วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 21:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2012, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ธรรมเพื่อความสวัสดี
พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


พระคติธรรม

อันธรรมที่พระพุทธองค์ทรงประกาศมีมากมายพ้นประมาณและทั้งหมดเป็นเครื่องดับทุกข์ได้จริง ตั้งแต่ทุกข์เล็กน้อย จนถึงทุกข์ใหญ่ยิ่ง ดับได้บ้างชั่วครั้งชั่วคราว ได้มีความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง จนถึงดับทุกข์ได้ตลอดสายสิ้นเชิงตลอดไปนิรันดร

ความสำคัญอยู่ที่ต้องรับปฏิบัติตามที่ทรงสอน ปฏิบัติได้จริงเพียงไร ก็จะได้รับผลจริงเพียงนั้น พระพุทธศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งจริงแท้ สำหรับผู้ปรารถนาดับทุกข์และพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง และพระพุทธศาสนามุ่งจิตใจเป็นสำคัญ มุ่งให้รักษาจิตใจให้ผ่องใส

หัวใจพระพุทธศาสนา ๓ ประการมีดังนี้

๑. ความไม่ทำชั่วทั้งหมด
๒. ความทำดีให้ถึงพร้อม
๓. ความรักษาใจให้ผ่องใส

ความไม่ทำชั่วทั้งปวงและความทำดีทั้งหหมด นั้นคือทางสะดวกไปสู่การปฏิบัติรักษาใจให้ผ่องใส

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


คำนำ

พระพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนให้ทุกคนมีศีลและมีจิตใจงาม เพราะผู้มีศีลและจิตใจงาม จะมีความสุขและอยู่ด้วยกันเป็นสุขจริงๆ ทุกๆ คนต้องการสุขด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครผู้ใดเลยปฏิเสธ แต่ทำไมไม่เดินทางของความสุข ไปเดินในทางของความทุกข์แล้วร่ำร้องว่าตนเองไม่มีความสุข

ความที่เป็นเช่นนี้กล่าวได้ว่า เพราะใจของคนยังมืดมิด จึงเดินเข้าไปหากองไฟด้วยอาการที่ร่าเริง เบิกบาน เหมือนแมลงเม่าบินเข้าหากองไฟ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมซึ่งเปรียบดังดวงประทีป ส่องให้เห็นทางที่ถูกต้อง

สำหรับผู้ที่มีจักษุ จักได้มองเห็นและเดินถูกทาง ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้ มีประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติในการดำเนินชีวิตทุกอย่าง ฉะนั้นผู้ที่เข้าใจพระพุทธศาสนาดี ย่อมปฏิบัติธรรมได้อย่างเหมาะสม

“ธรรมเพื่อความสวัสดี” พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เล่มนี้ พระองค์ท่านเมตตาอนุญาติให้ธรรมสภาจัดพิมพ์ โดยรวบรวมและจัดหมวดหมู่จาก พระนิพนธ์ “แสงส่องใจ” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักและสรรเสริญว่า “อ่านง่ายและเข้าใจได้ดี”

พระองค์ท่านได้ทรงนิพนธ์ต่อเนื่องกัน มอบให้เป็นธรรมทานให้กับผู้เข้าเฝ้าตามโอกาสต่างๆ กัน การจัดพิมพ์หนังสือชุด “พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” ครั้งนี้ ธรรมสภาได้แยกหมวดหมู่จัดพิมพ์เป็น ๕ เล่ม ดังนี้

๑. พระนิพนธ์ เรื่อง ธรรมเพื่อความสวัสดี
๒. พระนิพนธ์ เรื่อง ตนอันเป็นที่รักยิ่งของตน
๓. พระนิพนธ์ เรื่อง ทุกชีวิตมีเวลาอันจำกัด
๔. พระนิพนธ์ เรื่อง อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม
๕. พระนิพนธ์ เรื่อง รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก


หนังสือชุดนี้ ธรรมสภาจัดพิมพ์ถวายแด่พระองค์ท่าน จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม และเพื่อเผยแพร่แก่ท่านสาธุชน ผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย สำหรับพระภิกษุ สามเณร ห้องสมุดหรือวัดทั่วไป ธรรมสภาขอปวารณายินดีถวายเป็นธรรมทานด้วยความยินดี

บุญกุศลอันเกิดจากการจัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ ขอน้อมถวายแด่ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ในวโรกาสมหามงคลเจริญพระชนมายุ ๘๖ พรรษา ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย โปรดอภิบาลรักษาพระองค์ท่านให้มีพระชนทายุยืนนานและสถิตเป็นตราประทีปแห่งคุณธรรม ส่องสว่างในดวงจิตของเหล่าพุทธศาสนิกชนสืบไปชั่วกาลนาน

ด้วยความสุจริต หวังดี
ธรรมสภาปรารถนาให้โลกพบกับความสงบสุข


สารบัญ

๑. ธรรมเพื่อความสวัสดีแห่งชีวิต
๒. ความกตัญญูกตเวที
๓. ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลก
๔. ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู
๕. พึงหลีกเลี่ยงกรรมชั่ว
๖. ความผูกโกรธดั่งไฟสุมขอน
๗. เห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้
๘. จงเอาชนะความรู้สึกแข่งดี
๙. พุทธวิธีแก้ความหวาดกลัว
๑๐. ตนที่ฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นที่พึงได้ดี


๑. ธรรมเพื่อความสวัสดีแห่งชีวิต

กตัญญูกตเวที...ความรู้คุณที่ท่านทำแล้วแก่ตน และตอบแทนพระคุณนั้น พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่าเป็นธรรมของคนดี คือคนดีมีธรรมนี้ หรือธรรมนี้ทำให้คนเป็นคนดี คือคนใดมีธรรมคือความกตัญญูกตเวที คนนั้นคือคนดีนั่นเอง ในด้านตรงกันข้าม คนใดไม่มีความกตัญญูกตเวที คนนั้นไม่ใช่คนดี

เชิญสำรวจตัวเองให้ทุกคน ให้เห็นใจตนอย่างชัดเจนตรงตามความจริง ว่ามีความกตัญญูกตเวทีหรือไม่ แล้วก็จะรู้จักตนเองว่าเป็นคนดีหรือไม่ ไม่มีความกตัญญูกตเวทีไม่เป็นคนดีจริงๆ อย่าสงสัย แต่จงเร่งอบรมใจตนเอง ให้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรมให้จงได้ อย่าให้ผ่านชีวิตนี้ไปสู่ชีวิตหน้าที่ยาวนาน โดยไม่ถือโอกาสสร้างชีวิตในภพชาติข้างหน้าให้สวยสดงดงามอย่างยิ่ง

+กตัญญูกตเวทิตา : ธรรมที่สร้างคนให้เป็นคนดี

กตัญญูกตเวที...ความรู้คุณที่ท่านทำแล้วแก่ตน และตอบแทนพระคุณนั้น พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่าเป็นธรรมของคนดี คือคนดีมีธรรมนี้ หรือธรรมนี้ทำให้คนเป็นคนดี คือคนใดมีธรรมคือความกตัญญูกตเวที คนนั้นคือคนดีนั่นเอง ในด้านตรงกันข้าม คนใดไม่มีความกตัญญูกตเวที คนนั้นไม่ใช่คนดี

เชิญสำรวจตัวเองให้ทุกคน ให้เห็นใจตนอย่างชัดเจนตรงตามความจริง ว่ามีความกตัญญูกตเวทีหรือไม่ แล้วก็จะรู้จักตนเองว่าเป็นคนดีหรือไม่ ไม่มีความกตัญญูกตเวทีไม่เป็นคนดีจริงๆ อย่าสงสัย แต่จงเร่งอบรมใจตนเอง ให้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรมให้จงได้ อย่าให้ผ่านชีวิตนี้ไปสู่ชีวิตหน้าที่ยาวนาน โดยไม่ถือโอกาสสร้างชีวิตในภพชาติข้างหน้าให้สวยสดงดงามอย่างยิ่ง

+กตัญญูกตเวทิตา : ธรรมที่สร้างคนให้เป็นคนดี

กตัญญูกตเวทิตาธรรม เป็นธรรมเครื่องสร้างคนให้เป็นคนดีจริงๆ เพราะความรู้คุณท่านผู้มีคุณ และความตั้งใจจะตอบแทนพระคุณ คือเครื่องป้องกัน ที่สำคัญที่สุดก็จะกันให้พ้นจากการทำผิดคิดร้ายได้ทั้งหมด โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความไม่ปรารถนาจะทำให้ผู้มีพระคุณเป็นทุกข์เดือดร้อนกายใจ

+ผู้ใดมีกตัญญูกตเวทีอย่างจริงใจ เป็นเหตุให้ผู้นั้นเป็นคนคิดดี พูดดี ทำดี

ทุกคนมีผู้มีพระคุณของตน อย่างน้อยก็มารดาบิดา ครูอาจารย์ เพียงมีกตัญญูรู้คุณท่านเท่าที่กล่าวนี้ ก็เพียงพอจะคุ้มครองตนให้พ้นจากความไม่ดีทั้งปวงได้ ขอให้เป็นเพียงความกตัญญูกตเวทีจริงใจเท่านั้น อย่าให้เป็นเพียงนึกว่าตนเป็นคนกตัญญู ความจริงกับความนึกเอาแตกต่างกันมาก ผลที่จะได้รับจึงแตกต่างมากด้วย

ผู้มีกตัญญูกตเวทีนั้น จะรู้จักบุญคุณของผู้มีบุญคุณทั้งหมด จะตอบสนองทุกคนเต็มสติปัญญาความสามารถควรแก่ผู้รับ และนี่เองที่จะเป็นเหตุให้คิดดี พูดดี ทำดี เพราะเกรงว่าการคิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี จะมีส่วนทำให้ผู้มีบุญคุณเดือดร้อน เช่นบิดามารดาเป็นผู้มีพระคุณ ลูกกตัญญูจะประพฤติตัวเป็นคนดี จะไม่เป็นคนเลวเพราะเกรงว่ามารดาบิดาจะเสื่อมเสีย นี่เท่ากับคุ้มครองตนเองได้แล้วด้วยความกตัญญูกตเวที

+คนดีคนเดียว ให้ความร่มเย็นเป็นสุขได้กว้างไกล

พระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณใหญ่ยิ่งที่สุด ทรงมีพระคุณต่อโลก ต่อศาสนิกชนของโลก
พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ทำให้ศาสนิกเป็นคนดีมีธรรมะนั้น มิได้เป็นคุณเฉพาะพุทธศาสนิกเท่านั้น แต่เป็นคุณไปทั่วถึง

คนดีคนเดียวให้ความร่มเย็นเป็นสุขได้กว้างไกล เช่นเดียวกับคนไม่ดีคนเดียว ให้ความทุกข์ร้อนได้มากมาย

พระพุทธศาสนาสร้างพุทธศาสนิกชนที่ดี ก็เท่ากับพระพุทธศาสนาสร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่โลกด้วยเหมือนกัน พึงมีกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้า คิดดี พูดดี ทำดี ให้เป็นไปดังที่ทรงแสดงสอนไว้ จะหนีกรรมเก่าได้ทัน และจะสร้างชีวิตในชาติใหม่ในภายหน้า ให้วิจิตรงดงามเพียงใดก็ได้

+ชีวิตที่สวัสดีมีสุขสงบได้

พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่ได้หายไปไหน พระพุทธบารมียังปกปักรักษาโลกอยู่ คนในโลกยังรับพระพุทธบารมีได้ มิได้แตกต่างไปจากเมื่อยังทรงดำรงพระชนม์อยู่เพียงแต่ว่าจำเป็นต้องเปิดใจออกรับ มิฉะนั้นก็จะรับไม่ได้

การเปิดใจไว้รับพระพุทธบารมีไว้คุ้มครองรักษาตนไม่ยากลำบาก ไม่เหมือนการเข็นก้อนหินใหญ่ที่ปิดปากถ้ำ เพียงน้อมใจนึกถึงพระพุทธเจ้าให้จริงจังอยู่เสมอ ก็จะรับพระพุทธบารมีได้จะมีชีวิตที่สวัสดีมีสุขสงบได้ พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงเวียนไหว้ตายเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป

แต่พระพุทธบารมียังพรั่งพร้อม พระอาจารย์สำคัญองค์หนึ่งท่านเล่าไว้ว่า เมื่อท่านปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นอยู่ในป่าดงพงพีนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงสอนท่านด้วยพระพุทธบารมีเสมอ และท่านพระอาจารย์องค์นั้น ต่อมาก็เป็นที่ศรัทธาเคารพของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ที่เชื่อมั่นว่าท่านปฏิบัติถึงจุดหมายปลายทางแล้ว

+พระพุทธบารมีของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ด้วยพระพุทธบางมี ได้เสด็จไปทรงแสดงธรรมโปรดพระอาจารย์องค์สำคัญให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ ไม่มีอะไรให้สงสัยว่าเป็นสิ่งสุดวิสัยเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ มีเรื่องของท่านพระโมคคัลลาน์เป็นเครื่องยืนยันรับรอง คือเมื่อปฏิบัติธรรมถึงจุดปรารถนาสูงสุดแล้ว

ท่านถูกโจรเจ้ากรรมในอดีต พยายามหาทางทำลายชีวิตท่านท่านพยายามใช้อิทธิฤทธิ์หลบหนี แต่โจรก็ติดตามไม่หยุดยั้งจนท่านเบื่อหน่ายที่จะหนีต่อไปจึงยอมให้โจรจับได้ และทุบท่านจนร่างแหลกเหลว นิพพานในที่สุด

เมื่อนิพพานแล้ว ท่านได้รวมร่างเข้าอีกครั้งหนึ่ง เหาะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบแล้วกราบทูลลา เรื่องของท่านพระโมคคัลลาน์เป็นเครื่องให้ความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ่มชัดว่า พระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตเจ้าก็ดี แม้ดับขันปรินิพพานแล้ว ท่านก็เพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น บารมีและคุณธรรมทั้งปวงของท่าน ยังพรั่งพร้อมเป็นประโยชน์ได้อย่างยิ่ง

+ผู้มีสัมมาปัญญา ควรเร่งปฏิบัติพระพุทธศาสนา

เมื่อมั่นใจในความดำรงอยู่อย่างยั่งยืนนิรันดร แห่งพระพุทธบารมี หรือคุณธรรมของพระพุทธองค์ และของครูอาจารย์สำคัญทั้งหลาย ที่ท่านไกลแล้วจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง พุทธศาสนิกทั้งหลาย ผู้มีสัมมาปัญญา สัมมาทิฐิ ก็ควรเร่งปฏิบัติพระพุทธศาสนา ให้ได้เป็นคนดีตามลำดับไป

ให้เป็นที่ปรากฏประจักษ์ในพระญาณหยั่งรู้ของพระพุทธองค์ เท่ากับเปิดประตูใจออกอย่างกว้างขวางรับพระพุทธบารมี ให้พระพุทธบารมีเสริมส่งบารมีของตน จนกว่าตนเองจะสามารถเป็นผู้มีบารมี มีคุณธรรมดำรงยั่งยืนอยู่ได้เช่นท่านผู้เป็นพุทธอริยสาวกทั้งหลาย

วันนั้นมาถึงผู้ใดเมื่อไร วันนั้นผู้นั้นก็จะไม่ต้องกังวลที่จะใช้ชีวิตนี้ทำทางหนีมือแห่งกรรม และไม่ต้องกังวลสร้างชีวิตให้ชาติอนาคตให้สมบูรณ์บริบูรณ์สวยสดงดงามต่อไป

+การหาทางหนีมือแห่งกรรม สำคัญยิ่งนักสำหรับชีวิตในชาติปัจจุบันนี้

แทบทุกคนเคยเป็นมาแล้ว ทั้งเทวดา เจ้าฟ้า พระมหากษัตริย์ ยาจก วณิพก เศรษฐี คหบดี ตลอดจนสัตว์ใหญ่สัตว์น้อย เคยตายมาแล้วด้วยอาการต่างๆ ตายอย่างเทวดา ตายอย่างเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ตายอย่างขอทานข้างถนน ตายอย่างสัตว์ ทั้งที่ตายเอง และทั้งที่ถูกฆ่าตาย

เคยมีทั้งสุข เคยมีทั้งทุกข์ เคยเป็นทั้งผู้ร้าย เคยเป็นทั้งผู้ดี น้ำตาเคยท่วมบ้านท่วมเมืองมาแล้ว กระดูกทับถมแผ่นดินนี้หาที่ว่างสักเท่าปลายเข็มจะปักลงก็ไม่พบ เปรียบกับชีวิตนี้เพียงชาติเดียว ชีวิตนี้จึงน้อยนัก จะห่วงใยแสวงหาอะไรอีกมาให้ชีวิตนี้ ที่จะสำคัญกว่าการห่วงหาทางหนีมือแห่งกรรม ที่ทำไว้มากมายในอดีตชาติ

+กรรมใดมากกว่า แรงกว่า สำคัญกว่า กรรมนั้นจะส่งผลมากกว่า เร็วกว่า มั่นคงกว่า

แทบทุกคนมีชาติในอนาคตที่ไกลออกไป พ้นความรู้เห็นของใครทั้งหลาย จะเกิดเป็นอะไรต่อมิอะไรก็ได้ทั้งสิ้น ตามอำนาจของกรรมที่ได้ทำไว้แล้ว ทั้งที่ทำในอดีตชาติและที่ทำในชาตินี้ สำคัญที่ว่าได้ทำกรรมใดมากกว่า แรงกว่า สำคัญกว่า กรรมนั้นก็จะส่งผลมากกว่า เร็วกว่า มั่นคงกว่า ถ้าเป็นกรรมดี ก็จะให้ความสุขความเจริญ มีบุญห้อมล้อมรักษา ถ้าเป็นกรรมชั่ว ก็จะให้ความทุกข์ความเสื่อมโทรม มีบาปห้อมล้อมรังควาน

+ชีวิตที่อยู่ใต้อำนาจกิเลส ไปสู่ทุคติแน่นอน

ชีวิตที่ตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ ความโกรธ ความหลง แสวงหาอำนาจวาสนาบารมี ทรัพย์สินเงินทอง อย่างไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ไม่คำนึงถึงศีลธรรมใดๆ ชื่นชมสมใจแล้วมิใช่ว่าจะยั่งยืน จะชื่นชมสมปรารถนาไปได้อย่างมากก็ชั่วอายุร้อยปีแล้วก็หมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ทิ้งชื่อเสียงที่เน่าเหม็นไว้ให้คนโจษขาน พาแต่จิตดวงเดียวร่อนเร่ไป ทำกรรมไม่ดีไว้ ทำกรรมไม่ดีไว้ ก็จะไปพร้อมกับจิตที่ห่อหุ้มด้วยความไม่ดี ไปสู่ทุคติ ภพภูมิที่ไม่ดี ภพภูมิที่มีแต่ความทุกข์

จิตดวงเดียวที่ปราศจากอำนาจวาสนาบารมี ทรัพย์สินเงินทองที่เมื่อชีวิตในชาตินี้กอบโกยไว้ด้วยอำนาจกิเลส จักท่องเที่ยวทุกข์ร้อนไปนานหนักหนา นับกาลเวลาหาได้ไม่ นับภพชาติหาถูกไม่ ในทุคติ

+ชีวิตที่มั่นคงอยู่ในความดี สุคติเป็นอันหวังได้

ชีวิตนี้ที่ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ ความโกรธ ความหลง มั่นคงอยู่ในความดีมีศีลธรรม จะร่มเย็นเป็นสุขชั่วกาลนาน ความสุขที่จักไม่สิ้นสุดลงพร้อมกับชีวิตนี้ที่น้อยนัก ที่มีเวลาเพียงร้อยปีเท่านั้นโดยประมาณ

จิตดวงเดียวที่พรั่งพร้อมด้วยบุญกุศล จักท่องเที่ยวเบิกบานไปนานหนักหนา นับกาลเวลาหาได้ไม่ นับภพชาติหาถูกไม่ในสุคติจนกว่าจะถึงที่สุดแห่งทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปอันเป็นจุดสูงสุดในพระพุทธศาสนา ที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงนำไปแล้ว และทรงแสดงแจ้งทางไว้ให้แล้วอย่างละเอียดถี่ถ้วน ด้วยพระมหากรุณาที่เปรียบมิได้

พุทธสาวกทั้งหลาย ได้ตามเสด็จไปถึงจุดหมายอันเป็นบรมสุขนั้นแล้วมากมี ทั้งในสมัยพุทธกาล และในปัจจุบันนี้ ทั้งยังจะสืบต่อไปในอนาคตกาลนานไกล ตราบที่ยังมีผู้ใส่ใจปฏิบัติธรรมคำสอนของพระพุทธองค์อยู่

+เครื่องคุ้มครองชีวิตให้สวัสดี

ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นทางแยก จะไปสูง ไปต่ำ จะไปดี ไปร้าย เลือกได้ในชีวิตนี้เท่านั้น พึงสำนึกในข้อนี้ให้จงดี แล้วจงเลือกเถิด เลือกให้ดีเถิด ชีวิตนี้จักสวัสดี และชีวิตข้างหน้าก็จักสวัสดีได้ ถ้ามือแห่งกรรมร้ายไม่เอื้อมมาเสียก่อน

มือแห่งกรรมร้ายใดๆ ก็จะเอื้อมมาถึงไม่ได้ ถ้าชีวิตนี้วิ่งหนีได้เร็วกว่า และการจะวิ่งหนีให้เร็วกว่ามือแห่งกรรมนั้น จะต้องอาศัยกำลังบุญกุศลคุณงามความดีเป็นอันมาก และสม่ำเสมอ กำลังความสามารถในการวิ่งหนีมือแห่งกรรมชั่วกรรมร้าย คือการทำดีพร้อมทั้งกายวาจาใจ ทุกเวลา

ผู้มีสติระวังไม่ทำความไม่ดีทั้งกายวาจาใจได้ยิ่งกว่าผู้อื่น คือผู้มีกตัญญูกตเวที อันเป็นธรรมสำคัญที่จะทำคนให้เป็นคนดี มีความห่วงใยปรารถนาจะระวังรักษาผู้มีพระคุณ ไม่ให้ต้องเสียทั้งชื่อเสียง และไม่ต้องเสียทั้งน้ำใจ

ผู้มีกตัญญูกตเวที จึงเป็นผู้มีธรรมเครื่องคุ้มครองให้สวัสดี เครื่องคุ้มครองให้สวัสดีก็คือ คุ้มครองไม่ให้ทำความไม่ดี คุ้มครองให้ทำแต่ความดี ทั้งกาย วาจา ใจ ทุกเวลา

ชีวิตนี้น้อยนัก พึงใช้ชีวิตนี้อย่างผู้มีปัญญา ให้เป็นทางไปสู่ชีวิตหน้าที่ยืนนาน ให้เป็นสุคติที่ไม่มีกาลเวลาหาขอบเขตมิได้โดยยึดหลักสำคัญคือ ความกตัญญูกตเวที ต่อมารดา บิดา และต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้มั่นคงทุกลมหายใจเข้าออกเถิด

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2012, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๒. ความกตัญญูกตเวที

+ความกตัญญูกตเวที

การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้อย่างดี เป็นการแสดงกตัญญูกตเวทีประการหนึ่ง ต่อท่านผู้ทรงพระคุณต่อประเทศชาติ และเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทีต่อประเทศชาติของตนด้วย

+ความมีสัมมาคารวะ

ขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของไทย เป็นที่ยกย่องสรรเสริญของชนต่างชาติทั้งหลาย คือ ความีสัมมาคารวะ

สัมมา หมายถึง ที่ดี ที่ชอบ คารวะ หมายถึง เครพ สัมมาคารวะ หมายถึงให้ความเคารพคารวะที่ดีที่ชอบ คือที่งดงามเหมาะสมต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายทั้งปวง

นี่คือขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย ซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ควรได้รับการรักษาให้ดำรงอยู่ยั้งยืนตลอดไป ไม่ควรปล่อยให้ความใจง่าย เห็นกับความพอใจของแต่ละคน ทำลายขนบธรรมเนียมนี้

+ไม่มีใคร จะได้รับผลดีจากการแสดงสัมมาคารวะ นอกจากเจ้าตัวเองที่ได้กระทำเท่านั้น

อันการแสดงสัมมาคารวะนั้น แม้จะเหมือนเป็นการยกผู้ได้รับว่าสูงและผู้ให้ว่าต่ำ แต่ที่จริงมิได้เป็นเช่นนั้น ผู้แสดงสัมมาคารวะนั่นเอง เป็นผู้ประกาศความสูงของตนให้ปรากฏแก่ตาผู้รู้ทั้งหลาย ผู้ได้รับมีฐานะอย่างไรก็คงอยู่ในฐานะเดิม ไม่อาจสูงขึ้นได้เพราะสัมมาคารวะที่ได้รับ

การแสดงสัมมาคารวะก็เป็นกรรม จึงเข้ากฏของกรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ คือ ผู้ใดทำผู้นั้นย่อมได้รับ เมื่อสัมมาคารวะเป็นกรรม ผลดีจึงเกิดแก่ผู้ทำ แม้มีความรู้สึกไม่อยากแสดงสัมมาคารวะเมื่อใด ก็ควรนึกถึงความจริงนี้ ไม่มีใครไหนอื่นที่จะได้รับผลดีจากการแสดงสัมมาคารวะ นอกจากเจ้าตัวเองเท่านั้น

ในทางตรงกันข้าม ผู้แสดงความกร้าวร้าว หยาบคาย ไม่มีสัมมาคารวะ ก็ไม่มีใครไหนอื่นจะต้องกระทบกระเทือน นอกจากเจ้าตัวเท่านั้น อันคำว่าที่พึ่งนั้น เป็นที่เข้าใจกันว่า หมายถึงผู้ให้ความปกป้องอุปการะทุกประการ

จึงเป็นที่เข้าใจกันด้วยว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งของพุทธศาสนิก คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จะปกป้องอุปการะให้เป็นสุขสวัสดี

เพื่อให้ความเข้าใจนี้ไม่มีโอกาสผิดพลาด จึงควรศึกษาให้รู้ชัดว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ...ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึงนั้นหมายถึงว่า จะปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสั่งสอน การปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสั่งสอน จะเป็นเหตุให้ถึงความสุขสวัสดีได้แน่

ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ...ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่งนั้นหมายถึงว่า จะปฏิบัติตามพระธรรม ก็คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติตามพระธรรม ก็จะเป็นเหตุให้ถึงความสุขสวัสดีได้แน่

สังฆัง สรณัง คัจฉามิ...ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง นั้นหมายถึงว่า จพปฏิบัติตามพระอริยสงฆ์ท่านปฏิบัติ คือ ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ การปฏิบัติตามที่พระอริยสงฆ์ท่านปฏิบัติ จะเป็นเหตุให้ถึงความสุขสวัสดีได้แน่

สรณัง คัจฉามิ...หรือการถึงเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง มีความหมายเช่นนี้

+การกราบไหว้ผู้ทรงพระคุณ แม้ที่ล่วงลับแล้ว เป็นการแสดงความมีกตัญญูกตเวทีตาธรรม

การเคารพบูชากราบไหว้ท่านผู้เป็นมารดาบิดาบุพการีที่ล่วงลับแล้วทั้งหลาย หรือท่านผู้มีพระคุณทั้งหลายก็ตาม มิได้ถือเป็นการปฏิบัติแบบถึงเป็นที่พึ่ง มิได้เป็น สรณัง คุจฉามิ

เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นการผิดที่พุทธศาสนิกทั้งหลาย ผู้กล่าววาจาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งแล้ว จะแสดงความเคารพกราบไหว้ท่านผู้ทรงพระคุณ แม่ล่วงลับแล้วทั้งหลาย เพราะเป็นการแสดงความมีคุณธรรมสูงส่ง คือ กตัญญูกตเวทิตาธรรม

ปุถุชนผู้ไม่มีญาณหยั่งรู้หยั่งเห็นไปถึงภพภูมิอื่น พ้นไปจากภพภูมิของตนในปัจจุบัน ย่อมไม่อาจรู้ไดว่า ท่านผู้มีพระคุณทั้งหลายสถิตอยู่ ณ ภพภูมิใด ในฐานะใด

การแสดงความเคารพคารวะ โดยมุ่งแสดงความระลึกรู้ผู้มีพระคุณท่าน จึงไม่เป็นความผิดความงมงาย แตกต่างกับความกตัญญูกตเวที เหมือนสีดำแตกต่างกับสีขาว ผู้มีปัญญาเมื่อพิจารณารู้จักความงมงายและความกตัญญูกตเวที จึงปฏิบัติได้ถูกต้อง

+ผู้บริหารจิตทั้งหลาย พึงมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ทรงพระคุณ

อันความกตัญญูกตเวทีนั้น หาได้ยากในผู้มีจิตใจไม่ปราณีต เพราะความไมาปราณีตแห่งจิตใจ จะทำให้ไม่ตระหนักชัดในความกตัญญูกตเวที ทำให้เห็นไปว่า ความกตัญญูกตเวทีเป็นความงมงาย เป็นความเปล่าประโยชน์

ผู้มาบริหารจิตทั้งหลาย พึงพินิจให้รู้จักความกตัญญูกตเวทีให้ถูกต้อง พึงมีกตัญญูกตเวทีต่อผู้ทรงพระคุณ ไม่เพียงแต่เฉพาะท่านที่ยังดำรงชีวิตอยู่ แต่ต้องตลอดถึงท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว ไม่ว่าสถิตอยู่ ณ ภพภูมิใด ที่ไม่อาจตามไปรู้ไปเห็นด้วยความสามารถของตน

+ผู้มุ่งปฏิบัติธรรม เพื่อพ้นจากกิเลส ต้องหมั่นพิจารณาในการเลือกเฟ้นธรรม

ผู้มุ่งมาบริหารจิต มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นจากกิเลส ต้องพิจารณาใจตนในขณะอ่านหนังสือหรือฟัง เรียกว่าเป็นการเลือกเฟ้นธรรม ธรรมใดกระทบใจว่า ตรงกับที่ตนเป็นอยู่ พึงปฏิบัติน้อมนำธรรมนั้นเข้าสู่ใจตน เพื่อแก้ไขให้เรียกร้อย ที่ท่านกล่าวว่า “เห็นบัณฑิตใด ผู้มีปกติชี้ความผิดให้ ดุจผู้บอกขุมทรัพย์ให้ ซึ่งมีปกติกล่าวกำราบ มีปัญญา พึงคบบัณฑิตเช่นนั้น เมื่อคบท่านเช่นนั้น ย่อมประเสริฐ ไม่เลวเลย”

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2012, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๓. ศีลเท่านั้น เป็นเลิศในโลก

+ความชนะในมนุษย์และเทวดา ย่อมมีเพราะศีล

พุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้แปลความว่า “ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลก ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ความชนะในหมู่มนุษย์และเทวดา ย่อมมีเพราะศีลและปัญญา” หมายถึง ในบรรดาคุณทั้งปวงในโลก ศีลเป็นคุณวิเศษ แต่มิได้กล่าวว่าผู้มีศีลเป็นผู้สูงสุด หากกล่าวว่าผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด จึงเปรียบศีลเป็นรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรงที่สุด

+ศีลเป็นฐานที่เลิศของปัญญา

ปัญญาเป็นสิ่งที่ก่อตั้งขึ้นมาบนฐานคือศีล ศีลเป็นฐานที่เลิศของปัญญา ไม่มีฐานอื่นของปัญญาที่เลิศกว่าศีล ขณะเดียวกันก็ไม่มีอะไรอื่นที่ก่อตั้งบนฐานคือศีล ที่สูงยิ่งกว่าปัญญา ปัญญาเป็นยอด สูงสุดที่เกิดแต่ฐานคือศีล ของทุกอย่างต้องมีฐาน จึงจะมียอดตั้งอยู่ได้ ฐานมั่นคงแน่นหนาและมีความสูงเพียงใด ก็จะส่งยอดให้สูงส่งมั่นคงได้เพียงนั้น การก่อสร้างที่สำคัญทั้งหลาย ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่รากฐาน อาคารมากชั้นเพียงไร ฐานก็ยิ่งต้องมั่นคงแข็งแรงเพียงนั้น

นี้เป็นความสำคัญจริง ฐานมั่นคงแข็งแรงเพียงพอสำหรับอาคาร ๓ ชั้น ไปสร้างเป็น ๕ ชั้น ๗ ชั้น ย่อมเป็นไปด้วยดีไม่ได้ ข่าวการพังทลายของอาคารที่นั่นที่นี่ระหว่างการก่อสร้างบ้าง เมื่อการก่อสร้างสำเร็จแล้วบ้าง ล้วนมีเหตุมาแต่ความไม่มั่นคงแข็งแรงเพียงพอของฐานทั้งสิ้น

+สิ่งดีงามทั้งหลายทั้งปวง มีศีลเป็นฐาน

ศีลเป็นฐาน ปัญญาเป็นยอด ผู้มีศีลคือผู้มีฐานที่จะรองรับสิ่งดีงามทั้งหลายทั้งปวงได้ และในบรรดาสิ่งดีงามทั้งหลายทั้งปวงนั้นมีปัญญาเป็นสิ่งสูงสุด สิ่งดีงามทั้งหลายทั้งปวงมีศีลเป็นฐาน เกิดแต่ศีลเป็นต้น ศีล ๕ ศีลแม้เพียงศีล ๕

ย่อมเป็นฐานให้เว้นการเบียดเบียนทำลายชีวิต
เว้นจากการเบียดเบียนถือเอาทรัพย์สินสิ่งของของผู้อื่น
เว้นจากการผิดประเวณี
เว้นจากการเจรจาให้เกิดความเข้าใจผิดจากความจริง
เว้นจากเหตุแห่งความมั่วเมาคือสุราเมรัยเครื่องดองของเมาทั้งหลาย

สิ่งที่ศีลทำให้เว้นได้ทั้งปวง ล้วนเป็นความไม่ดีไม่งาม การเว้นสิ่งไม่ดีไม่งาม
ก็คือความดีงาม


+ปัญญาเป็นสิ่งสูงสุดในบรรดาสิ่งดีงามทั้งหลาย

อันความดีงามด้วยการรักษาศีล ๕ เป็นความดีงามระดับหนึ่ง ซึ่งแม้จะเป็นเหตุให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขได้เป็นอันมาก ทั้งแก่ตนเองและผู้เกี่ยวข้อง แต่จุดหมายสูงสุดที่แท้จริงของพระพุทธศาสนามียิ่งกว่านั้น เป็นอีกระดับหนึ่ง เป็นจุดมุ่งหมายที่มีคุณระดับสูงสุด ไม่มีคุณอื่นเสมอเหมือน จุดมุ่งหมายนั้นคือ ปัญญา ผู้มีปัญญาเป็นผู้อาจบรรลุจุดสูงสุดในพระพุทธศาสนา

+ผู้มีปัญญาสูงสุด เป็นผู้สูงสุด

ปัญญาเกิดแต่ศีล มีศีลเป็นฐาน ปัญญาสูงสุดในบรรดาสิ่งดีงามทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากศีล มีศีลเป็นฐาน ผู้มีปัญญาสูงสุดจึงเป็นผู้สูงสุด ความหมายของปัญญา คือความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด ปัญญาในทางโลกก็เกิดแต่เรียนและคิด ปัญญาในทางธรรมก็เกิดแต่เรียนและคิด ปัญญาในทางโลกก็เรียนความรู้ทางโลก เรียนและคิด ปัญญาในทางธรรมก็เรียนความรู้ทางธรรม เรียนและคิด

+ความสำคัญของปัญญา

ความสำคัญของปัญญาจึงอยู่ที่สองอย่าง คือเรียนด้วยและคิดด้วย เรียนอย่างเดียวโดยไม่คิดก็ไม่เป็นปัญญา คิดโดยไม่เรียนก่อนก็ไม่เป็นปัญญา การเรียนและคิดต้องประกอบกันอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการเรียนทางโลก หรือการเรียนทางธรรมก็ตามและต้องปฏิบัติให้ได้ด้วย จึงจะเป็นปัญญาที่สูงสุด ปัญญาที่เกิดจากศีล มีศีลเป็นฐาน เป็นปัญญาทางโลกก็ได้ เป็นปัญญาทางธรรมก็ได้ แล้วแต่จะเรียนความรู้ทางใด

+ปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรม ล้วนเกิดแต่ศีล

ศีลเป็นฐานที่แท้จริงของคุณความดีทั้งปวง ปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรมเป็นคุณความดี ทั้งสองจึงเกิดแต่ศีล คือเกิดแต่ศีลทั้งปัญญาทางโลกและปัญญาทางธรรม การศึกษาทางโลกเพื่อให้รู้ให้เกิดปัญญาทางโลก เช่น นักเรียน รักศึกษา ก็จะต้องมีใจไม่วุ่นไม่ฟุ้งไปในเรื่องต่างๆ ใจจะต้องจดจ่ออยู่ในเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ ขณะใดใจไม่วุ่นไม่ฟุ้งไปสงบอยู่ จดจ่ออยู่กับการศึกษาเล่าเรียนให้รู้ให้เข้าใจ

ขณะนั้นไม่ว่าจะตั้งใจรักษาหรือไม่ก็ตาม จะรู้หรือไม่รู้ก็ตามว่าตนมีศีล ขณะนั้นก็เป็นผู้มีศีลอยู่ เพราะขณะที่ใจจดจ่อมุ่งในการศึกษาการเล่าเรียนเช่นนั้น ย่อมไม่คิดฟุ้งไปวุ่นไปที่จะละเมิดศีลแม้ข้อใดข้อหนึ่ง

เมื่อใจไม่มีความคิดที่จะละเมิดศีล ก็ย่อมไม่ทำความละเมิดศีล จึงย่อมเป็นความมีศีล เป็นความมีศีลโดยเจ้าตัวมิได้ตั้งใจจะรักษาศีล เป็นความมีศีลโดยเจ้าตัวไม่รู้ เพราะไม่คิดให้รู

+ความไม่ละเมิดศีล โดยไม่ตั้งใจรักษาศีล แม้เช่นนี้ความมีศีลก็เกิดขึ้นแล้ว

ความไม่ละเมิดศีลโดยไม่ตั้งใจรักษาศีล แม้เช่นนี้ความมีศีลก็เกิดขึ้นแล้ว จึงไม่รู้ตัวว่าเป็นผู้มีศีล แต่แม้เช่นนี้ก็เป็นคนมีศีล คือเมื่อไม่ละเมิดหรือไม่สละทิ้งไปก็ย่อมมีอยู่เป็นธรรมดา เพียงแต่เป็นศีลไม่สมบูรณ์พร้อม ขาดความตั้งใจอันเป็นความสำคัญ แต่อนุโลมให้เป็นศีลได้เมื่อประกอบพร้อมด้วยความไม่ละเมิดครบทั้ง ๕ ข้อของศีล เป็นต้น

+ผู้ตั้งใจรักษาศีลต้องรักษาให้ครบทุกข้อ

การจะเป็นผู้ถือศีลนั้น มิใช่ว่าจะแยกถือข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อตามความพอใจ แต่ไม่ครบทุกข้อ มีเว้นข้อนั้นข้อนี้ การละเว้นศีลเป็นบางข้อรักษาเป็นบางข้อ ไม่เป็นการรักษาศีล ผู้ตั้งใจรักษาศีล ต้องตั้งใจรักษาทุกข้อ

ตั้งใจรักษาทุกข้อ และปฏิบัติรักษาให้ได้ดังตั้งใจทุกข้อ จึงจะเป็นผู้มีศีลสะอาด ไม่ด่างพร้อยขาดวิ่น ถ้าตั้งใจรักษาศีลทุกข้อ เมื่อความตั้งใจเป็นความตั้งใจจริง แต่ปฏิบัติได้บ้างไม่ได้บ้าง เพราะไม่สังวรรักษา ไม่รอบคอบ ก็เป็นศีลไม่สมบูรณ์ เป็นเพียงผู้มีศีลด่างพร้อย ทะลุ ขาดวิ่น

+ใจที่มีศีลไม่ด่างพร้อย เป็นใจที่สงบเป็นสมาธิง่าย

ศีลเป็นเลิส ผู้ใดรักษาศีลได้สมบูรณ์ไม่ด่างพร้อยย ไม่ขาด ไม่ทะลุ ผู้นั้นเป็นผู้มีคุณอันเลิส ใจที่มีศีลไม่ด่างพร้อย เป็นใจที่มั่นคง ไม่ฟุ้งไปด้วยอำนาจของกิเลสราคะ หรือโลภะ โทสะและโมหะ คือ โลภ โกรธ หลง จึงเป็นใจที่สงบ เป็นสมาธิได้ง่าย

+ปัญญา...พาให้พ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง

ผู้ใดมีสมาธิความรวมแห่งจิต ความตั้งมั่นแห่งจิต ผู้นั้นจะสามารถตรึกตรองให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มชัดในเรื่องทั้งปวง เป็นเหตุ เป็นปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นปัญญาที่พาให้พ้นทุกข์ ตั้งแต่พ้นทุกข์เล็กน้อย จนถึงพ้นทุกข์ใหญ่ยิ่ง จนถึงพ้นความทุกข์อย่างสิ้นเชิง

ทุกชีวิตเมื่ออุบัติขึ้นแล้ว ไม่ว่าคน ว่าสัตว์ จะต้องพบกับความทุกข์มากทุกข์น้อยหนักเบาต่างๆ กัน ปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถเปลื้องความทุกข์ สลัดความทุกข์ได้ มิให้ความทุกข์ทับถมจิตใจ จนถึงมิให้ความทุกข์สัมผัสจิตใจได้แม้แต่น้อย เป็นความพ้นทุกข์ ไกลทุกข์อย่างสิ้นเชิง เหล่านี้ปัญญาทำได้ทั้งสิ้น ปัญญามีระดับใด ก็จะจัดการกับความทุกข์ได้ระดับนั้น

+ความทุกข์เป็นสิ่งที่ทุกชีวิตไม่ปรารถนา

ความทุกข์อันมีต้นเหตุมาจากความเกิดเป็นต้นสายนี้ นอกจากปัญญา ไม่มีอำนาจใดจะนำให้สลัดออกพ้นจิตใจได้ และนอกจากทุกข์แล้วก็ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่าที่ทุกคนไม่ปรารถนาให้เกิดแก่ตน ทุกข์เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ทุกชีวิต ไม่ปรารถนาความทุกข์ เมื่อเป็นดังนี้ ปัญญาจึงเป็นสิ่งสูงสุดโดยแท้ พราะปัญญาเป็นสิ่งเดียวที่จะยังให้เป็นไปได้ดังความปรารถนา สามารถปลดเปลื้องทุกข์ จนถึงสลัดทุกข์ให้หลุดได้ อย่างหมดจดสิ้นเชิง

+ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลกนี้ ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด

ทุกข์เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาสูงสุด ปัญญาเท่านั้นจะทำให้บรรลุความปรารถนาสูงสุดนั้นได้ ปัญญาจึงเป็นสิ่งสูงสุด ผู้มีปัญญาจึงเป็นผู้สูงสุด และศีลเท่านั้นที่เป็นฐานแห่งปัญญา ต้องตามพระพุทธภาษิตมีความว่า “ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลกนี้ ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด” เมื่อสิ่งที่เอาชนะได้ยากที่สุดคือทุกข์ ปัญญาอันเป็นยอดของฐานคือศีลที่บริสุทธิ์มั่นคง ยังสามารถเอาชนะได้ พระพุทธภาษิตยังกล่าวด้วยว่า “ความชนะในหมู่มนุษย์และเทวดา ย่อมมีเพราะศีลและปัญญา”

+ผู้ไม่ปรารถนาความทุกข์ พึงรักษาศีลให้บริสุทธิ์

ผู้ไม่มีศีลหรือศีลบกพร่องด่างพร้อยเพียงไร ปัญญาย่อมไม่มี ปัญญาย่อมอ่อน ปัญญาย่อมน้อยเพียงนั้น เมื่อศีลทำให้ใจสงบได้จากกิเลส โลภ โกรธ หลง ความสงบแห่งจิตหรือสมาธิย่อมเกิด ศีลดำรงอยู่หนักแน่นยืนนานอยู่ตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจิตใจเพียงไร สมาธิย่อมยืนนานอยู่ตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจิตใจเพียงนั้น

ผู้ไม่ปรารถนาความทุกข์ ปรารถนาความไม่ทุกข์ จึงพึงตั้งใจสำรวมสังวรระวังให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์ ศึกษาธรรมให้รู้ธรรม และคิดใคร่ครวญปฏิบัติธรรมที่ได้ศึกษารู้นั้น ให้เกิดเป็นปัญญาพาให้พ้นทุกข์เป็นลำดับ จนถึงพ้นทุกข์สิ้นเชิง

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2012, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๔. ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู

+ผู้มีปัญญาพึงทำตั้งใจทำตามคำของผู้หวังดี

อันเป็นพุทธภาษิตนั้นเป็นคำของท่านผู้มุ่งดี เป็นสุภาษติคือ คำที่ดี ผู้มีปัญญาจึงตั้งใจทำตามคำของผู้หวังดี มีพุทธภาษิตเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยว่า “ควรทำตามคำของผู้เอ็นดู” คือควรทำตามถ้อยคำแนะนำตักเตือน หรือบอกเล่าของผู้เอ็นดูรักชอบ

+ผู้เอ็นดู : ผู้ที่ปรารถนาหวังให้ความดีเกิดแก่เรา

ผู้ที่ตนเอ็นดูกับผู้ที่เอ็นดูตน มีความหมายไม่เหมือนกัน คนโดยพอใจจะทำตามถ้อยคำของผู้ที่ตนเอ็นดู คือรักใครชอบใคร ก็พอใจจะทำตามถ้อยคำหรือความปรารถนาต้องการของผู้นั้น ไม่คำนึงถึงความควรไม่ควร

อันความปรารถนาต้องการของผู้เอ็นดูเรา จะเป็นความมุ่งดีปรารถนาดี หวังให้ความดีเกิดแก่เรา ท่านจึงสอนว่า “ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู” ท่านไม่สอนให้ทำตามถ้อยคำของผู้ที่ตนเอ็นดู

+พระผู้ทรงเป็นผู้เอ็นดูต่อสัตว์โลกทั้งปวง

เป็นความจริงที่ควรกล่าวได้ พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เอ็นดูสัตว์โลกทั้งปวง พระพุทธพจน์ทั้งหมด จึงไม่ปรารถนาไม่ดีไม่ชอบต่อผู้ใด เป็นความปรารถนาดีปรารถนาชอบทั้งหมด ต่อสัตว์โลกทั้งปวง เป็นคำที่ทุกคนควรทำตาม

ผู้เอ็นดูที่มีความดีน้อย ปัญญาน้อย ย่อมให้คำแนะนำไปถึงความดีน้อยความมีปัญญาน้อย ผู้เอ็นดูที่มีความดีมากและมีปัญญามาก ย่อมให้คำแนะนำไปถึงความดีมากมีปัญญามาก

+ผู้มีปัญญาพึงทำตามถ้อยคำของพระพุทธองค์

พระพุทธเจ้าทรงมีความดีสูงสุด มีพระปัญญาสูงสุด หาที่เปรียบมิได้ ย่อมประทานคำแนะนำไปถึงความดีที่สูงสุด ความมีปัญญาที่สูงสุด ผู้มีปัญญาจึงพึงทำตามคำทรงสอน และการจะรู้ว่าทรงแนะนำไว้อย่างไร ก็ต้องศึกษาพระธรรมคำสอนที่โปรดประทานไว้ด้วย ทรงเอ็นดูสรรพสัตว์เสมอกัน ไม่ทรงเลือกที่รักมักที่ชัง

+ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแม้เพียงคนเดียว เป็นคุณเป็นประโยชน์แก่หมู่คณะเป็นอันมาก

ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบถูกแม้เพียงคนเดียว ย่อมเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่หมู่คณะผู้เกี่ยวข้องเป็นอันมาก ในทางตรงกันข้าม ผู้ปฏิบัติไม่ดีไม่ชอบ ปฏิบัติไม่ถูกแม้เพียงคนเดียว ย่อมเป็นโทษเป็นภัยแก่หมู่คณะผู้เกี่ยวข้องเป็นอันมาก

แม้มีความเอ็นดูหวังดีต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อหมู่คณะ ต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งส่วนตนหรือมิใช่ส่วนตน ก็พึงศึกษาพระพุทธศาสนา หรือแม้เพียงพระพุทธภาษิตให้เข้าใจถูกต้องถ่องแท้แล้วพยายามปฏิบัติตาม

+ผู้หมดจดจากกิเลสทั้งปวง จักไม่มีทุกข์เลย

พุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ แปลความว่า “ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นความดับจากทุกข์ทั้งหลาย” กิเลสทั้งปวง คือความโลภทั้งปวง ความโกรธทั้งปวง ความหลงทั้งปวง ทุกข์ทั้งหลายคือทุกข์ทุกประการ

ถ้าจะกล่าวเป็นเหตุเป็นผล ต้องกล่าวว่ากิเลสเป็นเหตุ ทุกข์เป็นผล คือความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นเหตุ ผู้มีกิเลสคือมีความโลภ ความโกรธ ความหลง ต้องมีความทุกข์

ผู้มีกิเลสคือความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็มีความทุกข์มาก มีกิเลสคือมีความโลภ ความโกรธ ความหลงน้อย ก็มีความทุกข์น้อย ผู้หมดจดแล้วจากกิเลสทั้งปวง คือไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลงเลย จักไม่มีทุกข์เลย คือมีความดับจากทุกข์ทั้งหลาย

+จิตที่กิเลสเข้าปกคลุม ย่อมเศร้าหมอง

ที่พากันทุกข์อยู่ตลอดเวลา มากน้อยหนักเบาต่างๆ กัน เพราะพากันปล่อยปละละเลยให้กิเลสห้อมล้อมปกคลุมจิตใจอยู่ตลอดเวลา ใจไกลจากกิเลสเพียงไร ก็มีความสุขเพียงนั้น มีความเบิกบานแจ่มใสเพียงนั้น

กิเลสก็เหมือนเครื่องพรางตาทั้งหลาย ย่อมทำให้ไม่แจ่มใส ทำให้มืดมัว กิเลสปกคลุมใจหนาแน่นมาก ก็ทำให้จิตใจมืดมัวมาก ดังที่ท่านเปรียบกิเลสเช่นเมฆหมอกบนท้องฟ้า

จิตเช่นดวงอาทิตย์ที่มีความสว่างเจิดจ้าอยู่ในตัว เมฆเคลื่อนเข้าบดบัง ก็จะทำให้ความสว่างไม่ปรากฏ จิตที่มีกิเลสเข้าปกคลุมก็จะเศร้าหมอง ทั้งที่จิตมีความบริสุทธิ์ผ่องใสอยู่ในตัวเต็มที่ ดังที่ท่านกล่าวว่า “จิตที่แท้นั้นมีความประภัสสร”

+จิตจะผ่องใส เมื่ออยู่ห่างไกลจากกิเลส

ดังนั้นทำจิตให้ผ่องใส จึงอยู่ที่การพยายามไม่นำจิตเข้าไปอยู่ในแวดวงของกิเลส พยายามนำจิตออกให้ไกลกิเลสให้มากที่สุด พยายามให้สม่ำเสมอ แม้จิตจะถอยไกลบ้างใกล้บ้างกับกิเลส ก็จะมีเวลาหนึ่งที่ไกลได้โดยไม่กลับถอยเข้าไปใกล้กิเลสอีก

กิเลสจะไม่สามารถปกคลุมจิตให้เศร้าหมองได้อีก ความผ่องใสประภัสสรอันเป็นธรรมชาติแท้ของจิต จะไม่บดบัง จะปรากฏรุ่งเรืองงดงาม พร้อมด้วยความสิ้นร้อน ส้นเศร้าหมอง

+กิเลสทั้งหลาย ดั่งถ่านไฟที่ลุกโพล่งร้อนแรงเต็มที่

กิเลสคือความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นความเศร้าหมองมีความร้อนอยู่ในตัวเต็มที่ เปรียบได้กัยถ่านไฟก้อนใหญ่ที่ลุกโพล่งร้อนแรงเต็มที่ มีเปลวแห่งความร้อนแรงรอบด้าน ผู้ใดไม่หลบหลีกให้ห่างไกลพ้นไปจริงแล้ว

ผู้นั้นย่อมต้องได้กระทบความร้อนแรงนั้น เข้าไปใกล้เพียงใดก้จะกระทบร้อนเพียงนั้น ใกล้จนชิดก็จะเช่นเดียวกับเห็นถ่านไฟสีแดงงดงาม แล้วยื่นมือเข้าไปจับต้องสัมผัส ย่อมต้องถึงกับพองไหม้ถลอกปอกเปิกได้เลือดได้น้ำเหลือง แม้ถอยห่างออกได้บ้าง เปลวความร้อนแห่งไฟแรงที่จะกระทบ ก็จะลดน้อยตามระยะที่ถอยห่างนั้น

+ความเย็นสนิทแห่งกิเลส เป็นบรมสุข

พระพุทธเจ้า ก่อนแต่จะทรงห่างไกลพ้นถ่านไฟร้อนแรงแห่งความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ต้องทรงประสบความร้อนแรง อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์แท้ด้วยพระองค์เองต่างๆ นานา เป็นเวลาหลายกัปหลายกัลป์

ต่อเมื่อทรงหนีไกลได้พ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง อย่างสิ้นเชิงแน่นอนแล้ว จึงไม่ทรงประสบความร้อนแรง อันเป็นเครื่องแผดเผาให้เป็นทุกข์อีกเลย ทรงพบความเย็นสนิท ความเป็นบรมสุข ทรงมีความเย็นสนิทในพระองค์ พระอรหันตสาวกทั้งปวงก็เช่นกัน

+พ้นความร้อนเพียงไร ย่อมมีความเย็นเพียงนั้น

เมื่อเป็นผู้พ้นความร้อนเพียงไร ก็ย่อมมีความเย็นเพียงนั้น แม้พ้นความร้อนสิ้นเชิง ก็ย่อมมีความเย็นสนิท มีความเย็นทั่ว มีความเย็นรอบ เปรียบได้ดั่งน้ำแข็งก้อนใหญ่ ที่มีไอแห่งความเย็นเฉียบกระจายรอบ ผู้เข้าใกล้ย่อมได้สัมผัสละอองแห่งความเย็นนั้น เป็นความรื่นรมย์อย่างยิ่ง

ผู้นับถือพระพุทธศาสนาจริง เป็นผู้ใกล้พระพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ผู้เย็นสนิทแล้วยิ่งกว่าผู้อื่น จึงย่อมมีโอกาสได้สัมผัสความเย็นยิ่งกว่า

+พระผู้บอกทางสู่ความเย็นที่ยั่งยืนนิรันดร

แต่ความเย็นที่ได้รับจากผู้อื่น ย่อมไม่เสมอเหมือนความเย็นที่เกิดขึ้นจริงในตนเอง ดังนั้นพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระมหากรุณาคุณ จึงแสดงทางไปสู่ความเย็นในตนเอง อันจักเป็นความเย็นจริง ปราศจากสิ่งปลอมปนเป็นความทุกข์ความร้อน และจักเป็นความเย็นที่ยั่งยืนนิรันดร พระพุทธเจ้าทรงสอนให้รักษาใจให้ไกลกิเลส ไม่เชื่อพระพุทธเจ้าแล้วควรจะเชื่อใครยิ่งกว่า

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2012, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๕. พึงหลีกเลี่ยงกรรมชั่ว

+ผู้ไม่ปรารถนาทุกข์ พึงหลีกเลี่ยงกรรมชั่ว

กรรมนั้น เป็นความสำคัญแก่ทุกชีวิต ทั้งทางดีและทางร้าย คือทั้งมีคุณและมีโทษ

กรรมดี...ก็มีคุณ
กรรมไม่ดี...ก็มีโทษ


การรู้จักกรรมให้ถูกต้องจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง แม้การรู้จักกรรมจะเป็นเรื่องยาก เพราะลึกซึ่งและสลับซับซ้อนมาก แต่ก็ควรที่จะพยายามทำความเข้าใจเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรมให้ถูกต้อง จะได้ไม่รับผลร้ายหรือโทษของกรรม จะได้รับแต่ผลดีหรือคุณของกรรมเท่านั้น

+กรรมไม่ดี ย่อมปรากฏให้เห็นเป็นความทุกข์

กรรมไม่ดี ที่ให้โทษ ที่ให้ผลร้าย ย่อมปรากฏให้เห็นเป็นความทุกข์ยากนานาประการ ของผู้ได้ทำกรรมไม่ดีนั้นมาแล้ว อาจจะในอดีตที่ใกล้คือในภพชาตินี้ หรืออาจในอดีตที่ไกลคือในภพชาติอื่น

ไม่มีความทุกข์ยากไม่ว่ามากน้อยหนักเบาเพียงใดจะเกิดขึ้นเอง โดยผู้รับอยู่มิได้เคยประกอบกระทำกรรมอันเป็นเหตุให้ได้รับผลเป็นความทุกข์ยากเช่นนั้น ผู้รับความทุกข์ยากนั้นต้องได้กระทำกรรมไม่ดีเป็นส่วนเหตุมาแล้วแน่นอน

ทำใจให้เชื่อว่า ตนได้ทำเหตุเป็นกรรมไม่ดีไว้ จึงได้รับผลเป็นความไม่ดีต่างๆ จะสามารถยอมรับผลไม่ดีได้อย่างสงบเย็นพอสมควร ความโกรธแค้นขุ่นเคืองโทษนั่นโทษนี่ อันเป็นเครื่องเพิ่มความไม่เป็นสุขให้แก่จิตใจจะไม่เกิดขึ้นและจะเกิดความคิดได้ว่า จะพยายามทำความไม่ดี แม้ความคิดนี้จะเป็นชั่วครู่ยาม ชั่วครั้งคราว ก็ย่อมดีกว่าความคิดเช่นนี้ไมม่เคยเกิดเลย

+ผู้มีปัญญา ไม่พึงยินดีในจิตที่เศร้าหมอง

ผู้ได้รับผลกรรมที่ร้ายแรง มีปรากฏให้รู้เห็นอยู่เป็นอันมาก ยังให้เกิดความสลดสังเวชยิ่งนักแก่ผู้รู้ผู้เห็น อันความสลดหดหู่เสร้าหมองใจ แม้จะเกิดด้วยจิตมีเมตตา แต่ก็ไม่ใช่ความถูกต้องดีงาม ความถูกต้องอยู่ที่ความมีจิตใจสงบสบายผ่องใสเยือกเย็น

ฉะนั้น จึงไม่ควรยินดีพอใจในจิตที่เศร้าหมองด้วยความรู้สึกเมตตาสงสาร ด้วยคิดว่าตนเป็นผู้มีเมตตา ผู้มีเมตตาไม่พึงยินดีในลักษณะจิตเช่นนั้น ผู้มีจิตสงบสบาย ผ่องใสเยือกเย็นอยู่ได้ แม้เมื่อพบกับผู้เผชิญกรรมร้ายแรงทุกข์ทรมานหนักหนา มิได้แสดงว่าผู้นั้นเป็นผู้ปราศจากเมตตา

ความเมตตาตนเองอย่างถูกต้อง มีความสำคัญมิได้น้อยกว่าความเมตตาทั้งหลายอื่น ความเมตตาตนเอง คือความระวังรักษาจิตของตนให้มีความสุขสงบ ความผ่องใสไกลจากความทุกข์ความร้อนอันเกิดจากอำนาจของความโลภ ความโกรธ ความหลง

อันความโลภ ความโกรธ ความหลงนี้แหละ ที่เป็นเหตุให้เกิดกรรมไม่ดีทั้งหลาย กรรมไม่ดีทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว จากกาย วาจา ใจ ของผู้ใดก็ตาม ย่อมส่งผลไม่ดีให้เกิดแก่ผู้นั้นแน่นอน

+กรรมที่กระทำ ย่อมให้ผลแก่จิตใจผู้กระทำทันที

กรรมที่กระทำแล้ว ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว ย่อมให้ผลแก่จิตใจผู้กระทำทันที กรรมดีก็จะให้ผลดีแก่จิตใจทันที เป็นความมั่นใจในความดีเป็นความอบอุ่นไม่หวั่นหวาด

ตรงกันข้ามกับกรรมไม่ดี กรรมไม่ดีจะให้ผลแก่จิตใจทันที เป็นความไม่มั่นใจ ไม่เป็นสุข หวั่นหวาดผลที่จะเกิดตามมา

เพราะแม้จะเชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องการให้ผลของกรรม แต่ก็ย่อมได้เคยได้ยินได้ฟังมาแล้วว่า กรรมดีเท่านั้นที่ให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่ว ผู้ใดทำกรรมแล้วย่อมจักต้องได้รับผลของกรรม

+ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ ล้วนเป็นผลแห่งกรรมแน่นอน

กรรมนั้นลึกล้ำและสลับซับซ้อนนัก เพราะผู้ทำกรรมได้ทำกรรมมาแล้วทุกภพทุกชาติ อันมีจำนวนนับไม่ถ้วนว่า กี่แสนกี่ล้านชาติและกรรมที่ต่างได้กระทำมามิใช่จะเป็นกรรมดีทั้งหมดหรือกรรมชั่วทั้งหมด สลับซับซ้อนกันอยู่ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว การให้ผลจึงเป็นเช่นเดียวกัน คือสลับซับซ้อน

พึงพิจารณาด้วยปัญญา จึงจะได้ความเข้าใจว่า ความสุขหรือความทุกข์ที่กำลังได้รับอยู่ ไม่ว่าความสุขของเราหรือความสุขของเขา ไม่ว่าความทุกข์ของเราหรือความทุกข์ของเขา นั้นเป็นผลที่ตรงต่อเหตุแน่ กำลังเป็นสุขก็พึงรู้ว่ากรรมดีที่ได้ทำไว้กำลังส่งผล กำลังเป็นทุกข์ก็พึงรู้ว่ากรรมชั่วที่ได้ทำไว้กำลังส่งผล

กำลังทำดีอยู่มากมาย นึกไม่ได้เลยว่าชีวิตนี้ได้กระทำกรรมไม่ดี แต่กำลังเดือดร้อนแสนสาหัส ก็อย่าหลงคิดว่าทำดีไม่ได้ดีแต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า ผลของกรรมไม่ดีที่ได้กระทำไว้ส่งผลแล้ว ตามมาทันแล้ว

ผลของกรรมดีที่กำลังทำอยู่ในชีวิตนี้ไม่พอ จึงต้องรออยู่ เปรียบเช่นของหนักต้องตกถึงพื้นก่อนของเบา เพราะการให้ผลของกรรมเป็นไปตามความหนักเบาแห่งกรรมที่กระทำ กรรมใดแรงกรรมนั้นย่อมให้ผลก่อนผู้ทำย่อมได้รับผลของกรรมนั้นก่อน กรรมใดอ่อน กรรมนั้นย่อมให้ผลที่หลัง ผู้ทำย่อมได้รับผลของกรรมนั้นที่หลัง

เปรียบดังโยนของจากที่สูง ของหนักแม้บางทีจะโยนลงทีหลังก็ตกถึงพื้นก่อนของเบา เปรียบให้เห็นชัดที่สุดก้คือทิ้งก้อนหินแม้เล็กลง หลังจากที่ทิ้งสำลีลงแล้ว ก้อนหินเล็กๆ นั้นก็ย่อมตกถึงพื้นก่อนสำลีเป็นธรรมดา นี้ฉันใด การให้ผลของกรรมก็เป็นไปตามความหนักเบา ฉันนั้น

ของหนักที่ถุกทิ้งลงจากที่สูง และตกถึงพื้นก่อนของที่เบากว่ามาก หรือผลไม้ที่สุกแล้วหลุดจากขั้วก่อนผลไม้ที่ไม่สุก ผู้เฝ้าดูอยู่ย่อมแลเห็นได้ แต่การให้ผลของกรรมไม่ว่าจะกรรมของตนเองหรือกรรมของผู้ใดอื่นก็ตาม กรรมใดจะให้ผลก่อนกรรมใดจะให้ผลหลัง ปุถุชนคนธรรมดาหารู้ไม่หาเห็นไม่

จึงหาอาจรู้ไม่ว่า ผลที่กำลังเสวยอยู่นั้นเป็นผลของกรรมใด แต่เมื่อเชื่อเรื่องของกรรมและการให้ผลของกรรม ก็ย่อมเชื่อว่า ผลไม่ดีที่กำลังได้รับอยู่นั้น เป็นผลของกรรมไม่ดีหรือผลของกรรมดีที่กำลังรับอยู่นั้นเป็นผลของกรรมดี

+ทำใจรับผลของกรรม ก็ชนะผลของกรรมได้

ครูอาจารย์ผู้รู้ผู้เป็นที่ศรัธทาเชื่อถือของคนมากหลาย เมื่อจะช่วยผู้คนเหล่านั้นให้กลัวอำนาจของกรรมไม่ดี ท่านก็มักจะเล่าถึงกรรมต่างๆ ของท่าน ที่ท่านให้รับความทุกข์ทรมานอยู่ในภพชาตินี้

เช่นบางท่านเป็นโรคเจ็บปากอยู่อย่างมาก ท่านก็จะเล่าว่ากรรมที่ท่านเคยทำไว้ในอดีต คือชอบตกปลา ผู้ฟังก็เข้าใจว่า การตกปลาคือการทำให้เบ็ดเกี่ยวปากของปลา ทำให้ปลาได้รับความเจ็บปวดทรมาน ผลที่ท่านผู้ทำกรรมนั้นแก่ปลา ก็ตรงตามเหตุเช่นนี้

ครูอาจารย์สำคัญองค์หนึ่ง ก่อนท่านมรณะภาพหลายปีนัก ท่านบอกแล้วบอกเล่าแก่เหล่าสานุศิษย์ว่า ท่านจะมรณะภาพด้วยการถูกรถทับ เพราะในอดีตชาติท่านได้ขับเกวียนทับคนตายโดยเจตนาและท่านก็มรณะภาพโดยถูกรถทับ ตรงตามที่ท่านบอกไว้ล่วงหน้า ด้วยเมตตาปรารถนาจะให้กลัวกรรมกันจงหนัก

การให้ผลของกรรม ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ทั้งที่เกี่ยวกับตัวเองและเกี่ยวข้องกับผู้อื่นทั้งหมด แม้จะเป็นความสำคัญนัก แต่การทำใจรับผลของกรรมที่กำลังรับอยู่ และการทำใจรับรู้ผลของกรรมที่ผู้อื่นกำลังรับอยู่ ทั้งกรรมดีก็ตาม หรือกรรมชั่วก็ตาม เป็นความสำคัญยิ่งกว่า เป็นความสำคัญที่สุด รับให้ได้รับให้ถูก จึงจะเอาชนะการให้ผลของกรรมได้ แม้ว่าผลนั้นจะเป็นผลร้ายแรงเพียงใดก็ตาม

+มีสติวางใจให้ถูกที่ ขณะรับผลของกรรม

การทำใจหรือการวางใจให้ถูกที่เป็นความสำคัญ อะไรที่ถูกที่ถูกทางย่อมงดงาม เป็นที่เจริญตาเจริญใจ การทำใจหรือการวางใจก็เช่นกัน เป็นผลกรรมกำลังส่งถึงตนแล้ว ไม่ว่าผลของกรรมดีเป็นความสุขความรุ่งเรืองก็ตาม ไม่ว่าผลของกรรมขั่วเป็นความตกต่ำทุกข์ร้อนเศร้าหมองก็ตาม

ต้องมีสติในการรับผลของกรรมทั้งนั้นให้ดีที่สุด คือมีสติทำใจให้ถูก วางใจให้ถูกที่ ที่จะไม่เป็นการเพิ่มพลังของกรรมไม่ดี ที่จะเป็นการลดพลังของกรรมดี เมื่อผลกรรมกำลังส่งผู้อื่นให้ตนเห็นอยู่ รู้อยู่ การทำใจรับไม่ถูกต้อง ย่อมเป็นการก่อกรรมไม่ดีให้เกิดแก่ตนเอง

ไม่ว่าผลกรรม ที่ผู้อื่นได้รับนั้นจะผลดีหรือผลร้าย เรารับไม่ถูกเมื่อรู้เมื่อเห็น เราเองจะได้รับผลร้ายสถานเดียว จึงต้องให้ความสำคัญแก่การทำใจให้ถูกต้อง เมื่อรู้เห็นการประสบผลกรรมของผู้อื่นด้วย เมื่อตนเองกำลังประสบอยู่ด้วย

+ธรรมเพื่อการต้อนรับผลของกรรมอย่างถูกต้อง

การอบรมพรหมวิหารธรรม เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นการอบรมวิธีที่จะทำให้สามารถรับผลของกรรมได้อย่างถูกต้อง ให้เป็นคุณแก่จิตใจ มิให้เป็นโทษแก่จิตใจ อำนาจกรรมล้ำลึกเหลือเกิน พรหมวิหารธรรมเท่านั้นที่จักช่วยใจได้ ไม่ว่าจะต้องพบเห็นทุกข์ร้อนมากมายของผู้ใด

พรหมวิหารในใจจะช่วยให้ใจไม่พลอยทุกข์ร้อนตามไปด้วย แม้ว่าผู้กำลังเป็นทุกข์นั้นจะเป็นที่รักอย่างยิ่งของตน จึงพึงศึกษาพรหมวิหารธรรมให้เข้าใจชัดเจนแล้วอบรมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับใจ

เมตตา...ความปรารถนาให้เป็นสุข
กรุณา...ความช่วยให้พ้นทุกข์
มุทิตา...ความพลอยยินดีด้วย
อุเบกขา...ความว่างใจสงบเป็นกลาง ไม่ยินดีและไม่ยินร้าย


ธรรมทั้งสี่ประการ อันประกอบเป็นคุณลักษณะแห่งจิตใจของพรหมนี้ ต้องประกอบพร้อมครบถ้วนทุกประการ แม้ไม่ครบทุกประการยังไม่เป็นคุณสมบัติอันเป็นเครื่องอยู่แห่งพรหม ซึ่งมิใช่หมายถึงพรหมเทพเท่านั้น แต่หมายถึงพรหมมนุษย์นี้ด้วย

เหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมายให้ได้รู้ได้เห็นในยุคสมัยนี้ ในฐานะผู้ดู ผู้ไม่เกี่ยวข้องรับความเดือดร้อนเสียหาย พึงระวังวางใจให้ถูกที่ ให้สวยงาม อย่าให้เป็นการทำร้ายตนเอง คืออย่าให้กรรมของเขาอื่นสามารถเข้ามาทำร้ายใจตนได้

+พรหมวิหาร กับการวางใจไว้ให้ถูกที่ ให้สวยงาม

การใช้พรหมวิหารธรรม เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในที่นี้ย่อมเหมาะสมยิ่ง ผู้ได้รับกรรมถึงเป็นถึงตาย หรือได้รับความทรมานบาดเจ็บมากน้อยหนักเบา สูญเสียต่างๆ ก็ตาม ในฐานะผู้ดูเราต้องปลงใจลงว่า นั่นเขาได้รับผลแห่งกรรมที่เขาเองต้องเคยทำมาแล้ว

ส่วนผู้ทำกรรม ก่อความทุกข์ความทรมานเสียชีวิตเสียเลือดเนื้อ หรือทรัพย์สินเงินทองแก่ผู้อื่นนั้น ในฐานะผู้ดูเราต้องพยายามคิดให้พอเข้าใจว่า เขาตามกันมาเพื่อทวงหนี้กรรม จิตใจของทั้งสองฝ่ายทุกข์ร้อนด้วยกัน ไม่มีฝ่ายใดเป็นสุขได้เลย

เราต้องไม่เข้าไปร่วมความร้อนรนนั้นด้วย ถ้าเราไปมองผู้ทำกรรมอย่างโกรธแค้นเกลียดชังในความร้ายกาจโหดเหี้ยมอำมหิตของเขา เราก็จะทำร้ายตนเอง ไม่ใช่ใครที่ไหนทำ พึงใช้เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในคู่กรณีทั้งสองฝ่าย เมตตาที่เขาต้องทุกข์ด้วยกัน

เราทำบุญกุศลใดไว้ ก็ตั้งความกรุณาอุทิศให้ผู้เป็นเจ้ากรรมนายเวรของเขาทั้งสองฝ่าย ให้ตัวของเขาด้วย เพื่อให้พอมีความสงบเย็นแม้เท่าที่กำลังจิตของเราสามารถช่วยได้ ขณะเดียวกันมีมุทิตายินดีกับตัวเองกับใครทั้งหลายอื่น ที่ไม่ตกอยู่ในสภาพเช่นคู่กรณี

ไม่ต้องมีจิตใจที่เร่าร้อนทนทุกข์ทรมาน และมีอุเบกขาคือ พยายามวางใจเป็นกลาง ไม่เอียงไปเมตตากรุณาฝ่ายหนึ่งจนทำให้คิดไม่ดีในอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ใจตั้งอยู่ในเมตตาทั้งสองฝ่าย ที่สำคัญการวางใจนี้ต้องให้เป็นไปอย่างจริงใจ เมตตาอย่างจริงใจ กรุณาอย่างจริงใจอุเบกขาอย่างจริงใจ นั่นแหละจึงจะเป็นกรรมดีที่สมบูรณ์จริง อันจักให้ผลดีได้จริง

+เมตตากรุณาที่ไม่ถูกต้องอาจเป็นโทษแก่ตนเอง

เห็นความทุกข์แม้หนักหนาของผู้อื่น ความเมตตาในใจตนจะทำให้อาจเป็นความทุกข์ของตนด้วย ถ้าไม่สามารถให้ความกรุณาได้ และการให้ความกรุณาคือช่วยให้พ้นทุกข์นั้น มิใช่เป็นไปได้ทุกกรณี บางกรณีก็เป็นไปไม่ได้ ในกรณีเป็นไปไม่ได้นี้ เมตตาอาจเป็นโทษแก่ตนเอง ขณะเดียวกันก็ไม่เป็นคุณแก่ผู้กำลังเป็นทุกข์

เมื่อรู้เมื่อเห็นความทุกข์ของผู้อื่น ไม่อาจให้ความกรุณาได้ด้วยเป็นกรณีสุดวิสัยจริงๆ อย่าปล่อยใจให้เดือดร้อนด้วยความปรารถนาที่จะช่วย ด้วยความคิดว่าเป็นความรู้สึกที่ถูกต้องเพราะเป็นความเมตตา

เมตตาต้องมีผลเป็นความเย็นในจิตใจตนเอง จึงเป็นเมตตาที่ถูกแท้ แม้ให้ความเดือดร้อนเศร้าหมองแก่ใจตน นั่นไม่ใช่เมตตาที่ถูกแท้ แต่เป็นเมตตาที่หลงทาง ไม่อาจนำไปสู่จุดหมายอันสวัสดีได้ ทั้งตนเองและผู้ที่ตนเมตตาทั้งหลาย

+ผู้มีปัญญาไม่รับผลกรรมอย่างเป็นโทษ

ผู้มีปัญญาทั้งหลาย เมื่อต้องประสบเคราะห์กรรม จะไม่รับอย่างเป็นโทษ แต่พยายามรับอย่างถูกต้อง เช่นปลงว่าเป็นกรรมและปลงต่อไปให้เป็นความยินดีเบิกบานว่า ยังดีที่ไม่หนักยิ่งกว่านั้น

คิดเช่นนี้ถูกต้อง เพราะความคิดใดที่ทำให้เกิดความสุขแม้เพียงเล็กน้อย แม้เพียงชั่วคราวแก่จิตใจ ความคิดนั้นเป็นความคิดที่ถูกต้องแท้ เป็นปัญญาระดับหนึ่ง ที่ถึงจะไม่มากมายแต่ก็เป็นสิ่งพึงถือว่าเป็นปัญญาที่จะอบรมให้เจริญต่อไป

เห็นผู้อื่นรับผลกรรมไม่ดีอยู่เป็นความทุกข์ พึงมีสติรอบคอบในการรับให้ถูกต้อง เพื่อเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ตนเอง

ก่อนอื่นให้เตือนตนเองในเรื่องของกรรม ให้สำทับตนเองว่าความทุกข์ที่ตนเห็นอยู่ ที่เป็นความทุกข์ของผู้อื่น ตนก็จะหนีไม่พ้น แม้ว่าตนได้กระทำเหตุอันเป็นกรรมไม่ดีไว้ เพียงแต่ไม่รู้ว่าเมื่อไรผลจะมาถึงเท่านั้น

เมื่อมีสติเตือนตนเองเช่นนี้แล้ว ให้หาทางแก้ไขและทางแก้ไขในเรื่องการให้ผลของกรรมก็คือในขณะที่ผลของกรรมร้ายยังไม่เกิด ให้เร่งทำกรรมดีให้เต็มสติปัญญาความสามารถ เพราะการให้ผลของกรรมที่หนักย่อมมาถึงก่อนการให้ผลของกรรมที่เบากว่า แม้ว่าจะทำก่อน

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2012, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๖. ความผูกโกรธดั่งไฟสุมขอน

+โกธะ คือ ความโกรธ

โกธะ ท่านแปลว่า “โกรธ” รุนแรงน้อยกว่าโทสะ โกรธเป็นเพียงความเคืองหรือขุ่นเคืองเท่านั้น และก็เช่นเดียวกับอุปกิเลสทุกข้อ เช่นเดียวกับความทุกข์ทั้งปวง ความโกรธเกิดจากความคิดปรุงแต่ง ขณะใดไม่มีความคิดปรุงแต่งยั่วยุตนเองให้โกรธ ขณะนั้นความโกรธจักไม่เกิด

ดังนั้น เมื่อเกิดความโกรธขึ้นในผู้ใด หรือเกี่ยวข้องกับเรื่องใดสิ่งใด พึงมีสติรู้ว่าตนเองเป็นผู้คิดปรุงแต่งให้ความโกรธนั้นเกิดขึ้น ผู้ผิดที่แท้จริงที่ทำให้ตนโกรธจึงหาใช่ใครอื่น เป็นตัวของตัวเองแท้ๆ

+ความโกรธ เปรียบดั่งควันหมอกที่จางกว่าโทสะ

ความโกรธหรือความขุ่นเคืองจะเกิดขึ้นด้วยความคิดปรุงแต่งไปต่างๆ เช่น เขาว่าเรา เขาทำไม่ถูกใจเรา เขาไม่ให้ของที่เราชอบใจ ดังนี้เป็นต้น เป็นการคิดปรุงแต่งที่ไม่รุนแรงเท่าที่ก่อให้เกิดโทสะ

ความรู้สึกที่เกิดจากความคิดปรุงแต่งนั้นจึงเบากว่า เป็นเพียงความโกรธ ไม่ถึงเป็นโทสะที่เป็นความร้ายกาจ ความโกรธจึงเปรียบดังควันหมอกที่จางกว่าโทสะ ปิดบังความประภัสสรแห่งจิตไม่มืดมิดเท่าโทสะ

+เจริญเมตตา ขจัดหมอกมัวแห่งความโกรธได้

เมตตาที่ดับความคิดปรุงแต่งให้เกิดโทสะ จักดับความคิดปรุงแต่งให้เกิดความโกรธได้ง่ายกว่า การเจริญเมตตาจึงเป็นการขจัดหมอกมัวครอบคลุมความประภัสสรแห่งจิตถึงสองชั้น คือทั้งที่เป็นหมอกมัวแห่งโทสะ และทั้งที่เป็นหมอกมัวแห่งความโกรธ เปิดทางให้ปรากฏความประภัสสรสวยงามแห่งจิตยิ่งขึ้น เมตตากำจัดโทสะและความโกรธได้ จึงกำจัดความผูกโกรธได้ด้วย

+อุปนาหะ คือ ผูกโกรธไว้

อุปนาหะ ท่านแปลว่า “ผูกโกรธไว้” มีความหมายตรงไปตรงมาว่า ไม่ยอมเลิกโกรธ เก็บความโกรธฝังไว้ในใจนานๆ กาลเวลาผ่านไปแล้ว เหตุที่ทำให้คิดปรุงแต่งจนเกิดความโกรธ ก็ล่วงเลยไปแล้ว แต่ยังจดจำนำไปคิดปรุงแต่งให้กลับเกิดความโกรธในเรื่องเดิมสิ่งเดิมได้อีก ไม่รู้แล้ว

ให้ความร้อนแก่ตนเองไม่รู้สิ้นสุด ยังหมอกควันให้ปกปิดความประภัสสรแห่งจิตตนไว้ด้วยปัญญา จึงไม่รู้ว่าจิตอันประภัสสรของตนนั้นมีค่าหาควรสร้างความคิดปรุงแต่งใดๆ ให้เป็นหมอกมัวมาปกปิดเสียไม่

+ความผูกโกรธดังไฟสุมขอน

ไฟสุมขอนมีความร้อนกรุ่นอยู่ตลอดเวลาเป็นเช่นไร ความผูกโกรธไว้ก็เป็นเช่นนั้น เผารุมร้อนกรุ่นอยู่เช่นนั้น แตกต่างกันเพียงที่ไฟสุมขอนร้อนอยู่ที่ขอนไม้ แต่ความผูกโกรธร้อนอยู่ในหัวอก

+ดับความผูกโกรธเสียได้ จิตใจจักผ่องใสเยือกเย็น

การดับไฟสุมขอน ต้องใช้น้ำราด ไฟดับสนิทแล้วขอนก็มอดไหม้ ทิ้งความสกปรกเลอะเทอะหลงเหลืออยู่ แต่การดับความผูกโกรธ ใช้สติปัญญาหยุดความคิดปรุงแต่งเพียงเท่านั้นความผูกโกรธก็จะดับ นอกจากจะไม่หลงเหลือความสกปรกอยู่หลังการดับความผูกโกรธ ยังจะมีความผ่องใสเยือกเย็นอีกด้วย

+ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ในความผูกโกรธ

เพราะไม่ใช้สติ ไม่ใช้ปัญญาคิด จึงไม่ได้ความรู้สึกที่ถูกต้อง ว่าความโกรธก็ตาม ความผูกโกรธก็ตาม ทำให้เร่าร้อน ปราศจากความสุขความเย็น ไม่มีประโยชน์อะไรเลยในความโกรธ หรือความผูกโกรธ

ปัญญาก็เกิดไม่ได้ เพราะปัญญาคือแสงสว่าง ความโกรธและความผูกโกรธคือความมืด ความมืดมากเพียงไรแสงสว่างก็จะถูกกีดกั้นมากเพียงนั้น

และแม้ว่าปัญญาน้อยเสียเท่านั้น ย่อมไม่เห็นว่าตนเป็นเจ้าของสมบัติที่มีค่าพ้นพรรณนา หาได้ใส่ใจที่ทะนุถนอมสักน้อยหนึ่งไม่ สมบัติอันนั้นเป็นของเราทุกคน คือจิตที่แจ่มใส่ประภัสสร

+มักขะ คือ ลบหลู่คุณท่าน

มักขะ ท่านแปลว่า “ลบหลู่คุณท่าน” ลบหลู่ คือดูหมิ่น ดูถูก คุณคือความดี ลบหลู่คุณท่านก็คือ ดูถูกดูหมิ่นความดีของท่านที่ท่านได้ทำแล้ว ในขอบเขตแคบๆ ก็เฉพาะที่ทำแล้วแก่ตน แต่ที่จริงควรหมายให้กว้างขวางจึงจะสมควร คือหมายถึงความดีที่ท่านได้ทำแล้วแก่ผู้ใดก็ตาม

ลบหลู่คุณท่านน่าจะหมายถึงลบหลู่คนมีความดีทั้งหลาย ที่ตนได้รู้ได้เห็นความเป็นคนดีของท่านแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความดีต่อผู้ใดแม้ไม่ใช่ต่อตนโดยตรง ผู้ที่รู้เห็นอยู่ว่าท่านมีคุณมีความดีประจักษ์แก่ใจ

แต่พยายามลบหลู่ท่านด้วยความคิดปรุงแต่งที่ชั่วที่ร้าย มิใช่ที่ดีที่งาม ย่อมให่ความหมองมัว และความหมองมัวนั้นก็เป็นดั่งหมอกห่อหุ่มปกคลุมจิตที่มีธรรมชาติประภัสสรบริสุทธิ์ มิให้ปรากฏความประภัสสร คือสว่างแพรวพรายงดงามเป็นความสุขความเย็นแก่เจ้าตัว

+ความลบหลู่คุณท่าน เปรียบได้กับอกตัญญู

อันความลบหลู่ท่านนั้น ก็เป็นความหมายทำนองเดียวกับอกตัญญูไม่รู้คุณท่านนั้นเอง ความรู้สึกเช่นนี้เป็นความรู้สึกที่ต่ำ เศร้าหมอง ไม่มีผู้ใดยกย่องความอกตัญญู แต่ไม่ใช่ทุกคนไปที่รู้ตัวและไม่ยกย่องตนเอง เมื่อตนเองมีความอกตัญญู

+ความกตัญญูเท่านั้น กำจัดความลบหลู่คุณท่านได้

ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณที่ตนได้รับเท่านั้น ที่จะกำจัดความลบหลู่คุณท่านได้ ความรู้สึกคุณหรือความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี ความกตัญญูจึงไม่เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองห่อหุ่มความประภัสสรแห่งจิต ตรงกันข้ามเป็นเครื่องทำลายความเศร้าหมองสกปรกของความอกตัญญูลบหลู่คุณท่าน

ผู้มีปัญญาเพียงพอย่อมจะสามารถหยุดความคิดปรุงแต่งใดๆ ก็ตามอันจักก่อให้เกิดความลบหลู่คุณท่าน

บุถุชนคนยังมีกิเลส แม้จะเป็นกัลยาณบุถุชนคือเป็นคนดี ก็ย่อมมีเวลาที่จะทำผิดทำไม่ดีด้วยกันทั้งนั้น การเพ่งความผิดความไม่ดีของกัลยาณบุถุชนจนทำให้ไม่เห็นคุณของท่าน ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความลบหลู่คุณท่านได้

+บัณฑิตผู้เพ่งโทษตนเอง เป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณท่าน

บัณฑิตเพ่งโทษตนเองไม่เพ่งโทษคนอื่น บัณฑิตจึงเป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นผู้มีปัญญายิ่งขึ้นเป็นลำดับได้ด้วยไม่มีความมืดมัวแห่งอุปกิเลสข้อ ลบหลู่คุณท่านมาพรางไว้ไม่ให้ปรากฏความประภัสสรแห่งจิต อบรมกตัญญูกตเวทิตาธรรมให้อย่างยิ่งจะทำลายอุปกิเลส ข้อลบหลู่คุณท่านได้

+ปลาสะ คือ ตีเสมอ ยกตนเที่ยมท่าน

ปลาสะ ท่านแปลว่า “ตีเสมอ คือยกตัวเทียมท่าน” ก็เกือบจะทำนองเดียวกับลบหลู่คุณท่านนั่นเอง ผู้ใหญ่ที่มีความดีมากมีวาสนาบารมีสูงย่อมสูงกว่าผู้น้อยที่มีความดีน้อยมีวาสนาบารมีต่ำ ผู้น้อยที่รู้ดีว่าตนมีภาวะฐานะเช่นไรท่านมีภาวะฐานะเช่นไร

แต่ก็แสดงออกให้เป็นที่รู้เห็นว่าตนทัดเทียมท่าน เสมอกับท่าน เช่นนี้เป็นการส่อแสดงถึงความคิดที่จะยกตัวที่ต่ำให้สูงโดยไม่ได้ทำคุณงามความดีหรือสร้างวาสนาบารมีเช่นท่านเป็นความคิดปรุงแต่งที่สกปรกเบาปัญญา นำพาให้เกิดอุปกิเลสห่อหุ่มจิตมิให้ความประภัสสรที่มีอยู่ปรากฏออกสว่างไสวได้

+ความคิดปรุงแต่งที่ชั่ว ที่ไม่ดี ที่ต่ำ ที่สกปรก ทำให้เกิดความลบหลู่ท่าน

อันความลบหลู่คุณท่านก็ตาม ยกตัวเทียมท่านก็ตาม นอกจากจะเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่ชั่วที่ไม่ดีที่ต่ำสกปรกจนทำให้เป็นความเศร้าหมองพรางความประภัสสรแห่งจิตไว้ชั้นหนึ่งแล้ว ผู้มีปัญญาทั้งหลายที่รู้เห็นความเป็นผู้ลบหลู่คุณท่านและยกตัวเทียมท่านย่อมตำหนิ

ตำหนินี้แหละจะทำให้ผู้ถูกตำหนิคิดปรุงแต่งให้เป็นโทสะบ้าง โกรธบ้างและอาจถึงผูกโกรธบ้าง ล้วนเป็นอุปกิเลสที่จะจรเข้ามาบังความประภัสสรแห่งจิตทั้งสิ้นเป็นการปิดบังหลายซับหลายซ้อน โอกาสที่ความประภัสสรบริสุทธิ์งดงามจะปรากฏออกมาย่อมยากนัก เจ้าของจิตนั้นจึงยากจะเห็นค่าแห่งจิตของตน

+ผู้มีปัญญารู้ความไม่ถูกไม่ชอบทุกอย่าง ย่อมไม่ทำความไม่ถูกไม่ชอบนั้น

ผู้ยกตนเทียมท่านจะต้องมีความคิดปรุงแต่งที่ยั่วยุนำมาก่อน ถ้าไม่มีความปรุงแต่งยั่วยุเพียงพอให้ยกตนเทียมท่านจะไม่มีการยกตนเทียมท่าน ผู้มีปัญญาแม้มีสติรู้ว่าตนกำลังคิดปรุงแต่งให้ยกตนเทียมท่าน จะพยายามหยุดความคิดปรุงแต่งอันไม่ถูกไม่ชอบนั้น

เพราะผู้มีปัญญาย่อมรู้ว่าความไม่ถูกไม่ชอบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการคิดการพูดการทำ ย่อมไม่ให้ผลดี ผู้มีปัญญาย่อมไม่ทำความไม่ถูกไม่ชอบนั้น

คนอื่นจะยั่วยุให้คิดพูดทำอย่างไร ถ้าตัวเองไม่นำคำยั่วยุนั้นไปยั่วยุให้คิดปรุงแต่งตามไป ย่อมไม่เกิดผล เช่นใครอื่นจะยั่วยุให้ยกตนเทียมท่านด้วยการยกยอปอปั้นต่างๆ แต่ถ้าตัวเองไม่คิดปรุงแต่งว่าตนเป็นจริงดังคำของเขาอื่น

คำของคนอื่นก็ทำให้เกิดผลไม่ได้ ความคิดปรุงแต่งจึงสำคัญที่สุด สร้างอุปกิเลสก็ได้ ทำลายอุปกิเลสก็ได้ ปรารถนาจะได้พบความปรภัสสรแห่งจิตตน จึงต้องระวังความคิดปรุงแต่งให้ดี

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2012, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๗. เห็นเขาได้ดี ทนอยู่ไม่ได้

+อิสสา คือริษยา

อิสสาท่านแปลว่า “ริษยา” คือเห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้ ที่จริงความหมายของคำว่าอิสสาริษยา ก็ให้ความเข้าใจที่ชัดแจ้งอยู่แล้วว่าเป็นความร้อน เพราะมีความหมายว่า “ทนอยู่ไม่ได้” สิ่งที่ต้องทนนั้นถ้าพอทนได้ก็แสดงว่าไม่ร้ายแรง หรือไม่หนักหนานัก

ความรู้สึกริษยาจนทนไม่ได้ ต้องให้ความร้อนอย่างยิ่ง และผู้ที่ได้รับความร้อนอย่างยิ่งนั้นก็มิใช่ผู้อื่น เป็นเจ้าตัวผู้มีความริษยาเอง

+ความริษยา เป็นอาการอย่างหนึ่งของกิเลส

ปุถุชนเป็นผู้มีกิเลส จึงเป็นธรรมดาย่อมไม่สามารถควบคุมความรู้สึกของตนให้เป็นไปอย่างผ่องแผ้ว ปราศจากกิเลสได้เสมอไป ความริษยาเป็นอาการหนึ่งของกิเลส ดังนั้นปุถุชนจึงย่อมยากที่จะควบคุมไว้ได้ไม่ให้เกิด ความริษยาของปุถุชนจึงย่อมเกิดได้เป็นระยะหรือเป็นครั้งคราว ต่อคนนั้นบ้างต่อคนนี้บ้าง

+ผู้มีปัญญา แม้มิสามารถดับความริษยาได้จริง จึงแก้ไขป้องกันควบคุมมิให้เกิดง่ายและแรง

แต่ผู้มีปัญญาเห็นโทษของความริษยาที่ตนได้รับว่า ยิ่งปล่อยให้มีความริษยามาก ตนก็จะได้รับโทษของความริษยามาก ผู้มีปัญญาจึงแก้ไขป้องกันควบคุมมิให้ความริษยาเกิดง่าย และเกิดแรง แม้ว่าจะไม่สามารถดับเสียได้จริงตลอดไป

+ผู้ขาดเมตตาต่อตน...เมื่อเห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้

ผู้ที่เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีแล้วเกิดความริษยา คืออิสสา ที่มักเรียกปนกันไปว่า อิจฉานั้น เป็นผู้ที่ขาดเมตตา มีเมตตาไม่พอ โดยเฉพาะแก่ตนเอง เพราะเมื่อความริษยาก่อให้เกิด ความร้อนใจ ผู้ยอมให้ความริษยาเกิดขึ้น ก็เท่ากับทำใจตนให้ร้อน ไม่มีความสุข จึงเท่ากับไม่มีเมตตาต่อตนเองนั่นเอง

แม้ความริษยาจะเป็นการขาดเมตตาแก่ตนด้วย ต่อผู้อื่นด้วย แต่บางที่ความริษยาก็ให้ทุกข์แต่กับผู้มีความริษยาเองเท่านั้น มิให้ทุกข์ถึงผู้ถูกริษยาด้วย เพราะบางทีความริษยานั้น ก็มิอาจปรากฏออกเป็นการกระทำคำพูดได้ ต้องอัดแน่นเป็นความทุกข์ร้อนเร่าอยู่แต่ในหัวใจผู้มีความริษยาเท่านั้น จึงพยายามไม่ให้ความริษยาเกิดขึ้นเสียดีกว่า

+ความริษยาเกิดแก่ผู้ใด ย่อมให้ความทุกข์เร่าร้อนแก่ตนผู้ริษยาเอง

ผู้มีปัญญารู้ว่า ความริษยาเป็นความทุกข์เป็นความเร่าร้อนแก่ตนแน่นอน ตรงกันข้ามกับเมตตา ที่ทำให้ความสุขความเย็นแก่ตนแนนอน และเมตตาก็ดับความริษยาได้ เช่นเดียวกับดับโกรธได้ ดังนั้นผู้มีปัญญาจึงอบรมเมตตา เพื่อให้เพียงพอสำหรับดับความโกรธและความริษยา

+ความคิดปรุงแต่งนั้นสำคัญนัก แม้การทำให้ความริษยาเกิดหรือทำให้ไม่เกิด

อิสสาและริษยานั้น จะเกิดได้ก็ต้องมีความคิดปรุงแต่งให้เกิด ถ้าคิดปรุงแต่งให้เมตตา ก็จะเกิดเมตตา ก็จะไม่เกิดอิสสา ความคิดปรุงแต่งจึงสำคัญนัก แม้ในการทำให้เกิดความริษยาหรือทำให้ไม่เกิด

+ความยินดีด้วยเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี ย่อมให้ความสุขแก่เจ้าตัวก่อนแน่นอน

เมื่อเห็นผู้ใดดี ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ที่รักที่ชอบพอ เป็นลูกหลาน ความคิดปรุงแต่งก็จะพาให้ความยินดีเกิดขึ้นด้วยในใจ ความคิดปรุงแต่งนั้นจะเป็นไปในทางชื่นชมยินดีในผู้ได้ดี เช่นว่า มีความดีความเหมาะควรต่างๆ สมกับความดีที่ได้รับนั้น จิตใจของผู้ปรุงแต่งเช่นนั้น ก็จะพลอยเป็นความอิ่มเอิบไปกับความคิดยินดีด้วยของตน

กล่าว่าความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ดี ให้ความสุขแก่เจ้าตัวก่อนแน่นอน เช่นเดียวกับความริษยา ที่ทำให้ความทุกข์แก่เจ้าตัวก่อนแน่นอน

+ความคิดที่ไม่ประกอบด้วยเมตตาเพียงพอ ก็อาจพาให้เกิดความริษยาแก่ผู้นั้นได้

เมื่อเห็นผู้ใดดี ถ้าผู้นั้นเป็นผู้อื่นหรือไม่ใช่ผู้เป็นที่รักที่ชอบพอ ความคิดปรุงแต่งที่ไม่ประกอบด้วยเมตตาเพียงพอ ก็อาจพาให้เกิดความริษยา ความคิดปรุงแต่งนั้นอาจเป็นไปในทางไม่ชื่นชมยินดีไม่เห็นด้วยในผู้ได้ดี เช่นว่า ไม่มีความดีความเหมาะควรกับความดีที่ได้รับนั้น คนอื่นหรือตัวเองดีกว่า เหมาะควรกว่าเป็นต้น

จิตใจของผู้ปรุงแต่งเช่นนั้น จะเป็นทุกข์เร่าร้อนด้วยความคิดริษยาของตน กล่าวว่าความริษยานั้นให้ความทุกข์แก่เจ้าตัวก่อนแน่นอน เช่นเดียวกับความพลอยยินดีด้วย ที่ให้สุขแก่เจ้าตัวก่อนแน่นอน

ทั้งความพลอยยินดีด้วย และความริษยาเมื่อเห็นเขาได้ดี เกิดจากความคิดปรุงแต่งทั้งสิ้น แตกต่างกันที่เป็นความคิดปรุงแต่งที่ประกอบด้วยเมตตา และเป็นความคิดปรุงแต่งที่ไม่ประกอบด้วยเมตตา ทั้งเป็นความคิดปรุงแต่งที่ประกอบด้วยปัญญา และเป็นความคิดปรุงแต่งที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาอีกด้วย

+ควันอันเกิดจากไฟริษยา บดบังความประภัสสรแห่งจิต

ริษยาเป็นไฟทำให้ใจร้อนใจไหม้ มีผลเป็นควันตลบอยู่ ควันนั้นจะบดบังความประภัสสรแห่งจิต ผู้ที่มีความริษยาแรงเท่าใด การจะแลเห็นความแจ่มใจประภัสสรสวยงามแห่งจิต ย่อมเป็นไปไม่ได้เพียงนั้น

+ดับไฟริษยา ด้วยเมตตาและสันโดษ

ความริษยาจะเกิดหรือไม่เกิด จะเกิดเบาหรือเกิดแรง ขึ้นอยู่กับความคิดปรุงแต่งทั้งสิ้น มิได้ขึ้นอยู่กับอะไรอื่น ผู้มีปัญญารู้ว่าจิตของตนมีความประภัสสรงดงาม แต่ควันแห่งไฟริษยาเป็นสิ่งหนึ่งที่จะปกคลุมไว้มิให้ปรากฏความประภัสสรงดงามล้ำค่าได้

ผู้มีปัญญาจึงพยายามควบคุมความคิดปรุงแต่ง ดับความคิดปรุงแต่ง ที่จะเป็นเหตุให้ความริษยาเกิด ด้วยเมตตาและสันโดษ ผู้มีปัญญารู้จักสันโดษและโทษของความคิดปรุงแต่งเท่านั้น จึงจะได้รู้จักจิตอันแจ่มใสประภัสสร ซึ่งเป็นสมบัติแท้ๆ ของตนที่มีอยู่แล้ว

+มัจฉริยะ คือ ตระหนี่

มัจฉริยะ ท่านแปลว่า “ตระหนี่” ไม่คิดให้ดีจะรู้สึกว่าไม่น่าเป็นไปได้ ที่ความตระหนี่จะทำให้เกิดความเศร้าหมองบังความประภัสสรแห่งจิต ตระหนี่เป็นความเหนียวแน่น ไม่อยากให้อะไรใครง่ายๆ จึงไม่น่าจะยังให้เกิดความเศร้าหมอง

แต่เมื่อพิจารณาก็ย่อมจะเห็นได้ว่า ความเหนียวแน่นคือความตระหนี่นั้น ก่อนจะเกิดขึ้นก็มีความคิดปรุงแต่งเป็นเหตุ คิดปรุงแต่งว่าสิ่งนั้นดีอย่างนั้น งามอย่างนี้ มีค่าอย่างโน้น น่าหวงน่าเป็นสมบัติส่วนตน น่าเสียดายที่จะให้ตกไปเป็นของผู้อื่น

สรุปลงเป็นความยึดมั่นเป็นตัวเราของเราที่ผู้อื่นจะมาเกี่ยวข้องด้วยไม่ได้ แม้จำเป็นจะต้องเสียสิ่งที่ถือว่าเป็นของตนไป ก็จะยึดไว้ดึงไว้ด้วยความหวงแหนิไม่อยากสละให้ผู้ใดอื่นง่ายๆ นี่คือมัจฉริยะ ความตระหนี่

ที่จะเกิดจากความคิดปรุงแต่งเป็นตัวเราของเราด้วย เป็นความปรารถนาต้องการเป็นกามฉันท์ด้วย ล้วนทำให้เกิดความหวั่นไหวในจิตใจทั้งสิ้น จึงเปรียบดังกระเพื่อมแห่งน้ำ ที่ทำให้น้ำไม่ใส ทำให้เกิดหมอกควันห่อหุ่มความประภัสสรแห่งจิต

+ความตระหนี่แก้ได้ด้วยความเสียสละเอื้อเฟื้อ

ความตระหนี่ ก็เช่นเดียวกับอุปกิเลสทุกข้อ คือเกิดจากความคิดปรุงแต่งเช่นกัน ดังนั้นการแก้ความตระหนี่จึงต้องแก้ที่ความคิดปรุงแต่ง คิดปรุงแต่งให้เอื้อเฟื้อ ให้รู้จักความเสียสละ ให้ถือเขาถือเราเพียงพอสมควร คิดปรุงแต่งให้เมตตา ให้กรุณา ให้รู้จักคิดว่า ความตระหนี่ทำให้เป็นคนคับแคบ คนเอื้อเฟื้อทำให้เป็นคนกว้างขวาง

คนคับแคบนั้น เมื่อถึงคราวคับขัน ก็ยากจะหาผู้ให้พึ่ง คิดปรุงแต่งให้เห็นคุณเห็นโทษของความไม่ตระหนี่และความตระหนี่ ย่อมจักสามารถแก้ไขความตระหนี่ให้หมดสิ้น หรือบันเทาเบาบางลงได้ เป็นการลดหมอกควันที่พรางกั้นความประภัสสรแห่งจิตมิให้ปรากฏความแจ่มใสงดงาม

+มายา คือ มารยา

มายา ท่านแปลว่า “มารยา เจ้าเล่ห์” ความหมายละเอียดว่าแสร้งทำ เล่ห์เหลี่ยม ล่อลวง กล ไม่จริง เพียงมายาหรือมารยาก็ทำให้รู้สึกได้ด้วยกันแล้วว่า เป็นความไม่ดีร้อยแปดประการ และเพื่อให้เกิดมายา ก็จะต้องคิดปรุงแต่งในทางชั่วร้ายมากมาย เพื่อให้ตรงกันข้ามกับความจริง

ความจริงดี ต้องการให้ผู้อื่นเห็นว่าไม่ดี หรือความจริงไม่ดี ต้องการให้ผู้อื่นเห็นว่าดี เพื่อประโยชน์ใดก็ตาม ก็ต้องคิดปรุงแต่งใช้เล่ห์เหลี่ยมเพื่อล่อลวงให้ผู้อื่นเห็นตาม ให้เห็นดีเป็นไม่ดี หรือเห็นไม่ดีเป็นดี

+ทางเกิดแห่งมายา

มายาจึงเกิดจากความคิดปรุงแต่งเล่ห์กลเพื่อล่อลวง ความคิดปรุงแต่งเช่นนั้นเป็นความต่ำทราม สกปรก และความสกปรกภายในนั้น ก็เช่นเดียวกับความสกปรกภายนอก เมื่อเกิดขึ้นภายนอก จับเข้าที่ใดก็ย่อมทำให้ความสะอาดอันเป็นสภาพเดิมของที่นั้นปรากฏไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นภายใน จับเข้าที่จิต ก็ย่อมทำให้ความประภัสสรแห่งจิตปรากฏไม่ได้ ถูกบดบังไว้ภายใต้ความสกปรก

+การแสดงออกซึ่งความรู้สึกรู้จริงเห็นจริง ไม่ต้องอาศัยความคิดปรุงแต่ง...ไม่ใช่มายา

มายาก็เช่นเดียวกับอุปกิเลสทั้งหลาย ทำให้เกิดได้ด้วยความคิดปรุงแต่ง ถ้าแสดงออกตามที่รู้สึกที่รู้จริงเห็นจริง รู้อย่างไร เห็นอย่างไร แม้อาจจะเป็นการรู้ผิดเห็นผิด แต่การแสดงออกตรงตามความรู้เห็นนั้น นั่นไม่ใช่มายา นั่นไม่ต้องอาศัยความคิดปรุงแต่ง เกิดขึ้นเองจากความจริงใจ ไม่ใช่จากความคิดปรุงแต่ง ด้วยเลห์เหลียม หลอกลวง อันเป็นความไม่ดี เป็นความสกปรกต่ำทราม

เพียงไม่คิดปรุงแต่งเลห์เหลี่ยมเพื่อหลอกลวงเท่านั้น อุปกิเลสความเศร้าหมอง คือ มายาก็จะไม่เกิด เครื่องพรางชั้นหนึ่งของจิตก็จะไม่ถูกสร้างขึ้น ความประภัสสรแห่งจิตก็จะปรากฏได้บ้าง แม้อุปกิเลสอื่นยังมีเป็นเครื่องพรางจิตอยู่

+สาเถยยะ คือ โอ้อวด

สาเถยยะ ท่านแปลว่า “โอ้อวด” ความโอ้อวดเกิดจากความคิดปรุงแต่ง หาทางแสดงออกให้ผู้อื่นเห็นความสำคัญในทางต่างๆ ของตน เช่นความมั่งมี ความใหญ่โต มีอำนาจวาสนา หรือความฉลาดรอบรู้เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นความสำคัญจริงก็ตามไม่จริงก็ตาม

ความสำคัญนั้นจะปรากฏเป็นที่ล่วงรู้ของผู้อื่นก็ตาม แต่ถ้าเจ้าตัวไม่คิดปรุงแต่งหาทางแสดงออกก็ไม่เป็นการโอ้อวด ไม่เป็นอุปกิเลส ต้องคิดปรุงแต่งเพื่อโอ้อวดเท่านั้นจึงจะเป็นอุปกิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองที่ห่อหุ่มจิต และพรางความประภัสสรของจิต

เพียงไม่คิดปรุงแต่งเพื่อโอ้อวดสิ่งที่มีอยู่แล้วจริงก็ตาม หรือไม่จริงก็ตาม เพียงเท่านั้นสาเถยยะคืออุปกิเลสข้อ ๑๐ ก็จะไม่เกิด ความเศร้าหมองก็จะไม่เกิดเป็นดั่งฝุ่นละอองจับของสะอาดผ่องแผ้ว คือ จิตที่ประภัสสร ให้ปรากฏหมองมัว

+ถัมภะ คือ หัวดื้อ

ถัมภะ ท่านแปลว่า “หัวดื้อ” อันความหัวดื้อหรือความดื้ออย่างรุนแรงเป็นความไม่มีเหตุผลอย่างยิ่ง จะเชื่อหรือไม่เชื่อในเรื่องใด สิ่งใด ก็เป็นไปตามความต้องการจะเชื่อหรือจะไม่เชื่อเท่านั้น ไม่ฟังเหตุผลใดๆ ไม่คำนึงถึงเหตุผลเลย

จะคิดปรุงแต่งแต่ว่าจะต้องไม่เห็นด้วย ไม่เชื่อ ไม่ทำตามและก็ดื้อเท่านั้น เป็นการไม่ใช้ปัญญาคิด หรือไม่มีปัญญาพอจะคิด จึงเป็นความโง่ความมืดแห่งปัญญา

ถ้ามีเหตุผลที่ถูกต้องแล้ว แม้จะไม่เชื่อคำใคร ไม่เชื่อในเรื่องใด สิ่งใด ไม่เรียกว่าหัวดื้อ ไม่เป็นถัมภะ คือไม่เป็นอุปกิเลส ตรงกันข้าม ถ้ามีเหตุผลที่ถูกต้องแล้ว ยังโลเลเชื่อคนนั้นบ้างเชื่อคนนี้บ้าง ทำตนเป็นคนไม่ดื้อ ก็ไม่ถูกต้อง เป็นคนไม่มีปัญญาไม่มีเหตุผล

+การแก้โรหัวดื้อ

การแก้โรค “หัวดื้อ” ต้องใช้ปัญญา ใช้เหตุผล ใช้ปัญญาให้ถูกต้องเพียงพอ ก็เปรียบดังมีแสงสว่างเพียงพอ ตรงกันข้ามกับใช้เหตุผลใช้ปัญญาไม่เพียงพอ ก็เปรียบดังมีแสงสว่างไม่เพียงพอ มีความมืดมาก

การใช้ปัญญาใช้เหตุผลหรือไม่ใช้ปัญญาไม่ใช้เหตุผล ก็ขึ้นอยู่กับความคิดปรุงแต่ง ใช้ความคิดปรุงแต่งให้เบาปัญญาหาเหตุผลไม่ได้ เป็นการสร้างความมืดขึ้นพรางความประภัสสรแห่งจิตตน

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2012, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๘. จงเอาชนะ ความรู้สึกแข่งดี

+สารัมภะ คือ แข่งดี

สารัมภะ ท่านแปลว่า “แข่งดี” ความหมายของคำว่า “แข่งดี” เป็นคนละอย่างกับ “ตีเสมอ” เมื่อพูดถึงตีเสมอ จะได้ความรู้สึกถึงความไม่มีสัมมาคารวะ ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง หยาบคาย ส่วนแข่งดี เป็นเพียงความทะเยอทะยานที่อาจประกอบด้วยขาดอุปกิเลส ข้อริษยาด้วยได้ ไม่ถึงกับแสดงความหยาบคาย ขาดสัมมาคารวะ เช่นตีเสมอ

+ความแข่งดี ให้ความร้อนทั้งใจและกาย

แต่ถึงเช่นนั้น ความแข่งดีก็เกิดจากความคิดปรุงแต่งที่ไม่ดี ให้ความร้อนแก่ตนเองก่อน ซึ่งเป็นเรื่องของใจ ต่อไปก็จะเป็นเรื่องของกายและวาจา เมื่อต้องการแข่งดีกับผู้ใดก็จะต้องพูดต้องทำ เพื่อให้บรรลุถึงความมุ่งหมาย อันจะเป็นการพูดการทำที่ไม่เลือกความควรไม่ควร หรือความถูกความผิด เพราะมีความต้องการแข่งดีเท่านั้น เป็นเหตุผลักดัน ไม่มีเหตุผลอื่น อาจเอาชนะความรู้สึกแข่งดีได้

+เมื่อความรู้สึกแข่งดีเกิดขึ้นกับผู้ใด ความรู้สึกถูกผิดของผู้นั้น ย่อมดับไป

เมื่อความรู้สึกแข่งดีเกิดขึ้นกับผู้ใด ความรู้ถูกรู้ผิดของผู้นั้น ย่อมดับไป ปัญญาก็มิไม่พอจะพิจารณา เป็นความมืดไปหมด ความแข่งดีจะไม่เกิด

ถ้าไม่มีความคิดปรุงแต่งขึ้นมา ว่าทำไมเขาจะต้องสำคัญกว่าเรา ใหญ่กว่าเรา ดังกว่าเรา เราะต้องสำคัญกว่า ใหญ่กว่า ดังกว่าเขา เราจะต้องสำคัญกว่าใหญ่กว่า ดังกว่าให้ได้ และความคิดปรุงแต่งเช่นนี้ จะประกอบพร้อมด้วยความขุ่นเคืองขัดใจ หมายมั่นจะต้องกดอีกฝ่ายหนึ่งให้ต่ำลงกว่าตนให้จงได้

นี่คือความแข่งดีที่ไม่ใช่ความดี ก่อนถึงเวลาที่จะสมดังมั่นหมาย ซึ่งอาจไม่ถึงเวลานั้นเลยก็ได้ ความคิดปรุงแต่งเพื่อแข่งดีจะไม่หยุดยั้ง จะยังให้ร้อนระอุ ให้มืดมัวด้วยควันไฟของความมุ่งมั่นแข่งดี เป็นอีกหนึ่งของเครื่องพรางความประภัสสรแห่งจิตที่เป็นสมบัติล้ำค่าของทุกคน

อันผู้ที่จะเกิดความคิดปรุงแต่เพื่อแข่งดีนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีความมั่นใจในตนเองว่ามีความดีอยู่แล้ว เช่นคนดีทั้งหลาย ทำนองเดียวกับคนมีปมด้อย นี่มิได้หมายความว่าให้ยินดี พอใจ จะดีอยู่เท่าที่เป็นตลอดไป

+การเพิ่มพูนความดียิ่งทวีความเป็นสุข ส่วนความแข่งดีมีแต่จะทวีความร้อนเร่า มืดมิด

ความดีเป็นสิ่งควรเพิ่มพูนไม่หยุดยั้ง แต่การเพิ่มพูนความดี ยิ่งวันยิ่งทวีความเยือกเย็นเป็นสุขสว่างไสวในจิตใจ การแข่งดียิ่งวันยิ่งทวีความร้อนเร่า มืดมิด

ผู้ใดคิดว่า ตนเองกำลังทำความดี แต่มีจิตใจเร่าร้อน หาความสงบสุขยาก ก็พึงเข้าใจเสียให้ถูกต้องว่า ตนมิได้กำลังทำความดี อาจเป็นเพียงกำลังคิดแข่งดีเท่านั้น

+ระดับแห่งความคิดแข่งดี

อันความคิดแข่งดีนั้น มีมากมายหลายระดับ ถ้าคิดแข่งดีกับผู้มีระดับไม่แตกต่างจากตนมากนัก ความเร่าร้อนจากความคิดนั้นก็จะไม่มากมาย ไม่ผลักดันให้พูดให้ทำอย่างรุนแรง เลวร้ายมากมาย

แต่ถ้าคิดแข่งดีกับผู้มีระดับ แตกต่างจากตนมากเพียงไร ความเร่าร้อนก็จะรุนแรงมากมายเพียงนั้น ผลักดันให้พูดชั่ว ทำชั่ว วางแผนชั่ว เพื่อดำเนินไปสู่ความสำเร็จของตน อันผลที่ได้จากการแข่งดีนั้น แม้เจ้าตัวผู้คิดแข่งดีจะถือว่าเป็นผลดี แต่ความจริงมิใช่

ความคิดแข่งดี เน้นความคิดที่ไม่ดี ท่านจึงจัดเป็นอุปกิเลสที่จะปิดกั้นความประภัสสรแห่งจิต และจิตที่ปรากฏความประภัสสรนั้น เป็นสิ่งหาค่ามิได้อย่างแท้จริง จิตที่ปรากฏความประภัสสรเต็มที่ให้เจ้าของเห็นประจักษ์แก่ตัว ย่อมเป็นความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง

+หยุดความคิดปรุงแต่งความแข่งดีเสีย ถ้าปรารถนาจะได้มีโอกาสเห็นจิตที่ประภัสสร

เมื่อใดเกิดความคิดปรุงแต่งขึ้นมาว่า เขาต้องดีกว่าเราไม่ได้ เมื่อนั้นให้รู้ว่านั่นคือ กำลังคิดแข่งดี ซึ่งไม่ใช่ความถูกต้อง เป็นความผิด ความไม่ชอบ พึงพยายามหยุดความคิดนั้นเสียให้ได้ ถ้าปรารถนาจะได้มีโอกาสเห็นจิตที่ประภัสสรของตนคือ มีโอกาสได้พ้นทุกอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง

+มานะ คือ ถือตัว

มานะ ท่านแปลว่า “ถือตัว” มานะที่เป็นอุปกิเลสมิได้หมายถึงความพยายาม ความตั้งใจจริงเป็นความดี แต่มานะความถือตัวเป็นความไม่ดี อย่างไรก็ตามต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า ความถือตัวที่ไม่ดีนั้นเป็นคนละอย่างกับความถูกต้องในการวางต้ว

แม้ว่าการวางตัวอย่างถูกต้องบางทีจะเหมือนเป็นถือตัว แต่ความจริงไม่เหมือนกัน ความไม่ถือตัวมิได้หมายถึงอะไรก็ได้ ใครจะปฏิบัติต่อตนผิดอย่างไรก็ได้ หรือตนจะปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไรก็ได้ ไม่เช่นนั้น สมมติบัญญัติยังมีอยู่ ความถูกต้องตามสมมติบัญญัติต้องรักษาไว้ ต้องระวังให้ถูกต้อง

ไม่ใช่ว่าจะถือว่าเป็นผู้ไม่มีมานะความถือตัว คือผู้ต้องยอมให้ผู้น้อย ไม่มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ หรือไม่ใช่จะถือว่าผู้ไม่มีมานะความถือตัวก็คือ แม้ตนจะเป็นผู้ใหญ่ก็นอบน้อมต่อผู้น้อย ราวกับเป็นผู้น้อยยิ่งกว่า

+ใจที่อบรมถูกต้องตามธรรมนั่นแหละ เป็นใจที่ไม่มีมานะ...ความถือตัว

มานะความถือตัวเป็นเรื่องของใจ ใจที่อบรมแล้วอย่างถูกต้องตามธรรมของพระพุทธศาสนานั่นแหละที่ไม่มีมานะถือตัว ส่วนการแสดงเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสมมติบัญญัติ ที่ผู้เข้าใจไม่ถูกเพียงพออาจเห็นเป็นมานะได้ จึงเป็นเรื่องเฉพาะตนอย่างแท้จริงและต้องเป็นความรู้สึกอย่างจริงใจของตนเองด้วยว่า ตนเองมีมานะเพียงไร

ไม่ใช่ว่าปฏิบัติอย่างหนึ่งและปกปิดความจริงใจบอกว่าใจไม่มีมานะ ปฏิบัติเพื่อความเหมาะสมเท่านั้น การยอมรับกับตนเองอย่างถูกต้องอย่างจริงใจนั่นแหละสำคัญ

+ทางเกิดของมานะ...ความถือตัว

มานะความถือตัวจะเกิดก็ต่อเมื่อคิดปรุงแต่งว่าเราต้องถือตัวเราไว้ เพราะเราดีกว่าเขา เดี๋ยวเขาจะนึกว่าเราเป็นคนระดับเดียวกับพวกเขาจะดูถูกได้ และก็อาจจะคิดปรุงแต่งยืดยาวต่อไปในทำนองนี้ได้อีกมากมาย

ยิ่งคิดปรุงแต่งไปในทำนองดังกล่าวมากอีกเท่าไร มานะถือตัวก็จะยิ่งมากขึ้นแรงขึ้นเพียงนั้น ให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ความร้อนความมืดแห่งสติปัญญาพรางความประภัสสรแห่งจิตเพียงนั้น

ความคิดปรุงแต่งเป็นเหตุให้เกิดมานะความถือตัวจึงต้องระวังความคิดปรุงแต่งให้ดีที่สุด พยายามยับยั้งที่จะไม่ให้มีความคิดปรุงแต่งให้มากที่สุด เมื่อบังคับไม่ได้จริงแล้วก็พึงพยายามอย่าคิดปรุงแต่งที่จะนำให้เกิดอุปกิเลส เช่นมานะถือตัวเป็นต้น

+อติมานะ คือ ดูหมิ่นท่าน

อติมานะ ท่านแปลว่า “ดูหมิ่นท่าน”ก็เข้าใจได้ชัดแล้วว่าความรู้สึกหรือการกระทำที่เป็นการดูหมิ่นไม่ใช่สิ่งดี เป็นที่ตำหนิของคนทั่วไป ดูหมิ่นกับดูถูกก็ทำนองเดียวกัน ผู้ที่คิดดูหมิ่นหรือแสดงอาการดูหมิ่นผู้อื่นก็ต้องเริ่มจากความคิดปรุงแต่งว่าผู้อื่นต่ำต้อยกว่าตนต่างๆ

เป็นต้นว่า ฐานะความรู้ความสามารถ ชาติตระกูล เมื่อเกิดความคิดปรุงแต่งเช่นนี้ขึ้น ต้องพยายามหยุดให้ได้ จึงจะไม่เกิดความรู้สึกดูหมิ่นติดตามมา เปรียบดังพัดพาหมอกควันที่เริ่มขึ้นมิให้ผ่านเข้าปิดบังความประภัสสรแห่งจิตเพิ่มขึ้นกว่าที่มีอยู่เพราะความคิดปรุงแต่ง อันเป็นอุปกิเลสข้ออื่นๆ

+ความคิดดูหมิ่นท่าน ป้องกันได้ด้วยการตั้งใจทำดี

ผู้มีความรู้ความสามารถหรือสติปัญญาหรือฐานะชาติตระกูล รู้แน่ในความเป็นจริงเช่นนั้นของตน จักไม่ทะนงเห่อเหิม เห็นตนวิเศษกว่าผู้ใดผู้หนึ่งแล้วดูหมิ่นผู้นั้น

ผู้ไม่มีสมบัติดังกล่าว แต่ปรารถนาจะให้เขายกย่องว่ามี นั่นแหละที่จะคิดปรุงแต่งไปต่างๆ นานาว่า คนนั้นคนนี้ต่ำต้อยกว่าตน แล้วก็ดูหมิ่นเขาแสดงออกให้ปรากฏ จะแก้ไขได้ด้วย การอย่านำตนไปเปรียบกับผู้อื่น

ตั้งใจทำดีเท่านั้น นั่นแหละจึงจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะได้พ้นทุกข์ ได้ประจักษ์ชัดเจนในความประภัสสรแห่งจิตตน

+มทะ คือ มัวเมา

มทะ อุปกิเลสข้อ ๑๕ ท่านแปลว่า “มัวเมา” คนเมาเหล้าจนไม่มีสติ สามารถทำวามผิดได้โดยไม่รู้ตัว ผู้มัวเมาก็เป็นเช่นเดียวกัน ความหลงในลาภยศสรรเสริญสุข หรือความหลงในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ จนลืมความถูกความควร

คือความมัวเมานี้ เป็นอุปกิเลสที่เกิดขึ้นจากความคิดปรุงแต่งให้เพลิดเพลิน เห็นลาถยศสรรเสริญสุขเป็นความสำคัญที่สุดสำหรับชีวิต จึงทำทุกสิ่งได้ไม่ว่าถูกหรือผิดควรหรือไม่ควรเพื่อให้ไดด้มา

+ความมัวเมาเกิดขึ้น ความเสื่อมเสียย่อมตามมา

คนเมาเหล้าเมื่อสร่างเมาแล้วยังมีโอกาสที่จะมีภาวะฐานะเช่นเดิมได้ แต่คนเมาลาภยศสรรเสริญสุขไม่มีโอกาสเช่นนั้น เมื่อความมัวเมาเกิดขึ้นแล้ว ความเสื่อมเสียย่อมเกิดตามมา ทั้งในความรู้ความเห็นของคนอื่นทั้งหลาย

โดยเฉพาะความรู้สึกนึกคิดของตัวเองจะมืดมัวปิดบังความประภัสสรแห่งจิตได้ และความคิดปรุงแต่งว่าดีว่าสนุกว่าสบายนั่นเอง ทำให้ติดทำให้มัวเมาให้ปรารถนาต้องการ ผู้มีปัญญาจึงพยายามหยุดความคิดปรุงแต่งนั้น เพื่อให้พ้นจากความมัวเมา เพื่อให้ปรากฏความประภัสสรแห่งจิต

+ปมาทะ คือ เลินเล่อ

ปมาทะ อุปกิเลสข้อ ๑๖ ท่านแปลว่า “เลินเล่อ” คือประมาทนั่นเอง ความประมาทเลินเล่อก็เกิดจากความคิดปรุงแต่งเช่นกันเพียงง่ายๆ คือคิดปรุงแต่งว่าไม่เป็นไรเท่านั้นก็ประมาทได้แล้ว ที่ชอบคิดกันก็คือไม่เป็นไรเรามีบุญมาก หรือไม่เป็นไรเราไม่ได้ทำไม่ดี หรือไม่เป็นไรเราต้องสบายไปทุกชาติ ดังนี้ เป็นต้น

+ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย แก้ได้ด้วยการ อย่าคิดว่า “ไม่เป็นไร” ไปเสียหมด

นี่คือประมาทที่ท่านกล่าวว่า เป็นทางแห่งความตาย ที่ชัดๆ ก็คือความมัวเมาบังปัญญา บังความประภัสสรแห่งจิต จึงพึงทำลายความประมาทเลินเล่อเสีย ด้วยวิธีอย่าคิดปรุงแต่งว่า ไม่เป็นไร ไปเสียหมด

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2012, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๙. พุทธวิธีแก้ความหวาดกลัว

+พุทธวิธีแก้ความหวาดกลัว

พระพุทธศาสนา แสดงวิธีสำหรับแก้ความรู้สึกหวาดกลัวไว้ ๓ ประการ คือ...

ให้คิดถึงสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการคิดถึงพระพุทธคุณว่า

ทรงเป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงเป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา ทรงเป็นผู้รู้ชอบเอง ทรงเป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ ทรงเป็นผู้ไปดีแล้ว ทรงเป็นผู้ทรงรู้โลก ทรงเป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า

ทรงเป็นผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้เบิกบานแล้ว ทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรมดังที่คิด คือสวดในใจ หรือสวดออกเสียงกันอยู่ว่า

“อิติปิ โส ภควา
อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ
วิชฺชา จรณสมฺปนฺโน
สุคโต โลกวิทู
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทโธ ภควา”

+ระลึกในพระธรรมคุณ

วิธีแก้ความหวาดกลัวอีกวิธีหนึ่ง คือให้คิดถึงพระธรรม ด้วยการคิดถึงพระธรรมคุณว่า พระธรรมอันสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง เป็นของไม่กาลเวลา เป็นของเรียกผู้อื่นให้มาดูได้ เป็นของอันบุคคลพึงน้อมใส่ใจตน เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้ได้เแพาะตัว

ดังที่คิดคือสวดในใจ หรือสวดออกเสียงกันว่า
“สวากฺขาโต ถควตา ธมฺโม
สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก
โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ วิญฺญูหิ”

+ระลึกถึงพระสังฆคุณ

วิธีแก้ความหวาดกลัวอีกวิธีหนึ่ง คือให้คิดถึงพระสงฆ์ ด้วยการคิดถึงพระสังฆคุณว่า พระสงฆ์สาวกของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
พระสงฆ์สาวกของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
พระสงฆ์สาวกของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว
พระสงฆ์สาวกของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว

คือคู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔ บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘ นี้ พระสงฆ์สาวกของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นผู้ควรสักการะที่เขานำมาบูชา ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

ดังที่คิดคือสวดในใจ หรือสวดออกเสียงกันอยู่ว่า
“สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐปุริสปุคฺคลา
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ
อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเนยฺโย อญฺชลีกรณีโย
อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส”

+ความระลึกถึงพระบรมศาสดา เป็นสิริมงคลอันสูงสุดแก่จิตใจ

การภาวนาพุทโธ หรือธัมโม หรือสังโฆ เพียงสั้นๆ คำใดคำหนึ่งหรือสองคำสามคำ นับได้ว่าเป็นการระลึกถึงพระธรรม หรือระลึกถึงพระสงฆ์ ผลย่อมตรงกัน คือความหวาดกลัวที่แม้เกิดขึ้นจักหายไปสิ้น

ความคิดถึงสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นสิริมงคลสูงสุดแก่จิตใจ สงบความวุ่นวายทั้งปวง ไม่ว่าจะกำลังร้อนด้วยความคิดใด ความคิดไปถึงสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระธรรม หรือพระสงฆ์ จักดับความร้อน ยังความเย็นให้เกิดขึ้นแทนที่ได้ ไม่พึงปฏิเสธความจริงอันเป็นมงคลนี้

+สื่อสำคัญที่ทำให้เกิดกิเลส

รูปธรรมทั้งปวง ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ เป็นสื่อสำคัญขิงกิเลส โลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นนามธรรม เพราะคิดปรุงแต่งเมื่อเห็น คน สัตว์ สิ่งของทั้งหลาย ให้เห็นสวย เห็นงาม เห็นน่าเกลียด น่าชัง

ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะเหมือนถูกดึงดูดให้เคลื่อนจากที่ที่มีความโลภ ความโกรธ ความหลงอยู่แล้วเต็มแน่น ให้เข้าประชิดติดใจ ห้อมล้อมจิตใจให้หนาแน่นยิ่งขึ้นทุกครั้งที่มีความคิดปรุงแต่งดึงดูดกิเลส

แสงแห่งความบริสุทธิ์สะอาดอันเป็นธรรมชาติ ประภัสสรของจิตแท้จะถูกบดบังมือมิดเข้าทุกทีๆ ฤทธิ์ร้ายแรงร้อยแปดประการของ ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะแสดงออกเป็นลักษณาการต่างๆ กัน ล้วนเป็นความชั่ว ความเลวร้าย ที่จะป้ายความสกปรกให้เต็มโลก ยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น

+อำนาจจิตของมนุษย์

อำนาจจิตของมนุษย์มีกำลังเหนืออำนาจทั้งหลาย เมื่อจิตดี มีแสงแห่งความบริสุทธิ์ ที่ไม่ถูกความเศร้าหมองของกิเลสบดบัง อำนาจจิตที่ดีนั้น ก็จะส่งผลดีให้เกิด เป็นผลดีที่จะเกิดแก่โลก นั่นก็คือ มีคนดี มีผู้มีจิตดีมากเพียงใด อำนาจที่ดีก็จะส่งผลดีให้เกิดแก่โลกมากเพียงนั้น

ความเจริญของจิตใจจะมีได้แต่ในจิตใจที่ดีเท่านั้น จิตใจที่ไม่ดีจะมีแต่ความเสื่อมทราม อันจะทำให้ก่อกรรมทำความเสื่อมทรามให้เกิดแก่โลก

เมื่อโลกวุ่นวายด้วยความวิปริตต่างๆ ไม่ว่าจะภัยเกิดแต่มนุษย์หรืออมนุษย์ หรือภัยเกิดแต่ธรรมชาติก็ตาม นั่นคือเครื่องแสดงถึงจิตใจมากมายที่มืดมิดเป็นอันมาก ด้วยความสกปรกเศร้าหมองของกิเลส

ทั้งโลภ ทั้งโกรธ ทั้งหลง พึงช่วยกันแก้ไขด้วยพยายามอบรมจิตของตน ให้เศร้าหมองน้อยที่สุด ให้ไกลจากความโลภ ความโกรธ ความหลง

+ภัยอันน่าหวาดกลัวที่สุดของมนุษย์

ภัยทั้งหลายที่ทำลายบ้านเมืองและล้างผลาญชีวิตเป็นที่หวาดกลัวนั้น ไม่เป็นที่ปรารถนาให้เกิดเป็นอย่างยิ่ง แต่ความปรารถนาของผู้คนทั้งโลก ไม่อาจยับยั้งความหายนะอันเกิดแต่ภัยดังกล่าวได้ บังเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า หนักหนารุนแรงขึ้นขึ้นทุกที่ทั่วทั้งโลก

มิได้มีเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง ไทยที่เป็นเมืองพระพุทธศาสนาแท้ๆ ก็ยังหนีไม่พ้น จะโทษอะไรอื่นอีกไม่ได้...ไม่ถูก ต้องโทษกิเลสที่ท่วมทับจิตใจคน จนสกปรกมากมาย ก่อให้เกิดอำนาจร้ายอย่างรุนแรง เป็นมหันตภัยน่าสะพึงกลัวยิ่งนัก วิธีเดียวที่จักแก้ไขได้คือ พากันทำใจให้ไกลกิเลสพอสมควร ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

ไทยเป็นเมื่อพระพุทธศาสนา มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ควรอย่างยิ่งที่จะออกมาช่วยดับร้อนของโลก ที่กำลังรุนแรงเป็นที่รู้สึกกันอยู่ ให้ปรากฏความสงบร่มเย็น ปราศจากภัยพิบัติในบ้านเมืองเราเป็นอันดับแรก ให้ความเป็นเมืองพระพุทธศาสนาของเราระบือไกล

ให้โลกประจักษ์แก่ใจว่า การปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีความมหัศจรรย์ยิ่ง จะเป็นเครื่องกำบังความร้อนจากภัยทั้งปวงมิให้เข้าถึงได้ อดทนทำใจให้สละสิ่งที่ปรารถนาต้องการที่ผิดศีลธรรมเสียบ้าง

อบรมเมตตาให้มีขึ้นแม้เพียงไม่ต้องแผ่ออกไปให้ใครอื่น เพียงให้เย็นใจตนเองเสียบ้าง เท่านี้ก็จะพอทำให้ไทยร่มเย็นเป็นสุขได้แล้ว

+จิตเพียงดวงเดียวที่เป็นจิตที่ดี ก็ทำให้สังคมที่อยู่ร่วมกันมีความสงบสุขได้

อำนาจจิตของมนุษย์บันดาลได้จริง บันดาลให้โลกเย็นก็ได้แม้เป็นอำนาจจากจิตที่ดี บันดาลให้โลกร้อนเป็นไฟด้วยภัยต่างๆ ก็ได้ แม้เป็นอำนาจจากจิตที่ชั่ว นี้เป็นความจริงแน่ จึงควรอบรมจิตตนและช่วยอบรมจิตกันและกันโดยควร

จิตเพียงดวงเดียว คือจิตของคนเพียงคนเดียว ก็มีอำนาจบันดาลให้เห็นได้อยู่แล้ว จิตเพียงดวงเดียวที่เป็นจิตดี หรือคนดีนั่นเอง แม้เพียงคนเดียว ก็สามารถช่วยสังคมที่อยู่ร่วมด้วยเป็นสังคมที่มีความสงบสุขได้

แต่จิตเพียงดวงเดียวที่เป็นจิตชั่ว หรือคนชั่วนั่นเอง แม้เพียงคนเดียว ก็สามารถทำให้สังคมที่อยู่ร่วมด้วยเป็นสังคมที่ร้อนระอุได้ โลกร้อนก็เพราะจิตจำนวนมากเป็นเหตุ ปรารถนาให้โลกคลายร้อน ก็ต้องชักชวนกันเชื่อสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ยิ่งกว่าทุกวันนี้

อะไรที่ทรงสอนไว้ให้ทำก็พยายามชักจูงกันให้ช่วยกันทำ อะไรที่ทรงสอนให้หลีกเลี่ยงก็พยายามชักจูงกันให้หลีกเลี่ยง ความดีจึงทำ ความไม่ดีอย่าทำ ชวนกันส่งเสริมกันสนับสนุนกันให้เป็นพวกเป็นหมู่

แล้วทำแต่ที่ดีที่เป็นบุญเป็นกุศล ที่เป็นความชั่วความร้าย เป็นบาปเป็นอกุศล พยายามหลีกเลี่ยง....อย่าทำแล้วใจที่ร้อนกันอยู่ก็จะเป็นสุขความเย็นความสุขจากใจ ยังจะแผ่ไกลออกไปเป็นความเย็นความสุขรอบตัวได้อีกด้วย

+“เหตุ” เริ่มต้นที่แท้จริงคือ “ใจ”

ใจสำคัญที่สุด โดยมีความคิดทำให้สำคัญ ที่ทำบุญทำกุศลสร้างพระสร้างวัด สร้างโรงเรียนกันได้สำเร็จ ก็มิใช่เกิดจากอะไร มิใช่เกิดจากเงิน คือเงินมิใช่เหตุเริ่มต้น เหตุเริ่มต้นที่แท้จริงคือใจ ใจที่ประกอบด้วยความคิดอันเป็นบุญเป็นกุศล เป็นกรรมดี ก็ย่อมปรากฏวัตถุที่เป็นเครื่องหมายของความดีอย่างแน่นอน

เหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นให้รู้ให้เห็น เป็นที่สดสังเวชในทุกวันนี้ ในฐานะผู้ได้รู้ได้เห็นได้ยินได้ฟัง ควรต้องคำนึงถึงเหตุสำคัญ คือความคิดของผู้ก่อเหตุร้ายเหล่านั้น ถ้าความคิดไม่มืดมัวด้วยกิเลส ก็จะไม่มีการก่อเหตุร้ายแรงถึงทำลายล้างชีวิตกันได้ ยิ่งกว่ากุ้งปูปลา

คิดให้ดี ให้กลัวความคิดที่ประกอบด้วยกิเเลส หรือกลัว กิเลสก็เช่นเดียวกัน คิดให้ชัดเจน จนเกิดความกลัวความคิดของตนเองว่า อาจก่อกรรมร้ายได้แม้มีกิเลสเข้าบัญชาเข้าควบคุม

เมื่อความกลัวเกิด ก็ควรต้องระมัดระวังความคิดของตน อย่าให้เป็นความคิดที่มีความโลภ ความโกรธความหลงครอบงำ นำให้เป็นไปชั่วร้ายต่างๆ นานา

+ทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งในเรื่องกรรม

ปัจจุบันนี้มีเรื่องร้ายแรงเกิดขึ้นไม่ว่างเว้น เพื่อให้ได้ประโยชน์แก่ตนเอง ต้องระวังความคิดให้ดีที่สุด อย่าให้เพ่งโทษใครทั้งนั้น ไม่ว่าใครจะทำบาปกรรมชั่วช้าสาหัสสักเพียงไหนทรยศคดโกงใคร ลักโขมยใครฆ่าใคร ให้เป็นบาปกรรมของเขา

เราต้องได้ประโยชน์ คือต้องได้รับความเข้าใจชัดแจ้ง ในเรื่องของกรรม เมื่อกรรมส่งผลเต็มที่เมื่อใด หรือตามมาทันเมื่อใด เมื่อนั้นผู้ที่ทำกรรมต้องได้รับผลของกรรมนั้น หลีกเลี่ยงไม่ได้

+กรรมทางกาย ทางวาจา เกิดจากกรรมทางใจ

ก่อนจะลงมือทำกรรมใดทั้งสิ้น ไม่ว่าดีหรือชั่ว ที่เป็นบุญหรือเป็นบาป ที่เป็นกุศลหรืออกุศล ความคิดจะต้องเกิดก่อนที่เรียกว่าเป็นกรรมทางใจ ต่อจากนั้นจึงจะตามมาด้วยกรรมทางกายและทางวาจา

การกระทำทางกายและทางวาจา จะไม่เกิดเองโดยไม่มีการกระทำทางใจเป็นเหตุเริ่ม คือถ้าใจไม่คิดจะทำหรือไม่คิดจะพูด ก็จะไม่มีการทำไม่มีการพูด ความคิดจึงสำคัญอย่างยิ่ง เช่นนี้

ผู้ปรารถนาจะพูดดีทำดีจึงระวังความคิด ไม่ปล่อยให้หลงผิดไปตามอำนาจของกิเลส คือไม่คิดวุ่นไปด้วยความโลภ ด้วยความโกรธ ด้วยความหลง

เพราะกิเลสคือความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น ไม่มีคุณแม้แต่น้อย มีโทษสถานเดียว และมักจะเป็นโทษหนัก ที่ให้ความร้อน ที่เป็นทุกข์โทษภัย ทั้งแก่ตนเองและผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย

+ผู้มีปัญญา พยายามใช้ความคิดให้เป็นประโยชน์

เมื่อไม่มีผู้ใดสามารถหลีกให้พ้นความคิดได้ ผู้มีปัญญาจึงพยายามใช้ความคิดให้เป็นประโยชน์ ไม่เห็นเป็นโทษ คือเมื่อต้องคิดจริงๆ แล้ว ก็ไม่คิดให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง เห็นอะไรคิดถึงอะไร แม้จะเป็นสิ่งน่าใคร่น่าปรารถนาเพียงไหน ก็พยายามบังคับความคิดให้เต็มความสามารถ ไม่ปรุงแต่งจนเห็นความเลิสเลอน่าได้เป็นสมบัติของตน

คือไม่คิดให้เกิดความโลภเกิด...ไม่คิดเช่นนั้น เพราะนั้นหมายความว่าจะต้องคิดหาวิธีเพื่อให้ได้มาเป็นของตนจนได้ และแม้เป็นความโลภที่รุนแรงมาก ก็จะสามารถละเมิดศีลอันไม่ควรละเมิดได้ แจะไม่ละเมิดเพียงเล็กน้อยเพียงเบาๆ ตลอดไปเท่านั้น แต่จะสามารถละเมิดได้อย่างรุนแรงยิ่งขึ้น

คือไม่เพียงลักขโมยเท่านั้น แต่จะถึงกับประหัติประหารกันได้ ผลที่ตามมาก็หาใช่ว่าจะไม่เป็นทุกข์โทษภัยของตน

+กรรมและการให้ผลของกรรม เป็นจริงเสมอ

กรรมและการให้ผลของกรรม เป็นความจริงเสมอ ไม่มียกเว้นในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ใดทำกรรมใดไว้ จักได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอน เมื่อยังต้องคิดอยู่ ก็พึงคิดไว้เสมอถึงเรื่องของกรรมเพื่อจะได้เชื่อกรรม เบิกบานในผลของกรรมดีและกลัวผลกรรมไม่ดี

+ความคิดที่เป็นไปด้วยอำนาจของความโลภ

ความคิดที่เป็นไปด้วยอำนาจของความโลภ มีปรากฏให้รู้ให้เห็นไม่เว้นวัน เพราะปรากฏเป็นการกระทำคำพูดให้ได้เห็นได้ยินอย่างชัดเจนว่า เป็นเรื่องของความคิดโดยแท้ๆ มิใช่เรื่องอะไรอื่น

ความเป็นความตายที่เกิดจากการกระทำคำพูดภายใต้อำนาจความโลภนั้น ก่อให้เกิดความสลดสังเวชมาแล้วหนักหนา ทั้งยังตามมาด้วยการต้องรับกรรมอันเป็นส่วนผลของผู้ประกอบเหตุอีกด้วย ผู้ไม่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ที่เพียงได้รู้ได้เห็น ควรต้องสังวรระวังความคิดให้จงดี อย่าก่อมลทินความเศร้าหมองให้เกิดแก่ใจยิ่งขึ้น

แต่จงเป็นการขจัดความมืดที่มีอยู่แล้วด้วยกันทุกปุถุชน ทำปัญญาในพระพุทธศาสนาให้สว่างไสวยิ่งขึ้น ด้วยการคิดให้รู้ซึ้งแม้พอสมควรในเรื่องกรรม เหตุร้ายที่เกิดแต่ละเรื่องแต่ละครั้ง แสดงให้เห็นความเที่ยงแท้ของกรรมจริงๆ อยู่เป็นสุขสนุกสบายดีๆ ก็มีอันให้ต้องตกอยู่ในมือมัจจุราชให้ต้องตกอกตกใจ ต้องเจ็บปวดทรมานและต้องเสียชีวิต

ผู้เชื่อในกรรมต้องยอมรับว่า อกุศลกรรมตามมาถึงแล้ว จึงหนีไม่พ้น...มือของกรรมต้องปฏิบัติหน้าที่โหดเหี้ยมทุกประการ เพื่อให้ผลของกรรมปรากฏจนได้ น่าจะกล่าวว่าเป็นการสอนในรูปแบบที่วิจิตรพิสดารของพระพุทธศาสนา ที่จะช่วยให้สัตว์โลกทั้งหลายมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ปฏิบัติให้ไกลพ้นจากกิเลส โลภ โกรธ หลงได้

ไกลจากนรกอเวจีทั้งในภพชาตินี้แภพชาติต่อๆ ไป ที่คนดีเท่านั้นจะหนีพ้น

+อำนาจของความชั่วร้ายเป็นอำนาจมหัศจรรย์

อำนาจชั่วร้ายที่ครอบงำจิตใจผู้คนอยู่ ที่ปรากฏให้รู้ให้เห็นจากการทำชั่วสารพัดรูปแบบนั้น เมื่อรวมตัวกันเข้ามากๆ ย่อมให้เกิดผลเป็นอะไรๆ ที่หนักหนาได้

อำนาจความชั่วร้ายนั้น เป็นอำนาจมหัศจรรย์ เมื่อจะส่งผลเต็มที่ ก็ย่อมปรากฏเลวร้ายให้ประจักษ์ชัด ลากมือคนอ่อนแอพ่ายแพ้แก่กิเลสไปจับอาวุธ พิฆาตฟาดฟันผู้คนไม่เลือกหน้ายังทำได้ ผักดันผู้ได้สั่งสมกรรมร้ายไว้ซับซ้อนมากมายในหลายอดีตชาติ เข้าไปสู่มือมัจจุราชผู้ยุติธรรมมก็ยังทำได้ ดังเป็นที่เห็นๆ กันอยู่มากมาย

แล้วไฉนเล่าอำนาจชั่วร้ายเมื่อครองโลกได้ จะไม่ทำโลกให้ปั่นป่วนเร่าร้อนเลือดหลั่งไหลชะโลมดินคร่าชีวิตมนุษย์ ทั้งด้วยภัยธรรมชาติและภัยจากกิเลส อำนาจชั่วร้ายหรืออำนาจความคิดที่ชั่วร้าย จึงน่ากลัวนัก มีภัยร้ายแรงนัก ต่อชีวิต และต่อโลก

+ความคิดที่ดีงาม หนีพ้นภัยร้ายของกิเลสได้

ทุกลมหายใจเข้าออก ทุกคนคิด คิด คิดไม่รู้จักหยุด แม้คิดให้ถูกให้ชอบให้ดีทุกลมหายใจเข้าออก ย่อมจะสั่งสมความดีได้มากมายนัก

ในทางตรงข้ามแม้ตามใจกิเลส คิดไม่ถูกไม่ชอบไม่ดี ทุกลมหายใจเข้าออก ย่อมจะสั่งสมความไม่ดีไว้มากมายเช่นกันและไม่ว่าจะเป็นใคร ดีชั่วอย่างไร ทุกคนปรารถนาจะสั่งสมความดี ปรารถนาจะให้ใครๆ ชมตนว่าเป็นคนดี

แต่ไม่ทุกคนที่สมปรารถนา เพราะเพียงแต่ปรารถนา หาได้ทำเหตุเพื่อให้ถึงผลอันตามปรารถนาไม่ นั่นก็คือปรารถนาเป็นผู้มีบุญสั่งสมมากๆ มีความดีสั่งสมมากๆ แต่ก็หาได้ทำดีทำบุญอันเป็นส่วนเหตุให้มากๆ

การทำไม่ดีก็เพราะพ่ายแพ้แก้อำนาจของคนชั่ว ที่ชักจูงให้เห็นผิดเป็นชอบ ตกเป็นทาสของความโลภ ความโกรธ ความหลง คิดแต่จะกอบโกยจะเข่นฆ่าจะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความได้มาต่างๆ นานาของตน

ความคิดที่เกิดจากความพ่ายแพ้แก่กิเลสนั้นรุนแรงนัก แม้ไม่ตั้งใจจริงที่จะเปลี่ยนให้เป็นความคิดที่ดีงาม ที่ประกอบชอบด้วยเหตุผล ย่อมยากที่จะหนีพ้นโทษภัยร้ายแรงของกิเลส ที่มีความคิดเป็นต้นเหตุนำไปสู่จิตใจตน

+ภัยที่ควรกลัวมากที่สุดในชีวิต

คิดในแง่หนึ่ง จะว่าพวกเราโชคดีก็น่าจะได้ที่มีเหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆ นานา เกิดขึ้นให้คิด ให้เห็นความแรงร้ายของความคิดชั่ว ซึ่งก่อให้เกิดผลเป็นโทษยิ่งใหญ่ กระทบกระแทกถึงผู้มีกรรมร่วมกันอย่างฉับพลันทันทีได้ ไม่ต้องรอถึงชาติหน้าชาติไหน

เราจะโชคดีมาก ถ้าสามารถนำความสะเทือนใจของผู้คนร่วมชาติมาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ อาจจะต้องตั้งปัญหาถามกันเองว่า...กรรมอะไรที่ทำกันไว้หนอ จึงทำให้ต้องมาก่อกรรมทำเข็ญเข่นฆ่ากันอย่างโหดเหี้ยมอำมหิต เหลือจะรับได้ เหลือจะเข้าใจถึงจิตใจผู้เป็นมนุษย์แท้ๆ

วิธีตัดปัญหาที่ควรนำมาใช้อย่างยิ่งคือ “ให้โทษกิเลส” จะเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด จะไม่ผิดแน่นอน กิเลสเท่านั้นที่เป็นต้นเหตุที่แท้จริง ความโลภ ความโกรธและความหลงเป็นต้นเหตุจริงๆ ไม่ต้องกลัวใครที่ไหน ไม่ต้องกลัวอะไรอื่น “กิเลสและกรรมเท่านั้นที่ควรกลัวให้ดีที่สุด” ควรกลัวจริงๆ

+กิเลส...ภัยอันร้ายแรงยิ่งกว่าเสือร้าย

เป็นความจริงที่ว่า ผู้ใดทำกรรมใดไว้ จักเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้นและก็เป็นความจริงอีกเหมือนกันว่า “ผู้ใดทำกรรมดีได้เพียงใด ก็อยู่ที่กิเลสของผู้นั้นจะบางเบาเพียงใด กิเลสจะห่างไกลจิตใจผู้นั้นเพียงใด ผู้ใดจะทำกรรมชั่วเพียงใด ก็อยู่ที่กิเลสของผู้นั้นจะหนักหนาเพียงใด”

น่าสงสารผู้ที่ทำความผิดร้ายทั้งหลาย ที่ต่างถูกกิเลสบังคับข่มขืนให้ทำ ให้จำต้องได้รับผลร้ายเพราะการกระทำนั้น ทั้งที่ความจริงผู้ทำเป็นเพียงทาสของกิเลส ถูกกิเลสบีบบังคับจริงๆ แต่กิเลสเป็นนามธรรม

ไม่มีใครเห็นหน้าตา จะออกฤทธิ์เพียงไรก็ไม่มีความผิด ความผิดจะตกอยู่กับผู้อ่อนแอ ผู้ยอมพ่ายแพ้แก่กิเลส ต้องได้รับโทษทัณฑ์ ทรมานกาย ทรมานใจ น่าเวทนา ดั่งปรากฏให้รู้ให้เห็นอยู่ทุกวัน รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ

กิเลส โลภโกรธ หลง เหมือนเสือร้าย จะเริ่มชีวิตเป็นเพียงตัวน้อยๆ ถ้าได้รับอาหาร รับการประคบประหงมก็จะเติบใหญ่ มีเรี่ยวแรงยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ขณะตัวเล็กตัวน้อยก็ไม่น่ากลัว ผู้ประมาทจึงไม่กลัว ความประมาทจะทำให้ลืม...ไม่รับรู้ว่าเสือนั้นดุร้าย มีวันที่ความดุร้ายทำให้ฉีกเนื้อผู้เลี้ยงดูแน่นอน

กิเลสไม่แตกต่างจากเสือ ทั้งยังมีฤทธิ์ร้ายแรงยิ่งกว่าเสืออย่างประมาณไม่ได้ ผู้ยอมเชื่อความจริงว่า “กิเลสร้ายกว่าเสือ” ย่อมไม่ประมาทเลี้ยงกิเลสให้เติบโต ย่อมหาวิธีทุกอย่างที่จะหลีกหนีกิเลสให้ไกลแสนไกล

ผู้ที่ลี้ยงเสือจนเสือเติบโตแข็งแรงเต็มที่ จะรู้ได้เห็นได้ที่รูปร่างของเสือ ผู้ที่เลี้ยงกิเลสจนกิเลสเติบโตมโหฬาร จะรู้ได้เห็นได้ก็ที่การกระทำของผู้นั้น เขาทำกรรมไม่ดีได้หนักหนาใหญ่โตเพียงใด นั่นคือความยิ่งใหญ่ของกิเลสที่ห่อหุ้มจิตใจเขาว่ามีเพียงนั้น

และผู้เลี้ยงกิเลสด้วยกันต่างก็ไม่ตำหนิกัน ไม่เอื้อเฟื้อช่วยห้ามช่วยเตือนกัน มีแต่จะเห็นดีเห็นงามให้ความร่วมมือกัน เมื่อใดกิเลสเห็นงานให้...ก็เหมือนเสือใหญ่โดดตะปบไม่รู้ปล่อย เมื่อนั้นจะทนทุกข์ทรมานด้วยพิษบาดแผลที่เหวอะหวะ ก็ยากจะเยียวยาได้

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2012, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๑๐. ตนที่ฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งที่ดี

+ตนที่ฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งที่ดีของตน

ตนที่ฝึกแล้วดี หรือตนที่เป็นคนดี ย่อมเป็นที่พึ่งที่ดีของตนเอง อันที่พึ่งที่ดีนั้น ผู้ใดไม่ยอมรับว่าคือตัวของตัวเองดี ผู้นั้นต้องพยายาแสวงหาอยู่

กล่าวได้ว่าทุกคนปรารถนาจะมีที่พึ่งที่ดี แต่โดยมากพากันไปคิดว่าจะพึ่งคนนั้นคนนี้ที่มีบุญมีวาสนา มีอำนาจราชศักดิ์ใหญ่ ในวงการนั้นวงการนี้ เพื่อว่าตนจะได้มีความสวัสดี มีความปลอดโปร่งเมื่อต้องเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับวงการใดวงการหนึ่งดังกล่าว

ความคิดนี้ทำให้คนเป็นอันมากพากันเข้าไปห้อมล้อมผู้มีอำนาจวาสนา เกิดการกีดกันแก่งแย่งกันขึ้นอยู่เนื่องๆ และบางทีการเข้าไปห้อมล้อมก็เป็นการเข้าไปผิดคนผิดที่ คิดนึกว่าเป็นคนที่ดี เป็นที่ที่ดี แต่ก็หาได้เป็นจริงเช่นนั้นไม่ กลับกลายเป็นไปห้อมล้อมคนไม่ดี ไปสู่ที่ไม่ดี ก่อให้เกิดความวุ่นวายยุ่งยากตามมาได้ต่างๆ

นี่ก็เป็นเพราะแสวงหาที่พึ่งภายนอก จึงเป็นอันแน่นอนว่าที่พึ่งภายนอกนั้น ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป ไม่ใช่ว่าจะเหมาะสมกับตนเสมอไป ไม่ใช่ว่าจะช่วยตนจะเป็นที่พึ่งของตนได้จริงเสมอไป ที่พึ่งที่สำคัญที่ให้คุณแน่แท้คือ ตนเองของทุกคนที่ฝึกดีแล้วนั่นแล

+ถ้าตนเองไม่สามารถเป็นที่พึงของตนได้แล้ว ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะได้ที่พึงภายนอกที่ดี

ผู้ใดไม่ได้ฝึกตนให้เป็นคนดี ใครอื่นไหนเล่าจะสนใจมาให้ความช่วยเหลือมายอมเป็นที่พึ่ง คนดีมีปัญญานั้น จะให้ผู้ใดพึ่งจักต้องพิจารณาเห็นความเหมาะความควรก่อนเสมอ จะไม่ยอมตนให้เป็นที่พึ่งของใคร อย่างไม่พิจารณา

ผู้ที่ฝึกตนให้ดีได้แล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งของตนเองได้ ใครรู้ใครเห็นย่อมยินดีจะให้ความอุปการะช่วยเหลือ ความขัดข้องย่อมยากจักเกิดแก่ผู้มีตนที่ฝึกดีแล้ว

+ความดีเปรียบได้เหมือนแก้วสารพัดนึก

ความดีมีอานุภาพยิ่งใหญ่ จึงไม่ควรประมาทความดี ควรทำความดีไว้ให้เสมอ ให้มาก ให้เต็มสติปัญญาความสามารถ มีโอกาสใด มีช่องทางใด ที่จะทำความดีได้ พึงอย่าละเลยโอกาสนั้น พึงอย่าละเลยช่องทางนั้น

แต่พึงรีบทำทันที ฝึกตนให้ดีได้เพียงไรจะเห็นด้วยตนเองทันทีว่า ได้มีที่พึ่งที่ดีเพียงนั้น ไม่ต้องว้าเหว่ ไม่ต้องเกรงกลัวอุปสรรคใดๆ เกิดขึ้นได้ในชีวิต

+ผู้ใดรักษาตนได้ ผู้อื่นทั้งหลายก็จะรักษาผู้นั้นด้วย

พุทธศาสนสุภาษิต บทหนึ่งกล่าวไว้มีความว่า...
“ผู้ใดรักษาตนได้ ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันรักษาด้วย”

ความหมายอีกชั้นหนึ่งของพุทธศาสนสุภาษิตนี้ก็คือ...
“ผู้ใดรักษาตนได้ ผู้อื่นทั้งหลาย ก็จะรักษาผู้นั้นด้วย”

ความหมายชั้นนี้ น่าจะทำให้เกิดความอบอุ่นปลอดภัยเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รู้ว่า ตนสามารถรักษาตนได้แล้ว พราะย่อมอบอุ่นว่า จะไม่มีเภทภัยใดเกิดกับตนได้ ด้วยมีผู้อื่นทั้งหลายช่วยรักษาอยู่

แต่การรักษาตนได้นั้นเป็นปัญหาสำคัญ เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ง่าย ต้องมีสติมีความตั้งใจจริงจึงจะสามารถทำได้ ดังนั้นแม้ต้องการจะมีความสวัสดีในชีวิต ก็ต้องพยายามรักษาตนให้ได้

+ไม่มีผู้ใด จะสามารถรักษาตนได้ ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ไม่มีความดี

ผู้ที่รักษาตนได้ คือผู้ที่มีความดี ที่กล่าวว่ารักษาตนได้นั้น พูดให้ยาวออกไปคือ มีความดีรักษาตนอยู่นั้นเอง ไม่ได้หมายความเป็นอย่างอื่น ไม่มีผู้ใดจะสามารถรักษาตนได้ ถ้าไม่มีความดี ถ้าไม่ได้ทำความดีอย่างเพียงพอ

ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม คือผู้ประพฤติดีย่อมมีความดีรักษา ย่อมเป็นผู้ที่รักษาตนได้ ดังนั้นสิ่งซึ่งต้องทำที่เป็นความสำคัญสำหรับทุกคนที่ต้องการรักษาตนคือ ความดี

+ผู้ทำความดีแม้ขาดลาภขาดยศ แต่มีความสงบสุขทางจิตใจที่สูงกว่ามีลาภยศ

อันการทำความผิดความชั่วนั้น ไม่ว่ามากน้อยหนักเบาเพียงไร แม้ผู้อื่นจะไม่รู้ไม่เห็น แต่ตัวเองต้องรู้ต้องเห็น ต้องรู้สึกในความผิดพลาดความไม่ดีของตนอย่างแน่นอน ความรู้สึกนั่นแหละที่เป็นเครื่องทำให้ไม่เป็นสุข

ตรงกันข้ามกับผู้ที่ทำความดีความชอบทั้งหลาย บุคคลประเภทหลังนี้แม้จะขาดลาภ ขาดยศ แต่ก็มีความสงบสุขของจิตใจ ที่มีค่าสูงกว่าลาภยศที่ได้มาโดยไม่ชอบ ที่อาจนำอาญาบ้านเมืองให้ติดตามมาได้

เรียกว่าผู้ทำความไม่ดีไม่ชอบไม่สุจริตทั้งหลาย เป็นผู้รักษาตนไม่ได้ ผู้อื่นทั้งหลายก็ไม่ช่วยรักษาด้วย ผลย่อมเป็นความไม่สวัสดี ทั้งทางกายและทางใจ คือใจก็วุ่นวายไม่สงบสุข กายก็อาจไปสู่ที่ชั่วที่เดือดร้อนได้ ในวันหนึ่งอย่างแน่นอน

+ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ รักษาใจให้ดีได้เพียงไร ก็เรียกว่ารักษาตัวให้ดีได้เพียงนั้น

จะเป็นคนดีได้ต้องสำคัญที่จิตใจดีก่อน เพราะใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธานทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ รักษาใจให้ดีได้เพียงไร ก็เรียกว่ารักษาตัวให้ดีได้เพียงนั้น ใจแว้ดล้อมด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลงมากเพียงไร ตนที่มีใจนั้นครองอยู่ ก็จะเป็นคนที่ดีไม่ได้เพียงนั้น

ความรักตนของผู้มีใจเช่นนั้น ย่อมไม่เป็นความรักที่ถูกแท้ ไม่นำให้เกิดผลดีแก่ตนอย่างไร ทำใจให้ไกลจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้มากเพียงไร แม้ไม่รู้สึกว่ารักตน แต่นั้นก็เป็นความรักตน เป็นการสามารถรักษาตนได้มากเพียงนั้น

ความโลภ ความโกรธ ความหลง นี้สำคัญที่สุด รักษาไว้ใกล้ตนเพียงใด ก็เท่ากับศัตรูผู้ทำลายอยู่ใกล้ตนเพียงนั้น รักษาตนให้ดีไม่ได้เพียงนั้น

+กิเลสเป็นสิ่งที่มีเต็มโลก ทุกยุคทุกสมัย ทำลายไม่ได้ แต่สามารถหนีให้ไกลได้

กิเลสเป็นสิ่งที่มีเต็มโลก ทุกยุคทุกสมัย ทำลายไม่ได้ แต่หนีไกลได้ ถ้าทำลายกิเลสได้ พระพุทธเจ้าย่อมจักทรงทำลายให้หมดสิ้นไปแล้ว เพราะทรงเห็นโทษของกิเลสว่า ใหญ่ยิ่งนักกิเลสเป็นศัตรูร้ายนัก

หนีไกลความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้เพียงใด ก็เท่ากับทำลายศัตรูร้ายได้เพียงนั้น รักษาตนได้เพียงนั้น ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั่นแหละเป็นความสำคัญเราจะดีหรือเราจะชั่ว ก็ที่กิเลสสามกองนี้นั่นเอง

ฉะนั้น อย่าปล่อยให้กิเลสสามกองนี้ให้เป็นไปตามอำเภอใจ ต้องตั้งใจควบคุมให้อยู่ในอำนาจและต้องพยายามหนีให้ไกลให้จงได้ ตั้งใจให้จริงจังแล้วจะให้ผล เป็นการรักษาตนให้ดีสมกับที่ตนเป็นที่รัก

+ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี

พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้มีความว่า “ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี” เป็นการเตือนใจด้วยความไพเราะยิ่งนัก ควรยิ่งนักที่จะได้รับความสนใจอย่างยิ่ง ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนให้ดี ขอให้ทบทวนคำเตือนนี้ให้ดีเสมอ แล้วจะรู้สึกซาบซึ้งว่า เป็นคำเตือนที่สุถาพ อ่อนโยนและไพเราะลึกซึ้ง

เมื่อทบทวนคำเตือนนี้แล้ว ก็น่าจะนึกเลยไปว่า ผู้กล่าวคำเตือนได้เช่นนี้ ต้องมีความปรารถนาดีอย่างที่สุดต่อเราทุกคน จึงควรเคารพเทิดทูนท่าน ให้ความสนใจและปฏิบัติให้เป็นไปตามคำของท่าน เพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณและน้ำใจที่งดงามซึ่งมีต่อเราทุกคน

:b48: :b48: :b48: จบ :b48: :b48: :b48:


ขอขอบคุณ : หนังสือธรรมเพื่อความสวัสดี
พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

.....................................................
รูปภาพ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร