วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2012, 14:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๗๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดย
ความเป็นทุกข์อยู่
จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมี
ได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
นั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุขอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลม
ขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ


พอดีไปเจอพระสูตรนี้
อ่านท่อนนี้แล้ว สะกิดใจ

เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าตอนนี้ เราเห็นนิพพาน เป็นสุข หรือ เป็นทุกข์ ?

ปล. นี่เป็นท่อนหนึ่งจาก ปฏิสัมภิทามรรค ปัญญาวรรค วิปัสสนากถา
ซึ่งมีความลาด ลุ่มลึก และเฉียบคม

อ่านพระสูตรเต็มได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 12&Z=10974


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2012, 20:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


อบรมณ์ด้วย โพชฌงค์ ทั้ง 7 เป็นเครื่องอยู่ด้วย อานาปานสติ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 13:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานเป็นสันติสุข คือ เป็นสุขเหนือสุข สุขอย่างไม่มีผู้ใดเข้าไปเสวยสุข

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 13:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


คือ มีสิ่งหนึ่ง ที่เอกอนสังเกต

ตอนอ่านตำรา ตอนใส่ใจปฏิบัติ เอกอนก็รับจำ รับทราบ รับไปตั้งเป้า รับไปคิดว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
เมื่อเจอคำถาม และเราต้องตอบ เราก็ต้องตอบว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

แต่เมื่อเอกอนปฏิบัติไปเจอสภาวะหนึ่ง

เอกอนเห็น อาการหนึ่ง ที่มันแสดงอาการ บ่งบอกชัดเจนว่า มันเห็นนิพพาน เป็น ทุกข์

เอกอน เห็น บางสิ่งที่เห็น นิพพาน เป็น ทุกข์

เอกอน เฝ้ามองมัน อย่าง .... อึ้งกิมกี่ ....
ความคิด เรา เชื่อว่า นิพพานเป็นสุข
แต่ ไอ้นั่น มัน .... ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด
และ เอกอนก็ทำให้เขาน้อมตามความคิด ไม่ได้ ...
ความคิด ดึงเขาให้เป็นเช่นนั้น ไม่ได้ ...

ใครเข้าใจพระสูตร(เต็ม)นี้ที่เอกอนยกมาบ้าง ช่วยให้ความกระจ่างที

อย่างน้อย ก็เป็นประโยชน์ เผื่อมีคนเจออย่างที่เอกอนเจอเขาจะได้เข้าใจ
และปฏิบัติตัวต่อไปถูก

:b20: :b20: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 13:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
นิพพานเป็นสันติสุข คือ เป็นสุขเหนือสุข สุขอย่างไม่มีผู้ใดเข้าไปเสวยสุข


ใช่ค่ะ ลุงหมาน

มันเป็น สุข ที่เหนือ คิด

พออ่านพระสูตรนี้ เอกอน เห็นความลึกกว่าธรรมชั้นธรรมดา

จากภาษาที่ใช้ ขันติอนุโลม พออ่านปุ๊ปก็เห็น step ขอ ขันติ ตัวนี้ทันที
ว่า ไม่ใช่ ขันติ ทั่ว ๆ ไป
มันเป็นอาการขันติ ที่พิเศษกว่า ขันติ ที่เราเข้าใจกันพื้น ๆ ทั่ว ๆ ไป
ที่ไม่ปรากฎโดยปกติ

โดยลำพัง ชาวพุทธ ซึ่งศึกษาและ การได้ปัญญาส่วนใหญ่มาจากการฟัง
น้อยมาก หรือ แทบจะไม่มีเรย ที่ชาวพุทธจะเห็นว่า นิพพานเป็นทุกข์

ยิ่งผู้ปฏิบัติให้ถึง นิพพาน ยิ่งคิด และเชื่อว่า นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง

แต่พระสูตรนี้ ใช้ภาษาที่ลึก และ การเห็นนิพพานเป็นทุกข์

เอกอนจึงมองว่า มันเป็น อาการของจิต

อันนี้เป็นการตั้งข้อสังเกตของเอกอน
แต่อยากให้ผู้รู้ได้เข้ามาขยายความ อธิบายเพื่อเป็นธรรมทาน ค่ะ


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานที่ว่าสันติสุข
ไม่มีผู้ใดเข้าถึงแล้วกลับมาบอกได้หรอก (แต่พระองค์ทรงรู้)
นิพพานนี้เพราะหมายเอาถึงพระอรหันต์ตาย เรียกว่าดับขันธ์ปรินิพพาน
แต่ถ้าหมายถึงพระอริยะนิพพานนั้น ท่านยังมีทุกข์อยู่ นิพพานนี้เป็นเพียงนิพพานกิเลส
คือท่านยังมีขันธ์ ๕ อยู่ ท่านก็ยังจะมีทุกข์เพราะขันธ์ ๕
แม้แต่พระพุทธเจ้าเมื่อยังดำรงชีพอยู่ท่านก็ยังมีทุกข์อยู่ คือยังมีขันธ์ ๕ อยู่นั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
คือ มีสิ่งหนึ่ง ที่เอกอนสังเกต

ตอนอ่านตำรา ตอนใส่ใจปฏิบัติ เอกอนก็รับจำ รับทราบ รับไปตั้งเป้า รับไปคิดว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
เมื่อเจอคำถาม และเราต้องตอบ เราก็ต้องตอบว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

แต่เมื่อเอกอนปฏิบัติไปเจอสภาวะหนึ่ง

เอกอนเห็น อาการหนึ่ง ที่มันแสดงอาการ บ่งบอกชัดเจนว่า มันเห็นนิพพาน เป็น ทุกข์

เอกอน เห็น บางสิ่งที่เห็น นิพพาน เป็น ทุกข์

เอกอน เฝ้ามองมัน อย่าง .... อึ้งกิมกี่ ....
ความคิด เรา เชื่อว่า นิพพานเป็นสุข
แต่ ไอ้นั่น มัน .... ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด
และ เอกอนก็ทำให้เขาน้อมตามความคิด ไม่ได้ ...
ความคิด ดึงเขาให้เป็นเช่นนั้น ไม่ได้ ...

ใครเข้าใจพระสูตร(เต็ม)นี้ที่เอกอนยกมาบ้าง ช่วยให้ความกระจ่างที

อย่างน้อย ก็เป็นประโยชน์ เผื่อมีคนเจออย่างที่เอกอนเจอเขาจะได้เข้าใจ
และปฏิบัติตัวต่อไปถูก

:b20: :b20: :b20:

เป็นไปได้มั้ยค่ะ ที่เรายังเหลือสภาวะบางอย่าง..เหมือนกับว่าอุปทานในจิตยังมีอยู่ จิตเรายังยึดอยู่ ถึงแม้เราจะเห็นแสงสว่างริบหรี่ตรงหน้า แต่เราก็ไม่ยอมเดินไป เพราะกลัวคนข้างหลัง คนที่เราผูกพันธ์ด้วยเดินตามมาไม่ทัน จิตเราก็ยังไม่ยอมปล่อยวางลง เพราะต้องการความมั่นใจต่อบางสิ่งที่เรายึดไว้ เมื่อเราเห็นแจ้งในสิ่งที่เรายึดไว้ ว่ามันเป็นไปตามนั้นแล้ว เราถึงสามารถสลัดให้หลุดออกไปจากจิตเราได้ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
คือ มีสิ่งหนึ่ง ที่เอกอนสังเกต

ตอนอ่านตำรา ตอนใส่ใจปฏิบัติ เอกอนก็รับจำ รับทราบ รับไปตั้งเป้า รับไปคิดว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
เมื่อเจอคำถาม และเราต้องตอบ เราก็ต้องตอบว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

แต่เมื่อเอกอนปฏิบัติไปเจอสภาวะหนึ่ง

เอกอนเห็น อาการหนึ่ง ที่มันแสดงอาการ บ่งบอกชัดเจนว่า มันเห็นนิพพาน เป็น ทุกข์

เอกอน เห็น บางสิ่งที่เห็น นิพพาน เป็น ทุกข์

เอกอน เฝ้ามองมัน อย่าง .... อึ้งกิมกี่ ....
ความคิด เรา เชื่อว่า นิพพานเป็นสุข
แต่ ไอ้นั่น มัน .... ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด
และ เอกอนก็ทำให้เขาน้อมตามความคิด ไม่ได้ ...
ความคิด ดึงเขาให้เป็นเช่นนั้น ไม่ได้ ...

ใครเข้าใจพระสูตร(เต็ม)นี้ที่เอกอนยกมาบ้าง ช่วยให้ความกระจ่างที

อย่างน้อย ก็เป็นประโยชน์ เผื่อมีคนเจออย่างที่เอกอนเจอเขาจะได้เข้าใจ
และปฏิบัติตัวต่อไปถูก

:b20: :b20: :b20:


คำว่าเห็นนิพพานเป็นทุกข์นั้นไม่ใช่ครับ
แต่ที่ว่านี่เป็นการปฏิบัติเห็นรูปนาม เป็นญาณที่ ๑ ที่เรียกว่านามรูปปริเฉทญาน
พอขึ้นญานที่ ๒ ก็จะเห็นปัจจัยของนามรูป เรียกว่าปัจจยปริคหญาน
พอขึ้นญานที่ ๓ ก็จะเห็นสภาวะการเกิดดับของรูปนาม เรียกว่าสัมมสนญาน เห็นว่ารูปนามเป็นทุกข์
ตามที่เล่ามานั้นเข้ากฏเกณท์ของญานที่ ๓ ครับ (ขอบอกนะครับว่ายังไม่เห็นพระนิพพานนะครับ)
ดีแล้วครับพิจารณาไปเรื่อยๆอย่าไปดีใจนะครับ ถ้าถึงอุทยัพพยญาน คือ ญานที่ ๔ วิปัสสนูกิเลสจะเกิดตรงนี้อาจจะสับสน ระวัง !

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 17:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
เป็นไปได้มั้ยค่ะ ที่เรายังเหลือสภาวะบางอย่าง..เหมือนกับว่าอุปทานในจิตยังมีอยู่ จิตเรายังยึดอยู่ ถึงแม้เราจะเห็นแสงสว่างริบหรี่ตรงหน้า แต่เราก็ไม่ยอมเดินไป เพราะกลัวคนข้างหลัง คนที่เราผูกพันธ์ด้วยเดินตามมาไม่ทัน จิตเราก็ยังไม่ยอมปล่อยวางลง เพราะต้องการความมั่นใจต่อบางสิ่งที่เรายึดไว้ เมื่อเราเห็นแจ้งในสิ่งที่เรายึดไว้ ว่ามันเป็นไปตามนั้นแล้ว เราถึงสามารถสลัดให้หลุดออกไปจากจิตเราได้ :b1:


:b27:

อยากจะกระโดดหอมแก้มสักสิบฟ๊อดดด์

เป็นไปได้ ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 19:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
คำว่าเห็นนิพพานเป็นทุกข์นั้นไม่ใช่ครับ
แต่ที่ว่านี่เป็นการปฏิบัติเห็นรูปนาม เป็นญาณที่ ๑ ที่เรียกว่านามรูปปริเฉทญาน
พอขึ้นญานที่ ๒ ก็จะเห็นปัจจัยของนามรูป เรียกว่าปัจจยปริคหญาน
พอขึ้นญานที่ ๓ ก็จะเห็นสภาวะการเกิดดับของรูปนาม เรียกว่าสัมมสนญาน เห็นว่ารูปนามเป็นทุกข์
ตามที่เล่ามานั้นเข้ากฏเกณท์ของญานที่ ๓ ครับ (ขอบอกนะครับว่ายังไม่เห็นพระนิพพานนะครับ)
ดีแล้วครับพิจารณาไปเรื่อยๆอย่าไปดีใจนะครับ ถ้าถึงอุทยัพพยญาน คือ ญานที่ ๔ วิปัสสนูกิเลสจะเกิดตรงนี้อาจจะสับสน ระวัง !


จร้า เอกอนยังไม่ได้เห็นนิพพานหรอก เอกอนรู้
ยิ่งอ่านพระสูตรนี้ เอกอนยิ่งชัวร์ว่าตัวเองยังเป็นไก่อ่อนขนาดไหน :b9: :b9:

ใช่เอกอนรู้ว่า นิพพานเป็นทุกข์ นั้น ไม่ใช่

แต่...เอกอนเห็นนิพพานเป็นทุกข์ จริง ๆ

คือ ทุกข์แบบ เป็นสิ่งที่ไม่พึงปราถนา
เหมือนเป็นสภาวะที่บีบคั้น ไม่ให้เราอยากเข้าใกล้

คือ จริง ๆ เอกอนก็เหมือนนักปฏิบัติทั่ว ๆ ไป
ที่เมื่อปฏิบัติ ก็ปราถนาที่จะได้รู้ ได้ถึงนิพพาน
แต่เมื่อ 5 ปีก่อน เอกอนเจอสภาวะหนึ่งแล้ว เห็นจิตมันผงะ เผ่นออกมา
และมันก็ไม่เคยยอมเฉียดไปแถวนั้นอีกเลย อย่างกะว่า มันไปเจอโรงฆ่าสัตว์
ซึ่งมันไม่ได้จบแค่นั้น
และพอรู้สึกตัวออกมา นิพพาน ก็เหมือนจะถูกเว้นวรรคไปจากความคิดเรยเช่นกัน
ความรู้สึกต่อคำว่า นิพพาน ก็อย่างว่า เหมือนโรงฆ่าสัตว์

มันเป็นอาการที่เอกอนก็เฝ้ามองแบบ ไม่เข้าใจ และไม่รู้จะแก้ยังไงมาตลอด
เอกอนศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรมต่อเนื่องมาเรื่อยก็จริง แต่ใจไม่เอาเรย
เอกอนเห็นนิพพานเป็นทุกข์ (ไม่พึงใจที่จะน้อมไปหา) ใจมันเว้นวรรคเรื่องนี้ไปเรย
ดังนั้น ต่อให้ปากเอกอนบอกว่า นิพพานเป็นสุขยิ่ง
ความเชื่อ สัญญา ก็ว่า นิพพานเป็นสุขยิ่ง
แต่มันไม่ทะลุผ่านกำแพงเข้าไปในใจเรย

ดังนั้น เมื่ออ่านพระสูตรนี้ เอกอนก็เลย สะกิดใจไงล่ะ...ท่านลุงหมาน

:b2: :b2: :b2:

เอกอนคิดไปเอง หรือ มันมีอาการจิตเช่นว่านั้นจริง ๆ


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 11 ธ.ค. 2012, 19:40, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 19:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโลมิกขันติ

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

ข้อความสมบูรณ์มีศัพท์บางคำที่อาจเขียนผิด หน้า 2-3

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต

อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

บัดนี้จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

ได้แสดงขันติมาครั้งหนึ่งจะแสดงต่อไป ขันติที่จะแสดงต่อไปนี้มีความหมายในทางเพื่อมรรคผลนิพพาน เพื่อความสิ้นกิเลสและกองทุกข์ ขันติดังกล่าวนี้เรียกว่า อนุโลมิกขันติ ขันติที่เป็นไปโดยอนุโลม คืออนุโลมต่อความเห็นชอบ ก็คืออนุโลมอริยมรรค มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เพื่อกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย ขันติดังกล่าวนี้เป็นขันติที่มีความหมายเป็นพิเศษกว่าขันติทั่วๆ ไป แม้ตามที่ได้แสดงอธิบายแล้ว และได้มีความหมายในทางเดียวกัน กับขันติที่ตรัสไว้ในโอวาทปาติโมกข์ว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ขันติคือ ตีติกขา ความทนทาน เป็นบรมตบะ คือเป็นธรรมะที่เผากิเลสอย่างยิ่ง เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดังที่ตรัสต่อไปว่า นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระพุทธะทั้งหลายกล่าวนิพพานว่าเป็นอย่างยิ่ง ขันติเป็นบรมตบะ ดั่งนี้ จึงได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้อีกว่า ขันติ พลัง วยะ ตินัง ขันติเป็นกำลังของนักพรต หรือผู้บำเพ็ญพรตทั้งหลาย ดั่งนี้

ตีติกขาขันติ

อันขันติดังกล่าวว่าตีติกขาขันติ ในโอวาทปาติโมกข์ หรือ อนุโลมิกขันติ ที่ยกขึ้นมาแสดงในวันนี้ จึงมีความหมายว่าเป็นความอดทน เป็นความทนทาน ต่ออารมณ์ทั้งหลาย คืออารมณ์ คือรูปที่เห็นทางตา อารมณ์คือเสียงที่ได้ยินทางหู อารมณ์คือกลิ่นที่ได้ทราบทางจมูก อารมณ์คือรสที่ได้ทราบทางลิ้น อารมณ์คือสิ่งถูกต้องที่ได้ทราบทางกาย อารมณ์คือธรรมะอันได้แก่เรื่องราวที่ได้รู้ได้คิดทางมโนคือใจ

อดทนต่ออารมณ์เหล่านี้เพราะอารมณ์เหล่านี้เป็นที่ตั้งแห่งราคะความติดใจยินดีก็มี เป็นที่ตั้งแห่งโทสะความโกรธแค้นก็มี เป็นที่ตั้งแห่งโมหะความหลงก็มี เมื่อเป็นดั่งนี้จึงเกิดราคะโทสะโมหะ หรือว่าโลภโกรธหลงขึ้น ไหลเข้าสู่ใจหรือจิต เพราะฉะนั้น อดทนต่ออารมณ์ทั้งหลาย จึงมีความหมายถึงอดทนต่อกิเลสทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นจากอารมณ์นั้นๆ ด้วย

บรมตบะ เครื่องแผดเผากิเลส

ขันติที่เป็นอนุโลมขันติหรืออนุโลมิกขันติ จึงมีความหมายถึงความอดทนต่ออารมณ์ ต่อกิเลสดังกล่าว

เมื่อเป็นดั่งนี้จึงจะเป็นบรมตบะ คือเป็นเครื่องแผดเผากิเลส ผู้ที่ปฏิบัติขันติ ฝึกจิตใจให้มีความอดทนต่ออารมณ์ทั้งหลาย ต่อกิเลสทั้งหลาย ย่อมสามารถเผากิเลสทั้งหลายได้ ดับกิเลสทั้งหลายได้ เช่นเมื่อความโลภบังเกิดขึ้นในวัตถุอันเป็นที่ตั้งของความโลภ หรือราคะความติดใจยินดีบังเกิดขึ้นในวัตถุอันเป็นที่ตั้งของราคะ ก็มีความอดทน ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของโลภะหรือราคะ เมื่อความอดทนนี้มีกำลังที่แรงกว่ากำลังของกิเลส ก็ชนะกิเลสได้ กิเลสก็ดับหายไป เหมือนอย่างถูกเผาไป

เมื่อโทสะบังเกิดขึ้นก็เช่นเดียวกันมีความอดทนต่อโทสะ ต่ออารมณ์ของโทสะ ไม่ยอมแพ้อำนาจของโทสะ และเมื่อความอดทนนี้มีกำลังกว่า โทสะกับอารมณ์ของโทสะก็ดับหายไป เหมือนอย่างถูกเผาสิ้นไป โมหะก็เช่นเดียวกัน ความหลงถือเอาผิด หลงติดอยู่ในวัตถุอันเป็นที่ตั้งของความหลง มีความอดทนต่อความหลง ความติด และอารมณ์ของความหลงนั้น เมื่อความอดทนมีกำลังก็เอาชนะโมหะได้ โมหะก็ดับหายไป เหมือนอย่างถูกเผาไป

ขันติที่ประกอบด้วยปัญญา

แต่ในการปฏิบัติทำขันติคือความอดทนนี้เมื่อประกอบไปด้วยกับการปฏิบัติในศีล ในสมาธิ ในปัญญา ก็ทำให้เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ขึ้นมาได้ ขันติที่ประกอบด้วยปัญญานับว่าเป็นยอดของขันติที่ประกอบด้วยสมาธิด้วยศีล แต่ว่าก็ต้องอาศัยการปฏิบัติทั้งในศีลทั้งในสมาธิทั้งในปัญญาประกอบกันไป ทั้ง ๓ นี้มีปัญญาเป็นยอด แต่เมื่อมียอดก็ต้องหมายความว่าต้องมีต้นมีรากด้วย ศีลก็เหมือนอย่างราก สมาธิก็เหมือนอย่างต้น ปัญญาก็เหมือนอย่างยอด เมื่อเทียบกับต้นไม้ ฉะนั้น แม้จะยกยอดขึ้นมาแสดง ก็ต้องหมายความว่าต้องมีลำต้นต้องมีรากอยู่ด้วยกัน เป็นแต่เพียงต้องการจะชี้ว่าปัญญาเป็นยอด

เพราะฉะนั้นจึงได้มีพระพุทธภาษิตแสดงไว้ว่า ปัญญาเห็นอย่างไรจึงจะเป็นฐานะที่ว่าประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ได้ตรัสแสดงไว้ว่า เมื่อยังเห็นสังขารอะไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข เห็นธรรมะอะไรๆ คือทั้งส่วนที่เป็นสังขารทั้งส่วนที่เป็นวิสังขาร โดยความเป็นอัตตาตัวตน เมื่อยังเห็นดั่งนี้อยู่ก็ไม่เป็นฐานะที่จะชื่อว่าประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ และเมื่อไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ก็ไม่เป็นฐานะที่จักหยั่งลงสู่ความเป็นชอบ คือหยั่งลงสู่อริยมรรค มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และเมื่อยังไม่หยั่งลงสู่ความเป็นชอบ หรือว่าสู่ สัมมัตตนิยาม คือความกำหนดแน่โดยความเป็นชอบ ก็ไม่เป็นฐานะที่จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย

ต่อเมื่อเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยงโดยความเป็นทุกข์ เห็นธรรมอะไรๆ ทั้งปวงโดยความเป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตาตัวตน จึงเป็นฐานะที่จะชื่อว่าประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ และเมื่อประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ก็เป็นฐานะที่จักหยั่งลงสู่นิยาม คือความกำหนดแน่แห่งความเป็นชอบ คือสู่นิยามแห่งอริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และเมื่อหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ ก็เป็นฐานะที่จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย

เมื่อเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์

อนึ่งเมื่อยังเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์ก็เช่นเดียวกัน ไม่เป็นฐานะที่จะประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ไม่เป็นฐานะที่จักหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ ไม่เป็นฐานะที่จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย ต่อเมื่อเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข ดังที่มีปาฐะว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นบรมสุข จึงจะเป็นฐานะที่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ เป็นฐานะที่จักหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ เป็นฐานะที่จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย ดั่งนี้

อนุโลมิกขันติด้วยอาการอย่างไร

และจะชื่อว่าได้อนุโลมิกขันติด้วยอาการอย่างไรจะชื่อว่าหยั่งลงสู่ความเป็นชอบด้วยอาการอย่างไร ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสจำแนกอาการไว้เป็นอันมาก แต่อาจสรุปลงได้เป็น ๓ คือเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เห็นนิพพาน โดยความเป็นเที่ยง โดยความเป็นสุข และโดยความเป็นปรมัตถ์ หรือ ปรมัตถะ คือมีอรรถะอย่างยิ่ง

กล่าวคือเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมิกขันติ เห็นความดับขันธ์ ๕ เป็นนิโรธคือความดับทุกข์เป็นของเที่ยงแท้ เป็นนิพพาน ย่อมได้หรือหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ คือสู่ทางอริยมรรค เห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมมิกะขันติ เห็นความดับขันธ์ ๕ เป็นนิโรธคือความดับทุกข์ เป็นสุข เป็นนิพพาน ย่อมหยั่งลง ย่อมได้นิยามแห่งความเป็นชอบ เห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นอนัตตา ย่อมได้อนุโลมิกขันติ เห็นความดับขันธ์ ๕ เป็นนิโรธคือความดับทุกข์ เป็น ปรมัตถะ คือ มีอรรถะอย่างยิ่ง อย่างละเอียด เป็นนิพพาน ย่อมหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ ดั่งนี้

เพราะฉะนั้น อนุโลมิกขันตินี้จึงเป็นข้อสำคัญศีล สมาธิ ปัญญา อาศัยขันติมาก่อน คือในการปฏิบัติศีลสมาธิปัญญานั้นก็ต้องใช้ขันติ ต้องประกอบด้วยขันติ

และเมื่อได้ศีลสมาธิปัญญาขึ้นก็ทำให้ได้ขันติที่สูงขึ้น คืออนุโลมิกขันติดังกล่าว คือเมื่อได้ปัญญาเห็นขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา เมื่อได้ปัญญาดั่งนี้ ก็เป็นอันว่าได้อนุโลมิกะขันติ ซึ่งนำไปสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ คืออริยมรรค มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และเมื่อเป็นดั่งนี้ก็จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลายได้

เพราะฉะนั้นนิยามแห่งความเป็นชอบคืออริยมรรค จึงกล่าวได้ว่าเป็นมรรคนั้นเอง และเมื่อได้มรรคก็ย่อมได้ผล คือกระทำให้แจ้งผลทั้งหลาย คืออริยผลทั้งหลาย ได้อริยมรรค ก็ได้อริยผล อนุโลมิกขันตินั้น จึงเป็นขันติที่อนุโลมต่ออริยมรรคอริยผล สอดคล้องต่ออริยมรรคอริยผล เป็นขันติที่ได้มาจากปัญญาที่เห็นขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

และในการที่จะปฏิบัติในปัญญาในสมาธิในศีลก็ต้องอาศัยขันติคือความอดทนมาโดยลำดับ แผดเผากิเลสมาโดยลำดับ ถ้าไม่อาศัยขันติก็ไม่อาจที่จะปฏิบัติให้สำเร็จได้ เป็นขันติในขั้นปฏิบัติตั้งแต่ในเบื้องต้น ครั้นได้ศีลได้สมาธิได้ปัญญา เห็นขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา จึงได้ขันติที่เป็นอนุโลมต่อมรรคผล อันเรียกว่าอนุโลมิกขันตินี้ มีลักษณะเป็นความทนทาน ไม่หวั่นไหว อันจะเปรียบได้อย่างภูเขาหินล้วน ไม่หวั่นไหวด้วยลมอันพัดมาแต่ทิศทั้งปวง ต่างจากต้นไม้เป็นต้นทั้งใหญ่ทั้งเล็ก เมื่อถูกลมพัดแม้จะไม่หักก็ไหว และแม้ว่าจะไม่โค่นล้มทั้งต้น กิ่งใบก็อาจที่จะหักหล่น ถ้าหากว่าถูกลมแรงมากก็จะต้องล้มทั้งต้น แต่ภูเขาหินล้วนนั้นย่อมทนได้ต่อลมอันพัดมาแต่ทิศทั้งปวง

อนุโลมมิกะขันติก็เช่นเดียวกันเมื่อปฏิบัติให้เห็นไตรลักษณ์ในขันธ์ ๕ ได้ จิตก็จะแข็งแกร่งทนทาน ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์และกิเลสทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นจึงนำสู่อริยมรรคสู่อริยผล จึงเรียกว่าอนุโลมิกขันติ ขันติที่อนุโลม คืออนุโลมต่ออริยมรรคที่เรียกว่านิยามแห่งความเป็นชอบ และอริยผลทั้งหลาย ดั่งนี้

ตามที่แสดงมานี้แสดงตามพระพุทธภาษิตที่ตรัสเอาไว้ เป็นขันติที่มีลักษณะพิเศษกว่าขันติทั่วไป แต่ว่าในการปฏิบัตินั้นก็จะต้องปฏิบัติตั้งแต่ขันติคือความอดทน มีน้ำอดน้ำทน มีความอดกลั้นทนทาน ต่ออารมณ์และกิเลสทั้งหลาย ซึ่งอาจจะทนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ว่าเมื่อฝึกอยู่บ่อยๆ แล้ว ก็จะทำให้ความอดทนนี้มีพลังยิ่งขึ้น สามารถอดทนต่ออารมณ์และกิเลสได้มากขึ้น

พร้อมทั้งเมื่อมีโสรัจจะคือความที่ทำใจให้สบายโดยระบายอารมณ์และกิเลส ที่อัดอยู่ในใจออกไป ไม่ปล่อยให้อัดเอาไว้ ระบายใจออกไปให้สบาย อาศัยสติอาศัยปัญญา และอาศัยธรรมะอื่นๆ เช่นเมตตากรุณาเป็นต้น เข้ามาช่วย และเมื่อระบายออกไปได้ใจก็สบาย เมื่อใจสบาย กายวาจาก็เป็นปรกติเรียบร้อยดีงาม เพราะฉะนั้นจึงตรัสแสดงว่าธรรมะคู่นี้ ขันติคือความอดทน โสรัจจะที่ท่านแปลว่าความเสงี่ยม เป็นธรรมะที่ทำให้งาม ดั่งนี้

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป


:b55: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b55:



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คงเพราะจิตติดกำแพงอยู่ จึงไม่อาจเลยข้ามไปหาความจริงได้

ที่แข็งเพราะกำแพงแข็ง หาใช่จิตแข็งไม่

ที่ขมเพราะลิ้นขม หาใช่จิตขมไม่

ที่ทุกข์เพราะจิตทุกข์ หาใช่นิพพานทุกข์ไม่

:b30:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


คล้ายๆอาการความคิดไม่ตรงกับใจหรือเปล่า

สมองคิดว่าเราจะมุ่งตรงต่อพระนิพพานแล้ว แต่ใจจริงๆยังเพลินกับความสุขแบบโลกอยู่

ลืมมองความจริงไปว่าพระนิพพานคือขั้วตรงข้ามของความสุขของโลก ดังนั้นตราบใดที่ยังยินดีในความสุขจากภายนอก โดยปริยายก็เท่ากับว่ามองพระนิพพานขั้วตรงข้ามว่าเป็นทุกข์อยู่นั่นเอง ก็เลยไม่มีฉันทะ ก็เลยไม่โน้มไปทางพระนิพพาน

แค่ความคิดชั่วครั้งชั่วคราวเปลี่ยนใจไม่ได้หรอก แต่ถ้าคิดลึกเข้าไปๆจนได้เหตุได้ผล จนใจยอมรับ อันนี้เปลี่ยนใจได้นะ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
nongkong เขียน:
เป็นไปได้มั้ยค่ะ ที่เรายังเหลือสภาวะบางอย่าง..เหมือนกับว่าอุปทานในจิตยังมีอยู่ จิตเรายังยึดอยู่ ถึงแม้เราจะเห็นแสงสว่างริบหรี่ตรงหน้า แต่เราก็ไม่ยอมเดินไป เพราะกลัวคนข้างหลัง คนที่เราผูกพันธ์ด้วยเดินตามมาไม่ทัน จิตเราก็ยังไม่ยอมปล่อยวางลง เพราะต้องการความมั่นใจต่อบางสิ่งที่เรายึดไว้ เมื่อเราเห็นแจ้งในสิ่งที่เรายึดไว้ ว่ามันเป็นไปตามนั้นแล้ว เราถึงสามารถสลัดให้หลุดออกไปจากจิตเราได้ :b1:


:b27:

อยากจะกระโดดหอมแก้มสักสิบฟ๊อดดด์

เป็นไปได้ ...

หัวอกเดียวกัน :b9:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร