วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลธรรมที่ปรากฎอยู่ในโลกนี้ ส่วนใหญ่แล้ว กรรมมีส่วนเป็นเหตุด้วยเสมอไป เพียงแต่จะเหตุใกล้หรือเหตุไกลเท่านั้น โดยเฉพาะสุขที่เรายินดีและแสวงหากันอยู่ทุกวันนี้นั้น กรรมเข้าไปมีส่วนทำให้เป็นไปอย่างสำคัญ เพราะฉะนั้นเรื่องกรรมจึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง จะขอตั้งปัญหาเกี่ยวกับกรรมเป็นข้อๆ ดังนี
๑. อะไรคือสิ่งที่เรียกว่ากรรม ?
๒. ที่เรียกว่ากรรมเพราะมีความหมายว่ากระไร ?
๓. กรรมมีกี่อย่าง ?
๔. ความเป็นผู้มีอายุยืน อายุสั้น เป็นต้น เกี่ยวข้องกับกรรมอะไรบ้างหรือไม่อย่างไร ?
๕. เพราะเหตุไรในสูตรบางสูตรจึงตรัสว่า แม้ทำชั่วก็ไปสวรรค์ได้ แม้ทำดีก็ไปนรกได้ ?
๖. กรรมสร้างผลของตนได้อย่างไร ?
๗. การให้ผลของกรรมเป็นเรื่ออจิณไตย ที่ว่าไม่ควรคิดเป็นอย่างไร?

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. อะไรคือสิ่งที่เรียกว่ากรรม ?

ก่อนอื่นควรทราบว่า
สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่ากรรม ตรัสหมายถึงอะไร อะไรคือสิ่งที่เรียกว่ากรรม ?
ขอตอบว่า "เจตนา" และธรรมบางอย่างที่สัมปยุต คือธรรมที่ประกอบกับเจตนา คือสิ่งที่เรียกว่า "กรรม"
เจตนา ในภาษาธรรมะ หมายถึง ธรรมชาติที่จงใจ ที่มุ่งมั่นในกิจนั้นๆ

ข้อนี้สมจริงตามที่ตรัสไว้ ว่า
"เจตนาหํ ภิกฺเว กมฺมํวทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา"
แปลว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลจงใจแล้วจึงทำกรรมด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ นี้ อย่าพึงว่าการเคลื่อนไหวกาย การเคลื่อนไหววาจา ความคิดที่อยู่ในใจไม่มีการ
เคลื่อนไหวกาย หรือวาจา ก็เป็นกรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้สนใจเรื่องกรรมมากๆเลยค่ะ
แต่สมองตอนนี้ตื้อๆ ไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหนดี
ลุงสมานหรือใคร พอจะแนะนำให้บ้างได้มั๊ย!ค่ะ :b8: :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2013, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
ตอนนี้สนใจเรื่องกรรมมากๆเลยค่ะ
แต่สมองตอนนี้ตื้อๆ ไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหนดี
ลุงสมานหรือใคร พอจะแนะนำให้บ้างได้มั๊ย!ค่ะ :b8: :b41: :b55: :b49:

ยินดีตอบทุกคำถามครับ
เมื่อไม่มีคำถาม งั้นก็ว่าไปเรื่อยๆ ก่อนนะ
สงสัยอะไรแล้วค่อยมาถามก็แล้วกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2013, 06:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในบางครั้งเราอาจจะได้ยินคำว่า ขอโทษครับผมไม่มีเจตนาที่จะทำให้เสียหาย ฯลฯ

จริงอยู่ ในคัมภีร์พระอภิธรรม กล่าวถึง "เจตนา" ว่ามีอยู่ในจิตทุกประเภททุกดวง
ฉะนั้นเจตนานั้นมีอยู่จริง แต่เป็นเจตนาที่มิได้จงใจทำในสิ่งนั้นให้เสียหาย

แต่ถ้าจะเอาความหมายตามที่ผู้พูดนั้นก็ไม่ถูกหลักธรรมที่แท้จริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2013, 06:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จริงอยู่ ในคัมภีร์พระอภิธรรม กล่าวถึง "เจตนา" ว่ามีอยู่ในจิตทุกประเภททุกดวง
ถ้าเป็นเจตนาที่อยู่ในกุศลจิตและกุศลจิต ก็เข้าถึง กรรม ที่สร้างผลให้เกิดผลขึ้นภายหลังได้
แต่ถึงกระนั้นในบางครั้ง ลำพังเจตนาอย่างเดียว ก็ไม่สามารถทำให้ผลเกิดขึ้นได้
ต้องอาศัยธรรมอื่นๆอีกประกอบร่วมกับเจตนานั้น ร่วมมือทำให้ผลเกิดขึ้น

และธรรมบางอย่างเหล่านั้นออกหน้าเป็นประธานในการสร้างผลยี่งกว่าเจตนาเสียอีก
วาระเช่นนี้เองที่กล่าวได้ว่าธรรมบางอย่างที่ประกอบร่วมกันกับเจตนาก็ชื่อกรรม
เพราะเป็นไปพร้อมกับกรรม เช่น การกระทำพระอริยะให้เกิดขึ้น แล้วบุคคลนั้นสำเร็จ
เป็นพระอริยะบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น ลำพังเจตนาความจงใจตั้งใจอย่างเดียว

โดยที่ไมการกระทำองค์มรรค ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ให้เกิดขึ้นนั้นก็หาที่จะสำเร็จได้ไม่
ฉะนั้นต้องอาศัยองค์มรรค ๘ เข้าร่วมด้วยจึงจะสำเร็จได้ และองค์มรรค ๘ เหล่านี้
ออกหน้าเป็นประธานในการทำอริยะผลให้เกิดขึ้นยิ่งกว่าเจตนา เพราะเหตุนั้น

พระองค์ไม่ตรัสถึงเจตนา ตรัสเฉพาะพระอริยะมรรคมีองค์ ๘ ว่าเป็นกรรม คือเป็นกรรมที่
ไม่ดำไม่ขาว ทำวิบากที่ไม่ดำไม่ขาว คือทำพระอริยะผลมีพระโสดาบันเป็นต้น ให้เกิดขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2013, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ที่เรียกว่ากรรมเพราะมีความหมายว่ากระไร ?

โดยมากเวลากล่าวถึงกรรมนั้น มักจะกล่าวไปในทำนองที่เป็นไปในทางที่ไม่ดี เป็นความหายนะ
เป็นของไม่น่าปรารถนา เช่น "เคราะกรรมยังไม่สิ้น" " กรรมตามสนอง" "กำลังใช้กรรม" บ้าง
เหล่านี้เป็นต้น เลยใช้คู่ไปกับบุญ ที่รู้กันว่าเป็นของดี น่าปรารถนา เช่นว่า "แล้วแต่บุญแต่กรรม"
"ปล่อยไปตามบุญตามกรรมบ้าง" ดังนี้เป็นต้น
ก็คำว่ากรรม แปลว่าธรรมชาติที่กระทำ(สร้าง) ผลของตนก็ได้ เพราะท่านทำความหมายของคำว่า
อตฺตโน ผลํ กโรตีติ กมฺมํ แปลว่า ธรรมชาติที่ชื่อว่า กรรม เพราะมีความหมายว่ากระทำผลของตน.
กรรมโดยความหมายนี้ปรากฎอยู่หลายแห่ง เช่น ในคำว่า กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย
อันแปลว่ากรรม ย่อมจำแนกสัตว์ เพื่อความเป็นผู้เลวและปราณีต ดังนี้เป็นต้น กรรมเป็นสิ่งที่ถูกกระทำขึ้น
โดยบุคคลที่ว่าจงใจ ผลจึงมีขึ้น เป็นผลที่รอโอกาสให้ผลคือรอปัจจัยต่างๆพร้อมก็จะส่งผลทันที ทั้งที่
เป็นกุศลและอกุศล ถ้าเหตุปัจจัยของกุศลพร้อมก่อนผลของกุศลก็เกิดทันที ถ้าผลของกุศลนั้นหมดแต่
เหตุปัจจัยยังไม่หมด กุศลใหม่ก็จะมาให้ผลสืบเนื่องต่อไปอีก ที่เราเรียกกันว่า กุศลเจริญ สืบต่อกันไป
นานๆ ทั้งนี้เราก็ต้องทำเหตุปัจจัยที่เป็นเหตุกุศลให้ผลของกุศลเกิดเรียกว่า เจริญกุศล ดังนี้ ก็จะดูเหมือน
ว่าผลของกุศลเก่าหมด ก็ได้ทำเหตุของกุศลใหม่ให้เป็นผลขึ้นอีก

อนึ่ง คำว่า กรรม นั้นมิได้มาคู่กับ บุญ เพราะคำว่า บุญ นั้นจะมาคู่กับ บาป ต่างหาก บุญนั้นท่านให้ความ
หมายสั้นคือ "ชำระ" หมายความว่าชำระสันดาลให้หมดจด คือ มีจิตใจสะอาดปราศจากสิ่งที่เป็นโทษ
คือกิเลส ทำให้ได้แต่ประสพความสุขได้ ก็เพราะธรรมชาตินี้แหละที่ชื่อว่า "บุญ" ส่วนคำว่า บาป แปล
ว่า สภาวะที่ทำให้เกิดทุกข์ ท่านให้ความหมายว่า อปายาทิทุกฺขํ ปาเปนฺตีติ ปาปา
แปลว่า บาป เพราะมีความหมายทำให้ถึงทุกข์ซึ่งมีทุกข์ในอบายเป็นต้น

เพราะเหตุที่บาปเป็นธรรมชาติที่ทำให้ประสบความทุกข์อย่างนี้นั่นเอง เราจึงมีการแปลให้เข้าใจง่ายๆว่า "ชั่ว" เช่น "บาปกรรม" ก็แปลว่า "กรรมชั่ว" อย่างนี้เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2013, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุที่เกิดเป็นอย่างนี้ค่ะ ทุกๆวันเราจะเอาอาหาร ไปให้พวกสุนัข2เวลา เช้า-เย็น
ทีนี้เราก็ไปเจอลูกสุนัขอีกที่หนึ่ง ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับตลาด (เป็นตลาดเล็กๆค่ะ)
สภาพของลูกสุนัข ผอมมากๆ อายุประมาณ2เดือน 3ตัว

ทีนี้เราก็เริ่มเอาอาหารไปให้ ตอนแรกๆ ที่ให้อาหาร ตัวมันจะสั่น เพราะหิว
พอเอาไปให้บ่อยๆก็ดีขึ้น บางครั้งเราจะนั่งเฝ้า เพราะกลัวหมาตัวใหญ่จะมาแย่ง
เราก็มองว่า "พวกลูกสุนัขพวกนี้ เค้าได้กรรมดีของเค้าน่ะ
มีอาหารมาให้ ตรงที่พวกเค้าอยู่ก็ดีกันฝนได้"

ลูกสุนัขพวกนี้ จะจำเสียงรถเราได้ พอเราไปเค้าจะออกจากรู ที่พวกเค้าอยู่มาหาเลย
พอไม่นาน ก็โดนรถชนตายไป1ตัว ทีนี้ก็เหลือ2ตัว
เราก็ไม่ได้คิดอะไร แค่คิดว่า ลูกสุนัขตัวนั้น เค้าหมดกรรมไปแล้ว
เค้าคงจะได้ไปเกิดเป็นคน

แต่ทีนี้เราก็ ไม่รู้ว่ารู้สึกยังไง เวลาที่เราอุ้มมัน เรามักจะคิดว่า ทุกคนเกิดมาก็ต้องมีกรรม
แม้จะเกิดมาในร่างของสัตว์

แล้วจู่ๆก็มีผู้หญิงคนหนึ่ง เอาลูกสุนัข2ตัวนี้ ไปให้คนอื่น แล้วบอกให้เค้าเอาไปปล่อยในป่า
พอเรารู้ เราก็ไปถามเค้าว่า " ทำไมเธอถึงเอาลูกหมาไปปล่อยในป่า"
เค้าบอกว่า "สงสารมัน"
เราก็ถามว่า "มีอะไรให้น่าสงสาร เพราะฉันเอาข้าวไปให้มันกินทุกวัน"
เค้าก็บอก "อ้าว!คุณหรอกเหรอ เอาขาวไปให้มันกินฉันไม่รู้"


เราก็พูดว่า " แล้วนี่เธอเอามันไปปล่อยในป่า มันไม่อดตายไปแล้วเหรอ
ชีวิตของพวกมันดีๆ แต่เธอนี่มันตัวซวย ไปทำให้ชีวิตพวกมันลำบาก
เธอนี่มันตัวซวยจริงๆ แล้วทีนี้เธอจะทำยังไง ป่าที่ไหนเธอพาฉันไป
ฉันจะเอาพวกมันกลับ เธอนี่อุบาทว์จริงๆอ่ะ เอาลูกหมาไปปล่อยในป่า "
เค้าบอก " ไปไม่ได้หรอกมันไกล "
ความรู้สึกตอนนั้น แทบอยากจะตบหน้าเค้าเลย



พอกลับมาบ้าน เราก็มานั่งคิดว่า "ผู้หญิงคนนั้นกับลูกสุนัขเค้า คงจะมีกรรมผูกพันธ์กันมา
จู่ๆ ก็มาทำให้ชีวิตลูกหมา2ตัวนั้นลำบาก "

แต่สำหรับตัวของเรา เราก็ไม่รู้เหมือนกัน ว่าเรากับลูกสุนัข2ตัวนั้นผูกพันธ์กันมาแบบไหน
เวลาผ่านมา ก็เกือบอาทิตย์หนึ่งแล้ว

ทุกครั้งที่นั่งสมาธิหรือสวดมนต์ เราจะอธิฐาน ให้ผลบุญนั้น ช่วยคุ้มครองลูกสุนัข 2 ตัวนั้น
ตอนนี้ทำได้แค่นี้

แต่เรามีความรู้สึกว่า ผู้หญิงคนนั้นโกหก ว่าเอาไปปล่อยในป่าไกลๆ
มีใครพอจะบอกให้เราบ้างมั๊ย!ค่ะ ว่านี่คือกรรมอะไร :b8: :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2013, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เท่าที่อ่านมาทั้งหมดนั้นมันเป็นเล่าสู่กันฟังเสียมากกว่า
แต่พอลงท้ายมีอยู่นิดเดียวว่า "นี่คือกรรมอะไร" ถ้าคิดว่าจะให้เป็นคำถามจริงๆ
ก็เป็นคำถามที่กว้างมาก คงตอบได้ว่ามันเป็นกรรมของสัตว์โลกทั่วๆไป ซึ่งตรงกับคำว่า
"ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว"

คงต้องดูบทสวดมนต์อภิณหปัจจเวกขณ์นี้ แล้วคงเข้าใจเรื่องที่เล่ามานั้นได้ครับ

ชะราธัมโมมหิ ชะรัง อะนะตีโต
เรามีความแก่เป็นธรรมดาจะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้
พ๎ยาธิธัมโมมหิ พ๎ยาธิง อะนะตีโต
เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้
มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต
เรามีความตายเป็นธรรมดาจะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว
เราจะละเว้นเป็นต่างๆ, คือว่าจะต้องพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง
กัมมัสสะโกมหิ กัมมะทายาโท กัมมะโยนิกัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระโณ
เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆตน, มีกรรมเป็นผู้ให้ผล,
มีกรรมเป็นแดนเกิด, มีกรรมเป็นผู้ติดตาม, มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสามิ, กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา, ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ
เราทำกรรมอันใดไว้, เป็นบุญหรือเป็นบาป,
เราจะเป็นทายาท, คือว่าเราจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นๆ สืบไป
เอวัง อัมเหหิ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง
เราทั้งหลายควรพิจารณาอย่างนี้ทุกวันๆ เถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2013, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุค่ะลุง หนูขอนำ จูฬกัมมวิภังคสูตร มาให้อ่านกันค่ะ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 623&Z=7798

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

จูฬกัมมวิภังคสูตร
จากหนังสือธัมมเจติยะ พระบรมศาสดา หน้า 159

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่
ปรากฏความเลวและความประณีต

ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้

ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เขาตายไปจะเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคนมีอายุสั้น

ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ละปาณาติบาตแล้ว เขาตายไปจะเข้าถึงสุุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคนมีอายุยืน

ผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ จะเป็นคนมีโรคมาก ผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ จะเป็นคนมีโรคน้อย

คนมักโกรธ จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม คนไม่มักโกรธ จะเป็นคนผ่องใส

คนมีใจริษยา จะเป็นคนมีศักดาน้อย คนมีใจไม่ริษยา จะเป็นคนมีศักดามาก

คนไม่เป็นผู้ให้ข้าว จะเป็นคนมีโภคะน้อย คนเป็นผู้ให้ข้าว จะเป็นคนมีโภคะมาก

คนกระด้าง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ คนไม่กระด้าง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง

คนไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
จะเป็นคนมีปัญญาทราม

คนเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
จะเป็นคนมีปัญญามาก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2013, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
สาธุค่ะลุง หนูขอนำ จูฬกัมมวิภังคสูตร มาให้อ่านกันค่ะ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 623&Z=7798

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

จูฬกัมมวิภังคสูตร
จากหนังสือธัมมเจติยะ พระบรมศาสดา หน้า 159

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่
ปรากฏความเลวและความประณีต

ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้

ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เขาตายไปจะเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคนมีอายุสั้น

ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ละปาณาติบาตแล้ว เขาตายไปจะเข้าถึงสุุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคนมีอายุยืน

ผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ จะเป็นคนมีโรคมาก ผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ จะเป็นคนมีโรคน้อย

คนมักโกรธ จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม คนไม่มักโกรธ จะเป็นคนผ่องใส

คนมีใจริษยา จะเป็นคนมีศักดาน้อย คนมีใจไม่ริษยา จะเป็นคนมีศักดามาก

คนไม่เป็นผู้ให้ข้าว จะเป็นคนมีโภคะน้อย คนเป็นผู้ให้ข้าว จะเป็นคนมีโภคะมาก

คนกระด้าง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ คนไม่กระด้าง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง

คนไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
จะเป็นคนมีปัญญาทราม

คนเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
จะเป็นคนมีปัญญามาก

:b8: :b8: :b8:

:b8: [๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ สุภมาณพ โตเทยยบุตร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว
พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือน
หงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีป
ในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. กรรมมีกี่อย่าง
กรรมมีอย่างเดียว คือ "เจตนา" ซึ่งตรงกับพุทธศาสนสุภาษิตว่า
"เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ" แปลว่า "เจตนานั่นแหละเป็นกรรม"
อันมาจากพุทธพจน์ว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา"
แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย วาจา ใจ"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมมี ๒ อย่าง
คือ เจตนาที่มีธรรมอื่นประกอบร่วมด้วย
แยกออกเป็น ๒ อย่างคือ กุศลกรรม ๑ อกุศลกรรม ๑ กรรมทั้ง ๒ อย่างนี้
เรียกว่ากรรมดีและกรรมชั่ว กล่าวคือ ถ้าหากเป็นไปเพื่อการเบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง
มีผลเป็นทุกข์ไม่น่าปรารถนา ก็เรียกว่าอกุศลกรรม นัยตรงกันข้ามไม่พึงเป็นไป
เพื่อความเบียดเบียนผู้อื่นและตนเองทั้ง ๒ ฝ่ายแล้วไซร้ ก็เรียกว่ากุศลกรรม ควรแก่สุขมีวิบากเป็นสุข

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม ๓ อย่าง
โดยเกี่ยวกับทวารทั้ง ๓ กรรมทั้ง ๒ อย่างที่เป็นกุศลกรรม และอกุศลกรรม ดังที่กล่าวแล้วนั้น
แต่ละอย่าง เมื่อจำแนกตามทวาร ๓ คือ กายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร ก็ได้ ๓ อย่าง คือ
กายกรรม ๑ วจีกรรม ๑ มโนกรรม ๑
กายที่เคลื่อนไหวนั่นเอง เป็นช่องทางให้กรรมเป็นไป จึงชื่อว่า กายทวาร ในเวลาพูดนั่นเอง
เป็นช่องทางให้กรรมเป็นไป จึงชื่อว่า วจีทวาร ลำพังใจอย่างเดียวแม้ไม่ต้องเคลื่อนไหวกาย
หรือวาจา ก็เป็นช่องทางให้สำเร็จกรรมบางอย่างได้ จึงชื่อว่ามโนทวาร
กรรมจำแนกตามทวาร ๓ ก็มี ๓ อย่าง มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2013, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม ๔ อย่าง
โดยเกี่ยวกับกิจที่กระทำมี ๔ อย่าง คือ
๑. ชนกกรรม ๒. อุปัตถัมภกกรรม ๓. อุปปีฬกกรรม ๔. อุปฆาตกกรรม
ทั้ง ๔ อย่างนี้จะอธิบายต่อไป
๑. ชนกกรรม เพราะมีความหมายว่า "ทำให้เกิด" ความว่า เจตนาที่เป็นกุศลหรืออกุศล ซึ่ง
กระทำวิบากและกัมมชรูปให้เกิดขึ้น ในปฏิสนธิกาล คือ เป็นการเกิดครั้งแรกหรือแหย่งลงครั้งแรก
ของสัตว์ และตามมาด้วยปวัตติกาล คือเวลาต่อมาหลังจากปฏิสนธิแล้วชื่อว่า ชนกรรม

คำว่า วิบาก มีความหมายของคำว่า สุกงอม ผลใดย่อมสุกงอม คือสำเร็จ
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าวิบาก เหมือนอย่างว่า ข้าวสารที่หุงแล้วย่อมมีผลเป็นข้าวสวย
ให้บุคคลเสวย คือบริโภค ได้รับความอร่อยหรือไม่อร่อยจึงเรียกข้าวสวบนั้นว่าข้าวสุก
มะม่วงอ่อนที่เขาบ่มไว้ ย่อมมีผลเป็นมะม่วงแก่ให้บุคคลเสวย คือบริโภคได้รับความอร่อย
หรือไม่อร่อย จึงเรียกมะม่วงนั้นว่ามะม่วงสุก

ฉันใด กรรมที่บุคคลกระทำคือก่อไว้แล้วย่อมมีผลที่บุคคลพึงเสวยแล้ว
ได้รับความสุขหรือความทุกข์ในภายหลัง จึงเรียกผลของกรรมนั้นว่า วิบาก (ของสุขงอม)
เพราะเป็นเหมือน ความสุขงอมของกรรมของกรรมฉันนั้น คำว่าวิบากนี้
เป็นซื่อแห่งผลแห่งกรรมฝ่ายนามธรรม

อนึ่ง เกี่ยวกับคำว่าวิบากนี้ มีอธิบายกว้างขวางอยู่ในคัมภีร์พระอภิธรรม วาระนี้ขอเอาเพียงย่อๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร