วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 12:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2013, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณฝึกจิตเขียน
เคยได้ยินคำนี้มั้ย - ตัอมาจากพระไตรปิฏก

"บุคคลเสพอยู่ซึ่งเมตตาวิมุติ กรุณาวิมุติ มุทิตาวิมุติ และอุเบกขาวิมุติในกาลอันควร ไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวง พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด"

หรือ

มีจิตพ้นดีแล้วมีปัญญาพ้นดีแล้ว เป็นผู้มีความบริบูรณ์ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ
ถึงความบรรลุปรมัตถะ พระอรหันต์นั้น มิได้ก่อ มิได้กำจัด กำจัดตั้งอยู่แล้ว มิได้ละ มิได้ถือมั่น
ละแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้เย็บ มิได้ยก เย็บแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้ดับ มิได้ให้ลุก ดับแล้วจึงตั้งอยู่
ดำรงอยู่ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ
ทัสสนขันธ์ ซึ่งเป็นอเสขะ แทงตลอดอริยสัจจะแล้วจึงตั้งอยู่ ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้ว จึง
ตั้งอยู่ ดับไฟกิเลสแล้วจึงตั้งอยู่ ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้ไม่ต้องไปรอบ ยึดถือเอายอดแล้ว ตั้งอยู่
ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้ซ่องเสพวิมุติ ดำรงอยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรง
อยู่ด้วยความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้างด้วยตัณหาทิฏฐิ มานะ
อันบริสุทธิ์ ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้น ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบแห่งขันธ์
ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ตั้งอยู่ในภพอันมีในที่สุด ตั้งอยู่
ในสรีระที่สุด ทรงไว้ซึ่งร่างกายที่สุด.


คุณฝึกจิตค่ะ ช่วยอธิบายเพิ่มแบบภาษาง่ายๆต่ออีกหน่อยได้มั๊ยค่ะ สนใจค่ะ
โดยเฉพาะตรงตัวสีแดงน่ะค่ะ เราจะได้รู้ว่า ใช่อย่างที่เราเข้าใจหรือปล่าว

คุณโฮฮับค่ะ รอคุณอธิบายอยู่ค่ะ :b1: :b41: :b55: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2013, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณน้องคองเขียน

อ้างคำพูด:
เมตตา ยกตัวอย่าง เมตตาเป็นอาการของเจตสิกถ้าเมตตาเกิดแล้วไม่มีสัมมาสติ เมตตาจะกลายเป็นกิเลสได้เช่นกัน ความสงสารก็เป็นเมตตา ถ้าขาดสัมมาสติแล้วละก็ เมตตานั้นจะกลายเป็นกิเลสทำให้เราทุกข์แทนผู้อื่น





ที่คุณน้องคองเขียนมา ถูกมากๆค่ะ ความเมตตานั้น ถ้ามาก เราก็ทุกข์ซะเอง
แต่ทีนี้จะแก้อย่างไรดีล่ะ เมื่อในสิ่งที่เราทุกข์นั้น แต่พอเรานึกถึงว่า
เราได้ช่วยให้ผู้อื่น ได้หลุดพ้นจากทุกข์แล้ว ใจเรามันก้อเกิดวามสุขทางใจขึ้นมา

ตอนนี้พี่เต้ ก้อเหมือนเริ่มจะเจอปัญหาแบบนี้ล่ะ จะวางอุเบกขาหรือจะปล่อยวาง ก้อทำไม่ได้
ก้อเลย เป็นแบบทุกข์ ๆ สุข ๆ อย่างนั้นล่ะ

รอคุณโฮฮับมาอธิบาย ตั้งแต่ตอนกลางวัน จนนี่ จะ 5 ทุ่มแล้ว :b12: :b41: :b55: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2013, 23:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เมตตา...ความรัก
กรุณา...ความสงสาร...อยากให้เขาได้ดี
มุทิตา...มีจิตอ่อนโยน..เห็นเขาได้ดีพลอยยินดีด้วย
อุเบกขา...วางเฉยเมื่อยังช่วยเขาไม่ได้..แต่คิดว่าถ้าช่วยได้เมื่อไร..เราจะทำทันที

พรหมวิหาร4..เป็นคุณธรรมที่ทำให้คนมีศีลบริสุทธิ

ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย...ถ้าเราทำได้...จะดีใจ...แต่ถ้าทำไม่ได้...กลับมีความทุกข์ใจกังวลใจ..ก็เรายังมีกิเลสอยู่นี้นา
มันเป็นธรรมดา

ดังนั้น...จะว่า..เมตตา...ของกิเลส..มันก็ถูก
จะว่า...กรุณาของกิเลส...มันก้ถูกอีก....ก็คนนั้นมันยังไม่สิ้นกิเลส....ยังมีอวิชชาขับเคลื่อนอยู่

นี้พูดในแง่...เพราะคนนั้นยังมีกิเลส

เมื่อเราทำกิเลสให้เบาบางลง....อวิชชาที่เจืออยู่ในพรหมวิหาร4 ก็เบาบางตามไปเป็นลำดับ

อย่าลืมว่า...นี้เป็นเครื่องช่วยมรรค8 ยังเป็นเรื่องของบุคคลผู้กำลังเดินทางอยู่...ยังอยู่ในขั้นต้องเพียรให้เกิดอยู่...จะยังไม่เหมือนพรหมวิหารของผู้ที่มีศีลเป็นอธิศีล..มีปัญญาเป็นอธิปัญญา...

หากเราทำไป...ยังทุกข์อยู่...ก็อย่าได้แปลกใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2013, 02:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
รอคุณโฮฮับมาอธิบาย ตั้งแต่ตอนกลางวัน จนนี่ จะ 5 ทุ่มแล้ว :b12: :b41: :b55: :b50:

ผมก็กำลังรอให้คุณ ซั่วมุซ่าแกเข้ามาอธิบายก่อน เพราะแกเข้าว่าตำหนิผม
บอกว่ารู้สึกสงสารการแสดงความเห็นแบบผม

ประการหนึ่งเห็นคุณซั่วมุซ่ากับลุงหมานแกชอบโพส พระอภิธรรม
เรื่องนี้มันเกี่ยวกับอภิธรรมโดยตรง อยากรู้ครับว่า การที่แกเอาอภิธรรมมาโพส
แกจะรู้เรื่องพระอภิธรรมจริงหรือเปล่า นี่ก็รอแล้วรอเล่าจนคนอื่นมาบ่นผมแทน :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2013, 03:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพรหมวิหารสี่ยกเว้น เมตตา ทุกอย่างล้วนเป็น สังขารขันธ์(เจตสิก)
ในพระอภิธรรมที่ว่าด้วเรื่องปรมัตถ์ จะไม่มีอธิบายเรื่องเมตตาไว้ว่ามันเป็นอาการใดในปรมัตถ์
เป็นเพราะเหตุว่า เมตตาไม่ใช่จิตหรือเจตสิก

แต่ความเมตตาเป็นสังโยชน์ที่เข้ามาพร้อมกับอายตนะภายนอก ทำให้เกิดการปรุงแต่ง
เป็นอกุศลจิต ราคะ(โลภะ) โทสะ โมหะ

กรุณา..เกิดจาก กระบวนการขันธ์ที่มีผลเป็นโมหะ โทสะ มันเป็นสภาวะที่พลักไส
สิ่งที่มากระทบ นั้นก็คือใจกำลังเป็นทุกข์
เพราะความทุกข์ของคนอื่น ทำให้ใจเราเป็นทุกข์
ใจเป็นทุกข์มีลักษณะเป็นสภาวะโทสะ คือพลักไสไม่ต้องการสภาวะนั้น
เมื่อใจไม่ต้องการสภาวะโทสะ ก็จะเกิดโลภะมาแทนที่ ก็คืออยากพ้นไปจากสภาวะนั้น

ความกรุณา ที่มีการให้ความหมายว่าปรารถณาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
แท้จริงแล้ว มันเป็นเราที่กำลังทุกข์ เราไม่ต้องการใจที่เป็นทุกข์ (ทุกข์ไปกับคนอื่น)


ที่บอกว่าความเมตตาเป็นสังโยชน์(กิเลส) ก็เพราะถ้าจะกล่าว ความเมตตาก็คือ
รูปราคะ เป็นกิเลสตัวหนึ่งของสังโยชน์เบื้องสูง

ส่วนมุทิตา นั้นก็เป็นสังขารขันธ์(เจตสิก)อีกเช่นกัน มุทิตาเกิด
จากสังโยชน์หรือเกิดจากการปรุงแต่งของกิเลสเบื้องสูงตัวหนึ่งที่เรียกว่า อรูปราคะ(ความสุข)
กล่าวโดยกระบวนการขันธ์ ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับกรุณา
นั้นคือได้รับอายตนภายนอกมาพร้อมกับอรูปราคะนั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2013, 06:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ในพรหมวิหารสี่ยกเว้น เมตตา ทุกอย่างล้วนเป็น สังขารขันธ์(เจตสิก)
ในพระอภิธรรมที่ว่าด้วเรื่องปรมัตถ์ จะไม่มีอธิบายเรื่องเมตตาไว้ว่ามันเป็นอาการใดในปรมัตถ์
เป็นเพราะเหตุว่า เมตตาไม่ใช่จิตหรือเจตสิก

แต่ความเมตตาเป็นสังโยชน์ที่เข้ามาพร้อมกับอายตนะภายนอก ทำให้เกิดการปรุงแต่ง
เป็นอกุศลจิต ราคะ(โลภะ) โทสะ โมหะ

กรุณา..เกิดจาก กระบวนการขันธ์ที่มีผลเป็นโมหะ โทสะ มันเป็นสภาวะที่พลักไส
สิ่งที่มากระทบ นั้นก็คือใจกำลังเป็นทุกข์
เพราะความทุกข์ของคนอื่น ทำให้ใจเราเป็นทุกข์
ใจเป็นทุกข์มีลักษณะเป็นสภาวะโทสะ คือพลักไสไม่ต้องการสภาวะนั้น
เมื่อใจไม่ต้องการสภาวะโทสะ ก็จะเกิดโลภะมาแทนที่ ก็คืออยากพ้นไปจากสภาวะนั้น

ความกรุณา ที่มีการให้ความหมายว่าปรารถณาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
แท้จริงแล้ว มันเป็นเราที่กำลังทุกข์ เราไม่ต้องการใจที่เป็นทุกข์ (ทุกข์ไปกับคนอื่น)


ที่บอกว่าความเมตตาเป็นสังโยชน์(กิเลส) ก็เพราะถ้าจะกล่าว ความเมตตาก็คือ
รูปราคะ เป็นกิเลสตัวหนึ่งของสังโยชน์เบื้องสูง

ส่วนมุทิตา นั้นก็เป็นสังขารขันธ์(เจตสิก)อีกเช่นกัน มุทิตาเกิด
จากสังโยชน์หรือเกิดจากการปรุงแต่งของกิเลสเบื้องสูงตัวหนึ่งที่เรียกว่า อรูปราคะ(ความสุข)
กล่าวโดยกระบวนการขันธ์ ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับกรุณา
นั้นคือได้รับอายตนภายนอกมาพร้อมกับอรูปราคะนั้นเอง

สวัสดีครับพี่โฮฮับ
หลังจากอ่านสิ่งที่พี่พูดอธิบายข้างบนผมก็เกิดคำถามขึ้นมาถามตัวเองว่า ถ้าเมตตานับเป็นกิเลสหรือสังโยชน์อย่างที่พี่ให้เหตุผลจริง ถ้าอย่างนั้นพระพุทธศาสนาคงไม่อุบัติขึ้นมาเพราะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านไม่มีพระเมตตาเหลืออยู่แล้วหลังจากตรัสรู้ชอบดับทุกข์และกิเลสได้สิ้นเชิง ความเมตตาต่อสัตว์โลกทั้งหลายของพระองค์ต้องไม่เหลืออยู่ แล้วพระองค์จะเสียเวลามาสั่งสอนสัตว์โลกอีกทำไม....พอเกิดคำถามนี้ขึ้นมาในใจผม ทำให้ผมรู้ได้ทันทีว่าสิ่งที่พี่พูดอธิบายนั้นมันไม่ถูกต้องครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2013, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
bbby เขียน:
รอคุณโฮฮับมาอธิบาย ตั้งแต่ตอนกลางวัน จนนี่ จะ 5 ทุ่มแล้ว :b12: :b41: :b55: :b50:

ผมก็กำลังรอให้คุณ ซั่วมุซ่าแกเข้ามาอธิบายก่อน เพราะแกเข้าว่าตำหนิผม
บอกว่ารู้สึกสงสารการแสดงความเห็นแบบผม

ประการหนึ่งเห็นคุณซั่วมุซ่ากับลุงหมานแกชอบโพส พระอภิธรรม
เรื่องนี้มันเกี่ยวกับอภิธรรมโดยตรง อยากรู้ครับว่า การที่แกเอาอภิธรรมมาโพส
แกจะรู้เรื่องพระอภิธรรมจริงหรือเปล่า นี่ก็รอแล้วรอเล่าจนคนอื่นมาบ่นผมแทน :b32:


ดิฉันจะขออธิบายแค่ประโยคเดียวแค่นี้ว่า
" คุณโฮฮับคุณเอาของดีมาพูดให้เป็นของเสีย "

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2013, 09:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เหมือนทนาย...กฎหมายที่ใช้ก็ฉบับเดียวกัน...แตอีกฝ่ายอยู่ข้างจำเลย...อีกฝ่ายอยู่ข้างโจกท์...กลับพูดกันไม่รู้เรื่อง..อิอิ
เอาข้อกฎหมายแง่นั้นแง่นี้มาพูด....ตีความตามแง่ที่ตัวตั้งธงใว้ก่อนแล้ว..คือทนายฝ่ายโจกท์...คือจำเลยต้องผิด...ทนายฝ่ายจำเลยก็ตั้งธงคือ..ฝ่ายจำเลยต้องถูก...

นี้คือตัวอย่างหนึ่ง...ของการวิเคราะห์...วิจัย...การเข้าไปค้นหาความจริงแบบโลก...ซึ่งเป็นสิ่งที่เรา ๆ คุ้นเคยทำกันมา

แต่การเข้าถึงธรรมารสนั้น...ต้องทำให้ลึกกว่านี้ลงไปอีก...โดยแยกความรู้ออกเป็น 3 ขั้นคือ..สุตตะ...จินตะ...และ..ภาวนา
ในภาวนาก็ทรงบอกการเข้าถึงเวยการ...ปริยัติ..ปฏิบัติ...มีปฏิเวทเป็นผล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2013, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ในพรหมวิหารสี่ยกเว้น เมตตา ทุกอย่างล้วนเป็น สังขารขันธ์(เจตสิก)
ในพระอภิธรรมที่ว่าด้วเรื่องปรมัตถ์ จะไม่มีอธิบายเรื่องเมตตาไว้ว่ามันเป็นอาการใดในปรมัตถ์
เป็นเพราะเหตุว่า เมตตาไม่ใช่จิตหรือเจตสิก

แต่ความเมตตาเป็นสังโยชน์ที่เข้ามาพร้อมกับอายตนะภายนอก ทำให้เกิดการปรุงแต่ง
เป็นอกุศลจิต ราคะ(โลภะ) โทสะ โมหะ

กรุณา..เกิดจาก กระบวนการขันธ์ที่มีผลเป็นโมหะ โทสะ มันเป็นสภาวะที่พลักไส
สิ่งที่มากระทบ นั้นก็คือใจกำลังเป็นทุกข์
เพราะความทุกข์ของคนอื่น ทำให้ใจเราเป็นทุกข์
ใจเป็นทุกข์มีลักษณะเป็นสภาวะโทสะ คือพลักไสไม่ต้องการสภาวะนั้น
เมื่อใจไม่ต้องการสภาวะโทสะ ก็จะเกิดโลภะมาแทนที่ ก็คืออยากพ้นไปจากสภาวะนั้น

ความกรุณา ที่มีการให้ความหมายว่าปรารถณาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
แท้จริงแล้ว มันเป็นเราที่กำลังทุกข์ เราไม่ต้องการใจที่เป็นทุกข์ (ทุกข์ไปกับคนอื่น)


ที่บอกว่าความเมตตาเป็นสังโยชน์(กิเลส) ก็เพราะถ้าจะกล่าว ความเมตตาก็คือ
รูปราคะ เป็นกิเลสตัวหนึ่งของสังโยชน์เบื้องสูง

ส่วนมุทิตา นั้นก็เป็นสังขารขันธ์(เจตสิก)อีกเช่นกัน มุทิตาเกิด
จากสังโยชน์หรือเกิดจากการปรุงแต่งของกิเลสเบื้องสูงตัวหนึ่งที่เรียกว่า อรูปราคะ(ความสุข)
กล่าวโดยกระบวนการขันธ์ ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับกรุณา
นั้นคือได้รับอายตนภายนอกมาพร้อมกับอรูปราคะนั้นเอง

สวัสดีครับพี่โฮฮับ
หลังจากอ่านสิ่งที่พี่พูดอธิบายข้างบนผมก็เกิดคำถามขึ้นมาถามตัวเองว่า ถ้าเมตตานับเป็นกิเลสหรือสังโยชน์อย่างที่พี่ให้เหตุผลจริง ถ้าอย่างนั้นพระพุทธศาสนาคงไม่อุบัติขึ้นมาเพราะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านไม่มีพระเมตตาเหลืออยู่แล้วหลังจากตรัสรู้ชอบดับทุกข์และกิเลสได้สิ้นเชิง ความเมตตาต่อสัตว์โลกทั้งหลายของพระองค์ต้องไม่เหลืออยู่ แล้วพระองค์จะเสียเวลามาสั่งสอนสัตว์โลกอีกทำไม....พอเกิดคำถามนี้ขึ้นมาในใจผม ทำให้ผมรู้ได้ทันทีว่าสิ่งที่พี่พูดอธิบายนั้นมันไม่ถูกต้องครับ
ขอบคุณครับ :b8:

ในฐานะลูกศิษย์ตถาคต คุนน้องขอตอบว่า เพราะเราๆท่านๆทั้งหลายไม่มีปัญญาฝ่าด่านพรหมวิหารธรรมได้ เมื่อพรหมวิหารธรรมเกิดที่ใจแล้ว ก็ตกม้าตายทีหลังเพราะไม่รู้จักวางอุเบกขา :b32: พอมีอะไรมากระทบกับอาตนะก็เกิดยินดียินร้ายไปด้วย มันก็เลยทุกข์ตามมา(นี่เป็นอาการของจิต)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2013, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ทุกท่าน

ในใจพระอรหันต์เหลือเพียง 2 สิ่งเคียงกัน

คือ ความเมตตาและปัญญาบริสุทธิ์

แต่ตราบใดที่ กิจที่ควรทำยังทำไม่เสร็จ

ความเมตตาที่เกิดขึ้นนั้น ก็ยังเป็นความเมตตาของอวิชชา

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2013, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่เราๆท่านๆกำลังดร่าม่าดีดดิ้นกันอยู่นี่ เป็นเพราะการไม่รู้จักประมานตนไม่รู้จักแบ่งแยกธรรม
เอามานะอัตตาเป็นที่ตั้ง มีใครเขาพูดอะไรผิดไปจากสิ่งที่ตัวฝังหัว ก็จะต้องมีปฏิกิริยาต่อต้านไร้เหตุผล
ที่สำคัญไม่คิดที่จะรับฟังความเห็นคนอื่น
หลายๆท่านในนี้ไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่ดี เข้ามาในเว็บบอร์ดแห่งนี้
ก็ไม่ได้เพื่อหาความรู้ทางธรรม เหตุผลที่เข้ามาก็เพียงเพื่อ อวดภูมิหรืออวดอ้างความดีเท่านั้น

ถ้าท่านทั้งหลายมีความตั้งใจจะเข้ามาศึกษาธรรมจริงแล้ว เมื่อท่านเห็นข้อความใด
ที่ท่านไม่เห็นด้วย ท่านจะต้องเปิดโอกาสให้เขาแสดงเหตุผลเสียก่อน
ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ ตัวท่านเองจะต้องซักถามหาเหตุจากผู้แสดงความเห็นนั้น
ไม่ใช่เอะอะก็ตำหนิเขาซะก่อนแล้ว ท่านไม่รู้หรือว่าการกระทำแบบนี้มันเป็นการ
ปิดโอกาสตัวเองในการรับความรู้

ถ้าบางครั้งท่านไม่เข้าใจสิ่งที่เขาพูด เลยไม่รู้จะถามเอาเหตุผลอะไรจากเขา
แต่ในใจยังติดข้องกับความเห็นนั้น มันก็ต้องบอกเขาว่า ท่านกำลังคิดอะไรอยู่
เขาจะได้อธิบายได้ว่า สิ่งที่ท่านกำลังคิดกับความเห็นที่เขาเอามาแสดง
มันเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกันอย่างไร

ธรรมเรื่องพรหมวิหารสี่ มันไม่ได้มีแค่ที่เราพูดกัน มันมีเหตุปัจจัยอีกหลายอย่าง
ผมเปิดกระทู้ด้วยข้อความสั้นๆ แล้วก็รอเวลาให้พวกท่านซักถาม เห็นมีเพียงคุณเต้คนเดียว
ที่ตั้งใจ กล้าที่จะถามโดยปราศจากการถือดี
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2013, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากจะบอกคนที่กำลังแย้งโดยไม่รอฟังเหตุผล ผมอยากเตือนสติสั้นๆครับว่า

เวลาที่พวกคุณศึกษาธรรมมา มันเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ครับ

แค่ธรรมะง่ายๆ ยังไม่ต้องลงมือปฏิบติ พวกคุณยังหลงเลยครับ

แบบนี้ปัญญาเบื้องต้น ผมว่าต้องรอชาติหน้าล่ะกระมั้ง:b32:

คนที่บอกไม่เห็นด้วยแต่ไม่ให้เหตุผล อยากถามหน่อยครับ
รู้จักคำว่า.....วิบากกรรมมั้ย แล้วกรรมอะไรบ้างก่อให้เกิดวิบาก
กุศลจิต อกุศลจิตเป็นอย่างไร และสุดท้ายกิริยาจิตเป็นอย่างไร :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2013, 12:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เหมือนทนาย...กฎหมายที่ใช้ก็ฉบับเดียวกัน...แตอีกฝ่ายอยู่ข้างจำเลย...อีกฝ่ายอยู่ข้างโจกท์...กลับพูดกันไม่รู้เรื่อง..อิอิ
เอาข้อกฎหมายแง่นั้นแง่นี้มาพูด....ตีความตามแง่ที่ตัวตั้งธงใว้ก่อนแล้ว..คือทนายฝ่ายโจกท์...คือจำเลยต้องผิด...ทนายฝ่ายจำเลยก็ตั้งธงคือ..ฝ่ายจำเลยต้องถูก...

นี้คือตัวอย่างหนึ่ง...ของการวิเคราะห์...วิจัย...การเข้าไปค้นหาความจริงแบบโลก...ซึ่งเป็นสิ่งที่เรา ๆ คุ้นเคยทำกันมา

แต่การเข้าถึงธรรมารสนั้น...ต้องทำให้ลึกกว่านี้ลงไปอีก...โดยแยกความรู้ออกเป็น 3 ขั้นคือ..สุตตะ...จินตะ...และ..ภาวนา
ในภาวนาก็ทรงบอกการเข้าถึงเวยการ...ปริยัติ..ปฏิบัติ...มีปฏิเวทเป็นผล


ลำพังการตีความตามตัวหนัวสือจึงยังไม่พอ...(อย่างมาก)

ตอนที่เรามีอวิชชาอยู่...ไม่ใช่เราจะอยากอะไรไม่ได้เลย...อยากอะไรก็ผิดไปหมด...อยากพ้นทุกข์ก็ไม่ได้..แบบนมันไม่ใช่
ไม่งั้น อิทธิบาท4 จะเป็นธรรมเพื่อความหลุดพ้นหรอ

อิอิ..ทำไปเถอะ...จะของกิเลสหรือไม่กิเลส...ก็เรื่องของมันไปก่อน...ทำแล้ว..กุศลเกิด...อกุศลลด...ก็ใช้ได้

ในขั้น สัพพปาปัสสะ อกรณัง...ละชั่วทั้งปวง....กุลัสสูปสัมปทา..ทำความดีให้ถึงพร้อม...ยังมีกิเลสอยู่...แต่เราก็ต้องทำจริงมั้ย?...อย่างน้อยก็อยากดี...หาไม่แล้ว...สจิตตปริโยทปนัง...ชำระใจให้ผ่องใสไร้กิเลส...จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย

เมตตา...ยังมีกิเลสอยู่..ก็อย่าไปซีเรียต...ทำไปเถอะพี่น้อง...อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2013, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ธรรม" ท่านเปรียบเหมือน "แพ"
"การปฏิบัติธรรม" ก็เหมือนการนั่งแพข้ามฝั่ง ..

ถ้ามอง "เห็นแพเห็นพาย" เป็น "กิเลส"
แล้วเมื่อไรจะข้ามไปถึงฝั่ง ..


:b1: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2013, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ในพรหมวิหารสี่ยกเว้น เมตตา ทุกอย่างล้วนเป็น สังขารขันธ์(เจตสิก)
ในพระอภิธรรมที่ว่าด้วเรื่องปรมัตถ์ จะไม่มีอธิบายเรื่องเมตตาไว้ว่ามันเป็นอาการใดในปรมัตถ์
เป็นเพราะเหตุว่า เมตตาไม่ใช่จิตหรือเจตสิก

แต่ความเมตตาเป็นสังโยชน์ที่เข้ามาพร้อมกับอายตนะภายนอก ทำให้เกิดการปรุงแต่ง
เป็นอกุศลจิต ราคะ(โลภะ) โทสะ โมหะ

กรุณา..เกิดจาก กระบวนการขันธ์ที่มีผลเป็นโมหะ โทสะ มันเป็นสภาวะที่พลักไส
สิ่งที่มากระทบ นั้นก็คือใจกำลังเป็นทุกข์
เพราะความทุกข์ของคนอื่น ทำให้ใจเราเป็นทุกข์
ใจเป็นทุกข์มีลักษณะเป็นสภาวะโทสะ คือพลักไสไม่ต้องการสภาวะนั้น
เมื่อใจไม่ต้องการสภาวะโทสะ ก็จะเกิดโลภะมาแทนที่ ก็คืออยากพ้นไปจากสภาวะนั้น

ความกรุณา ที่มีการให้ความหมายว่าปรารถณาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
แท้จริงแล้ว มันเป็นเราที่กำลังทุกข์ เราไม่ต้องการใจที่เป็นทุกข์ (ทุกข์ไปกับคนอื่น)


ที่บอกว่าความเมตตาเป็นสังโยชน์(กิเลส) ก็เพราะถ้าจะกล่าว ความเมตตาก็คือ
รูปราคะ เป็นกิเลสตัวหนึ่งของสังโยชน์เบื้องสูง

ส่วนมุทิตา นั้นก็เป็นสังขารขันธ์(เจตสิก)อีกเช่นกัน มุทิตาเกิด
จากสังโยชน์หรือเกิดจากการปรุงแต่งของกิเลสเบื้องสูงตัวหนึ่งที่เรียกว่า อรูปราคะ(ความสุข)
กล่าวโดยกระบวนการขันธ์ ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับกรุณา
นั้นคือได้รับอายตนภายนอกมาพร้อมกับอรูปราคะนั้นเอง

ทำเครื่องหมาย ไว้ขอโอกาสเล่าให้ผู้สนใจในธรรม ได้ศึกษา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร