วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นหลายๆคนยังขาดความเข้าใจในพุทธพจน์ ชอบเอาพุทธพจน์มากล่าวผิดกาลเทศะ
แต่การกล่าวเช่นนี้ผมไม่ได้ว่า พวกท่านบิดเบื้อนพุทธวจนหรอกน่ะ
มันก็แค่ยังขาดความเข้าในพุทธวนะ ยังขาดปัญญาในในส่วนนี้
จึงทำให้เข้าใจผิดในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว

อาจจะยังไม่เข้าใจว่าผมกำลังสื่ออะไร ที่ผมต้องการสื่อก็คือ
จะชี้ให้เห็นว่า นานวันชาวพุทธเรายิ่งขาดเข้าในใจพุทธพจน์ เอาพุทธพจน์ไปกล่าวอ้าง
แบบผิดๆ ยิ่งทำให้พุทธพจน์ที่ใช้ผิดนั้นฝังรากลึก ยากที่จะถอน
สิ่งที่ผมกล่าวมานี่แม้แต่นักบวชที่สอนธรรมบางท่าน ยังเป็นไปในลักษณะที่ผมกล่าวมาเลย

นี่ด้วยเหตุนี้แหล่ะ มันทำให้ไม่เข้าใจใน อริยสัจจ์๔ที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว
แค่พุทธพจน์คำแรก เช่นคำว่าทุกขอริยสัจจ์ ยังเข้าใจกันอย่างผิดเพี้ยน


พวกท่านเคยบ้างไหม เห็นคนเป็นโรคร้ายหรือเห็นคนตาย แล้วก็บอกว่า
การเจ็บป่วยหรือการตายเป็นอนิจจัง ถ้าใครมีความเห็นแบบนี้ แสดงว่ากำลังหลง
ขาดปัญญาไม่มีสมาธิแยกแยะธรรมครับ

การเจ็บไข้ได้ป่วยหรือการตาย ไม่ใช่อนิจจัง(ไม่เที่ยง) การเกิดแล้วต้องแก่ แก่แล้วต้องเจ็บ
เจ็บแล้วต้องตาย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความเที่ยงแห่งธรรม มันจึงไม่ใช่....อนิจจัง
แต่เป็น...นิจจัง
หรือจะกล่าวอีกนัยก็คือ อนัตตาก็คือความเที่ยงแท้แห่งธรรมชาติ

ถ้าท่านใดยังเข้าใจว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
หรือเข้าใจว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นสังขาร(ไตรลักษณ์)
นั้นแสดงว่าท่านยังไม่รู้จัก ทุกขอริยสัจจ์ ในอริยสัจจ์สี่ครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


นิจจัง อนิจจัง ไม่ใช่ว่าคนอื่นเขาไม่เข้าใจหรอกครับ ผู้อื่นเขาแค่เข้าใจ
คำว่า นิจจัง และ อนิจจังไม่เหมือนกับที่ท่านสมาชิกโฮฮับเข้าใจน่ะ
ความหมายที่คนอื่นๆทั่วไปเขาเข้าใจก็คือ

นิจจัง หมายถึง เที่ยงแท้ เป็นอมตะ ไม่บุบสลาย คงอยู่ตลอดกาล ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
ส่วนคำว่า
อนิจจัง หมายถึง สิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่เป็นอมตะ บุบสลาย ไม่คงอยู่ตลอดไป เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

การที่ร่างกายมี เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นเพราะร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ถ้าสังขารนี้เที่ยง
แน่จริงก็อย่าเกิด อย่าแก่ อย่าเจ็บ อย่าตาย มีชีวิตเป็นอมตะไปเลย แต่ความจิงมันไม่ได้
เพราะร่างกาย สังขาร สภาวะ มันเปลี่ยนแปลง

ยกตัวอย่างท่านสมาชิกโฮฮับมีเงินอยู่ 100 บาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวกินไป 50 บาท ท่านโฮฮับ
ย่อมเหลือเงิน 50 บาท เพราะอีก 50 บาทที่จ่ายไปมันไม่เที่ยง มันแปลงสภาพไปเป็น
อาหารและหลังจากนั้นมันก็กลายสภาพเป็นอย่างอื่นไป

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ เขียน:
นิจจัง อนิจจัง ไม่ใช่ว่าคนอื่นเขาไม่เข้าใจหรอกครับ ผู้อื่นเขาแค่เข้าใจ
คำว่า นิจจัง และ อนิจจังไม่เหมือนกับที่ท่านสมาชิกโฮฮับเข้าใจน่ะ
ความหมายที่คนอื่นๆทั่วไปเขาเข้าใจก็คือ

นิจจัง หมายถึง เที่ยงแท้ เป็นอมตะ ไม่บุบสลาย คงอยู่ตลอดกาล ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
ส่วนคำว่า
อนิจจัง หมายถึง สิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่เป็นอมตะ บุบสลาย ไม่คงอยู่ตลอดไป เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ที่คุณและคนอื่นเข้าใจว่านิจจัง หมายถึง เป็นอมตะ ไม่บุบสลายฯ ที่เป็นแบบนี้เพราะ
คุณเอาคำสอนของศาสนาอื่นมาปะปนกับคำสอนของพุทธศาสนาครับ

ความหมายของเที่ยงแท้(นิจจัง) มันมาจากคำว่าสัจจะธรรม
พูดให้ตรงตัวก็คือ......อริยสัจจ์๔นั้นเอง


คุณพุทธคุณและอีกหลายคนกำลังเข้าใจว่า อนิจจังที่เป็นสภาวะ
เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับนิจจัง ซึ่งมันเป็นความเข้าใจที่ผิดครับ
ต่างฝ่ายต่างมีลักษณะหรือสภาพธรรมของมันเอง

อนิจจังเป็นลักษณะของธรรม ที่เรียกว่าสังขาร(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน)
แต่นิจจังเป็นสภาพธรรมที่เป็นธรรมชาติ ที่ขึ้นอยู่กับธรรมที่เรียกว่า...อนัตตา

พูดเพื่อเข้าใจก็คือ ความเที่ยงแท้(นิจจัง) ของสังขาร(ขันธ์ห้า)
เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นอื่นไปไม่ได้....อย่างนี้เรียกว่า สภาพธรรม
และอีกอย่างลักษณะที่เที่ยงแท้ของสังขารก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


การเกิด แก่ เจ็บและตาย ไม่ใช่สังขาร เพราะสังขารเป็นนามธรรม
การเกิด แก่ เจ็บ ตาย จึงเป็นสภาพธรรมคนล่ะอย่างกับสังขาร
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของสังขารจึงเป็นสภาพธรรมที่แตกต่างจาก การเกิดแก่ เจ็บตาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ เขียน:
การที่ร่างกายมี เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นเพราะร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ถ้าสังขารนี้เที่ยง
แน่จริงก็อย่าเกิด อย่าแก่ อย่าเจ็บ อย่าตาย มีชีวิตเป็นอมตะไปเลย แต่ความจิงมันไม่ได้
เพราะร่างกาย สังขาร สภาวะ มันเปลี่ยนแปลง

ร่างกายไม่ใช่สังขาร ร่างกายเป็นรูปธรรม ส่วนสังขารเป็นอารมณ์ที่เกิดภายในกายใจ
เรียกว่านามธรรม การเกิดดับใช้กับอารมณ์ มันเกิดแล้วก็ดับในทันทีทันใด
พูดง่ายๆก็คือ มีจิตจุติและปฏิสนธิตลอดเวลา จิตดวงเก่าดับไป จิตดวงใหม่เกิดขึ้นมา
จิตที่ว่าเป็นจิตคนล่ะดวงกัน

ส่วนรูปธรรมหรือร่างกายไม่เกิดดับ ความเสื่อม ความเปลี่ยนแปลงไป
มันก็ยังเป็นรูปธรรมหรือร่างกายเดิมนั้น ไม่ได้เปลี่ยนเป็นร่างใหม่ในทันทีเหมือนจิตเหมือนสังขาร

ส่วนที่คุณพุทธคุณบอกว่า....."ถ้าแน่จริงก็อย่าเกิด อย่าแก่ อย่าเจ็บ อย่าตาย"
แบบนี้เขาไม่เรียกอนิจจัง สภาพธรรมเช่นนี้เรียกว่า.....อนัตตา
นั้นคือเราไม่สามารถบังคับไม่ให้มันเกิดแก่ เจ็บตายได้

พุทธคุณ เขียน:
ยกตัวอย่างท่านสมาชิกโฮฮับมีเงินอยู่ 100 บาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวกินไป 50 บาท ท่านโฮฮับ
ย่อมเหลือเงิน 50 บาท เพราะอีก 50 บาทที่จ่ายไปมันไม่เที่ยง มันแปลงสภาพไปเป็น
อาหารและหลังจากนั้นมันก็กลายสภาพเป็นอย่างอื่นไป

คุณพุทธคุณกำลังจินตนาการธรรมอยู่นะครับ เงิน๕๐บาทมันจะแปลงสภาพเป็นอาหาร
ได้อย่างไร เงิน๕๐บาทของคุณมันก็ยังอยู่มันไม่ได้เกิดดับหายไปไหน มันก็อยู่ที่พ่อค้า

การพิจารณาธรรมมันต้องพิจารณาแบบนี้ครับ ความเที่ยงของธรรมก็คือ
ตัวคุณมีเงินอยู่๑๐๐บาท เมื่อจ่ายไป๕๐บาท ย่อมต้องเหลือ๕๐บาท
ธรรมนี้จะแสดงความเป็นอนัตตาที่ใจครับ นั้นก็คือเราไม่สามารถบังคับให้เงิน๕๐บาทที่
จ่ายไปเกิดขึ้นมาเองได้ ไม่สามารถบังคับให้เป็นเงิน๑๐๐บาทเหมือนเดิม
อย่างนี้เรียกความเที่ยงแท้แห่งธรรม(นิจจัง)

ตรงข้ามถ้าคุณกล่าวว่า สิ่งที่คุณอ้างเงินเป็นอนิจจัง ถ้าเป็นอนิจจัง
เงิน๑๐๐บาทนั้น จะต้องหายไปและเกิดเป็น๑๐๐บาทใหม่ แล้วก็หายไปอีก
เป็นแบบนี้จึงจะเรียกว่า เงินนั้นเป็นอนิจจัง(ไม่เที่ยง)ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนิจจัง อนัตตา คือความเป็นเช่นนั้น ความตกอยู่ในสภาวะแบบนั้น ไม่เรียกความเที่ยงแห่งธรรมครับ ผมว่าเรียกเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน นั่นเอง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 15:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เห็นหลายๆคนยังขาดความเข้าใจในพุทธพจน์ ชอบเอาพุทธพจน์มากล่าวผิดกาลเทศะ
แต่การกล่าวเช่นนี้ผมไม่ได้ว่า พวกท่านบิดเบื้อนพุทธวจนหรอกน่ะ
มันก็แค่ยังขาดความเข้าในพุทธวนะ ยังขาดปัญญาในในส่วนนี้
จึงทำให้เข้าใจผิดในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว

อาจจะยังไม่เข้าใจว่าผมกำลังสื่ออะไร ที่ผมต้องการสื่อก็คือ
จะชี้ให้เห็นว่า นานวันชาวพุทธเรายิ่งขาดเข้าในใจพุทธพจน์ เอาพุทธพจน์ไปกล่าวอ้าง
แบบผิดๆ ยิ่งทำให้พุทธพจน์ที่ใช้ผิดนั้นฝังรากลึก ยากที่จะถอน
สิ่งที่ผมกล่าวมานี่แม้แต่นักบวชที่สอนธรรมบางท่าน ยังเป็นไปในลักษณะที่ผมกล่าวมาเลย

นี่ด้วยเหตุนี้แหล่ะ มันทำให้ไม่เข้าใจใน อริยสัจจ์๔ที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว
แค่พุทธพจน์คำแรก เช่นคำว่าทุกขอริยสัจจ์ ยังเข้าใจกันอย่างผิดเพี้ยน


พวกท่านเคยบ้างไหม เห็นคนเป็นโรคร้ายหรือเห็นคนตาย แล้วก็บอกว่า
การเจ็บป่วยหรือการตายเป็นอนิจจัง ถ้าใครมีความเห็นแบบนี้ แสดงว่ากำลังหลง
ขาดปัญญาไม่มีสมาธิแยกแยะธรรมครับ

การเจ็บไข้ได้ป่วยหรือการตาย ไม่ใช่อนิจจัง(ไม่เที่ยง) การเกิดแล้วต้องแก่ แก่แล้วต้องเจ็บ
เจ็บแล้วต้องตาย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความเที่ยงแห่งธรรม มันจึงไม่ใช่....อนิจจัง
แต่เป็น...นิจจัง
หรือจะกล่าวอีกนัยก็คือ อนัตตาก็คือความเที่ยงแท้แห่งธรรมชาติ

ถ้าท่านใดยังเข้าใจว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
หรือเข้าใจว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นสังขาร(ไตรลักษณ์)
นั้นแสดงว่าท่านยังไม่รู้จัก ทุกขอริยสัจจ์ ในอริยสัจจ์สี่ครับ :b13:

:b12: :b12: :b12:
คุณโฮฮับมองธรรมกลับมุมกลับข้างกับที่คนปกติธรรมดาๆทั่วไปเขามองกัน มันจึงทำให้คุยกันไม่รู้เรื่องและมีข้อถกเถียงกันไม่รู้จบ เหมือนเรื่องตาบอดคลำช้าง
:b16:
มุมมองของคุณโฮฮับก็ถูกต้อง ใช้ได้ แต่เป็นสิ่งที่เข้าใจยากสำหรับคนปกติธรรมดา
s002
ทุกขัง.....ทนตั้งอยู่ไม่ได้ ...จึงต้อง

อนิจัง......เปลี่ยนแปลงไปมา.......ทั้งอนิจจังและทุกขัง ล้วนแล้วเป็น

อนัตตา.....บังคับบัญชาไม่ได้ ไร้แก่นสาร ตัวตน

นี่คนปกติธรรมดาเขาเข้าใจง่าย พิสูจน์ง่าย รู้ได้ทันทีทันควัน
:b8:
สัจจธรรม คือความจริงที่ไม่มีแปรเปลี่ยนเป็นอื่น เป็นอมตะ เป็นนิจธรรม.....สิ่งนี้ลึกซึ้ง ....คุณโฮฮับจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจอย่างนี้ ต้องใช้เวลา และแสดงธรรมมาตามลำดับจึงจะเข้าใจได้
:b4:
ทุกขอริยสัจจ์.......เป็นสัจจะข้อที่ 1 ใน 4 ข้อ ของอริยสัจ 4 ประการ ถ้าเข้าใจผิดเพี้ยน ก็อาจทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิได้ดังคุณโฮฮับว่า.....แต่ใครจะเห็นผิดนั้นต้องดูที่การให้คำจำกัดความของ "ทุกขสัจจะ"
s006
พระบรมศาสดาทรงสรุปไว้แล้วว่า.....ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา......ขันธ์ทั้ง 5 เป็นก้อนทุกข์ กองทุกข์
ใครเห็นทุกข์ คือความทนตั้งอยู่ไม่ได้ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นคือเห็นทุกขสัจจะ

ทุกขสัจจะนั้นพระบรมศาสดาไม่ไห้ทำอะไรมาก.....พระองค์ตรัสไว้ว่า....."ทุกข์ ควรกำหนดรู้"....สมุทัย ควรละ....นิโรธ. ทำให้แจ้ง.....มรรค ควรเจริญ...มีงานที่ต้องทำสั้นๆเพียงแค่นี้....อย่าเอามาก ...อย่ามากปริยัติ เพราะอาจทำให้ไขว้เขว

สิ่งที่นำเสนอจึงโปรดพิจารณาให้เป็นที่เข้าใจง่ายในหมู่ผู้คนปกติธรรมดาจึงจะดีนะครับ

:b8:
เจริญสุข เจริญธรรมกันทุกๆคนครับ
:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2013, 04:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
อนิจจัง อนัตตา คือความเป็นเช่นนั้น ความตกอยู่ในสภาวะแบบนั้น ไม่เรียกความเที่ยงแห่งธรรมครับ ผมว่าเรียกเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน นั่นเอง

การเป็นเหตุเป็นผลหรือความเป็นเช่นนั้นนี่แหล่ะ เรียกว่า ความเที่ยงแห่งธรรม เป็นสัจจะ
เป็นสภาพธรรม
ในทางพุทธศาสนาไม่มีความบังเอิญ สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะมันมีเหตุที่มา มีกรรมย่อมมีวิบาก
นี่แหล่ะเรียกว่า ความเที่ยงแท้แห่งสัจจะธรรม

ในความเป็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราจะเข้าใจความเที่ยงแท้ของธรรมได้อย่างไร
นั้นก็คือ ต้องดูที่เหตุที่มาแห่งไตรลักษณ์

เพราะความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปแห่งสังขาร จึงเกิดสภาพธรรมที่เรียกว่า อนิจจัง
เพราะความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปแห่งสังขาร จึงเกิดสภาพธรรมที่เรียกว่า ทุกขัง
เพราะความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปแห่งสังขาร จึงเกิดสภาพธรรมที่เรียกว่า อนัตตา

ความเที่ยงแท้แห่งธรรมคือ ถ้ามีสังขารย่อมต้องมีไตรลักษณ์
ถ้าไม่มีไตรลักษณ์ย่อมไม่มีสังขาร นี่คือความเป็นเหตุเป็นผลแห่งธรรม


ปล. อย่าพิจารณาแค่ อนิจจังต้องพิจารณาเหตุที่มาของอนิจจังด้วย
แล้วก็อย่าอนัตตาแห่งวิสังขาร มาพิจารณาร่วมกับไตรลักษณ์ เดียวจะสับสน :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2013, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
...ปกติถ้าเราจะเรียนอะไรก็จะต้องถูกทดสอบความรู้เดิมก่อน...
...ถ้ารู้ไม่ถูกก็ทำข้อสอบไม่ได้เรียกว่าสอบตก...ต้องนับ0ใหม่...
...ยังไม่เข้าขั้นที่จะไปนับ1 2 3...แสน...ล้าน...เริ่มที่start...
...จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว รู้ผิดก็คิดผิด พูดผิด ทำผิดแล้วก็...
...มีความเป็นไปได้สูงสุดที่จะมีความเห็นผิดๆเพี้ยนๆไปอ่ะนะ...
s005
...ชีวิตทั้งหลายล้วนมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา...
...การยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนของตนเที่ยงแท้แน่นอน...
...เป็นการยึดอัตตา...ตัวกูของกูอย่างเหนียวแน่น...
...ควรสลัดความเป็นตัวตนให้ได้ก่อนนะคุณโฮฮับ...
:b12: :b13:
:b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2013, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
:b1:
...การศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจำเป็นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์...ในทางวิทยาศาสตร์...
...ถ้าจะให้รู้ลึกและรู้จริงเกี่ยวกับร่างกายคนตามหลักวิทยาศาสตร์ก็ต้องเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์...
...จะได้ลึกเรื่องชื่อหลอดเลือด ชื่อกระดูก ชื่อกล้ามเนื้อ ชื่อเส้นเอ็น Liver Heart Lung ฯลฯ...
...กลไกการทำงานทางวิทยาศาสตร์ จิตรู้สำนึก จิตใต้สำนึก โรคต่างๆทางกายและทางจิตสารพัด...
:b12:
...คงไม่ต้องลงทุนไปเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุขก่อนศึกษาอ่ะนะ...
...ก็แค่ศึกษาในลานธรรมจักรแห่งนี้ให้แตกฉานจนสามารถคิดพิจารณาแยกแยะว่าอะไรถูกหรือผิดได้แล้ว...
...การแสดงความเห็นของตนเองระหว่างอันเก่ากับอันใหม่ก็จะได้ไม่ขัดแย้งกันเองและขัดแย้งกับคนอื่น...
...ถ้าแสดงความคิดเห็นแบบข้างๆคูๆ...ครูบาอาจารย์ของคุณโฮฮับคงจะว่าฉันไม่สอนแบบนั้นเลยนะ...
:b5: :b7:
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2013, 04:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
คุณโฮฮับมองธรรมกลับมุมกลับข้างกับที่คนปกติธรรมดาๆทั่วไปเขามองกัน มันจึงทำให้คุยกันไม่รู้เรื่องและมีข้อถกเถียงกันไม่รู้จบ เหมือนเรื่องตาบอดคลำช้าง

โสกะจำได้มั้ยผมเคยบอกว่า อริยมรรคมีองค์๘ประการหรือมรรคสมังคี
ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องเป็นพระเสขะหรือเป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้นก่อน
จึงจะสามารถปฏิบัติอริยมรรคมีองค์๘ได้ แต่โสกะก็ดื้อรั้น บอกว่าปุถุชนก็ปฏิบัติได้
ผมก็แนะนำว่าปุถุชนควรหมั่นเจริญสติ เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงเสียก่อน
แต่ยังไงๆ โสกะก็ยังเถียงหัวชนฝาว่า ปุถุชนทำได้ๆๆๆๆๆๆ

มาตอนนี้ดันบอกว่า ผมมองมุมกลับข้างกับคนปกติธรรมดา
คนธรรมดาของคุณหมายถึงอะไร ปุถุชนคนยังไม่มีปัญญาหรือเปล่า
และอีกอย่างที่ไปตั้งกระทู้รู้มากยากนานน่ะ ถามหน่อยก่อนตั้งกระทู้ดูตัวเองหรือเปล่า
แนะนำให้ปฏิบัติก็ไม่เอา เอาแต่ว่าฉันรู้อริยมรรคมีองค์๘

อยากจะไปบนยอดเขา มีผู้ทำบันไดให้เดิน
แต่ไม่ยอมเดินบันไดขั้นแรก แบบนี้จะถึงยอดเขาได้อย่างไร


asoka เขียน:
ทุกขัง.....ทนตั้งอยู่ไม่ได้ ...จึงต้อง

อนิจัง......เปลี่ยนแปลงไปมา.......ทั้งอนิจจังและทุกขัง ล้วนแล้วเป็น

อนัตตา.....บังคับบัญชาไม่ได้ ไร้แก่นสาร ตัวตน

นี่คนปกติธรรมดาเขาเข้าใจง่าย พิสูจน์ง่าย รู้ได้ทันทีทันควัน

แบบนี้หรือที่ว่า เข้าใจง่าย พิสูจน์ง่าย รู้ทันที่
โสกะยังไม่รู้ตัวอีกหรือว่า ที่พูดมามันเป็นการเอาพุทธพจน์มามั่วจนเละ
พุทธพจน์ผิดเพี้ยนก็เพราะโสกะ ไปพิจารณาเองว่ามันผิดตรงไหน ขี้เกียจพูด
เพราะเห็นว่า มันเป็นโมฆะธรรมตั้งแต่คำแรกที่โสกะพูดแล้ว
asoka เขียน:
สัจจธรรม คือความจริงที่ไม่มีแปรเปลี่ยนเป็นอื่น เป็นอมตะ เป็นนิจธรรม.....สิ่งนี้ลึกซึ้ง ....คุณโฮฮับจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจอย่างนี้ ต้องใช้เวลา และแสดงธรรมมาตามลำดับจึงจะเข้าใจได้

ผมแสดงธรรม ไม่ได้จำเพราะเจาะจง มันเป็นความจริงที่ต้องยอมรับว่า มันมีคนที่มีปัญญา
และไม่มีปัญญา ดังนั้นใครมีปัญญารู้ในส่วนไหนก็รับไป ใครยังไม่มีปัญญาก็ให้รู้ว่าไว้เฉยๆว่า
มันมีธรรมที่ตัวเองยังไม่รู้อีกมาก มันก็แค่นั้น


asoka เขียน:
ทุกขอริยสัจจ์.......เป็นสัจจะข้อที่ 1 ใน 4 ข้อ ของอริยสัจ 4 ประการ ถ้าเข้าใจผิดเพี้ยน ก็อาจทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิได้ดังคุณโฮฮับว่า.....แต่ใครจะเห็นผิดนั้นต้องดูที่การให้คำจำกัดความของ "ทุกขสัจจะ"
s006
พระบรมศาสดาทรงสรุปไว้แล้วว่า.....ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา......ขันธ์ทั้ง 5 เป็นก้อนทุกข์ กองทุกข์
ใครเห็นทุกข์ คือความทนตั้งอยู่ไม่ได้ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นคือเห็นทุกขสัจจะ

ทุกขสัจจะนั้นพระบรมศาสดาไม่ไห้ทำอะไรมาก.....พระองค์ตรัสไว้ว่า....."ทุกข์ ควรกำหนดรู้"....สมุทัย ควรละ....นิโรธ. ทำให้แจ้ง.....มรรค ควรเจริญ...มีงานที่ต้องทำสั้นๆเพียงแค่นี้....อย่าเอามาก ...อย่ามากปริยัติ เพราะอาจทำให้ไขว้เขว

สิ่งที่นำเสนอจึงโปรดพิจารณาให้เป็นที่เข้าใจง่ายในหมู่ผู้คนปกติธรรมดาจึงจะดีนะครับ


สิ่งที่ผมนำเสนอ ถึงแม้จะเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง ผมเห็นว่ามันก็ไม่ได้เป็นโทษ
นั้นเป็นเพราะผมแสดงความเห็นโดยยึดหลักธรรมของพระพุทธเจ้า
ผมไม่ภาษิตสำนวนทางโลกมาเปลี่ยนแปลงพุทธพจน์ หรือมาแนะนำให้คนอื่นปฏิบัติผิด
จากแนวทางที่พุทธองค์ทรงสอน อย่างที่โสกะกำลังทำ

ดันบอกมาได้ว่า คนรู้ปริยัติมากๆคือคนรู้มาก ความหมายของคนรู้มากง่ายๆแค่นี้ยังไม่เข้าใจ
อกุศลไปได้หาว่า คนรู้ปริยัติเป็นคนเห็นแก่ตัวไปได้อย่างไร
เรื่องปฏิบัติก็เหมือนกัน มาแนะนำให้ชาวพุทธปฏิบัติแบบฤษี
ฟั่นเฟือนจนคิดว่า คนที่ยังมีชีวิต จะไม่มีลมหายใจได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2013, 10:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:
อ้างคำพูด:
โสกะจำได้มั้ยผมเคยบอกว่า อริยมรรคมีองค์๘ประการหรือมรรคสมังคี
ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องเป็นพระเสขะหรือเป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้นก่อน
จึงจะสามารถปฏิบัติอริยมรรคมีองค์๘ได้ แต่โสกะก็ดื้อรั้น บอกว่าปุถุชนก็ปฏิบัติได้
ผมก็แนะนำว่าปุถุชนควรหมั่นเจริญสติ เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงเสียก่อน
แต่ยังไงๆ โสกะก็ยังเถียงหัวชนฝาว่า ปุถุชนทำได้ๆๆๆๆๆๆ

:b12: :b12: :b12: :b12:
ในที่สุดก็ยังนำความเห็นผิด ที่สวนทางโลกปกติที่เขารู้เขาเข้าใจและทำกันได้ มาอวดภูมิต่ออีกแล้ว ซ้ำแล้ว ซ้ำอีกด้วย

:b16: :b16:
อ้างคำพูด:
อริยมรรคมีองค์๘ประการหรือมรรคสมังคี
ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องเป็นพระเสขะหรือเป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้นก่อน
จึงจะสามารถปฏิบัติอริยมรรคมีองค์๘ได้


สรุปว่าผู้จะปฏิบัติมรรค 8 ได้ ต้องเป็นอริยบุคคลชั้นต้นหรือพระโสดาบันเสียก่อน

นี่มันอะไรกันนี่?....โฮฮับ

อ้างคำพูด:
การเจริญสติ เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง
นี่ไม่ใช่การเจริญมรรคหรืออย่างไร?
:b10: :b10: :b10: :b10:
s002 s002 s002

คำพูด ความเห็นอย่างนี้มันสวนทางธรรมไปเสียหมดแล้วแต่แรก ความเห็นหรือข้อธรรมดีๆที่คัดลอกมาประกอบเหตุผลของตนให้คนเชื่อก็เลยพลอยมัวหมองตามไปด้วย....อุปมาเหมือนครูขี้เหล้า สอนให้เด็กไม่ดื่มสุรา เปรียบเหมือนครูขี้ยา(บุหรี่) สอนเด็กไม่ให้สูบบุหรี่......ยังงี้มันจะไปไหวรื้อ คุณโฮฮับ
:b6: :b6: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2013, 03:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บอกไม่รู้กี่หนแล้วว่า ความสำคัญของอริยมรรคมีองค์แปดคือ ปัญญาเพื่อเอามาทำสติปัฏฐาน
การทำสติปัฏฐาน ต้องอาศัยการระลึกรู้ปัญญา เพื่อเอาตัวปัญญามาปหานหรือดับกิเลส
ดังนั้นมันต้องมีตัวที่เรียกว่าปัญญาเสียก่อน ตัวปัญญาตัวนี่เรียกว่า.....ไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์เป็นปัญญาหรือญานรู้การเกิดดับของจิต
การได้มาของไตรลักษณ์นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ได้เห็นสภาวะนั้นจริงๆ
เรียกว่าเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นแบบนี้ญานรู้ไตรลักษณ์ก็จะปรากฎ

การรู้ไตรลักษณ์คือการได้เข้ากระแสนิพพานเบื้องต้น
เราเรียกบุคคลประเภทนี้ว่า.......โสดาปฏิมรรค
โสดาปฏิมรรค เป็นผู้ที่ต้องเจริญปัญญาไตรลักษณ์เพื่อความเป็นโสดาปฏิผล เรียกว่า...โสดาบัน

อริยบุคคลหมายถึงบุคคลที่ประหารกิเลสได้แล้ว อันมีพระโสดาเป็นต้น
ผู้เข้ากระแสนิพพานก็คือ อริยมรรคมีองค์๘
การนับบุคคลผู้ซึ่่งปฏิบัติในอริยมรรคมีองค์๘ จึงนับตั้งแต่...โสดาปฏิมรรค
ดังนั้น อริยมรรคมีองค์แปดจึงเป็นเรื่องของ ปุถุชนที่จะข้ามโคตรไปสู่อริยมรรค หรือ อริยบุคคล เพื่อข้ามโคตรไปสู่พระอริยะชั้นสูง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2013, 10:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
บอกไม่รู้กี่หนแล้วว่า ความสำคัญของอริยมรรคมีองค์แปดคือ ปัญญาเพื่อเอามาทำสติปัฏฐาน
การทำสติปัฏฐาน ต้องอาศัยการระลึกรู้ปัญญา เพื่อเอาตัวปัญญามาปหานหรือดับกิเลส
ดังนั้นมันต้องมีตัวที่เรียกว่าปัญญาเสียก่อน ตัวปัญญาตัวนี่เรียกว่า.....ไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์เป็นปัญญาหรือญานรู้การเกิดดับของจิต
การได้มาของไตรลักษณ์นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ได้เห็นสภาวะนั้นจริงๆ
เรียกว่าเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นแบบนี้ญานรู้ไตรลักษณ์ก็จะปรากฎ

การรู้ไตรลักษณ์คือการได้เข้ากระแสนิพพานเบื้องต้น
เราเรียกบุคคลประเภทนี้ว่า.......โสดาปฏิมรรค
โสดาปฏิมรรค เป็นผู้ที่ต้องเจริญปัญญาไตรลักษณ์เพื่อความเป็นโสดาปฏิผล เรียกว่า...โสดาบัน

อริยบุคคลหมายถึงบุคคลที่ประหารกิเลสได้แล้ว อันมีพระโสดาเป็นต้น
ผู้เข้ากระแสนิพพานก็คือ อริยมรรคมีองค์๘
การนับบุคคลผู้ซึ่่งปฏิบัติในอริยมรรคมีองค์๘ จึงนับตั้งแต่...โสดาปฏิมรรค
ดังนั้น อริยมรรคมีองค์แปดจึงเป็นเรื่องของ ปุถุชนที่จะข้ามโคตรไปสู่อริยมรรค หรือ อริยบุคคล เพื่อข้ามโคตรไปสู่พระอริยะชั้นสูง

:b12: :b12: :b12:
แต่งตำราเอาเองใหม่หรือครับ คุณโฮฮับ

คนที่กำลังฝึกฝนปฏิบัติตนให้ถึงความเป็นโสดาบันท่านเรียกว่า..."โสดาปัตติมรรคอาจารอริยะ"

ในอานาปานสติสูตร ท่านกล่าวถึงคุณของการเจริญอานาปานสติไว้ว่า

อานาปานสติที่เจริญได้ดีแล้วย่อมยัง สติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์......สติปัฏฐาน 4 ที่เจริญได้ดีแล้วย่อมทำให้โพชงค์ 7 สมบูรณ์...โพชงค์ 7 ที่เจริญได้ดีแล้ว ย่อมทำให้ วิชชาและวิมุติสมบูรณ์

ไม่เห็นท่านบอกว่า ต้องเจริญมรรค 8 ก่อนแล้วสติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์อย่างที่คุณโฮฮับเข้าใจ


อ้างคำพูด:
โสดาปฏิมรรค เป็นผู้ที่ต้องเจริญปัญญาไตรลักษณ์เพื่อความเป็นโสดาปฏิผล เรียกว่า...โสดาบัน


คำพูดที่อ้างมานี้กำกวมมาก......

ที่ถูกพระโสดาบัน คือท่านผู้ที่เกิดโสดาปัตติมรรคญาณ ประหารสังโยชน์ 3 ตัวขาดสะบั้น เข้าถึงโสดาปัตติผลโดยสมบูรณ์แล้ว จึงจะได้นามว่า "โสดาบันบุคคล"
:b27:
Onion_L
อริยมรรคมีองค์แปดจึงเป็นเรื่องของ ปุถุชนที่จะข้ามโคตรไปสู่อริยมรรค หรือ อริยบุคคล เพื่อข้ามโคตรไปสู่พระอริยะชั้นสูง
:b12: :b12:
คำพูดท่อนนี้ก็มีคำตอบชัดเจนอยู่แล้วว่ "อริยมรรคมีองค์แปดจึงเป็นเรื่องของ ปุถุชนที่จะข้ามโคตรไปสู่อริยชน"
:b41:
โฮฮับพูดเองนะเนียะครับ
:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2013, 03:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
แต่งตำราเอาเองใหม่หรือครับ คุณโฮฮับ
คนที่กำลังฝึกฝนปฏิบัติตนให้ถึงความเป็นโสดาบันท่านเรียกว่า..."โสดาปัตติมรรคอาจารอริยะ"

ทีโสกะบอกว่า "ท่านเรียกว่า โสดาปัตติมรรคอาจารอริยะ" ถามหน่อยครับ "ท่าน" นี่มันใครกันครับ
อย่าอ้างมั่วแบบนี้ครับ มันจะทำให้การสนทนาธรรมด้อยคุณค่าแห่งธรรมครับ
เอะอะก็เอาคำศัพท์โน้นผสมคำศัพท์นี้ แล้วก็มาบอกว่า "ท่านเรียกว่า"
เหลวไหลไม่มีแก่นสารครับ


ปุถุชนทุกคนไม่รู้หรอกว่าสภาพธรรมของพระอริยบุคคลนั้นเป็นอย่างไร
นั้นย่อมไม่รู้ว่า โสดาบันเป็นอย่างไร
ที่ปฏิบัติอยู่นี้เพราะคิดว่า สิ่งที่ว่าจะช่วยให้พ้นทุกข์ เพียงแค่นั้น
แต่จะปฏิบัติถูกหรือผิดก็ไม่รู้ เพราะมันไม่มีปัญญารู้
ซึ่งความเป็นจริงต้องรู้เสียก่อน จึงจะปฏิบัติถูกได้ต้อง

โสดาปฏิมรรคคือผู้รู้แนวทางแห่งอริยมรรคมีองค์แปด เพราะได้เห็นสภาพธรรมตามความจริง
เกิดปัญญาเบื้องต้นแล้ว
แต่นี่เป็นเพียงการรู้ที่ยังไม่ใช่ขั้นการปฏิบัติ มันเพียงปริยัติ
ดังนั้นความหมายของปริยัติที่แท้จริง ก็คือการรู้สภาพธรรมตามจริงหรือปัญญาไตรลักษณ์นั้นเอง
ไม่ใช่ปริยัติแบบที่โสกะเข้าใจผิดๆ แล้วก็เอาไปเที่ยวปรามาสคนอื่น

อริยมรรคมีองค์แปดต้องเข้าตามหลักของปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
ดังนั้นอริยมรรคมีองค์แปด จึงต้องเริ่มด้วยการรู้สภาพธรรมตามความจริง
นั้นก็คือ ต้องเริ่มต้นด้วย ปัญญาไตรลักษณ์
ปุถุชนที่ปฏิบัติโดยขาดปัญญาไตรลักษณ์ จึงไม่เรียก....อริยมรรคมีองค์แปด


มรรคมีองค์แปดที่โสกะว่า ไม่รู้ว่าเป็นมรรคนั้นศาสนาไหน
เพราะมันไม่เข้าหลักปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในพุทธศาสนา
มันจึงไม่ใช่อริยมรรคมีองค์แปดที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2013, 04:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ในอานาปานสติสูตร ท่านกล่าวถึงคุณของการเจริญอานาปานสติไว้ว่า

อานาปานสติที่เจริญได้ดีแล้วย่อมยัง สติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์......สติปัฏฐาน 4 ที่เจริญได้ดีแล้วย่อมทำให้โพชงค์ 7 สมบูรณ์...โพชงค์ 7 ที่เจริญได้ดีแล้ว ย่อมทำให้ วิชชาและวิมุติสมบูรณ์

ไม่เห็นท่านบอกว่า ต้องเจริญมรรค 8 ก่อนแล้วสติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์อย่างที่คุณโฮฮับเข้าใจ



ก่อนจะสนทนาอยากจะแนะนำโสกะสักหน่อยว่า กรุณาแยกแยะบัญญัติ
พิจารณาให้ดีก่อนที่จะใช้ มรรคหรืออริยมรรค
มรรคกับอริยมรรค มันไม่เหมือนกัน พูดให้ดีใช้ให้ถูก ความเข้าใจมันจะได้ตรงกัน

จากความเห็นนี่ของโสกะ มันเป็นความเห็นที่ขาดความเข้าใจธรรมแต่ต้น
จึงโยงธรรมด้วยความสับสนวุ่นวาย ที่รู้ๆไม่รู้หลักของ โพธิปักขิยธรรม
อ่านบัญญัติโดยขาดปัญญา จึงทำให้สับสนในบัญญัติ

ไม่เข้าใจในไตรสิกขา จึงทำให้เกิดวิจิกิจฉาใน อานาปานสติและอริมรรคมีองค์๘

โสกะฟังให้ดีตั้งใจอ่านน่ะ อริยมรรคมีทั้งหมด๘องค์
การปฏิบัตินั้น หมายความว่า เราต้องปฏิบัติให้ถึงพร้อมทั้งอริยมรรคทั้งแปด
นั้นคือ สัมมาทิฐิ..สัมมาสังกัปปะ...สัมมาวาจา...สัมมากัมมันตะ...สัมมาอาชีวะ...
สัมมาวายามะ...สัมมาสติ....สัมมาสมาธิ

ในสัมมาแต่ละองค์ ต้องอาศัยการปฏิบัติให้ได้มาแห่งอริยมรรคในแต่ละองค์
นั้นคือ สัมมาทิฐิย่อมต้องมีมรรคของสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะย่อมต้องมีมรรคในสัมมาสังกัปปะ
และองค์อริยมรรคอื่นก็เช่นกัน

ทั้งอานาปานสติ สติปัฏฐานสี่ โพชฌงค์เจ็ด
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอริยมรรคต้องเจริญเพื่อถึงพร้อมแห่งอริยมรรคมีองค์๘ เรียกอีกอย่างว่า...
มรรคสมังคี นั้นคือการทำให้การทำให้อริยมรรคทั้ง๘เกิดขึ้นพร้อมกัน
เมื่ออริยมรรคมีองค์แปดเกิดพร้อมกัน ปัญญาวิมุตติย่อมเกิดขึ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 34 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร