ท่านเรียกว่า มานวินิพันธาทิฏฐิ แปลว่า ทิฏฐิเกี่ยวกับมานะ กล่าวคือ นอกจากจะเห็นผิดด้วยทิฏฐิว่า เป็นสัตว์เป็นบุคคลดังกล่าวแล้ว ยังสำคัญว่าสัตว์บุคคลนั้นเป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน ด้วยมานะความถือตัว ความนับถือตัว เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งด้วย และเมื่อสำคัญว่ามีผู้ปฏิบัติ มีผู้กรรมฐานอันเป็นบุคคลพิเศษอย่างนี้แล้ว ก็ย่อมยังความประพฤติเป็นไปของตน ให้เป็นของพิเศษ อันเป็นของเฉพาะตน ซึ่งเป็นคนพิเศษเท่านั้น ไม่ทั่วไปแก่ผู้คนตามปกติอื่น ๆ นั่นก็คือ แต่งท่าทางการเดินของตนให้แปลกไปจากท่าทางการเดินของผู้ไม่ปฏิบัติ กล่าวคือ ค่อยๆ ยก ค่อยๆ ย่าง ค่อยๆ ก้าว จะยกเท้าก้าวอย่างช้า ๆ เป็นจังหวะ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเมื่อทำอิริยาบถให้ผิดปกติไปอย่างนี้ ก็ย่อมเล็งเห็นอิริยาบถที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษนี้ ว่าเป็นสาระ เป็นของดี เป็นของมีประโยชน์ อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้ โอกาสที่จะทำปัญญาให้เกิดขึ้นมาเห็นความจริงในรูปอิริยาบถว่า รูปเดินเป็นต้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันเป็นการเห็นว่า ไม่เป็นสาระนั่นเอง ย่อมมีได้ยาก เหตุเพราะเข้าไปตั้งความเป็นสาระไว้เสียก่อนแล้วนั่นเอง เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติโดยประการที่ป้องกันมานะด้วย คือต้องมีการสำเหนียกอยู่เสมอว่า การเดินเป็นของรูปเท่านั้น ไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของผู้กรรมฐาน นี้เป็นข้อที่แปลกไปจากประการแรก แห่งประการที่ ๒

ประการที่ ๓ กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, คือ การเดิน อาการเดิน ท่าทางที่เรียกว่าเดิน เกิดขึ้นได้เพราะเหตุไร ก็พึงตอบได้ว่าการเดิน อาการเดิน ท่าทางที่เรียกว่าการเดิน เกิดขึ้นได้เพราะเหตุ เพราะปัจจัย ไม่ใช่ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ก็เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการเดินนั้น ได้แก่ วาโยธาตุ คือธาตุลมอันเกิดจากจิตที่ประสงค์จะเดิน กล่าวคือ เมื่อจิตคือความคิดว่าจะเดินเกิดขึ้น จิตนั้นย่อมยังวาโยธาตุให้ตั้งขึ้นบริเวณอวัยวะที่จะเคลื่อนไหว โดยเฉพาะขาทั้งสอง วาโยธาตุนั้นย่อมผลักดันให้อวัยวะเคลื่อนไหวไปตามความประสงค์ของจิต อาการก้าวไปจึงเกิดขึ้น เรียกว่า เกิดการเดิน เพราะฉะนั้น วาโยธาตุที่เกิดจากจิตที่มีความประสงค์จะเดิน พร้อมทั้งจิตนั้นนั่นแหละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการเดิน เพราะเหตุนี้แหละ จึงเกิดการเดิน

!
!

ในพระบาลีตอนนี้ ได้สาระใจความเกี่ยวกับสัมมัปปธาน ๔ อย่างย่อ ๆ อย่างนี้ว่า :
-- เพียรพยายาม เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้มีโอกาสเกิดขึ้น
-- เพียรพยายาม เพื่อละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
-- เพียรพยายาม เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ได้มีโอกาสเกิดขึ้น
-- เพียรพยายาม เพื่อให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ตั้งมั่นและเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
คำว่า อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ดี, ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ดี ได้แก่ นิวรณ์ ทั้งหลาย มีกามฉันทะ คือความใคร่ ความพอใจในกามคุณ ๕ เป็นต้น อันเป็นเครื่อวขัดขวางไม่ให้การปฏิบัติดำเนินไปอย่างสะดวก หรือว่าขัดขวางความเกิดขึ้นแห่งสมาธิ เพราะนิวรณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ, ก็แต่ว่า วิปัสสนาปัญญาย่อมเกิดขึ้นได้เพราะมีสมาธิเป็นปัจจัย และมรรคย่อมเกิดขึ้นได้เพราะมีวิปัสสนาเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น เมื่อไม่มีสมาธิเกิดขึ้น เพราะถูกนิวรณ์เข้าไปขัดขวางไว้ แม้วิปัสสนาปัญญา แม้มรรค ก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเหตุนั้นย่อมกล่าวได้ว่า นิวรณ์ทั้งหลายนี้ย่อมขัดขวางทั้งวิปัสสนา ทั้งมรรค พระโยคีย่อมเพียรพยายามปฏิบัติ เพื่อป้องกันไม่ให้อกุศลธรรมคือพวกนิวรณ์ทั้งหลายได้มีโอกาสเกิดขึ้น และเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่ย่อท้อ ก็เพียรปฏิบัติเพื่อละนิวรณ์เหล่านั้น กล่าวคือไม่ให้เป็นไปสืบต่อ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร