วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2013, 06:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในตำราทางพระพุทธศาสนาก็มีการพูดถึง
การใช้ฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนากันอย่างกว้างขวาง
ข้อนี้มิได้หมายความว่า ต้องเจริญฌานเสียก่อนวิปัสสนาจึงจะเกิดขึ้นได้
น่าจะมีคำเฉลยดังนี้ ก่อนอื่น พึงทราบว่า
บุคคลผู้ปฏิบัตินั้นมี ๒ จำพวก คือ สมถะ กับ วิปัสสนา

สมถะ แปลว่า ผู้มีสมถะเป็นยาน
หมายความว่า มีสมถะอันได้แก่ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
ที่เรียกว่า ฌาน ที่เรียกว่ายานนำไปสู่พระนิพพานนั่นเอง
ท่านผู้นี้ต้องเจริญสมถะจนได้ฌานมาก่อน
ได้ฌานแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อไป ท่านผู้ที่เจริญสมถะนี้แหละ
ชื่อว่าใช้ฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนา

แต่คำว่า ใช้ฌานเป็นบาทมิได้หมายความว่า เจริญสมถะไปจนได้ฌาน
เมื่อได้ฌานแล้วปัญญาจะเกิดขึ้นเอง
อย่างที่เข้าใจกันอย่างทั่วไป ที่แท้แล้วเป็นการเข้าฌานที่ได้นั้น
แล้วออกมาพิจารณาสังขาร กล่าวคือองค์ฌานทั้งหลายเป็นระยะๆ
ติดต่อกันไปจนกระทั่งเกิดวิปัสสนาปัญญา

เห็นความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหล่านั้น
เข้าฌานออกมาพิจารณาองค์ฌานอยู่อย่างนี้แบบซ้ำๆซากๆ
วิปัสสนาก็จะถึงความแก่กล้าไปตามลำดับ จนกระทั่งเห็นโทษเห็นภัย
เห็นความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย เมื่อสามารถเห็นได้ดังนี้
ก็ย่อมบรรลุมรรคผล กระทำนิพพานให้แจ้งได้

ข้อสำคัญ อย่าพึงเข้าใจว่ามีการพิจารณาสังขารในขณะเข้าฌานอยู่
ในขณะเข้าฌานจะไม่สามารถพิจารณาสังขารได้เลย ในระหว่างที่เข้าฌานอยู่นั้น
จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์กรรมฐานของตน มีกสิณ เป็นต้น อารมณ์เดียวเท่านั้น
จะไม่มีการย้ายไปรู้อารมณ์อื่น กล่าวคือ การจะพิจารณาสังขารได้นั้น
ก็ต้องออกจากฌานเสียก่อนจึงจะพิจารณาสังขารได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงหมาน เมื่อ 14 มี.ค. 2013, 14:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2013, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การออกจากฌานเพื่อมาพิจารณาสังขารนั้น
แค่มาใช้ขณิกสมาธิเท่านั้นจึงจะเจริญวิปัสสนาได้
(สมาธินั้นมี ๓ ระดับ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ)

รวมความว่าแม้เป็นผู้ได้ฌาน แต่เมื่อจะเจริญวิปัสสนาก็ต้องเข้าฌาน
แล้วออกจากฌานนั้นต้องหวนกลับมาใช้ขณิกสมาธิ แล

อนึ่งหากจะมีผู้สงสัยมาอย่างนี้ว่า ออกจากฌานเสียแล้วในเวลานั้น
จะมีองค์ฌานอะไรเหลืออยู่ให้พิจารณาได้เล่า ?

ก็ต้องพึงทราบดังนี้ว่า ตอนที่ผู้ปฏิบัติออกจาฌานใหม่ๆนั้น
ความรู้สึกของฌานยังชัดเจนอยู่ องค์ฌานทั้งหลายก็พอปรากฏชัดอยู่ในจิตของผู้ปฏิบัติในคราวนั้น

อุปมาเหมือนเราออกมาจากห้องปรับอากาศมาใหม่ๆ
ก็ยังมีความรู้ว่ายังเย็นได้อยู่ ต่อมาอีกสักครู่จึงจะรู้สึกว่ามีความร้อนแทรกขึ้นมาฉะนั้น
เพราะฉะนั้นก็ยังพอกำหนดพิจารณาได้

เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณานานไปความรู้สึกที่เป็นสภาวะของฌานนั้นจะค่อยๆเลือนลางไป
ผู้ปฏิบัติต้องเข้าฌานอีกครั้ง เพื่อทำให้ชัดเจนขึ้นมาอีก
แล้วก็ออกจากฌานมาเพื่อพิจารณาอีก
ทำอยู่อย่างนี้แหละที่เรียกว่าทำ ซ้ำๆ ซากๆ จนกระทั้งเกิดปัญญา

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า ผู้ได้ฌานประสงค์จะเอาฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนา
ต้องเป็นผู้มีวสีคือความชำนาญในฌานเกี่ยวกับการเข้าการออกจากฌานได้
โดยฉับพลันทันทีทุกขณะที่ต้องการ เป็นต้น
ไม่เช่นนั้นแล้วก็ไม่สามารถทำฌานให้เป็นอารมณ์กรรมฐานของวิปัสสนาได้โดยสะดวก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2013, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนวิปัสสนา แปลว่า ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน

คือมีวิปัสสนาปัญญาอย่างเดียวเท่านั้น เป็นยานพาหนะพาไปสู่พระนิพพาน
ความว่า เจริญวิปัสสาอย่างเดียวมาตั้งแต่ต้น มิได้เจริญสมถะมาก่อน

แต่ถ้าหากว่าในคราวเจริญวิปัสสนามิได้ใช้ฌานนั้นให้เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับการเข้าฌานก่อน
แล้วจึงออกมาพิจารณา เรียกว่าไม่เอาฌานมาเป็นบาทเบื้องแรก ซึ่งใช้เพียงขณิกสมาธิเท่านั้นมาตั้งแต่ต้น

เพราะฉะนั้น ตามที่กล่าวมานี้ท่านจะเห็นว่าการใช้ฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนา
อันเป็นการทำฌานนั้นให้เป็นปัจจัยแก่การเจริญวิปัสสนา เป็นปฏิปทาสำหรับบุคคลผู้เป็นสมถะยานิกเท่านั้น

แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง ๒ อย่างนี้ ต้องเจริญวิปัสสนาจนเกิดวิปัสสนาเห็นไตรลักษณ์
กล่าวคือ ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาด้วยกันทั้งนั้น
จึงจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้ ถึงพระนิพพานได้ ข้อนี้แหละที่ว่าเหมือนกันอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2013, 10:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นมีการพูดกันมากว่า...ขนิกสมาธิก็ใช้ได้แล้ว...

ก็ไม่รู้ว่า...ขนิกสมาธิ..ที่เขาพูดกัน...เป็นอย่างไร....แต่ส่วนตัว..ช่วงที่พิจารณาแล้วมีอิทธิพลต่อจิตได้จริง ๆ ..และ..ชัดเจน...คือช่วงที่จิตอยู่ในภาวะที่ในตำราบอกว่า...อุปจาร...มีปีติ 5 เป็นข้อสังเกต

แต่ก็เห็นด้วย...หากจะพิจารณาไปเลยไม่ต้องรอการทำสมาธิในรูปแบบแต่อย่างใด...แต่ช่วงที่ได้ผลมันจะไปอยู่ช่วงอุปจารนั้นแหละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2013, 10:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ...มีผลให้ใจสงบ...สงบจากกิเลสหยาบคือนิวรณ์ทั้ง 5

ใจจะสงบได้...ก็ต้องเป็นใจที่ไม่ไปเอาโลก

ใจไม่แล่นไปเอาโลก....ใจก็สงบ

เมื่อใจสงบ.....ก็เป็นสมาธิ

สัมมาสมาธิ..จึงมีได้ตลอดวันทุกอาการยืนเดินนั่งนอน...ก็ด้วยอย่างนี้


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 14 มี.ค. 2013, 10:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2013, 10:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


การพิจารณาไปเลยนั้น....เป็นการดัดจิตใจไม่ไปเอาโลก...มีโลกธรรม8 เป็นต้น

ทำใจไม่ไปทางโลกบ่อย ๆ ...ใจจะสงบได้ง่าย

ตรงนี้แหละที่ครูบาอาจารย์บางท่านกล่าวว่า...ไม่ว่าจะเป็นปัญญาอบรมสมาธิ...หรือ...สมาธิอบรมปัญญา...ล้วนมีผลเป็นสมถะ...ก็คือ...ความสงบ..ตรงนี้ก่อนนั้นเอง

ในขณะที่ใจสงบอยู่แล้วนั้น....ก็ยังพิจารณาอยู่...ช่วงนี้แหละจะเกิดผลที่ใจได้จริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2013, 16:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ ลุงหมาน

เพิ่มเติมครับ


แนว สมถยานิก ตั้งแต่ ปฐมฌาน มีแนวทางปฏิบัติดังนี้

สมถะ ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
viewtopic.php?f=2&t=21049

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป. อีกอย่างหนึ่ง
เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง
ลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลม
ย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้น
ของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัย
กายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก
และกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.
--------------------------------------------------------------------

สำหรับแนวทาง วิปัสสนายานิก หรือ วิปัสสนาขณิกสมาธิ (วิปัสสนาล้วน) มีแนวทางดังนี้

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
viewtopic.php?f=2&t=29201


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2013, 16:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑



ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา

.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=176




ภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌานแล้วอย่างนั้นมีความประสงค์ที่จะเจริญกรรมฐาน ด้วยอำนาจการกำหนดและการเปลี่ยนแปลง แล้วบรรลุความหมดจด กระทำฌานนั้นนั่นแลให้ถึงความชำนิชำนาญ (วสี) ด้วยอาการ ๕ อย่างกล่าวคือ อาวัชชนะ การรำพึง, สมาปัชชนะ การเข้า, อธิฏฐานะ การตั้งใจ, วุฏฐานะ การออกและปัจจเวกขณะ การพิจารณา แล้วกำหนดรูปและอรูปว่า รูป มีอรูปเป็นหัวหน้า หรืออรูป มีรูปเป็นหัวหน้าแล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา.
ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน ย่อมเห็นหทัยวัตถุซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูปซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป.
อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้นครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ในบรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุและทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์.
ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า ภูตรูปเป็นต้นจัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรมจัดเป็นอรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลมย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้นของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออกย่อมเข้าออก เพราะอาศัยกายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล.
ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกและกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป. ครั้นเธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.
เธอนั้นข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณากลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้นซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ) กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่าเป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึงภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปในสรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผลถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลกพร้อมทั้งเทวดา.
ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิของภิกษุผู้ประกอบในอานาปานกรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับจนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียงเท่านี้แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2013, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณ ท่าน เฉลิมศักดิ์1 อนุโมทนาครับ
ทำเหตุไว้ดี ผลดีย่อมตามมา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2013, 09:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

เป็นพระสูตรที่งาม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron