วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่คุนน้องทราบต่อให้มีศีลบริบูรณ์ ภาวนาดีแค่ไหน ถ้าไม่มีกตัญญูต่อบิดามารดา คิดหรอว่าจะหลุดพ้น ไม่มีทาง
เพราะบุพการีเปรียบเหมือนพระอรหันต์ของลูก เราไม่มีสิทธิ์ไปตัดสินการกระทำของท่าน ก็เหมือนพระสงฆ์ดูดบุหรี่ แต่การประพฤติต่างกันโดยเหตุปัจจัย เอาอะไรไปวัดว่าเหมาะสมไม่เหมาะสม มีปัญญาก็รู้ได้เองโดยปัจจัตตังไม่จำเป็นต้องไปถามใครเลยเรื่องนี้ เพราะธรรมพระพุทธองค์รู้ได้โดยปัตจัตตัง :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกๆคำตอบเลยค่ะ :b8: เป็นความรู้ใหม่ แล้วก้อดีด้วย
ถ้ามีโอกาสได้เจอพระจะได้ระวังค่ะ


ที่เราเคยฟังพระจีน ของประเทศใต้หวันท่านพูดน่ะค่ะ ท่านบอกว่า
ที่ไม่ให้พระถูกตัวผู้หญิง เพราะผู้หญิงนั้นเนื้อจะนุ่ม
ทำให้เกิดความรู้สึกค่ะ :b41: :b55: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไปหาดูที่อื่นมา เขาบอกว่า
Quote Tipitaka:
[๓๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องมารดาด้วยความรักฉันมารดา เธอได้มี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=13631&Z=13713&pagebreak=0

หมายเหตุ : ความผิดที่มีโทษขั้นเบา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อาบัติถุลลัจจัยบ้าง อาบัติทุกกฎบ้าง และอาบัติทุพภาษิตบ้าง เป็นสิกขาบทที่ไม่ได้มีอยู่ในพระปาติโมกข์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สมัยก่อนนู้นนนนนนนนน
พระใหม่ ต้องอาศัยกับอุปัชฌาย์ 4-5 ปี
สมัยนี้แปลก อุปัชฌาย์อาจารย์ย่อหย่อน ไม่ให้ความสำคัญในการดูแลผู้บวชใหม่
บวชกันไปพอเป็นพิธี
พระใหม่จึงไม่รู้ว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร

รึ นี่จะโทษอุปัชฌาย์จารย์ ได้ไหม????

เช่นนั้น เขียน:
ไปหาดูที่อื่นมา เขาบอกว่า
Quote Tipitaka:
[๓๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องมารดาด้วยความรักฉันมารดา เธอได้มี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=13631&Z=13713&pagebreak=0

หมายเหตุ : ความผิดที่มีโทษขั้นเบา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อาบัติถุลลัจจัยบ้าง อาบัติทุกกฎบ้าง และอาบัติทุพภาษิตบ้าง เป็นสิกขาบทที่ไม่ได้มีอยู่ในพระปาติโมกข์

เช่นนั้นชอบอ้างพระไตรปิฎก ทั้งๆที่ตัวเองไม่สามารถพิจารณาเนื้อหาในพระไตรปิฎกนั้น
ชอบหยิบพระไตรปิฎกมาเป็นท่อนๆ เห็นแต่มีคำศัพท์เหมือนกันก็เอามาอ้างสุมสี่สุมห้า

จะบอกเช่นนั้นให้ว่า การอ่านพระไตรปิฎกจะต้องอ่านให้หมดทั้งบท จะต้องมีสมาธิ
พิจารณาพระไตรปิฎกทุกวรรคตอน หาคำตอบด้วยเหตุปัจจัย ไม่ใช่หาจากคำศัพย์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
สมัยก่อนนู้นนนนนนนนน
พระใหม่ ต้องอาศัยกับอุปัชฌาย์ 4-5 ปี
สมัยนี้แปลก อุปัชฌาย์อาจารย์ย่อหย่อน ไม่ให้ความสำคัญในการดูแลผู้บวชใหม่
บวชกันไปพอเป็นพิธี
พระใหม่จึงไม่รู้ว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร

รึ นี่จะโทษอุปัชฌาย์จารย์ ได้ไหม????

เช่นนั้น เขียน:
ไปหาดูที่อื่นมา เขาบอกว่า
Quote Tipitaka:
[๓๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องมารดาด้วยความรักฉันมารดา เธอได้มี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=13631&Z=13713&pagebreak=0

หมายเหตุ : ความผิดที่มีโทษขั้นเบา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อาบัติถุลลัจจัยบ้าง อาบัติทุกกฎบ้าง และอาบัติทุพภาษิตบ้าง เป็นสิกขาบทที่ไม่ได้มีอยู่ในพระปาติโมกข์

เช่นนั้นชอบอ้างพระไตรปิฎก ทั้งๆที่ตัวเองไม่สามารถพิจารณาเนื้อหาในพระไตรปิฎกนั้น
ชอบหยิบพระไตรปิฎกมาเป็นท่อนๆ เห็นแต่มีคำศัพท์เหมือนกันก็เอามาอ้างสุมสี่สุมห้า

จะบอกเช่นนั้นให้ว่า การอ่านพระไตรปิฎกจะต้องอ่านให้หมดทั้งบท จะต้องมีสมาธิ
พิจารณาพระไตรปิฎกทุกวรรคตอน หาคำตอบด้วยเหตุปัจจัย ไม่ใช่หาจากคำศัพย์

เน่ามาก โฮฮับ
อ่านดูดีๆ ว่า เช่นนั้น บอกว่า ไปดูจากที่อื่นมา
ซึ่งแหล่งข้อมูล เป็นใครอย่างไร โฮฮับ ก็ไม่ทราบ
จะบอกให้โฮฮับ รู้ว่า นายเน่ามาก กลับไปห้องเกี่ยวกับสัญญา แล้วตอบสหายธรรมอีกท่านที่รอคำตอบอยู่นะโฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ไปหาดูที่อื่นมา เขาบอกว่า
Quote Tipitaka:
[๓๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องมารดาด้วยความรักฉันมารดา เธอได้มี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=13631&Z=13713&pagebreak=0

หมายเหตุ : ความผิดที่มีโทษขั้นเบา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อาบัติถุลลัจจัยบ้าง อาบัติทุกกฎบ้าง และอาบัติทุพภาษิตบ้าง เป็นสิกขาบทที่ไม่ได้มีอยู่ในพระปาติโมกข์

ถ้าเช่นนั้นเอาพระวินัยท่อนนี้มาอ้าง เพื่อที่จะบอกว่า พระสงฆ์ในรูปผิดวินัยต้องอาบัติ
ผมจะบอกเช่นนั้นให้ว่า เช่นนั้นไม่ได้เรื่อง ชอบว่าคนอื่นไม่ทำตามพุทธพจน์
แต่ตัวเองนั้นแหล่ะตัวดีนัก ....ชอบมั่วพุทธพจน์

ในพระวินัยบทนี้พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า ความผิดมันไม่ได้เกิดจากการทำที่เห็น
แต่มันเกิดจากจิตใจของผู้กระทำ...ความหมายก็คือ ใจเป็นกุศลคิดว่าที่ตัวเองทำไม่ผิดวินัย
มันก็ไม่ผิด แต่ถ้าใจเป็นอกุศลคิดว่าสิ่งที่ทำมันผิดมันก็ผิด แถมผิดมากกว่าที่พระวินัยบัญญัติไว้ด้วย


อธิบายให้ฟัง การที่ภิกษุจับต้องมารดาด้วยความรักฉันมารดากับบุตร
อันที่จริงการกระทำแบบนั้นไม่ได้เป็นอาบัติเลยแม้แต่น้อย เพราะภิกษุไม่ได้มีความกำหนัด
ในเชิงชู้สาว
แต่ภิกษุกลับคิดว่า การกระทำของตนผิดอาบัติสังฆาทิเสส แบบนี้แสดงว่าภิกษุ
มีมิจฉา เห็นกุศลเป็นอกุศล จึงทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญของพระวินัยจึงต้อง
อาบัติทุกกฎ


อยากให้เช่นนั้นไปเทียบกับวรรคนี้ดู เอามาจากพระวินัยบทเดียวกัน

" ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพยายามว่าจะจับสตรี แต่มิได้จับต้อง เธอได้มีความรังเกียจ
ว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี-
*พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ."

นี่แค่มีเจตนา ยังไม่ได้ลงมือยังผิดอาบัติทุุกกฎ..........
สรุปผิดไม่ผิดเขาดูที่เจตนาหรือที่ใจ ไม่ได้ดูที่การกระทำภายนอก :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"แต่ต้องอาบัติทุกกฏ" ........ เข้าใจไว้ด้วยโฮฮับ
ยังอวดฉลาดอีกแน่ะ !

อาบัติ คือ การตกไป ตกไปจากความดีนั่นเอง

เป็นโทษ ที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อ (พระวินัยบัญญัติ) ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้าม.


กล่าวโดยชื่อ อาบัติมี ๗ อย่าง คือ ๑ ปาราชิก

๒ สังฆาทิเสส

๓ ถุลลัจจัย

๔ ปาจิตตีย์

๕ ปาฏิเทสนียะ

๖ ทุกกฏ

๗ ทุพภาสิต

กล่าวโดย โทษมี ๓ สถาน คือ

๑.อาบัติอย่างหนัก ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้น ขาดจากความเป็นภิกษุ อันหมาย

ถึง ปาราชิก ซึ่งเป็นอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ เรียกว่า อเตกิจฉา

๒.อาบัติอย่างกลาง ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นต้องอยู่กรรม (ปริวาส หรือมานัต)

โดยประพฤติวัตรอย่างหนึ่งเพื่อทรมานตน อันหมายถึง สังฆาทิเสส

๓.อาบัติอย่างเบา ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นต้องประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน

แล้วจึงจะพ้นโทษนั้นได้ อันได้แก่ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภา

สิต โดยอาบัติอย่างกลางและอย่างเบานั้น เป็นอาบัติที่ยังแก้ไขได้ เรียกว่า สเตกิจฉา


ความหมายของอาบัติแต่ละอย่าง

(๑) อาบัติปาราชิก ผู้พ่ายแพ้ ขาดจากความเป็นภิกษุ

(๒) อาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาศัยสงฆ์ในการออกจากอาบัติ

(๓) อาบัติถุลลัจจัย อาบัติที่เกิดจากการกระทำที่หยาบคาย

(๔) อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติที่ทำให้ความดีงามตกไป

(๕) อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติที่ต้องแสดงคืนกับบุคคลที่ทำให้ต้องอาบัติ

(๖) อาบัติทุกกฏ อาบัติที่เกิดจากการทำที่ไม่ดีไม่เหมาะสม

(๗) อาบัติทุพภาสิต อาบัติที่เกิดจากการพูดไม่ดีไม่เหมาะสม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 30 เม.ย. 2013, 13:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
ขอบคุณทุกๆคำตอบเลยค่ะ :b8: เป็นความรู้ใหม่ แล้วก้อดีด้วย
ถ้ามีโอกาสได้เจอพระจะได้ระวังค่ะ


ที่เราเคยฟังพระจีน ของประเทศใต้หวันท่านพูดน่ะค่ะ ท่านบอกว่า
ที่ไม่ให้พระถูกตัวผู้หญิง เพราะผู้หญิงนั้นเนื้อจะนุ่ม
ทำให้เกิดความรู้สึกค่ะ :b41: :b55: :b50:

ถ้าใจคิดว่าเป็นแม่ จะกอดก็ได้ มันไม่ผิดวินัย
แต่ถ้าเห็นแม่เดินไม่ไหว แล้วไม่เข้าช่วยพยุงประคองเพราะคิดว่าผิดวินัย
พระสงฆรูปนั้นเท่ากับว่าทำผิดวินัยทุกข้อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
bbby เขียน:
ขอบคุณทุกๆคำตอบเลยค่ะ :b8: เป็นความรู้ใหม่ แล้วก้อดีด้วย
ถ้ามีโอกาสได้เจอพระจะได้ระวังค่ะ


ที่เราเคยฟังพระจีน ของประเทศใต้หวันท่านพูดน่ะค่ะ ท่านบอกว่า
ที่ไม่ให้พระถูกตัวผู้หญิง เพราะผู้หญิงนั้นเนื้อจะนุ่ม
ทำให้เกิดความรู้สึกค่ะ :b41: :b55: :b50:

ถ้าใจคิดว่าเป็นแม่ จะกอดก็ได้ มันไม่ผิดวินัย
แต่ถ้าเห็นแม่เดินไม่ไหว แล้วไม่เข้าช่วยพยุงประคองเพราะคิดว่าผิดวินัย
พระสงฆรูปนั้นเท่ากับว่าทำผิดวินัยทุกข้อ

:b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
"แต่ต้องอาบัติทุกกฏ" ........ เข้าใจไว้ด้วยโฮฮับ
ยังอวดฉลาดอีกแน่ะ !

อาบัติ คือ การตกไป ตกไปจากความดีนั่นเอง

เป็นโทษ ที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อ (พระวินัยบัญญัติ) ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้าม.

แน่ะ! อธิบายให้ฟังยังรั้น ยกตัวอย่างใหดูตอนสุดท้ายไม่เอามาเปรียบกัน ถึงว่าไม่รู้จักเลือกเฟ้นธรรม

ในรูปที่จขกทเอามาแสดง ถ้าพระสงฆ์รูปนั้นกำลังคิดว่า การล้างเท้าให้แม่ตนเองมันผิด
อาบัติสังฆาทิเสส(ถูกเนื้อต้องตัวผู้หญิงด้วยความกำหนัด) แบบนี้มันเป็นการเข้าใจผิด
ในสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน เท่ากับผิดอาบัติทุกกฎ ไม่ใช่ว่าพระไปทำในสิ่งที่พระพุทธองค์
ทรงห้าม แต่ผิดที่มีมิจฉา ไม่เข้าใจในพระวินัยของพุทธ
เช่นนั้น เขียน:

เป็นโทษ ที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อ (พระวินัยบัญญัติ) ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้าม.


กล่าวโดยชื่อ อาบัติมี ๗ อย่าง คือ ๑ ปาราชิก

๒ สังฆาทิเสส

๓ ถุลลัจจัย

๔ ปาจิตตีย์

๕ ปาฏิเทสนียะ

๖ ทุกกฏ

๗ ทุพภาสิต

กล่าวโดย โทษมี ๓ สถาน คือ

๑.อาบัติอย่างหนัก ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้น ขาดจากความเป็นภิกษุ อันหมาย

ถึง ปาราชิก ซึ่งเป็นอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ เรียกว่า อเตกิจฉา

๒.อาบัติอย่างกลาง ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นต้องอยู่กรรม (ปริวาส หรือมานัต)

โดยประพฤติวัตรอย่างหนึ่งเพื่อทรมานตน อันหมายถึง สังฆาทิเสส

๓.อาบัติอย่างเบา ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นต้องประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน

แล้วจึงจะพ้นโทษนั้นได้ อันได้แก่ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภา

สิต โดยอาบัติอย่างกลางและอย่างเบานั้น เป็นอาบัติที่ยังแก้ไขได้ เรียกว่า สเตกิจฉา


ความหมายของอาบัติแต่ละอย่าง

(๑) อาบัติปาราชิก ผู้พ่ายแพ้ ขาดจากความเป็นภิกษุ

(๒) อาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาศัยสงฆ์ในการออกจากอาบัติ

(๓) อาบัติถุลลัจจัย อาบัติที่เกิดจากการกระทำที่หยาบคาย

(๔) อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติที่ทำให้ความดีงามตกไป

(๕) อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติที่ต้องแสดงคืนกับบุคคลที่ทำให้ต้องอาบัติ

(๖) อาบัติทุกกฏ อาบัติที่เกิดจากการทำที่ไม่ดีไม่เหมาะสม

(๗) อาบัติทุพภาสิต อาบัติที่เกิดจากการพูดไม่ดีไม่เหมาะสม


เช่นนั้นชอบเป็นตัวตลก เมื่อกี้ยังบอกอยู่แหม่บๆว่า เอามาจากที่อื่น
คำศัพท์นี้ไม่ได้อยู่ในปาฏิโมก นี้เอามาอ้างอีกแล้ว พอเขาแย้งก็แก้ตัวว่า
เอามาจากที่อื่น :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
แน่ะ! อธิบายให้ฟังยังรั้น ยกตัวอย่างใหดูตอนสุดท้ายไม่เอามาเปรียบกัน ถึงว่าไม่รู้จักเลือกเฟ้นธรรม

ในรูปที่จขกทเอามาแสดง ถ้าพระสงฆ์รูปนั้นกำลังคิดว่า การล้างเท้าให้แม่ตนเองมันผิด
อาบัติสังฆาทิเสส(ถูกเนื้อต้องตัวผู้หญิงด้วยความกำหนัด) แบบนี้มันเป็นการเข้าใจผิด
ในสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน เท่ากับผิดอาบัติทุกกฎ ไม่ใช่ว่าพระไปทำในสิ่งที่พระพุทธองค์
ทรงห้าม แต่ผิดที่มีมิจฉา ไม่เข้าใจในพระวินัยของพุทธ


เจ้าของกระทู้นำมา ถามความเห็น
ก็บอกไปตามเนื้อผ้า
แล้วก็ไปอ่านสิ่งที่ พิมพ์ให้อ่านดีๆ ใหม่
อย่าทะลึ่งใส่วงเล็บ (ถูกเนื้อต้องตัวผู้หญิงด้วยความกำหนัด)

พระพุทธองค์แสดง ข้ออาบัติทุกกฏ ไว้ว่า
Quote Tipitaka:
[๓๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องมารดาด้วยความรักฉันมารดา เธอได้มี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.


แม้ด้วยความรักฉันมารดา ..............

อ่านภาษาไทยออกไหม

จับต้องมารดาแม้ด้วยความรักฉันมารดา ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
แต่ ต้องอาบัติทุกกฏ .......

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2004, 12:30
โพสต์: 147


 ข้อมูลส่วนตัว www


s004 บุพการี ใกล้ตายหรือ ? ภาพไม่ได้บอกไปอย่างนั้น ... ผิด ยังไงก็ ผิด อยู่ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.พ. 2008, 10:17
โพสต์: 97

ที่อยู่: นครปฐม

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุเรศ...ทำให้สิ่งที่เป็นสาระ ให้ไร้สาระ เพราะไม่ดูภาวะในสิ่งที่ตัวเองเป็น...
ผิดทั้งคนห่มเหลือง และคุณยายนั่นแหละ....
คนห่มเหลือง สร้างภาพมาลงเฟสเพื่อจะอวดพระคุณแม่ แต่การกระทำแบบนี้มีแต่โทษมากกว่า
คุณยาย...ไม่ดูภาวะว่าตัวเองเป็นสตรีเพศ ศีลห้าครบมั่งไม่ครบมั่ง ปล่อยให้คนห่มเหลืองนั่งคกเข่าล้างเท้า
คนอนุโมทนา สาธุ...ไม่รู้เรืองแก่นสารอะไร สาธุไปอย่างไร้ปัญญา
คนตำหนิติฉิน...บางพวกก็จ้องจับผิดเพียงเพื่อให้มีเรื่องเม้าส์ให้มันส์ในอารมณ์ไปวัน ๆ
.................บางพวกก็มีเหตุผลอ้างอิงตามพระธรรมวินัย
.................บางพวกก็เฉย ๆ เห็นแก่ตัว ไม่อยากจะยุ่งอะไร
.................บางพวกก็ด่ามั่ว ๆ ไม่ดูที่มาที่ไปอะไรเลย....

.....................................................
อยู่อย่างเข้าใจในทุกสิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


นนท์ เขียน:
ทุเรศ...ทำให้สิ่งที่เป็นสาระ ให้ไร้สาระ เพราะไม่ดูภาวะในสิ่งที่ตัวเองเป็น...
ผิดทั้งคนห่มเหลือง และคุณยายนั่นแหละ....
คนห่มเหลือง สร้างภาพมาลงเฟสเพื่อจะอวดพระคุณแม่ แต่การกระทำแบบนี้มีแต่โทษมากกว่า
คุณยาย...ไม่ดูภาวะว่าตัวเองเป็นสตรีเพศ ศีลห้าครบมั่งไม่ครบมั่ง ปล่อยให้คนห่มเหลืองนั่งคกเข่าล้างเท้า
คนอนุโมทนา สาธุ...ไม่รู้เรืองแก่นสารอะไร สาธุไปอย่างไร้ปัญญา
คนตำหนิติฉิน...บางพวกก็จ้องจับผิดเพียงเพื่อให้มีเรื่องเม้าส์ให้มันส์ในอารมณ์ไปวัน ๆ
.................บางพวกก็มีเหตุผลอ้างอิงตามพระธรรมวินัย
.................บางพวกก็เฉย ๆ เห็นแก่ตัว ไม่อยากจะยุ่งอะไร
.................บางพวกก็ด่ามั่ว ๆ ไม่ดูที่มาที่ไปอะไรเลย....

แต่ตอนนี้คนที่น่าสมเพศกว่ารูปพระล้างเท้ามารดาคือตัวท่านเองนั่นแหละ :b6: ทีสาธยายมามันไม่ได้ไกลตัวเองเลย พูดยังกะตนเองมีศีลบริสุทธิ์กว่าพระในรูปนั้น ถ้าจะว่าพระในรูปทุเรดไปด่า จขกท ดีกว่านะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2013, 02:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เจ้าของกระทู้นำมา ถามความเห็น
ก็บอกไปตามเนื้อผ้า
แล้วก็ไปอ่านสิ่งที่ พิมพ์ให้อ่านดีๆ ใหม่
อย่าทะลึ่งใส่วงเล็บ (ถูกเนื้อต้องตัวผู้หญิงด้วยความกำหนัด) ...

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑



[๓๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องมารดาด้วยความรักฉันมารดา เธอได้มี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องธิดา
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง จับต้องธิดาด้วยความรักฉันธิดา เธอได้มีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องพี่น้องหญิง
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง จับต้องพี่น้องหญิงด้วยความรักฉันพี่น้องหญิง เธอได้
มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องชายา
[๓๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับปุราณทุติยิกา
เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้
มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว.
เรื่องยักษี
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับนางยักษินี เธอได้มีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องบัณเฑาะก์
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับบัณเฑาะก์ เธอได้มีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องสตรีหลับ
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับสตรีนอนหลับ เธอได้มี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว.
เรื่องสตรีตาย
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับสตรีตายแล้ว เธอได้
มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เธอ
ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องตุ๊กตาไม้
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับตุ๊กตาไม้ เธอได้มีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องฉุดต่อๆ กัน
[๓๙๐] ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีจำนวนมากเอาแขนต่อๆ กันโอบพาภิกษุรูปหนึ่งไป
ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ
ผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอยินดีไหม?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องสะพาน
[๓๙๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด เขย่าสะพานที่สตรีขึ้นเดิน เธอ
ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องหนทาง
[๓๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพบสตรีเดินสวนทางมา มีความกำหนัด ได้
กระทบไหล่ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องต้นไม้
[๓๙๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้เขย่าต้นไม้ที่สตรีขึ้น เธอได้
มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
*ภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องเรือ
[๓๙๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด โคลงเรือที่สตรีลงนั่ง เธอได้มี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
*ภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องเชือก
[๓๙๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด กระตุกเชือกที่สตรีจับไว้ เธอ
ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องท่อนไม้
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งฉุดท่อนไม้ที่สตรีถือไว้ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องดันด้วยบาตร
[๓๙๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ดันสตรีไปด้วยบาตร เธอได้มี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องไหว้
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ยกเท้าขึ้นถูกต้องสตรีผู้กำลังไหว้ เธอได้
มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
*ภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว.
เรื่องพยายามแต่มิได้จับต้อง
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพยายามว่าจะจับสตรี แต่มิได้จับต้อง เธอได้มีความรังเกียจ
ว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี-
*พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๒ จบ.


เช่นนั้นอ่านพระวินัยบทให้จบทั้งบท อ่านด้วยสติ อ่านทุกวรรคเปรียบเทียบกันด้วยปัญญา
อย่าทะลึ้งตัดข้อความบางส่วนไปอ้างอิง มันไม่ฉลาดเลยสักนิด :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร