วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 18:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สปฺปาย ปริคฺคณฺหนํ สปฺปายสมฺปชญฺญํ นาม ฯ

ธรรมชาติ(ปัญญา) ที่ กำหนด แต่การที่ควรนั้น ได้นามว่า สัปปายสัมปชัญญะ
กมฺมฏฺฐานสฺส ปน อวิชหน เมว โคจรสมฺปชญฺญํ นาม ฯ

การเจริญที่มิให้ พ้นจากอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ได้นามว่า โคจรสัมปชัญญะ
อภิกฺกมาทีสุ อสมฺมุยฺหนํ อสมฺโมหสมฺปชญฺญํ นาม ฯ

ธรรมชาติ(ปัญญา) ที่รู้ในการเคลื่อนไหว โดยปราศจากการเคลือบแคลงนั้น ได้นามว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ ดังนี้ จึงแสดงความหมายแห่งสัมปชัญญะ ๔ นี้ โดยย่อ ๆ ว่า
๑. สัตถกสัมปชัญญะ พินิจประโยชน์ รู้แน่ว่ามีประโยชน์จึงทำ
๒. สัปปายสัมปชัญญะ พินิจถึงการควร รู้แน่ว่าควรทำจึงทำ
๓. โคจรสัมปชัญญะ พินิจในอารมณ์ ไม่ให้คลาดไปจากอารมณ์กัมมัฏฐาน นั้น ๆ
๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ พินิจถึงไตรลักษณ์ รู้การเคลื่อนไหวโดยปราศจาก การเคลือบแคลง
การตั้งสติพินิจกาย ที่เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นวิธีการเบื้องต้น ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้เห็นรูปธรรม
อันว่า กาย คือ รูปกายหรือสังขารนี้ เป็นที่ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ คือ รูปธรรม ที่มีชื่อเรียกว่า กัมมชรูป ประการหนึ่ง จิต ที่มีชื่อเรียกว่า วิบากจิต ประการหนึ่ง และ เจตสิก ที่ประกอบกับจิตนั้น อีกประการหนึ่ง
ในชั้นต้นนี้ ให้กำหนดดูเฉพาะรูปธรรมแต่อย่างเดียวก่อน เพราะรูปเป็นของ หยาบ เห็นได้ง่าย ยังไม่ต้องพินิจพิจารณาจิตและเจตสิก ซึ่งเห็นได้ยากกว่า
การกำหนดดูรูป ก็เพื่อจะได้รู้เห็นว่า ตามที่ได้เคยยึดถือรูปกายนี้ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลมีตัวตนเราเขานั้น แท้ที่จริงก็เป็นแต่เพียงรูปธรรมมาประชุมร่วมกันเป็น รูปกาย แม้การเคลื่อนไหวกาย เช่นการเดิน เป็นต้น ก็สักแต่ว่าที่ประชุมแห่งรูป คือ รูปกายนี้ สังขารนี้ กัมมชรูปนี้ เคลื่อนไหวไปด้วยอำนาจแห่งวาโยธาตุ ซึ่งก็เป็นรูป อีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากจิต หาใช่ว่าเราเดินเขาเดินไม่ การรู้เช่นนี้ ชื่อว่าได้เกิดปัญญา รู้เห็นถูกต้องตรงตามสภาพแห่งความเป็นจริงส่วนหนึ่งแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ว่าการเคลื่อนไหวกายเช่น การเดิน เป็นต้น เคลื่อนไหวไปด้วยอำนาจแห่ง วาโยธาตุนั้น สติปัฏฐานอรรถกถาแสดงว่า
การเดิน จิตฺตกฺริยวาโยธาตุ วิปฺผาเรน สกลกายสฺส ปุรโต อภินิหาโร คมนนฺติ วุจฺจติ ฯ วาโยธาตุอันเกิดแต่จิต ที่ซ่านไปทั่วสกลกาย ยังให้เคลื่อนไหว นั้น เรียกว่า เดิน (คมนะ)
โก คจฺฉติ ใครเดิน ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ เดิน
กสฺส คมนํ อาการเดินของใคร อาการของจิตตชวาโยธาตุ
กึ กรณา คจฺฉติ เดินเพราะเหตุใด เพราะอำนาจของจิตตชวาโยธาตุ
การยืน จิตฺตกฺริยวาโยธาตุ วิปฺผาเรน สกลกายสฺส โกฏิโต ปฏฺฐาย อุสฺสิต ภาโว ฐานนฺติ วุจฺจติ ฯ วาโยธาตุอันเกิดแต่จิต ที่ซ่านไปทั่วสกลกายยังให้เคร่งตึง นั้น เรียกว่า ยืน (ฐานะ)
โก ติฏฺฐติ ใครยืน ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ ยืน
กสฺส ติฏฺฐนํ อาการยืนของใคร อาการของจิตตชวาโย
กึ กรณา ติฏฺฐติ ยืนเพราะเหตุใด เพราะอำนาจของจิตตชวาโยธาตุ
การนั่ง จิตฺตกฺริยวาโยธาตุ วิปฺผาเรน เหฏฺฐิมกายสฺส สมิญฺชนํ อุปริม กายสฺส อุสฺสิตภาโว นิสชฺชนาติ วุจฺจติ ฯ วาโยธาตุอันเกิดแต่จิต ที่ซ่านไปทั่ว สกลกาย ยังให้ส่วนล่างจด และส่วนบนตั้งตรงนั้น เรียกว่า นั่ง (นิสัชชะ)
โก นิสีทติ ใครนั่ง ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ นั่ง
กสฺส นิสีทนํ อาการนั่งของใคร อาการของจิตตชวาโยธาตุ
กึ กรณา นิสีทติ นั่งเพราะเหตุใด เพราะอำนาจของจิตตชวาโยธาตุ
การนอน จิตฺตกฺริยวาโยธาตุ วิปฺผาเรน สกลสรีรสฺส ติริยโต นิสารณํ สยนนฺติ วุจฺจติฯ วาโยธาตุอันเกิดแต่จิต ที่ซ่านไปทั่วสกลกาย ยังให้ยาวเหยียด นั้น เรียกว่า นอน (สยนะ)
โก สยติ ใครนอน ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ นอน
กสฺส สยนํ อาการนอนของใคร อาการของจิตตชวาโยธาตุ
กึ กรณา สยติ นอนเพราะเหตุใด เพราะอำนาจของจิตตชวาโยธาตุ
ที่แสดงเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้ตระหนักว่า การเดิน ยืน นั่ง นอน นั้นเป็นแต่ ความเคลื่อนไหวอันเกิดจากธาตุลมที่มีอยู่ในร่างกาย โดยบัญชาของจิตสั่งให้เป็นไป ไม่มีตัวตน บุคคลสัตว์มาบงการให้เป็นไปแต่อย่างใด อุปมาเช่นเดียวกันกับที่เห็น รถยนต์แล่นไปมา ซึ่งความจริงที่รถแล่นไปมาได้นั้น ไม่ใช่ความสามารถของรถยนต์ หากแต่รถนั้นแล่นไปมา
ด้วยอำนาจของเครื่องจักรกลที่มีอยู่ในตัวรถ โดยมีผู้ขับคอย บังคับบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการฉันใด สังขารร่างกายนี้ที่เคลื่อนไหวได้ ก็ อุปไมยฉันนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งใน ทีฆนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงไว้ว่า
อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา
โทมนสฺสํฯ
แปลความว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันว่าภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณากาย ในกายอยู่
เป็นผู้มีความขะมักเขม่น รู้ตัวอยู่ มีสติอยู่ ย่อมกำจัดซึ่ง อภิชฌาและ โทมนัส ในโลกเสียได้


อิติ อชฺฌตฺตํ วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ พหิทฺธา วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อชฺฌตฺตพหิทฺธา
วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ฯลฯ
แปลความว่า ภิกษุนั้น เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นภายในอยู่ด้วย ประการดังนี้ก็ดี พิจารณาเห็น
กายในกายอันเป็นภายนอกอยู่ก็ดี พิจารณาเห็นกายใน กายทั้งที่เป็นภายใน ทั้งที่เป็นภายนอกอยู่ก็ดี ฯลฯ
คำว่า " กายในกาย " และคำว่า “กายในกายอันเป็นภายใน กายในกายอันเป็น ภายนอก” นี้ มีอธิบายกัน
เป็นหลายนัย เป็นต้นว่า
๑. กาเย กายานุปัสสี เห็นกายในกาย คำว่า กาเย หมายถึง รูปกาย คือ กัมมชรูปนี้ สังขารนี้ ซึ่งมีทั้งจิต
เจตสิก และรูป ส่วนคำว่า กายานุปัสสี หมาย เพียงให้เห็นให้กำหนดดูแต่รูปธรรมเท่านั้น คือให้กำหนดดู
เฉพาะรูปอย่างเดียว ไม่ใช่ให้ดูจิต เจตสิก ที่มีอยู่ในสังขารร่างกายนี้ด้วย
๒. กายในกาย หมายตรง ๆ ว่า รูปในรูป ซึ่งกล่าวเฉพาะรูปธรรมที่มีใน สังขารร่างกาย คือ กัมมชรูปนี้ ก็
มากมายหลายรูป แต่ก็ให้ดูเพียงรูปเดียวในหลาย ๆ รูปนั้น เช่นการพิจารณาลมหายใจเข้าลมหายใจออก
ก็ได้กำหนดดูวาโยธาตุแต่รูป เดียวหรือกำหนดความเย็นความร้อนของลมหายใจ คือเตโชธาตุ แต่รูป
เดียวเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ในทำนองเดียวกัน กับการพิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ถ้า พิจารณาอิริยาบถเดิน คือการเคลื่อนไปแห่งสังขารร่างกายนี้ ก็ให้กำหนดดูวาโยธาตุ แต่รูปเดียว ซึ่งเป็นรูปที่สามารถทำให้กัมมชรูป คือสังขารร่างกายนี้เคลื่อนไหวไปได้
๔. แม้ในอิริยาบถเดิน ซึ่งมีวาโยธาตุสามารถทำให้รูปกายเคลื่อนไปได้นั้น ก็ ยังมีรูปที่อุปการะให้สำเร็จในการเดินอีกหลายรูป คือ เวลายกเท้าขึ้นก็ยกด้วยอำนาจ แห่งเตโชธาตุ เวลาเคลื่อนเท้าก้าวสืบไป ก็ด้วยอำนาจแห่งวาโยธาตุ เวลาที่หย่อน เท้าลงยังพื้น ก็ด้วยอำนาจแห่งอาโปธาตุ และเวลาที่เหยียบเท้าลงถึงพื้น ก็ด้วย อำนาจแห่งปฐวีธาตุ กล่าว
อย่างสั้น ๆ ให้จำได้ง่าย ๆ ก็ว่า ยกไฟ ไปลม จมน้ำ ย่ำดิน ดังนี้ จะเห็นได้ว่า ให้กำหนดดู วาโยธาตุแต่
รูปเดียวในรูปทั้งหลาย ที่กล่าวแล้วนี้
๕. ส่วนคำว่า กายในกายอันเป็นภายใน และกายในกายอันเป็นภายนอกนั้น เช่นการพิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออกที่เป็นไปในรูปกายนี้ ก็เป็นภายใน ลม หายใจเข้าลมหายใจออกที่เป็นไปในรูปกายอื่น ก็เป็นภายนอก ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็เป็นไปในสังขารนี้เป็นฉันใด ที่เป็นไปใน สังขารอื่นก็เป็นฉันนั้น ดังนี้เป็นต้น

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง
เวทนา คือ เวทนา ขันธ์ อันมี ๙ บรรพ ได้แก่
บรรพที่ ๑ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง สุขเวทนา
บรรพที่ ๒ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง ทุกขเวทนา
บรรพที่ ๓ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง อุเบกขาเวทนา
บรรพที่ ๔ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิส (สามิสสสุข)
บรรพที่ ๕ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิส (สามิสสทุกข)
บรรพที่ ๖ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง อุเบกขาที่เจือด้วยอามิส (สามิสสอทุกขมสุข)
บรรพที่ ๗ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง สุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส (นิรามิสสสุข)
บรรพที่ ๘ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส (นิราสมิสสทุกข)
บรรพที่ ๙ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง อุเบกขาเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส (นิรามิสสอทุกขมสุข)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อามิส แปลว่า สิ่งของ เครื่องล่อใจ เหยื่อ แต่ในที่นี้หมายถึงกิเลส ดังนั้น ในที่บางแห่งจึงเรียกว่า สุขเวทนาที่เจือด้วยกิเลส ทุกขเวทนาที่เจือด้วยกิเลส ฯลฯ บ้างก็เรียกว่า สุขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ ทุกขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ ฯลฯ เพราะ โดยส่วนมาก กามคุณย่อมเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส
สุขเวทนาที่เกิดขึ้นด้วยสมถภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนาก็ดี ทุกขเวทนาที่เกิด ขึ้นจากสภาพแห่งสังขารก็ดี และอุเบกขาเวทนาซึ่งเกิดมีความสงบจากอารมณ์ของ สมถะหรือวิปัสสนาก็ดี จัดว่าเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา ที่ไม่เจือ ด้วยอามิส
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้ง ๙ บรรพนี้ ใช้ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา แต่ อย่างเดียว จะเพ่งเวทนาโดยความเป็นอารมณ์ของสมถภาวนา เพื่อให้เกิดฌานจิตนั้น ไม่ได้
การตามพิจารณาเวทนา ก็เพื่อให้รู้เห็นประจักษ์ชัดว่าทุกข์สุขที่กำลังเกิดอยู่นั้น เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีรูปร่างสัณฐานที่ให้เห็นได้ด้วยนัยตา เป็นธรรมชาติที่ ไม่ใช่รูป แต่เรียกว่า นาม คือ นามเจตสิก
เวทนานี้ไม่ใช่เรา และเราก็ไม่ใช่เวทนา ต่อเมื่อมีเหตุ มีปัจจัย เวทนาก็เกิดขึ้น ก็ปรากฏขึ้น จะห้ามไม่ให้เกิด ก็ห้ามไม่ได้ ครั้นหมดเหตุ หมดปัจจัยแล้ว เวทนา ก็ดับไปเอง ไม่ดำรงคงอยู่ตลอดไป
ความรู้ในเวทนาดังกล่าวนี้แหละที่เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อัน เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาภาวนา ซึ่งมีความสามารถประหารสักกายทิฏฐิได้
ความจริงเวทนานี้ก็เกิดอยู่เสมอทุกขณะ ไม่มีว่างเว้นเลย ชนทั้งหลายก็รู้สึก ทุกข์หรือสุขอยู่ แต่ว่าไปยึดถือว่า เราทุกข์เราสุข จึงไม่อาจที่จะละสักกายทิฏฐิได้เลย ดังนี้ไม่เรียกว่า เวทนานั้นเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน หรือเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาภาวนา

เวทนา กล่าวตามนัยแห่งเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็จัดเป็น ๙ บรรพ ดังที่ ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น
แต่เมื่อกล่าวโดยองค์ธรรม ก็ได้แก่ เจตสิกดวงเดียวที่ชื่อว่า เวทนาเจตสิก
ดังนั้น เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่ว่ามี ๙ บรรพนั้น จึงนับว่ามีบรรพ เดียวก็ได้ โดยอาศัยนับตามนัยแห่งองค์ธรรม ซึ่งมีเพียง ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ในเรื่องเวทนาในเวทนาก็ดี เวทนาในเวทนาอันเป็นภายใน เวทนาใน เวทนาอันเป็นภายนอกก็ดี ก็มีนัยทำนองเดียวกับกายในกายที่กล่าวมาแล้ว คือ
เมื่อกำหนดพิจารณาอยู่เนือง ๆ ย่อมทราบว่า ขณะที่เสวยทุกขเวทนาอยู่ ขณะ นั้นก็ไม่มีสุขและไม่ใช่อุเบกขา
เวลาที่กำลังมีสุขเวทนาอยู่ เวลานั้นก็ไม่มีทุกข์ และไม่ใช่อุเบกขาด้วย
ครั้นเมื่อใดเป็นอุเบกขาอยู่ เมื่อนั้นก็ไม่ทุกข์และไม่สุขด้วย
ดังนี้ก็ปรากฏชัดว่า เวทนานี้เวลาเกิดขึ้นก็เกิดแต่อย่างเดียว เกิดทีละอย่างใน เวทนาที่มีหลายอย่าง นี่แหละเป็นการพิจารณาเวทนาหนึ่งซึ่งกำลังเกิดมีอยู่ อันเป็น เวทนาเดียวในเวทนาทั้งหลาย
เวทนาที่เกิดแก่สังขารร่างกายนี้ ก็เป็นภายใน เวทนาที่เกิดแก่สังขารร่างกาย อื่น ก็เป็นภายนอก
เวทนาเกิดแก่รูปกายนี้เป็นฉันใด เวทนาที่เกิดแก่รูปกายอื่น ก็เป็นฉันนั้น

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง จิต คือ วิญญาณ ขันธ์ อันมี ๑๖ บรรพ ได้แก่
บรรพที่ ๑ สราค คือจิตที่ มีราคะ
บรรพที่ ๒ วีตราค คือจิตที่ ไม่มีราคะ
บรรพที่ ๓ สโทส คือจิตที่ มีโทสะ
บรรพที่ ๔ วีตโทส คือจิตที่ ไม่มีโทสะ
บรรพที่ ๕ สโมห คือจิตที่ มีโมหะ
บรรพที่ ๖ วีตโมห คือจิตที่ ไม่มีโมหะ
บรรพที่ ๗ สงฺขิตฺต คือจิตที่ มีถีนมิทธะ
บรรพที่ ๘ วิกฺขิตฺต คือจิตที ฟุ้งซ่าน
บรรพที่ ๙ มหคฺคต คือจิตที่ เป็นรูปาวจร อรูปาวจร
บรรพที่ ๑๐ อมหคฺคต คือจิตที่ ไม่ใช่รูปาวจร อรูปาวจร (หมายถึง กามาวจร)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


บรรพที่ ๑๑ สอุตฺตร คือจิตที่ เป็นกามาวจร
บรรพที่ ๑๒ อนุตฺตร คือจิตที่ ไม่ใช่โลกุตตร (หมายถึง รูปาวจร และ อรูปาวจร)
บรรพที่ ๑๓ สมาหิต คือจิตที่ เป็นสมาธิ
บรรพที่ ๑๔ อสมาหิต คือจิตที่ ไม่เป็นสมาธิ
บรรพที่ ๑๕ วิมุตฺติ คือจิตที่ ประหารกิเลส พ้นกิเลส
บรรพที่ ๑๖ อวิมุตฺติ คือจิตที่ ไม่ได้ประหารกิเลส ไม่พ้นกิเลส
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้ง ๑๖ บรรพนี้ ไม่ได้กล่าวถึงโลกุตตรจิตด้วยเลย เพราะโลกุตตรจิตนั้นจะใช้เป็นอารมณ์แห่งสติปัฏฐานไม่ได้ ด้วยเหตุว่าโลกุตตรจิต ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ เหมือนจิตอื่น ๆ ซึ่งจิตอื่น ๆ นั้นเกิดขึ้นบ่อย ๆ เมื่อจิตใดกำลัง เกิดอยู่ ก็ใช้จิตนั้นเป็นอารมณ์ในการเจริญสติปัฏฐาน คือพิจารณาจิตนั้น อีกประการ หนึ่ง โลกุตตรจิต ไม่ใช่อุปาทานขันธ์ จึงใช้เป็นอารมณ์วิปัสสนาไม่ได้

จิตทั้ง ๑๖ บรรพนี้ ใช้เป็นอารมณ์แห่งสติปัฏฐานในการเจริญวิปัสสนาภาวนา เว้นแต่
อากาสานัญจายตนกุสลจิต ๑ กิริยาจิต ๑ อากิญจัญญายตนกุสลจิต ๑ กิริยา จิต ๑ รวมมหัคคตจิต ๔ ดวงนี้เท่านั้น ที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถภาวนา ได้ด้วย
ที่กำหนดพิจารณาจิตเหล่านี้ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ก็เพื่อให้รู้เท่าทันว่า จิตที่กำลังเกิดอยู่นั้นเป็นจิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง จิตฟุ้งซ่าน หรือเป็นจิตชนิดใด เมื่อรู้ประจักษ์ชัดเช่นนี้ ก็ทำให้เกิดความรู้ต่อไปว่า ที่โลภ ที่โกรธ ที่หลงนั้น เป็นอาการของจิต หาใช่ว่าเราโลภ เราโกรธ เราหลงไม่ เพราะจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา และ เราก็ไม่ใช่จิต จะห้ามไม่ให้จิตอย่างนั้นเกิด ให้เกิดแต่จิตอย่างนี้เถอะก็ไม่ได้เลย จิต ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยที่มาปรุงแต่ง เหตุปัจจัยที่มาปรุงแต่งจิตมีสภาพอย่าง ใด จิตก็มีอาการเป็นไปอย่างนั้น เมื่อหมดเหตุหมดปัจจัยจิตก็ดับไป
จิตเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่มีรูปร่างตัวตน เห็นด้วยนัยน์ตาก็ไม่ได้ เป็น ธรรมชาติที่ไม่ใช่รูป แต่เป็น
ธรรมชาติที่เรียกว่า นาม คือ นามจิต
ความรู้ในจิตดังกล่าวนี้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอันเป็น อารมณ์ของวิปัสสนาภาวนา ซึ่งมีความสามารถที่จะละสักกายทิฏฐิ คือ ความยึดถือ ว่าเป็นจิตเราจิตเขานั้นเสียได้ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๖ บรรพนี้ นับว่ามี ๑ บรรพก็ได้ โดยอาศัยนับ ตามลักษณะของจิต ซึ่งมีสภาพที่รับรู้อารมณ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น
ในเรื่องที่ว่า จิตในจิต จิตในจิตอันเป็นภายใน จิตในจิตอันเป็นภายนอก ก็มี นัยเป็นทำนองเดียวกันกับ
กายในกาย เวทนาในเวทนา ดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้น นั้น จึงไม่ต้องกล่าวซ้ำในที่นี้อีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งธรรมมี ๕ บรรพ คือ
บรรพที่ ๑ นิวรณ์ ๕
บรรพที่ ๒ ขันธ์ ๕
บรรพที่ ๓ อายตนะ ๑๒
บรรพที่ ๔ โพชฌงค์ ๗
บรรพที่ ๕ อริยสัจจ ๔
นิวรณ์ ๕ ได้กล่าวแล้วข้างต้นในอกุสลสังคหะ อันเป็นสังคหะแรกของ ปริจเฉทนี้
ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒ และ อริยสัจ ๔ จะกล่าวต่อไปในสัพพสังคหะ อันเป็นสังคหะสุดท้ายของปริจเฉทนี้
โพชฌงค์ ๗ ก็จะได้กล่าวในโพธิปักขิยสังคหะ ที่กำลังกล่าวอยู่นี่แหละ
สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งนิวรณ ๕ นั้น เช่น กามฉันทะ หรือ อุทธัจจะ เกิดขึ้น ก็ให้รู้ทันในทันใดนั้นว่า กามฉันทะหรืออุทธัจจะเกิดขึ้น เมื่อดับไป ก็ให้รู้ ทันในทันทีว่า ดับไป
สติตั้งมั่นในการพิจารณา อุปาทานขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, โพชฌงค์ ๗ หรือ อริยสัจจ ๔ นั้น เมื่อธรรมใด
ปรากฏขึ้น ก็ให้รู้ทันว่า ธรรมนั้น ๆ เกิดขึ้น เมื่อธรรม ที่เกิดขึ้นนั้นดับไป ก็ให้รู้ทันว่าธรรมนั้น ๆ ดับไป ทำนองเดียวกัน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้ในการเจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียว เป็น การพิจารณาให้รู้ให้เห็นทั้งรูป ทั้งนาม จึงกล่าวได้ว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้ง ๓ นี้ ย่อมรวมลงได้ ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ทั้งสิ้น ดังนั้น ข้อความและความหมายต่าง ๆ ใน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็เป็นไปตามนัยแห่ง กาย เวทนา จิต ที่กล่าวมาแล้วนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน ๔ นี้ สรุปความได้โดยย่อว่า
การเจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อให้เกิดปัญญารู้เห็นว่า กายก็สักแต่ว่ากาย เวทนา ก็สักแต่ว่าเวทนา จิตก็สักแต่ว่าจิต ธรรมก็สักแต่ว่าธรรม ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา แม้ญาณความรู้นั้น ก็เพียงสักแต่ว่ารู้ สติที่ระลึก ก็เพียงแต่ว่า
อาศัย ระลึก ไม่อิงอาศัย ตัณหา ความอยาก และ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ไม่ยึดมั่นถือมั่นใน สิ่งหนึ่งสิ่งใด กล่าวคือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า เอตํ มม นั่นเป็นของเรา(ยึดมั่นใน ตัณหา) เอโสหมสฺมิ เราเป็นนั่น(ยึดมั่นในมานะ) เอโส เม อตฺตา นั่นเป็น
ตัวของเรา(ยึดมั่นในทิฏฐิ) อย่างนี้แหละจึงจะเรียกว่า เจริญสติปัฏฐาน
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณารูปธรรม เมื่อกำหนดจนเกิดปัญญารู้แจ้ง เห็นชัดในรูปก็เรียกว่าถึง รูปปริจเฉทญาณ
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณานามธรรม คือ นามเจตสิก เมื่อ กำหนดจนเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นชัดในนามเจตสิก ก็เรียกว่าถึง นามปริจเฉทญาณ
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณานามธรรม คือ นามจิต เมื่อกำหนดจน เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นชัดใน
นามจิต ก็เรียกว่าถึง นามปริจเฉทญาณ
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณาทั้งรูปธรรมและนามธรรม เมื่อกำหนด จนเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นชัดทั้งรูปทั้งนาม ซึ่งแยกจากกันได้ว่าเป็นคนละสิ่งคนละส่วน รูปอยู่ส่วนรูป นามเป็นส่วนนาม ไม่ปะปนกัน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน รู้เห็นเช่นนี้แล้วก็ เรียกว่าถึง นามรูปปริจเฉทญาณ อันเป็นญาณต้นแห่ง โสฬสญาณ คือ ญาณ ๑๖ ซึ่งเป็นทางให้
บรรลุถึง มัคคญาณ ผลญาณต่อไป

อารมณ์ของสติปัฏฐาน

๑. มนฺทสฺส ตณฺหาจริตสฺส โอฬาริกํ กายานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิ มคฺโค ฯการพิจารณา
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์หยาบ เป็นเหตุแห่ง ความบริสุทธิ์จากกิเลสแก่มันทะบุคคลที่มีตัณหาจริต
๒. ติกฺขสฺส สุขุมํ เวทนานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโคฯ การพิจารณา เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งอารมณ์ละเอียดสุขุม เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิจาก กิเลส แก่ติกขะบุคคลที่มีตัณหาจริต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ทิฏฺฐิจริตสฺสปิ มนฺทสฺส นาติปฺปเภทคตํ จิตฺตานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโค ฯ การพิจารณาจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์ไม่กว้างขวางนัก เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์จากกิเลส แก่มันทะบุคคลที่มีทิฏฐิจริต
๔. ติกฺขสฺส ทิฏฺฐิจริตสฺส อติปฺปเภทคตํ ธมฺมานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโค ฯ การพิจารณา
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์กว้างขวางมาก เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิจากกิเลส แก่
ติกขะบุคคลที่มีทิฏฐิจริต
๕. ยสฺมา ปน กายเวทนาจิตฺตธมฺเมสุ กิญฺจิ ธมฺมํ อนามสิตฺวา ภาวนา นาม นตฺถิ ตสฺมา กิญฺจิ
ธมฺมํ มนสิกาตพฺพํ ฯ บุคคลผู้ต้องการ มัคค ผล ถ้าไม่ เอาใจใส่พิจารณาธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดา กาย เวทนา จิต ธรรม จะได้ชื่อ ว่า ทำมัคคญาณให้เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้ปรารถนา
มัคคผล ควรเอาใจใส่ พิจารณาสติปัฏฐานทั้ง ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง
๖. อยญฺหิ มคฺโค ภาวิโต อนุปุพฺเพน นิพฺพานสจฺฉิกิริยํ สาเธติฯ หนทาง คือ สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้แล
เมื่อบุคคลอบรมทำให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง พระนิพพาน ให้สำเร็จได้โดยลำดับ
ติกขะบุคคล ผู้รู้เร็ว มันทะบุคคล ผู้รู้ช้า ทั้ง ๒ นี้ต่างก็เป็น ติเหตุกปฏิสนธิบุคคลอย่างเดียวกัน คือ
เป็นผู้ที่มีปัญญามาแต่กำเนิดเหมือนกัน เพียงแต่ว่าปัญญา นั้นกล้าหรืออ่อนกว่ากันไปหน่อยหนึ่ง
เท่านั้นเอง การรู้เร็วหรือรู้ช้านี้มีแสดงไว้อีก นัยหนึ่งว่า
ก. อุคฆฏิตัญญูบุคคล คือผู้ที่มีอุปนิสัยบารมีแก่กล้ายิ่ง สามารถรู้ธรรมพิเศษ ได้โดยพลัน เพียงแต่
ได้ฟังพระธรรมเทศนาโดยสังเขป ก็ตรัสรู้มัคคผลนิพพาน อุปมาบุคคลจำพวกนี้ว่าเหมือนดอกบัวที่
ขึ้นพ้นจากน้ำแล้ว คอยรับแสงอาทิตย์อยู่ เมื่อได้รับแสงอาทิตย์ ก็จะบานในวันนั้นเอง
ข. วิปจิตัญญูบุคคล คือผู้มีอุปนิสัยบารมีพอปานกลาง ต่อเมื่อได้จำแนก อรรถาธิบายแห่งพระธรรม
เทศนานั้น ๆ ให้พิสดารออกไป จึงจะสามารถรู้ธรรม พิเศษนั้น ๆ จนตรัสรู้มัคคผลนิพพานได้ อุปมา
บุคคลจำพวกนี้ว่า เหมือนดอกบัวที่ เพิ่งโผล่ขึ้นมาเสมอผิวน้ำ อันจะบานต่อเมื่อถึงวันรุ่งขึ้น
ค. เนยยบุคคล คือ ผู้ที่มีอุปนิสัยบารมีน้อยหน่อย แม้จะได้สดับพระธรรม เทศนาอย่างพิสดาร
ก็ยังไม่เห็นแจ้งในธรรมนั้น ต้องกระทำมนสิการด้วยอุบาย ปัญญา สมาคมคบหาด้วยกัลยาณมิตร
บำเพ็ญกิจอย่างพากเพียร เล่าเรียนสมถะ วิปัสสนาด้วย ความอุตสาห จึงจะสำเร็จมัคคผล เปรียบ
บุคคลจำพวกนี้ว่า เหมือน ดอกบัว ที่ยังอยู่ใต้น้ำ ซึ่งมีโอกาสที่จะบานได้เหมือนกัน แต่ว่านานวัน
สักหน่อย
ง. อภัพพบุคคล คือ ผู้ที่มีอุปนิสัยบารมียังไม่สมบูรณ์ แม้จะพากเพียรสัก เพียงไร ก็ไม่อาจที่จะรู้ธรรมพิเศษในชาตินั้นได้เลย แต่ก็จะเป็นนิสัยปัจจัยต่อไปใน ภายภาคหน้า เปรียบบุคคลจำพวกนี้ว่า เหมือนดอกบัวที่ยังไม่ทันจะได้โผล่พ้นเปือก ตมขึ้นมาด้วยซ้ำไป รังแต่จะเป็นอาหารของเต่าปลา
เพื่อให้เห็นได้ง่ายว่า สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้มี อารมณ์ อะไรเป็นที่อาศัย พิจารณา นิมิต (คือเครื่องหมาย) อันเกิดจากการพิจารณา, วิปัลลาสธรรม (คือสิ่งที่ทำให้ เห็นวิปลาสไป) ที่ประหารได้ และ ปปัญจธรรม (คือสิ่งที่ทำให้เนิ่นช้า)อันเป็นตัว การที่ก่อให้เกิดการวิปลาสไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ธรรมของสติปัฏฐาน
องค์ธรรมของสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ได้แก่ สติเจตสิก
ตามสัมปโยคนัยนั้น สติเจตสิกประกอบกับจิตที่เป็นโสภณได้ทั้งหมด คือ ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง

แต่สติเจตสิก ในสติปัฏฐานนี้ได้แก่ สติเจตสิกที่ประกอบกับติเหตุกชวนจิต ๓๔ ดวง เท่านั้น
ส่วนสติเจตสิกที่ประกอบกับจิตที่เป็น มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ , มหากิริยา ญาณวิปปยุตต ๔, มหาวิบาก ๘, มหัคคตวิบาก ๙ รวมจิต ๒๕ ดวงนี้ เป็น สติปัฏฐานไม่ได้ เพราะ
ก. สติเจตสิกที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔, มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ นั้น เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา จึงไม่สามารถกำหนดให้ระลึกรู้ และตั้งมั่นใน อารมณ์อันเป็นหน้าที่ การงานของสติปัฏฐานนั้นให้ถึงนามรูปปริจเฉทญาณได้ เหตุนี้จึงเป็นสติปัฏฐานไม่ได้
แต่อีกนัยหนึ่งแสดงว่า แม้สติเจตสิกที่ประกอบกับจิตที่เป็นมหากุสลญาณ วิปปยุตต ๔ และมหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ ก็จัดเป็นสติปัฏฐานได้ เพราะการ เจริญสติปัฏฐานนั้น มิใช่ว่าจิตจะเป็นมหากุสลญาณสัมปยุตตอยู่เสมอตลอดไป ย่อมต้อง มีจิตที่เป็นญาณวิปปยุตตบ้าง สัมปยุตตบ้าง สลับกันไป ดังนั้นสติเจตสิกที่ ประกอบกับจิตมหากุสลญาณวิปปยุตตที่เกิดขึ้นในขณะที่เจริญสติปัฏฐาน จึงนับว่า เป็นสติปัฏฐานได้ ส่วนการที่จะเจริญได้ผลเพียงใดหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ต่างหาก
ส่วนมหากิริยาญาณวิปปยุตตจิต ๔ จะเกิดขึ้นในขณะใด จึงจะนับว่าเป็นสติปัฏฐานได้อย่างไรหรือไม่ ยังไม่พบคำอธิบาย

ข. สติเจตสิกที่ในมหาวิบากจิต ๘ มีหน้าที่ทำ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ และ ตทาลัมพนกิจ ไม่ได้ทำ
หน้าที่ระลึกรู้อารมณ์ และตั้งมั่นในอารมณ์เพื่อให้เห็น รูปนาม อันเป็นหน้าที่การงานของสติปัฏฐาน คือ ชวนจิต ดังนั้นจึงเป็นสติปัฏฐาน ไม่ได้
ค. สติเจตสิกที่ในมหัคคตวิบากจิต ๙ ก็เช่นเดียวกัน มีหน้าที่การงานทำ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และ จุติกิจเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่ รู้เห็นรูปนาม อันเป็นการ งานของสติปัฏฐาน คือ ชวนกิจแต่อย่างใดเลย จึงเป็นสติปัฏฐานไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน กับ สติสัมปชัญญะ

สติปัฏฐานคือสติพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งมี ความหมายว่า ให้พินิจในธรรมเหล่านั้น เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นรูปเห็นนาม โดยความ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

สติสัมปชัญญะ ก็หมายถึงว่าให้พินิจในประโยชน์ ให้พินิจในการควร เป็นต้น เมื่อพินิจเห็นว่ามีประโยชน์และพินิจเห็นว่าควรทำ จึงทำ ซึ่งมีความมุ่งหมายให้พินิจ เพื่อให้เกิดปัญญาเช่นเดียวกัน

ดังนั้น การเจริญสติปัฏฐานจึงต้องกระทำไปด้วยความมีสติสัมปชัญญะ คือให้ พินิจด้วยปัญญา เพื่อให้เกิดปัญญาภิญโญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
อันว่าความพินิจที่ประกอบด้วยปัญญานี้ ถ้ามีแก่ผู้ใดแล้ว นับว่าผู้นั้นอยู่ใกล้ พระนิพพาน ดังปรากฏใน
ธรรมบท ว่า
นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
ความพินิจย่อมไม่มีแก่ผู้หาปัญญามิได้
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ปัญญาเล่า ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ
ความพินิจและปัญญามีในผู้ใด
ส เว นิพฺพานํ สนฺติเก
ผู้นั้นแหละอยู่ในที่ใกล้พระนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๒ สัมมัปปธาน ๔

สมฺมา ปทหนฺติ เอเตนาติ สมฺมปฺปธานานิ ฯ ธรรมที่เป็นความเพียร พยายาม กระทำโดยชอบนั้น ชื่อว่า สัมมัปปธาน
สัมมัปปธาน กล่าวโดยความหมายที่ง่ายแก่การจำก็ว่า ตั้งหน้าทำชอบ คือ เพียรพยายามกระทำการงานที่ชอบธรรม
ความเพียรพยายามทำชอบที่จะจัดว่าถึงสัมมัปปธานนั้น ต้องประกอบด้วย
ก. ต้องเป็นความเพียรพยายามอันยิ่งยวด แม้ว่า เนื้อจะเหือดเลือดจะแห้ง ไป คงเหลือแต่ หนัง เอ็น
กระดูกก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่บรรลุถึงธรรมอันพึงถึงได้ ก็จะไม่ท้อถอยจากความเพียรนั้นเป็นอันขาด

ข. ต้องเป็นความเพียรพยายามอันยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการ จึงจะได้ชื่อว่า ตั้งหน้าทำชอบในโพธิปักขิยธรรมนี้
ธรรม ๔ ประการที่ว่านี้ได้แก่
๑. อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ปหานาย วายาโม ฯ
เพียรพยายามละอกุสลที่ เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป

๒. อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อนุปฺปาทาย วายาโม ฯ
เพียรพยายามไม่ให้ อกุสลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น

๓. อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ อุปฺปาทาย วายาโม ฯ
เพียรพยายามให้กุสล ธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น

๔. อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ภิยฺโย ภาวาย วายาโม ฯ
เพียรพยายามให้กุสล ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่ง ๆขึ้นไป

ด้วยเหตุว่า ต้องเพียรพยายามอย่างยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการ จึงได้ชื่อ ว่า สัมมัปปธาน ๔
มีข้อที่ควรจะได้กล่าวไว้ในที่นี้แต่เพียงประการเดียวว่า อกุสลที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมล่วงเลยไปแล้ว จะละคือ
ประหารเสียได้อย่างไร
จริงอยู่ อกุสลที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปแล้ว การที่จะลบล้างอกุสลที่เกิดขึ้น แล้วให้สูญสิ้นไป ย่อมไม่ใช่สิ่งที่จะกระทำได้ การเพียรพยายามละอกุสลที่เกิดขึ้น แล้วให้หมดไปนั้น ในที่นี้มีความหมายว่า อกุสลใด ๆ ที่เคยได้ทำแล้วก็จงอย่าไป นึกไป คิดถึงอกุสลนั้น ๆ อีก เพราะว่าการคิดการนึกขึ้นมาอีก ย่อมทำให้จิตใจ เศร้าหมอง อันจะก่อให้เกิดความโทมนัสเดือดร้อนกระวนกระวายใจไม่มากก็น้อย เมื่อจิตใจเศร้า หมองเดือดร้อน นั่นแหละได้ชื่อว่า จิตใจเป็นอกุสลแล้ว ฉะนั้นใน ประการต้น จะต้องไม่นึกไม่คิดถึงอกุสลที่ได้เคยทำมาแล้ว คือ ละเสีย ลืมเสีย ไม่เก็บมานึกคิดอีก จิตใจก็จะไม่เศร้าหมอง ประการต่อมา เมื่อจิตใจผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมองแล้ว ก็ตั้งใจ ให้มั่นว่าจะไม่กระทำการอันใดที่เป็นอกุสลอีก ดังนี้จึงได้ ชื่อว่าเพียรพยายามละอกุสล ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป ทั้งนี้มีมาในวิภังคอรรถกถา แห่ง สัมโมหวิโนทนี อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อกุสลที่ได้กระทำมาแล้วนั้น ที่ได้ผลแล้วก็มี ที่ยังไม่ให้ ผลเพราะยังไม่มีโอกาสก็มี ที่จะอันตรธานสูญหายไปเองนั้นไม่มีเลย แต่ถ้าในชาติใด มีความสามารถประหารสักกายทิฏฐิได้ด้วยสัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้แล้ว ชาตินั้นแลได้ประหารได้ละอกุสลที่เคยทำมาแล้วได้สิ้นเชิง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ธรรมของสัมมัปปธาน

องค์ธรรมของสัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้ได้แก่ วิริยเจตสิก
ตามสัมปโยคนัย วิริยเจตสิกประกอบกับจิตได้ ๗๓ หรือ ๑๐๕ ดวง (เว้นอวีริยจิต ๑๖)
แต่วิริยเจตสิกที่เป็นสัมมัปปธานได้ เฉพาะที่ประกอบกับกุสลญาณสัมปยุตต จิต ๑๗ เท่านั้น คือ มหากุสลญาณ สัมปยุตตจิต ๔, มหัคคตกุสล ๙, มัคคจิต ๔
ส่วนวิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒, ที่ในอเหตุกจิต ๒ (คือ มโนทวารา วัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑) ที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตตจิต ๔, ที่ในมหาวิบาก จิต ๘, ที่ในมหากิริยาจิต ๘, ที่ในมหัคคตวิบากจิต ๙, ที่ในมหัคคตกิริยาจิต ๙ และที่ในผลจิต ๔ รวม ๕๖ ดวงนี้ ไม่นับเป็นสัมมัปปธาน เพราะ
ก. วิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะสัมมัปปธาน หมายความว่า การเพียรพยายามโดยชอบธรรม แต่อกุสลจิตเป็นจิตที่ไม่ชอบธรรม ดังนั้นวิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิตจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้ แต่เรียกได้ว่าเป็น มิจฉาปธาน
ข. วิริยเจตสิกที่ในมโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะ มโนทวาราวัชชนจิตไม่มีหน้าที่ทำชวนกิจประการหนึ่ง และเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตต เหตุเลยอีกประการหนึ่ง ความเพียรพยายามนั้นจึงมีกำลังอ่อน ไม่เรียกว่าเป็นความ พยายามอันยิ่งยวด ดังนั้น จึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ค. วิริยเจตสิกที่ในหสิตุปปาทจิต ๑ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตดวง นี้เป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์ การยิ้มแย้มของพระอรหันต์เป็นแต่เพียงกิริยา ไม่มี การละอกุสลหรือเจริญกุสลแต่อย่างใด ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ง. วิริยเจตสิกที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ย่อมมีความเพียรพยายามน้อยเป็นธรรมดา ไม่ มากจนถึงกับเรียกว่าเป็นอย่างยิ่งยวดได้ และถ้าหากว่าจะเกิดมีความเพียรพยายาม เป็นอย่างยิ่งยวดขึ้นมา แต่เมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญาแล้วไซร้ ก็ไม่สามารถที่จะรู้ อริยสัจจ ๔ ได้ ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
แต่อีกนัยหนึ่งก็แสดงว่า วิริยเจตสิกที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ ก็เป็น สัมมัปปธานได้ เพราะจิตที่เป็นมหากุสลญาณวิปปยุตตที่เกิดขึ้นในขณะเจริญสติปัฏฐาน ก็นับว่าเป็นสติปัฏฐานได้ดังที่กล่าวแล้วตอนแสดงองค์ธรรมของสติปัฏฐาน นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้วิริยะที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ อันเกิดขึ้นในขณะเจริญ สติปัฏฐาน ก็ควรนับเป็นสัมมัปปธานได้โดยทำนองเดียวกัน ส่วนที่จะบังเกิด ผลเพียงใดหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 06:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จ. วิริยเจตสิกที่ในมหาวิบากจิต ๘ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะวิบากจิต ไม่ใช่ชวนจิต จึงไม่มีหน้าที่ทำการละอกุสล ไม่ก่ออกุสล ทำกุสล และเจริญกุสล รวม ๔ อย่าง อันเป็นกิจการงานโดยเฉพาะของสัมมัปปธาน มหาวิบากจิตมีหน้าที่ ทำแต่ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ และตทาลัมพนกิจเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็น สัมมัปปธานไม่ได้
ฉ. วิริยเจตสิกที่ในมหากิริยาจิต ๘ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตทั้ง ๘ ดวงนี้เป็นจิตของพระอรหันต์ ซึ่งเรียกว่า อเสกขบุคคล คือบุคคลผู้จบการศึกษาแล้ว ละกิเลสได้เป็นสมุจเฉทปหาน ไม่มีอกุสลใดที่จะต้องละ ต้องระวังอีก รวมทั้งไม่มี กุสลใดที่จะต้องก่อ จะต้องรักษาให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกแล้ว รวมความมหากิริยาจิต ไม่ต้องทำหน้าที่การงานของสัมมัปปธานนั้นเลย ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ช. วิริยเจตสิกที่ในมหัคคตวิบากจิต ๙ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะ จิตทั้ง ๙ ดวงนี้ ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ โดยเฉพาะเพียง ๓ อย่างนี้ เท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในชวนกิจเลย จึงไม่มีหน้าที่ทำการ ละอกุสลไม่ก่ออกุสล ทำกุสล และเจริญกุสลทั้ง ๔ อย่างนี้แต่อย่างใดเลย เมื่อไม่มีหน้าที่ทำกิจการงานของสัมมัป ปธานจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ซ. วิริยเจตสิกที่ในมหัคคตกิริยาจิต ๙ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิต ๙ ดวงนี้ เป็นจิตของพระอรหันต์ เมื่อเป็นจิตของพระอรหันต์ ก็มีเหตุผลดังกล่าวมา แล้วในมหากิริยาจิตนั้น ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ญ. วิริยเจตสิกที่ในผลจิต ๔ (หรืออย่างพิสดาร ๒๐) เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะผลจิตไม่ได้เป็นผู้กระทำการ ละอกุสล ไม่ก่ออกุสลไม่ทำกุสล และ เจริญกุสล อันเป็นหน้าที่การงานโดยเฉพาะของสัมมัปปธานแต่อย่างใด ๆ เลย
เป็นแต่เพียงเป็นผู้รับผลเสวยผลที่มัคคจิตได้กระทำการงานทั้ง ๔ นั้นมาให้แล้ว เมื่อ ไม่ได้ทำหน้าที่ของสัมมัปปธาน จึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร