วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 14:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2012, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จริงหรือผู้ปฏิบัติธรรมต้องไม่มีความอยาก

คือ หลายคนมีความรู้สึกว่า ถ้ามาปฏิบัติธรรม หรือเป็นผู้ปฏิบัติธรรมได้ผลแล้ว ก็จะไม่อยากได้อยากดีอะไร เป็นคนไม่มีความอยาก

ถ้าจะไปเป็นชาวพุทธมีชื่อว่า เป็นนักปฏิบัติก็ให้รู้สึกไม่สบายใจที่จะพูดถึงคำว่า อยาก แล้วก็จะพยายามหลีกเลี่ยงอาการของความอยาก และพยายามแสดงตัวให้คนอื่นรู้สึกว่า ตัวเรานี้ไม่มีความอยาก อันนี้เป็นอันตรายอย่างหนึ่ง ทำกันจนกระทั่งชักจะให้เกิดความรู้สึก หรือมีภาพพจน์ของผู้ปฏิบัติ หรือแม้แต่ชาวพุทธทั่วไปว่าเป็นคนที่ไม่มีความอยาก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2012, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ ความอยากนั้นเป็นคำที่ยังน่าสงสัยอยู่ ยังจะต้องทำความเข้าใจ เหตุที่เราไปจำกัดว่า ถ้าเป็นนักปฏิบัติธรรมแล้วจะต้องกำจัดความอยาก ต้องเลิก ไม่ให้มีความอยาก ก็เพราะเราเข้าใจความอยากนั้นว่าเป็นตัณหา เป็นอกุศลธรรม แล้วเราก็เข้าใจว่าความอยากนี้มีประเภทเดียว คือตัณหาเท่านั้น

พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า ตัณหาคือความอยากเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ จะต้องตัดต้องละต้องเลิกให้หมด เราก็เลยต้องพยายามไม่อยาก พยายามละเลิกความอยาก ต้องพยายามเป็นคนที่ไม่มีความอยาก แสดงตัวว่าเป็นคนปราศจากความอยากอะไรทำนองนี้

จึงจะต้องมาทำความเข้าใจกันว่า ความอยากนั้นมี 2 อย่าง มีทั้งความอยากที่ถูกต้อง และความอยากที่ไม่ถูกต้อง อย่ารังเกียจความอยากกราดไปหมด ต้องระวังมาก
ถ้าไม่มีความอยาก บางทีความไม่อยาก หรือ การไม่มีความอยากนั่นแหละอาจจะเป็นตัวกิเลส และเป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติก็ได้

ความอยาก มี 2 แบบ คือ อะไร

ความอยากนั้น ในภาษาพระ ใช้คำกลางๆ ว่า ฉันทะ
ฉันทะ แปลว่า ความอยาก เรากลับไปเริ่มต้นความอยากที่ฉันทะ ไม่เริ่มต้นที่ตัณหา
ความอยาก เรียกว่า ฉันทะ หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า ฉันทะ

ทีนี้ ฉันทะ ที่แปลว่า ความอยากนั้นมี 2 แบบ

ฉันทะ ประเภทที่ 1 เรียกว่า ตัณหาฉันทะ ตัณหาฉันทะ คือ ความอยากแบบตัณหา

ความอยากแบบตัณหา คือ ความอยากได้สิ่งปรนเปรอตน ปรนเปรอตา ปรนเปรอหู ปรนเปรอจมูก ปรนเปรอลิ้น ปรนเปรอกาย ปรนเปรอใจ คือ ได้สิ่งที่ทำให้เกิดความสุขสบายทางประสาทสัมผัส

ความอยากประเภทนี้ มันมีตามธรรมดาของมันเอง โดยที่มนุษย์ไม่ต้องมีความรู้อะไรเลย พอมนุษย์เกิดมา ก็จะมีความปรารถนา ความอยากจะได้สิ่งเสพมาบำรุงบำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยไม่ต้องมีความรู้ว่าอะไรเป็นคุณแก่ชีวิตหรือไม่

ในเมื่อความอยากแบบนี้เป็นไปโดยไม่ต้องมีความรู้ จึงเรียกว่า เป็นความอยากที่เกิดจากอวิชชา

ฉะนั้น ความอยากที่เรียกว่าตัณหานี้จึงสัมพันธ์กับอวิชชา ไม่ต้องมีความรู้อะไรเลย เป็นไปตามความรู้สึกเท่านั้น พอรู้สึกถูกตา ถูกหู ถูกลิ้น ก็อยากทันที

แต่ถ้าไม่ถูกตา ไม่ถูกหู ไม่ถูกลิ้น ก็ไม่อยาก ไม่ชอบใจทันที

อยากได้แต่สิ่งที่บำรุงบำเรอปรนเปรอตนเอง เอาแค่สุขตา สุขหู สุขลิ้น

พออยากขึ้นมาแบบนี้ ก็ไม่แน่ว่าจะเกิดคุณค่าแก่ชีวิตหรือไม่ สิ่งที่บำรุงบำเรอตนเองนั้น อาจจะทำให้เกิดโทษเกิดภัยแก่ชีวิตก็ได้ หรือโดยบังเอิญอาจจะเกิดประโยชน์ก็ได้

พูดอย่างภาษาสมัยปัจจุบันก็ว่าอาจจะทำให้เกิดคุณภาพชีวิต หรืออาจจะทำลายคุณภาพชีวิตก็ได้ เป็นเรื่องสุ่มๆเสี่ยงๆ เพราะไม่เป็นไปด้วยความรู้ แต่เอาแค่ความรู้สึกเท่านั้น จึงมักจะทำลายคุณภาพชีวิตเสียมากกว่า

เหมือนตัวอย่างง่ายๆ ที่ยกมาพูดบ่อยๆ เช่น อยากในรสอาหาร ใครๆพอเกิดมาไม่ต้องเรียนรู้อะไร ก็มีความรู้สึกว่าอร่อย และไม่อร่อย แล้วก็อยากในสิ่งที่อร่อย เมื่ออยากในสิ่งที่อร่อย ถ้าไม่มีความรู้เลย ก็มุ่งแต่อร่อยอย่างเดียว ทำไปตามความอยาก กินจนกระทั่งเกินขนาด อาจจะกินสิ่งที่เป็นพิษ เป็นอันตราย ทำลายคุณภาพชีวิต นี้คือความอยากด้วยตัณหา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2012, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

แต่ถ้ามีความรู้ขึ้นมา ก็จะมีความอยากอีกประเภทหนึ่งเกิดขึ้น เป็นความอยากที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ซึ่งต้องเกิดจากความรู้ หรือ ต้องมีความรู้ความเข้าใจ จึงจะเกิดขึ้นได้ คือมีความรู้ว่า สิ่งนี้จะทำให้เกิดคุณภาพชีวิต เป็นประโยชน์แก่ชีวิตหรือไม่

ความอยากอย่างนี้ เป็นความอยากหรือฉันทะประเภทที่ 2 เรียกชื่อว่า กุศลฉันทะ หรือ ธรรมฉันทะ แปลว่า ความอยากที่เป็นกุศล หรือความอยากในธรรม

ตอนนี้เราก็ได้ความอยากครบ 2 แบบ

ความอยากประเภทที่ 2 เป็นความอยากในสิ่งที่มีคุณค่าทำให้เกิดคุณภาพชีวิต สัมพันธ์กับความรู้ โดยจะต้องมีการกระทำลายอวิชชา หรือลดอวิชชา และต้องมีวิชชาเกิดขึ้นบ้าง

พอเริ่มมีวิชชา มีความรู้ เราก็เริ่มรู้จักแยกว่า อะไรจะเป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์แก่ชีวิต แล้วก็จะมีความอยากประเภทที่ 2 คือ อยากในสิ่งที่ทำให้เกิดคุณภาพชีวิต หรืออยากทำให้เกิดคุณภาพชีวิต

ความอยากประเภทที่ 2 คือ กุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะนี้ เมื่อจะเรียกสั้นๆท่านเรียกแค่ว่า ฉันทะ ระวังจะสับสนตรงนี้

ส่วนความอยากประเภทที่ 1 ที่เรียกว่า ตัณหาฉันทะ เวลาเรียกสั้นๆก็เหลือแค่ ตัณหา

เพราะฉะนั้น คำว่า ตัณหา และคำว่า ฉันทะ ก็เลยกลายเป็นความอยากคนละประเภทไปเลย

แต่ที่จริงนั้น ถ้าเรียกกันให้เต็ม ตัณหาก็เป็นตัณหาฉันทะ และฉันทะที่เป็นความอยากฝ่ายดี ก็เป็นกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ ชื่อเต็มเป็นอย่างนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2012, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความตอนนี้เพื่อให้จำง่ายๆ ก็แยกเป็นความอยาก 2 อย่าง คือ ตัณหา อย่างหนึ่ง ฉันทะ อย่างหนึ่ง

ตัณหา คืออยากโดยไม่มีความรู้ เพียงแต่จะสนองความรู้สึกเสพสม บำรุงบำเรอปรนเปรอประสาทสัมผัส คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของตนเอง

ส่วนฉันทะ หรือความอยากประเภทที่ 2 คือ ความอยากในคุณภาพชีวิต ในสิ่งที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ เริ่มตั้งแต่รู้จักแยกว่า อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษแก่ชีวิตอย่างแท้จริง

นี้เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจไว้ก่อน


ต่อ "วิธีปฏิบัติต่อความอยาก" ที่
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=43778

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


เชียนเอง ตอบเอง อธิบายเอง ก็คงเงียบเหงา พอสมควรละนะ เรื่องของภาษา มันดิ้นได้นะขอรับ เขียนคนละอย่าง อ่านคนละอย่าง แต่ความหมาย ในพฤติกรรมการกระทำ หรือ สภาพสภาวะ เหมือนกัน ยกตัวอย่างภาษาไทย เช่น

ความอยาก /ความต้องการ/ ความพอใจ/ความใคร่ที่จะทำ/ความเอาใจจดจ่อ/ความไม่รู้จักพอ/ความโลภ/ความหลง และยังมีอีกหลายคำหลายประโยค
แต่ถ้าเป็นภาษาบาลี ในทางศาสนา ความหมายของแต่ละคำ ละแตกต่างกันไป แตกต่างกันตามสภาพสภาวะของการเกิดขึันในจิตใจหรือความคิด (หัวใจและสมอง)
ตัณหา ก็มีความหมายอย่างหนึ่ง
ฉันทะ ก็มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง แตกต่างจากกันตรงที่สภาพสภาวะจิตใจหรือความคิด
ตัณหา เป็น กิเลสไหม แน่นอน เป็นอยู่แล้วและเป็นกิเลสชนิดอย่างหนาขอรับ
ฉันทะ เป็น กิเลสไหม เป็นกิเลสแน่นอนอยู่แล้วเหมือนกัน แต่เป็นชนิดอย่างบาง แถม ฉันทะ ยังเป็น ธรรมะ ซะอีกด้วย แปลกไหมละ
แล้วตัณหา ไม่เป็นธรรมะ หรือ หลายๆท่าน คงเข้าใจว่า ตัณหา ไม่ใช่หลักธรรม เพราะได้รับการเรียนรู้มาอย่างนั้น แต่ความจริงแล้ว ตัณหา ก็เป็น หลักธรรม แต่เป็น ธรรมที่เป็น อกุศล ถูกหรือผิด ก็นำไปคิดพิจารณากันเถอะนะขอรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร