วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2013, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ความตาย สิ่งที่เลือกได้ และเลือกไม่ได้
โดย พระอาจารย์วรฤทธิ์ โอภาโส


https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9 ... 9020412622

:b44: :b51: :b51: :b51: :b44:

เจริญพรผู้อ่าน วันนี้หัวข้ออาจจะดูน่ากลัวไปสักนิด แต่เป็นเรื่องที่น่ารู้น่าสนใจ เราลองมาดู ความตายกับสิ่งที่เราเลือกไม่ได้ก่อน เพราะเรื่องนี้เมื่อทราบแล้วเราต้องทำใจยอมรับกับสิ่งที่เราแก้ไขไม่ได้ สิ่งแรก เราเลือกที่จะไม่ตายไม่ได้ ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตายหมด ไม่มีใครรอดจากความตายได้สักคน จะเป็นคนจน คนรวย คนหล่อ คนสวย คนขี้เหร่ หนีความตายไม่พ้นสักคน สิ่งที่ ๒ เราเลือกเวลาตายไม่ได้ ไม่มีใครรู้ว่าเราจะตายตอนไหน ตอนหนุ่มสาว หรือตอนแก่ชรา อาจจะตายตอนอายุน้อยก็ได้ อายุมากก็ได้ ตายเสียตั้งแต่ในครรภ์ก็ยังมี จึงไม่ควรประมาทในวัย อาจมีบางคนบอกว่าเลือกเวลาตายได้โดยการฆ่าตัวตาย เรื่องนั้นเป็นเรื่องที่คิดผิดอย่างมาก ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง สิ่งที่ ๓ เราเลือกสถานที่ตายไม่ได้ ไม่มีใครเลือกว่าจะตายบนฟ้า บนดิน หรือในน้ำ ตลอดจนในที่หรูหรา หรือที่ไม่น่าดู บางคนอาจตายในห้องน้ำในสภาพไม่น่าดูก็มี สิ่งที่ ๔ เราเลือกเหตุแห่งความตายไม่ได้ มนุษย์ทุกคนที่เกิดมา มีเหตุแห่งความตาย ๔ อย่าง คือ

๑. อายุกขยะมรณะ ตายเพราะสิ้นอายุ อายุขัยของมนุษย์ในชมพูทวีปไม่แน่นอน เมื่อขึ้นสูงสุดก็มีอายุขัยถึงอสงไขยปี (ยาวนานมาก) เมื่อต่ำสุดก็มีอายุขัยต่ำเพียง ๑๐ ปี ปัจจุบันประมาณ ๗๕ ปี เป็นอายุขัย ดังนั้นมนุษย์ในโลกนี้ แม้อำนาจกรรมยังมีอยู่แต่เมื่อครบอายุขัยแล้วก็ตายเป็นส่วนมาก ผู้มีอายุยืนกว่าอายุขัยมีบ้างแต่ไม่มาก บุคคลเหล่านี้ต้องมีอดีตกรรมที่เกี่ยวกับการไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์ช่วยอุปถัมภ์ชีวิตและร่างกายให้ดำรงอยู่ได้นานเป็นพิเศษ และมีปัจจุบันกรรมฝ่ายดี คือ การรักษาศีล ๕ อยู่เสมอ เหตุต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้ผู้นั้นมีอายุอยู่ได้นานจนเกินอายุขัย แต่อย่างไรก็ตาม ย่อมไม่ถึงสองเท่าของอายุขัยที่กำหนดไว้ในสมัยนั้นๆ

๒. กัมมักขยะมรณะ ตายเพราะสิ้นกรรม คำว่า กรรม ในที่นี้ หมายถึง ชนกกรรม ที่มีหน้าที่ส่งผลนำเกิดในภพนั้นๆ และอุปถัมภกกรรม ที่มีหน้าที่ช่วยอุดหนุนให้รูปนามที่เกิดจากชนกกรรมให้ตั้งอยู่ได้ในภพนั้นๆ การสิ้นสุดแห่งกรรมทั้งสองดังกล่าวนี้แหละ ชื่อว่ากัมมักขยะมรณะ ฉะนั้น ผู้ที่เกิดมาแล้วมีชีวิตตั้งอยู่ได้ ๑ เดือน ๒ เดือน ๑ ปี ๕ ปี เป็นต้น เหล่านี้ เป็นการตายโดยการสิ้นสุดแห่งกรรม เรียกว่า กัมมักขยะมรณะ

๓. อุภะยักขยะมรณะ ตายเพราะสิ้นอายุและสิ้นกรรมทั้งสอง ความตายชนิดนี้ หมายถึง ผู้ที่มีอายุยืนอยู่ได้จนกระทั่งครบอายุขัยและอำนาจของกุศลชนกกรรมก็พอดีหมดลงพร้อมกับความสิ้นสุดแห่งอายุ เช่น มนุษย์ในปัจจุบันมีอายุมาจนถึง ๗๕ ปี แล้วตายลง

๔. อุปัจเฉทะกะมรณะ ตายเพราะประสบอุปัทวเหตุมาตัดรอน อายุและกรรมยังไม่สิ้น ผู้ที่ยังไม่ถึงอายุขัย และอำนาจของชนกกรรมก็ยังไม่หมด แต่อำนาจของอกุศลกรรมหรือกุศลกรรมที่ได้ทำมาแล้วในภพก่อน หรือภพนี้ เข้ามาตัดรอนให้ผู้นั้นตายลง เช่นถูกรถชน เป็นต้น ชื่อว่าอุปัจเฉทะกะมรณะ อุปมาเปรียบเทียบการตายของมนุษย์แล้วเหมือนดวงประทีปที่จุดตามไว้ ดวงประทีปย่อมจะดับลงด้วยเหตุ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือดับลงด้วยไส้หมดอย่างหนึ่ง ดับลงด้วยน้ำมันหมดอย่างหนึ่ง ดับลงด้วยไส้และน้ำมันทั้งสองหมดอย่างหนึ่ง ดับลงด้วยถูกลมพัดหรือถูกเป่าให้ดับอย่างหนึ่ง เหมือนความดับของชีวิตที่สิ้นสุดลงเฉพาะภพหนึ่ง คือผู้ที่สิ้นชีวิตลงโดยหมดอายุขัย เหมือนดวงประทีปที่ดับลงโดยไส้หมดแต่น้ำมันยังอยู่ ผู้ที่สิ้นชีวิตลงโดยหมดกรรมนั้นเหมือนดวงประทีปที่ดับลงโดยน้ำมันหมดแต่ไส้ยังอยู่ ผู้ที่สิ้นชีวิตลงโดยหมดทั้งอายุและกรรมนั้น เหมือนดวงประทีปที่ดับลงโดยไส้และน้ำมันหมดทั้งสองอย่าง ผู้ที่สิ้นชีวิตลงโดยประสบอุปัทวเหตุต่างๆ เหมือนดวงประทีปที่ดับลงโดยถูกลมพัดหรือถูกเป่าให้ดับโดยที่ไส้และน้ำมันยังอยู่ ทั้งหมดเหล่านี้ คือ สิ่งที่เราเลือกไม่ได้ ส่วนสิ่งที่เราเลือกได้ คือ อารมณ์ที่มาปรากฏก่อนตาย อารมณ์ที่มาปรากฏก่อนตายมีอยู่สองฝ่ายคือฝ่ายดี กับฝ่ายไม่ดี

ถ้าฝ่ายดีคืออารมณ์ที่เป็นกุศลมาปรากฏ ย่อมเปิดโอกาสให้กุศลเก่าในอดีตส่งผลนำเกิดในสุคติภูมิ ถ้าฝ่ายไม่ดีคืออารมณ์ที่เป็นอกุศลมาปรากฏ ย่อมเปิดโอกาสให้อกุศลเก่าในอดีตส่งผลนำเกิดในทุคติภูมิ เห็นไหมว่า ถึงเวลาจะตาย อารมณ์ที่มาปรากฏก่อนตายสำคัญมาก เพราะเป็นผู้ตัดสินในการเลือกสถานที่เกิดใหม่ ฉะนั้น อาตมาเชื่อว่าทุกคนคงต้องการให้กุศลมาปรากฏ เพื่อจะได้ไปเกิดในสุคติภูมิ แต่อารมณ์ที่มาปรากฏก่อนตายจะดีหรือไม่ดี อยู่ที่การฝึกหัดคิดนึกจนชำนาญในกุศลที่เราเคยทำไว้บ่อยๆ เมื่อเวลาใกล้ตายย่อมนึกถึงกุศลได้โดยง่าย จึงเป็นสิ่งที่เราต้องฝึกตั้งแต่วันนี้ โดยนึกถึงความดีอันเป็นกุศลของตนอยู่บ่อยๆ เป็นการเตรียมตัวก่อนตาย เมื่อถึงเวลาจะได้สามารถนึกถึงได้ง่าย จะได้เป็นการเลือกสถานที่ที่เราจะไปเกิดได้เอง โดยต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่บ่อยๆ ตั้งแต่วันนี้ เฝ้าระวังจิตของตนให้มีสติ มีความผ่องใสเบิกบาน อารมณ์ที่มาปรากฏก่อนตายจะได้เป็นอารมณ์ที่ดี เป็นฝ่ายกุศล เพื่อเลือกเกิดในภูมิที่ดีตามที่ใจของเราปรารถนา ฉบับหน้าจะได้มากล่าวถึงอารมณ์ที่ปรากฏในเวลาใกล้ตายกันต่อไป เจริญพร

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2013, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์ที่ปรากฏก่อนตาย ตัดสินภพภูมิที่ไปเกิดใหม่
โดย พระอาจารย์วรฤทธิ์ โอภาโส


เจริญพรผู้อ่าน จากครั้งก่อนได้กล่าวถึงอารมณ์ที่มาปรากฏก่อนตาย ครั้งนี้จึงขออธิบายถึงอารมณ์ที่มาปรากฏให้ชัดเจน ซึ่งต้องทำความเข้าใจก่อนว่าอารมณ์ที่มาปรากฏมีสองฝ่าย คือฝ่ายกุศลและอกุศล ในที่นี้อาตมาจะอธิบายสองฝ่ายคู่กันไป โดยบุคคลที่ใกล้ตายจะมีอารมณ์ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งมาปรากฏ ดังนี้

๑. กรรมอารมณ์ คือ การจัดแจงกระตุ้นชักชวนในสิ่งที่ดีและไม่ดี อันเป็นตัวกุศล และอกุศลเจตนา ซึ่งเป็นสภาพธรรมล้วนๆ มิใช่สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส มาปรากฎในเวลาใกล้ตาย ดังนั้น กรรมอารมณ์จึงปรากฏทางใจเท่านั้น บุคคลที่มีความดีความชั่วอยู่แต่ภายในใจเป็นส่วนมาก ไม่ชอบแสดงออกทางกายและวาจาก็ดี หรือบุคคลที่ชอบคิดเป็นเวลานานๆ ก่อนกระทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา หรือกระทำทุจริต ก็ดี บุคคลดังกล่าวนี้เมื่อเวลาใกล้จะตาย กรรมอารมณ์ย่อมมีโอกาสส่งผล (คือเป็นอารมณ์ของวิถีจิตในเวลาใกล้ตายในภพนี้ และเป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิตในภพหน้า) เช่น นางมัลลิกาเทวี พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ขณะใกล้สิ้นพระชนม์นึกถึงการผิดศีลข้อมุสาที่เคยโกหกพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้วรู้สึกไม่สบายใจกระวนกระวายใจจนสิ้นใจ ทั้งๆ ที่นางมัลลิกาเทวีได้กระทำกุศลมามากมาย แต่อารมณ์ที่มาปรากฏในยามใกล้ตายเป็นกรรมอารมณ์ฝ่ายอกุศล จึงนำพาให้นางไปเกิดเป็นสัตว์นรก

๒. กรรมนิมิตอารมณ์ คือ อารมณ์ ๖ (ภาพ เสียง กลิ่น รส สัมผัส นึกคิด) ที่ได้ประสบไปแล้ว อันเนื่องด้วยการกระทำทางกาย วาจา ใจ ของตนมาปรากฏในเวลาใกล้ตาย กรรมนิมิตอารมณ์นี้จึงปรากฏได้ทางทวารทั้ง ๖ บุคคลที่กระทำด้วยกาย วาจา ใจ ในทาน ศีล ภาวนา หรือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดกาเมพูดปด ดื่มสุรา เหล่านี้ โดยมิได้คิดล่วงหน้านานๆ แต่ประการใด คงคิด พูดและทำขึ้นในเวลาที่ได้ประสบกับเรื่องนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ บุคคลดังกล่าวเมื่อเวลาใกล้จะตาย กรรมนิมิตอารมณ์ย่อมมีโอกาสส่งผล (คือเป็นอารมณ์ของวิถีจิตในเวลาใกล้ตายในภพนี้และเป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิตในภพหน้า) กรรมนิมิตอารมณ์นี้จะทำให้เราเห็นอุปกรณ์ต่างๆในการกระทำกรรมต่างๆ เช่น ฝ่ายกุศล จะเห็นขันข้าวใส่บาตร ผ้าไตรจีวร โต๊ะหมู่ ข้าวของต่างๆในการทำบุญ หรือฝ่ายอกุศล จะเห็นอุปกรณ์ในการทำอกุศล เช่น เครื่องมือในการล่าสัตว์ ทั้งปืน มีด แห อวน ขึ้นอยู่กับกรรมที่เราได้กระทำแล้ว เช่น นางมัลลิกาเทวีเมื่อเกิดเป็นสัตว์นรกแล้ว ได้เห็นเปลวไฟในนรก ทำให้นึกถึงผ้าไตรจีวรที่ตนได้เคยถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ในอดีตชาติสมัยที่เป็นนางมัลลิกาเทวี อารมณ์ที่มาปรากฏเป็นกรรมนิมิตอารมณ์ฝ่ายกุศล ทำให้นางตายจากความเป็นสัตว์นรกไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิต

๓. คตินิมิตอารมณ์ คือ อารมณ์ ๖ ที่จะได้ประสบพบเห็นและได้รับในภพหน้า มาปรากฏในเวลาใกล้ตาย คตินิมิตอารมณ์นี้ปรากฏได้ทางทวารทั้ง ๖ บุคคลที่มีกุศลเจตนาหรืออกุศลเจตนาอย่างแรงกล้าในขณะที่กำลังทำดีหรือกำลังทำชั่ว บุคคลที่ขณะทำดีหรือชั่วนั้น มีการคิดนึกถึงเจตนาก่อนทำโดยไม่สร่างซา หรือบุคคลที่ชอบนึกคิดวาดภาพถึงผลของกุศล อกุศลในอนาคตเหล่านี้ก็ดี บุคคลดังกล่าวนี้เมื่อเวลาใกล้ตาย คตินิมิตอารมณ์ย่อมมีโอกาสส่งผล (คือเป็นอารมณ์ของวิถีจิตในเวลาใกล้ตายในภพนี้และเป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิตในภพหน้า) เช่น ธัมมิกอุบาสก ได้ทำทาน รักษาศีล ฟังธรรม เจริญภาวนาเนืองๆ เมื่อเวลาป่วยหนักจึงได้นิมนต์พระภิกษุมาสาธยายธรรม ทำจิตของตนให้ผ่องใส ขณะกำลังฟังธรรมด้วยความตั้งใจ เหล่าเทวดาจากสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ได้ลอยมาปรากฏตรงหน้าธัมมิกอุบาสก และเชิญชวนให้ธัมมิกอุบาสกไปอยู่ในสวรรค์ชั้นของตน ต่างก็ส่งเสียงเชิญชวนกันเซ็งแซ่จนธัมมิกอุบาสกไม่ได้ยินเสียงพระภิกษุสาธยายธรรม

ธัมมิกอุบาสกจึงร้องบอกให้หยุดก่อน ฝ่ายลูกๆ และพระภิกษุไม่เห็นเหล่าเทวดา เมื่อได้ยินธัมมิกอุบาสกร้องบอกให้หยุดก่อน พระภิกษุจึงหยุดสาธยายธรรมแล้วพากันกลับไป ส่วนธัมมิกอุบาสกนั้น เมื่อเทวดาหยุดส่งเสียงแล้วจึงมาฟังธรรมต่อ แต่ไม่เห็นพระภิกษุ จึงถามบุตรว่าพระภิกษุไปไหนหมด เหล่าลูกๆ จึงบอกว่าก็พ่อได้บอกให้พระภิกษุหยุดสาธยายธรรม ท่านจึงกลับไปแล้ว พูดแล้วลูกๆ จึงคร่ำครวญว่าเมื่อก่อนคุณพ่อไม่เคยอิ่มในการฟังธรรม แต่วันนี้คุณพ่อกลับบอกให้พระภิกษุหยุดแสดงธรรม คุณพ่อท่าทางจะหลงเสียแล้วกระมัง ฝ่ายธัมมิกอุบาสกจึงบอกว่าตนไม่ได้บอกให้พระภิกษุหยุด แต่บอกให้เทวดาทั้งหลายหยุดส่งเสียงก่อน เพื่อจะฟังธรรม แต่ลูกๆ ไม่เห็นเทวดาจึงไม่ค่อยเชื่อนัก ธัมมิกอุบาสกจึงถามลูกว่าสวรรค์ชั้นไหนน่าไปอยู่ที่สุด ลูกบอกว่าสวรรค์ชั้นดุสิตเพราะเป็นชั้นที่เป็นแหล่งรวมของนักปราชญ์มากมาย ธัมมิกอุบาสกจึงขอพวงมาลัยจากบุตร และเสี่ยงพวงมาลัยโยนขึ้นไปบนอากาศคล้องที่ราชรถของสวรรค์ชั้นดุสิต เหล่าเทวดาที่มาปรากฏเป็นคตินิมิตอารมณ์ฝ่ายกุศลที่มาปรากฏแก่ธัมมิกอุบาสก บุคคลอื่นจึงมองไม่เห็น

เมื่อธัมมิกอุบาสกสิ้นชีวิตจึงไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิต จะเห็นว่าจริงๆ แล้วเราสามารถเลือกภูมิสถานที่เกิดได้ ถ้าเรามีความดีจริงๆ จากเรื่องราวทั้งหมดเหล่านี้จะเห็นว่า อารมณ์ทั้ง ๓ อย่างที่มาปรากฏก่อนตาย เป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นสัญลักษณ์ว่าเราจะได้ไปเกิดที่ใด ถ้าเป็นฝ่ายกุศลจะเปิดโอกาสให้กุศลเก่าส่งนำเกิดในสุคติภูมิ ถ้าเป็นฝ่ายอกุศลจะเปิดโอกาสให้อกุศลเก่าส่งนำเกิดในทุคติภูมิ ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะเป็นฝ่ายกุศลหรืออกุศลขึ้นอยู่กับจิตใจของตนว่า สามารถทำจิตให้เป็นกุศลในเวลาใกล้ตายได้หรือไม่ โดยเฉพาะในเวลาใกล้ตายจิตใจมักกระสับกระส่าย เกิดความกระวนกระวายใจ ยิ่งทำใจให้สงบเป็นกุศลได้ยากยิ่งขึ้นกว่าเวลาปกติ ดังนั้น การจะทำจิตให้เป็นกุศลในเวลาใกล้ตายจึงเป็นเรื่องที่ลำบากมากนัก จึงควรที่เราจะฝึกทำจิตของตนให้เป็นกุศลอยู่บ่อยๆ เสียตั้งแต่วันนี้เพื่อสร้างความคุ้นเคยในจิตใจ เมื่อถึงคราวคับขันจะได้สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายดังที่ใจต้องการ ขอให้โชคดี เจริญพร

:b8: :b8: :b8:

:b44: กระทู้เกี่ยวเนื่องกัน

๏ กรรมนิมิต-คตินิมิต (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=19399

๏ จิตก่อนเกิดและก่อนตายเป็นอย่างไร (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=40797

๏ สิ่งที่จิตระลึกถึงก่อนตายมี ๓ ชนิด (พระพรหมบัณฑิต)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3437

๏ ปุถุชนตายมีกรรมนิมิต แต่พระอรหันต์ไม่มี (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=50660

๏ กรรมนิมิตก่อนตาย (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=50923

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2013, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Y12032746-1.jpg
Y12032746-1.jpg [ 148.43 KiB | เปิดดู 18925 ครั้ง ]
ภาพประกอบวิถีจิตมรณาสันนวิถี อ่าน ๒ กระข้างบน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2013, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณลุงสมานก๋า :b12: อธิบายเพิ่มเติมได้หรือปล่าวค่ะ
สนใจตรงเสียงสวดมนต์ :b8: นี่หล่ะค่ะ :b1: :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2013, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
คุณลุงสมานก๋า :b12: อธิบายเพิ่มเติมได้หรือปล่าวค่ะ
สนใจตรงเสียงสวดมนต์ :b8: นี่หล่ะค่ะ :b1: :b41: :b55: :b49:


จะลองดูนะ ดังในภาพนี้มีด้วยกัน ๒ วิถี
มีวิถีใกล้ตาย เรียกว่ามรณาสันนกาล และ วิถีตาย เรียกว่ามรณาสัณวิถี
วิถีมรณาสันนกาลเป็นวิถีทางหู คือได้ยินเสียงสวดมนต์
ที่เป็น กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์ ที่มาปรากฏทางหู
ต่อจากนั้นมรณาสันนวิถี หรือเรียกว่าวิถีตาย ซึ่งเป็นอารมณ์ทางมโนทวาร
ก็รับเอาอารมณ์ที่มาปรากฎทางหูมา จุติหรือตาย เมื่อปฏิสนธิก็อารมณ์นั้นแหละ
นำไปปฏิสนธิ เป็นไปภพภูมิที่เป็นสุคติ

วิธีดูภาพ ให้นับขึ้นไปข้างบน จาก ๑ต. ๒น. ๓ท. ๔ปัญ. ๕โสต. ๖สัม. ๗สัณ ฯลฯ ๑๗ณ. เป็นอันสิ้นสุดวิถีทางหู ต่อจากนั้นก็ลงสู่ภวังค์ ได้แก่ ๑ภ. ๒ภ. ๓ภ. ฯลฯ จนถึงชวน ตรง ๑๐ช. ๑๑ช.๑๒ช. ๑๓ช. ๑๔ช. ๑๕ช.ซึ่งมี ๕ ขณะเท่านั้นเพราะเหตุที่จิตมีกำลังอ่อนเนื่องจากอำนาจของกรรมนั้นใกล้จะหมดอำนาจอยู่แล้ว และอีกอย่างหนึ่งหทัยวัตถุอันเป็นกัมมชรูป ซึ่งเป็นที่ตั้งของจิตก็มีแต่เสื่อมสิ้นลงไปเรื่อยๆ กำลังของชวนจิต อ่อนไปเหมือนไฟที่น้ำมันจะหมดหรือจะมอดอยู่แล้ว แสงสว่างก็เริ่มหรี่เพราะหมดกำลังของปัจจัย คือน้ำมันและใส่นั่นเอง เมื่อสุดมรณาสันนวิถีแล้วต่อจากนั้นจุติจิตก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ เรียกว่าสัตว์นั้นตายลง ในทันทีที่จุติจิตดับลง ปฏิสนธิจะต้องเกิดขึ้นแน่นอนโดยไม่มีจิตอื่นมาคั่นในระหว่างจุติกับปฏิสนธิจิตได้เลย ยกเว้นจุติของของพระอรหันต์เท่านั้น ที่จุติแล้วก็เป็นอันสิ้นสุดไม่มีปฏิสนธิอีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2013, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุค่ะลุง
อธิบายต่อไปอีกนะคะลุง
:b49: :b49: :b49:

การบริจาคร่างกาย ดวงตา หัวใจ ในขณะที่เราทิ้งร่างกายของเราไปแล้ว หรือขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
บริจาคเลือด ไต จัดเป็นทานอุปบารมี

ในขณะที่ผู้บริจาคร่างกายกำลังจะเสียชีวิตนั้น หากผู้ที่เป็นญาติได้เตือนความจำของผู้ใกล้ชีวิตว่า เค้าได้
บริจาคร่างกายไว้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นหลังจากที่เค้าเสียชีวิตไปแล้ว มีการใช้ประโยชน์จากร่างกาย
ของเค้าเมื่อเค้าเสียชีวิตไปแล้ว มีดวงตา เป็นต้น ผู้ที่ใกล้จะเสียชีิวิตจะน้อมระลึกได้ทันทีว่าเค้าได้บริจาค
อวัยวะและร่างกายไว้ เค้าจะได้ระลึกถึงกุศลในการบริจาคอวัยวะและร่างกาย จะช่วยให้ความยึคในร่าง
กายของเค้าลดลงเมื่อเค้าใกล้จะตายค่ะ เจตนาขณะจิตจะดับจะแรงมาก รู้ว่าร่างกายที่เสียชีวิตแล้วจะ
สร้างกุศล ตรงนี้แหล่ะจะช่วยให้ผู้จะตายได้ภพภูมิที่ดีได้(สุคติภูมิ) เค้าจะไม่ห่วงไม่หวงไม่ยึคร่างกาย
เพราะขณะยังมีชีวิตอยู่ขณะนั้นเค้าให้ได้เลยไม่หวง เพราะฉะนั้นพอจิตจะดับเค้ารู้เลยว่าเดี๋ยวร่างกายเค้า
ได้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ขณะจิตใกล้ดับกุศลเค้าจะเกิดแรงมาก รู้ว่าจิตดับเมื่อไร ร่างกายนั้นเป็น
ประโยชน์เลย ตอนที่คิดอย่างนี้แหล่ะเป็นจินตามยปัญญาและเป็นกุศลอันแรงกล้าขณะกำลังใกล้ตาย
นี้เป็นมุญจเจตนา
ทำให้เกิดติเหตุกกุศลในการบริจาคอวัยวะและร่างกายนี้ (ขณะไปทำ
เรื่องบริจาคร่างกายเป็นปุพเจตนา ขณะใกล้ชีวิตมีการคิดไม่ห่วงไม่หวงไม่ยึคร่างกาย มีการให้ร่างกาย
แบบสละขาดเป็น มุตตจาคี คือปราศจากความตระหนี่เป็นการให้แบบสละขาด)

:b48: เชิญคลิ๊กอ่านกระทู้ ติเหตุกกุศล

viewtopic.php?f=66&t=42423

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2013, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ารู้ก็ว่ามาบ้างก็ได้นี่ เพราะห่างเหินไปนาน
ที่เห็นเป็นเส้นใยตรงกลางที่ต่อมาจากเสียงสวดมนต์นั้น
แสดงถึงอารมณ์ที่ยังได้ยินทางหู และช่วงที่ว่างจากเส้นใยนั้นเป็นภวังคจิต
คือไม่มีอารมณ์ใดๆเกิดขึ้นเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2013, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ภาพประกอบวิถีจิตมรณาสันนวิถี อ่าน ๒ กระข้างบน



ภาพวิถีในกระทู้ วิถีแรก มันเป็นอติมหันตารมณ์ มีตี 1 ขณะเป็นปัจจุบันนิปผันนรูป18 รับสัททารมณ์มาทางทวารจริงๆ ค่ะ ใครสวดมนต์ให้ฟัง ไม่ได้คิดทางมโนทวาร และวิถีที่2 ก็ลงกามชวนมโนทวารมรณาสันนวิถี เป็น กรรมนิมิต นะเพราะมันรับสัททารมณ์ที่เป็นอดีตนิปผันนรูป18 ในวิถีนี้จุติแล้วก็ปฏิสนธิในกามภูมิ 11 แน่นอนค่ะ หากตายในวิถีนี้

อารมณ์6 ที่เรียกว่า กรรมนิมิตอารมณ์ เพราะมีสัททารมณ์คือเสียงสวดมนต์ในวิถีสุดท้าย และตามวิถีสุดท้ายนี้ไม่ได้ระบุ ภวังค์เป็นองค์ปรมัตถ์อะไร ขออธิบายเป็นวิถีรวมค่ะ

ถ้าเป็นวิถีรวมก็เป็นภวังคจิต10 เกิดกับปุถุชน4 และพระอริยะเบื้องต่ำ2

ว่าโดยภูมิ เกิดได้ในกามภูมิ11 ว่าโดยองค์ธรรมปรมัตถ์ ภวังค์แรกและจุติจิต ได้แก่ กามภวังคจิต10
ส่วนวิถีจิตเหล่านั้นได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต1 กามชวนจิต20 คือ อกุศลชวนะ12 มหากุศลชวนะ8 และตทารัมมณจิต11

ว่าโดยอารมณ์ ภวังค์แรกและจุติจิต มีอารมณ์6 ที่เรียกว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ ที่ได้รับมาจากฉทวาริกมรณาสันนชวนะในภพก่อนเมื่อใกล้จะตายเป็นอารมณ์

สำหรับวิถีจิตทั้งหมดที่อยู่ในวิถีนี้ มีอารมณ์6 เรียกว่ากรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือ คตินิมิอารมณ์
อันเป็นตัวกรรมหรือ อารมณ์ที่เกี่ยวกับกรรมซึ่งได้เคยกระทำไว้แล้ว ในภพนี้หรือภพก่อนๆ เป็นอารมณ์

ว่าโดยวัตถุ ภวังค์แรกและจุติจิตและวิถีจิตทั้งหมด อาศัยหทยวัตถุเกิด

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2013, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: อ่านเรื่องที่ท่านพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) รจนาไว้เกี่ยวกับอารมณ์ที่ปรากฏก่อนตาย

อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นเรื่องชายคนหนึ่งในเมืองเมาะละแหม่ง เมื่อเวลาใกล้ตายได้กล่าวว่าเขาเห็น
เรือนหลังใหญ่สวยงาม นิมิตนี้หมายถึงเทวโลกเช่นเดียวกันกับทานมหาธรรมิกอุบาสกเห็นราชรถจาก
สวรรค์มารอรับ

ส่วนผู้ที่ได้เห็นหมู่บ้านหรือที่พำนักของบิดามารดาในภพใหม่ ก็อาจได้เกิดเป็นมนุษย์
ท่านสยาดอ (พระอาจารย์) รูปหนึ่งในเมืองเมาะละแหม่งได้ถูกโจรฆ่าตาย หลังจากนั้นอีก ๓ ปี
มีเด็กจากเมืองมยิตได้รบเร้าให้บิดามารดาเดินทางไปส่งที่เมืองเมาะละแหม่ง เด็กคนนี้สามารถ
บอกชื่อของสยาดอหลายรูปที่เคยอยู่ในวัดเดียวกันในภพก่อนได้ เขาเล่าว่าเมื่อโจรไม่ได้เงินจากเขา
ตามต้องการจึงได้แทงเขา เขาได้วิ่งหนีไปที่ท่าน้ำ แล้วลงเรือไปที่เมืองมยิต อาศัยอยู่ที่บ้าน
ของพ่อแม่ในปัจจุบัน การวิ่งหนีและการลงเรือเป็นต้นนี้เป็นคตินิมิตของท่านสยาดอนั่นเอง

ในกรณีการตายอย่างกะทันหันก็อาจมีการหวนคิดถึงกรรมในอดีตหรือเห็นคตินิมิตได้เช่นเดียวกัน
ในคัมภีร์อรรถกถาได้กล่าวว่า แม้แมลงวันที่เกาะอยู่บนท่อนเหล็กได้ถูกทุบด้วยไม้ค้อนจนแหลกละเอียด
ก็ยังมีกรรมอารมณ์ กรรมนิมิต และคตินิมิตปรากฏให้เห็น

ทุกวันนี้มีระเบิดปรมาณูที่มีอานุภาพทำลายเมืองใหญ่ ให้กลายเป็นเถ้าถ่านได้ในพริบตาเดียว
คนที่ตายในระเบิดก็สามารถเห็นกรรม กรรมนิมิต และคตินิมิตด้วยเหมือนกัน มตินี้อาจเป็นเรื่องเหลือเชื่อ
สำหรับคนที่ไม่รู้กระบวนการของจิตอย่างละเอียด แต่สำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรมที่กำหนดรู้รูปนามอยู่อย่าง
จดจ่อต่อเนื่อง ก็จะเชื่อได้โดยไม่ยากนัก เพราะคัมภีร์ทางพุทธศาสนาระบุไว้ว่าจิตมีการเกิดดับ
ถึงแสนโกฏิขณะในชั่วเวลาเพียงพริบตาเดียวหรือสายฟ้าแลบครั้งเดียว ปฏิบัติธรรมที่บรรลุอุทยัพพยญาณ
จะรู้เห็นด้วยตนเองว่าจิตเกิดดับเป็นร้อยๆ ครั้งในชั่วขณะเดียว เขาย่อมเชื่อมั่นว่าผู้ที่ตายอย่างกระทันหัน
มีโอกาสได้เห็นกรรมอารมณ์ กรรมนิมิต และคตินิมิตอย่างแน่นอน

ในเรื่องนี้สามารถอธิบายได้ว่าวิญญาณจะต้องเกาะเกี่ยวอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอยู่เสมอ
จึงจะเกิดขึ้นได้ เรามักจะจำสิ่งที่เคยทำมาในอดีต และบางครั้งอาจคิดถึงโลกสวรรค์บ้างหรือ
โลกมนุษย์บ้าง หากผู้ที่เคยทำกรรมดีไว้ได้ตายลงในขณะคิดถึงกรรมในอดีต ก็จะได้เกิดเป็น
เทวดาหรือมนุษย์ อารมณ์ในขณะก่อนตายที่เกี่ยวกับภพหน้า เรียกว่า คตินิมิต และภาพของสิ่ง
ที่เกี่ยวกับกรรมในอดีต เรียกว่า กรรมนิมิต

ไม่เพียงแต่ในคัมภีร์อรรถกถาเท่านั้นที่กล่าวถึงนิมิตไว้ในขณะก่อนตาย แม้ในพระบาลีก็ตรัส
เรื่องนี้ไว้ เช่นใน พาลปัณฑิตสูตร และพระสูตรอื่นๆ พระพุทธองค์ได้ตรัสเกี่ยวความจำเรื่อง
บุญหรือบาปที่เคยทำมาในขณะใกล้ตาย ทรงอุปมาว่าเสมือนเงาภูเขาที่ทอดไปบนพื้นปฐพี
ในเวลาเย็น ซึ่งไม่ใครสามารถกำจัดให้หายไปได้ ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเห็นหญิงคนหนึ่งขณะใกล้ตาย
ได้แสดงความหวาดกลัวอย่างรุนแรง เธอผู้นี้กลัวจนพูดไม่ออก แม้ญาติพี่น้องจะพยายามปลอบ
โยนก็ไม่ช่วยให้ดีขึ้น ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะได้เห็นคตินิมิตที่ไม่ดี ซึ่งเป็นผลของกรรมชั่ว
ในอดีตก็เป็นได้

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2013, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: เิชิญอ่านต่อจากเมื่อวานนี้ค่ะ

สัตว์โลกทั้งหลายจึงยังหลงติดอยู่ในสังสารวัฏ เวียนเกิดเวียนตายจากภพหนึ่งสู่อีกภพหนึ่ง
อย่างไม่มีสิ้นสุด ซึ่งส่วนใหญ่ต้องทนทุกข์อยู่ในอบายภูมิ มีน้อยครั้งที่กรรมดีจะนำให้เกิดในเทวภูมิ
หรือมนุษยภูมิ แต่เมื่อกรรมดีหมดกำลังแล้วก็จะต้องกลับไปเกิดในอบายภูมิอีก

การที่สัตว์ในอบายภูมิจะไปบังเกิดในมนุษยภูมิหรือเทวภูมิได้เป็นเรื่องยากอย่างยิ่ง
เพราะสัตว์ที่จะไปอุบัติในภพที่สูงขึ้นได้จะต้องมีความทรงจำเกี่ยวกับกรรมดี หรือได้นิมิตของ
กรรมดีที่เคยทำมาในอดีต แต่อบายสัตว์แทบจะไม่มีโอกาสได้ทำกรรมดีเลย เพราะสัตว์ดิรัจฉาน
มักมีชีวิตอยู่ด้วยการฆ่ากันเองเพื่อความอยู่่รอด ไม่มีเวลาหรือโอกาสจะได้แสดงความรักความเมตตา
สงสารหรือคุณงามความดีใดๆ และโดยมากก็มักจะบาดเจ็บหรือหวาดกลัวอย่างหนักก่อนตาย
ดังนั้นอบายสัตว์จึงมักวนเวียนเกิดตายอยู่ในอบายภูมิ

ความไม่รู้ในหลักปฏิจจสมุปบาททำให้สัตว์โลกไม่สามารถนำตนเองให้หลุดพ้นจากการเวียนว่าย
ตายเกิด อุปมาเหมือนโคที่เขาผูกไว้กับแอกแล้วให้เดินวนไปรอบๆ ครกกระเดื่อง ไม่ว่าจะเดินไปสักกี่รอบ
ก็ไม่สามารถออกไปจากการวนเวียนอยู่ในบริเวณแคบๆ นั้นได้ บุคคลที่โง่เขลาก็เช่นกัน ย่อมติดอยู่ใน
สังสารวัฏฏ์ที่ส่วนใหญ่หมายถึงการเกิดในอบายภูมิซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นเวลานานหลายต่อหลายกัป

ความเข้าใจในหลักปฏิจจสมุปบาทมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าอริยสัจ ๔
ในอันที่จะปลดปล่อยสัตว์โลกให้เป็นอิสระ ความจริงอริยสัจ ๔ เป็นคำไวพจน์ของปฏิจจสมุปบาท
การเจริญวิปัสสนามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดปัญญาหยั่งรู้ในธรรมโดยประจักษ์ด้วยการปฏิบัติของตน
แต่ธรรมเหล่านี้ก็ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจ แม้เจริญวิปัสสนาก็ยังคงยากที่จะเห็นแจ้งหรือ
เข้าใจอวิชชา สังขาร ฯลฯ ได้อย่างแจ่มแจ้ง

พระบรมศาสดาได้ทรงพิจารณาเกี่ยวกับหลักปฏิจจสมุปบาทในขณะก่อนและหลังการบรรลุ
อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ โดยได้เสวยวิมุตติสุขตลอดเจ็ดวันหลังจากทรงตรัสรู้ และในคืนวันที่
๗ ได้ทรงพิจารณาหลักปฏิจจสมุปบาทโดยความเป็นปัจจยาการ คือ อาการที่เป็นเหตุเป็นผลกัน
ของธรรมทั้งหลาย

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2013, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมจำแนกสัตว์

กรรมเป็นตัวแบ่งให้เหล่าสัตว์แต่ละคนมีรูปร่างหน้าตา ฐานะ และสติปัญญาเป็นต้นแตกต่างกัน แ้ม้อาจมีบางอย่างเหมือนกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่มักแตกต่างกัน ดังพระพุทธพจน์ว่า กมฺมํ สตฺเต วิภชติ (กรรมย่อมจำแนกเหล่าสัตว์)

สิ่งที่ทำให้เป็นผู้ร้าย ก็คือกรรมของเรา สิ่งที่ใำห้เราต้องเผชิญกับภัยอันตราย ก็คือกรรมของเรา เราจึงไม่ควรไปโทษคนอื่น แต่ต้องโทษตัวเอง ข้อนี้เปรียบได้กับแม่น้ำใหญ่ที่ไม่อาจท่วมทับคนที่อยู่บนบกได้ เพียงแต่คนกระโดดเข้าแม่น้ำเองจึงถูกท่วมทับ

แม้ในบางขณะเราอาจมีภัยอันตรายเกิดขึ้น แต่ถ้าเราทำกรรมดีไว้เสมอๆ สิ่งเหล่านั้นก็ทำร้ายเราไม่ได้ แต่จะทำร้ายคนชั่วที่ไม่ได้ทำกรรมดีไว้เท่านั้น

ดังนั้น จงกลัวการทำชั่ว อย่ากลัวภัยอันตราย เจ้ากรรมนายเวร หรือดาวเคราะห์ที่ไม่ดี เช่น ราหู ไม่ว่าดาวเคราะห์ประจำตัวจะดีหรือร้าย เราก็พบกับความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมด ไม่มีดาวไหนช่วยเราให้พ้นไปจากความเกิดเป็นต้นได้

ในขณะที่ท่องเที่ยวในวัฏสงสารนี้ กรรมชั่วจะทำให้เราพบกับหายนะภัยพิบัติต่างๆ สิ่งเหล่านั้นเกิดจากกรรมชั่วที่เป็นผลของจิตชั่ว จะเห็นได้ว่า นรก ๘ ขุมไม่เคยเรียกใครให้เข้าไป แต่จิตชั่วของเราส่งเราเข้าไปหาเอง

:b8: :b8: :b8:
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%A ... 5358872763

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2013, 06:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ในขณะใกล้จะตายก่อนที่หทัยวัตถุจะดับนั้น จะมีทุกขเวทนาสลับสับเปลี่ยนกับภวังคจิต
คือ ระหว่างภวังคจิต กับ วิถีจิตที่มีชวนะเป็นทุกขเวทนา ภวังค์ก็จะมีอารมณ์ 3 อย่างๆ ใดอย่างหนึ่ง
ปรากฏ

ในขณะที่มีชีวิตอยู่นั้น เราทำกรรมอะไรไว้ที่ไม่มีใครรู้ใครเห็น คือมีเรารู้อยู่คนเดียวในโลกก็ว่าได้
กรรมที่ทำไว้ ไม่มีใครรู้ แต่จิตของเรารับรู้และเก็บความลับนี้ด้วยการบันทึกไว้แล้วใน ภวังคจิต
แม้ว่าเราหลงลืมเรื่องเหล่านี้ไปแล้วและก็ไม่มีใครรู้ด้วย แต่ภวังคจิตของเรานี้แหล่ะเก็บเรื่องไว้แล้ว

ในวันหนึ่งๆ นั้นเรากระทำกรรมไว้เยอะแยะ ภวังคจิตเกิดขึ้นเยอะมากๆ เมื่อใกล้ตายภวังคจิตสามารถไป
รื้อค้นอะไรมาให้เรารู้เมื่อใกล้ตายก็ได้ บางคนทำดีมาเยอะแยะ ภวังคจิตไม่ไปเอามาส่งผลในตอนใกล้ตาย
แต่ดันไปเอาความลับที่เคยทำไว้แค่ครั้งเดียวมาแสดงใกล้ตาย ทำไมบางคนใกล้ตายจึงร้องเหมือน
ถูกใครทำร้าย นั่นเพราะได้เคยทำร้ายชีวิตใดชีวิตหนึ่งเอาไว้ แม้แต่อาจจะเคยทำไว้เพียงครั้งเดียวและรู้เห็น
เหตุการณ์นั้นเพียงตนผู้เดียว

บางคนก็รู้สึกปลื้มใจกับนิมิตที่ปรากฏซึ่งก็อาจจะเป็นเรื่องที่ได้ช่วยใครคนหนึ่งไว้เบื้องหลัง ที่ไม่มีใครรู้เห็น
ไม่มีใครรับรู้เลยแม้แต่คนเดียว มีตนเองเท่านั้นที่รู้

เพราะฉะนั้น แม้บาปเพียงครั้งเดียวแม้ไม่มีใครรู้ใครเห็น ก็อย่ากระทำ ให้จบลงที่ความคิดที่อยู่ในใจพอ
อย่าให้ล่วงออกมาเป็นการกระทำ พึ่งระงับการกระทำนั้นเสีย

และกุศลแม้ทำเพียงลำพังอุปมาเหมือนกับผู้ปิดทองหลังพระ ก็ควรกระทำ ทำกุศลไม่มุ่งหมายให้ใครมา
ชื่นชม เมื่อจิตคิดทำกุศลให้เร่งรีบกระทำออกมาทางกายทางวาจา

เพราะการกระทำครบทั้ง 3 ทวาร คือ กาย วาจา ใจ นั้นส่งผลได้ด้วยความแรงกล้าค่ะ

:b44: :b44: :b44: :b44: :b44:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2013, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า การเกิดเป็นทุกข์เป็นไฉน การตายเป็นทุกข์เป็นไฉน
การตายเป็นทุกข์ไฉน เชิญอ่านคำบรรยายจากอาจารย์อาณัติชัย เหลืองอมรชัย

เมื่อจิตจะแตกดับย่อมกระสับกระส่ายอย่างรุนแรง ขณะที่จิตจะพรากจากขันธ์ เนื่องจากพวกท่านทั้งหลายหลงยึคขันธ์5 เป็นตัวเป็นตน แม้กระทั่งโค้งท้ายสุดท้ายแห่งชีวิตร่างกายต้องแตกดับ เพราะเนื่องจากการยึคตัวเรา ไม่อยากพรากจากตัวเราในชาตินี้ ความทุกข์จากความตายก็เข้ามา ขณะบุคคลใกล้จะตายนั้น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยวาโยธาตุผู้มีกำลังเริ่มอ่อนลงๆ จนกระทั่งจับความดันแทบจะไม่เจอ เมื่อวาโยธาตุอ่อนลง ธาตุ3 ที่อาศัยวาโยธาตุเกิด มีปถวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ก็เริ่มอ่อนลง การขยับเขยื้อนร่างกายของสัตว์ทั้งหลายก็เริ่มอ่อนลงๆ ชีวิตก็เหลือแค่ทุกข์กายที่กำลังเบียดบัง บางคนหายใจไม่ทันต้องขยับเขยื้อนเพียงแค่ไหปลาร้าเท่านั้นเอง บางคนใกล้จะสิ้นใจเค้าก็ยังขยับไปทั้งตัว นั่นแหล่ะการกระสับกระส่ายของกายอันเป็นทุกข์อย่างใหญ่หลวง จิตตอนนั้นย่อมกระสับกระส่ายอย่างรุนแรง เพราะเนื่องจากจิตตกสู่ภวังค์กับทุกขเวทนาสลับกันเสมอๆ ทุกขเวทนาเกิดตกสู่ภวังค์ในการรักษาภพ ภวังค์ในการรักษาภพในชาตินี้จะหมดลงแล้ว รักษามาเพียงเท่านี้เองก็จะจบลง ภวังคจิตของแต่ลุบุคคลจะสิ้นสุดลง ภวังค์กำลังเกิดย่อมปรากฏด้วยอารมณ์ 3 อย่าง คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์ อารมณ์ทั้ง 3 อย่างจะเกิดสลับกันกับทุกขเวทนา เปลี่ยนกันอยู่อย่างนี้ จนกระทั่งกายกระสับกระส่าย จิตก็กระสับกระส่าย ทุกข์อย่างใหญ่หลวงตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ก็คืออย่างนี้ว่า

เมื่อนั้นจิตจะอาศัยความหลงอันมีอวิชชา ก็เข้าไปหยิบฉวยความเป็นขันธ์ที่จะแตกดับมาเป็นเจ้าของ ด้วยความเป็นอันไปด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ตอนนั้นมีพลังแห่งกรรมที่ถ่ายโอนมาด้วย ที่แรงที่สุด ที่จะให้กลุ่มของอวิชชาตัณหาและยึคมั่นด้วยอุปาทานไปเกิดในภพใหม่ ท่านว่าจิตตอนนั้นจะกระสับกระส่ายอย่างรุนแรงที่สุด เปรียบเหมือนกับลูกข่างที่หมุนด้วยความทรงตัวอย่างรุนแรง จนกระทั่งมันเคลื่อนเข้าไปอยู่เรื่อยๆ สลับกันเข้าตกลงสู่ภวังค์ จนกระทั่งภวังค์ดวงสุดท้ายรักษาภพจะหมดลงแล้ว เข้าถึงจิตดวงสุดท้ายในภพนี้
จิตดวงนั้นนั่นแหล่ะเรียกว่า จุติจิต

การกระสับกระส่ายของจิตก็เกิดอย่างใหญ่หลวง เพราะมีความทะยานอยากไม่อยากจากให้จิตพรากจากขันธ์ แต่ในที่สุดทุกข์อย่างมหันต์ก็มาเกิด จนกระทั่งการกระสับกระส่ายทั้งกายและใจก็ดับลงทันที ไม่มีอะไรเคลื่อนออกมาไปเกิดใหม่ แต่อาศัยสังขารที่ทำกรรมไว้ในกาลก่อนสวนกระแสเป็นปัจจัยให้วิญญาณเกิดในภพใหม่ทันทีด้วยปฏิสนธิจิต19 อันเป็นอุเบกขาสัณตีรณอกุศลบ้าง อุเบกขาสัณตีรณกุศลบ้าง มหาวิปาก8ดวงบ้าง เป็นต้น อันเป็นดวงใดดวงหนึ่งก็มาเกิดใหม่ตามพลังกรรมที่กระทำไว้ สงฺขารปจฺจยาวิญญาณํ ในภพใหม่ก็มาเกิด ขณะเกิดก็เป็นทุกข์เป็นไฉน ถูกแรงเหวี่ยงแห่งกรรมสะสมพลังแล้วถ่ายโอนออกมาเกิด มีแรงเหวี่ยงเซซัดโซเซมาเกิดในภพภูมิใหม่ การเกิดก็เป็นทุกข์การตายก็เป็นทุกข์ด้วยประการอย่างนี้แล ทุกข์คือการกระสับกระส่ายที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ถูกบีบคั่นทั้งกายและใจทนอยู่ไม่ได้ ล้วนแล้วเป็นทุกข์

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2013, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ในคัมภีร์มูลฎีกาและมหาฎีกากล่าวว่า
อาสนฺเน อกุสลํ ทุคฺคติยํ กุสลญฺจ สุคติยํ ปฏิสนฺธิยา อุปนิสฺสโย โหติ.
"อกุศลกรรมในขณะใกล้เสียชีวิตเป็นเหตุที่มีกำลังเพื่อการปฏิสนธิในทุคติภูมิ ส่วนกุศลกรรมในขณะใกล้เสียชีวิตก็เป็นเหตุมีกำลังเพื่อการปฏิสนธิในสุคติภูมิ"


ถามว่า : ขณะที่นิมิตในสวรรค์มีนางอัปสรเป็นต้นปรากฏอยู่ เมื่อบุคคลพอใจด้วยตัณหาแล้วจุติอยู่ กระแสจิตที่เป็นกุศลอันบริสุทธิ์ย่อมมีได้อย่างไร
ตอบว่า : บางคนอ้างว่าจิตของเขาเศร้าหมองแล้ว ทุคติจึงเป็นที่หวังได้ แต่ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคกล่าวว่า ตัณหาเช่นนั้นเป็นเหตุเกิดร่วมกับกุศลกรรม ดังสาธกในคัมภีร์นั้นว่า

นิกนฺติกฺขเณ เทฺว เหตู อกุสลา.
"ในขณะยินดีกามภูมิ อกุศลชวนจิตที่มีเหตุ ๒ ย่อมเกิดขึ้น"
ตัณหาในการก่อให้เกิดสุคติภูมิเป็นเหตุเกิดร่วมกันซึ่งกำหนดภพของกุศลกรรม ดังนั้น เมื่อเขาพอใจนางอัปสรเป็นต้น หรือพอใจกรรมนิมิตของกุศลกรรมแล้วจุติอยู่ ตัณหานั้นก็ควรเป็นเครื่องอุปถัมภ์กุศลกรรม
มิได้ห้ามกุศลกรรม

มีพระพุทธวจนะในอาทิตตปริยายสูตรว่า

นิมิตฺตสฺสาทคธิตํ วา ภิกฺขเว วิญญาณํ ติฏฺฐมานํ ติฏฐติ อนุพฺยญฺชนสฺสาทคธิตํ วา. ตสฺมึ เจ ภิกฺขเว
สมเย กาลงฺกเรยฺย, ฐานเมตํ วิชฺชติ, ยํ ทฺวินฺนํ คตีนํ อญฺญตรคติ คจฺเฉยฺย นิรยํ วา ติรจฺฉานโยนึ วา.
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจิตถูกครอบงำด้วยความพอใจในรูปร่างหรืออวัยวะน้อยใหญ่อยู่ ถ้าเขาพึงเสียชีวิตในกาลนั้น การที่เขาจะไปสู่ภพใดภพนึ่งในภพ ๒ แห่ง คือสู่นรก หรือกำเนิดของสัตว์ดิรัจฉาน ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้"

พระพุทธวจนะนั้นหมายเอาถึงตัณหาที่พอใจมือเท้าเป็นต้นของตนหรือของผู้อื่น มิใช่ตัณหาที่พอใจกรรมเป็นต้น

คำว่า อุปลภิตพฺพภวานุรูปํ (ตามสมควรแก่ภพที่จะไปอุบัติ) มีความหมายว่า ตามสมควรแก่ภพที่จะไปอุบัติอย่างนี้ว่า ด้วยความพอใจภพที่จะไปอุบัติอันเป็นสุคติภพ หรือด้วยความไม่พอใจภพที่จะไปอุบัติอันเป็นทุคติภพ

คำว่า ตตฺโถณตํว แปลว่า เหมือนน้อมเข้าสู่อารมณ์ตามที่ปรากฏนั้น ดังพระพุทธวจนะ
ในพาลปัณฑิตสูตรว่า

ตานิสฺส ตสฺมึ สมเย โอลมฺพนฺติ อชฺโฌลมฺพนฺติ อภิปฺปลมฺพนฺติ.
"กุศลกรรมหรืออกุศลกรรมของเขาย่อมน้อมมาเหนี่ยวรั้งไว้เฉพาะหน้า"

ในพระบาลีนั้น พระพุทธองค์ดำรัสว่า กุศลกรรมหรืออกุศลกรรมของเขา หมายความว่า กุศลกรรมหรืออกุศลกรรมของเขารวมทั้งกรรมนิมิตและคตินิมิตที่ตรัสไว้โดยมีกรรมเป็นประธาน

พระดำรัสว่า ย่อมน้อมมา เป็นต้น หมายความว่า ย่อมน้อมกระแสจิตของเขามาแล้วเหนี่ยวรั้งไว้เฉพาะหน้าในตน คือ ปรากฏเหมือนฉุดดึงไป เมื่ออารมณ์เหล่านั้นน้อมมาอยู่เช่นนี้ กระแสจิตนั้นเป็นสภาพน้อมไปในอารมณ์ดังกล่าว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตตฺโถณตํว (เหมือนน้อมเข้าสู่อารมณ์ตามที่ปรากฏนั้น) ดังสาธกในคัมภีร์อรรถกถาว่า

กิเลสพลวินามิตํ สุตฺวา ตเทวํ ปวตฺตมานํ ตณฺหาอวิชฺชานํ อปฺปหีนตฺตา อวิชฺชาย ปฏิจฺฉาทิตาทีนเว ตสฺมึ วิสเย ตณฺหา นาเมติ, สหชาตสงฺขารา ขิปนฺติ.
"ตัณหาย่อมยังจิตที่ถูกแรงกิเลสให้น้อมมาอยู่อย่างนี้ทำให้น้อมไปสู่อารมณ์ที่ถูกอวิชชาปิดบังโทษไว้ เพราะยังกำจัดตัณหาและอวิชชาไม่ได้ ส่วนกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่ปรุงแต่งอันเกิดร่วมกันย่อมซัดไป [สู่ภพใหม่]"

ในพากย์นั้น คำว่า ตํ คือ จิต หมายความว่า กระแสจิต
คำว่า ในอารมณ์นั้น คือ ในอารมณ์มีกรรมเป็นต้น
คำว่า ตัณหาย่อมทำให้น้อมไป หมายความว่า ตัณหาที่เป็นรากเหง้าของภพย่อมประกอบกระแสจิตเข้าไว้โดยทำให้น้อมเข้าสู่อารมณ์นั้น

จากหนังสือ อภิธัมมัตถสังคหะ และ ปรมัตถทีปนี หน้า ๖๐๐-๖๐๑
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2013, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนึ่ง มีพระพุทธดำรัสว่า

อนมตคฺโค ยํ ภิกฺขเว สํสาโร. ปุริมา โกฏิ น ปญฺญายติ อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหาสํโยชนานํ
สนฺธาวตํ สํสรตํ.
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังสารวัฏนี้มีขอบเขตที่ใครๆ ตามรู้ไม่ได้ ส่วนเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์
ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่"

พระพุทธดำรัสนั้นตรัสไว้โดยปริยาย [ เพราะตรัสด้วยโวหารว่า เป็นเหล่าสัตว์ ] โดยแท้จริงแล้ว
อวิชชา ตัณหา และกรรมที่ทำให้เกิดผลปฏิสนธิในภพอื่นย่อมเป็นไปในกระแสจิตของบุคคลก่อน
บุคคลนั้นได้ชื่อว่าท่องเที่ยวไปมาสู่ภพอื่นด้วยความเกี่ยวเนื่องกับเหตุและผลของอวิชชา ตัณหาและกรรม
ดังนั้น การที่ปฏิสนธิจิตไม่เกิดขึ้นโดยปราศจากเหตุที่ปรากฏในภพก่อนจึงเป็นอันรู้ได้เช่นเดียวกับ
เสียงสะท้อน ดวงประทีป และตราประทับ เป็นต้น
[ เสียงสะท้อนเกิดขึ้นจากเสียงที่เปล่งออกใกล้ปากถ้ำ เสียงที่เปล่งออกนั้นดับลงไปทันทีที่เกิดขึ้นเสียงสะท้อนจึงมิใช่เสียงแำรกแต่มีต้นเหตุจากเสียงแรก เสียงแรกเป็นมูลเหตุของเสียงสะท้อนฉันใด อดีตกรรมก็เป็นมูลเหตุของปฏิสนธิจิตฉันนั้น ดวงประทีปดวงหนึ่งย่อมจะจุดประกายแก่ดวงประทีปอื่นได้ แม้ตราประทับก็ก่อให้เกิดรอยประทับจำนวนมากได้เช่นกัน ]

หน้าที่ ๖๐๘-๖๐๙

:b8: :b8: :b8:

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวว่า "ในขณะใกล้เสียชีวิต เหล่าญาติกล่าวแก่บุคคลอื่น [ ผู้ใกล้จะเสียชีวิต ]
ว่า พ่อของเราได้บูชาพระพุทธเจ้าเพื่อท่านจงทำใจให้เลื่อมใสเถิด แล้วนำอารมณ์มาแสดงทางทวาร ๕
คือ นำรูปารมณ์มาแสดงโดยความเป็นดอกไม้ พวงมาลัย ธงชัย และธงแผ่นผ้า เป็นต้น
นำสัททารมณ์มาแสดงด้วยการฟังธรรมและการบูชาด้วยดนตรีเป็นต้น
นำคันธารมณ์ มาแสดงโดยความเป็นธูป เครื่องอบ และของหอมเป็นต้น
แล้วกล่าวว่า พ่อจงพอใจในสิ่งนี้ก่อนเถิด จงพอใจเครื่องไทยธรรมที่จะถวายเพื่อท่าน แล้วนำรสารมณ์
มาแสดงโยความเป็นน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น เมื่อกล่าวว่า พ่อจงสัมผัสสิ่งนี้ก่อนเถิด จงสัมผัสเครื่องไทยธรรมที่จะถวายเพื่อท่าน แล้วนำโผฏฐัพพารมณ์มาแสดงโดยความเป็นผ้าจากเมืองจีนและผ้าจากแคว้นโสมาระเป็นต้น

ในพากย์นั้น พระฎีกาจารย์อธิบายไว้ในคัมภีร์ฎีกาดังนี้
คำว่า เกิดขึ้นในสัณฐาน หมายถึงอารมณ์ คือ รูป เสียง และกลิ่น และคำว่า หรือคล้ายกับอารมณ์นั้น
หมายถึง อารมณ์ คือ รสและสัมผัส เพราะอารมณ์ที่ลิ้มรสและสัมผัสเป็นอย่างหนึ่ง ส่วนของถวายในภายหลังเป็นอีกอย่างหนึ่ง

เมื่อบุคคลรับเอารูปารมณ์เป็นต้นที่เหล่าญาตินำมาแสดงอย่างนี้ทางทวารทั้ง ๕ ก่อนแล้วยังไม่จุติ
ต่อมาภายหลังได้รับเอาด้วยมโนทวารล้วนๆ อีกว่า บัดนี้อารมณ์เช่นนี้ยังปรากฏอยู่แล้วจึงจุติ อารมณ์เหล่านั้นเป็นกรรมนิมิตที่เป็นปัจจุบันซึ่งมโนทวารรับเอาไว้

หน้า ๖๑๔-๖๑๕

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51:
เป็นเรื่องของคนเป็นช่วยคนกำลังจะตาย ด้วยการช่วยให้มีโอกาสทำกุศล ณ ขณะปัจจุบันที่ใกล้จะตาย
เป็น อาสันนกรรม คือ กรรมที่กระทำ หรือ ระลึกได้ ในขณะที่ใกล้จะเสียชีวิต
เราสามารถปรับเปลี่ยนตามยุคตามสมัยปัจจุบันตามสมควรในขณะนั้น เช่น ชวนผู้ใกล้จะตายสวดมนต์ หรือสวดมนต์ให้ฟัง หรือชวนคุยให้ระลึกถึงกุศลที่ผู้ที่ใกล้เสียชีิวิตเคยทำไว้ว่า ได้เคยไปทำบุญที่ใดมาบ้าง สำหรับประสบการณ์ของผู้ทำกระทู้คือ ชวนพ่อสวดมนต์ขณะใกล้จะตาย เพราะในขณะป่วยอยู่นั้นพ่อไม่สามารถจำบทสวดมนต์ได้เลย แม้จะสวดมนต์บทนั้นๆ ทุกวัน แต่ขณะป่วยหนักจะจำบทสวดมนต์ที่เคยสวดประจำ
อยู่ทุกวันไม่ได้ ต้องมีคนสวดนำทุกครั้งที่สวดมนต์ แล้วท่านจะสวดตามได้ในขณะที่ป่วย ดังนั้น ยิ่งขณะใกล้จะเสียชีวิต จะต้องช่วยสวดนำไปเรื่อยๆ และท่านจะสวดตามตลอด ดูได้จากปากท่านในขณะนั้นจะสวดมนต์ตามอย่างเห็นได้ชัดเจนแต่ไม่มีเสียงออกมา ปากท่านหยุดสวด ก็ลมหายใจสุดท้ายสิ้นสุดลงทันทีค่ะ

เพราะขณะใกล้จะตายนั้น ผู้นั้นจะมีทุกขเวทนาทั้งทางกายและทางใจ จะช่วยเหลือตนเองให้ทำกุศล
นั้นเป็นเรื่องที่ยาก หากโชคดีมีคนช่วยให้กุศลเกิดขณะใกล้ตายก็เป็นบุญของผู้ใกล้จะตายนั้น ที่ไม่ต้อง
เผชิญกับความตายแบบเพียงลำพัง

แต่หากต้องเผชิญกับความตายเพียงลำพัง เราจะต่อสู้กับเวทนาได้อย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่เราต้องเตรียมตัวล่วงหน้าไว้ทุกๆ วัน
ดังนั้น การกำหนดสติในบทของเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในสติปัฏฐานสี่ จึงช่วยท่านได้ในขณะใกล้ตายได้ดี หากท่านต้องเผชิญกับความตายเพียงลำพัง ตนนั่นแหล่ะเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ดีที่สุด

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร