วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2012, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตความสัมพันธ์ระหว่าง ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2012, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำความเข้าใจเบื้องต้น เพื่อปรับความรู้ความเข้าใจให้เข้ากันดีก่อน

มีผู้ถกเถียงกันว่า ไปปฏิบัติเลยโดยไม่มีปริยัติก็ได้ เข้าป่าไปอยู่กับอาจารย์ หรือไปอยู่คนเดียว ไปถึงก็ลงมือบำเพ็ญสมาธิเลย ไม่ต้องมีปริยัติ นอกจากนั้นก็ยังมีการติเตียนว่า ถ้าปริยัติอย่างเดียวโดยไม่ปฏิบัติ ก็ไม่ทำให้ได้ประโยชน์อะไรขึนมา เพราะเมื่อไม่มีการปฏิบัติก็ไม่เกิดผลคือปฏิเวธ นี่ก็เป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ แต่ก่อนที่จะเข้าใจเรื่องนี้ก็ต้องรู้ความสัมพันธ์ระหว่าง่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เล็กน้อย

อย่างที่กล่าวมาในเบื่องต้นแล้วว่า ปริยัติคือการเล่าเรียน สดับฟังจากผู้อื่น แม้แต่พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพระธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เป็นสิ่งที่ได้รับฟังมาจากผู้อื่น คือรับฟังจากที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้

แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้นี้ คือ อะไร ก็คือประสบการณ์ที่เป็นผลจากการปฏิบัติของพระองค์ใช่หรือไม่ คือพระพุทธเจ้าเคยปฏิบัติมาแล้ว แล้วก็ได้รับผล พระองค์มีประสบการณ์ในการปฏิบัติ และได้รับผลจากการปฏิบัตินั้นมาเองแล้ว พระองค์ทรงนำประสบการณ์นั้นแหละมาจัดเรียบเรียงขึ้น แล้วนำมาถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น ความรู้จากประสบการณ์ในการปฏิบัติของพระองค์นี้ ก็กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า ปริยัติ เพราะฉะนั้น ปริยัติที่แท้จริง จึงเกิดเป็นปฏิบัติและปฏิเวธ ถ้าหากว่าปฏิบัติ และปฏิเวธไม่ถูก เราก็จะได้ปริยัติที่ผิด อันนี้เป็นของแน่นอน



การที่เรายอมรับปริยัตินี้ ก็เพราะเราเชื่อพระพุทธเจ้าใช่หรือไม่ เราไว้ใจว่าพระพุทธเจ้าปฏิบัติถูกได้รับผลจริงแล้ว เพราะฉะนั้น ประสบการณ์ที่พระองค์นำมาเล่า ซึ่งมาเป็นปริยัติสำหรับเรานี้ เราจึงเชื่อถือ นี้เป็นขั้นที่หนึ่ง คือ ปริยัติไม่ได้มาจากไหน ก็มาจากประสบการณ์ในการปฏิบัติของพระพุทธเจ้านั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2012, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเป็นเช่นนี้ ปริยัติก็จะมาเป็นเครื่องช่วยให้ปฏิบัติได้ถูกต้องต่อไป เพราะเป็นประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติมาแล้วเหมือนกับคนที่เดินทางมาแล้วเขาเดินทางไปจนกระทั่งสำเร็จบรรลุความมุ่งหมายแล้ว เราจะเกินทางบ้าง เราไม่รู้เหนือรู้ได้ จะเจออะไรที่ไหน มีสิ่งใดเป็นที่สังเกตบ้าง ไม่รู้ทางไปเลย แล้วจะเป็นอย่างไร

ปฏิบัตินี่บอกแล้วว่า คือ เดินทาง เราเดินทางเองไม่ถูก เราไม่แน่ใจตนเอง เราก็เลยขอความรู้จากท่านที่เคยมีประสบการณ์ได้เดินทางมาก่อน เราก็จึงมาเรียนปริยัติ เหตุผลที่เราเรียนปริยัติก็เพื่อให้ปริยัตินั้นแหละมาช่วย คือเอาประสบการณ์ของท่านที่เคยผ่านมาแล้ว มาช่วยให้เราเดินได้สะดวกขึ้น


ทีนี้ถ้าเราไม่อาศัยปริยัติจะเป็นอย่างไร เราก็สุ่มสี่สุ่มห้าเริ่มต้นใหม่ ลองผิดลองถูก ก็สามารถทำได้ ปฏิบัตินั้นท่านไม่ได้ห้าม ใครจะปฏิบัติก็ได้ จะตั้งตัวเป็นศาสดาใหม่เสียเอง ใครจะไปห้ามได้ แต่ท่านไม่เคยเดินทางนี้ ก็รับรองไมดได้นะ ท่านอาจจะไปตกหลุมตกบ่อ อาจจะหล่นเหวไปเสียก่อนระหว่างทาง หรืออาจจะไปทางผิด เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาออกนอกลู่นอกทางไปก็ได้ เพราะในระหว่างทางนี้ มีเลี้ยวมีแยกเยอะแยะไปหมด และในทางปฏิบัติก็เป็นความจริงอย่างนั้น


ในทางปฏิบัติตามหลักการที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายนั้นระหว่างทางมีทางรก ทางเลี้ยว ทางหลุม ทางบ่อ ทางแยกมากมาย ถ้าเราไม่มีความรู้ เราก็อาจจะไปผิดทาง หรือประสบอันตรายซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความฉลาดของเรา เอามาใช้ประโยชน์ มันจะช่วยเรา เราก็เลยเรียนปริยัติ ทีนี้ถ้าเราไม่เอาปริยัติเลย เราก็เสี่ยงต่อการที่จะปฏิบัติเดินทางผิดพลาด


ปริยัตินี้ท่านเปรียบเหมือนกับเข็มทิศบ้าง เหมือนกับแสงไฟส่องทางบ้าง เข็มทิศทำให้เรารู้ทิศทางไปถูก แสงไฟส่องทางหรือไฟฉายก็ทำให้เราเห็นทางที่จะเดินไปในความมืดแล้วก็คลำหาลองผิดลองถูกไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2012, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกอย่างหนึ่ง ปริยัติเหมือนกับแผนที่ และเหมือนกับความรู้ในภูมิศาสตร์หรือหนังสือแนะนำการท่องเที่ยว ความรู้ทางภูมิศาสตร์ หรือ หนังสือแนะนำการเดินทางก็ช่วยให้เรารู้ว่าเดินไปทางนี้ไปไหน แล้วในระหว่างทางที่ถูกต้องจะพบปะอะไรบ้างผ่านอะไร มีอะไรเป็นที่สังเกต ยิ่งกว่านั้น บางทียังได้รู้ว่าควรจะพักได้ที่ไหนบ้าง มีอะไรที่ควรระวัง มีอะไรที่จะได้พบเห็นเป็นความรู้พิเศษ ทำให้เราเตรียมตัวได้ถูกต้องทุกอย่าง


แผนที่และหนังสือภูมิศาสตร์นั้น ก็เกิดจากคนที่เขาได้สำรวจที่สำรวจทางมาก่อนแล้วทำไว้ ถ้าแผนที่หรือหนังสือภูมิศาสตร์ทำไว้ผิด ก็เป็นปัญหาซ้อนเข้ามา ซึ่งก็ต้องว่ากันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่รวมความแล้ว ถ้าไม่มีปริยัติเลย ก็เสี่ยงต่อการที่จะเดินทางผิดและเกิดอันตรายอย่างที่กล่าวแล้ว


บางทีเราไม่ได้เรียนปริยัติโดยตรง จากพระพุทธเจ้า เราก็เรียนผ่านอาจารย์ บางทีอาจารย์ไม่ได้ให้เราเรยีนตำราหรือคัมภีร์ทั้งหมด อาจารย์สอนเรานิดๆหน่อยๆ บางทีเราไปหาอาจารย์ปุ๊บนี่ ท่านบอกเลยว่าให้ทำอย่างนั้นๆ เช่นบอกว่าให้กำหนดลมหายใจอย่างนั้นๆ อันนี้คืออะไร อันนี้ก็คือปริยัติ เพียงแต่พบกับอาจารย์แล้ว ท่านบอกให้ทำอย่างนี้ๆ นะ นี่คือปริยัติแล้ว หลายท่านไม่เข้าใจ นึกว่าตัวเองไม่ได้ผ่านปริยัติ ที่จริงผ่านโดยไม่รู้ตัว

อาจารย์มีหน้าที่อย่างหนึ่งที่สำคัญคือการใช้ความสามารถคัดเลือกปริยัติให้เหมาะกับตัวผู้ปฏิบัติ แทนที่เราจะต้องไปค้นปริยัติ เรียนปริยัติมากมาย หรือเรียนพระไตรปิฎกทั้ง ๔๕ เล่ม ๒๒,๐๐๐ กว่าหน้า อาจารย์ท่านมีความชำนาญ ท่านได้เคยใช้ปริยัติในการปฏิบัติ มีประสบการณ์ของตนเองแล้ว ท่านก็รู้ว่าอันไหนจำเป็นจะต้องใช้เมื่อไร ท่านก็คัดเลือกปริยัตินั้นมาให้เรา



ตอนนี้เธอจะเริ่มแรก เอาตรงนี้เท่านี้พอ แล้วท่านก็ให้ปริยัติมาแค่นี้ คือท่านคัดเลือกปริยัติให้เรา ลัดเวลาให้เราประหยัดเวลาให้เรา เสร็จแล้วพอเราก้าวไปอีกสักนิด อาจารย์ก็มาตรวจสอบว่า เราปฏิบัติไปได้แค่ไหน แล้วท่านก็ให้ปริยัติต่อกล่าวคือ คำแนะนำที่ว่าต่อไปให้ทำอย่างนั้นๆ หรือบอกให้รู้ว่าประสบการณ์ที่ได้มาตอนนี่ผิดพลาด ให้แก้ไขอย่างนั้นๆ นี่คือ ปริยัติทั้งสิ้น


ในพระพุทธศาสนานั้น ท่านใช้คำว่าปริยัติในความหมายเฉพาะ ท่านจำกัดความไว้ทีเดียวว่า ปริยัติ หมายถึงพุทธพจน์ หรือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่จะพึงเล่าเรียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2012, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราเป็นชาวพุทธ ก็คือเป็นคนที่เชื่อถือและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เวลานี้ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ไม่มีพระชนม์ชีพอยู่ เราจึงรู้จักพระพุทธเจ้าได้จากคำสอนของพระองค์ที่เรียกว่าปริยัตินี้ ปริยัติจึงเป็นสื่อเชื่อมโยงเราเข้าไปหาพระพุทธเจ้า ทำให้เรารู้จักพระองค์ และรู้ว่าพระองค์สอนไว้ว่าอย่างไร


ถ้าจะพูดให้ตรงทีเดียว ผู้ที่กล่าวว่า ปฏิบัติได้โดยไม่มีปริยัติก็เท่ากับพูดว่า ตนสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ต้องรู้คำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ ไม่ต้องรู้เลยว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร ซึ่งก็มีความหมายอย่างเดียวกับพูดว่า ตนสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ต้องมีพระพุทธเจ้าเลยนั่นเอง


ถ้าอย่างนั้น คนอื่นก็ย่อมจะกล่าวกับผู้นั้นได้ว่า เขาไม่ได้ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า หรือ ว่าเขาไม่ได้ปฏิบัติพระพุทธศาสนา แต่เขาปฏิบัติอะไรๆ ทีเป็นเรื่องความคิดความเห็นของตัวเขาเอง หรือ ของอาจารย์ท่านนั้นๆโดยเฉพาะ ซึ่งก็อาจจะเก่งมาก เช่นอยางโยคีหรือฤๅษีชีไพรตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ที่ได้ถึงฌานสมาบัติ หรือ แม้กระทั่งจบโลกียอภิญญาชั้นสูงสุด แต่ก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา



รวมความว่า ปัญหาเกี่ยวกับปริยัตินั้น ไม่ใช่ถามว่าปริยัติต้องมีหรือไม่ แต่ควรถามว่า ปริยัติจะเอาแค่ไหน และจะรับเอามาอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2012, 06:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ได้อ่านบทความเห็นด้วยทุกประการ

ในตำราและในพระไตรปิฎกมีการกล่าวถึงคนที่ฟังธรรมแล้วบรรลุมรรคผล โดยไม่ได้กล่าวถึงการเจริญวิปัสสนาของคนเหล่านั้นเลยนั้น ความจริงแล้วไม่ได้ขัดแย้งกับคำกล่าวนี้เลย เพราะการที่คนเหล่านั้นบรรลุมรรคผลได้ก็เนื่องมาจากว่า เมื่อบุคคลเหล่านั้นฟังธรรมแล้วก็ตรองตาม แล้วน้อมธรรมนั้นเข้ามาใส่ตน คือพิจารณาเปรียบเทียบกับตน แล้วจึงเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่าร่างกาย จิตใจของเราก็เป็นอย่างที่แสดงไว้ในธรรมนั้นด้วยเช่นกัน แล้วจึงเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายร่างกายและจิตใจ ทั้งภายในและภายนอกขึ้นมาอย่างแรงกล้า ความรู้สึกนั้นรุนแรงไปถึงจิตใต้สำนึกแล้วแผ่ซ่านไปทั่วตัว เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด ( ความยึดมั่นถือมั่น ยินดีพอใจในรูปนามทั้งหลาย ) เมื่อคลายกำหนัดก็ถึงความหลุดพ้น ( จากความยึดมั่นถือมั่น รวมทั้งกิเลสทั้งหลาย ) นั่นก็คือคนเหล่านั้นเจริญวิปัสสนาไปพร้อมกับการฟังธรรมนั่นเอง ที่จริงแล้วนั้นการฟังธรรมก็เป็นการปฏิบัติธรรมไปด้วย (ทั้งปริยัติและปฏิบัติ) ทั้งสองจะแยกจากกันไม่ได้ ปฏิเวธจะไม่เกิดขึ้นได้เลย จะมีปริยัติอย่างเดียวหรือจะปฏิบัติอย่างเดียวก็ไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2012, 08:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


มันมีทั้ง ระดับ macro คือศึกษาจนจบหัวข้อธรรมนั้น ๆ แล้วปลีกตัวไปปฏิบัติ
กับ micro คือ..อ่านหรือฟัง...แล้วคิดพิจารณาตรึกตรองในธรรมนั้นแล้วน้อมมาที่ตนอย่างลุงหมานว่า...จนประจักรแก่ใจตนตามนั้นจริงๆ...เกิด..ความคลายกำหนัด...การอ่านการฟังเป็นปริยัติ...การตรึกตรองน้อมมาเทียบกับตนเป็นปฏิบัติ....ความประจักแก่ใจเป้นปฏิเวธ...

อยากให้ทำระดับmicro บ่อย ๆ...ทุกเวลา...ทุกที่ก็จะเป็นที่ปฏิบัติธรรม...ไม่ต้องรอการเข้าวัดหรือเข้าป่า

ฟังพระเทศน์...ก็มีได้ทั้งปริยัติ...มีได้ทั้งปฏิบัติ...และ...มีได้ทั้งปฏิเวธ....

ดูข่าว...ก็มีได้ทั้งปริยัติ...มีได้ทั้งปฏิบัติ...และ...มีได้ทั้งปฏิเวธ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2012, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ปฏิบัติจะไปปฏิบัติ มักมุ่งเน้นแต่สถานที่
แต่สถานที่ปฏิบัติที่ดีที่สุดนั้นมันก็อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรานี่เอง
หรือจะเอาขั้นหยาบขึ้นมาหน่อยก็ อิริยาบท ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
สถานที่เราก็มีอยู่แล้วพร้อมแล้วแต่ว่าเราเอามาปฏิบัติกันแล้วหรือยัง

ปุ๊ดโธ่ !!! เอ้ย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2012, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


[youtube][/youtube]
ลุงหมาน เขียน:
ผู้ปฏิบัติจะไปปฏิบัติ มักมุ่งเน้นแต่สถานที่
แต่สถานที่ปฏิบัติที่ดีที่สุดนั้นมันก็อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรานี่เอง
หรือจะเอาขั้นหยาบขึ้นมาหน่อยก็ อิริยาบท ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
สถานที่เราก็มีอยู่แล้วพร้อมแล้วแต่ว่าเราเอามาปฏิบัติกันแล้วหรือยัง

ปุ๊ดโธ่ !!! เอ้ย

เห็นด้วยๆ :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2012, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ผู้ปฏิบัติจะไปปฏิบัติ มักมุ่งเน้นแต่สถานที่
แต่สถานที่ปฏิบัติที่ดีที่สุดนั้นมันก็อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรานี่เอง
หรือจะเอาขั้นหยาบขึ้นมาหน่อยก็ อิริยาบท ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
สถานที่เราก็มีอยู่แล้วพร้อมแล้วแต่ว่าเราเอามาปฏิบัติกันแล้วหรือยัง

ปุ๊ดโธ่ !!! เอ้ย

อบิโด่!....เอ้ย! พูดแบบนี้แสดงว่า ไม่รู้เรื่องอะไรเลย
สถานที่มันก็สำคัญ ลุงหมานรู้จักสัปปายะ๗ประการมั้ย....

สัปปายะ ๗สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น
ไม่เสื่อมถอย

๑. อาวาสสัปปายะ .....ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ

๒.โคจรสัปปายะ ......ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชน
ที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป

๓.ภัสสสัปปายะ ......การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ ๑๐
และพูดแต่พอประมาณ

๔.ปุคคลสัปปายะ ......บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม
ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ

๕.โภชนสัปปายะ ......อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก

๖.อุตุสัปปายะ .......ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป
ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น

๗.อิริยาปถสัปปายะ .....อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกกับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง
ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2012, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อบิโด่!....เอ้ย! พูดแบบนี้แสดงว่า ไม่รู้เรื่องอะไรเลย
สถานที่มันก็สำคัญ ลุงหมานรู้จักสัปปายะ๗ประการมั้ย....

รู้เรื่องดีก็ว่าไปดิ
อิโธ่..ภิทัง...พ่อข้าวเบา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อเนื่องจากข้างบนโน่น


ปริยัติ จะเอาแค่ไหนและอย่างไร


เพราะฉะนั้น คนที่ปฏิบัติโดยไม่มีปริยัตินี่หาไม่ได้ นอกจากคนที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับพระพุทธศาสนา คือ จะตั้งศาสนาใหม่ของตนเอง ทุกคนมีปริยัติ แต่อาจจะเป็นปริยัติในรูปที่เป็นวัตถุดิบ หรือข้อมูลดินเกินไป หรือเรียนปริยัติแบบอาจารย์ช่วยคัดเลือกมาให้ เพราะปริยัติที่ให้ผลดีนั้น ก็อยู่ที่เหมาะกับตัวเรา


พระพุทธเจ้า ทรงให้ปริยัติไว้ แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้มาสอนเราโดยตรง เราไม่ได้พบพระพุทธเจ้าโดยตรง เรามาพบอาจารย์ ถ้าอาจารย์เป็นผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติแล้ว ก็มาช่วยคัดเลือกปริยัติให้เราอีกขั้นหนึ่ง ก็จะทำให้ชัดเจนและทุ่นเวลา


ที่ สำคัญที่ควรพิจารณาก็คือ ปริยัตินั้นเป็นปริยัติของพระพุทธเจ้า หรือเป็นปริยัติของตัวอาจารย์เอง สิ่งที่เราต้องการแท้ๆ ก็คือ ให้เป็นปริยัติของพระพุทธเจ้า แต่พระอาจารย์ช่วยเลือกคัดให้ ในฐานะที่ท่านมีประสบการณ์ และมีความชำนาญ ยิ่งเป็นปริยัติของพระพุทธเจ้า ที่พระอาจารย์ท่านได้เอาไปปฏิบัติเห็นผลมาเองแล้วก็ยิ่งดี เพราะฉะนั้น อาจารย์จึงมีประโยชน์มาก ในทางพระพุทธศาสนาท่านจึงเน้นว่า คนที่จะเริ่มปฏิบัติ ควรหาอาจารย์ ถึงกับเรียกว่าเป็น กัลยาณมิตร ก็เพราะเหตุนี้


พระอาจารย์จะช่วยเลือกเฟ้นปริยัติให้เราให้เหมาะ ตามความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการปฏิบัติ สำหรับจุดหรือขั้นตอนนั้นๆ เช่นว่าตอนนี้จะตั้งต้น จะใช้ปริยัติอะไร คือ ควรบอกให้รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร หรือมีอะไรที่ควรรู้บ้าง ซึ่งจำเป็นสำหรับบุคคลนี้ เพราะปริยัติที่เหมาะสำหรับคนนี้คนโน้น บางทีก็ไม่เหมือนกัน เพราะในการปฏิบัตินั้นมีความแตกต่างระหว่างบุคคล


คำสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าปริยัตินั้น เกิดจากการที่พระองค์ได้ทรงสอนคนนั้นบ้าง คนนี้บ้าง มากมาย ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงสอนให้เหมาะแก่บุคคล ให้เหมาะที่จะได้ผลแก่บุคคลนั้น ที่นี้ เราไปเรียนปริยัติทั้งดุ้น รวมเอาที่ทรงสอนคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง มาปนเข้าด้วยกันทั้งหมด เป็นวัตถุดิบทั้งนั้น หลายอย่างไม่เหมาะกับตัวเราเลย ก็เลยไม่ค่อยได้ผล นอกจากนั้นจะเอามาใช้ก็ใช้ไม่เป็น ปรับไม่ถูก


ตอนนี้แหละ ที่อาจารย์มีประโยชน์มาก คือมาทำหน้าที่เลือกเฟ้นให้และปรับให้เหมาะกับตัวบุคคล เพราะฉะนั้น การเลือกเฟ้นปริยัตินั้น ให้เหมาะสมกับขั้นตอนอย่างหนึ่ง และให้เหมาะสมกับตัวบุคคลอย่างหนึ่ง แล้วก็ให้เฉพาะเท่าที่ใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่ง จึงเป็นหน้าที่ของอาจารย์ ผู้เป็นกัลยาณมิตร นี้คือความสัมพันธ์ระหว่างปริยัติ กับ ปฏิบัติ


เป็นอันว่า เราจะใช้ปริยัติโดยการเลือกเฟ้นของท่านผู้ชำนาญ แนะนำให้เรา หรือเราจะเรียนปริยัติโดยตรงทั้งดุ้นก็แล้วแต่ อันนี้ก็สุดแต่ว่าเราจะมีความประสงค์อย่างไร


ถ้าเราไม่ไว้ใจอาจารย์ เราก็อาจจะนึกว่า สติปัญญาของเราก็ดีพอสมควร เราจะเลือกเฟ้นปริยัติด้วยตนเอง เราก็อาจจะไปศึกษาค้นคว้าตำรับตำราคัมภีร์ด้วยตนเอง แล้วก็อาจจะเอาประสบการณ์ของอาจารย์ทั้งหลาย มาประกอบการพิจารณามาเสริมความรู้ในปริยัติของเรา ในการที่จะนำมาใช้ปฏิบัติต่อไป นี้ก็เป็นเรื่องของเรา


แต่บาง คนนั้นเขาเรียนปริยัติโดยมีความมุ่งหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น แม้แต่พระอรหันต์ ซึ่งปฏิบัติเสร็จแล้ว บรรลุผลคือเข้าถึงปฏิเวธแล้ว หลายท่านก็ยังกลับมาเรียนปริยัติอีก เรียนเพื่ออะไร เรียนเพื่อว่าจะได้สามารถในการสั่งสอนผู้อื่น เพราะว่าประสบการณ์เฉพาะตัวนี้ อาจจะไม่เหมาะกับคนอื่นก็ได้


พระ อรหันต์นั้น ท่านก็แบบเดียวกับเรา บางทีท่านมาเจออาจารย์เลย อาจารย์นั้น เลือกเฟ้นปริยัติที่เหมาะกับท่านเท่าที่จำเป็นเฉพาะตัวท่าน เฉพาะขั้นตอนนั้นๆ ท่านก็เรียนรู้มาเฉพาะ ความรู้ที่จำเป็นในวงแคบ แล้วก็ปฏิบัติมาจนสำเร็จ แต่ความรู้ที่จะไปสอนผู้อื่นนั้นควรจะกว้างขวางพอที่จะเลือกเฟ้นให้เหมาะ กับคนทั้งหลายที่ต่างๆ กันมากมาย มีข้อปลีกย่อยแง่มุมที่จะประยุกต์ยักเยื้องได้ ท่านก็เรียนปริยัติเพิ่มเติมอีก จึงมีปริยัติที่ท่านเรียกว่า ภัณฑาคาริกปริยัติ ปริยัติของผู้เป็นเหมือนขุนคลัง เพราะเป็นดุจมีคลังที่เก็บของ ซึ่งเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้คนอื่นๆ ด้วย ไม่เฉพาะตัวคนเดียว นี้คือความมุ่งหมายที่เกี่ยวข้องกับปริยัติ เป็นอันว่า ตอนนี้เรารู้ความสัมพันธ์ระหว่างปริยัติและปฏิบัติ


เมื่อปฏิบัติแล้ว ถ้าปฏิบัติถูกต้อง ก็เกิดผลเป็นปฏิเวธ ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้อง ก็ผิดพลาดเกิดความล้มเหลว ฉะนั้น ปฏิบัติที่จะถูกต้อง ก็อาศัยปริยัติที่แหละเป็นฐาน เป็นอันว่าหลัก ๓ อย่างนี้ สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ


แต่ หลายคนอาจจะเรียนปริยัติแล้วไม่ได้นำมาใช้ลงมือทำ ก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะว่าปฏิบัติเป็นตัวที่ต่อระหว่างปริยัติ กับ ปฏิเวธ ในเมื่อปริยัติไม่มาสู่การปฏิบัติ ก็ไม่มีตัวต่อที่จะนำไปสู่ปฏิเวธ ปฏิเวธก็ไม่เกิดขึ้น ก็ไม่ครบวงจร

นี่ก็เป็นข้อหนึ่งที่ขอยกมาพูด เพื่อให้เข้าใจถึงเรื่องปริยัติ และปฏิเวธว่า ปริยัติโดยไม่ปฏิบัติ และปฏิบัติโดยไม่ปริยัตินั้นเป็นอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร