วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 12:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2012, 10:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 10:54
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมสับสนอะคับช่วยผมหน่อยเถอะผมปฏิบัติมาหลายกรรมฐานแล้วคับไม่พบความสงบซักที ผมต้องทำยังอะคับถึงจะรู้ว่าตอนอดีตชาติเคยสำเร็จกรรมฐานกองไหนไว้ เห็นหลวงพ่อลิงดำบอกว่าถ้าทำกรรมฐานกองที่เคยสำเร็จในอดีตชาติมาก่อนจะสามารถสำเร็จกรรมฐานกองนั้นได้เร็วมาก ช่วยตอบผมหน่อยคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2012, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ใจเย็นๆนะคะนักปฏิบัติ ให้มั่นคง สม่ำเสมอ แต่อย่าใจร้อนเน้อ
เรื่องอดีตชาตินี่อย่าไปอยากรู้เลย เกิดรู้ขึ้นมาว่า อดีตชาติไม่เคยทำกรรมฐานไว้เลยสักกองล่ะจิตตกเลยนะทีนี้

เอากระทู้คำสอนหลวงปู่ชา สุภทฺโท มาฝาก ท่านว่า ให้ค่อยๆทำไปนะ ใจเย็นๆ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=37799

ส่วนเรื่องกรรมฐาน อาจมีพี่ๆใจดีมาแนะนำต่อจากเรานะคะ

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2012, 02:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ gtagtaza ไม่เกี่ยวกับชาติที่แล้ว หรือว่าเลือกกรรมฐานผิดหรอกครับ ที่คุณไม่พบความสงบเพราะใจคุณมีความ "อยาก" ที่จะสงบรุนแรง ใจที่มีความอยากหมุนวนเป็นเกลียวคลื่นอย่างนั้นไม่มีทางจะสงบได้หรอกครับ ความอยากก็เป็นนิวรณ์ตัวหนึ่ง ขณะใจที่ยังมีนิวรณ์ องค์ของสมาธิจะเกิดไม่ได้ครับ เพราะสองอย่างนี้นิวรณ์กับสมาธิ เหมือนแสงกับเงา ไม่เกิดพร้อมกัน

หยุดอยากซะในตอนนั้น เอาใจไปไว้กับสิ่งที่เราดูแล้วเป็นที่สบายของเรา เลือกอันไหนก็ได้ที่พอใช้เป็นที่กำหนดจิตแล้วเห็นชัด เป็นที่สบาย ใจเป็นกลางๆไม่แห้งไม่ฉ่ำไม่ฟูไม่แฟ่บแล้วดูอันนั้นไปเรื่อยๆเป็นอารมณ์กรรมฐาน จะเป็นอะไรอันนี้ตัวคุณเองจะต้องรู้เอง เกิดอะไรอย่างอื่นขึ้นก็ตาม เช่นเกิดความคิดโน่นนี่ ได้ยินเสียงโน่นนี่ กังวลโน่นนี่หรือแม้กระทั่งเกิดความอยากความหงุดหงิดไม่ได้อย่างใจก็ตาม ให้ทำความรู้ตัวว่าสิ่งเหล่านั้นมันเกิดขึ้นกับใจ เมื่อรู้ตัวแล้วเอาใจกลับไปที่สิ่งที่เราเลือกเป็นอารมณ์กรรมฐานตามเดิม นี่คือการทำเหตุให้ตรงเพื่อให้เกิดสมาธิ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆเมื่อทุกอย่างสุกงอมใจคุณจะสงบรวมลงได้ครับ

ขอให้พบความสงบเร็ววันครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2012, 07:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ(ฌาน) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มีฌาน (มาก่อน)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

-------------------------------------------------------------
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/063.htm

อย่าว่าแต่จะได้ถึงซึ่งอภิญญาเลย แม้การเจริญสมถกัมมัฏฐาน จนกว่าจะได้ฌานนั้น ก็มิใช่ว่าจะกระทำได้โดยง่ายดายนัก ต้องมีใจรักอย่างที่เรียกว่า มีฉันทะมีความพอใจเป็นอย่างมาก มีความพากเพียรเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยเอาใจจิตใจจ่ออย่างจริงจัง ทั้งต้องประกอบด้วยปัญญารู้ว่าฌานนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นบาทที่ก้าวขึ้นไปสู่ความหลุดพ้น แล้วจึงตั้งหน้าเจริญภาวนาตามวิธีการจนเกิดฌานจิต ฌานจิตที่เกิดจากการปฏิบัติเช่นที่ได้กล่าวแล้วทั้งหมดนี้ มีชื่อเรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยการประพฤติปฏิบัติ ได้ฌานด้วยการเจริญสมถภาวนา

---------------
สำหรับแนวทาง วิปัสสนายานิก หรือ วิปัสสนาขณิกสมาธิ (วิปัสสนาล้วน) มีแนวทางดังนี้

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

อนึ่ง พระศาสนามีอายุล่วงเลยมานานถึง ๒,๕๐๐ กว่าปี นับว่าเป็นเวลานานอยู่ ระยะเวลาอันยาวนานอย่างนี้ น่าจะเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ผู้รู้ทั่วถึงคำสอนอันลึกซึ้งน่าจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ กลับกลายเป็นว่าพระพุทธศาสนานี้กำลังมลายหายสูญไปจากดินแดนที่เคยแพร่หลายแต่ในอดีตทีละแห่ง เริ่มตั้งแต่ประเทศอันเป็นที่อุบัติคืออินเดียเลยทีเดียว แม้ว่าจะมีความพยายามที่จะเผยแผ่เข้าไปในประเทศใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีผู้คนยอมรับนับถือกันมาก่อนก็ตาม ความพยายามก็สำเร็จผลเพียงเล็กน้อย กล่าวคือ ผู้คนที่ยอมละจากศาสนาที่นับถืออยู่เดิมของตน หันมานับถือพระพุทธศาสนานั้น มีจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เทียบไม่ได้กับที่เสื่อมสูญไปแล้ว และที่กำลังจะเสื่อมสูญไปตามลำดับ ทั้งบรรดาผู้คนที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันนี้ ผู้ที่รู้ทั่วถึงคำสอนที่ลึกซึ้งจริง ๆ ก็หาพบยากเข้าทุกที ความเป็นอย่างนี้ น่าจะเป็นเครื่องแสดงว่าผู้เกิดในยุคนี้และยุคต่อ ๆ ไป เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมถอยลงไปเรื่อย ๆ ไม่สามารถรองรับคำสอนที่ลึกซึ้งอุดมด้วยเหตุและผลได้ พระศาสนาจึงค่อย ๆ เสื่อมสูญไปตามลำดับ เพราะขาดแคลนผู้สืบต่อ เพราะฉะนั้น อาศัยเหตุผล ๒ ประการดังกล่าวมานี้ ก็พอจะอนุมานได้ว่า ผู้คนสมัยนี้ ส่วนใหญ่เป็นคนตัณหาจริตปัญญาทึบ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ผู้เกิดในยุคสมัยนี้ หากมีศรัทธาใคร่ปฏิบัติสติปัฏฐาน ควรคำนึงถึงกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นสำคัญ

อีกอย่างหนึ่ง แม้จะไม่มีการวินิจฉัยด้านจริตและปัญญาด้วยเหตุด้วยผลดังกล่าวมานี้ก็ตาม แต่เนื่องจากในยุคสมัยนี้ ขาดแคลนกัลยาณมิตร หรืออาจารย์ผู้ทรงญาณปัญญา ที่สามารถสอบสวนสภาพจิตใจของผู้อื่นอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้จะบอกได้ว่า ผู้นั้นผู้นี้ควรเจริญสติปัฏฐานข้อใด หมวดไหน จึงจะเหมาะสมต่อสภาพจิตใจของเขา เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ควรเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นแหละ เพราะเทียบสติปัฏฐานข้ออื่นแล้ว จะเป็นข้อที่เจริญได้ง่ายกว่า เพราะข้อนี้มีการพิจารณารูปธรรมเป็นหลัก ก็การพิจารณารูปธรรมซึ่งเป็นของหยาบ ทำได้ง่ายกว่าการพิจารณานามธรรม มีเวทนาเป็นต้น ซึ่งเป็นของละเอียด

ก็ในบรรดากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ หมวดนั้น สำหรับหมวดแรกซึ่งเป็นการกำหนดลมหายใจเข้าและออกนั้น เป็นกรรมฐานที่พิเศษกว่ากรรมฐานอื่น แม้ท่านกล่าวว่า เจริญได้ง่าย เหมาะแก่คนปัญญาน้อยก็ตาม ก็พึงทราบว่า ที่นับได้ว่าเจริญได้ง่ายก็เกี่ยวกับสักแต่มุ่งจะทำจิตให้สงบไปอย่างเดียวเท่านั้น กล่าวคือจิตที่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย กระสับกระส่าย จะสงบได้รวดเร็ว เมื่อเพียงแต่กำหนดลมหายใจไปสักระยะหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าจะต้องการให้จิตที่สงบไปพอประมาณนั้น สงบยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ตามลำดับ จนบรรลุฌาน โดยเฉพาะได้ฌานแล้ว ใช้ฌานนั้นเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนาต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้แสนยากอย่างยิ่ง ผู้มีปัญญาสามารถจริง ๆ เท่านั้น จึงจะกระทำได้ เหตุผลในเรื่องนี้ ได้กล่าวไว้แล้วในหนังสือเรื่องหยั่งลงสู่พระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการเจริญสติปัฏฐานเพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไม่ใช่สักแต่ว่าทำจิตให้สงบ น่าจะคำนึงถึงหมวดอื่น ๆ ก่อนหมวดกำหนดลมหายใจนี้

แม้ใน ๑๓ หมวดที่เหลือ ตกมาถึงยุคสมัยนี้ซึ่งเป็นยุคที่พระพุทธศาสนากำลังเสื่อมไปตามลำดับ ก็ไม่ใช่จะทำได้ง่ายเสียทีเดียว กล่าวคือ สัมปชัญญบรรพซึ่งเป็นหมวดพิจารณาอิริยาบถย่อยนั้น ยังทำได้ยากสำหรับผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการพิจารณาอิริยาบถ ๔ ใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นของหยาบกว่า มาก่อน การใส่ใจความเป็นปฏิกูลในอาการ ๓๒ เล่า ก็เป็นของทำได้ยากในยุคสมัยนี้ที่นิยมวัตถุ ดื่มด่ำในความสวยความงาม เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทำใจให้น้อมไปว่าเป็นของปฏิกูล ไม่งามอยู่เนือง ๆ ย่อมเป็นภาระหนัก ส่วนการพิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ ๔ มีธาตุดินเป็นต้น โอกาสที่จะกลายเป็นเพียงความนึกคิดเอาอย่างฉาบฉวย ไม่ได้สัมผัสตัวสภาวะที่เป็นธาตุดินเป็นต้น ด้วยปัญญาจริง ๆ ก็มีได้มาก สำหรับการพิจารณษซากศพ ๙ อย่าง ก็เป็นหมวดที่แทบจะหาโอกาสบำเพ็ญไม่ได้เอาทีเดียว เกี่ยวกับหาซากศพที่จะใช้เจริญกรรมฐานยากหนักหนา เพราะบ้านเมืองเจริญขึ้น ระเบียบกฏเกณฑ์ของบ้านเมืองไม่ยอมให้มีการทิ้งซากศพให้เน่าเปื่อยอยู่ตามที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผย แม้แต่ในป่าช้า ด้วยเหตุว่า เป็นที่อุจาดนัยน์ตาของผู้พบเห็น เป็นที่แพร่เชื้อโรค และเป็นเรื่องล้าหลัง ส่วนหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ เดิน ยืน นั่ง นอน หมวดเดียวที่เหลืออยู่นี้เท่านั้นที่เป็นกรรมฐาน อันเป็นอารมณ์ของการพิจารณาที่หาได้ง่าย เพราะอิริยาบถ ๔ นี้ มีติดตัวอยู่ตลอดเวลา คนเราต้องการทรงกายอยู่ใดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งแน่นอน ไม่มีว่างเว้นจากอิริยาบถ อนึ่ง ในเวลาที่ทรงกายอยู่ในอิริยาบถใดก็ตามก็ย่อมรู้แน่อยู่แก่ใจที่เดียวว่า เวลานี้กำลังทรงกายอยู่ในอิริยาบถนั้น คือ รู้ดีว่าเวลานี้กำลังเดินอยู่ หรือยืนอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือนอนอยู่ เพราะอาการอย่างนั้นอย่างนั้น แสดงให้ทราบ จึงจัดได้ว่าเป็นของปรากฏชัด เมื่อเป็นเช่นนี้ การกำหนดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จึงน่าจะกระทำได้ง่ายกว่าหมวดอื่น ๆ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละผู้ใคร่เจริญสติปัฏฐานได้โดยสะดวก พึงคำนึงถึงการพิจารณาอิริยาบถ ๔ นี้ ก่อนเถิด และในที่นี้ก็ใคร่ขอแสดงวิธีเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถนี้เป็นนิทัสสนะ


การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2012, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2012, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัดปลิโพธ :b23: ,สัมปายะ grin ,ทาน :b27: ,ศีล :b38: ,พรหมวิหาร :b12: ...ความสงบ
จากผู้มีญาณ,อธิฐาน,นิมิต,ความชอบ,ฝึกอย่างอื่นแล้วของเดิมกำเริบ,อยู่ใกล้ที่ผู้ที่ฝึกแบบนั้นแล้วกำเริบ,อยู่ในสถานที่สภาพแวดล้อมในบางที่แล้วกำเริบ,สภาพร่างกายเหมาะเหมือนเดิมแล้วกำเริบ,อารมณ์แล่นไปเกาะไปอยู่กับสิ่งใดแบบใดได้ง่าย
...อดีตชาติเคยสำเร็จกรรมฐานกองไหน
อิทธิบาทสี่ onion :b20: ,จริต,อื่นๆ(ครูอาจารย์เนื่องด้วยวาสนา)...สำเร็จกรรมฐานกองนั้นได้เร็วตามการทำเหตุและปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2012, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


gtagtaza เขียน:
ผมสับสนอะคับช่วยผมหน่อยเถอะผมปฏิบัติมาหลายกรรมฐานแล้วคับไม่พบความสงบซักที



กลางคืน ปกติแล้ว กลางคืน คุณนอนหลับไหม หรือ นอนไม่ค่อยหลับ หลับๆตื่นๆ เป็นพักๆ
หรือ เวลาหลับ หลับสนิท ไม่ว่าจะมีเสียงดังขนาดไหน เช่น เปิดวิทยุฟังเพลง หรือดูทีวี ก็หลับไปขณะนั้นๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2012, 17:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Rotala เขียน:
ตัดปลิโพธ :b23: ,สัมปายะ grin ,ทาน :b27: ,ศีล :b38: ,พรหมวิหาร :b12: ...ความสงบ
จากผู้มีญาณ,อธิฐาน,นิมิต,ความชอบ,ฝึกอย่างอื่นแล้วของเดิมกำเริบ,อยู่ใกล้ที่ผู้ที่ฝึกแบบนั้นแล้วกำเริบ,อยู่ในสถานที่สภาพแวดล้อมในบางที่แล้วกำเริบ,สภาพร่างกายเหมาะเหมือนเดิมแล้วกำเริบ,อารมณ์แล่นไปเกาะไปอยู่กับสิ่งใดแบบใดได้ง่าย
...อดีตชาติเคยสำเร็จกรรมฐานกองไหน
อิทธิบาทสี่ onion :b20: ,จริต,อื่นๆ(ครูอาจารย์เนื่องด้วยวาสนา)...สำเร็จกรรมฐานกองนั้นได้เร็วตามการทำเหตุและปัจจัย


smiley smiley smiley

คุณ Rotalaมักจะมีคำตอบมาให้เอกอนเป็นได้ต้อง :b32: :b32: ทุกที

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2012, 01:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Rotala เขียน:
ตัดปลิโพธ :b23: ,สัมปายะ grin ,ทาน :b27: ,ศีล :b38: ,พรหมวิหาร :b12: ...ความสงบ
จากผู้มีญาณ,อธิฐาน,นิมิต,ความชอบ,ฝึกอย่างอื่นแล้วของเดิมกำเริบ,อยู่ใกล้ที่ผู้ที่ฝึกแบบนั้นแล้วกำเริบ,อยู่ในสถานที่สภาพแวดล้อมในบางที่แล้วกำเริบ,สภาพร่างกายเหมาะเหมือนเดิมแล้วกำเริบ,อารมณ์แล่นไปเกาะไปอยู่กับสิ่งใดแบบใดได้ง่าย
...อดีตชาติเคยสำเร็จกรรมฐานกองไหน
อิทธิบาทสี่ onion :b20: ,จริต,อื่นๆ(ครูอาจารย์เนื่องด้วยวาสนา)...สำเร็จกรรมฐานกองนั้นได้เร็วตามการทำเหตุและปัจจัย


smiley smiley smiley

คุณ Rotalaมักจะมีคำตอบมาให้เอกอนเป็นได้ต้อง :b32: :b32: ทุกที

:b32: :b32: :b32:

:b9: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 05:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาสติปัฏฐานสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... 257&Z=6764

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.p ... i=273&p=2#อานาปานบรรพ

เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ
อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึ้งด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก
--------------------------------------------------------------------

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

นิวรณ์ของฌาน
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p1/054.htm

นิวรณ์อันเป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้เกิดฌานได้นั้น มี ๕ ประการ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ และวิจิกิจฉานิวรณ์

๑. กามฉันทนิวรณ์ คือความติดใจในกามคุณอารมณ์ อันมี รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้อง ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ระคนด้วยสี ถ้ามัวไปเพลิดเพลินติดใจในสิ่งเหล่านี้เป็นไม่ได้ฌานแน่ ต้องใช้เอกัคคตาเผากามฉันทนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

๒. พยาปาทนิวรณ์ ความมุ่งจะปองร้ายผู้อื่น ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่เดือดพล่าน ถ้ามัวแต่ครุ่นคิดปองร้ายผู้อื่นอยู่ ฌานจิตก็เกิดไม่ได้ ต้องใช้ปิติเผาพยาปาทนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ความหดหู่ ความท้อถอยไม่ใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ที่เพ่งนั้น ซึ่งเปรียบเหมือนน้ำที่มีจอกมีแหนปิดบังอยู่ ถ้าใจท้อถอยคลายความใส่ใจในอารมณ์ที่เพ่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เกิดผลให้ถึงฌานได้ ต้องใช้วิตกเผาถีนมิทธนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ถูกลมพัดกระเพื่อมอยู่เสมอ ถ้าจิตใจเลื่อนลอยซัดส่ายอยู่เรื่อย ๆ แล้วก็ไม่เป็นฌานจิต ต้องใช้สุขเผาอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ความลังเลไม่แน่ใจ ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ขุ่นเป็นตมหรือน้ำที่ตั้งอยู่ในที่มืด ถ้าเกิดลังเลใจไม่แน่ใจอยู่ตราบใด ก็เป็นอันว่าไม่ทำให้ถึงฌานได้อยู่ตราบนั้น ต้องใช้วิจารเผาวิจิกิจฉานิวรณ์ อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

---------------------------------------------

เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ
viewtopic.php?f=2&t=21062

--------------------------------------------

21049.สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จากพระไตรปิฏก อรรถกถา

viewtopic.php?f=2&t=21049

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.
--------------------------------------------
วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖
http://abhidhamonline.org/visudhi.htm
-----------------------------------------------------
viewtopic.php?f=2&t=21062

สีเล ปติฐาย นโร สปญฺโญ
จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ
โส อิมํ วิชฏเยชฏํ

ความว่า นรชาติชายหญิง ผู้มีปัญญาแต่กำเนิด
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสมีปัญญาบริหารจิต
เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด ตั้งมั่นในศีล
อบรมสมาธิและวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น นรชนชาติชายหญิงนี้เท่านั้น
จึงจะสามารถสางรกชัฏที่เป็นเสมือนข่ายคือ ตัณหาออกได้
---------------------------------------------

สมาธิ - วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16060

====================================

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔
viewtopic.php?f=2&t=29201


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2012, 06:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


35-พระจูฬปันถกเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ

http://www.84000.org/one/1/35.html

ปัญญาทึบพี่ชายไล่สึก
-----------------------------------------------
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... opic=10729

ในวันนั้นพระมหาปันถกมีหน้าที่ผู้จัดภิกษุไปฉัตภัตตาหารตามที่ได่รับนิมนต์ และวันเดียวกันหมอชีวกโกมารภัจผู้สร้างวัดอัมพวัน ได้ไปเข้าเฝ้าพระศาสดาที่อัมพวนารามเมื่อฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ประสงค์ที่จะนิมนต์พระ ๕๐๐ รูปไปฉันที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้น จึงไปแจ้งการนิมนต์ไว้ที่พระมหาบันถก


พระมหาปันถกแจ้งให้หมอชีวกโกมารภัจทราบว่าคงจัดภิกษุให้ได้เพียง ๔๙๙ รูป เพราะมีภิกษุโง่รูปหนึ่งไม่เจริญงอกงามในธรรมวินัย เป็นผู้ไม่ควรรับนิมนต์ จึงขอเว้นภิกษุรูปนี้เสียรูปหนึ่ง นอกนั้นรับนิมนต์ให้ได้


พระจูฬปันถกได้ยินดังนั้นก็เสียใจมาก จึงตัดใจว่า เมื่อพี่ชายมิได้มีเยื่อใยในตนแล้ว ยังจะอยู่ไปทำไมในศาสนานี้ จะสึกออกไปเป็นคฤหัสถ์ ไปทำบุญให้ทานไปตามความสามารถของตนก็ได้

วันรุ่งขึ้น พระจูฬปันถกได้เดินทางออกจากวัดตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อจะไปสึก และในวันนั้น พระศาสดาสัมมาสัมพุทะเจ้าทรงตรวจดูสัตวโลกที่ควรจะเสด็จไปโปรด ทรงเห็นพระจูฬปันถกปรากฏในข่ายพระญาณ จึงเสด็จไปดักรออยู่ที่หน้าวัด


เมื่อพบพระจูฬบันถกแล้วตรัสว่า "จูฬปันถก! เธอบวชในสำนักของเรา บวชอุทิศเรา เมื่อถูกพี่ชายขับไล่ ไฉนจึงไม่มาสู่สำนักของเราเล่า อย่าสึกเลย จูฬปันถก.. มาเถิด มาอยู่กับเรา”

ตรัสดังนั้นแล้ว ทรงเอาพระหัตถ์ลูบศีรษะพระจูฬปันถกด้วยพระทัยกรุณา สายพระเนตรที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตาทำให้พระจูฬบันถกมีหยาดน้ำตาคลอตา ความน้อยใจได้คลายตัวลง พระศาสดาทรงนำพระจูฬบันถกพร้อมกับข้าวของไปพระคันธกุฎีของพระองค์ ทรงให้พระจูฬปันถกนั่งที่หน้ามุขแล้วทรงพิจารณาว่า "จูฬปันถกผู้นี้มีบารมีมาทางใดหนอ?" คือเคยทำบารมีมาทางด้านใดในอดีต

(ท่านอาจารย์อธิบายว่า อาการที่พระพุทธองค์ทรงพระจูฬบันถกพร้อมข้าวของไปยังพระคันธกุฎีนั้น เป็นธรรมเนียมการต้อนรับอย่างเต็มใจของคนในสมัยนั้น ที่มีความยินดียิ่งที่จะให้มาอยู่ด้วยในบ้านหรือในอาณาบริเวณ)


เมื่อทรงทราบด้วยพระญาณโดยตลอดแล้ว จึงประทานผ้าเช็ดหน้าสีขาวให้ผืนหนึ่ง พร้อมรับสั่งว่า "จูฬปันถก! เธอนั่งผินหน้าไปทางทิศตะวันออกนะ ลูบผ้าผืนนี้ พลางบริกรรม (นึกในใจ หรือออกเสียงเบาๆ ) ว่า "รโชหรณํ รโชหรณํ" (ผ้าเช็ดธุลี)


เมื่อตรัสดังนี้แล้ว ก็มีผู้มาทูลอาราธนาให้เสด็จไปบ้านหมอชีวกตามที่ได้นัดหมายไว้

(ท่านอาจารย์ได้ตั้งคำถามขึ้นว่า ทำไมจึงตรัสให้พระจูฬบันถกนั่งผินหน้าไปทางทิศตะวันออก หลวงพ่อเสือท่านได้อธิบายว่า ในอินเดียนั้นเวลาที่อากาศร้อนก็จะร้อนจัด และเมื่อนั่งหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ก็จะยิ่งร้อนมีเหงื่อไหลออกตามร่างกายมาก คราบไคลก็ติดอยู่ที่ผ้าก็จะชัดเจน)


ฝ่ายพระจูฬปันถก นั่งมองดูดวงอาทิตย์ มือลูบผ้าพลางบริกรรมว่า "รโชหรณํ รโชหรณํ" เมื่อมองดูผ้าบ่อยๆ ได้เห็นผ้านั้นเปื้อนเหงื่อคราบไคลทำให้ผ้านั้นเศร้าหมองไป ท่านจึงคิดว่า "ผ้านี้สะอาดแท้ๆ แต่เป็นเพราะอาศัยอัตตภาพนี้(คือร่างกายนี้) มันจึงเศร้าหมองไป สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ" เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว เริ่มมองเห็นความสิ้นและความเสื่อมแห่งสังขารทั้งปวง ได้เจริญอยู่ในวิปัสสนาในขั้นสัมสนญาณ


ในขณะนั้นพระศาสดาประทับนั่งอยู่บ้านหมอชีวก ส่งพระญาณตามกระแสจิตของพระจูฬปันถก ทรงทราบว่า บัดนี้จิตของพระจูฬปันถกขึ้นสู่วิปัสสนาแล้วแต่ติอยู่ในนิกันติบางประการ


ทรงเปล่งพระรัศมีมาปรากฏประหนึ่งประทับอยู่ต่อหน้าของพระจูฬปันถก แล้วตรัสว่า "จูฬปันถก! เธออย่าคิดแต่เพียงว่า "ท่อนผ้านี้เท่านั้นเศร้าหมองเปื้อนธุลี" แต่เธอจงคิดถึงธุลีภายในด้วย นั่นคือราคะ โทสะ และโมหะอันอยู่ภายใน เธอจงนำเอาธุลีนั่นออกเสีย"


แล้วตรัสอีกว่า "ราคะ โทสะ และโมหะ เราเรียกว่าธุลี ฝุ่นละอองหาใช่ธุลีไม่ คำว่า ธุลีเป็นคำเรียก ราคะโทสะ และโมหะ ภิกษุผู้ละธุลีมีราคะเป็นต้นได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี"


เมื่อจบพระดำรัสของพระศาสดาสพระจูฬปันถกก็ได้บรรลุอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายในทันใดนั้นเอง


เหตุที่สำเร็จอรหัตผลเร็วก็เพราะว่า พระจูฬปันถกนั้นมีอุปนิสัยมาทางผ้าเปื้อนธุลีคือเป็นผู้มีราคะจริต ชอบความสะอาด เมื่อเกิดความสกปรกขึ้นก็จะไม่ชอบ และเห็นจะความเสื่อมปรากฏได้ง่าย พระพุทธองค์ทรงทราบถึงจริตนั้นจึงทรงประทานอุปกรณ์อันเหมาะสมแก่อุปนิสัยของท่านได้โดยตรง


เพราะพระจูฬปันถกในอดีต ท่านเคยเกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง วันหนึ่งทรงเสด็จเวียนไปรอบพระนคร ก็มีเหงื่อไหลออกมาจากพระหน้าผาก ทรงเอาผ้าสะอาดเช็ดเหงื่อนั้น ทรงได้อนิจจสัญญาจากผ้าว่า "ผ้าสะอาดอย่างนี้ เศร้าหมองแล้วเพราะอาศัยสรีระนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ"


พระศาสดาทรงทราบเรื่องนี้ดีว่า อนิจสัญญาได้ฝังเป็นอุปนิสัยของท่านตั้งแต่อดีตชาตินั้นมา ผ้าเช็ดธุลีจึงเป็นปัจจัยแห่งอุปนิสัยที่เหมาะสมของพระจูฬบันถก

--------------

ผมว่าเป็นการยากมากในปัจจุบัน ที่จะหาวิปัสสนาจารย์ ผู้ล่วงรู้ในอดีตของเราได้ และแนะนำกรรมฐานที่ถูกกับจริตเราได้

แต่หากจะเจริญวิปัสสนา ก็ขอแนะนำดังนี้
----------

ก็ในบรรดากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ หมวดนั้น สำหรับหมวดแรกซึ่งเป็นการกำหนดลมหายใจเข้าและออกนั้น เป็นกรรมฐานที่พิเศษกว่ากรรมฐานอื่น แม้ท่านกล่าวว่า เจริญได้ง่าย เหมาะแก่คนปัญญาน้อยก็ตาม ก็พึงทราบว่า ที่นับได้ว่าเจริญได้ง่ายก็เกี่ยวกับสักแต่มุ่งจะทำจิตให้สงบไปอย่างเดียวเท่านั้น กล่าวคือจิตที่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย กระสับกระส่าย จะสงบได้รวดเร็ว เมื่อเพียงแต่กำหนดลมหายใจไปสักระยะหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าจะต้องการให้จิตที่สงบไปพอประมาณนั้น สงบยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ตามลำดับ จนบรรลุฌาน โดยเฉพาะได้ฌานแล้ว ใช้ฌานนั้นเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนาต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้แสนยากอย่างยิ่ง ผู้มีปัญญาสามารถจริง ๆ เท่านั้น จึงจะกระทำได้ เหตุผลในเรื่องนี้ ได้กล่าวไว้แล้วในหนังสือเรื่องหยั่งลงสู่พระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการเจริญสติปัฏฐานเพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไม่ใช่สักแต่ว่าทำจิตให้สงบ น่าจะคำนึงถึงหมวดอื่น ๆ ก่อนหมวดกำหนดลมหายใจนี้

แม้ใน ๑๓ หมวดที่เหลือ ตกมาถึงยุคสมัยนี้ซึ่งเป็นยุคที่พระพุทธศาสนากำลังเสื่อมไปตามลำดับ ก็ไม่ใช่จะทำได้ง่ายเสียทีเดียว กล่าวคือ สัมปชัญญบรรพซึ่งเป็นหมวดพิจารณาอิริยาบถย่อยนั้น ยังทำได้ยากสำหรับผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการพิจารณาอิริยาบถ ๔ ใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นของหยาบกว่า มาก่อน การใส่ใจความเป็นปฏิกูลในอาการ ๓๒ เล่า ก็เป็นของทำได้ยากในยุคสมัยนี้ที่นิยมวัตถุ ดื่มด่ำในความสวยความงาม เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทำใจให้น้อมไปว่าเป็นของปฏิกูล ไม่งามอยู่เนือง ๆ ย่อมเป็นภาระหนัก ส่วนการพิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ ๔ มีธาตุดินเป็นต้น โอกาสที่จะกลายเป็นเพียงความนึกคิดเอาอย่างฉาบฉวย ไม่ได้สัมผัสตัวสภาวะที่เป็นธาตุดินเป็นต้น ด้วยปัญญาจริง ๆ ก็มีได้มาก สำหรับการพิจารณษซากศพ ๙ อย่าง ก็เป็นหมวดที่แทบจะหาโอกาสบำเพ็ญไม่ได้เอาทีเดียว เกี่ยวกับหาซากศพที่จะใช้เจริญกรรมฐานยากหนักหนา เพราะบ้านเมืองเจริญขึ้น ระเบียบกฏเกณฑ์ของบ้านเมืองไม่ยอมให้มีการทิ้งซากศพให้เน่าเปื่อยอยู่ตามที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผย แม้แต่ในป่าช้า ด้วยเหตุว่า เป็นที่อุจาดนัยน์ตาของผู้พบเห็น เป็นที่แพร่เชื้อโรค และเป็นเรื่องล้าหลัง ส่วนหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ เดิน ยืน นั่ง นอน หมวดเดียวที่เหลืออยู่นี้เท่านั้นที่เป็นกรรมฐาน อันเป็นอารมณ์ของการพิจารณาที่หาได้ง่าย เพราะอิริยาบถ ๔ นี้ มีติดตัวอยู่ตลอดเวลา คนเราต้องการทรงกายอยู่ใดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งแน่นอน ไม่มีว่างเว้นจากอิริยาบถ อนึ่ง ในเวลาที่ทรงกายอยู่ในอิริยาบถใดก็ตามก็ย่อมรู้แน่อยู่แก่ใจที่เดียวว่า เวลานี้กำลังทรงกายอยู่ในอิริยาบถนั้น คือ รู้ดีว่าเวลานี้กำลังเดินอยู่ หรือยืนอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือนอนอยู่ เพราะอาการอย่างนั้นอย่างนั้น แสดงให้ทราบ จึงจัดได้ว่าเป็นของปรากฏชัด เมื่อเป็นเช่นนี้ การกำหนดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จึงน่าจะกระทำได้ง่ายกว่าหมวดอื่น ๆ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละผู้ใคร่เจริญสติปัฏฐานได้โดยสะดวก พึงคำนึงถึงการพิจารณาอิริยาบถ ๔ นี้ ก่อนเถิด และในที่นี้ก็ใคร่ขอแสดงวิธีเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถนี้เป็นนิทัสสนะ

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔
viewtopic.php?f=2&t=29201


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2012, 20:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2011, 18:12
โพสต์: 8

แนวปฏิบัติ: กรรมฐาน ๔๐
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


gtagtaza เขียน:
ผมสับสนอะคับช่วยผมหน่อยเถอะผมปฏิบัติมาหลายกรรมฐานแล้วคับไม่พบความสงบซักที ผมต้องทำยังอะคับถึงจะรู้ว่าตอนอดีตชาติเคยสำเร็จกรรมฐานกองไหนไว้ เห็นหลวงพ่อลิงดำบอกว่าถ้าทำกรรมฐานกองที่เคยสำเร็จในอดีตชาติมาก่อนจะสามารถสำเร็จกรรมฐานกองนั้นได้เร็วมาก ช่วยตอบผมหน่อยคับ


เคยคิดบ้างไหมว่า บางทีเราอาจจะยังไม่เคยสำเร็จสักกองเลย ฮ่าๆๆๆ อย่าเครียดครับ
กรรมฐานเป็นเรื่องง่าย คือ ทำไปแบบโง่ๆ
อย่าไปคิดมาก

เคยฟังหลวงพ่อฤาษีลิงดำพูดถึงนิวรณ์มั้ยละครับ
เพราะท่านจะเทศน์เกี่ยวกับนิวรณ์เกือบทุกครั้งก่อนทำกรรมฐาน
นิวรณ์ตัวฉกาจก็คือ อุทัจจะกุกกุจะ หรืออารมณ์ฟุ้งซ่าน
อารมณ์อยากได้สมาธินี่แหละ คือ อารมณ์ฟุ้งซ่าน

สมาธิต้องปฏิบัติไปเรื่อยๆ เฉื่อยๆ
ถ้าให้ผมแนะนำนะ เอาแบบง่ายๆซื่อๆ คือ ไปหาก้านไม้ขีดหรือไม้จิ้มฟันก็ได้
พอหายใจเข้า หายใจออก ๑ ครั้ง จะภาวนาด้วยหรือไม่ก็ได้
พอหายใจเข้า ออก ๑ ครั้ง ก็เอาก้านไม้ ออกจากกองไป ๑ ก้าน
พอหายใจเข้า ออก ๒ ครั้ง ก็เอาออกไปอีกหนึ่งก้าน
ทำไปเรื่อยๆ ครบ ๑๐ ก้าน ก็พอ
โดยตั้งจิตไว้ว่า ถ้าระหว่าง ๑๐ ก้านนี้ ถ้าวอกแวกไปเรื่องอื่นก่อน ก็จะเริ่มใหม่

ทำแค่ ๑๐ ก้านนี่แหละครับ ทำให้คล่อง แล้วจะได้ดีเอง

แล้วก็ลองเสิรชคำว่า กรรมฐานแก้อารมณ์ฟุ้ง ดูนะครับ
จะมีเวบหลวงพ่อสอนกรรมฐานแก้อารมณ์ฟุ้ง ลองฟังดู

.....................................................
หมั่นขอขมาพระรัตนตรัย
เพราะเราอาจจะปรามาสคุณพระรัตนตรัยโดยไม่รู้ตัว
จากการพูดคุยถามตอบกันในเวบบอร์ด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร