วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 21:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2013, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มี.ค. 2011, 13:32
โพสต์: 245


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เรื่องที่พระพุทธเจ้าให้พระอริยสาวกสร้างเจดีย์ให้แก่พาหิยะ ทำให้อาจารย์นึกถึงเมื่อครั้งออกธุดงค์เมื่อพ.ศ.2529 ตอนนั้นเป็นพรรษาที่ 12 ของอาจารย์ เมื่อออกพรรษาแล้ว อาจารย์สุจิตโต ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ พำนักอยู่ที่วัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ ส่งจดหมายมาที่วัดป่านานาชาติ เล่าว่าท่านมีภารกิจมาก เหนื่อยจากงานสร้างเจดีย์ อยากจะกลับมาพักผ่อนเดินเที่ยวป่าในเมืองไทย และท่านเองก็นับถืออาจารย์แบนซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น จึงอยากไปนมัสการท่านที่วัด แล้วพักอยู่ศึกษาปฏิปทาของวัดสายหลวงปู่มั่นสักอาทิตย์หนึ่ง

เป้าหมายหลักของคณะอาจารย์ก็คือ ไปสักการะเจดีย์สามองค์ที่กาญจนบุรี โดยเดินธุดงค์ตามแบบของพระป่า เพื่อเพิ่มพูนความรู้และรับประสบการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจ นั่นคือธุดงค์ท่องเที่ยวไปโดยรักษาสติ รักษาใจ รักษาข้อวัตรปฏิบัติของพระไว้ ยังชีพด้วยการบิณฑบาต ไม่รับปัจจัย ไม่ใช้เงินทอง ถ้าไม่มีใครนิมนต์ขึ้นพาหนะเดินทางก็เดินเท้าไปด้วยตัวเอง แต่สุดท้ายอาจารย์ก็เดินทางข้ามจังหวัดจากอุบลราชธานีมายังนครราชสีมา ต่อไปจันทบุรี เข้ามากรุงเทพฯ ขึ้นเหนือไปเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แล้วล่องลงมาจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี มีทั้งเดินเท้าอยู่กลางป่า นั่งรถส่วนตัว ขึ้นรถโดยสาร นั่งเครื่องบิน ไปแม้กระทั่งจุดที่ลึกลงไปใต้ดินถึงสามร้อยเมตร เรียกได้ว่าเจอมาทุกรสชาติ

ช่วงนั้นอาจารย์ก็อยู่ที่วัดหนองป่าพงเป็นหลัก คอยอุปัฏฐากหลวงปู่ชาซึ่งกำลังอาพาธ จะอยู่อุปัฏฐากสองอาทิตย์ พักสองอาทิตย์ แล้วกลับไปสลับเปลี่ยนเวรวนไปอย่างนี้ ระหว่างที่อยู่ที่นั่นก็ได้ยินพระหลายรูปคุยกันเรื่องประสบการณ์การเดินธุดงค์ในป่า สมัยนั้นเวลาพระคุยกันก็มักเป็นเรื่องการธุดงค์เสียส่วนใหญ่ อาจารย์เลยได้ฟังประสบการณ์ธุดงค์มาหลายเรื่อง คนแต่ละพวกเวลาเข้าป่าก็จะกลัวไม่เหมือนกัน พระธุดงค์ส่วนใหญ่จะกลัวเสือกันมากที่สุด นายพรานจะไม่กลัวเสือเท่าไรนัก เพราะเสือที่กินคนไม่ค่อยจะมีให้เห็น แต่จะกลัวงูเพราะมองเจอตัวยาก ถ้าเข้าไปใกล้ก็อาจโดนฉกถึงตายได้ ส่วนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในป่าจะกลัวหมี เพราะหมีชอบบุกเข้ามาในกระท่อมเพื่อรื้อหาของกิน ชาวบ้านเลยอาจถูกหมีทำร้ายเอาได้

เวลาไปตามป่าตามเขาแบบนี้ ใกล้ๆ แหล่งน้ำมักจะมีรอยเท้าสัตว์ป่าต่างๆ ให้เห็น เห็นรอยเท้าสัตว์อื่นๆ ก็น่าตื่นเต้นดี แต่พอเห็นรอยเท้าเสือแล้วก็มักจะตื่นเต้นกันเป็นพิเศษ เคยมีคนเจอรอยเท้าเสือที่ทุ่งใหญ่นเรศวร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ถึง 25 เซนติเมตร มีคนประมาณจากขนาดรอยเท้าว่า เสือตัวนี้น่าจะตัวใหญ่ขนาดวัดจากหัวถึงปลายหางได้ถึง 4 เมตร ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมีพระป่าที่ไหนเดินประจันหน้ากับเสือแบบจังๆ บ่อยนัก แต่แค่รอยเท้าหรืออะไรก็ตามที่ชวนให้นึกถึงเสือ แม้กระทั่งกิตติศัพท์เรื่องเล่าก็สามารถทำให้จิตของเราปรุงแต่งจนเกิดความรู้สึกหวาดกลัวอย่างรุนแรงได้

มีพระที่อาจารย์รู้จักรูปหนึ่ง ท่านไปธุดงค์กับพระอีกหลายสิบรูปที่ทุ่งใหญ่นเรศวร พอตกเย็นพระท่านที่อาจารย์รู้จักเกิดรู้สึกเหนื่อย ต้องเดินช้าๆ สุดท้ายก็เดินไม่ทันคนอื่นเหลืออยู่แค่รูปเดียว สักพักฟ้าก็เริ่มมืด ระหว่างกำลังเดินข้ามห้วย พระท่านนั้นก็เหลือบไปเห็นรอยเท้าเสือ ท่านก็ร้องโอยในใจ แย่แล้ว มีเสือด้วย ว่าแล้วท่านก็รีบเดินให้ทันเพื่อน แต่จะเร่งฝีเท้าเท่าไรก็ไม่ทันสักที เร่งตามไปจนฟ้ามืดสนิทก็ยังไม่เจอใครเลย กลายเป็นว่านอกจากท่านที่อยู่กลางป่าคนเดียวตอนกลางคืนแล้ว ก็มีเสืออยู่เป็นเพื่อนอีกตัว ท่านเลยกลัวจนทนไม่ไหว ทิ้งบาตรทิ้งบริขารที่แบกมาทั้งหมด วิ่งตามเพื่อน สุดท้ายก็ไม่ไหว มุดเข้าไปอยู่กลางกอไผ่หนามทั้งคืน กอไผ่จะหนามเยอะขนาดไหนก็ไม่เป็นไร ความกลัวมันผลักไสให้ลุยเข้าไปได้ทุกที่

รูปภาพ

พอตอนเช้าท่านก็ตะเกียกตะกายออกจากกอไผ่ เดินต่อไปจนเจอชาวบ้าน โยมเลยพาออกจากป่าแล้วส่งขึ้นรถจนเดินทางกลับวัดที่จังหวัดนนทบุรีได้ พออาจารย์ของพระรูปนี้รู้เรื่องเข้า ก็ดุให้ท่านไปเอาบาตรที่ทิ้งไว้กลับมา เลยต้องเดินทางกลับมาที่ทุ่งใหญ่นเรศวรอีกที แต่ก็หาบาตรไม่เจอแล้ว

มีพระอีกกลุ่มหนึ่งไปธุดงค์ที่เขาใหญ่ แล้วพระรูปหนึ่งในคณะก็เกิดมีอาการเหมือนเป็นมาเลเรียขึ้นมา ตัวจะหนาวสั่นเป็นระยะๆ ตลอดทั้งวัน พระที่ไปด้วยกันก็เป็นห่วง เพราะถ้าติดเชื้อมาเลเรียจนอาการหนักขนาดนี้ก็มีสิทธิ์ถึงตายได้ อาจารย์ได้ยินมาว่าไข้มาเลเรียมีสองชนิด ชนิดหนึ่งจะขึ้นสมอง อีกชนิดจะลงกระเพาะ แบบขึ้นสมองจะรุนแรงแต่รักษาง่าย ส่วนลงกระเพาะจะไม่แรงเท่าไรแต่รักษายาก หมอต้องวินิจฉัยแล้วจ่ายยาให้ถูก ไม่อย่างนั้นจะเป็นอันตราย พระในคณะธุดงค์ก็เป็นห่วงมาก กลัวพระท่านนี้จะเป็นอันตราย เลยรีบเรียกรถมารับตัวไปส่งโรงพยาบาล แต่พอขึ้นรถแล้วพระท่านนั้นก็หายสั่นทันที ทุกคนก็งงว่าทำไมเมื่อกี้ยังสั่นแทบตาย พอขึ้นรถปุ๊บก็หายปั๊บ ไล่ไปไล่มาก็เลยมารู้กันหมดว่า ที่สั่นๆ ทั้งวันนั่นไม่ใช่มาเลเรีย แต่สั่นเพราะกลัวเสือ พอได้ขึ้นรถก็คิดว่ารอดแล้ว หายกลัวหายสั่นขึ้นมาทันที โดนจิตตัวเองหลอก จนต้องวุ่นวายไปทั้งคณะ

ความกลัวก็เหมือนการทำร้ายตัวเอง ความกลัวทำให้เราเป็นทุกข์ และยังทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนบางอย่างออกมา สัตว์ป่าก็จะรู้ว่าเรากลัว ถ้าเข้าป่ากันสามคน แล้วเจอสัตว์ป่าจะเข้ามาทำร้าย สัตว์ป่าก็จะเลือกทำร้ายคนที่กลัวมากที่สุดก่อน แต่ถ้าจิตเราหนักแน่น จิตเป็นอริยะ ก็จะไม่เกิดอันตรายจากสัตว์ป่าทั้งหลาย สังเกตดูประวัติของอริยบุคคลทั้งหลาย ไม่ปรากฏว่าเวลาธุดงค์ในป่าแล้วถูกสัตว์ป่าทำร้ายเลย ความกลัวบางครั้งก็ทำร้ายเราได้รุนแรงกว่าสิ่งที่เรากลัวเสียอีก

รูปภาพ


ที่มา : หนังสือ “เดินทางโดยสวัสดี” ของ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท

:b39: รวมคำสอน “พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38514

.....................................................
"องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน ตัดมูลเกลศมาร บ มิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว ราคี บ พันพัว สุวคนธกำจร"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2013, 06:55 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


ชื่อหนังสือเล่มนี้ คือ “เดินทางโดยสวัสดี”
เป็นนามมงคลจริงๆ คะ กราบสาธุคะ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 73 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร