วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool ร้อยวันพันปี จะตั้งกระทู้สักครั้ง

เริ่มที่ ต้องปรับความเข้าใจกันสักนิดว่า การเข้าถึงสมถะฌาณ หรือที่มักเรียกกันเฉยๆ ว่า ฌาณ นั้น เมื่อเข้าถึงปฐมฌาณ ก็นับว่าสำเร็จแล้ว ฌาณในขั้นอื่นๆ เป็นเพียงการลดองค์ประกอบของปฐมฌาณลงไปเรื่อยๆ เท่านั้น
หากจะว่าในแบบอุปมาอุปไมย ปฐมฌาณก็เหมือนคนที่วิ่งเข้าเส้นชัยแล้ว แต่ยังมีเงาที่ทอดยาวอยู่ การฝึกในขั้นทุติย (2) ตติย (3) จตุตถ (4) ก็คือการลดเงาให้สั้นลงๆ ไป

:b6: :b6: :b6: การฝึกสมถะฌาณ (อารัมมณูปนิชฌาณ) จะเริ่มต้นที่การเพ่ง เป็นคำพระที่ฟังดูเหมือนการเบ่งขี้ แต่จริงๆ แล้ว หมายถึงการจดจ่อไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำๆ เช่นลมหายใจในอานาปานสติ หรืออย่างนิ่งเฉย ในบรรดากสินทั้งหลาย

คำพระในการฝึกขั้นนี้จะเรียกว่า วิตกและวิจาร ซึ่งมักสับสนกันว่าคืออะไรแน่ แต่ส่วนใหญ่มักทำทีว่าเข้าใจแล้วปล่อยผ่านไป รู้ว่าทำแบบนี้แล้ว มันคือวิตก-วิจารก็แล้วกัน
วิตกคือสิ่งที่เราเพ่ง-จดจ่อ วิจารคือการรับรู้ถึงสิ่งนั้น (ก็คือส่วนหนึ่งของกระบวนการ ระบุความหมาย ของสมอง)
ในอานาปานสติ ลมหายใจคือวิตก การรู้ว่ามันคือลมหายใจ คือวิจาร, ในกสิน สิ่งที่เอามาเพ่งคือวิตก การรู้ถึงสิ่งที่เอามาเพ่ง ว่าเป็นดิน เป็นแสงเป็นสีอะไร คือวิจาร, การท่องคำ 2 คำ คำที่เอามาใช้คือวิตก การรู้ว่ามันอ่านว่าพุท ว่าโธ ว่าพอง ว่ายุบ คือวิจาร

เมื่อฝึกวิตก-วิจาร มากเข้าๆ จนจิตเริ่มนิ่ง สิ่งที่จะตามมาคือ ปิติ การยึดกุมของจิตต่อร่างกาย (อัตตา,ขันธ์ แล้วแต่จะเรียก) จะเริ่มผ่อนคลายลง ผู้ฝึกจะเกิดอาการทางกายหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่บุคคล อาการที่เป็นพิมพ์นิยมคือ รู้สึก ว่าตัวสั่นน้อยๆ เย็นๆ ขนลุก รู้สึก ตัวเบาเหมือนจะลอยได้ รู้สึก ว่าตัวใหญ่บวมพอง บ้างก็มีน้ำลายเพิ่มขึ้น น้ำตาซึม (อันนี้เป็นอาการทางกายภาพจริง) หรือเกิดอาการตกวูบ ซึ่งมีศัพท์เฉพาะว่า ภวังคบาต ว่าอีกแบบคือ เป็นอาการทาง รูปวิญญาณ

ทำไมเมื่อจิตเริ่มผ่อนคลายต่อรูป แล้วจึงเกิดอาการ-ความรู้สึกต่างๆ เรื่องนี้จะขอข้ามไป เพราะจะเป็นเรื่องในหมวดอภิธรรม เป็นกระบวนการเข้ายึดกุมร่างของจิตโดยรูป และการยึดกุมจิตของร่างโดยเจตสิก

จิตที่มีกิเลสหนาแน่น ย่อมเกิดปิติได้มาก จิตที่มีกิเลสเบาบาง ย่อมเกิดปิติได้เบาบาง หรือไม่เกิดเลย (กิเลส คือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวสัตว์ไว้ในวัฏสงสาร)
เมื่อปิติเกิดแล้ว หากจิตยอมผ่อนคลายการยึดกุมต่อรูปวิญญาณ ซึ่งก็คือการไม่ยึดเหนี่ยวมันไว้ (อยากให้มันเกิดขึ้นเรื่อยๆ) ปล่อยให้มันเกิด และแค่ติดตามดูว่า มันมีอาการอย่างไร ไม่นานมันก็จะหายไป

:b6: :b6: :b6: สิ่งหนึ่งที่ควรจะกล่าวถึงคือ ในขั้นที่จิตเริ่มผ่อนคลายต่อรูป จิตที่มีที่กิเลสหนาแน่น มักก่อให้เกิดภาพนิมิตต่างๆ เป็นภาพสะท้อนจากสิ่งที่จิตต้องการหรือเก็บกดมันไว้ ภาพเหล่านี้ให้ความรู้สึกสมจริง เพราะในขณะที่เกิด จิตจะตกภวังค์ (ภาวะที่ระบบประสาทสัมผัสถูกระงับ ไม่มีอะไรมาช่วยให้สมองแยกแยะว่าสิ่งใดจริง สิ่งใดไม่จริง) มีศัพท์เฉพาะว่า ภวังค์จลนะ หรือถ้าจะใช้คำปัจจุบันก็อาจเป็นว่า นิมิตความฝัน
ผู้ฝึกฌาณควรจะเคยได้อ่านประโยคแบบนี้มาก่อน เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่เขาเห็นนั้น ไม่จริง

:b6: :b6: :b6: เมื่อจิตนิ่งจนถึงจุดหนึ่ง สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมา จะเป็นสิ่งที่บรรดาผู้ฝึกใหม่จะตื่นเต้นมาก และจะนำมาซึ่งความรู้สึกถึง ความวิเศษ เหนือคนอื่นๆ นั่นคือการเกิดขึ้นของ แสงสว่าง กลไกการเกิดขึ้นนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก (อาจเป็นเพราะเรายังไม่ได้สนใจที่หาเหตุของมันจริงๆ ก็ได้)

แสงสว่างจะเกิดขึ้นบนวิตก หากฝึกแบบกสิน ใช้รูปสีวงกลมเป็นแบบ ตัวแบบนั้นจะส่องสว่างคล้ายดวงอาทิตย์ จ้าแต่ไม่แสบตา (เพราะไม่ได้ใช้ตา) หากฝึกแบบอานาปานสติ หรือวิธีอื่นที่ไม่มีตัวแบบ แสงจะส่องสว่างทั้งจอภาพ (ผู้ฝึกฌาณจนถึงระดับนี้ ควรจะเข้าใจถึงคำว่า จอภาพ)
แสงสว่างจะนำซึ่งอารมณ์หนึ่ง ซึ่งคำพระเรียกว่า สุข แต่เราอยากจะใช้คำว่า ยินดี มากกว่า เพราะมันมีความรู้สึกติดอกติดใจอยู่ด้วย เหมือนวัยรุ่นเพิ่งหัดมีความรัก แล้วได้เห็นหน้าแฟนแบบนั้น

:b6: ในชั้นนี้ จิตจะหลงใหลอยู่กับแสงสว่างนั้น โดยไม่มีนิมิตอื่นใด (บางท่านก็ว่า แสงสว่างนี้ก็ถือเป็นนิมิตเหมือนกัน อันนี้ก็แล้วแต่สำนัก)

เมื่อถึงขั้นนี้ก็นับว่า ท่านสำเร็จ ปฐมฌาณ แล้ว
ปฐมฌาณมีองค์ประกอบ 5 อย่าง วิตก วจาร ปิติ สุข และเอกัคคตา ที่เราไม่เอ่ยถึงเอกัคคตา (อารมณ์เดียว) เพราะมันก็จะเกิดขึ้นอยู่แล้ว เมื่อถึงขั้นแสงสว่าง

มีต่อ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool ต่อ...

ส่วนฌาณขั้นทุติยฌาณ ตติยฌาณ ก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า การอยู่ในปฐมฌาณจนอายตนะ ดับ ลงไปเรื่อยๆ
ทุติยฌาณ วิตก-วิจาร ดับ หรือว่าอีกแบบคือ ความคิดดับ
ตติยฌาณ ปิติดับ ว่าอีกแบบคือ ประสาทสัมผัสดับ ยุงกัดไม่รู้สึก ว่างั้น เมื่อประสาทสัมผัสดับ เวทนา-ความรู้สึกต่างๆ ก็ย่อมดับ การดับเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นพร้อมกับแสงสว่างที่น่าหลงใหล มักจะทำให้ผู้เข้าถึงตติยฌาณ สำคัญผิดไปว่า นี่คือการบรรลุธรรมอันวิเศษ...

และหากไม่มีสิ่งใดมากระตุ้นเตือน หรือไม่สามารถตระหนักได้เอง ผู้เข้าถึงฌาณ อาจสำคัญผิดอยู่อย่างนั้นไปนานแสนนาน

:b6: :b6: เมื่อจิตไม่สำคัญผิด ไม่หลงใหลไปกับแสงสว่างนั้น ทำเพียงจ้องดูอยู่ ไม่เกิดความอยากที่จะให้แสงสว่างนั้น คงอยู่ไปตลอด... ไม่นานนัก แสงสว่างนั้นจะหายไป จิตจะเข้าถึง จตุตถฌาณ

เมื่อไม่มีแสงสว่าง (อันเป็นรูปที่เพ่งดูอยู่) ไม่นานจิตจะตกภวังค์ มีศัพท์เฉพาะว่า ภวังคุปัจเฉท จิตจะนิ่งอยู่กับความว่าง ไม่มีสิ่งใด ไม่มีนิมิตอันใด ไม่มีเสียง ไม่มีอายตนะ ไม่มีอารมณ์ และแน่นอน ไม่สามารถ คิด ได้ จิตจะอยู่กับความว่างนั้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตจะหลุดภวังค์ออกมาเอง

แต่หากผู้ฝึก ต้องการพัฒนาความสามารถทางสมถะฌาณต่อไป เมื่อแสงสว่างอันเป็นรูปนั้น ดับลง จิตที่นิ่งอยู่ในความว่าง (ความมืด) นั้น ถ้าสามารถจดจ่อกับความว่างนั้นได้ (คำพระท่านว่า เอาความว่างเป็นอารมณ์) จิตก็จะเข้าสู่ อรูปฌาณ ขั้นแรก อากาสานัญจายตะ

ก็จะเห็นว่า อรูปฌาณทั้งหลายก็คือ รูปฌาณที่ 4 จตุตถฌาณ ที่ใช้การเพ่งต่างๆ กันนั่นเอง (และนำไปสู่อภิญญาญาณต่างๆ)

มีต่อ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool ต่อ...

จากที่เขียนนี้ หากไม่หลงใหลกับความแปลกพิศดารของสมถะฌาณ ก็จะเห็นได้ค่อนข้างชัดว่า สมถะฌาณ ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ กิเลส
สมถะฌาณ อาจมีประโยชน์ในบางแง่ ที่ทำให้จิตตั้งอยู่ในความสงบเป็นระยะๆ ซึ่งจะมีผลให้ ปกติจิต มีความนิ่งขึ้น และจะเป็นประโยชน์ต่อการละกิเลส (บรรลุธรรม) หากเมื่อใดที่จิตเริ่มตระหนักและเข้าสู่การปฏิบัติวิปัสสนาฌาณ

แต่โดยมากแล้ว ผู้ที่ฝึกสมถะฌาณจนชำนาญ มักจะฝึกให้ตนอยู่ในภาวะ ทรงฌาณ คืออยู่ในสมถะฌาณตลอดเวลา และมักจะสำคัญผิดเสียด้วยว่า นี่คือภาวะการบรรลุธรรม

แน่นอนว่า ความนิ่งของจิตในภาวะทรงฌาณ ย่อมไม่เท่าเทียมกับความนิ่งขณะเข้าสมถะสมาธิ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การขาดซึ่งอารมณ์ และผู้ที่อยู่ในภาวะทรงฌาณมักจะเข้าใจไปว่า นี่คืออุเบกขา ทั้งๆ ที่มันไม่ใช่การวางเฉยต่ออารมณ์ แต่เป็นการขาด (ไม่มี) อารมณ์

ภาวะทรงฌาณ ไม่มีประโยชน์ในคติพุทธ ไม่มีประโยชน์ต่อการหลุดพ้น เพราะมันไม่มีผลต่อปกติจิต วันใดที่สิ้นอายุขัย อำนาจฌาณสูญหาย (ฌาณเป็นเรื่องของมนุษย์) ปกติจิตก็จะอยู่ในสถานะเดียวกับปกติจิต ในวันแรกที่เริ่มเข้าสู่ภาวะทรงฌาณ

จริงๆ เราอยากจะเรียกการฝึกสมถะฌาณอย่างยิ่งยวดว่า เป็นการฝึกเพื่อให้กลายเป็น ครึ่งคนครึ่งผี

มีต่อ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 14:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


cry cry cry

ท่านมูน่ะ อย่ารอให้ร้อยวันพันปีดิ่

cry cry cry

เอกอนคิดถึง สีสรรแห่งไฮเทค


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool ต่อ...

เอาล่ะ ทีนี้จะมาเริ่มการฝึกสัมมาสมาธิในคติพุทธ ที่จะนำไปสู่การหลุดพ้นจากวัฏสงสาร คือการบรรลุธรรม ละกิเลสเข้าสู่ความเป็นอริยบุคคล นั่นคือ วิปัสสนาฌาณ หรือ ลักขณูปนิชฌาณ


เมื่อเทียบกับสมถะฌาณ ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ สมถะฌาณจะเป็นลักษณะที่เราเรียกว่า บำเพ็ญตบะ เพราะต้องใช้เวลายาวนานเพื่อการดับอายตนะ ไล่เรียงขึ้นไปจากปฐมฌาณ ไปจนถึงจตุตถฌาณ บางทีก็นั่งกัน 3-4 ชั่วโมง จึงแทบจะกลายเป็นความจำเป็น ที่ผู้ฝึกสมถะฌาณจะต้องทำตนให้อยู่ในภาวะทรงฌาณ

แต่วิปัสสนาฌาณนั้น จะไม่มีลักษณะบำเพ็ญตบะ... การฝึกก็ง่ายแสนง่าย ไม่พิศดารเหมือนสมถะ ซึ่งถ้าจะมองในแบบปรัชญา หากมนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการฝึกจิต มันก็สมเหตุสมผลที่การฝึกจิตจะง่าย (หากต้องการทำ) การฝึกสมถะที่ยากเย็นต่างหากที่จะเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ
วิธีการฝึกวิปัสสนาก็ปรากฎชัดในพระไตรปิฎก จะไม่เอ่ยซ้ำ

ทีนี้ สำหรับคนที่มาจากสายสมถะ และเคยชินกับการฝึกแบบบำเพ็ญตบะ ก็อาจจะฝึกวิปัสสนาฌาณในแบบสมถะก็ทำได้ สิ่งที่ต้องคำนึงคือ ในวิปัสสนาฌาณ จะไม่มีการดับของอายตนะใดๆ นั่นหมายถึงว่า หากจะเปรียบกับสมถะ มันก็จะอยู่ในขั้นปฐมฌาณคือ ประกอบไปด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุขและเอกัคคตา

วิปัสสนาฌาณที่ฝึกในแบบสมถะ สามารถก่อให้เกิดปิติและสุข (แสงสว่าง) ได้เหมือนสมถะ แต่จะไม่ก้าวไปถึงขั้นทุติยะ หรือตติยะ

:b6: :b6: :b6: วิปัสสนา (ไม่มีฌาณ) ไม่ได้มุ่งหมายให้คนมีสภาพใกล้ผี แต่มุ่งหมายให้จิต รู้เท่าทันอัตตา (ขันธ์ แล้วแต่จะเรียก) มันเป็นธรรมชาติของจิตอยู่แล้ว ที่หากเราพิจารณาสิ่งใดอยู่เป็นประจำ เราก็จะเห็นถึงรายละเอียดของสิ่งนั้น จากจิตที่เคยยึดอัตตาอย่างเหนียวแน่น และไหลไปตามอัตตาทันที ก็จะเริ่มเห็นถึงความเป็นไปของอัตตา ช่องว่างนิดหนึ่งจะมีขึ้น ก่อนที่จิตจะไหลไปตามอัตตา ช่องว่างนี้จะกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ จนดูคล้ายกับว่า จิตจะเลือกว่า จะไหลไปตามอัตตาหรือไม่ ซึ่งจริงๆ มันก็ไม่ใช่เช่นนั้นสักทีเดียว มันจะเป็นลักษณะที่ว่า จิต รู้ ว่าถ้าแสดงออกก็คือโกรธ ลักษณะแบบนี้เราเรียกว่า อุเบกขา การวางเฉยต่ออารมณ์

การฝึกวิปัสสนา ไม่เกี่ยวกับฌาณ แต่ถ้ามีพื้นฐานจากสมถะฌาณอยู่บ้าง ก็จะช่วยให้การปฏิบัติเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

:b6: :b6: :b6: วิปัสสนาฌาณ เป็นฌาณที่ไม่มีการดับของอายตนะใดๆ ในภาษาของบางสำนักอาจเป็นว่า ไม่มีการรวมจิต ไม่สงบแบบดิ่งลึก
เมื่อไม่มีการดับของอายตนะ ก็ไม่มีนิมิตและภวังค์ใดๆ

ปฐมฌาณในวิปัสสนาฌาณ มักจะเกิดขึ้นในครั้งแรกๆ ไม่กี่ครั้งเท่านั้น หลังจากนั้นอำนาจฌาณ (การเกิดขึ้นของเอกัคคตาเจตสิก) จะแฝงไปกับการเกิด-ดับของเจตสิกต่างๆ ว่าอีกแบบคือ
วิปัสสนาฌาณเป็นการฝึกจิตให้อยู่กับอัตตา (ขันธ์) จนกลายเป็นปกติจิต ส่วนสมถะเป็นการหยุดอัตตา (หรือกด-ข่ม แล้วแต่จะเรียก)

แน่นอนว่า อำนาจฌาณนี้ย่อมไม่เทียบเท่ากับการบำเพ็ญตบะ แต่นี่เป็นจุดมุ่งหมายของวิปัสสนา อารมณ์ที่เกิดขึ้นจะถูกคั่นด้วยเอกัคคตาเจตสิก...
ความไม่ชอบ จะไม่ถูกปรุงแต่งจนกลายเป็นความโกรธ
ความโกรธ จะไม่ถูกปรุงแต่งจนกลายเป็นโทสะ
ความชอบ จะไม่ถูกปรุงแต่งจนกลายเป็นความอยากได้
ความอยากได้ จะไม่ถูกปรุงแต่งจนกลายเป็นความโลภ
ราคะ จะไม่ถูกปรุงแต่งจนกลายเป็นความใคร่ ฯลฯ

ซึ่งก็คือ การเกิดขึ้นของ อุเบกขาญาณ และเป็นจุดเริ่มของพรหมวิหาร

:b6: :b6: เมื่อถึงจุดนี้ ปฐมฌาณในวิปัสสนาฌาณจะไม่เกิดขึ้นอีก จิตที่มีอุเบกขาญาณ เมื่อเข้าสมาธิหยุดการปรุงแต่งทั้งหลาย จิตก็เหลือเพียงอุเบกขาและเอกัคคตา นั่นหมายถึง จตุตถฌาณ (ฌาณที่ 4 หรืออรูปฌาณ)

จตุถฌาณในวิปัสสนาฌาณ จะไม่มีการตกภวังคุปัจเฉทแบบสมถะ เพราะไม่มีการดับของอายตนะใดๆ จึงอาจจะเรียกอีกแบบได้ว่า
วิปัสสนาฌาณนั้น เมื่อพ้นจากปฐมฌาณแล้ว ก็เข้าสู่อรูปฌาณทันที...

จากที่เขียนมาทั้งหมด น่าจะค่อนข้างชัดว่า สมถะฌาณและวิปัสสนาฌาณ ต่างกันอย่างไร และฌาณแบบใดที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์

จบ โอเคไหมฮะ คิคิ :b22: :b22: :b22:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 15:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Onion_L

ไม่ผ่าน น้อยไป

Onion_L


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool อะน่า ของอร่อยๆ ต้องกินทีละน้อย กินทีเดียวเดี๋ยวอ๊วกแตก ฮิฮิ :b13: :b13: :b13:

ไปก่อนล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2012, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านทั้งหลายอย่าคิดว่าข้าพเจ้าก่อกวนผู้เขียนกระทู้เลยขอรับ
ระดับสมองสติปัญญาของผู้ใช้ชื่อว่า "murano" ยังอยู่ในระดับ บัวที่จมอยู่ใต้โคลนตม แต่ หลงทนงตน คิดว่ารู้ คิดว่าฉลาด แต่ความจริงแล้วยังรู้เพียงน้อยนิด
ศาสนาพุทธ ถึงแม้ว่าจะเป็นศาสนาทีต่อเนื่องมาจาก ศาสนาพราหมณ์ฮินดู ศาสนาพุทธก็เป็นศาสนาที่เป็นหลักความจริง อ้างอิงสิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีจริงเป็นจริง ไม่ใช่เขียนมาเพ้อเจ้อแบบไม่ได้รู้หลักธรรมชาติอะไรสักอย่าง

เรื่องของ "ฌาน" ก็คือ "ลักษณะงานลักษณะหนึ่ง"แห่งระบบการทำงานของร่างกาย
สมาธิ หรือ เอกัคคตา ในทางพุทธศาสนา ไม่ใช่ง่ายอย่างที่พวกคุณรู้กันอย่างผิวเผิน ยังมีรายละเอียดอีกมากมายเกี่ยวกับ สมาธิ หรือ เอกัคคตา หรือ ความมีจิตใจแน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว ความมีอารมณ์เพียงอารมณ์เดียว คือ ไม่วิตก ไม่วิจาร ไม่ปีติ ไม่สุข ไม่อุเบกขา


อย่าหาว่าข้าพเจ้าดูหมิ่นดูถูกเจ้าของกระทู้เลยนะขอรับ เพ้อเจ้อ ทำให้ศาสนา ด้อยค่าลงไปด้วยความไม่รู้ ด้วยความเขลา แต่ อวดฉลาด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ไอ่ง่าว อยากดัง คิคิ :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2008, 17:25
โพสต์: 62


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตค่ะ
อ้างคำพูด:
วิปัสสนา (ไม่มีฌาณ)........... มุ่งหมายให้จิต รู้เท่าทันอัตตา (ขันธ์ แล้วแต่จะเรียก) ...... จากจิตที่เคยยึดอัตตาอย่างเหนียวแน่น และไหลไปตามอัตตาทันที ก็จะเริ่มเห็นถึงความเป็นไปของอัตตา ช่องว่างนิดหนึ่งจะมีขึ้น ก่อนที่จิตจะไหลไปตามอัตตา ช่องว่างนี้จะกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ จนดูคล้ายกับว่า จิตจะเลือกว่า จะไหลไปตามอัตตาหรือไม่ ซึ่งจริงๆ มันก็ไม่ใช่เช่นนั้นสักทีเดียว มันจะเป็นลักษณะที่ว่า จิต รู้ ว่าถ้าแสดงออกก็คือโกรธ ลักษณะแบบนี้เราเรียกว่า อุเบกขา การวางเฉยต่ออารมณ์


เป็นเช่นนั้นค่ะ
เบื้องต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป้าหมายลำดับแรก
ก็คือการรู้-เห็น-ทัน กับช่องว่าง ดังกล่าวนี้
หรือมีสติรู้เท่าทันผัสสะ - อารมณ์ นั่นเอง

:b8: อนุโมทนาค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับคุณ Murano

ผมสงสัยหน่อยหนึ่งว่า การเข้าถึงฌาณ4 โดยไม่ผ่านการเห็นแสงภาพอะไรเลยเป็นไปได้ไหมครับ และเพราะอะไรครับ หรือว่าบุคคลนั้นที่จริงยังอยู่ที่ฌาณต้นๆ แต่เข้าใจผิดไปว่าเป็น ฌาณ4

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2012, 00:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b1:
:b12: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2012, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับคุณ Murano

ผมสงสัยหน่อยหนึ่งว่า การเข้าถึงฌาณ4 โดยไม่ผ่านการเห็นแสงภาพอะไรเลยเป็นไปได้ไหมครับ และเพราะอะไรครับ หรือว่าบุคคลนั้นที่จริงยังอยู่ที่ฌาณต้นๆ แต่เข้าใจผิดไปว่าเป็น ฌาณ4

ขอบคุณล่วงหน้าครับ


cool cool cool ก็คือ คนที่ฝึกสติปัฎฐาน (วิปัสสนา) โดยไม่ใช่ลักษณะการทำสมาธิไง ถ้าให้ยกตัวอย่างในทางสุดโต่ง ก็คือพระอรหันต์แบบสุกขวิปัสโก คือมาได้ฌาณเมื่อเข้าสู่อรหัตผล
ว่าให้ละเอียดขึ้นก็คือ เข้าถึงอุเบกขาญาณแล้ว เมื่อเอกัคคตาเกิด ก็คือฌาณ 4 ในทันที...

แต่ถ้ามาในฝ่ายฌาณ ก็ต้องผ่านปฐมฌาณก่อน
เรื่องภาพนิมิตนั้น ไม่จำเป็นต้องเกิดในทุกคน ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของสติ ถ้าคงสติอยู่ได้ ภวังคจลนะก็ไม่เกิด ภาพนิมิตก็ไม่เกิด แต่แสงสว่างต้องเกิดแน่ ในทุกคน จะมากจะน้อย นานหรือไม่นานเท่านั้น

:b6: ถ้าอยากจะดูง่ายๆ เป็นเบื้องต้น ว่าเข้าข่ายฌาณ 4 หรือเปล่า ก็คือดูว่า ขณะทำสมาธิ มีร่างกายหรือไม่
ในฝ่ายสมถะ ประสาทสัมผัสจะดับ หมายความว่า ไม่รับรู้สิ่งใด ไม่มีร่างกาย เวทนาดับหมด

ในฝ่ายวิปัสสนาฌาณ จิตจะ ละ แต่ไม่ดับ หมายถึงว่า ถ้าไม่มีอะไรมากระตุ้น เราจะไม่เห็นร่างกาย แต่ถ้ามีอะไรมากระตุ้น ร่างกายจะปรากฎอีก เวทนาไม่ดับ
โดยมากจิตจะรู้ร่างกายเป็นส่วนๆ ตามที่จิตจดจ่ออยู่ เช่นรู้เฉพาะหน้าอกที่ขยับตามลมหายใจในอานาปานสติ ถ้าใช้การฟังเสียง ก็รู้ที่เสียง ไม่รู้หน้าอก
เมื่อเวทนาไม่ดับ ฝ่ายวิปัสสนาฌาณจึงมักนั่งได้ไม่นาน เพราะจะปวดหลัง ปวดขา ก้นชา ยุงกัดมดกัด อะไรต่างๆ

ย้ำว่าเป็นเบื้องต้น พอให้เราได้พิจารณาให้นึกครึ้ม ว่าตูข้าก็ไม่ธรรมดานะเออ :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัดโธ่....เจ้าดอกบัวจมโคลน...อวดอุตริจริงๆนะเจ้า ....เจ้ารู้ได้อย่างไรว่า

"คนที่ฝึกสติปัฎฐาน (วิปัสสนา) โดยไม่ใช่ลักษณะการทำสมาธิไง ถ้าให้ยกตัวอย่างในทางสุดโต่ง ก็คือพระอรหันต์แบบสุกขวิปัสโก คือมาได้ฌาณเมื่อเข้าสู่อรหัตผล"


เจ้าบรรลุอรหันต์แล้วหรือ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2012, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เจ๋อนะฮะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 57 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร