วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2013, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 12:41
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญาความจำ เราจะทำให้ความจำนี่อยู่กับเราตลอดไปได้ไหมครับ คำถามเด็ก ๆ :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2013, 18:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


มันเดี๋ยวก้อมาเดี๋ยวก็ไป
มาๆไปๆ ... นะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2013, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เคยได้ยินคำนี้ไหม? สัญญาก็ไม่เที่ยง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2013, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 12:41
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
มันเดี๋ยวก้อมาเดี๋ยวก็ไป
มาๆไปๆ ... นะ
:b4:
ลุงหมาน เขียน:
เคยได้ยินคำนี้ไหม? สัญญาก็ไม่เที่ยง

ยังงี้แล้ว เราจะหาประโยชน์จากสัญญาได้อย่างไรครับ? :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2013, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


JJD เขียน:
สัญญาความจำ เราจะทำให้ความจำนี่อยู่กับเราตลอดไปไ้ด้ไหมครับ คำถามเด็ก ๆ :b9:

การระลึกถึงสัญญานั้น บ่อยๆ
เราก็จะระลึกได้ ไม่ลืม
อาการแบบนี้ คือจำได้ไม่ลืม

เพราะเมื่อ จิต ทำสัญญากับอารมณ์ใดแล้ว ก็จะจำไว้
แต่ถ้าระลึกถึงสัญญานั้นไม่ได้
เราก็เรียกว่าจำไม่ได้ แต่แท้จริงแล้วคือ ระลึกไม่ได้

ตอบสั้นๆ แบบนี้นะ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2013, 23:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นล่ะประโยชน์ของการมาๆไปๆของสัญญา...ล่ะ
เรื่องราวบางอย่างบางทีเราก็อยากลืม...
ถ้าขืนมันเที่ยงล่ะ...ฮึ๋ยยยย...

ถ้ามันเที่ยง...เราก็คงจะหลุดพ้นจากอะไรๆไม่ได้สักกะอย่าง...
....

ขนาดส้มโอเก็บมาตอนแรก ๆ มันก็ยังไม่หวานนัก
เมื่อปล่อยทิ้งไว้จนมันลืมต้น...มันก็หวานขึ้น ๆ ....
:b32: :b32: อิอิ สัญญาไม่เที่ยง กะ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ช่างไปกันได้...:b32: :b9:

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2013, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
JJD เขียน:
สัญญาความจำ เราจะทำให้ความจำนี่อยู่กับเราตลอดไปไ้ด้ไหมครับ คำถามเด็ก ๆ :b9:

การระลึกถึงสัญญานั้น บ่อยๆ
เราก็จะระลึกได้ ไม่ลืม
อาการแบบนี้ คือจำได้ไม่ลืม

เช่นนั้น จขกทเขาถามแบบเด็ก เช่นนั้นก็ตอบแบบทารก จขกทเขาเข้าใจผิดใน "สัญญา"
เช่นนั้นก็เป็นลักษณะเดียวกับจขกท ดูแล้วเหมือนหัวล้านคุยกันเรื่องหวี ตาบอดคุยเรื่องแว่น :b32:

จขกทกับเช่นนั้นกำลังเข้าใจผิดว่า สัญญาเป็นเรื่องราวที่ไปจำเอาไว้ ไม่ใช่ครับ
สัญญาหมายถึง .....การจำได้ในเวทนาไม่ใช่การจำได้ถึงเรื่องราวอันเกิดจากสมอง

การระลึกถึงสัญญาบ่อยตามที่เช่นนั้นพูด เป็นการเข้าใจผิดของเช่นนั้น
การระลึกถึงเขาใช่กับ สติ ไม่ใช่สัญญา

ส่วนความจำที่เป็นเรื่องราว เขาไม่เรียกสัญญา เขาเรียก .....ธัมมารมณ์(ความคิด)

ความจำเรื่องราวที่เกี่ยวกับทางโลก ต้องอาศัยสมอง
แตความจำในทางธรรมเขาเรียกว่า...สติ(ระลึกได้) ต้องอาศัยความเพียร
เช่นนั้น เขียน:
เพราะเมื่อ จิต ทำสัญญากับอารมณ์ใดแล้ว ก็จะจำไว้
แต่ถ้าระลึกถึงสัญญานั้นไม่ได้
เราก็เรียกว่าจำไม่ได้ แต่แท้จริงแล้วคือ ระลึกไม่ได้

สัญญามันเกิดด้วยเหตุปัจจัย เมื่อมีผัสสะย่อมมีเวทนา เมื่อมีเวทนาย่อมมี สัญญา
สัญญาไม่ได้เกิดจากความระลึกได้ ความระลึกได้เขาใช้กับสติ
สติเป็นสังขารขันธ์ไม่ใช่สัญญา

เช่นนั้น เขียน:
ตอบสั้นๆ แบบนี้นะ

ดีแล้วอย่าให้ยาวไปกว่านี้เลยครับ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2013, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


JJD เขียน:
สัญญาความจำ เราจะทำให้ความจำนี่อยู่กับเราตลอดไปไ้ด้ไหมครับ คำถามเด็ก ๆ :b9:



อวัยวะที่พอมองเห็น เช่น เล็บ นิ้ว นิ้วมือ นิ้วเท้า ฯลฯ งี้พอพูดได้ว่าคำถามเด็กๆ เพราะมองเห็น

แต่คำถามเกี่ยวกับนามธรรมแล้วเนี่ย ไม่ใช่คำถามเด็กๆแล้ว เพราะมองไม่เห็น เมื่อมองไม่เห็นอะไรจะเกิดขึ้น :b32:

อ้างคำพูด:
สัญญาความจำ เราจะทำให้ความจำนี่อยู่กับเราตลอดไปไ้ด้ไหม



ถ้าจะให้จำเรื่องอะไรข้อความใดไว้ได้นานๆ เช่น บทสวดมนต์ คาถา อาคม ฯลฯ ก็ต้องหมั่นทบทวนเป็นประจำ ก่อนนอนก็ทบทวน ท่องบนสาธยาย ตื่นนอนก็สวดท่องบ่นสาธยาย แบบนี้ก็จำได้นาน

แต่ก็ควรรู้ไว้อีกว่า ขณะที่จิตทำงานขณะหนึ่งๆเนี่ย ยังมีองค์ประกอบร่วมกับอีกมาก มิใช่มีเพียงสัญญาตัวเดียว มีทั้งสติ เจตนา มนสิการ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2013, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


JJD เขียน:
eragon_joe เขียน:
มันเดี๋ยวก้อมาเดี๋ยวก็ไป
มาๆไปๆ ... นะ
:b4:
ลุงหมาน เขียน:
เคยได้ยินคำนี้ไหม? สัญญาก็ไม่เที่ยง

ยังงี้แล้ว เราจะหาประโยชน์จากสัญญาได้อย่างไรครับ? :b8:



จขกท. คิดง่ายๆ คือ คิดถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าคนไม่มี (สัญญา) ธรรมชาติตัวนี้ จะเป็นยังไง จำอะไรไม่ได้ จะเป็นยังไง คงพอนึกภาพออกนะครับนะ :b1:

รู้เพิ่มอีกนิดหนึ่งว่า สัญญา มี 2 อย่าง คือ กุศลสัญญา กับ อกุศลสัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2013, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


JJD เขียน:
eragon_joe เขียน:
มันเดี๋ยวก้อมาเดี๋ยวก็ไป
มาๆไปๆ ... นะ
:b4:
ลุงหมาน เขียน:
เคยได้ยินคำนี้ไหม? สัญญาก็ไม่เที่ยง

ยังงี้แล้ว เราจะหาประโยชน์จากสัญญาได้อย่างไรครับ? :b8:

ลักษณะของสัญญามีความจำได้ หรือรู้จำเป็นลักษณะ
เราจะได้รับประโยชน์จากสัญญาคือจำได้ไม่ให้ลืม เช่น ทำเครื่องหมายเอาไว้ว่าแค่นี้กี่เมตรกี่เซนต์ หรือการเห็น ทำให้เรารู้ได้ว่าเราเห็นอะไร หรือการได้ยิน ก็ทำให้เรารู้ว่าเราได้ยินเสียงอะไร หรือเราได้กลิ่นจะทำให้เรารู้ว่าเราได้กลิ่นอะไร ทวารอื่นๆก็เช่นเดียวกัน ตรงกันข้ามถ้าขาดสัญญาเสียก็จะทำให้หลงลืม อย่างเช่นว่าเมื่อคนมีอายุมากๆสัญญาย่อมเลอะเลือน แม้แต่กินข้าวแล้วก็ว่ายังไม่ได้กิน หรือว่าบุคคลที่จากกันไปนานๆก็อาจลืมชื่อคือจำชื่อไม่ได้ เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2013, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
JJD เขียน:
สัญญาความจำ เราจะทำให้ความจำนี่อยู่กับเราตลอดไปไ้ด้ไหมครับ คำถามเด็ก ๆ :b9:

การระลึกถึงสัญญานั้น บ่อยๆ
เราก็จะระลึกได้ ไม่ลืม
อาการแบบนี้ คือจำได้ไม่ลืม

เช่นนั้น จขกทเขาถามแบบเด็ก เช่นนั้นก็ตอบแบบทารก จขกทเขาเข้าใจผิดใน "สัญญา"
เช่นนั้นก็เป็นลักษณะเดียวกับจขกท ดูแล้วเหมือนหัวล้านคุยกันเรื่องหวี ตาบอดคุยเรื่องแว่น :b32:

จขกทกับเช่นนั้นกำลังเข้าใจผิดว่า สัญญาเป็นเรื่องราวที่ไปจำเอาไว้ ไม่ใช่ครับ
สัญญาหมายถึง .....การจำได้ในเวทนาไม่ใช่การจำได้ถึงเรื่องราวอันเกิดจากสมอง

การระลึกถึงสัญญาบ่อยตามที่เช่นนั้นพูด เป็นการเข้าใจผิดของเช่นนั้น
การระลึกถึงเขาใช่กับ สติ ไม่ใช่สัญญา

ส่วนความจำที่เป็นเรื่องราว เขาไม่เรียกสัญญา เขาเรียก .....ธัมมารมณ์(ความคิด)

ความจำเรื่องราวที่เกี่ยวกับทางโลก ต้องอาศัยสมอง
แตความจำในทางธรรมเขาเรียกว่า...สติ(ระลึกได้) ต้องอาศัยความเพียร
เช่นนั้น เขียน:
เพราะเมื่อ จิต ทำสัญญากับอารมณ์ใดแล้ว ก็จะจำไว้
แต่ถ้าระลึกถึงสัญญานั้นไม่ได้
เราก็เรียกว่าจำไม่ได้ แต่แท้จริงแล้วคือ ระลึกไม่ได้

สัญญามันเกิดด้วยเหตุปัจจัย เมื่อมีผัสสะย่อมมีเวทนา เมื่อมีเวทนาย่อมมี สัญญา
สัญญาไม่ได้เกิดจากความระลึกได้ ความระลึกได้เขาใช้กับสติ
สติเป็นสังขารขันธ์ไม่ใช่สัญญา

เช่นนั้น เขียน:
ตอบสั้นๆ แบบนี้นะ

ดีแล้วอย่าให้ยาวไปกว่านี้เลยครับ :b32:

แปะไว้แบบนี้
โฮฮับ จะได้มีสัญญา
ไว้ให้สติคอยระลึก ว่า แสดงอะไรออกมา :b32:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2013, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่ออีกหน่อย


สัญญา ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ (อารมณ์ หมายถึงสิ่งที่จิตรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรับรู้ โดยอาศัยทวารทั้ง ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (ความนึกคิดต่างๆ) นั้นๆได้

สัญญา เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึง การหมายรู้ หรือกำหนดรู้อาการของอารมณ์ เช่น ลักษณะทรวดทรง สี สัณฐาน ฯลฯ ตลอดจนชื่อเรียก และสมมติบัญญัติต่างๆ ว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา ทุ้ม แหลม อ้วน ผอม หมู หมา กา ไก่ เป็นต้น

พูดเพื่อเข้าใจกันอย่างง่ายๆ สัญญาก็คือกระบวนการเรียกเก็บ รวบรวม และสั่งสมข้อมูลของการเรียนรู้ และวัตถุดิบ สำหรับความคิดนั่นเอง

สัญญาเกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีโทษมิใช่น้อย เพราะมนุษย์จะยึดติดตามสัญญา ทำให้สัญญากลายเป็นเครื่องกีดกั้นกำบังตนเอง และห่อหุ้มคลุมตัวสภาวะไว้ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ที่อยู่ลึกลงไป

สัญญา แบ่งเป็น 6 ตามทางแห่งการรับรู้ คือ

1. รูปสัญญา ความหมายรู้รูป เช่นว่า ดำ แดง เขียว ขาว เป็นต้น
2. สัททสัญญา ความหมายรู้เสียง เช่นว่า ดัง เบา ทุ้ม แหลม เป็นต้น
3. คันธสัญญา ความหมายรู้กลิ่น เช่นว่า หอม เหม็น เป็นต้น
4. รสสัญญา ความหมายรู้รส เช่นว่า หวาน เปรี้ยว ขม เค็ม เป็นต้น
5. โผฏฐัพพสัญญา ความหมายรู้สัมผัสทางกาย เช่นว่า อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด ร้อน เย็น เป็นต้น
6. ธัมมสัญญา ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ เช่นว่า งาม น่าเกลียด เที่ยง ไม่เที่ยง เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2013, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าโดยสภาพปรุงแต่ง สัญญาอาจแบ่งคร่าวๆได้ 2 ระดับ คือ

1. สัญญาขั้นต้น ได้แก่ ความหมายรู้ลักษณะอาการตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ โดยตรง เช่น หมายรู้ว่า สีเขียว ขาว ดำ แดง แข็ง อ่อน รสเปรี้ยว หวาน รูปร่างกลม แบน ยาว สั้น เป็นต้น (เรียกว่า ปัญจทวาริกสัญญา) รวมทั้งหมายรู้เกี่ยวกับบัญญัติต่างๆ ว่า แมว ว่าโต๊ะ ว่าเก้าอี้ ฯลฯ

2. สัญญาซ้อนเสริม ได้แก่ ความหมายรู้ไปตามความคิดปรุงแต่ง หรือตามความรู้ความเข้าใจในระดับต่างๆ เช่น หมายรู้ว่า สวย ว่าน่าเกลียด น่าชัง ว่าไม่เที่ยง ว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น
ถ้าแยกย่อยออกไป สัญญาซ้อนเสริมนี้ก็แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ

- สัญญาซึ่งเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เรียกว่า ปปัญจสัญญา คือ สัญญาซับซ้อนหลากหลาย ซึ่งเกิดจากการแต่งเสริมเติมต่อให้พิสดาร ของตัณหา มานะ และทิฏฐิ เรียกอีกอย่างหนึ่งตามสำนวนอรรถกถาว่า กิเลสสัญญา แปลว่า สัญญาที่เกิดจากกิเลส หรือสัญญาที่ประกอบด้วยกิเลส สัญญาพวกนี้ถูกกิเลสปรุงแต่งให้ฟั่นเฝือ และห่างเหเฉไฉออกไปจากทางแห่งความรู้ ไม่เป็นเรื่องของความรู้ ไม่เป็นเรื่องของความรู้ แต่เป็นเรื่องของการที่จะให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ แทนที่จะช่วยให้เกิดความรู้ กลับเป็นเครื่องปิดกั้นบิดเบือนความรู้ ยกตัวอย่างเช่น หมายรู้ลักษณะที่ตนถือว่าน่าชัง หมายรู้ลักษณะอาการในผู้อื่นที่ตนถือว่าต่ำต้อยด้อยกว่า ฯลฯ

- สัญญา ที่เกิดจากความคิดดีงาม หรือเกิดจากความรู้ความเข้าใจถูกต้อง เรียกว่า กุศลสัญญา บ้าง วิชชาภาคิยสัญญา (สัญญาที่ช่วยให้เกิดวิชชา) บ้าง เป็นสัญญาที่ช่วยส่งเสริมความเจริญปัญญาและความงอกงามแห่งกุศลธรรม เช่น หมายรู้ลักษณะอาการที่ชวนให้เกิดความเป็นมิตร หมายรู้ลักษณะอาการซึ่งแสดงภาวะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ภาวะทีไร้ตัวตน เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2013, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
JJD เขียน:
eragon_joe เขียน:
มันเดี๋ยวก้อมาเดี๋ยวก็ไป
มาๆไปๆ ... นะ
:b4:
ลุงหมาน เขียน:
เคยได้ยินคำนี้ไหม? สัญญาก็ไม่เที่ยง

ยังงี้แล้ว เราจะหาประโยชน์จากสัญญาได้อย่างไรครับ? :b8:

ลักษณะของสัญญามีความจำได้ หรือรู้จำเป็นลักษณะ
เราจะได้รับประโยชน์จากสัญญาคือจำได้ไม่ให้ลืม เช่น ทำเครื่องหมายเอาไว้ว่าแค่นี้กี่เมตรกี่เซนต์ หรือการเห็น ทำให้เรารู้ได้ว่าเราเห็นอะไร หรือการได้ยิน ก็ทำให้เรารู้ว่าเราได้ยินเสียงอะไร หรือเราได้กลิ่นจะทำให้เรารู้ว่าเราได้กลิ่นอะไร ทวารอื่นๆก็เช่นเดียวกัน ตรงกันข้ามถ้าขาดสัญญาเสียก็จะทำให้หลงลืม อย่างเช่นว่าเมื่อคนมีอายุมากๆสัญญาย่อมเลอะเลือน แม้แต่กินข้าวแล้วก็ว่ายังไม่ได้กิน หรือว่าบุคคลที่จากกันไปนานๆก็อาจลืมชื่อคือจำชื่อไม่ได้ เป็นต้น

ลุงหมานเลอะเทอะใหญ่แล้ว ตัวเองก็บอก.....สัญญาไม่เที่ยง :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2013, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
JJD เขียน:
eragon_joe เขียน:
มันเดี๋ยวก้อมาเดี๋ยวก็ไป
มาๆไปๆ ... นะ
:b4:
ลุงหมาน เขียน:
เคยได้ยินคำนี้ไหม? สัญญาก็ไม่เที่ยง

ยังงี้แล้ว เราจะหาประโยชน์จากสัญญาได้อย่างไรครับ? :b8:

ลักษณะของสัญญามีความจำได้ หรือรู้จำเป็นลักษณะ
เราจะได้รับประโยชน์จากสัญญาคือจำได้ไม่ให้ลืม เช่น ทำเครื่องหมายเอาไว้ว่าแค่นี้กี่เมตรกี่เซนต์ หรือการเห็น ทำให้เรารู้ได้ว่าเราเห็นอะไร หรือการได้ยิน ก็ทำให้เรารู้ว่าเราได้ยินเสียงอะไร หรือเราได้กลิ่นจะทำให้เรารู้ว่าเราได้กลิ่นอะไร ทวารอื่นๆก็เช่นเดียวกัน ตรงกันข้ามถ้าขาดสัญญาเสียก็จะทำให้หลงลืม อย่างเช่นว่าเมื่อคนมีอายุมากๆสัญญาย่อมเลอะเลือน แม้แต่กินข้าวแล้วก็ว่ายังไม่ได้กิน หรือว่าบุคคลที่จากกันไปนานๆก็อาจลืมชื่อคือจำชื่อไม่ได้ เป็นต้น

ลุงหมานเลอะเทอะใหญ่แล้ว ตัวเองก็บอก.....สัญญาไม่เที่ยง :b32:

แปะไว้อีก
จะได้เป็นสัญญา ไว้ระลึกในภายหลัง
ว่าโฮฮับ ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่อง ขันธ์ 5

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร