วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2013, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความโกรธ คือความกลัว คือ โทสะ

ตามนี้เลยครับ

:b12: เชิญมะรุมมะตุ้ม ตุ๊บตั๊บ :b12:

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2013, 06:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ความกลัว..เป็นทุกข์ละเอียด...
ความโกรธ...เป็นทุกข์หยาบ..มาก

เพราะมีความกลัวตาย...กลัวร่างกายตาย....จึงต้องการปัจจัย4 ที่เรียกว่าลาภ...ต้องการยศ..สรรเสริญ...สุข

เพราะต้องการโลกธรรมที่เป็นคุณต่อรูปร่างกายนี้...มาก ๆ...จึงโลภ
เพราะไม่ได้โลกธรรมที่เป็นคุณต่อรูปร่างกายนี้...หรือแค่.มีทีท่าว่าจะขาด
ก็เลยโกรธ....

ในปฏิจจะ....โกรธ...เป็นทุกข์ที่แสดงออกในขั้นสุดท้าย
ซึ่งความจริง...มันทุกข์ตั้งแต่..ไม่ได้ตามที่อยาก...คือ..ตัณหา
ทุกข์ตั้งแต่..ไม่ได้อย่างที่หวัง..คือ..อุปาทาน
ทุกข์ตั้งแต่...ไม่ได้อย่างที่ตั้งใจ..คือ..ภพ

ตัณหา...อุปาทาน...ภพ....มีก็เพื่อไม่ให้..ตาย

ความกลัวตาย....จึงเป็นทุกข์ของอวิชชา
เพราะกลัวตาย....ความกลัวทั้งหลายก็ตามมา..
กลัวหิว....กลัวเหงา...กลัวเงียบ...กลัวเขาไม่รัก....กลัวเขานินทา..กลัวฯลฯ..

ทุกอาการกิริยาที่เราทำ...ก็ล้วนเกิดจากความกลัว

เดินผ่านกันก็ยิ้มให้เขา...ทั้งที่ใจเราไม่ได้มีอารมณ์ยิ้มหรอก...แต่ที่ยิ้มให้เขาก็กลัวเขาจะว่าเราไม่ทักเขาบ้างละ...กลัวว่าเขาจะว่าเราหยิ่งบ้างละ....เดียวเขาจะไม่ยินดีในตัวเรา....ทั้ง ๆที่...เราปวดขี้จะตาย...ยังต้องยิ้ม...เพราะความกลัวแท้ ๆ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2013, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
ความโกรธ คือความกลัว คือ โทสะ

ตามนี้เลยครับ

:b12: เชิญมะรุมมะตุ้ม ตุ๊บตั๊บ :b12:


ความกลัวต้องทำความใจให้ดีนะครับ
บางอย่างเป็นอารมณ์ของโทสะ บางอย่างก็เป็นอารมณ์ของกุศล

อารมณ์ที่เป็นอกุศล เช่นไปลักทรัพย์เขามา กลัวว่าเจ้าของเขาจะรู้กลัวว่าเขาจะจับได้ เป็นต้น

อารามณ์ที่เป็นกุศล เช่น เห็นว่าการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ กลัวเกรงว่าเป็นบาป เหล่านี้เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2013, 06:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
ความโกรธ คือความกลัว คือ โทสะ

ตามนี้เลยครับ

:b12: เชิญมะรุมมะตุ้ม ตุ๊บตั๊บ :b12:

ความกลัว ไม่ใช่ ความโกรธ
ความกลัว คือ ความหลง

"ความกลัว" เกิดจาก "อวิชชา" ความไม่รู้ ความหวาดระแวงภัยต่อชีวิต
ขาดความมั่นใจ ขาดความเชื่อมั่น เชื่อในสิ่งลี้ลับจะทำให้เกิดอันตราย เช่น ..

กลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย กลัวผีปีศาจ ฯลฯ เรื่องเหล่านี้ล้วนเรียกว่า "อวิชชา"
ความไม่รู้จริง เหมือนตกอยู่ในห้องมืด ขาดแสงสว่าง ขาด "วิชชา" ความรู้จริง ..

"ความโกรธ" เกิดจากความคับข้อง คับแค้น ขุ่นเคืองใจ
"โทสะ" เกิดจากความโกรธ ความไม่อดทน

ความกลัว จึงไม่ใช่ความโกรธ ไม่ใช่โทสะ ..


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2013, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความกลัว ไม่ใช่ ความโกรธ
ความกลัว คือ ความหลง


ผมถึง ได้ตั้งเป็นหัวข้อกระทู้ ไงครับ คุณวิริยะ
เพราะเคยเจอในพระไตรปิฏก ว่า ความกลัว องค์ธรรมคือ โทสะ

แต่ว่าจะอยู่ส่วนไหน หน้าไหน ............... ต้องไปค้นใหม่ครับ ผมลืมๆ ไปแล้ว

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2013, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
ความโกรธ คือความกลัว คือ โทสะ

ตามนี้เลยครับ

:b12: เชิญมะรุมมะตุ้ม ตุ๊บตั๊บ :b12:

คุนน้องกลับคิดว่าเป็นอาการของนิวรณ์ ที่เกิดกับคุนน้องตอนที่ไม่มีสมาธิ :b12:
Quote Tipitaka:
นิวรณ์ 5 หมายถึง สิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ

1.กามฉันทะ คือ ความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น (คำว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น)

2. พยาบาท คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ

3. ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะ คือ ความหดหู่ท้อถอย และมิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ
ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป
ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส (พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)

4. อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ
อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที
ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้

5. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น

นิวรณ์ทั้ง 5 ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้ ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ

นิวรณ์ทั้ง 5 เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำสมาธิ ถ้านิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือหลายตัวเกิดขึ้น สมาธิก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย แต่นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ไม่เป็นตัวขวางกั้นวิปัสสนาเลย ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอีกด้วย เพราะวิปัสสนานั้นเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่ว่าขณะนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นประโยชน์ให้เรียนรู้ได้เสมอ นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ๆ ของจิตที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ ของจิตเช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2013, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
โทสะ เป็นสภาพที่ประทุษร้าย ขุ่นเคือง ไม่พอใจ โกรธ หงุดหงิด น้อยใจ เสียใจ

กลัว ทั้งหมดเป็นลักษณะของโทสะ โทสะมีหลายระดับขั้น ในชีวิตประจำวันโทสะก็

สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ เช่นในขณะที่โกรธไม่พอใจบุคคลบางคนแล้ว กล่าวคำที่ไม่น่า

ฟังกับบุคคลนั้นออกไป ขณะนั้นก็รู้ได้ว่าเป็นโทสะ นอกจากนั้นแล้วขณะที่น้อยใจ

เสียใจ หรือกลัว ไม่ว่าจะเป็นกลัวภัยในชีวิต กลัวอันตรายต่าง ๆ กลัวความเจ็บป่วย

เป็นต้น ก็เป็นกิเลสประเภทโทสะ เพราะเป็นลักษณะที่ไม่ชอบในอารมณ์ หนทางที่

จะดับโทสะได้ คือ อบรมเจริญปัญญาเท่านั้น จึงจะดับโทสะให้หมดสิ้นไปได้

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2013, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


โทสะ คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความกลัว(ยังค้นไม่เจอ)
Quote Tipitaka:
โทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่
คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่
แช่มชื่นแห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โทสะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
พยาปาทะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่
คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่
แช่มชื่นแห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า พยาปาทะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2013, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


Quote Tipitaka:
โทสะ เป็นไฉน?
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้น
ได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความ
เสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความ
เสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า
ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็น
ที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง
ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิด
ประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ
ความโกรธมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความ
คิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น
ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า โทสะ.

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2013, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองพิจารณาลักษณะของคนสองจำพวกดูนะครับ ..

คนขี้กลัว ๑
คนขี้โกรธ ๑

ถ้าลักษณะเหมือนกัน แสดงว่า ความกลัวก็คือความโกรธ ..

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2013, 04:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
ความโกรธ คือความกลัว คือ โทสะ

ตามนี้เลยครับ

:b12: เชิญมะรุมมะตุ้ม ตุ๊บตั๊บ :b12:

คำสามคำนี่ไม่เหมือนกัน แต่บางครั้งมันเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน
ความโกรธและโทสะ เป็นอาการของจิตที่ถูกกิเลสเข้าบ่งการ
ทั้งความโกรธและโทสะ มาจากตัณหาตัวเดียวกัน แต่ต่างกันที่สังโยชน์

แล้ว"ความกลัว"คืออะไร มันก็คือ ตัวสังโยชน์ ที่เรียกว่า...อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน)
พูดให้เข้าใจ ...ความกลัวก็คือความฟุ้งซ่านนั้นเอง คิดโน้นนี่ทั้งๆที่ยังไม่เกิด

ความกลัวเป็นสังโยชน์ทำให้เกิด โทสะ
ปฏิฆะเป็นสังโยชน์ที่ทำให้เกิด ความโกรธ

ความกลัวเป็นตัวบ่งการให้จิตไปยึดตัณหาที่เรียกว่า.....วิภวตัณหา
ทำให้จิตเกิดอาการ ปฏิเสธภพนั้น เรียกอาการของจิตนี่ว่า โทสะ

ปฏิฆะจะบ่งการจิตให้ไปยึดตัณหา ...วิภวตัณหาเช่นกัน
ทำให้จิดเกิดอาการ ปฏิเสธภพ เป็นโทสะเหมือนกัน
แต่มันต่างกันกับโทสะที่เกิดจากความกลัว ตรงที่ความรุนแรง
โทสะที่เกิดจากปฏิฆะจะมีความรุนแรงกว่า โทสะที่เกิดจากความกลัว
เหตุนี่จึงเรียกโทสะที่มีความรุนแรงว่า.....ความโกรธ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2013, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
govit2552 เขียน:
ความโกรธ คือความกลัว คือ โทสะ

ตามนี้เลยครับ

:b12: เชิญมะรุมมะตุ้ม ตุ๊บตั๊บ :b12:

คำสามคำนี่ไม่เหมือนกัน แต่บางครั้งมันเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน
ความโกรธและโทสะ เป็นอาการของจิตที่ถูกกิเลสเข้าบ่งการ
ทั้งความโกรธและโทสะ มาจากตัณหาตัวเดียวกัน แต่ต่างกันที่สังโยชน์

แล้ว"ความกลัว"คืออะไร มันก็คือ ตัวสังโยชน์ ที่เรียกว่า...อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน)
พูดให้เข้าใจ ...ความกลัวก็คือความฟุ้งซ่านนั้นเอง คิดโน้นนี่ทั้งๆที่ยังไม่เกิด

ความกลัวเป็นสังโยชน์ทำให้เกิด โทสะ
ปฏิฆะเป็นสังโยชน์ที่ทำให้เกิด ความโกรธ

ความกลัวเป็นตัวบ่งการให้จิตไปยึดตัณหาที่เรียกว่า.....วิภวตัณหา
ทำให้จิตเกิดอาการ ปฏิเสธภพนั้น เรียกอาการของจิตนี่ว่า โทสะ

ปฏิฆะจะบ่งการจิตให้ไปยึดตัณหา ...วิภวตัณหาเช่นกัน
ทำให้จิดเกิดอาการ ปฏิเสธภพ เป็นโทสะเหมือนกัน
แต่มันต่างกันกับโทสะที่เกิดจากความกลัว ตรงที่ความรุนแรง
โทสะที่เกิดจากปฏิฆะจะมีความรุนแรงกว่า โทสะที่เกิดจากความกลัว
เหตุนี่จึงเรียกโทสะที่มีความรุนแรงว่า.....ความโกรธ



พูดพร่ำไปก็เท่านั้น หนวกหูเปล่า ๆ อาบน้ำกินนมนอนดีกว่า :b32: นี่พูดจริงๆนะ ทำเป็นเล่นไป ดูไปนานๆเห็นแต่ไร้สาระ เพ้อเจ้อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2013, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


บางที่อธิบายไปก็เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2013, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ควาย มันยืนฟัง นิ่งเลย
ในใจ มันคงคิดว่า เพราะมากเลย :b12:

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2013, 10:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเพิ่งเคยทราบว่าความกลัวคือโทสะหรือเป็นองค์ธรรมของโทสะ... แล้วอะไรคือโทสะแล้วโทสะคืออะไรหนอ...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร