วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 16:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 36, 37, 38, 39, 40, 41, 42 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2013, 11:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ...คุณเช่นนั้น...กล่าวได้ดีแล้วครับ

จับอัตตา....ให้ได้...

ขอเสริมนะครับ....ว่า...จับอัตตาของแต่ละขั้น....ให้ชัด...สาวกะเอาให้ชัดจุดไหน..จุดเดียวก็ได้(ความคิดผมนะ)

เห็นอัตตา...ก็ให้เห็นทุกข์ที่มีอยู่กับทุกชั้นทุกข้อในปฏิจจะ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2013, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ขอเสริมนะครับ....ว่า...จับอัตตาของแต่ละขั้น....ให้ชัด...สาวกะเอาให้ชัดจุดไหน..จุดเดียวก็ได้(ความคิดผมนะ)

เห็นอัตตา...ก็ให้เห็นทุกข์ที่มีอยู่กับทุกชั้นทุกข้อในปฏิจจะ...

:b8:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2013, 20:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจับอัตตาได้แต่ละชั้นได้ ก็จะพบทุกข์และดับทุกข์แต่ละชั้น ได้ อัตตาจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขปริศนาทั้งปวง เราแปลอัตตาคือ การถือตัวถือตน เป็นเราของเรา นี้คือความหมายทั่วไป แต่ความหมายที่ลึกลงไปที่เราไม่คาดถึง เป็นกุญแจสำคัญที่จะไขถึงอมตธรรมก็คือความยึดถือ ส่วนของนัยยะรอง

ความยึดถือ คือ ความมั่นหมาย การครอบครอง การไม่สละ ซึ่งเป็นนัยยะหลัก ส่วนนัยยะรอง คือการเพ่งเล็ง การใส่ใจอย่างมาก ใส่ใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดมาจากความปารถนา เนื้อแท้ก็คือโลภะจิต นั่นเอง จึงเป็นสิ่งที่น่าแปลกใจอย่างมากที่ความใส่ใจอย่างต่อเนื่องกลับเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพราะทั้งการเพ่งเล็ง การใส่ใจอย่างมาก ใส่ใจอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งของอัตตา ซึ่งกีดขวางทางสู่มรรคผลนิพพาน

ต่อจากนี้คือการนำองค์กรรมฐานที่ใช้ภาวนา วิธีภาวนามาวิเคราะห์ข้อดี ข้อด้อย เพื่อปรับให้เหมาะสม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2013, 14:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนที่จะวิเคราะห์ถึงกรรมฐานที่ใช้และวิธีการ กระผมอยากเล่าถึงการปฎิบัติธรรมที่ผ่านมา ปัญหาที่พบเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับบางท่านที่มีอุปนิสัยเช่นเดียวกับกระผม คือในอดีตปฎิบัติสมถะมากกว่าวิปัสสนา ดังนั้นเมื่อมาปฎิบัติวิปัสสนา จึงติดนิสัยการเพ่ง การปฎิบัติจึงล่าช้า เกิดปัญหามาก กระผมจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่มีสมาธินำปัญญา กล่าวคือ เมื่อได้รับองค์กรรมฐานเพื่อภาวนา ข้าพเจ้าก็ตั้งใจอย่างมาก คือตามความเคลื่อนไหวของท้อง พร้อมกับคำภาวนา เมื่อทำแล้วก็รู้สึกอึดอัด มึนศีรษะ ปวดท้อง จนเหมือนมีอะไรมาครอบที่ศีรษะ แต่ก็ฝืนทำเพราะความมุ่งมั่นตั้งใจ ที่ข้าพเจ้าเอ่ยถึงองค์กรรมฐาน เพราะอยากบอกว่า ที่เกิดปวดท้อง อึดอัดเช่นนั้นเพราะความไม่เข้าใจของเรา ไม่เกี่ยวกับองค์กรรมฐาน ซึ่งสามารถจำแนกสาเหตุได้ คือ
1.สำหรับคนที่ที่มีอุปนิสัยเพ่ง การตามรู้ลม พร้อมมีการภาวนา อาจทำให้จิตไปอยู่กับคำภาวนา แล้วบังคับลมให้เป็นจังหวะเดียวกับคำภาวนา ซึ่งขัดกับธรรมชาติที่แท้จริงของลมในเวลานั้น เช่น ลมสั้นแต่คำภาวนายาวก็ไปบังคับให้ลมยาวตามคำภาวนา จึงเป็นการฝืนธรรมชาติ ผู้ปฎิบัติบางท่านเมื่อไม่ใช้คำภาวนา จึงรู้สึกสบายขึ้น
2.การยึดอยู่กับลม การใส่ใจอยู่กับลมอย่างต่อเนื่อง เป็นการรู้ความจริงของรูปนามที่ไม่เป็นปัจุบันธรรม อาจมีผู้แย้งว่าก็การรู้อยู่กับลม ขณะนี้ไงเป็นปัจจุบัน ซึ่งแท้จริงแล้วขณะที่รู้ในลม จะมีเจตสิก(สิ่งประกอบของจิต)ผุดออกมา เช่น ขณะรู้ลม อาจมีความนึกคิดเกิดขึ้น จึงควรรู้ว่ามีความนึกคิดเกิดขึ้น แต่ไม่ต้องไปรู้ว่านึกคิดเรื่องอะไร อันนี้แหละจึงถือว่ารู้ที่เป็นปัจจุบันจริง ไม่ใช่การรู้ที่อยากรู้แต่อยู่กับลม ซึ่งการเพ่งอยู่กับลม เฉพาะจะทำให้ซึม ง่วงนอนในเวลาต่อมา เพราะอาจเป็นการสะสมอัตตา มากกว่าการคลายอัตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2013, 17:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2013, 23:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การใช้ลมหายใจเข้าออก หรือการใช้คำภาวนา จึงเปรียบเสมือนแว่นขยายหรือเป็นเครื่องมือให้เกิดสามารถรู้ความจริงของรูปนามตามความเป็นจริงที่ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงควรเข้าใจประโยชน์ขององค์ภาวนาว่าเป็นเพียงเครื่องมือ ที่จริงแล้วเพื่อมุ่งหมายคือการรู้ปัจจุบันธรรมหรือปัจจุบันขณะ

รูปนามหรือขันธ์ 5 ของคน ที่ไม่ได้กำหนดสติ สัมปชัญญะ จึงมักหลงไปยู่ในอดีตธรรมหรืออนาคตธรรมเกิดกิเลส สร้างกรรม วิบาก และวัฎฎะไม่จบสิ้น อะไรคือสิ่งที่แสดงออกของการสร้างกรรม ซึ่งก็ต้องเริ่มที่เมื่อเกิดการกระทบของอายตนะนอกกับใน อนุสัยจะกระตุ้นนามขันธ์คืออารมณ์ใจเกิด ความพอใจ ไม่พอใจ(เวทนา) สัญญา สังขารและวิญญาณขันธ์ สิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นสมองให้หลั่งฮอร์โมน(อาสวะ)ประเภทที่สัมพันธ์กัน คือความพอใจทำให้เกิดเอ็นโดฟิน ความไม่พอใจทำให้เกิดอดีนารีน หลั่งอาบเอิบหมักดองในกระแสโลหิต เก็บสะสมในไขกระดูก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2013, 11:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่กล่าวมาจึงสรุปได้ว่าหากปล่อยกายและใจโดยไม่มีสติกำกับ ก็จัดเป็น กามสุขขัลลิกานุโยค ตัวรู้แช่นิ่งอยู่กับสภาวธรรม หรือแม้แต่ตัวรู้ที่ใช้รู้รูปนาม โดยความใส่ใจอย่างต่อเนื่อง(มิจฉาสติ)คือการเพ่งรู้ที่ไม่ใช่การระลึกรู้(สัมมาสติ)ดังที่กล่าวมา ก็จัดเป็นอัตตกิลมถานุโยค ได้เช่นเดียวกัน ทั้งสองส่วนจึงไม่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา

ดังนั้นเมื่อเดินผิดตั้งแต่ต้นเปรียบเสมือนจะไปเชียงใหม่ แต่ไปตั้งต้นที่เพชรเกษม ก็คงใช้เวลาอีกยาวนานกว่าจะถึงที่หมาย ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า ทำไมการใส่ใจอย่างต่อเนื่องคืออัตตา เป็นการยึดติดกับอดีต ละเลยปัจจุบันขณะ

เพื่อเกิดความเข้าใจจึงขอยกตัวอย่าง หากมีแก้วใบหนึ่งวางอยู่ตรงหน้า โดยคุณปิดตา ครั้งแรกเมื่อคุณเอาหลังมือไปสัมผัส สิ่งอยู่ตรงหน้า โดยสัมผัสการกระทบที่ผิวเป็นขณะ ๆ คุณจะรู้สึกถึงความแข็ง ไม่ว่าจะเอาใครมาสัมผัสก็จะรู้สึกถึงความแข็งเช่นดียวกันกับคุณ จึงกล่าวได้ว่า การสัมผัสเป็นปัจจุบันขณะไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม จะพบกับปรมัตถธรรม คือ ลักษณะความแข็ง ใจจะมีความเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้าย แต่หากในทางกลับกันคุณใช้ฝ่ามือลูบคลำ วัตถุตรงหน้า ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของการสัมผัสเป็นขณะแล้วคุณจะรู้ในเวลาต่อมาว่าเป็นแก้ว ต่อมารู้อีกว่าเป็นแก้วน้ำหรือแก้วกาแฟ ถ้าคนอเมริกามาลูบคลำ ก็จะรู้ว่าเป็น glass หากสัมผัสนานๆรู้ถึงผิวที่ขรุขระก็อาจเกิดความขยะแขยง จึงกล่าวได้ว่าการรู้ที่ไม่เป็นขณะ หรือรู้ที่ติดต่อเนื่องกันจะเกิดอัตตา ซึ่งมาจากการดึงความทรงจำในอดีต(สัญญา) ว่าที่สัมผัสเป็นแก้ว และเกิดการปรุงแต่ง(สังขาร) เกิดความไม่ชอบขยะแขยง(เวทนา)ถึงอาจปัดแก้วน้ำทิ้งเป็นการสร้างปฎิจสมุปบาทครบรอบ

ดังนั้นการรู้สภาวธรรมควรรู้เป็นขณะ ไม่ควรรู้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งอาจรู้องค์ภาวนา 5-6 วินาที แล้วปล่อยวางตัวรู้1-2 วินาทีแล้วกลับมารู้องค์ภาวนาใหม่ ข้อควรพิจารณา บางท่านปล่อยตัวรู้ไม่ได้เพราะยังยึดอยู่ ให้ใช้การเปลี่ยนสิ่งสนใจ เช่น เมื่อรู้ลมหายใจ 5-6 วินาที แล้วอาจสังเกตลมจากพัดลมที่มากระทบตัว หรือเสียงแอร์ 2-3 วินาที แล้วกลับไปที่ลมหายใจ รู้สลับไปมา หากมีสภาวะธรรมอื่น ก็ไปรู้ จะทำให้ลดการสร้างอัตตา ในการปฎิบัติ จะทำให้ภาวนาง่ายยิ่งขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2013, 13:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 13:22
โพสต์: 79


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน จขกท ขอรับ ที่ว่ารู้จากการอ่านเอาแล้วจำหรือว่ารู้จากจิตแล้วเกิดปัญญา ถ้ารูู้จากอันหลังนี้ท่านจะไม่ถามใครหรอก ธรรมะเป็นปัจจัตตัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2013, 22:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่กล่าวมา ว่าการรู้สภาวธรรมควรรู้เป็นขณะ ไม่ควรรู้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งอาจรู้องค์ภาวนา 5-6 วินาที แล้วปล่อยวางตัวรู้1-2 วินาทีแล้วกลับมารู้องค์ภาวนาใหม่ เป็นการพูดถึงบุคลทั่วไปที่ไม่มีปัญหาในการปฎิบัติ และวิธีปฎิบัติแบบนี้ กระผมได้ใช้ภายหลังที่แก้ปัญหาได้แล้ว จึงขอย้อนกลับไปตอนที่มีปัญหากระผมได้กล่าวมาก่อนแล้วว่ามีปัญหาชาหนักที่ศีรษะ หากภาวนาจะปวดตึงอย่างมาก เกิดทุกข์เวทนา ไม่ว่าจะดูลมหายใจที่จมูกหรือที่ท้องก็ไม่สามารถทำได้ และพิจารณาเห็นว่าที่เกิดปัญหานี้เนื่องจากจดจ่อกับกรรมฐานมากเกินความพอดี จึงเริ่มแก้ไขโดยรู้บ้างปล่อยบ้าง ไม่หลับตา ปัญหาค่อยลดลงสมองเบาขึ้นแต่ก็ยังไม่หายขาด ช่วงนี้ปฎิบัติโดยรู้การเคลื่อนไหวที่ท้อง

ก่อนที่จะเกิดการพลิกผันแนวทางการปฎิบัติ นั้น ทางที่ผมได้ใช้นี้เป็นทางเฉพาะตัว จากบุคลที่ติดนิสัยเพ่งคิดว่าการกำหนดสติรู้ในรูปนามทำด้วยความเป็นกลาง(มัชฌิมาปฎิปทา) แต่ความจริงแล้วเป็นอัตตกิลมถานุโยค หากผู้ใดเห็นว่าตนเองมีอุปนิสัยเช่นเดียวกับข้าพเจ้าก็ลองนำไปปฎิบัติ อาจมีประโยชน์ต่อท่าน
สำหรับกระผมแล้วการปรับแนวทางการปฎิบัติเป็นการเปลี่ยนทางสู่ชีวิตใหม่ที่ทำให้พบความสันติสุข
จึงขออภิวาทแด่ ครูบาอาจารย์ 2 ท่าน ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือ ที่กล่าวประโยคที่ทำให้ click โดยท่านแรกกล่าวประโยคคือ “ รู้โดยไม่เลือก “ ท่านที่ 2 กล่าวว่า “ เมื่อจิตเคลื่อนเป็นขณะเหมือนเสียงนาฬิกา ต๊อก ๆให้รู้แล้วปล่อยรู้แล้วรู้ใหม่แล้วปล่อยรู้อีก “


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2013, 22:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อมาได้เดินทางไปพบครูบาอาจารย์ทางเหนือได้ถามท่านว่า เวลารู้ท้องพองยุบให้รู้ที่ท้องหรือความรู้สึกพองยุบ ท่านก็ตอบว่าไม่ต้องเลือก ถามท่านอีกเวลาเดินจงกรมให้รู้ที่เท้าหรือความรู้สึกที่เท้าเคลื่อนไหวท่านตอบว่าไม่ต้องเลือก

กระผมกลับมาพิจารณาว่าทำไมการเลือกถึงเป็นปัญหา เวลานั้นก็ยังคิดไม่ออก และก็ยังไม่แน่ใจว่า สิ่งที่ท่านแนะนำจะถูกต้องหรือไม่ แต่ที่ผ่านมา เราเลือกมาตลอด เลือกรู้ที่ท้อง ที่จมูก ที่เท้า การปฎิบัติก็วนเวียนยังไม่ก้าวข้ามความสงสัย ทีนี้เมื่อจะเริ่มปฎิบัติโดยไม่เลือกก็เกิดสงสัยว่าอะไรคือ สิ่งที่จิตต้องรู้
เมื่อลองหลับตา ก็รู้สึกวูบๆวาบๆในภายในร่างกาย เมื่อจะเข้าไปดูก็คิดขึ้นว่าเป็นการเลือกอีก จึงรู้รวมๆเท่าที่รู้ ทำไปได้ระยะหนึ่งรู้สึกแตกต่างจากแต่ก่อนที่เคยกำหนดลมที่พอกำหนดสักพักก็เริ่มเกิดสมาธิ แต่การรู้โดยไม่เลือกนี้รู้สึกเหมือนจิตกวัดแกว่ง เสมือนจิตเป็นเรือที่ลอยกลางทะเลถูกคลื่นแห่งอารมณ์ซัดไปมาเหมือนไม่มีสมาธิ แต่ก็ยังปฎิบัติต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2013, 15:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งแรกปฎิบัติวิธีนี้ไป 1 วัน คิดจะกลับไปใช้วิธีรู้ลมอย่างเดิม แต่เมื่อผ่านไป 2 วัน เริ่มพบความเปลี่ยนแปลง ดังนี้
1.มีการคลายออกของความร้อน ความอึดอัด ความกวัดแกว่งของจิตลดลง ต่อมาสภาวะอารมณ์เข้าไม่ถึงจิต เหมือนเรือที่ลอยกลางทะเล ทั้งที่มีคลื่น แต่กระทบเข้าไม่ถึงตัวเรือ
2.จิตมีสภาพกระจายตัว แทนที่จะรวมตัวเหมือนเมื่อครั้งดูลม และไม่รู้สึกซึมง่วง แต่กลับเบาสบายรู้สึกสดชื่น
3.มีอาการหาว อย่างต่อเนื่องทั้งที่แต่ก่อนมีแต่น้อยมาก ความร้อนคลายออกมาที่หน้าผาก และน้ำตาไหล เกิดอย่างต่อเนื่อง และเกิดเช่นนี้ทุกครั้งที่นั่งสมาธิ

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ต่อมาภายหลังพิจารณาได้ว่า
1.เมื่อเรา”รู้โดยไม่ได้เลือก” หรือ “ไม่ใช้อัตตา” กำหนดกรรมฐานรูปนามจะคลายอนุสัย และอาสวะออกมา(ขณะคลายออกอาจรู้สึกอึดอัดเป็นทุกข์ ซึ่งไม่มีใครชอบสิ่งนี้เปรียบเสมือนเรามีหนามตำที่เท้า เวลาเดินจะรู้สึกรำคาญ แต่เมื่อใดที่เราเอาเข็มบ่งหนามออกจะรู้สึกเจ็บถึงจะไม่ชอบแต่เพื่อให้หายเจ็บอย่างถาวร
2.สมาธิเป็นแบบกระจายตัว เพราะเป็นการรู้ที่อิสระไม่ได้ยึดเจาะจงที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง การยึดเจาะจงที่องค์กรรมฐาน จะทำให้เกิดแรงยึดเข้าสู่ศูนย์กลาง เกิดการการรวมตัวของจิต เป็นการสร้างแรง action จึงเกิดแรงต้านreaction ผลักดันให้จิตอยู่ในสมาธิไม่ได้นาน รวมถึงการง่วง ซึมเป็นเพราะการสะสมอัตตา ซึ่งก็คือเจตนาที่จะอยู่กับกรรมฐาน เป็นการสะสมโลภะจิต
3.การหาว เรอ (ธาตุลม) ความร้อนที่หน้าผาก(ธาตุไฟ) น้ำตาไหล(ธาตุน้ำ) เกิดขึ้นจากร่างกาย(ธาตุดิน)นั้นเป็นการปรับธาตุทั้ง 4 ซึ่งเป็นผลเกิดจาก การคลายออกของอนุสัยและอาสวะ ซึ่งกระผมขอเรียกว่า พลังงาน โดยร่างกายนี้พระพุทธองค์ตรัสว่าประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 เมื่อเมาอมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งคลายออกธาตุทั้ง 4 ต้องปรับตัวทุกครั้ง ไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2013, 22:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สภาพธรรมของรูปนามที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดดับ(อนิจจัง) จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่สัมมสนญาณโดยผู้ปฎิบัติจะเริ่มรู้ถึงการเกิดดับเป็นครั้งแรกการเกิดดับของรูปอาจพบอาการกระตุก การเกิดดับต่อมาจะรู้ถึงการขาดออกของรูปเป็นขณะๆ (การเกิดอนิจจังในระดับต้น )ในขณะเดียวกันการเกิดดับของนามจะพบการคลายออกของเจตสิก การเกิดดับเกิดขณะ ห่างๆ กัน การกำหนดรู้ในสภาวธรรมจึงสามารถรู้เป็นขณะ ๆได้
ต่อมาเมื่อเข้าสู่อุทพยญาณการเกิดดับจะเกิด พร้อมกันมากกว่า 1 ขณะ(การเกิดอนิจจังในระดับกลาง ) การกำหนดรู้จะกำหนดรู้รวมๆไม่จำเพาะสภาวะ และเมื่อเข้าสู่ภังคญาณ การเกิดดับจะกระจายและขยายออกทั่วทั้งร่าง การเกิดดับจึงมีลักษณะเป็นกระแสความสั่นสะเทือน (การเกิดอนิจจังในระดับลึก) ผู้ปฎิบัติไม่สามารถกำหนดรู้เป็นขณะ แต่เปลี่ยนเป็นรู้การสั่นสะเทือนแทน

จึงสรุปได้ว่าการกำหนดรู้สภาพธรรมของรูปธรรมในเบื้องต้น เป็นการเน้นหนักไปที่สติระลึกรู้ ซึ่งจะสัมพันธ์กับลักษณะของความเกิดดับที่เกิดเป็นขณะ จนกระทั่งสติถี่ขึ้น เริ่มแก่กล้าขึ้น การกำหนดรู้จะเริ่มเป็นสัมปชัญญะคือ การรู้ตัวทั่วพร้อมหรือรู้รวมๆทั่วทั้งตัว ซึ่งจะสัมพันธ์กับลักษณะของความเกิดดับที่เกิดกระจายทั่วทั้งตัว การปฎิบัติธรรมจึงเปรียบเสมือนการก้าวขึ้นบันไดแต่ละขั้น มือที่จับยึดราวบันไดก็ต้องปรับตามเท้าที่ก้าวไปแต่ละขั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2013, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2004, 12:30
โพสต์: 147


 ข้อมูลส่วนตัว www


พิจารณาสายเกิด

แล้ว ไม่พิจารณาตามสายดับ ล่ะ

อวิชชาดับ สังขารดับ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2013, 20:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ปฎิบัติบางท่านที่พัฒนาระดับปัญญาจนกระทั่งพบสภาวะการสั่นสะเทือนในร่างกายแล้ว แต่ยังรู้ความเกิดดับเป็นขณะ เป็นจุดๆ เนื่องจากไม่ทราบว่าความสั่นสะเทือนนั้น เป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานด้วยเช่นเดียวกันเปรียบเสมือนคนที่ยืนอยู่ริมแม่น้ำที่น้ำไหลผ่านหน้าตนเอง ความเกิดดับเริ่มแรกเป็นขณะห่างๆ เหมือนกับการมองสิ่งของที่ไหลผ่านหน้าบนน้ำที่ไหลเอื่อยๆ สามารถมองได้ทันปัจจุบัน แต่เมื่อน้ำที่ไหลเชี่ยวขึ้นหากเลือกมองสิ่งของชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ย่อมเป็นการมองอดีต เพราะความจริงในปัจจุบันผ่านไปแล้ว เปรียบได้กับความเกิดดับเกิดขึ้นหลายๆ แห่งทั่วร่างกายหรือเกิดความสั่นสะเทือนในเรือนกาย หากจะให้รู้ตรงตามเป็นจริงต้องเป็นการรู้รวมๆไม่เจาะจงส่วนใดส่วนหนึ่ง รู้แบบไม่รู้ว่ารู้อะไร จึงเป็นการรู้ที่เป็นปัจจุบันธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2013, 09:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


จากที่กล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่ความเข้าใจในมัชฌิมาปฎิปทา เริ่มรู้ถึงควมเกิดดับ เป็นผลมาจากการมีสัมมาทิฎฐิ และสัมมาสังกัปปะ คือรู้สภาพธรรมจากสถาพการของรูปและนามที่เป็นธรรมชาติของการใช้ชีวิตปกติ จากร่างกาย(รูปภายนอก)ที่เคลื่อนไหว จากนามได้แก่ จิตใจ ความคิดที่เกิดจากการปรุงแต่ง(นิวรณ์ธรรม) จนกระทั่งการรู้สภาพธรรมภายในร่างกาย(กายในกาย)พบความเกิดดับที่ละเอียด(ความสั่นสะเทือน) และ จากนามได้แก่ เวทนา จิต ธรรมมารมณ์ที่มีความละเอียด ระดับสมาธิของผู้ปฎิบัติจากขณิกสมาธิอย่างอ่อนจะพัฒนาสู่ขณิกสมาธิอย่างแก่ สภาวธรรมเป็นการวนรอบของสภาพอนิจจัง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 36, 37, 38, 39, 40, 41, 42 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร