วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 12:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 54.77 KiB | เปิดดู 3703 ครั้ง ]
คู่ที่ ๙ สนิทัสสนรูป กับ อนิทัสสนรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 82.46 KiB | เปิดดู 3703 ครั้ง ]
คู่ที่ ๑๐ โคจรคาหิกรูป กับ อโคจรคาหิกรูป

ส่วนรูปที่เหลือ เป็นรูปที่รับปัญจารมณ์ไม่ได้ จึงมีชื่อเรียกว่า อโคจรคาหิกรูป แปลว่า
รูปที่รับปัญจารมณ์ไม่ได้ องค์ธรรมได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๓
อนึ่ง โคจรคาหิกรูป คือ ปสาทรูปทั้ง ๕ ที่มีความใส ความสามารถรับ ปัญจารมณ์ได้นั้น
ยังจำแนกได้ ๒ อย่าง คือ
๑. อสัมปัตตโคจรคาหิกรูป หมายความว่า เป็นรูปที่สามารถรับอารมณ์ที่ ยังไม่มาถึงตนได้ มี ๒ รูป
ได้แก่ จักขุปสาทรูป และโสตปสาทรูป
๒. สัมปัตตโคจรคาหิกรูป หมายความว่า เป็นรูปที่สามารถรับได้แต่อารมณ์ ที่มาถึงตน มี ๓ รูป
ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป และกายปสาทรูป
มีคำอธิบายว่า จักขุปสาทรูป รับรูปารมณ์ที่ยังมาไม่ถึงตน จึงจะทำให้เกิดการ เห็นได้
ถ้ารูปารมณ์นั้นมาถึงจักขุปสาทรูปเสียแล้ว รูปนั้นก็จะมาปิดความใสเสีย จึงไม่สามารถรับได้ คือ
ไม่เกิดการเห็น เช่น ยกมือมาจนถึงนัยน์ตา ก็จะไม่เห็นเลย
โสตปสาทรูป ก็เช่นเดียวกัน ต้องเป็นเสียงที่อยู่ในระยะที่พอเหมาะแก่ โสตปสาทรูปจะรับได้
จึงจะเกิดการได้ยิน ถ้าเสียงนั้นถึงโสตปสาทรูปเสียทีเดียวแล้ว ก็รับไม่ได้ ไม่ทำให้เกิดการได้ยิน
เช่น ถ้าจะเอาอะไรเคาะที่โสตปสาทรูป ก็จะไม่ได้ ยินเสียง แต่จะเจ็บไปเท่านั้นเอง
ส่วนฆานปสาทรูป ต้องมีกลิ่น คือไอระเหยนั้นมาถึงตน จึงจะรับได้ ทำให้เกิดรู้ว่ากลิ่นนั้นเหม็นหรือหอม
ถ้าไอระเหยนั้นไม่ลอยมาถึงฆานปสาทรูปแล้ว ก็จะไม่รู้ว่าเหม็นหรือหอมเลย เช่น สุนัขเน่าลอยน้ำมา
แม้แต่จะไกลสักหน่อย ก็จะแลเห็น แต่ไม่ได้กลิ่น เพราะกลิ่นนั้นลอยลมมาไม่ถึงฆานปสาทรูป
ชิวหาปสาทรูป ก็ต้องมีรสมาถึงลิ้นจึงจะรู้ ถ้าไม่ถึงเป็นไม่รู้ เช่น ไม่นำมาแตะ ลิ้น ก็ไม่รู้ว่าเปรี้ยวหรือหวาน
ต่อเมื่อแตะถูกลิ้น จึงรู้ว่าหวานเป็นก้อนน้ำตาลกรวด ถ้าแตะที่ลิ้นรู้ว่าเปรี้ยวเป็นก้อนสารส้ม
กายปสาทรูป ก็เช่นเดียวกัน ต่อเมื่อสัมผัสถูกต้องแล้ว จึงจะรู้ว่าแข็งหรืออ่อน ร้อนหรือเย็น
ถ้าไม่สัมผัสถูก ก็เป็นเพียงแต่นึกรู้เอาตามสัญญาที่จำได้ ไม่ใช่รู้ทาง กายปสาทรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 81.12 KiB | เปิดดู 3703 ครั้ง ]
คู่ที่ ๑๑ อวินิพโภครูป กับ วินิพโภครูป

ส่วนรูปที่เหลืออีก ๒๐ รูปนั้น เป็นรูปที่แยกจากกันได้ ไม่จำต้องเกิดร่วมกัน
ไม่จำต้องอยู่ร่วมกันก็ได้ ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า วินิพโภครูป
แต่อย่างไรก็ตาม วินิพโภครูปนี้แม้จะแยกกันเกิด แยกกันอยู่ เป็นรูปที่แยก จากกันได้ก็จริง
แต่ว่าเมื่อเกิดก็ต้องเกิดร่วมกับอวินิพโภครูป ๘ จะเกิดตามลำพัง เฉพาะแต่วินิพโภครูปนั้นไม่มี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นัยที่ ๓ รูปสมุฏฐาน

รูปสมุฏฐาน คือ สมุฏฐานที่ให้เกิดรูป หรือ ปัจจัยที่ให้เกิดรูป หรือ สิ่งที่ให้ เกิดรูป รูปสมุฏฐาน
มีคาถาสังคหะ เป็น คาถาที่ ๖ แสดงว่า

๖. อฏฐารส ปณฺณรส เตรส ทฺวาทสาติ จ
กมฺมจิตโตตุกาหาร ชานิ โหนฺติ ยถากฺกมํ ฯ


แปลความว่า รูปย่อมเกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร มีจำนวน ๑๘ , ๑๕ , ๑๓ และ ๑๒ ด้วย
ตามลำดับเป็นการเรียนรู้ถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดรูป ว่ารูปแต่ละรูปที่ได้กล่าว มาแล้วนั้น มีปัจจัย
อะไรทำให้เกิดขึ้นมาได้ คือ รู้รายละเอียดลึกลงไปอีกว่า รูปทั้ง ๒๘ นั้น เกิดมาจากอะไร
มีสมุฏฐานอะไรทำให้เกิดขึ้นมาได้
รูปนั้นมีสมุฏฐานให้เกิด ๔ อย่าง คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร เท่ากับว่าร่างกายของคนเรา
และสัตว์ทั้งหลายนั้น มีสมุฏฐานให้เกิดมา ๔ อย่าง เหมือนตัวเรายืนอยู่บนฐาน ๔ ฐาน คือ
กรรม จิต อุตุ อาหาร
ทั้ง ๔ ฐาน ดังกล่าวแล้ว ถ้าฐานใดฐานหนึ่งชำรุด ก็จะมีอาการผิดปกติ ไปทันที
และถ้าฐานใดฐานหนึ่งหมดไป ก็จะตายทันที หรือดับไปทันที

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อกล่าวโดยรูปนามแล้ว สมุฏฐานหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดรูปนั้นมีทั้งนามและ รูป คือ กรรมและจิตนี้
เป็นนาม ก็เป็นปัจจัยให้เกิดรูปได้ อุตุและอาหารอันเป็นรูป ก็เป็นปัจจัยให้เกิดรูปได้
เมื่อกล่าวโดยกาลเวลาแล้ว กรรมที่เป็นสมุฏฐานหรือเป็นปัจจัยให้เกิดรูปนั้น เป็นกรรมในอดีต
ส่วนจิต อุตุ และอาหาร ที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูปนั้นเป็นปัจจุบัน

เมื่อกล่าวโดยชื่อของสมุฏฐานแล้ว

กรรม ที่เป็น สมุฏฐาน ให้เกิดรูป ชื่อว่า กัมมสมุฏฐาน
จิต ที่เป็น สมุฏฐาน ให้เกิดรูป ชื่อว่า จิตตสมุฏฐาน
อุตุ ที่เป็น สมุฏฐาน ให้เกิดรูป ชื่อว่า อุตุสมุฏฐาน
อาหาร ที่เป็น สมุฏฐาน ให้เกิดรูป ชื่อว่า อาหารสมุฏฐาน

เมื่อกล่าวโดยชื่อของรูปที่เกิดขึ้นจากสมุฏฐานนั้น ๆ แล้ว

รูปที่เกิดจาก กัมมสมุฏฐาน ชื่อว่า กัมมชรูป หรือกฏัตตารูป หรือกัมมสมุฏฐานิกรูป
รูปที่เกิดจาก จิตตสมุฏฐาน ชื่อว่า จิตตชรูป หรือ จิตตสมุฏฐานิกรูป
รูปที่เกิดจาก อุตุสมุฏฐาน ชื่อว่า อุตุชรูป หรือ อุตุสมุฏฐานิกรูป
รูปที่เกิดจาก อาหารสมุฏฐาน ชื่อว่า อาหารชรูป หรือ อาหารสมุฏฐานิกรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 05:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 45.81 KiB | เปิดดู 3702 ครั้ง ]
กัมมสมุฏฐาน
กรรมที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูปนั้นเรียกว่า กัมมสมุฏฐาน กรรม คือการกระทำ ที่เกี่ยวด้วย กาย วาจา และใจ
ถ้าเป็นไปในฝ่ายดีงาม ก็เรียกว่า กุสลกรรม ถ้าเป็นไปฝ่ายที่ไม่ดีไม่งามก็เรียกว่า อกุสลกรรม
กรรมที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูป ก็เรียกว่า กัมมสมุฏฐาน และกรรมในที่นี้ หมายถึง เจตนาในจิต ๒๕ คือ เจตนาในอกุสลจิต ๑๒ เจตนาในมหากุสลจิต ๘ เจตนาในรูปาวจรกุสล ๕ ทั้ง ๒๕ นี้ เป็นกรรมที่ทำให้เกิดรูปได้
ส่วนเจตนาในอรูปาวจรกุสล ๔ เป็นกรรมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการเจริญ กัมมัฏฐานชนิด รูปวิราคภาวนา คือปราศจากความยินดีในรูป ไม่ปรารถนาจะมีรูป ด้วยอานิสงส์แห่งรูปวิราคภาวนานั้น จึงทำให้ไม่เกิดกัมมชรูป ไปเกิดเป็นอรูปพรหม
ส่วนโลกุตตรกุสล ๔ (มัคคกรรม ๔) เป็นกรรมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเจริญ กัมมัฏฐาน ชนิดเห็นรูป-นาม เป็นไตรลักษณะ (วิปัสสนาภาวนา) อันเป็นกรรมที่ ทำลายภพ ทำลายชาติ กัมมชรูปนั่นแหละเป็นตัวภพ ตัวชาติ ฉะนั้นโลกุตตรกุสลกรรมทั้ง ๔ นี้ จึงไม่ทำให้กัมมชรูปเกิด

กัมมชรูป ๑๘ คือ รูปที่เกิดจากกรรม ได้แก่

ปสาทรูป ๕ (จักขุปสาทรูป, โสตปสาทรูป, ฆานปสาทรูป, ชิวหาปสาทรูป, กายปสาทรูป)
ภาวรูป ๒ (อิตถีภาวรูป, ปุริสภาวรูป)
หทยรูป ๑
ชีวิตรูป ๑
ปริจเฉทรูป ๑
อวินิพโภครูป ๘ (ปฐวี, อาโป, เตโช, วาโย, วัณณะ, คันธะ, รสะ, โอชา)

ทั้ง ๑๘ รูปนี้เป็นรูปที่เกิดจากกรรม อาจเกิดจากกุสลกรรม หรือ อกุสลกรรม ก็ได้ และกรรมในที่นี้ หมายเอาทั้งกรรมในอดีตชาติ และปัจจุบันชาติ

การเกิดขึ้นของกัมมชรูป กัมมชรูปนี้ มีอยู่ในสัตว์ทั้งหลายที่มีรูปขันธ์ คือเกิดได้ในสัตว์ที่มีขันธ์ ๕ (ปัญจโวการภูมิ
๒๖ ภูมิ) ได้แก่ เทวดา พรหม อสัญญสัตตพรหม มนุษย์ และสัตว์ทั้งหลาย เว้นอรูปภูมิ ๔ รวม ๒๗ ภูมิ
กัมมชรูป จะเริ่มเกิดตั้งแต่ปฏิสนธิเป็นต้นมา และจะเกิดได้ทั้ง ๓ อนุขณะ คือ เกิดทั้งในอุปาทขณะ ฐีติขณะและภังคขณะของปฏิสนธิจิต เป็นต้นมา ต่อมาก็เกิดทุก ๆ ขณะย่อยหรืออนุขณะของจิตทุก ๆ ดวง
จนเมื่อใกล้จะตาย ตั้งแต่ฐีติขณะจิตดวงที่ ๑๗ ที่นับจากจุติจิตย้อนถอยหลัง ทวนมา กัมมชรูปใหม่ไม่เกิดอีก ส่วนกัมมชรูปที่เกิดขึ้นที่อุปาทขณะของจิตดวง ที่ ๑๗ นี้ ย่อมตั้งอยู่ได้จนถึงจุติจิต จึงจะครบอายุแล้วก็ดับลงไปพร้อมกับภังคขณะของจุติจิตพอดี

กัมมชรูป ๑๘ คือ ปสาทรูป ๕, ภาวรูป ๒, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑, ปริจ เฉทรูป ๑, อวินิพโภครูป ๘ คือรูปที่เกิดจากกรรมโดยแน่นอน (เอกันตะ) นั้นมี ๙ รูป คือ ปสาทรูป ๕, ภาวรูป ๒, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑ ทั้ง ๙ รูปนี้ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม โดยสมุฏฐานเดียว
ส่วนที่เหลืออีก ๙ คือ อวินิพโภครูป ๘ และปริจเฉทรูป ๑ ไม่ได้เกิดจาก กรรม โดยสมุฏฐานเดียว มีสมุฏฐานอื่นร่วมด้วยเรียกว่า อะเนกันตะ คือไม่แน่นอน

ในตัวของคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ความเป็นหญิง ความเป็นชาย หัวใจ และชีวิต รวม ๙ นี้ เกิดได้แต่เฉพาะในร่างกายของสัตว์ ทั้งหลายเท่านั้น ในสิ่งที่ไม่มีชีวิตเกิดไม่ได้ ส่วนรูปที่เหลืออีก ๙ นั้น คือ อวินิพโภค รูป ๘ และปริจเฉทรูป ๑ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานไม่แน่นอน คือเกิดในร่างกาย ของสัตว์ทั้งหลายก็ได้ เกิดในสิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งหลายก็ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุป

ในตัวของคนและสัตว์ทั้งหลายมีรูปที่เกิดจากกรรม โดยส่วนเดียว มี ๙ คือ ตา ได้แก่ จักขุปสาท, หู ได้แก่ โสตปสาท, จมูก ได้แก่ ฆานปสาท, ลิ้น ได้แก่ ชิวหาปสาท, กาย ได้แก่ กายปสาท, ใจ ได้แก่ หทยวัตถุ, ความเป็นหญิง ได้แก่ อิตถีภาวะ, ความเป็นชาย ได้แก่ ปุริสภาวะ, ชีวิต ได้แก่ ชีวิตรูป
ทั้งหมดนี้เราทำมา เราสร้างมา จะดีหรือไม่ดีจะไปโทษใครไม่ได้ ผู้สร้างคือ กุสล และอกุสล ใครทำกุสลไว้ก็ได้กัมมชรูปดี ใครทำอกุสลไว้ก็ได้กัมมชรูปที่ไม่ดี

จิตตสมุฏฐาน

จิตที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูป เรียกว่า จิตตสมุฏฐาน จิตที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูปนี้ ได้แก่ จิต ๗๕ ดวง เว้น
ก. ทวิปัญจวิญญาน ๑๐ เพราะเป็นจิตที่มีกำลังอ่อน จึงไม่สามารถทำให้ จิตตชรูปเกิดขึ้นได้ ทวิปัญจวิญญาณเป็นจิตที่ได้องค์ (คือ เหตุ ฌาน มัคค) ไม่ สมประกอบ จึงไม่สามารถทำให้จิตตชรูปเกิดได้

ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ไม่มีองค์แห่งเหตุ หมายความว่าทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ นี้ ไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือไม่มีเหตุ ๖ ประกอบอยู่ด้วยเลย แม้แต่เหตุเดียว
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ไม่มีองค์แห่งฌาน หมายความว่า ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ นี้ ไม่มีแม้แต่วิตก ซึ่งเป็นองค์ของฌานองค์แรก
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ไม่มีองค์แห่งมัคค หมายความว่า ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ นี้ ไม่เป็นทางนำไปสู่ทุคคติหรือสุคคติได้ เพราะไม่มีแม้แต่สังกัปปะ คือ วิตก อันเป็นองค์แห่งมัคค
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ จึงไม่สามารถทำให้จิตตชรูปเกิดได้ คือมีกำลังอ่อนไม่พอที่จะเป็นจิตตสมุฏฐานิกรูป หรือไม่พอให้เกิดจิตตชรูปได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 58.43 KiB | เปิดดู 3703 ครั้ง ]
ข. อรูปาวจรวิบากจิต ๔ อันเป็นผลของอรูปาวจรกุสลซึ่งเจริญรูปวิราค ภาวนา คือ ปรารถนาจะไม่ให้มีรูปเพราะสำคัญว่ารูปนี้แหละเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ด้วย อำนาจแห่งการเจริญรูปวิราคภาวนา จึงได้รับผลเป็นอรูปาวจรวิบากจิต ไปปฏิสนธิ ในอรูปภูมิ อันเป็นภูมิที่ไม่มีรูปใด ๆ เลย รวมทั้งไม่มีจิตตชรูปด้วย ดังนั้นอรูปาวจร วิบากจิต ๔ จึงไม่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูป

ค. ปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งปวง ก็ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูป เพราะเป็นจิต ที่เพิ่งเกิดเป็นขณะแรกในภพในชาตินั้น ๆ เพิ่งตั้งตัว ยังมีกำลังอ่อนอยู่ ไม่สามารถ ทำให้จิตตชรูปเกิดได้

ง. จุติจิตของพระอรหันต์ ก็ไม่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูป เพราะจิตนี้ไม่เป็น ปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิจิตอีกเลย เป็นจิตที่ปราศจากกิเลสแล้ว เมื่อทำหน้าที่จุติ จึงไม่ ทำให้จิตตชรูปเกิดได้อีกต่อไป เพราะไม่ต้องการมีจิตอีกต่อไปแล้ว รูปที่เกิดจากจิตก็ย่อมมีไม่ได้

จิต ๗๕ ดวง ที่ทำให้เกิดจิตตชรูปนั้น ก็ทำให้รูปเกิดได้เฉพาะอุปาทขณะของ จิตนั้น ๆ เท่านั้น เพราะอุปาทขณะของจิต เป็นขณะที่จิตมีกำลังแรงมาก ส่วนฐีติ ขณะของจิตและภังคขณะของจิตนั้น กำลังตก กำลังอ่อนเสียแล้ว ไม่มีกำลังพอที่จะ ทำให้จิตตชรูปเกิดขึ้นได้

จิตตชรูป ๑๕ คือ รูปที่เกิดจากจิต มี ๑๕ คือ
วิญญัตติรูป ๒ (กายวิญญัตติรูป วจีวิญญัตติรูป)
สัททรูป ๑
วิการรูป ๓ (ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป)
ปริจเฉทรูป ๑
อวินิพโภครูป ๘ (มหาภูตรูป ๔, วัณณะรูป ๑, คันธะรูป ๑, รสะรูป ๑, โอชารูป ๑)
รวมเป็น ๑๕ รูป ที่เกิดจากจิต และทั้ง ๑๕ รูปนั้น มี วิญญัตติรูป ๒ เท่านั้นที่เกิดจากจิตโดยสมุฏฐานเดียว รูปที่เกิดจากจิต ซึ่งเรียกว่าจิตตชรูปนั้น มีทั้งหมด ๑๕ ดังกล่าวแล้ว จิตที่ ทำให้เกิดรูปได้ทั้ง ๑๕ นั้น ได้แก่ จิต ๗๕ ส่วนจิตอะไร ทำให้เกิดรูปอะไรได้บ้าง มีรายละเอียดดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. จิตที่ทำให้เกิดจิตตรูปสามัญ (คือจิตตชรูปที่เป็นไปอย่างธรรมดาตามปกติ เช่น การหายใจเข้าหายใจออก หัวใจเต้น หน้าแดง หน้าซีด เป็นต้น ซึ่งเกิดรูป เพียงอวินิพโภครูป ๘ เท่านั้น) เกิดขึ้นได้นั้น ได้แก่ จิต ทั้ง ๗๕ ดวง คือ
อกุสลจิต ๑๒ (โลภะ ๘ โทสะ ๒ โมหะ ๒)
อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐)
กามโสภณจิต ๒๔ (มหากุสล ๘ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘)
มหัคคตจิต ๒๓ (เว้นอรูปาวจรวิบาก ๔)
โลกุตตรจิต ๘

๒. จิตที่ทำให้อิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔ ตั้งมั่น ได้แก่ การยืน เดิน นั่ง นอน ได้เป็นปกติ และนานได้ มีจิต ๕๘ คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙ (อกุสล ๑๒ มหากุสล ๘ มหากิริยา ๘ หสิตุปปาทะ ๑)
อภิญญาจิต ๒ (ของปุถุชน ๑ อริยบุคคล ๑)
อัปปนาชวนจิต ๒๖ (จิตที่ได้ฌานแล้ว)
๓. จิตที่ทำให้เคลื่อนไหว อิริยาบถน้อย และ การพูดการอ่านหนังสือ ร้องเพลง การคู้ การเหยียด การก้ม การเงย การเหลียวซ้ายแลขวา การก้าวหน้า การถอยหลัง การกระพริบตา การอ้าปาก การเคี้ยว การกินอาหาร ฯลฯ จิตที่ทำให้รูปเคลื่อนไหวอิริยาบถน้อย เป็นไปดังกล่าวแล้วมีจิต ๓๒ ดวง คือ
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙
อภิญญาจิต ๒
๔. จิตที่ทำให้การร้องไห้เกิดขึ้น ได้แก่ การร้องไห้ เสียใจ เศร้าโศก รำพึง รำพัน จิตที่ทำให้รูปดังกล่าวเกิดขึ้นได้ก็คือ โทสมูลจิต ๒
๕. จิตที่ทำให้เกิดการยิ้ม การหัวเราะเกิดขึ้น ได้แก่ จิต ๑๓ ดวง คือ
โสมนัสโลภมูล ๔
โสมนัสหสิตุปปาทะ ๑ (เกิดในพระอรหันต์เท่านั้น)
โสมนัสมหากุสล ๔
โสมนัสมหากิริยา ๔ (เกิดในพระอรหันต์เท่านั้น)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุถุชน ยิ้มและหัวเราะ ด้วยจิต ๘ ดวง คือ
โสมนัส โลภมูล ๔
โสมนัส มหากุสล ๔
พระเสกขบุคคล ๓ ยิ้มและหัวเราะ ด้วยจิต ๖ ดวง คือ
โสมนัส โลภมูล ทิฏฐิคตวิปปยุตต ๒
โสมนัส มหากุสล ๔
พระอเสกขบุคคล ยิ้มแย้ม ด้วยจิต ๕ ดวง คือ
โสมนัส หสิตุปปาทะ ๑
โสมนัส มหากิริยา ๔

การยิ้มของพระอรหันต์นั้น ถ้าอารมณ์เป็น อโนฬาริก คือ เป็นอารมณ์ที่ ละเอียด อันบุคคลธรรมดาไม่สามารถรู้ได้ ขณะนั้นยิ้มแย้มด้วย หสิตุปปาทะ
ถ้าอารมณ์เป็น โอฬาริก คือ เป็นอารมณ์ที่หยาบ หมายความว่า เป็นอารมณ์ ธรรมดาที่บุคคลทั่วไปก็สามารถรู้ได้นั้น ขณะนั้นยิ้มแย้มด้วย โสมนัสมหากิริยา
พระอรหันต์เพียงแต่ยิ้มแย้ม ไม่ถึงกับหัวเราะ พระอานาคามี พระสกทาคามี และ พระโสดาบัน แม้แต่จะหัวเราะ
ก็พอประมาณ ไม่ถึงกับตัวโยกโคลง ส่วนปุถุชน นั้นปล่อยเต็มที่ จนงอหาย และถึงตายก็มี

จิตตชรูป คือ รูปที่เกิดจากจิตโดยแน่นอน (เอกันตะ) นั้นมี ๒ รูป คือ วิญญัตติรูป ๒ ได้แก่ กายวิญญัตติ และวจีวิญญัตติ หมายความว่า การเคลื่อนไหว ทางร่างกายและการพูดจากันนั้น ย่อมมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น เพราะการเคลื่อนไหวร่างกาย และการพูดนั้น เกิดจากจิตโดยสมุฏฐานเดียว

จิตตชรูป คือ รูปที่เกิดจากจิต โดยไม่แน่นอน (อะเนกันตะ) นั้นมี ๑๓ คือ
สัททรูป ๑ (รูปเสียง)
วิการรูป ๓ (ลหุตารูป, มุทุตารูป, กัมมัญญตารูป)
ปริจเฉทรูป ๑
อวินิพโภครูป ๘ (มหาภูตรูป ๔, วัณณรูป ๑, คันธรูป ๑, รสรูป ๑, โอชา ๑)

ในตัวคนเราและสัตว์ทั้งหลายนั้น มีกัมมชรูป ๑๘ เป็นที่ตั้ง เป็นฐานมี จิตตชรูป คือ รูปที่เกิดจากจิตเป็นพลังงานของจิตให้ปรากฏเป็นรูปเคลื่อนไหวรูป เปลี่ยนไปอยู่ในท่าต่าง ๆ เช่น รูปอยู่ในท่านั่ง นอน ยืน ก้าวไป เหลียวซ้าย แลขวา การเหยียด การคู้ ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่านี้เกิดจากจิต เป็นไปตามความต้องการของจิต จึงเรียกว่า " กายวิญญัตต” " ถ้าเป็นการพูด การกล่าวทางวาจา ก็เรียกว่า " วจีวิญญัตติ " ทั้งกายวิญญัตติ และวจีวิญญัตติ ก็เป็นรูปที่เกิดจากจิต เป็นพลังงานของจิต เมื่อจิตต้องการนั่ง รูปนั่งก็เกิด เมื่อจิตต้องการเฉย ๆ รูปเฉย ๆ ก็เกิด เมื่อจิตต้องการให้ รูปเหยียด รูปเหยียดก็เกิด

รวมความแล้ว การเคลื่อนไหวของรูปเกิดจากจิต จึงเรียกว่า " จิตตชรูป "

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 42.2 KiB | เปิดดู 3703 ครั้ง ]
อุตุสมุฏฐาน

คำว่า " อุตุสมุฏฐาน " หมายถึง อุตุ เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูปได้ และอุตุ ในที่นี้ หมายถึง เตโชธาตุ ๒ อย่าง คือ
๑. สีตเตโช ได้แก่ ความเย็น ทั้งภายในและภายนอก
๒. อุณหเตโช ได้แก่ ความร้อน ทั้งภายในและภายนอก
เตโชธาตุทั้ง ๒ นี้รวมเรียกว่า " อุตุ " และอุตุที่ทำให้รูปเกิดนี้มี ๒ อย่าง คือ
(๑) อุตุภายใน เรียกว่า อัชฌัตตอุตุ ได้แก่ อุตุที่เกิดขึ้นภายในร่างกายสัตว์ที่มีชีวิต
(๒) อุตุภายนอก เรียกว่า พหิทธอุตุ ได้แก่ อุตุที่เกิดภายนอกกายสัตว์ที่มีชีวิต
อุตุชรูป แปลว่ารูปที่เกิดจากอุตุ และอุตุชรูปนี้เกิดได้ทั้งภายในและภายนอก สำหรับภายในสัตว์ เกิดขึ้นได้ทุก ๆ ขณะของจิต นับตั้งแต่ฐีติขณะของปฏิสนธิ เป็นต้นมา จิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ จะมีอนุขณะ ๓ คือ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ
อุตุชรูป ๑๓ อุตุชรูป คือรูปที่เกิดจากอุตุ และรูปที่เกิดจากอุตุมี ๑๓ คือ
อวินิพโภครูป ๘(มหาภูตรูป ๔, วัณณรูป ๑, คันธรูป ๑, รสรูป ๑, โอชา ๑)
ปริจเฉทรูป ๑ * วิการรูป ๓ (ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป)
สัททรูป ๑
ในจำนวนรูปที่เกิดจากอุตุทั้ง ๑๓ รูปนี้ ไม่มีรูปใดรูปหนึ่งเกิดจากอุตุโดย แน่นอน คือรูปที่เกิดจากอุตุโดยแน่นอนไม่มี ประเภทของอุตุชรูป
๑. กัมมปัจจยอุตุชรูป คือ รูปที่เกิดจากอุตุที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน
๒. จิตตปัจจยอุตุชรูป คือ รูปที่เกิดจากอุตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
๓. อุตุปัจจยอุตุชรูป คือ รูปที่เกิดจากอุตุ ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน
๔. อาหารปัจจยอุตุชรูป คือ รูปที่เกิดจากอุตุ ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน

ในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอุตุชรูปปกคลุมอยู่ทั่วไป และเมื่อ สัตว์ทั้งหลายตาย อุตุชรูปก็ยังคงปรากฏอยู่ตลอดไป ส่วนกัมมชรูปและอาหารชรูป จะปรากฏอยู่ได้ในระหว่างที่สัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น เมื่อสัตว์นั้นตายไปแล้วกัมม ชรูป และอาหารชรูปก็ดับสิ้นหมดไป
สำหรับจิตตชรูปนั้น ปรากฏขึ้นไม่ได้โดยเฉพาะตนเอง ต้องอาศัย กัมมชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป ทั้ง ๓ นี้ เป็นที่ตั้งจึงเกิดขึ้นได้ หมายความว่า จิตตชรูปนี้ ต้องอาศัยร่างกายของสัตว์เกิดขึ้นนั่นเอง ถ้าไม่มีร่างกายแล้ว จิตตชรูปก็เกิดไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 34.42 KiB | เปิดดู 3703 ครั้ง ]
อาหารสมุฏฐาน

อาหารรูปที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูปนั้น ชื่อว่าอาหารสมุฏฐาน ได้แก่ อาหาร รูปทั้งภายในและภายนอกเช่นเดียวกับ
อุตุ อาหารที่ทำให้เกิดรูปได้ และอาหารในที่นี้ หมายถึง " โอชา " ที่มีอยู่ในอาหารต่าง ๆ นั่นเอง
อาหาร กล่าวคือ โอชา ย่อมยังอาหารสมุฏฐานรูปให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ฐีติขณะ ของจิต ในกาลที่กลืนกินซึ่งอาหารเข้าไปสู่ภายในร่างกาย
โอชา ที่ทำให้อาหารรูปเกิดขึ้นนั้น มีอยู่ทั่วไปในสิ่งต่าง ๆ และมีอยู่ภายใน สัตว์และภายนอกสัตว์ โอชาที่มีอยู่ภายในร่างกายของสัตว์ก็เรียกว่า อัชฌัตตโอชา ถ้าโอชานั้นอยู่ภายนอกกายของสัตว์ก็เรียกว่า พหิทธโอชา
อาหารรูปภายใน ชื่อว่าอัชฌัตตโอชา ได้แก่ กัมมชโอชา คือ โอชาที่อยู่ใน กัมมชรูป ๑๘ นั่นเอง กัมมชโอชา สำคัญมากในการงานที่จะช่วยอุปถัมภ์ให้อาหารชรูปเกิดขึ้น
อาหารรูปภายนอก ชื่อว่าพหิทธโอชา ได้แก่ อุตุชโอชา คือโอชาที่อยู่ใน อวินิพโภครูป ๘ ที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ อันควรแก่การบริโภคทั้งปวง อุตุโอชาทำ หน้าที่ให้อาหารชรูปเกิดขึ้นโดยตรง
อัชฌัตตโอชากับพหิทธโอชาทั้ง ๒ นี้ ทำงานเกี่ยวเนื่องกันคือ อัชฌัตตโอชา ทำหน้าที่อุปถัมภ์ช่วยให้อาหารรูปเกิด ส่วนพหิทธโอชาทำหน้าที่ให้อาหารชรูปเกิด ขึ้นโดยตรง ในโอชาทั้ง ๒ นี้ กัมมชโอชาสำคัญมากในการงานที่จะช่วยอุปถัมภ์ ให้อาหารชรูปเกิดมากกว่าอุตุโอชา

สำหรับอาหารภายนอก เมื่อได้บริโภคและถูกย่อยด้วยปาจกเตโชแล้ว จึงจะ อนุเคราะห์ปฐวีธาตุและอาโปธาตุ อันเป็นอาหารภายในเพื่อให้เกิดรูป ถ้าอาหารที่ บริโภคมิได้รับการย่อยจากเตโชธาตุ อาหารสมุฏฐานนิกรูปก็ย่อมไม่เกิด
เมื่อได้บริโภคอาหาร และอาหารนั้นถูกย่อยด้วย ปาจกเตโชธาตุ แล้วโอชา แห่งอาหารนั้นก็ซึมซาบเข้าไปในร่างกาย ทำให้เกิดอาหารชรูป ถ้าอาหารที่บริโภค ไม่ได้รับการย่อยจากเตโชธาตุแล้ว อาหารสมุฏฐาน คือ อาหารชรูปก็ไม่เกิด

อาหารที่ทำให้เกิดรูปนั้น ถ้าเป็นสัตว์ที่เกิดในครรภ์มารดา โอชาแห่งอาหารที่ มารดารับประทานเข้าไปนั้นก็ซึบซาบเข้าไปให้เกิดรูปแห่งทารก กล่าวสำหรับมนุษย์ ที่เกิดในครรภ์มารดา อาหารชรูปเริ่มเกิดในสัปดาห์ที่ ๓ นับแต่ปฏิสนธิกาล ถ้าสัตว์นั้นเป็นสังเสทชกำเนิด หรือโอปปาติกกำเนิด จำพวกที่ต้องกินอาหาร เมื่อเกิดนั้นร่างกายครบถ้วนบริบูรณ์แล้วแต่ยังมิได้บริโภค

สิ่งหนึ่งสิ่งใด ได้แต่กลืน เสมหะและเขฬะของตน ล่วงลำคอแล้ว โอชาแห่งเสมหะและเขฬะก็ซึมซาบเป็น อาหารชรูป ดังนั้นจึงรวมความได้ว่า อาหารชรูปย่อมเกิดเมื่อโอชาแห่งอาหารนั้นซึมซาบ เข้าไปในร่างกาย และต่อจากนั้นมา อาหารชรูปนี้ก็เกิดทุก ๆ ฐีติขณะจิตตลอดเวลา
อาหารที่บริโภคในวันหนึ่งนั้น ย่อมทรงอยู่ได้นานถึง ๗ วัน
อาหารชรูป คือ รูปที่เกิดจากอาหารนี้ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ โคจรรูป ๓ (เว้นสัททะ) อาหารรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ และวิการรูป ๓ รวม ๑๒ รูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จำนวนรูปที่เกิดจากสมุฏฐาน

รูปที่เกิดจาก กรรม อันมีชื่อว่า กัมมชรูป นั้น มีจำนวนรูป ๑๘ รูป
รูปที่เกิดจาก จิต อันมีชื่อว่า จิตตชรูป นั้น มีจำนวนรูป ๑๕ รูป
รูปที่เกิดจาก อุตุ อันมีชื่อว่า อุตุชรูป นั้น มีจำนวนรูป ๑๓ รูป
รูปที่เกิดจาก อาหาร อันมีชื่อว่า อาหารชรูป นั้น มีจำนวนรูป ๑๒ รูป

กัมมชรูป ๑๘
แน่นอน (เอกนฺต) มี ๙ รูป ได้แก่
ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ ชีวิตรูป ๑ อาหารรูป ๑

ไม่แน่นอน (อเนกนฺต) มี ๙ รูป ได้แก่
มหาภูตรูป ๔ โคจรรูป(เว้นสัททะ) ๓ หทยรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑

จิตตชรูป ๑๕
แน่นอน (เอกนฺต) มี ๒ รูป ได้แก่
กายวิญญัตติรูป ๑ วจีวิญญัตติรูป ๑

ไม่แน่นอน (อเนกนฺต) ๑๓ รูป ได้แก่
อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ วิการรูป ๓ สัททรูป ๑

อุตุชรูป ๑๓
แน่นอน (เอกนฺต) ไม่มี

มีแต่ไม่แน่นอน ทั้ง ๑๓ รูป ได้แก่
อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ วิการรูป ๓ สัททรูป ๑

อาหารชรูป ๑๒
แน่นอน (เอกนฺต) ไม่มี

มีแต่ไม่แน่นอน ทั้ง ๑๒ รูป ได้แก่
อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ วิการรูป ๓

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นกุโตจิสมุฏฐานิกรูป

นกุโตจิสมุฏฐานิกรูป หรือ นกุโตจิรูป เป็นรูปที่ไม่ได้เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร
มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่๗ ว่า

๗. ชายมานาทิรูปานํ สภาวตฺตา หิ เกวลํ
ลกฺขณานิ น ชายนฺติ เกหิจีติ ปกาสิตํ ฯ


นกุโตจิรูปหรือลักษณะรูปทั้ง ๔ (อุปจยรูป สันตติรูป ชรตารูป อนิจจตารูป) นั้น
ไม่ได้เกิดจากสมุฏฐานใด ๆ เป็นเพียงสภาพของรูปที่กำลังเกิดขึ้น เป็นต้น เท่านั้นเอง

มีความหมายว่า ลักษณะรูป ๔ รูปนี้ ถือว่าไม่ได้เกิดจากสมุฏฐานหนึ่ง สมุฏฐานใดเลย
ต่อเมื่อมีนิปผันนรูปเกิดขึ้น จึงจะมีลักขณรูปร่วมเกิดขึ้นพร้อมด้วย เสมอไปอย่างแน่นอน
แต่ถ้าไม่มีนิปผันนรูปเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่มีลักขณรูปทั้ง ๔ นี้ เกิดขึ้นเลยแม้แต่รูปเดียว
เพราะลักขณรูป ๔ เป็นแต่เพียงสภาพของรูปที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2013, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ประมวลรูปตามสมุฏฐาน

เมื่อประมวลรูปตามสมุฏฐานเข้าด้วยกันแล้ว จะเห็นได้ว่า

๑. เอกสมุฏฐานิกรูป หรือ เอกชรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐานอย่างเดียวมี ๑๑ รูป ได้แก่
อินทรียรูป ๘ หทยรูป ๑ รวม ๙ รูป เกิดจากกรรม เป็นสมุฏฐานแต่อย่างเดียว
กายวิญญัตติ ๑ วจีวิญญัตติ ๑ รวม ๒ รูป เกิดจากจิต เป็นสมุฏฐานแต่อย่างเดียว

๒. ทวิสมุฏฐานิกรูป หรือ ทวิชรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ๒ อย่าง หรือ ๒ สมุฏฐาน มี ๑ รูป ได้แก่
สัททรูป ๑ เกิดจากจิต เป็นสมุฏฐานก็ได้ เกิดจากอุตุ เป็นสมุฏฐานก็ได้

๓. ติสมุฏฐานิกรูป หรือ ติชรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ๓ อย่างมี ๓ รูป ได้แก่
วิการรูป ๓ เกิดจากจิต หรือ อุตุ หรืออาหาร เป็นสมุฏฐานก็ได้

๔. จตุสมุฏฐานิกรูป หรือ จตุชรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ได้มี ๙ รูป ได้แก่
อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ รวม ๙ รูปนี้ เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร อย่างใดก็ได้ทั้งนั้น

๕. นกุโตจิสมุฏฐานิกรูป หรือ นกุโตจิรูป คือ รูปที่ไม่ได้เกิดจากสมุฏฐาน ใด ๆ เลยทั้งนั้น มี ๔ รูป ได้แก่
ลักขณรูป ๔ (อุปจยรูป ๑ สันตติรูป ๑ ชรตารูป ๑ อนิจจตารูป ๑) ไม่ได้เกิดจากกรรม จิต อุตุ อาหาร อย่างใดเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร