วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 15:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2012, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


“ ผู้ที่อ่อนแอไม่สามารถให้อภัยใครได้ เพราะการให้อภัยได้นั้นนับเป็นความเข้มแข็งแท้จริง ”

มหาตมะคานธี


มาลองช่วยกันพิจารณาข้อความนี้นะครับ

หากคุณให้ความรัก ความไว้วางใจ ช่วยเหลือใครสักคน แต่ภายหลังเขากลับไปคบคิดกับคนอื่นให้ร้ายคุณ พูดถึงคุณในทางที่เสียหาย จนคุณต้องได้รับความอับอาย คุณจะให้อภัยเขาคนนั้นได้ไหม

1. ให้อภัยได้ ถ้าคนนั้นได้รับโทษอย่าสาสมเสียก่อน

2. ให้อภัยได้ เพราะเป็นสิ่งดีที่จะให้อภัย ดังเช่นที่พ่อแม่ หรือศาสนาสั่งสอนมา

3. ให้อภัยได้ เพราะจะช่วยให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

4. ให้อภัยได้ เพราะเป็นการแสดงออกของความรักที่ไม่มีเงื่อนไข

คุณจะเลือกข้อใดที่ตรงใจคุณมากที่สุด

ผมได้ลองถามนักศึกษาแพทย์ปี ๕ ที่เรียนวิชาจิตเวชศาสตร์อยู่รวม ๓๓ คน คำตอบที่ได้จากลูกศิษย์แพทย์กลุ่มนี้น่าสนใจทีเดียวครับมีตอบข้อหนึ่งอยู่ ๑๓ คน ตอบข้อสองอยู่ ๑๒ คน ตอบข้อสามอยู่ ๕ คน และตอบข้อสี่อีก ๓ คน ที่กล่าวมานี้คงไม่ถึงกับเป็นโพลสำรวจนะครับ เพียงอยากจะให้เห็นว่าคนเราแต่ละคนมีมุมมองในเรื่องการให้อภัยที่แตกต่างกันมาก

มนุษย์มีแนวโน้มในจิตใจแต่กำเนิดที่จะโต้ตอบทางลบมากขึ้นต่อคนที่แสดงออกทางลบต่อเรา ธรรมชาตินี้เองเป็นที่มาของการแก้แค้นกันและตอบโต้กันจนไม่รู้จบสิ้น สิ่งนี้เกิดจากอะไร นอกจากมนุษย์แล้ว สิ่งมีชีวิตอื่นมีพฤติกรรมการแก้แค้นเช่นมนุษย์หรือไม่ จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบปรากฏการณ์ของการแก้แค้น เกิดขึ้นได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงบางชนิดด้วย เช่น ลิงชิมแปนซี และพบต่ออีกว่า เมื่อการแก้แค้นเกิดขึ้น การกระทำนั้นมักจะมีความรุนแรงมากกว่าที่ถูกกระทำในตอนแรก จึงมีแนวโน้มให้เกิดวงจรการล้างแค้น ที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราพบเห็นตัวอย่างการโต้ตอบที่รุนแรงมากมายในสงครามและประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ การให้อภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยตัดและลดทอนการแก้แค้น ซึ่งมีแต่จะเพิ่มความสูญเสียทั้งสองฝ่าย

พัฒนาการ ของการให้อภัยผู้อื่น เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางจิตใจด้วย พบว่า คนเราสามารถให้อภัยได้มากขึ้นตามอายุ คือคนในวัยสูงอายุจะให้อภัยผู้อื่นได้ง่ายกว่าคนในวัยผู้ใหญ่และมากกว่าคนในวัยรุ่น ซึ่งน่าจะสะท้อนถึงโลกทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปในคนที่ผ่านชีวิตมานานกว่า มีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น นอกจากนี้พัฒนาการของการให้อภัยยังมีลักษณะที่เป็นลำดับขั้นเหมือนที่มนุษย์เรามีพัฒนาการทางร่างกาย จากคลานเป็นนั่ง จนถึงการยืนและเดินตามลำดับ คือใน ขั้นต้น การให้อภัยจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ที่กระทำผิดได้รับการล้างแค้นหรือการลงโทษอย่างสาสมเสียก่อน ขั้นกลาง คือ การให้อภัย เป็นสิ่งควรทำเนื่อง จากเป็นสิ่งที่สังคมและคำสั่งสอนของพ่อแม่หรือศาสนาสอนไว้ ในขั้นสูงคือ การให้อภัยควรทำเพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมและในขั้นสูงสุดคือเป็นการแสดงออกของความรักที่ไม่มีเงื่อนไข ( Unconditional love )

ความจริงแล้วการให้อภัยกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่ให้อภัยเอง เพราะการให้อภัยคือการปลดปล่อยตนเองจากซากอดีตที่เจ็บปวดเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ ดังที่ คอร์รี่ เทน บูม ( Corrie ten Boom ) ผู้ช่วยเหลือชาวยิวจากค่ายกักกันของนาซีได้กล่าวว่า “ การให้อภัยคือการปลดปล่อยนักโทษ และนักโทษผู้นั้นก็คือคุณนั่นเอง ” และจากประสบการณ์ตรงของเธอเองที่ได้บันทึกไว้ว่า “ ในท่ามกลางเหยื่อที่ถูกนาซีทำทารุณกรรมนั้น ผู้ที่สามารถสร้างชีวิตใหม่ได้ดีและสามารถดำรงชีวิตที่เป็นสุขได้คือ ผู้ที่สามารถให้อภัยต่อความเลวร้ายเหล่านั้น ”

ผลดีอีกประการคือผู้ที่มักให้อภัยผู้อื่นได้ง่ายจะมีความเป็นปฏิปักษ์น้อย ไม่หลงตัวเอง ไม่ชอบครุ่นคิดวนเวียน เป็นคนที่มีนิสัยพูดง่าย ไม่เรื่องมาก ทำให้กังวลและซึมเศร้าน้อยกว่า ป่วยเป็นโรคประสาทน้อยกว่า มีลักษณะที่เข้าอกเข้าใจผู้อื่นมากกว่า การให้อภัยจึงเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันโรคทางจิต เพิ่มสุขภาพจิตที่ดีสำหรับตัวผู้ให้อภัยนั้นเอง ผมจึงอยากชวนท่านผู้อ่านได้ทบทวนไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งและตั้งใจอย่างแน่วแน่ เพื่อที่จะช่วยกันปลดปล่อยความเคืองแค้นที่ยังฝังใจ เพื่อให้จิตใจได้รับอิสรภาพและเกิดความสุขสงบทางใจ

การที่จะให้อภัยแก่บุคคลผู้ที่เคยทำให้เราเจ็บปวด แม่ชีเทเรซ่าสอนว่า

“ เพื่อที่จะให้อภัยใครบางคนที่ทำให้เราปวดร้าว เพื่อที่จะเริ่มต้นใหม่กับผู้ที่เคยทำให้เราผิดหวัง เพื่อที่จะคงความเสียสละไว้แม้เคยถูกหลอกลวง เหล่านี้แม้หากจะเจ็บปวด แต่เป็นการให้อภัยและเป็นรักที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ”

Secret Box

การให้อภัยเป็นเครื่องพัฒนาการของจิตใจ

• การให้อภัยที่สูงที่สุดเป็นการแสดงออกของความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข

• จงเริ่มด้วยการตั้งจิตที่แน่วแน่ในการให้อภัยใครบางคนที่เคยทำให้เราเจ็บปวด

• การให้อภัยจะนำให้เกิดอิสรภาพและความสุขในชีวิต


บทความจากนิตยสารซีเคร็ต

บล็อก: ความสุขจากการให้อภัย
blog/พุทธคุณ/index_b-713.html

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2012, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ในเรื่องของการให้อภัยนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าหากเราให้อภัยอยู่เสมอ ก็จะกลับกลายเป็นว่าต้องยอมคนอื่นอยู่ตลอดเวลา เพราะคนที่ได้รับการอภัยก็จะไม่เคยที่จะสำนึกได้เลยว่าทำอะไรไม่ดีเอาไว้บ้าง และก็ยังคงเป็นเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลงอะไร หรือควรที่จะทำอย่างไร
และการให้ที่เราอภัยนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรรู้ไว้ว่าการที่เราให้อภัยอยู่เสมอนั้นนั่นคือ สาเหตุที่ทำให้การอภัยนั้นไม่มีราคา ไม่มีน้ำหนัก และนอกจากนั้นยังจะไม่มีความหมายในใจของผู้รับ สาเหตุก็คงจะเป็นเพราะคุณกำลังทำผิดหลักการของการให้อภัยที่แท้จริงนั่นเอง
การให้อภัยที่ถูกต้องนั้นก็ควรที่จะให้ได้เพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งเท่านั้น เพราะถ้าหากมีการให้อภัยจนเป็นเรื่องปกติมันก็ไม่ใช่ความผิดของผู้ทำผิด และถ้าหากแต่เป็นความผิดของผู้ให้อภัยเองนั้น ที่ให้ไม่เป็น หรือไม่มีศิลปะของการให้อภัยนั่นเอง และการให้อภัยที่ซ้ำซากนั่นก็คือ การลดคุณค่าของการให้อภัยลงไปเรื่อยๆ หรืออาจจะคือ การแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ทำผิดพลาดไปนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่โตและสำคัญอะไรเลย
ซึ่งในทางพุทธศาสนานั้นเวลาที่ให้อภัยใคร ท่านได้วางขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่กระทำผิดต้องตระหนักรู้ถึงความผิดที่ได้ทำลงไปแล้วนั้น
2. ตัวผู้ทำผิดเองนั้นก็ต้องเกิดความรู้สึกอยากจะขอโทษจริงๆ
3. ต้องพยายามขอโทษด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง
4. ผู้ที่เหนือกว่าเขายกโทษให้ก็เท่ากับว่าให้อภัย
5. ก่อนจะยกโทษให้ก็ควรที่จะมีการชี้แจงความผิดและชี้ทางออกที่ถูกต้องให้ให้ผู้กระทำผิด
6. ผู้กระทำผิดเมื่อทำผิดและมาขอให้ยกโทษให้ ก็ควรตั้งใจว่าจะปรับปรุงตัว บางทีอาจจะมีการปฏิญาณตนว่าจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ในทางที่ถูกต้องและจะไม่กลับไปทำผิดอีก


ขอขอบคุณบทความดีดีจาก boybdream.com

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2012, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 12:27
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การขอโทษกับการให้อภัยแตกต่างกันอย่างไรบ้างค่ะและถ้าคนทำผิดไม่ขอโทษ เราทำอย่างไรดีค่ะ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเจ้าคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2012, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


มันคิดได้แต่จะให้ได้จริงมั้ยล่ะครับ ถ้าคุณธรรมไม่ถึงมีใครให้ใครได้ล่ะครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2012, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จันทร์เจ้าขา เขียน:
การขอโทษกับการให้อภัยแตกต่างกันอย่างไรบ้างค่ะและถ้าคนทำผิดไม่ขอโทษ เราทำอย่างไรดีค่ะ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเจ้าคะ :b8:


ถามเรื่องควางต่าง

การขอโทษกับการให้อภัยนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลยครับ

การขอโทษนั้นเป็นการขออโหสิกรรมต่อสิ่งที่เราได้กระทำการล่วงเกินต่อผู้อื่นไว้หรือผู้อื่นล่วงเกินต่อเราจึงมากล่าวขอโทษเรา ทั้งนี้ต้องกล่าวด้วยความจริงใจ จึงจะเรียกว่าขอโทษ ขออภัย แต่ในความเป็นจริงแล้วบางครั้งคนเราก็กล่าวขอโทษผู้อื่นด้วยความจำใจ ถูกบังคับ หรือเหตุผลอื่นๆ ซึ่งไม่ได้มาจากความเต็มใจที่จะขอโทษ กล่าวคือ ขอโทษแต่ปาก แต่ใจมิได้อยากให้เขายกโทษให้ เพราะทิฐิมานะบังตา หลงคิดไปว่าตนเองนั้นเป็นฝ่ายถูก อีกฝ่ายผิด แต่เมื่อถูกสถาณการณ์บางอย่างบังคับจึงต้องจำใจกล่าวขอโทษด้วยความไม่เต็มใจ

ส่วน

การให้อภัยนั้น คือการยกโทษ การให้อภัยผู้อื่นในสิ่งที่ผู้อื่นได้มาล่วงเกินเราไว้ หรือ เราไปล่วงเกินผู้อื่นไว้ เหตผลก็เหมือนกันคือ ในบางครั้งเราอาจไม่เต็มใจโยกโทษให้เขาด้วยใจที่คิดแค้นเคืองมาก ยึดมา ทิฐิมาก จนให้อภัยเขาไม่ได้ แต่บางครั้งเมื่อถูกสถาณการณ์บังคับก็จำต้องฝืนใจกล่าวยกโทษให้เขาไปแตปาก แต่ในใจนั้นยังไม่ให้อภัย ยังคิดแค้นอยู่ตลอดเวลา

เพราะการให้อภัยนั้นยากสำหรับบางคน ผู้ที่ให้อภัยผู้อื่นพระท่านจึงว่าต้องเป็นผู้ที่มีใจกว้างขวางและจิตใจเข้มแข็งจึงจะสามารถอภัยให้ผู้อื่นได้อย่างเต็มใจและไม่คิดเล็กคิดน้อยอีกต่อไป

การขอโทษเปรียบเสมือนการดูทีวี การให้อภัยเปรียบเสมือนข้อมูข่าวสาร
หากคุณไม่เปิดทีวี คุณก็จะไม่รู้ความเป็นไปของบ้านเมือง เพราะคุณกลัวเปลืองค่าไฟ นั่นคือทิฐิมานะ แต่หากคุณยอมจ่ายค่าไฟและเปิดดูทีวี คุณก็จะรู้ว่าวันนี้มีอะไรเกิดขึ้นในบ้านเมืองบ้าง นั่นคือผลจากการเปิดทีวี นี่คือการให้อภัย

มีเพื่อนมาด่าคุณ นั่นคือเพื่อนกล่าวโทษคุณ แตคุณไม่โกรธ ไม่ถือสาเพื่อน นั่นคือการให้อภัย

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2012, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


bigtoo เขียน:
มันคิดได้แต่จะให้ได้จริงมั้ยล่ะครับ ถ้าคุณธรรมไม่ถึงมีใครให้ใครได้ล่ะครับ


ด้วยเหตุนี้จึงได้มีคำกล่าวที่ว่า

“ ผู้ที่อ่อนแอไม่สามารถให้อภัยใครได้ เพราะการให้อภัยได้นั้นนับเป็นคุณสมบัติของผู้ที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง ”

ความเป็นจริงแล้วมนุษย์เรานั้นอ่อนแอ มันเป็นธรรมชาติที่ไม่มีใครปฏิเสธอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าการให้อภัยเป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันไม่ได้

หากเราจะพยายามกระแดะพูดว่าเราไม่เคยโกรธใครเลยตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน เราให้อภัยผู้อื่นทุกครั้งแม้ว่าเขาจะล่วงเกินต่อเราอย่างแสนสาหัสเราก็ให้อภัยตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน อันนี้พูดให้ตายก็ไม่มีใครเชื่อ มิหนำซ้ำยังจะถูกหมั่นไส้

แต่เราก็สามารถฝึกใจของเราไปเรื่อยๆได้ พยายามโกรธให้น้อยลง น้อยลง น้อยลง แล้วในที่สุดเราก็อาจจะทำได้ ถึงไม่ได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็อภัยให้มากที่สุด ดูอย่างพระพุทธเจ้าสิ่ พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดี พระองค์มิทรงโกรธใคร ทรงให้อภัย เราทุกคนไม่ใช่พระพุทธเจ้า แต่เราก็สามารถฝึกได้จริงมั๊ย

การให้อภัยทำให้จิตใจเราสบาย ไม่แค้นเคือง ไม่ผูกใจเจ็บ ผ่องแผ้ว ไม่มัวหมอง

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2012, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ เขียน:
bigtoo เขียน:
มันคิดได้แต่จะให้ได้จริงมั้ยล่ะครับ ถ้าคุณธรรมไม่ถึงมีใครให้ใครได้ล่ะครับ


ด้วยเหตุนี้จึงได้มีคำกล่าวที่ว่า

“ ผู้ที่อ่อนแอไม่สามารถให้อภัยใครได้ เพราะการให้อภัยได้นั้นนับเป็นคุณสมบัติของผู้ที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง ”

ความเป็นจริงแล้วมนุษย์เรานั้นอ่อนแอ มันเป็นธรรมชาติที่ไม่มีใครปฏิเสธอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าการให้อภัยเป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันไม่ได้

หากเราจะพยายามกระแดะพูดว่าเราไม่เคยโกรธใครเลยตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน เราให้อภัยผู้อื่นทุกครั้งแม้ว่าเขาจะล่วงเกินต่อเราอย่างแสนสาหัสเราก็ให้อภัยตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน อันนี้พูดให้ตายก็ไม่มีใครเชื่อ มิหนำซ้ำยังจะถูกหมั่นไส้

แต่เราก็สามารถฝึกใจของเราไปเรื่อยๆได้ พยายามโกรธให้น้อยลง น้อยลง น้อยลง แล้วในที่สุดเราก็อาจจะทำได้ ถึงไม่ได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็อภัยให้มากที่สุด ดูอย่างพระพุทธเจ้าสิ่ พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดี พระองค์มิทรงโกรธใคร ทรงให้อภัย เราทุกคนไม่ใช่พระพุทธเจ้า แต่เราก็สามารถฝึกได้จริงมั๊ย

การให้อภัยทำให้จิตใจเราสบาย ไม่แค้นเคือง ไม่ผูกใจเจ็บ ผ่องแผ้ว ไม่มัวหมอง
ในนิสัยส่วนตัวเป็นคนโมโหง่าย โกรธง่าย แต่ก็เป็นคนให้อภัยคนเสมอครับ ขนาดทำธุรกิจเคยผิดใจกับเพื่อนเพื่อนทำให้เสียเงินเยอะๆก็เลิกโกรธได้แต่ใช้เวลาหน่อย การให้อภัยใครทำได้ก็สุดยอดครับ สบายใจที่สุดแล้วโกรธเขาเท่ากับไฟสุมเราเอง :b12:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2012, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


bigtoo เขียน:
พุทธคุณ เขียน:
bigtoo เขียน:
มันคิดได้แต่จะให้ได้จริงมั้ยล่ะครับ ถ้าคุณธรรมไม่ถึงมีใครให้ใครได้ล่ะครับ


ด้วยเหตุนี้จึงได้มีคำกล่าวที่ว่า

“ ผู้ที่อ่อนแอไม่สามารถให้อภัยใครได้ เพราะการให้อภัยได้นั้นนับเป็นคุณสมบัติของผู้ที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง ”

ความเป็นจริงแล้วมนุษย์เรานั้นอ่อนแอ มันเป็นธรรมชาติที่ไม่มีใครปฏิเสธอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าการให้อภัยเป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันไม่ได้

หากเราจะพยายามกระแดะพูดว่าเราไม่เคยโกรธใครเลยตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน เราให้อภัยผู้อื่นทุกครั้งแม้ว่าเขาจะล่วงเกินต่อเราอย่างแสนสาหัสเราก็ให้อภัยตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน อันนี้พูดให้ตายก็ไม่มีใครเชื่อ มิหนำซ้ำยังจะถูกหมั่นไส้

แต่เราก็สามารถฝึกใจของเราไปเรื่อยๆได้ พยายามโกรธให้น้อยลง น้อยลง น้อยลง แล้วในที่สุดเราก็อาจจะทำได้ ถึงไม่ได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็อภัยให้มากที่สุด ดูอย่างพระพุทธเจ้าสิ่ พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดี พระองค์มิทรงโกรธใคร ทรงให้อภัย เราทุกคนไม่ใช่พระพุทธเจ้า แต่เราก็สามารถฝึกได้จริงมั๊ย

การให้อภัยทำให้จิตใจเราสบาย ไม่แค้นเคือง ไม่ผูกใจเจ็บ ผ่องแผ้ว ไม่มัวหมอง
ในนิสัยส่วนตัวเป็นคนโมโหง่าย โกรธง่าย แต่ก็เป็นคนให้อภัยคนเสมอครับ ขนาดทำธุรกิจเคยผิดใจกับเพื่อนเพื่อนทำให้เสียเงินเยอะๆก็เลิกโกรธได้แต่ใช้เวลาหน่อย การให้อภัยใครทำได้ก็สุดยอดครับ สบายใจที่สุดแล้วโกรธเขาเท่ากับไฟสุมเราเอง :b12:


เมื่อคิดถูก ทำถูก ก็ถือว่าเดินมาถูกทางแล้ว คุณ bigtoo สามารถให้อภัยเพื่อนได้นับว่าประเสริฐ ถึงแม้จะช้าแต่ก็ยังละได้ วางได้ จิตใจย่อมไม่มัวหมอง การให้อภัยเป็นสิ่งดีงาม บางคนไม่ให้อภัยเพราะกลัวเสียฟอร์มแต่ในใจก็หาความสุขไม่ได้เลยเท่ากับมีไฟสุมอยู่ในอกซึ่งมีแต่จะเผลาผลาญให้มอดไหม้ คุณผ่านมาได้ก็ถือว่าได้ฝึกตนเองยกระดับให้ก้าวหน้ามาอีกขั้น ขออนุโมทนา สาธุในสิ่งที่คุณให้อภัยผู้อื่น

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2012, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ เขียน:
bigtoo เขียน:
พุทธคุณ เขียน:
bigtoo เขียน:
มันคิดได้แต่จะให้ได้จริงมั้ยล่ะครับ ถ้าคุณธรรมไม่ถึงมีใครให้ใครได้ล่ะครับ


ด้วยเหตุนี้จึงได้มีคำกล่าวที่ว่า

“ ผู้ที่อ่อนแอไม่สามารถให้อภัยใครได้ เพราะการให้อภัยได้นั้นนับเป็นคุณสมบัติของผู้ที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง ”

ความเป็นจริงแล้วมนุษย์เรานั้นอ่อนแอ มันเป็นธรรมชาติที่ไม่มีใครปฏิเสธอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าการให้อภัยเป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันไม่ได้

หากเราจะพยายามกระแดะพูดว่าเราไม่เคยโกรธใครเลยตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน เราให้อภัยผู้อื่นทุกครั้งแม้ว่าเขาจะล่วงเกินต่อเราอย่างแสนสาหัสเราก็ให้อภัยตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน อันนี้พูดให้ตายก็ไม่มีใครเชื่อ มิหนำซ้ำยังจะถูกหมั่นไส้

แต่เราก็สามารถฝึกใจของเราไปเรื่อยๆได้ พยายามโกรธให้น้อยลง น้อยลง น้อยลง แล้วในที่สุดเราก็อาจจะทำได้ ถึงไม่ได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็อภัยให้มากที่สุด ดูอย่างพระพุทธเจ้าสิ่ พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดี พระองค์มิทรงโกรธใคร ทรงให้อภัย เราทุกคนไม่ใช่พระพุทธเจ้า แต่เราก็สามารถฝึกได้จริงมั๊ย

การให้อภัยทำให้จิตใจเราสบาย ไม่แค้นเคือง ไม่ผูกใจเจ็บ ผ่องแผ้ว ไม่มัวหมอง
ในนิสัยส่วนตัวเป็นคนโมโหง่าย โกรธง่าย แต่ก็เป็นคนให้อภัยคนเสมอครับ ขนาดทำธุรกิจเคยผิดใจกับเพื่อนเพื่อนทำให้เสียเงินเยอะๆก็เลิกโกรธได้แต่ใช้เวลาหน่อย การให้อภัยใครทำได้ก็สุดยอดครับ สบายใจที่สุดแล้วโกรธเขาเท่ากับไฟสุมเราเอง :b12:


เมื่อคิดถูก ทำถูก ก็ถือว่าเดินมาถูกทางแล้ว คุณ bigtoo สามารถให้อภัยเพื่อนได้นับว่าประเสริฐ ถึงแม้จะช้าแต่ก็ยังละได้ วางได้ จิตใจย่อมไม่มัวหมอง การให้อภัยเป็นสิ่งดีงาม บางคนไม่ให้อภัยเพราะกลัวเสียฟอร์มแต่ในใจก็หาความสุขไม่ได้เลยเท่ากับมีไฟสุมอยู่ในอกซึ่งมีแต่จะเผลาผลาญให้มอดไหม้ คุณผ่านมาได้ก็ถือว่าได้ฝึกตนเองยกระดับให้ก้าวหน้ามาอีกขั้น ขออนุโมทนา สาธุในสิ่งที่คุณให้อภัยผู้อื่น
เมื่อเรามาถึงจุดหนึ่งเราจะรู้ว่ามันไม่มีอะไรจริงๆ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2012, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พลังแห่งการให้อภัย

สิ่งที่มีพลังที่สุด...ที่จะปลดปล่อยให้คุณเป็นอิสระ
คือการให้อภัยทุกคนที่เคยทำให้คุณเจ็บปวดในทุกๆ เรื่อง
เพียงคุณปลดปล่อยคนอื่นออกจากจิตใจโดยการให้อภัยเขา
คุณจะปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระจากความทุกข์
นี่คือเหตุผลที่ศาสนาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการให้อภัย
และสอนว่า การให้อภัยเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่สันติสุขในใจและบนโลกมนุษย์


8 ขั้นตอนสู่การให้อภัย

ในช่วงสภาวะอันแสนจะกดดัน จากที่เคยใจเย็น อะไรที่เข้าใจง่าย ก็เกิดหงุดหงิด ฉุนเฉียว ไม่รับรู้ อคติ ไม่เข้าใจ บางรายเกิดการยึดติด แค้นเคืองกันไป มีอาการ “กรี๊ดด…ฉันไม่ให้อภัยเธออีกแล้วนะ” แน่ใจหรือ? ว่าการไม่ให้อภัยกันนั้นทำให้มีความสุขจริงหรือ? บางคนตีอกชกหัว ฉันโดนทำร้าย โลกนี้ช่างโหดร้าย แต่คุณเชื่อหรือไม่ ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเราเอง ลองอ่าน 8 ขั้นตอนสู่การให้อภัย ที่อาจทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นจากหน้ามือเป็นหลังมือ ไม่เชื่อลองทำดูค่ะ

ขอขอบคุณที่มาของบทความดีๆ : หนังสือ กฎแห่งกระจก

ขั้นตอนที่ 1

เขียนรายชื่อ “คนที่ให้อภัยไม่ได้” ลงในกระดาษ
เขียนรายชื่อคนที่คิดว่า “ถ้าให้อภัยได้คงสบายใจขึ้น” และคนที่ “อยากปรับความเข้าใจด้วย” ลงไป โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญมากลองถามตัวเองดูว่า “เกลียดพ่อแม่หรือไม่” “สำนึกในบุญคุณพ่อแม่หรือเปล่า” ถ้าไม่แน่ใจก็ขอให้เขียนชื่อพ่อแม่ลงไปก่อน

สำหรับคนที่มีแฟนแล้ว ขอให้ทบทวนความสัมพันธ์กับคู่รัก ส่วนคนที่เลิกรา ก็ขอให้นึกดูว่าจะปรับความเข้าใจได้หรือไม่

วิธีนี้ยังใช้ได้กับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว แม้คนที่ให้อภัยไม่ได้ จากไปแล้ว ก็ขอให้เขียนชื่อเขาลงไปด้วย

เมื่อได้รายชื่อแล้วเลือกคนๆหนึ่งที่คุณคิดว่าเหมาะที่จะลองใช้ “8 ขั้นตอนสู่การให้อภัย” ดู



ขั้นตอนที่ 2
ระบายความรู้สึกของตัวเอง


เตรียมกระดาษไว้หลายๆแผ่น แล้วเขียนระบายความรู้สึกที่มีต่อคนๆนั้น ทางที่ดีควรเขียนความรู้สึกในใจแทนที่จะเขียนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ถ้ารู้สึกโกรธจะเขียนคำว่า “ค้นบ้า” “ทุเรศ!” หรือคำอื่นก็ได้ และถ้ารู้สึกเป็นทุกข์หรือเศร้าเสียใจก็ขอให้เขียนลงไปด้วย เขียนระบายความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา กระดาษเหล่านี้ไม่ได้มีไว้ให้คนๆนั้นดู เพราะฉะนั้นเขียนลงไปให้เต็มที่ ถ้าอยากร้องไห้ก็ร้องออกมา ไม่ต้องกลั้นไว้ การร้องไห้จะทำให้รู้สึกสบายใจขึ้น เมื่อเขียนอย่างหมดไส้หมดพุงแล้ว ขอให้ฉีกกระดาษเป็นชิ้นๆ แล้วทิ้งถังขยะไป



ขั้นตอนที่ 3
จินตนาการสาเหตุของการกระทำ


1.เขียนการกระทำของคนๆนั้นที่ทำให้คุณ “ให้อภัยไม่ได้” ลงบนกระดาษ

2.ลองจินตนาการสาเหตุที่ทำให้เขาต้องทำเช่นนั้น แรงจูงใจที่ทำให้คนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยแยกออกเป็นสองสาเหตุใหญ่คือ “อยากมีความสุข” หรือ “อยากเลี่ยงความทุกข์” ลองจินตนาการดูว่าเขาอยากได้รับความสุขแบบใด หรืออยากเลี่ยงความทุกข์แบบไหนถึงได้ทำเช่นนั้น

3.เมื่อเขียนเสร็จแล้ว อย่าได้ตัดสินการกระทำนั้นว่า “ไม่ถูกต้อง” แต่ขอให้เข้าใจสิ่งนั้นคือการกระทำที่เกิดจากความด้อยประสบการณ์ ความไม่รู้ หรือความอ่อนแอ


เราทุกคนมักทำผิดพลาดอยู่บ่อยๆ เช่นทำบางอย่างเพื่อให้มีความสุข แต่กลับกลายเป็นความทุกข์

การกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงความทุกข์กลับกลายเป็นเพิ่มทุกข์เข้าไปอีก สิ่งนั้นมีสาเหตุจากความด้อยประสบการณ์ ความไม่รู้ และความอ่อนแอนั่นเอง เพราะฉะนั้นขอให้คิดเสียว่าการกระทำของคนที่เราให้อภัยไม่ได้ก็เกิดจากความด้อยประสบการณ์ ความไม่รู้ และความอ่อนแอ เช่นกัน

4.ขอให้พิจารณาการกระทำของคนๆนั้นโดยไม่สนใจว่าถูกหรือผิด แล้วพูดออกมาว่า “คุณคงอยากมีความสุข คุณคงอยากหนีให้พ้นจากความทุกข์เหมือนกันกับฉัน”



ขั้นตอนที่ 4
เขียนสิ่งที่ควรขอบคุณ


เขียนสิ่งที่ควรขอบคุณคนๆนั้นออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ขอให้เขียนลงไป ลองนึกดูให้ดี แม้อาจจะใช้เวลาสักหน่อย เขียนให้มากเข้าไว้



ขั้นตอนที่ 5
ขอพลังจากการพูด


1.ปฏิญาณว่า “ฉันจะให้อภัยคุณเพื่อความเป็นอิสระ ความสบายใจ และความสุขใจของฉันเอง”

2.กล่าวขอบคุณซำๆว่า “คุณ(ชื่อ) ขอบคุณนะครับ/ค่ะ” ถ้าเป็นไปได้ให้พูดออกเสียง จะพูดเบาๆแค่ให้ตัวเองได้ยินก็ได้ ในขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องรู้สึกจากใจจริง แม้ในจิจใจจะยังรู้สึกไม่ให้อภัย แต่ก็ขอให้เริ่มพูด (การกระทำภายนอก) ก่อน


ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ 10 นาทีเป็นอย่างน้อย ในเวลา 10 นาทีเราจะพูดได้ประมาณ 400-500 ครั้ง และหากเป็นไปได้ ขอให้พูดต่อเนื่องนาน 30 นาที เพราะขั้นตอนนี้สำคัญมาก



ขั้นตอนที่ 6
เขียนสิ่งที่อยากขอโทษ


เขียนสิ่งที่อยากขอโทษคนๆนั้นให้มากที่สุด



ขั้นตอนที่ 7
เขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้


เขียนว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการรู้จักคนๆนั้น

คุณอาจได้เรียนรู้หรือรับรู้สิ่งใหม่ๆ จาการคิดเรื่องที่ว่า “ควรปฏิบัติตัวอย่างไรกับเขา”

ควรทำตัวอย่างไรจึงจะทำให้ทั้งคุณและเขามีความสุข



ขั้นตอนที่ 8
ประกาศ “ฉันให้อภัยแล้ว”


ประกาศว่า “ฉันให้อภัยคุณแล้ว”



และทั้งหมดนี้คือ “8 ขั้นตอนสู่การให้อภัย”
หากทำครบทั้ง 8 ขั้นตอนแล้ว แต่ยังรู้สึก “ให้อภัยไม่ได้” อยู่ก็ไม่เป็นไร
สิ่งที่ต้องทำต่อคือปฏิบัติตามข้อ 2 ในขั้นตอนที่ 5 ให้เป็นกิจวัตร


นึกถึงใบหน้าของคนๆนั้น แล้วพูดซ้ำไปซ้ำมาว่า “คุณ(ชื่อ) ขอบคุณนะครับ/ค่ะ”

ขอบคุณที่มา BBug: yenta4.com

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2012, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พลังแห่งการให้อภัย


พลังที่ยิ่งใหญ่ที่ทำให้เราเป็นสุขใจและทำให้เราเอาชนะตนเองได้พลังนั้นคือ

"
พลังแห่งการให้อภัย"




การที่เราไม่สามารถให้อภัยคนอื่นเป็นรากฐานของความคิดเชิงลบ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความโกรธและโทษคนอื่น ทำให้เกิดความกลัวและแคลงใจ หรือเกิดความอิจฉาริษยา

ตั้งแต่เล็กจนโตเราถูกปลูกฝังว่า “ความถูกต้อง” เป็นสิ่งสำคัญมากและถูกกำหนดโดยกรอบของ “ความยุติธรรม” ทำให้เรารู้สึกไม่พอใจ เมื่อเหตุการณ์ที่ไม่ถูกต้องหรือความไม่ยุติธรรม โดยเฉพาะถ้าเหตุการณ์นั้นเกี่ยวข้องกับเราโดยตรง หรือทุกครั้งที่เรารู้สึกว่าตนเองและผู้อื่นไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม

เราจะตอบโต้ด้วยความโกรธ เมื่อเป็นเช่นนี้ความเคารพในตนเองที่บอบบางจะถูกคุกคาม

หลายคนที่จมอยู่กับความรู้สึกอย่างนี้อย่างไม่สามารถจะหลุดพ้นจากมันได้ ถ้าเราไม่รู้จักปลดปล่อยความทุกข์ในวัยเด็กให้ผ่านพ้นไป เราจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่รู้จักให้อภัย และจะมีชีวิตที่เต็มไปด้วยความโกรธต่อคนอื่น ทำให้ต้องเผชิญกับความทุกข์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

สิ่งที่มีพลังที่สุดที่จะปลดปล่อยให้คุณเป็นอิสระ คือการให้อภัยทุกคนที่เคยทำให้คุณเจ็บปวดในทุกๆ เรื่อง เพียงคุณปลดปล่อยคนอื่นออกจากจิตใจโดยการให้อภัยเขา คุณจะปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระจากความทุกข์ นี่คือเหตุผลที่ศาสนาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการให้อภัย และสอนว่าการให้อภัยเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่สันติสุขในใจและบนโลกมนุษย์

คุณลองนึกภาพถึงความรู้สึกที่ไม่โกรธใครทั้งสิ้นในโลกนี้ นึกภาพว่าคุณเป็นคนมองโลกในแง่ดีและมีความสุข มีความเชื่อมั่นและเคารพตนเอง นึกภาพว่าเป็นคนอบอุ่นเป็นมิตร และมีแต่ความสงบสุขภายใน ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้สามารถเป็นจริงได้ถ้าคุณรู้จัก ให้อภัย

ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณไม่ยอมให้อภัยคนอื่น คุณจะโกระ เครียด วิตกกังวล ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และไม่มีความสุข การไม่ยอมให้อภัยทำให้คุณติดอยู่ในบ่วงแห่งความทุกข์ ในขณะที่การให้อภัยทำให้คุณเป็นอิสระ คุณจะเลือกสิ่งใด มันเป็นสิ่งที่คุณต้องเลือกด้วยตนเอง ไม่เกี่ยวข้องกับใครทั้งสิ้น

มีบางคนที่ปิดกั้นตนเองจากการให้อภัยด้วยความเชื่อผิดๆ ที่ว่าการให้อภัยคือการยอมรับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง หรือคิดว่าการให้อภัยเท่ากับว่าเรายอมรับคนๆนั้น และกำลังทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

มีคำกล่าวว่า การจำคุกต้องมีทั้งสองฝ่ายเสมอ คือนักโทษและผู้คุม ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างก็อยู่ในเรือนจำเช่นกัน ถ้าคุณปล่อยให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นอิสระ คุณเองก็จะเป็นอิสระด้วย คุณไม่จำเป็นต้องยอมรับพฤติกรรมหรือต้องชอบคนที่ทำให้คุณเจ็บ เพียงแต่คุณให้อภัยเขาเพื่อที่คุณจะได้ดำเนินชีวิตต่อไป การให้อภัยจึงเป็นการกระทำเพื่อตนเองอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพื่อคนอื่นเลย และมันเป็นการกระทำด้วยจิตใจที่สงบสุขและมั่นคง

เมื่อคุณโกรธคนอื่น คุณจะควบคุมจิตใจตนเองไม่ได้ทุกครั้งที่นึกถึงเขา คุณปล่อยให้เขาเข้ามาควบคุมจิตใจและชีวิตของคุณ เขาจะเข้ามาอยู่ในความคิดของคุณตลอดเวลา และเหตุการณ์ที่ทำให้คุณโกรธก็จะปรากฏขึ้นในใจของคุณ




หนทางแห่งการให้อภัย


วิธีที่จะให้อภัยนั้นง่ายมาก คุณสามารถทำได้โดยการพูดว่า “ขอให้คุณพระคุ้มครองเขา ฉันยกโทษให้เขาสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง และขอให้เขาโชคดี” มันเป็นไปไม่ได้ที่จะยกโทษให้คนอื่นในเวลาเดียวกับที่คุณโกรธเขา เพราะความคิดเชิงบวกจะไปยกเลิกความคิดเชิงลบของคุณ

คุณจะปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระได้เร็วขึ้น โดยการยอมรับผิดชอบในส่วนของคุณต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ต่างๆ จะเกิดขึ้นโดยตัวของมันเองได้ยากมาก คุณย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นด้วยเสมอ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องดึงส่วนที่คุณรับผิดชอบออกมา โดยพูดว่า โดยพูดว่า “ฉันผิดเอง ฉันไม่ควรเกี่ยวข้องด้วยตั้งแต่แรกหรือเกี่ยวข้องกับมันมากเกินไป ฉันไม่ควรทำเช่นนี้ ฉันให้อภัยเขาอย่างแท้จริง และปล่อยให้มันผ่านไป”

มันอาจจะยากสำหรับคุณในการให้อภัยในครั้งแรก การพูดถ้อยคำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก จึงมีหลายคนที่มีชีวิตเต็มไปด้วยความเจ็บปวด แต่ถ้าคุณให้อภัยคนอื่นและปล่อยเขาไป คุณจะรู้สึกมีความสุขและสดใสขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อความโกรธและความขุ่นเคืองจางหายไป จิตใจของคุณจะเต็มไปด้วยความคิดในทางที่ดี คุณจะมีพลังมากขึ้น กระฉับกระเฉงขึ้น เข้มแข็งและมั่นใจมากขึ้น

ไม่ต้องกังวลว่าเพื่อนคุณจะคิดอย่างไรถ้าคุณให้อภัยคนที่ทำให้คุณเจ็บ เพราะเพื่อนคุณอาจจะเบื่อหน่ายที่จะรับฟังคุณรำพึงรำพันถึงความทุกข์นั้นแล้วก็ได้ ในความเป็นจริงเมื่อคุณเริ่มต้นให้อภัยแล้ว คุณจะพบว่าความโกรธเป็นเพียงสิ่งเดียวที่มาพันธนาการคุณไว้กับคนบางคน และเมื่อคุณตัดสินใจให้อภัยเขาคุณอาจจะไม่รู้สึกอยากพูดถึงเขาอีกต่อไป



คนที่คุณต้องให้อภัย

มีคนอยู่ 4 กลุ่มที่คุณต้องให้อภัย ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนชีวิตของคุณอย่างจริงจัง

กลุ่มแรก คือ พ่อแม่ของคุณ ไม่ว่าท่านยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม คุณต้องให้อภัยท่านอย่างหมดสิ้นสำหรับความผิดพลาดในอดีตในการเลี้ยงดูคุณ อย่างน้อยที่สุดคุณควรขอบคุณท่านที่ให้ชีวิตแก่คุณ ท่านทำให้คุณมีวันนี้ ถ้าคุณยังมีความสุขที่จะมีชีวิตอยู่ คุณก็ควรให้อภัยท่านได้ทุกเรื่อง และจงอย่าตำหนิท่านอีก

ถ้าคุณไม่ให้อภัยพ่อแม่ของคุณ คุณจะยังคงเป็นเด็กตลอดไป และจะปิดโอกาสในการเติบโตและเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ คุณยังคงมองตนเองเป็นเหยื่อผู้โชคร้าย และที่แย่ไปกว่านั้นคือคุณจะเก็บความรู้สึกเชิงลบความเป็นปมด้อย และความโกรธไว้ตลอดไป ยิ่งไปกว่านั้นถ้าพ่อแม่ของคุณเสียชีวิตลงโดยที่คุณยังไม่ได้ให้อภัยท่าน สิ่งนี้จะรบกวนคุณไปตลอดชั่วชีวิต

กลุ่มที่สอง คือ คนใกล้ชิด กลุ่มคนที่ใกล้ชิดของคุณที่ความสัมพันธ์ต้องสิ้นสุดลง การแต่งงานและความสัมพันธ์ส่วนตัว เป็นความรู้สึกที่รุนแรง ซึ่งอาจทำลายความเคารพตนเองได้มากจนกระทั่งคุณอาจโกรธและไม่ให้อภัยคนเหล่านั้นเป็นเวลาหลายปี

แต่อย่างน้อยคุณอาจรับผิดชอบได้ส่วนหนึ่ง โดยการให้อภัยคนอื่นและปล่อยเขาไป จงพูดว่า “ฉันผิดเอง ฉันยกโทษให้เขาสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง และขอให้เขาโชคดี” ทุกครั้งที่พูดเช่นนี้อีก ความรู้สึกเชิงลบที่ติดอยู่กับความทรงจำก็จะเลือนหายไป และในไม่ช้ามันจะหมดไปอย่างถาวร


จากการศึกษาพบว่า “การเขียนจดหมาย” เป็นวิธีการกำจัดความรู้สึกไม่ดีให้หมดไป และเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่สามารถปลดปล่อยคุณจากความโกรธได้

คุณสามารถทำได้โดย นั่งลงเขียนจดหมายให้อภัยคนอื่น ซึ่งจดหมายนั้นประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่

ส่วนแรก ให้เขียนว่า “ฉันให้อภัยคุณในสิ่งที่คุณทำให้ฉันเจ็บ”

ส่วนที่สอง ให้พรรณนาถึงสิ่งต่างๆ ที่คุณยังโกรธอยู่ ซึ่งบางคนเขียนส่วนนี้ได้ยาวหลายหน้า

ส่วนที่สาม เขียนคำลงท้ายจดหมายว่า “ขอให้คุณโชคดี”

จากนั้นนำจดหมายไปหย่อนตู้ไปรษณีย์ ในเวลานั้นคุณจะรู้สึกถึงความปลดเปลื้องที่ยิ่งใหญ่ และคุณจะเป็นอิสระได้ในที่สุด

ในการใช้วิธีนี้ คุณไม่ต้องกังวลว่าผู้อ่านจะมีปฏิกิริยาอย่างไร นั่นไม่ใช่เรื่องที่คุณต้องนึกถึง เพราะเป้าหมายของคุณคือการปลดปล่อยตนเอง เพื่อจะมีจิตใจที่สงบสุขและมีชีวิตที่ดีต่อไป


คนกลุ่มที่สาม ใครก็ได้ในชีวิตที่ทำให้คุณเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย หุ้นส่วนทางธุรกิจ เพื่อน คนที่โกง หรือทรยศต่อคุณ รวมทั้งทุกคนที่นำความทุกข์มาให้คุณ จงซักผ้าที่เปื้อนสีของคุณให้ขาว จงปล่อยเขาไปโดยพูดว่า “ฉันให้อภัยเขาสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างและขอให้เขาโชคดี” พูดประโยคนี้ซ้ำอีกทุกครั้งที่คุณนึกถึงเขา จนกระทั่งความรู้สึกเชิงลบนั้นจางหายไป

กลุ่มที่สี่ คือ ตัวคุณเอง คุณต้องให้อภัยตนเองอย่างหมดสิ้นสำหรับการกระทำหรือคำพูดของคุณที่โง่เขลา เบาปัญญา ไม่มีเหตุผล ร้ายกาจ สิ้นคิด หรือหยาบคาย คุณต้องเลิกเก็บความผิดพลาดเหล่านี้ไว้กับคุณ จงจำไว้ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นอดีตแต่ตอนนี้คุณอยู่กับปัจจุบัน

ถ้าคุณนึกถึงแต่อดีตที่รู้สึกไม่ดีกับมัน คุณก็จะไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน ขอให้คิดว่าในเวลานั้นคุณไม่เหมือนกับตอนนี้คุณยังเด็ก ขาดประสบการณ์และยังไม่มีตัวตนที่แท้จริง จงหยุดทำร้ายตนเองด้วยสิ่งที่ผ่านไปแล้วและเราไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้

เมื่อคุณรู้สึกว่าต้องแบกรับความรู้สึกที่ผิดที่เป็นผลมาจากรอยแผลในอดีต ความรู้สึกนี้จะระบายออกไปทันทีที่คุณตระหนักว่า “มันไม่ใช่ความผิดของฉัน” เพราะคุณได้กระทำลงไปตอนที่คุณเป็นเด็กและด้อยประสบการณ์เกินกว่าจะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้ มันไม่ใช่ความผิดของคุณ คุณทำดีที่สุดแล้วในขณะนั้น จงให้อภัยตนเองและปล่อยให้ตนเองหลุดจากบ่วงนี้ไป

เพียงแค่พูดว่า “ฉันให้อภัยตนเองในความผิดที่ฉันได้ทำลงไป ฉันเป็นคนดีอย่างแท้จริง และฉันกำลังจะมีอนาคตที่สดใส” เมื่อใดที่คุณคิดถึงเหตุการณ์ในอดีตอีก จงพูดว่า “ฉันยกโทษให้ตนเองอย่างหมดสิ้น” จากนั้นก็ดำเนินชีวิตต่อไป จงเดินหน้าไปสู่อนาคตแทนที่จะถอยกลับไปหาอดีต คิดถึงที่ที่คุณกำลังจะไป ไม่ใช่ที่ที่คุณผ่านมาแล้ว


สุดท้าย ถ้าคุณเคยทำให้คนอื่นรู้สึกเจ็บและยังรู้สึกไม่ดีกับมันอยู่ คุณอาจไปพบเขาหรืออาจเขียนจดหมายถึงเขาเพื่อขอโทษ บอกเขาว่าคุณเสียใจในสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว และไม่ว่าเขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี มันไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะคุณได้แสดงความเสียใจในสิ่งที่ได้กระทำไปแล้วซึ่งการแสดงความเสียใจนี้จะช่วยปลดปล่อยให้คุณเป็นอิสระ

Change Your Thinking Change Your Life


ขอบคุณ:Khonheyhaa
ขอบคุณ:www.thaiblogonline.com

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2012, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2012, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ เขียน:
การให้อภัยทำให้จิตใจเราสบาย ไม่แค้นเคือง ไม่ผูกใจเจ็บ ผ่องแผ้ว ไม่มัวหมอง
ขอโมทนาครับ .. :b8:

การขอโทษ คือ การสำนึกผิด
เป็นการลดอัตตามานะทิฏฐิ เป็นการระงับโทสะ ป้องกันการผูกโกรธ ของอีกฝ่าย
การให้อภัย คือ การยกโทษให้ ไม่ถือโกรธ
เป็นการสร้างเมตตา ซึ่งการให้อภัยนี้เป็นคุณกับผู้ให้มากกว่าผู้รับ

ทั้งการขอโทษและการให้อภัย เป็นการฝึกจิต บริหารจิต ให้ดีขึ้น สูงขึ้น มีค่าขึ้น
ผู้ให้อภัย คือ ผู้เย็นก่อน สงบก่อนเสมอ ...
:b12:

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2012, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: :b48: :b48: สายลมแห่งการให้อภัย :b48: :b48: :b48:


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ


ฟอร์เวิร์ดเมล์

.....................................................
รูปภาพ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร