วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 22:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2012, 04:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเห็นเพื่อนสมาชิกบางคนกำลังหลง เลยต้องมาอธิบายเพื่อให้เข้าใจ
ถึงแม้มันจะเป็นการยาก แต่ไม่เป็นไรจะใช้ความพยายาม

สิ่งที่ทำให้คนเข้าใจผิดว่า ชีวิตคือขันธ์ห้า เป็นเพราะผู้ที่หลงเข้าใจผิด
กำลังหลงในสถานะของตนเอง นั้นก็คือไม่แยกแยะว่า คำพูดที่ตัวเองกำลังพูด
เป็นคำกล่าวของผู้ที่หลุดพ้นแล้ว ผู้ที่หลุดพ้นการยึดมั่นในขันธ์ห้าก็คือพระอรหัต์
กำลังกล่าวถึงอธิบายความให้เข้าใจว่าชีวิตคืออะไร ขันธ์ห้าเป็นอย่างไร

ถ้าเรามีสมาธิพิจารณาให้ดีแล้ว คำกล่าวคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์
ท่านไม่ได้กล่าวในขณะที่ท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านกำลังกล่าวในสิ่งที่เกิดก่อนที่ท่าน
จะมาเป็นพระอรหันต์

ถ้าเรารู้จักการใช้สติ ใช้สมาธิแยกธรรมก็น่าจะเข้าใจได้ แต่ทำไมมันเป็นแบบนี้ไปได้
ก็เป็นเพราะไม่รู้จักการใช้สติเบื้องต้น ไม่เข้าใจสมาธิมาตั้งแต่แรกแล้ว จึงทำให้ไม่เกิดการ
พิจารณาธรรม

ขอเกริ่นทิ้งไว้ก่อนจะได้มีสติเพื่อที่จะได้พูดคุยกันได้รู้เรื่อง
ที่อยากให้มีสติก็คือ ธรรมเป็นธรรมของใคร ธรรมนั้นเป็นธรรมของปุถุชนหรือพระอรหันต์
ผู้ที่ฟังเป็นพระอรหันต์หรือปุถุชน อยากให้เพื่อนๆนั่งภาวนาไปก่อน แล้วจะมาคุยต่อ :b13:

ภาษาธรรมวันละคำ.....
อุปาทานขันธ์ห้า หมายถึง? :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2012, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




images.jpg
images.jpg [ 9.64 KiB | เปิดดู 5214 ครั้ง ]
นี่ก็ขัน ขันเงิน เมื่อก่อนเค้าใช้เงินจริงๆทำ จึงเรียกว่าขันเงิน แต่ปัจจุบันนี้ใช้พลาสติกทำเป็นสีต่างๆหลากสี :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2012, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




untitled.bmp
untitled.bmp [ 147.83 KiB | เปิดดู 5214 ครั้ง ]
นี่ก็เรียกว่าขัน ส่วนมากจะใช้ในห้องน้ำ :b1:


ใช้ได้ทั้งปุถุชนทั้งพระอรหันต์ :b20:ขอบอก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2012, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาดูว่าทำไมจึงบอกว่า ขันธ์ห้าไม่ใช่ชีวิต

ขันธ์ห้าเป็นสังขาร ขันธ์ห้าเกิดจากสังขารไปปรุงแต่ง

สังขารคือ การปรุงแต่ง สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง

สังขตธรรม คือ ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง นั้นก็คือสังขาร

อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง นั้นก็คือวิสังขาร

ที่นี้มาดูความหมายของ สังขารที่หมายถึงรูปนาม
สังขารที่เป็นรูปนาม คือ สังขารที่มีใจครอง เรียกว่า อุปาทินนกสังขาร
นั้นคือสิ่งมีชีวิตต่างๆ

ส่วนสังขารอีกอย่างคือ สังขารที่ไม่มีใจครอง เรียกว่าอนุปาทินนกสังขาร
นั้นคือสิ่งไม่มีชีวิต.......ประเด็นสำคัญอยู่ตรงนี้ นั้นคือพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต
มีใจครอง เพียงแต่เราเรียกชีวิตของท่านไปในลักษณะรูปนาม
รูปนามของพระอรหันต์จึงเป็น.....อนุปาทินนกสังขาร


สภาวะธรรมของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต สภาวะของท่านคือ รูปนามของท่านเป็น.....
อนุปาทินนกสังขาร นั้นคือสังขารนั้นยังมีใจครอง แต่เป็นธรรมธาตุที่เรียกว่า..อสังขตธรรม

อสังขตธรรมที่ว่าก็คือ.....วิสังขาร
วิสังขาร ก็คือ อนุปาทินนกสังขาร นั้นคือสังขารที่มีใจครองแต่ไม่ปรุงแต่งแล้ว
อันได้แก่ พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต

ดังนั้นขันธ์ห้าเป็น สังขารที่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา ที่เราคิดว่าขันธ์ห้าคือชีวิต
เป็นการเข้าใจผิด เป็นเพราะอวิชา หลงไปยึดสิ่งที่ถูกปรุงแต่งเอามาเป็นตัวตน

ดังนั้นขันธ์ห้าเป็นสังขาร เกิดดับตามกฎไตรลักษณ์
มันเกิดขึ้นดับไปตลอดเวลา แต่การเกิดขึ้นดับไปของขันธ์ ไม่ได้ทำให้สิ่ง
ที่เรียกว่าชีวิตดับไปด้วย แสดงว่าขันธ์ห้าไม่ได้เกี่ยวข้องกับชีวิต
ก็เหมือนกับพระอรหันต์ที่มีชีวิต ท่านไม่ได้มีการปรุงแต่งขันธ์ห้าแล้ว
ขณะที่ท่านมีชีวิตในสถานะอรหันต์ ท่านมีใจครอง แต่เป็นอนุปาทินนกสังขาร
นั้นคือ เป็นวิสังขาร ไม่ปรุงแต่งขันธ์ห้าแล้ว


ภาษาธรรมะวันละคำวันนี้เสนอคำว่า...
กิริยาจิต :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2012, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่างๆ



ขันธ์ทั้ง ๕ อาศัยซึ่งกันและกัน รูปขันธ์เป็นส่วนกาย นามขันธ์ทั้ง ๔ เป็นส่วนใจ มีทั้งกายและใจ จึงจะเป็นชีวิต

กายกับใจทำหน้าที่เป็นปกติและประสานสอดคล้องกัน ชีวิตจึงจะดำรงอยู่ได้ด้วยดี ตัวอย่าง เช่น กิจกรรมของจิตใจ ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับโลก ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งต้องกาย ผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น และกาย

อารมณ์ทั้ง ๕ ก็ดี ตา หู จมูก ลิ้น และกายก็ดี ต่างก็เป็นรูปธรรมอยู่ในรูปขันธ์ คือ เป็นฝ่ายกาย

...จิตใจเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมของชีวิต มีความกว้างขวาง ซับซ้อนและลึกซึ้งมาก เป็นที่ให้คุณค่าและความหมายแก่ชีวิต

นามขันธ์ ๔ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและส่งอิทธิพลเป็นปัจจัยแก่กัน การเกิดขึ้นของนามขันธ์ทั้ง ๔ เหล่านั้น ตามปกติจะดำเนินไปตามกระบวนธรรมดังนี้

“เพราะผัสสะ (ตา หู ฯลฯ + รูป เสียง ฯลฯ วิญญาณ) เป็นปัจจัย การเสวยอารมณ์ (เวทนา) จึงมี บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (สัญญา) หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (สังขาร)”

ตัวอย่าง นาย ก. ได้ยินเสียระฆังกังวาน (หู + เสียง+ วิญญาณทางหู) รู้สึกสบายหูสบายใจ (เวทนา) หมายรู้ว่าเป็นเสียงไพเราะ ว่าเป็นเสียงระฆัง ว่าเป็นระฆังอันไพเราะ (สัญญา) ชอบใจเสียงนั้น อย่างฟังเสียงนั้นอีก คิดจะไปตีระฆังนั้น อยากได้ระฆังนั้น คิดจะไปซื้อระฆังอย่างนั้น คิดจะลักระฆังใบนั้น ฯลฯ (สังขาร)

พึงสังเกตว่า ในกระบวนธรรมนั้น เวทนามีบทบาทสำคัญมาก อารมณ์ใดให้สุขเวทนา สัญญาก็มักกำหนดหมายอารมณ์นั้น ยิ่งให้สุขเวทนามาก ก็จะกำหนดหมายมาก และเป็นแรงผลักดันให้คิดปรุงแต่งทำการต่างๆเพื่อให้ได้เสวยสุขเวทนานั้นมากขึ้น ความเป็นไปอย่างนี้ เรียกได้ว่า เป็นกระบวนธรรมง่ายๆพื้นๆเบื้องต้นเป็นแบบสามัญหรือแบบพื้นฐาน

ในกระบวนธรรมนี้

เวทนาเป็นตัวล่อและชักจูงใจ เหมือนผู้คอยเสนอให้เอาหรือไม่เอาหรือหลีกเลี่ยงอะไร

สัญญาเหมือนผู้สะสมเก็บข้อมูลหรือวัตถุดิบ

สังขารเหมือนผู้นำเอาข้อมูลหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ปรุงแปรตระเตรียมทำการ

วิญญาณเหมือนเจ้าของงาน ใครจะทำอะไรคอยรับรู้ไปหมด เป็นทั้งผู้เปิดโอกาสให้มีการทำงานและเป็นผู้รับผลของการทำงาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2012, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ในกระบวนธรรมนี้ มีความซับซ้อนอยู่ในตัว มิใช่ว่า เวทนาจะเป็นตัวชักจูงผลักดันขันธ์อื่นฝ่ายเดียว ขันธ์อื่นก็เป็นปัจจัยแก่เวทนา เช่น เสียงดนตรี เสียงเพลงเดียวกัน คนหนึ่งได้ยินแล้ว สุขสบายชื่นใจ

อีกคนหนึ่ง รู้สึกบีบคั้นใจเป็นทุกข์ หรือคนเดียวกันนั่นแหละ สมัยหนึ่งได้ยินแล้วเป็นสุข ล่วงไปอีกสมัยหนึ่งได้ยินแล้วเป็นทุกข์ หลักทั่วไป คือ ของที่ชอบ ที่ต้องการ ตรงกับความปรารถนา เมื่อได้ประสบก็เป็นสุข ของไม่ชอบ ขัดความปรารถนา เมื่อได้ประสบก็เป็นทุกข์ ในกรณีเช่นนี้ สังขาร คือ ความชอบ ไม่ชอบ ปรารถนา เกลียดกลัวเป็นต้น เป็นตัวปรุงแต่งเวทนาอีกต่อหนึ่ง แต่ที่กล่าวอย่างนี้ ความจริงมีสัญญาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในตัว คือ สังขารปรุงแต่งสัญญาไว้ แล้วกลับมามีอิทธิพลต่อเวทนา

ตัวอย่างที่อาจจะชัดกว่า เช่น เคยเห็นคนที่รักที่นิยมชมชอบทำอากัปกิริยาบางอย่าง ก็กำหนดหมายเอาไว้ว่าอย่างนี้สวย น่ารัก เห็นกิริยาอาการบางอย่างของบางคนแล้วไม่ชอบ กำหนดหมายไว้ว่าอย่างนี้ น่าหมั่นไส้ (สัญญา) ต่อมาเห็นกิริยาอย่างที่นิยมหมายไว้ว่า สวย น่ารัก หรืออย่างที่หมายไว้ว่าน่าชัง น่าหมั่นไส้ ก็สบายตาขึ้นใจ หรือเดือดร้อนตาบีบคั้นใจ (เวทนา) แล้วชอบหรือโกรธ (สังขาร) ไปตามนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2012, 04:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่างๆ
ขันธ์ทั้ง ๕ อาศัยซึ่งกันและกัน รูปขันธ์เป็นส่วนกาย นามขันธ์ทั้ง ๔ เป็นส่วนใจ มีทั้งกายและใจ จึงจะเป็นชีวิต

ก่อนอื่นเราต้องรู้จุดประสงค์สุดท้ายที่เรามาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
การไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด หรือการไม่ต้องมีชีวิตซ้ำแล้วซ้ำอีก นี่แหล่ะคือผลที่เราต้องการ

สิ่งที่พระพุทธองค์กำลังชี้ให้พวกเราเห็น ก็คืออะไรเป็นสาเหตุ ให้เกิดชีวิต อะไรเป็นเหตุให้เกิด
วัฏสงสาร
พระองค์กำลังบอกว่า ชีวิตที่มีอยู่นี้เกิดจากเราไปยึดเอาขันธ์ให้เป็นตัวเป็นตน

ชันธ์ห้าไม่ได้อาศัยกันและกัน การเกิดขึ้นของขันธ์มันมีสาเหตุมาจากสังขาร
แท้จริงแล้ว ชีวิตเป็นแค่รูปกับนาม แต่ที่เกิดเป็นขันธ์ห้าก็เพราะ นามไปปรุงแต่งรูป
จนเกิดเป็นขันธ์ห้าขึ้น

ดังนั้นการเกิดของขันธ์มีเหตุปัจจัยมาจากการปรุงแต่ง มันไม่มีอยู่จริง
พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นความไม่มีมีอยู่ของขันธ์ห้า ก็ด้วยกฎแห่งไตรลักษณ์
กรัชกาย เขียน:
กายกับใจทำหน้าที่เป็นปกติและประสานสอดคล้องกัน ชีวิตจึงจะดำรงอยู่ได้ด้วยดี ตัวอย่าง เช่น กิจกรรมของจิตใจ ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับโลก ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งต้องกาย ผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น และกาย

อารมณ์ทั้ง ๕ ก็ดี ตา หู จมูก ลิ้น และกายก็ดี ต่างก็เป็นรูปธรรมอยู่ในรูปขันธ์ คือ เป็นฝ่ายกาย

เละแล้วกรัชกาย เอาเรื่องโลกียะมาผสมปนมั่ว เรื่องที่กรัชกายกำลังพูดมันเป็นเรื่อง
ที่เอาไว้สอนเณรเด็กๆ ที่ไม่ได้มีโอกาสเรียนหนังสือแบบปกติ ยิ่งพูดยิ่งนอกเรื่อง
กรัชกาย เขียน:
...จิตใจเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมของชีวิต มีความกว้างขวาง ซับซ้อนและลึกซึ้งมาก เป็นที่ให้คุณค่าและความหมายแก่ชีวิต

ใครว่าครับว่าจิตเป็นศูนย์กลางของชีวิต แล้วใครว่าจิตลึกลับซับซ้อน
การที่บุคคลเห็นจิตลึกลับซับซ้อนเป็นเพราะ อวิชา
ถ้าว่าโดยชีวิต จิตใจเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันกับรูปหรือกาย
ต่างพึ่งพากันเพื่อให้ชีวิตดำรงค์อยู่
ส่วนความลึกลับซับซ้อนของชีวิต มันเกิดจากสมองที่เป็นส่วนของรูป
สมองสามารถจินตนาการให้เกิดเรื่องราวปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ

คุณค่าของชีวิตที่กรัชกายหมายถึงมันเป็นเรื่องทางโลก กรัชกายกำลังเละเทะ
หลงวนเวียนอยู่ในสะดือทะเล
กรัชกาย เขียน:
นามขันธ์ ๔ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและส่งอิทธิพลเป็นปัจจัยแก่กัน การเกิดขึ้นของนามขันธ์ทั้ง ๔ เหล่านั้น ตามปกติจะดำเนินไปตามกระบวนธรรมดังนี้

นามขันธ์มันเกิดตามเหตุปัจจัย และเหตุที่เกิดไม่ใช่ความสัมพันธ์และอิทธิพล
ตัวอิทธิพลที่ทำให้เกิดขันธ์ มันก็คือสังขาร ถ้าไม่มีสังขารก็ไม่มีเหตุให้เกิดขันธ์ห้า
กรัชกาย เขียน:
“เพราะผัสสะ (ตา หู ฯลฯ + รูป เสียง ฯลฯ วิญญาณ) เป็นปัจจัย การเสวยอารมณ์ (เวทนา) จึงมี บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (สัญญา) หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (สังขาร)”

ตัวอย่าง นาย ก. ได้ยินเสียระฆังกังวาน (หู + เสียง+ วิญญาณทางหู) รู้สึกสบายหูสบายใจ (เวทนา) หมายรู้ว่าเป็นเสียงไพเราะ ว่าเป็นเสียงระฆัง ว่าเป็นระฆังอันไพเราะ (สัญญา) ชอบใจเสียงนั้น อย่างฟังเสียงนั้นอีก คิดจะไปตีระฆังนั้น อยากได้ระฆังนั้น คิดจะไปซื้อระฆังอย่างนั้น คิดจะลักระฆังใบนั้น ฯลฯ (สังขาร)

ที่กรัชกายพูด เป็นการพูดไปเรื่อย โดยที่เจ้าตัวก็ไม้รู้ว่า จุดประสงค์หรือบทสรุปมันอยู่ตรงไหน
ผมจะบอกให้สิ่งที่กรัชกายพูดว่ากันตามหลักอริยสัจจ์สี่ มันเป็นเหตุแห่งทุกข์

รายละเอียดต่างๆที่กรัชกายพูด พระพุทธองค์ให้รู้แล้วละเสีย
นั้นก็คือรู้เหตุนั้นก็คือสังขาร รู้ว่าสังขารทำให้เกิดอะไร ที่เรียกว่าการยึดมั่น
เป็นเพราะอะไรจึงเกิดการยึดมั่น

สรุปก็คือท่านให้รู้แล้วอย่าทำ รู้แล้วละมันเสียด้วยมรรคมีองค์แปด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2012, 04:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พึงสังเกตว่า ในกระบวนธรรมนั้น เวทนามีบทบาทสำคัญมาก อารมณ์ใดให้สุขเวทนา สัญญาก็มักกำหนดหมายอารมณ์นั้น ยิ่งให้สุขเวทนามาก ก็จะกำหนดหมายมาก และเป็นแรงผลักดันให้คิดปรุงแต่งทำการต่างๆเพื่อให้ได้เสวยสุขเวทนานั้นมากขึ้น ความเป็นไปอย่างนี้ เรียกได้ว่า เป็นกระบวนธรรมง่ายๆพื้นๆเบื้องต้นเป็นแบบสามัญหรือแบบพื้นฐาน

ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่เวทนา ความสำคัญมันอยู่ที่การรู้รูปรู้นาม
การรู้รูปรู้นามเพียงแค่นี้ก็เป็นการรู้ที่แท้จริงปราศจากการปรุงแต่ง

เวทนามันเกิดจากการปรุงแต่งผัสสะ ตามความจริงแล้ว
พระพุทธองค์ทรงสอนว่า มีสิ่งใดมากระทบกายก็แค่รู้ว่าเกิดการกระทบขึ้นแล้วให้จบ
อยู่ตรงที่ผัสสะการกระทบ อย่าให้นามปรุงแต่งจนเกิดเวทนาขึ้น


อนึ่งจะบอกให้ว่า เวทนาทางกายไม่ได้หมายถึงเวทนาขันธ์
เวทนาทางกาย มันเป็นผัสสะอย่างหนึ่ง

กรัชกาย เขียน:
ในกระบวนธรรมนี้

เวทนาเป็นตัวล่อและชักจูงใจ เหมือนผู้คอยเสนอให้เอาหรือไม่เอาหรือหลีกเลี่ยงอะไร

สัญญาเหมือนผู้สะสมเก็บข้อมูลหรือวัตถุดิบ

สังขารเหมือนผู้นำเอาข้อมูลหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ปรุงแปรตระเตรียมทำการ

วิญญาณเหมือนเจ้าของงาน ใครจะทำอะไรคอยรับรู้ไปหมด เป็นทั้งผู้เปิดโอกาสให้มีการทำงานและเป็นผู้รับผลของการทำงาน

นี่ก็มั่ว ไอ้ที่คุณเรียก เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ มันเป็นขันธ์
มันเป็นผลหรือบทสรุปในการกระทำของรูปกับนาม ตัวอย่าง เช่นเกิดการกระทบทางกาย
ส่วนที่รับรู้คือประสาทกาย เมื่อรู้แล้วเกิดการปรุงแต่งมันจะเป็นสภาวะนามที่เรียกว่าวิญญาณขันธ์
ถ้ารู้ผัสสะเฉยๆ เรียกวิญาณหรือจิตผู้รู้ แต่ถ้ารู้แล้วปรุงแต่งจิตรู้จะกลายเป็นขันธ์ และขันธ์ตัวนี้
จะกลายเป็นเวทนาทางใจ

ธรรมะวันละคำ วันนี้เสนอ...
อริยสัจจ์สี่ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2012, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




untitled.bmp
untitled.bmp [ 71.42 KiB | เปิดดู 5083 ครั้ง ]
มองธรรมะให้ถึงแก่น

มองดูมนุษย์ มองให้ถึงความจริงว่า มนุษย์ก็เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง โดยตัวเขาเองเป็นธรรมชาติ ใจก็เป็นธรรมชาติ กายของเขาก็เป็นธรรมชาติ :b1:


(นั่นก็ขัน) :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2012, 01:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านแล้วคือยกธรรมขึ้นสู่ สมุทัย ใช่ไหมครับ คือเข้าไปเห็นเหตุเกิดของทุกข์ ใน อริยสัจ4

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2012, 03:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
อ่านแล้วคือยกธรรมขึ้นสู่ สมุทัย ใช่ไหมครับ คือเข้าไปเห็นเหตุเกิดของทุกข์ ใน อริยสัจ4

การเวียนว่ายตายเกิดหรือการมีชีวิตหลายครั้ง พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า...เป็นทุกข์
การหลงว่าขันธ์ห้าคือชีวิต แท้จริงมันเป็นการปรุงแต่ง
เพราะขันธ์ห้าเป็นเพียงสังขารที่ไปปรุงแต่งรูปนาม
ดังนั้นขันธ์ห้าไม่มีอยู่จริง สิ่งที่มีอยู่จริงคือ รูปกับนาม

การมองเห็นรูปนามตามความเป็นจริง นั้นคือเห็นปฏิจสมุบาท

การมองเห็นขันธ์ห้าเป็นเพียงสังขารการปรุงแต่งของรูปนามนั้นคือ เห็น...ไตรลักษณ์

รูปนามเป็นทุกข์..ขันธฺห้าเป็นเหตุแห่งทุกข์..ไตรลักษณ์เป็นมรรค..การดับของขันธ์ห้าเป็นนิโรธ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2012, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:25
โพสต์: 59

แนวปฏิบัติ: รักษาศีลให้แน่นหนามั่นคง
ชื่อเล่น: Soduku
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: เรื่องขันธ์ห้าและกฏไตรลักษณ์เป็นหลักธรรมที่ลึกซึ้ง ต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาพอสมควรจึงจะเข้าใจ

ขอเสริม "วิธีพัฒนาปัญญา" เพื่อความเข้าใจไตรลักษณ์ของขันธ์ห้า เพิ่มเติม ที่ลิงค์นี้ของท่านหลวงพ่อปราโมช
http://www.youtube.com/watch?v=Ilj-2CWIwvk&feature=autoplay&list=PL443471BBCF013E8C&playnext=1


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2012, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณSoduku

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2012, 21:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


ขันธ์ทั้ง5 จะเป็นอะไรตามความรู้ความเห็นของใครนั้น ปัจจัยหลักมันก็ขึ้นอยู่ที่ตัวผู้รู้แต่ละท่านใช้หลักธรรมข้อไหนหรือพุทธพจน์อันไหนมาเป็นบาทในการกำหนดพิจารณานั่นเอง แต่ในเมืองไทยเรานี้ส่วนใหญ่ครูบาอาจารย์ท่านมักยึดเอา ธรรมข้อปฏิจจสมุปบาท อริยสัจสี่ อนัตตลักขณสูตร เป็นหลักในการอธิบายอบรมสั่งสอนครับ....
พี่โฮฮับถามว่า อุปทานขันธ์คืออะไร ตอบว่าคือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ก็ได้ หรือคือขันธ์ทั้ง5(ทุกขสัจ)ที่เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ที่อุปทานทั้งหลายเข้าไปยึดมั่นถือมั่นก็ได้ครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2012, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
การเวียนว่ายตายเกิดหรือการมีชีวิตหลายครั้ง พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า...เป็นทุกข์
การหลงว่าขันธ์ห้าคือชีวิต แท้จริงมันเป็นการปรุงแต่ง
เพราะขันธ์ห้าเป็นเพียงสังขารที่ไปปรุงแต่งรูปนาม
ดังนั้นขันธ์ห้าไม่มีอยู่จริง สิ่งที่มีอยู่จริงคือ รูปกับนาม

การมองเห็นรูปนามตามความเป็นจริง นั้นคือเห็นปฏิจสมุบาท

การมองเห็นขันธ์ห้าเป็นเพียงสังขารการปรุงแต่งของรูปนามนั้นคือ เห็น...ไตรลักษณ์

รูปนามเป็นทุกข์..ขันธฺห้าเป็นเหตุแห่งทุกข์..ไตรลักษณ์เป็นมรรค..การดับของขันธ์ห้าเป็นนิโรธ


:b6: :b19: :b9: :b32: :b13: :b13: :b13: :b13: :b13: :b13: :b13:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร