วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2012, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกพระสูตรที่พระองค์ทรงแสดงนั้นล้วนชีให้เห็น ว่าสิ่งนี้เป้นโทษ รูป เสียง กลิ่นฯ และก็แสดงว่าสิ่งนี้ไม่ควรเข้ายึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นอนิจ จัง ทุกขัง อนัตตา ละได้ก็จบเรื่อง ทั้งหมดก็มีประมาณนี้ แต่การตีความหมายกันนั้นก็มักจะตีความหมายว่า ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน แม้แต่ที่เข้าไปสัมผัสลิ้มรสนั้นก็เป็นอนัตตา ไม่ยึดติดตรงนี้แหละครับ ตรงนีหลายท่านตีความหมายผิด

พระองค์ทรงแสดงให้รู้ว่าเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาเพื่อไม่ให้ไปยึดติดมัน เลิกให้ได้ เพราะมันไม่มีสาระอะไรให้ยึด ควรละให้ได้ไม่ใข่เสพแบบไม่ยึดติด คำว่าควรละนี้เป็นกิจในสมุทัย(หน้าที่ที่ต้องทำ)ไม่ทำไม่ได้ เพราะสมุทัยเป็นต้นต่อของทุกข์ทั้งปวง แล้วละอะไร ก็ตัณหาสามนั้นไง และที่นี้มาดูทางที่เราจะต้องเดินคือมรรคมีองค์8 กิจจญาณในข้อนี่คือทำให้เจริญขึ้น เริ่มด้วยมรรคข้อแรก สัมมาทิฎฐิ มรรคข้อสองสัมมาสังกัปโป(สองข้อนี้เป็นปัญญา)รู้ว่าการเกิดแก่เจ็บตาย เป็นทุกข์ บุญบาปมีจริงฯ (เป็นมรรคข้อ1) รู็สิ่งไหนควรลดละเลิก คิออกจากกาม(เป็นมรรคข้อ2) จะเห็นได้ว่ามรรคสองข้อนี้เป็นกิจในอริยสัจด้วย ข้อที่1ทุกข์ กิจคือกำหนดรู้ทุกข์ว่าสิ่งไหนคือทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายฯ ข้อ2สมุทัย กิจคือควรละ กิเลสตัณหานั้นเอง

จะเห็นได้ว่ากิจในอริยสัจทั้งสองข้อรวมอยู่ในมรรคข้อ1กับข้อ2 ฉะนั้นกิจทั้งสองข้อนี้จึงเป็นมรรคด้วย
สำคัญมากไม่ทำไม่ได้เพราะเป็นมรรคด้วย ส่วนสติปัฎฐานนั้นก็สำคัญมากไม่แพ้กันเป็นการปฎิบัติโดยตรงเป็นการเจริญสติเพื่อให้สติสมบูรณ์เมื่อมีกำลังทำให้สมาธิปัญญาสมบูรณ์ไปด้วย(ประจักษ์แจ้งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) หรือเรียกว่าโพชฌงเจ็ดสมบูรณ์ในตัวอย่างแท้จริง ฉะนั้นสรุปว่าชีวิตเราต้องขีดเส้นให้เราเดิน พอสมควร ไม่ควรปล่อยตามใจตามสบาย การดำเนินชีวิต ต้องมีกรอบ มีธรรม ต้องรู้ว่าอะไรควรละ ควรเลิกไม่จำเป็นต้องอยู่ในเพศไหนถึงทำ อันไหนทำได้เราก็ทำให้มาก ไม่ตายตัวว่าจะต้องเป็นนักบวชเราถึงเลิก เลิกได้ทั้งนั้นเป็นการสงเสริมมรรคไปในตัว

ฉะนั้นดูที่การอธิฐานความเพียร ภิกษุ ท ! ถ้าแม้พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิ ฐานจิต)ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น, เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือด แห้งไป; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบาก บั่น ของบุรุษ, ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้วจักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้ แล้วไซร้;

ภิกษุ ท ! พวกเธอก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออก บวชจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ, ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้ว แลอยู่ เป็นแน่นอน.ฉะนั้นพวกเราดูตรงตัวหนังสือสีแดงพระองค์ทรงสอนใคร ก็ไม่ใช่พวกเราๆเหรอที่อยากออกจากวัฎฎะนันไง ด้วยความปรารถนาดีจากใจ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 02:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ทุกพระสูตรที่พระองค์ทรงแสดงนั้นล้วนชีให้เห็น ว่าสิ่งนี้เป้นโทษ รูป เสียง กลิ่นฯ และก็แสดงว่าสิ่งนี้ไม่ควรเข้ายึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นอนิจ จัง ทุกขัง อนัตตา ละได้ก็จบเรื่อง ทั้งหมดก็มีประมาณนี้ แต่การตีความหมายกันนั้นก็มักจะตีความหมายว่า ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน แม้แต่ที่เข้าไปสัมผัสลิ้มรสนั้นก็เป็นอนัตตา ไม่ยึดติดตรงนี้แหละครับ ตรงนีหลายท่านตีความหมายผิด

พระองค์ทรงแสดงให้รู้ว่าเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาเพื่อไม่ให้ไปยึดติดมัน เลิกให้ได้ เพราะมันไม่มีสาระอะไรให้ยึด ควรละให้ได้ไม่ใข่เสพแบบไม่ยึดติด

นี่แหล่ะเขาว่า ฟังไม่ได้ศัพย์จับมากระเดียด(สำนวน) เล่นเอาบัญญัติไปตีความกลับหัวกลับหาง
จะถากหญ้ามันต้องถอนรากถอนโคน ไม่ใช่เล็มใบหรือเอาหินมาทับไว้
คำว่าไม่ยึดเขาดูกันที่ต้นตอ ดูกันที่ผัสสะ อย่างเช่นการกิน เขาไม่ได้ให้ห้ามกิน
โดยธรรมชาติเมี่อป่วยก็ต้องกินยา เมื่อหิวต้องกินอาหาร

เขาให้ดูที่ก่อนที่จะกินนั้นน่ะ จิตของเรามีอาการอย่างไร อย่างเช่น เมื่อท้องหิว
พอเห็นอาหารเละๆก็เกิดไม่อยากกิน ต้องไปซื้อใหม่หรือทำใหม่ หรือไม่กินเลยทั้งวัน
นี่อย่างนี้เรียกกิเลส
หรือในขณะที่เราอิ่มอยู่ เกิดไปเห็นอาหารในภัตตาคารหรู่ เกิดอยากกินขึ้นมา
ทั้งๆที่ท้องยังไม่หิว นี่ก็กิเลส

ทั้งสองอย่างที่กล่าวมาข้างต้น อาการที่ไม่ยึดก็คือ เมื่อท้องหิวแม้อาหารเละๆไม่น่ากิน
ก็สามารถกินได้ โดยคิดแต่เพียงว่า กินเพื่อปะทังชีวิต ไม่ได้กินเพราะรูปรสหรือกลิ่น

หรือเมื่อไม่ได้หิว พอเห็นอาหารไม่ว่าจะมีรูปลักษณะอย่างไร ก็จะไม่เกิดอาการอยากกิน
หรือไม่อยากกิน อาการที่ว่านี้เขาเรียกว่าไม่ยึด

นักปฏิบัติบางท่านรู้ว่ากิเลส มันเกิดที่จิต แต่ยังไม่พบว่ามันเกิดตรงช่วงไหนของจิต
แบบนี้ปฏิบัติไปอีกหน่อยก็จะพบ

แต่กับจขกทไม่รู้แม้ซักกระผีกว่า กิเลสคืออะไร ดันไปมองกระบวนการธรรมชาติของกาย
เป็นกิเลสไปซะนี่
bigtoo เขียน:
คำว่าควรละนี้เป็นกิจในสมุทัย(หน้าที่ที่ต้องทำ)ไม่ทำไม่ได้ เพราะสมุทัยเป็นต้นต่อของทุกข์ทั้งปวง แล้วละอะไร ก็ตัณหาสามนั้นไง และที่นี้มาดูทางที่เราจะต้องเดินคือมรรคมีองค์8 กิจจญาณในข้อนี่คือทำให้เจริญขึ้น เริ่มด้วยมรรคข้อแรก สัมมาทิฎฐิ มรรคข้อสองสัมมาสังกัปโป(สองข้อนี้เป็นปัญญา)รู้ว่าการเกิดแก่เจ็บตาย เป็นทุกข์ บุญบาปมีจริงฯ (เป็นมรรคข้อ1) รู็สิ่งไหนควรลดละเลิก คิออกจากกาม(เป็นมรรคข้อ2) จะเห็นได้ว่ามรรคสองข้อนี้เป็นกิจในอริยสัจด้วย ข้อที่1ทุกข์ กิจคือกำหนดรู้ทุกข์ว่าสิ่งไหนคือทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายฯ ข้อ2สมุทัย กิจคือควรละ กิเลสตัณหานั้นเอง

จขกทเอาเรื่องตัณหาสามมาพูด คงพูดไปทั้งๆที่ไม่เข้าใจ เพราะจขกทยังแยกกายกับจิตไม่ออก
ยังหลงคิดว่ากิเลสตัณหาเกิดที่กาย ยังดูกิเลสไม่ออก ยังดูอาการของจิตไม่เป็น

พูดสั้นๆจขกทไม่รู้ว่าความไม่อยากในอารมณ์ก็คือ...กิเลสตัณหาเหมือนกัน
bigtoo เขียน:
จะเห็นได้ว่ากิจในอริยสัจทั้งสองข้อรวมอยู่ในมรรคข้อ1กับข้อ2 ฉะนั้นกิจทั้งสองข้อนี้จึงเป็นมรรคด้วย[/b][/color]สำคัญมากไม่ทำไม่ได้เพราะเป็นมรรคด้วย ส่วนสติปัฎฐานนั้นก็สำคัญมากไม่แพ้กันเป็นการปฎิบัติโดยตรงเป็นการเจริญสติเพื่อให้สติสมบูรณ์เมื่อมีกำลังทำให้สมาธิปัญญาสมบูรณ์ไปด้วย(ประจักษ์แจ้งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) หรือเรียกว่าโพชฌงเจ็ดสมบูรณ์ในตัวอย่างแท้จริง ฉะนั้นสรุปว่าชีวิตเราต้องขีดเส้นให้เราเดิน พอสมควร ไม่ควรปล่อยตามใจตามสบาย การดำเนินชีวิต ต้องมีกรอบ มีธรรม ต้องรู้ว่าอะไรควรละ ควรเลิกไม่จำเป็นต้องอยู่ในเพศไหนถึงทำ อันไหนทำได้เราก็ทำให้มาก ไม่ตายตัวว่าจะต้องเป็นนักบวชเราถึงเลิก เลิกได้ทั้งนั้นเป็นการสงเสริมมรรคไปในตัว

จขกทคงไม่รู้ว่า การอยู่รวมกันเป็นสังคมหรือชุมชน หรือแม้แต่จะปลีกวิเวก
ไปอยู่คนเดียวในป่าเขา ทั้งหมดย่อมต้องเกี่ยวพันธ์กับคนอื่นหรือธรรมชาติ
เป็นเพราะเหตุนี้ พระพุทธ์องค์จึงทรงสอนให้ประจักแจ้งใน อริยมรรคสามตัว
นั้นคือ สัมมาศีล อันประกอบตัว สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจาและสัมมาอาชีวะ

การจะบรรลุสู่สัมมาวิมุตติได้นั้นจะต้องทำให้อริยมรรคมีองค์แปดเกิดขึ้นพร้อมกัน
จนเป็นมรรคสมังคี อุปสรรคสำคัญส่วนใหญ่ ที่ทำไม่ให้เกิดมรรคสมังคีก็คือ...
บุคคลยังไม่เข้าใจใน...สัมมาศีลหรืออริยมรรคสามตัวที่กล่าวมาแล้ว

bigtoo เขียน:
ฉะนั้นดูที่การอธิฐานความเพียร ภิกษุ ท ! ถ้าแม้พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิ ฐานจิต)ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น, เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือด แห้งไป; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบาก บั่น ของบุรุษ, ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้วจักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้ แล้วไซร้;

ภิกษุ ท ! พวกเธอก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออก บวชจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ, ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้ว แลอยู่ เป็นแน่นอน.ฉะนั้นพวกเราดูตรงตัวหนังสือสีแดงพระองค์ทรงสอนใคร ก็ไม่ใช่พวกเราๆเหรอที่อยากออกจากวัฎฎะนันไง ด้วยความปรารถนาดีจากใจ


พระพุทธองค์กำลังสอนจขกทว่า ขาดปัญญาสัมมาทิฐิครับ เมื่อเป็นเช่นนี้
การพิจารณาสัมมาศีลมันจึงไม่เกิดขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 03:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ขบวนการที่ผมกล่าวไปข้างต้นนั้นเป็นขบวนการของกิจในอริยสัจข้อที่2คือสมุทัยสิ่งที่ควรละ เพื่อการเข้าถึงทางเดินมรรควิธีอย่างแท้จริง (หน้าที่โดยเฉพาะหน้าที่ในสมุทัยเพราะหน้าที่ในสมุทัยมีในมรรคทางเดินที่เป็นทางสายเอกด้วย)

คนเรานั้นมักไม่ค่อยเข้าใจว่ากิเลสนั้นมันแฝงตัอยู่ในการกระทำของมนุษย์ทุกประเภทฉะนั้นแล้ว พระพุทธองค์ผู้ทรงบรรลุญาณ3จึงเข้าใจถ่องแท้ในหน้าที่ที่มนุษย์ควรทำ เพื่อแหวกว่ายออกจากวัฎฎะ โดยทางมรรคมีองค์แปด ซี่งเราๆท่านๆทั้งหลายบุคลใดที่ต้องการที่จะเดินบนเส้นทางนี้พึต้องเล็งเห็นและตระนักเรื่องนี้ให้มาก ทำไม่ถึงต้องควบคุมอาการต่างๆทั้งหลายในทีีที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

สมมุติเป็นต้วอย่างจะได้เห็นความจริงในการที่จะกระทำอะไรสักอย่าง อย่างเช่นการเจาะน้ำมันในทะเลลึก ในขณะจะเจาะน้ำมันในทะเลนั้นขณะที่ทะเลนั้นมีเคลื่อนลมแรงนั้นไม่สามารถที่จะลงไปใช้ทุ่นขุดเจาะน้ำมันได้ ต้องรอให้คลื่นลมสงบเสียก่อนถึงจะเจาะเอาน้ำมันขึ้นมาได้ เช่นเดียวกันเราจะเจาะลงไปในจิตใจที่ละเอียดอ่อนก็ต้องควบคุมคลื่นลมของจิตใจให้นิ่งเสียก่อน ด้วยการควาบคุมทั้งทางกายด้วยศิลและการกระทำอะไรต่างๆบางอย่างให้เบาบางลงเสียก่อน

การที่เราห้ามหรือลดการกระทำอะไรบ้างอย่างนั้นเท่ากับเรามิสติหยุดยั้งกิเลสบางอยางให้สงบลงชั่วคราวหรือเบาบางลง ก่อนที่เราจะจัดการกับกิเลสกันอย่างจริงจัง ซึ่งจะต้องเข้าไปดูที่วงจรของปฎิจสมุปบาท ซึ่งมีหลายช่วงในการกำจัดกิเลส การลดละงดเว้นนั้นเป็นการสำรวมอาตายนะไปในตัวอย่างดีเยี่ยม เพื่อไม่ให้เกิดผัสสะมากมาย เมื่อควบคุมอาตายนะไม่ได้ผัสสะเกิด ลุล่วงมาถึงเวทนาก็ต้องไปอุเบกขาที่เวทนาเพื่อไม่ให้เกิดกิเลสตัณหา ตัณหาทำให้เกิดอุปทาน นี่แหละครับที่เราจำเป็นจะต้องกระทำอะไรบางอย่างที่เราพอรู้ว่าอันไหนเป็นกิเลสตัณหา ที่เราต้องเลิก ที่เราต้องตัดเพราะมันเป็นช่องทางทำให้เกิดผัสสะลุลวงมาถึงตัญหาโดยง่าย

และตัณหาก็ไม่ได้มีแค่อยากหรือไม่อยาก มันมีทั้งความไม่อยากมีไม่อยากเป็นซึ่งใครจะเรียกว่าอะไร มันก็เป็นตัณหาฉะนั้นเราควรละตรงๆ ไม่ต้องไปคิดอะไรมากมันดีในตัวอยู่แล้วเพราะมันสนับสนุนมรรคโดยตรง อันนี้พอเข้าใจนะ

ที่ผิดพลาดกันส่วนใหญ่แล้วมักคิดว่าไปละอุปาทานเลยมันละไม่ได้หรอกเพราะขณะที่ท่านเสพอยู่นั้นแหละ่ครับตัณหา ลองนึกถึงกิจกรรมอะไรบางอย่างที่มันดูน่าเกลียดดูซิครับแล้วจะเห็น ในขณะที่ท่านทั้งหลายกำลังทำอยู่มันเป็นกิเลสแต่ก็อดไม่ได้และท่านบอกว่าเสพแบบไม่ยึด มันกลายเป็นเละไปเลย เพราะเสพกันแบบไม่ยึดกันสบายเลย ต้องละที่กิเลสเมื่อละกิเลสได้จริงแล้วอุปาทานก็หมดลงไปเองในตัวเพราะไม่มีอะไรให้เข้าไปยึด

การควบคุมกำจัดกิเลสนั้นจำเป็นจะต้องฉลาดเพราะมันมีหลายช่วงที่จะต้องทำ ทุกช่วงสนับสนุนกัน เน้นช่วงใดช่วงหนึ่งไม่ได้เลย โดยเฉพาะกิจในสมุทัยเพราะเป็นหน้าที่เลยทีเดียว สังเกตุว่าข้อห้ามวินัยต่างของพระที่มีมากมายก็เพราะควบคุมไปในตัวแทบไม่ต้องคิดอะไรมากก็บรรลุธรรมได้ถ้าทำตามวินัยอย่างเคร่งคัด และไม่ต้องแยกหรอกครับว่าเป็นเรื่องพระ บางอย่างมันไม่ผิดหรอกศิลน่ะ แต่มันผิดธรรม ะรรมะแห่งการหลุดพ้นนะมันยากไม่ง่ายอย่างที่เราๆท่านๆคิดหรอกครับ ถ้ามันง่ายพระองค์ท่านคงไม่สร้างบริษัทที่ดีที่สุดให้เป็นแบบอย่างหรอกครับ แต่ใครจะมีปัญญาเพียงพอที่จะมองออก ใครจะสะสมบารมีมาเพื่อสิ่งนี้ต่างหาก จงค่อยๆพิจารณาโดยแยบคลายถ้าง่ายจริงข้อที่ยากจะไม่มีทางเกิดขึ้นแน่นอน

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 04:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ขบวนการที่ผมกล่าวไปข้างต้นนั้นเป็นขบวนการของกิจในอริยสัจข้อที่2คือสมุทัยสิ่งที่ควรละ เพื่อการเข้าถึงทางเดินมรรควิธีอย่างแท้จริง (หน้าที่โดยเฉพาะหน้าที่ในสมุทัยเพราะหน้าที่ในสมุทัยมีในมรรคทางเดินที่เป็นทางสายเอกด้วย)

คนเรานั้นมักไม่ค่อยเข้าใจว่ากิเลสนั้นมันแฝงตัอยู่ในการกระทำของมนุษย์ทุกประเภทฉะนั้นแล้ว พระพุทธองค์ผู้ทรงบรรลุญาณ3จึงเข้าใจถ่องแท้ในหน้าที่ที่มนุษย์ควรทำ เพื่อแหวกว่ายออกจากวัฎฎะ โดยทางมรรคมีองค์แปด ซี่งเราๆท่านๆทั้งหลายบุคลใดที่ต้องการที่จะเดินบนเส้นทางนี้พึต้องเล็งเห็นและตระนักเรื่องนี้ให้มาก ทำไม่ถึงต้องควบคุมอาการต่างๆทั้งหลายในทีีที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

สมมุติเป็นต้วอย่างจะได้เห็นความจริงในการที่จะกระทำอะไรสักอย่าง อย่างเช่นการเจาะน้ำมันในทะเลลึก ในขณะจะเจาะน้ำมันในทะเลนั้นขณะที่ทะเลนั้นมีเคลื่อนลมแรงนั้นไม่สามารถที่จะลงไปใช้ทุ่นขุดเจาะน้ำมันได้ ต้องรอให้คลื่นลมสงบเสียก่อนถึงจะเจาะเอาน้ำมันขึ้นมาได้ เช่นเดียวกันเราจะเจาะลงไปในจิตใจที่ละเอียดอ่อนก็ต้องควบคุมคลื่นลมของจิตใจให้นิ่งเสียก่อน ด้วยการควาบคุมทั้งทางกายด้วยศิลและการกระทำอะไรต่างๆบางอย่างให้เบาบางลงเสียก่อน

การที่เราห้ามหรือลดการกระทำอะไรบ้างอย่างนั้นเท่ากับเรามิสติหยุดยั้งกิเลสบางอยางให้สงบลงชั่วคราวหรือเบาบางลง ก่อนที่เราจะจัดการกับกิเลสกันอย่างจริงจัง ซึ่งจะต้องเข้าไปดูที่วงจรของปฎิจสมุปบาท ซึ่งมีหลายช่วงในการกำจัดกิเลส การลดละงดเว้นนั้นเป็นการสำรวมอาตายนะไปในตัวอย่างดีเยี่ยม เพื่อไม่ให้เกิดผัสสะมากมาย เมื่อควบคุมอาตายนะไม่ได้ผัสสะเกิด ลุล่วงมาถึงเวทนาก็ต้องไปอุเบกขาที่เวทนาเพื่อไม่ให้เกิดกิเลสตัณหา ตัณหาทำให้เกิดอุปทาน นี่แหละครับที่เราจำเป็นจะต้องกระทำอะไรบางอย่างที่เราพอรู้ว่าอันไหนเป็นกิเลสตัณหา ที่เราต้องเลิก ที่เราต้องตัดเพราะมันเป็นช่องทางทำให้เกิดผัสสะลุลวงมาถึงตัญหาโดยง่าย

และตัณหาก็ไม่ได้มีแค่อยากหรือไม่อยาก มันมีทั้งความไม่อยากมีไม่อยากเป็นซึ่งใครจะเรียกว่าอะไร มันก็เป็นตัณหาฉะนั้นเราควรละตรงๆ ไม่ต้องไปคิดอะไรมากมันดีในตัวอยู่แล้วเพราะมันสนับสนุนมรรคโดยตรง อันนี้พอเข้าใจนะ

ที่ผิดพลาดกันส่วนใหญ่แล้วมักคิดว่าไปละอุปาทานเลยมันละไม่ได้หรอกเพราะขณะที่ท่านเสพอยู่นั้นแหละ่ครับตัณหา ลองนึกถึงกิจกรรมอะไรบางอย่างที่มันดูน่าเกลียดดูซิครับแล้วจะเห็น ในขณะที่ท่านทั้งหลายกำลังทำอยู่มันเป็นกิเลสแต่ก็อดไม่ได้และท่านบอกว่าเสพแบบไม่ยึด มันกลายเป็นเละไปเลย เพราะเสพกันแบบไม่ยึดกันสบายเลย ต้องละที่กิเลสเมื่อละกิเลสได้จริงแล้วอุปาทานก็หมดลงไปเองในตัวเพราะไม่มีอะไรให้เข้าไปยึด

การควบคุมกำจัดกิเลสนั้นจำเป็นจะต้องฉลาดเพราะมันมีหลายช่วงที่จะต้องทำ ทุกช่วงสนับสนุนกัน เน้นช่วงใดช่วงหนึ่งไม่ได้เลย โดยเฉพาะกิจในสมุทัยเพราะเป็นหน้าที่เลยทีเดียว สังเกตุว่าข้อห้ามวินัยต่างของพระที่มีมากมายก็เพราะควบคุมไปในตัวแทบไม่ต้องคิดอะไรมากก็บรรลุธรรมได้ถ้าทำตามวินัยอย่างเคร่งคัด และไม่ต้องแยกหรอกครับว่าเป็นเรื่องพระ บางอย่างมันไม่ผิดหรอกศิลน่ะ แต่มันผิดธรรม ะรรมะแห่งการหลุดพ้นนะมันยากไม่ง่ายอย่างที่เราๆท่านๆคิดหรอกครับ ถ้ามันง่ายพระองค์ท่านคงไม่สร้างบริษัทที่ดีที่สุดให้เป็นแบบอย่างหรอกครับ แต่ใครจะมีปัญญาเพียงพอที่จะมองออก ใครจะสะสมบารมีมาเพื่อสิ่งนี้ต่างหาก จงค่อยๆพิจารณาโดยแยบคลายถ้าง่ายจริงข้อที่ยากจะไม่มีทางเกิดขึ้นแน่นอน

สอนเท่าไรไม่รู้จักจำ พูดธรรมอย่าพูดในลักษณะเรื่อยเจื่อย เหมือนเกาเหลาน้ำไม่มีเนื้อ
ทำแบบนี้เท่ากับปิดหนทางตัวเอง ไม่สบายทางกายไปหาหมอ แทนที่จะบอกหมอไปเลยว่า
เจ็บตรงไหน พูดกับหมอเหมือนคนที่กำลังบอกอาการทางจิต แบบนี้หมอรักษาถูกหรือ :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 06:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ทั้งหมดที่คุณ bigtoo ยกมาแสดงนั้น ชอบแล้ว เพราะเป็นการอธิบาย ขยายความของ อริยสัจ 4 และมรรค 8 อันเป็นแก่นสารและหัวใจการค้นพบของพระพุทธเจ้า คำอธิบาย จะผิด ถูก ไม่น่าพอใจสำหรับคนบางคน ก็อย่าได้ถือสา เพราะมันเป็นธรรมดาโลกย์

:b10:
มีข้อสะกิดนิดหนึ่งว่า

การเจริญสติปัฏฐาน 4 นั้น เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้ง ก็คือการเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือเจริญมรรค 8 นั่นเลยที่เดียว และประเด็นสำคัญของสติปัฏฐาน 4 คือ

วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง.......นั้น ก็เป็นการไปละ สมุทัยตรงๆและลึกซึ้งเป็นยิ่งนัก
โปรดพิจารณาขยายความให้เห็นลิ้งค์ระหว่าสติปัฏฐาน 4 กับ มรรค 8 และปฏิจจสมุปบาทให้ชัดเจน จะได้กุศลแรงขึ้นอีกเยอะครับ


อนุโมทนา
:b11:
:b8:
:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฎิจสมุปบาทนั้นเป็นการอธิบายให้เห็นที่มาที่ไป วงจรแห่งเหตุปัจจัยที่ทำให้มีการเกิดของชีวิตหรือขันต์5 ถ้าโง่อยู่ วนเวียนไม่รู้จักจบจักสิ้น แต่ในวงจรเดียวกันนั้นเอง ก็มีการอธิบายถึงการตัดวงจรชีวิตหรือขันต์5 ให้จบสิ้นได้เช่นเดียวกัน

ทั้งวงจรการเกิดการดับนั้นก็ได้อธิบายไปแล้วพอสมควร


แต่พระองค์ประสงค์ให้เราตัดวงจรของเราเอง โดยมรรควิธี มรรควิธีนั้นเป็นหน้าที่ที่ต้องทำให้เจริญขึ้น เจริญขึ้นหมายความว่า ทำสิ่งที่อยู่แล้วให้สมบูรณ์เต็มกำลังของแต่ล่ะองค์ เช่น ศิลสมบูรณ์ สมาธิสมบูรณ์ ปัญญาสมบูรณ์ ไปดูที่วิสุทธิ7นั้นแหละ

เราต้องเริ่มจากหยาบๆเช่นเราควรละเลิกอะไรๆนั้นแหล่ะครับ ถ้าหยาบๆเลิกไม่ได้อย่าหวังเรื่องละเอียดเป็นไปไม่ได้ อย่างเช่นเราถูบ้านอยากให้สะอาดที่สุด เราจะถูบ้านโดยไม่กวาดบ้านได้มั้ย คงเป็นไปไม่ได้ ส่วนสติปัฎฐานนั้นสำคัญเป็นการเจริญวิปัสนาปัญญาจะเกิดจนถึงที่สุดบริบูรณ์ที่สุดอยู่ตรงนี้ เพราะปัญญาเป็นหัวหน้าของทั้งหมดแต่ก็ขาดกองหนุนไม่ได้เลย มรรคต้องสมังคีกัน มรรคมีองค์แปดนั้นเป็นการเจริญ โพธิปักขิยธรรมให้บริบูรณ์คือ ศิล สมาธิ ปัญญา 3ตัวนี้จะเกื้อหนุนกันตลอด วนไปมาเกื้อหนุนกันตลอดขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้


สรุปศิลสมบูรณ์ สมาธิสมบูรณ์ ปัญญาสมบูรณ์ โพธิปักขิยธรรมก็สมบูรณ์ มรรคก็สมบูรณ์ จบกิจในอริยสัจ กัตตาญาณ ก็ปรากฎ จบไปนิพพานกันสวัสดี

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"มาสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติ"

หลักการปฏิบัติ

ความหมายคำว่าสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน คือ การตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่นอยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือ กำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆขณะ

พอเข้าใจมั้ยครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อว่าถึงการปฏิบัติทางจิต “ ปัจจุบัน” หมายถึงขณะเดียวที่กำลังเกิดขึ้นเป็นอยู่

เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือ อยู่กับปัจจุบัน หมายถึงมีสติทันอยู่กับสิ่งที่รับรู้เกี่ยวข้อง หรือต้องทำในเวลานั้นๆ แต่ละขณะ ทุกๆขณะ

ถ้าจิตรับรู้สิ่งใดแล้ว เกิดความชอบใจหรือไม่ชอบใจขึ้น ก็ติดข้องวนเวียนอยู่กับภาพของสิ่งนั้นทีสร้างซ้อนขึ้นในใจ เป็นอันตกไปในอดีต (เรียกว่า ตกอดีต) ตามไม่ทันของจริง หลุดหลงพลาดไปจากขณะปัจจุบันแล้ว หรือ
ถ้าจิตหลุดลอยจากขณะปัจจุบัน คิดฝันไปตามความรู้สึกที่เกาะเกี่ยวกับภาพเลยไปข้างหน้าของสิ่งที่ยังไม่มา ก็เป็นอันฟุ้งไปในอนาคต


พอเข้าใจมั้ยครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
"มาสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติ"

หลักการปฏิบัติ

ความหมายคำว่าสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน คือ การตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่นอยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือ กำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆขณะ

พอเข้าใจมั้ยครับ :b1:
ถูกแต่ยังไม่สมบูรณ์

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
กรัชกาย เขียน:
"มาสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติ"

หลักการปฏิบัติ

ความหมายคำว่าสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน คือ การตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่นอยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือ กำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆขณะ

พอเข้าใจมั้ยครับ :b1:



ถูกแต่ยังไม่สมบูรณ์



ในเมื้อไม่สมบูรณ์ เชิญเติมให้สมบูรณ์บริบูรณ์เลยครับ ว่าไป :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
bigtoo เขียน:
กรัชกาย เขียน:
"มาสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติ"

หลักการปฏิบัติ

ความหมายคำว่าสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน คือ การตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่นอยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือ กำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆขณะ

พอเข้าใจมั้ยครับ :b1:



ถูกแต่ยังไม่สมบูรณ์



ในเมื้อไม่สมบูรณ์ เชิญเติมให้สมบูรณ์บริบูรณ์เลยครับ ว่าไป :b1:
สติปัฏฐาน คือ การตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่นอยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือ กำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆขณะ และรู้ชัดด้วยว่าอะไรคืออไรด้วยถึงจะถูกครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
กรัชกาย เขียน:
bigtoo เขียน:
กรัชกาย เขียน:
"มาสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติ"

หลักการปฏิบัติ

ความหมายคำว่าสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน คือ การตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่นอยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือ กำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆขณะ

พอเข้าใจมั้ยครับ :b1:



ถูกแต่ยังไม่สมบูรณ์



ในเมื้อไม่สมบูรณ์ เชิญเติมให้สมบูรณ์บริบูรณ์เลยครับ ว่าไป :b1:
สติปัฏฐาน คือ การตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่นอยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือ กำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆขณะ และรู้ชัดด้วยว่าอะไรคืออไรด้วยถึงจะถูกครับ



เมื่อรู้ทันปัจจุบันทุกๆขณะ ไม่หลงอดีตคิดอนาคต มันก็รู้ตามที่มันเป็นของมัน นี่เป็นธรรมดา แต่มิใช่ไปคิดเพ้อให้มันเป็นตามที่ตนเองต้องการให้มัน นั่นจึงจะถูก :b1: รู้ตามที่มันเป็น มิใช่ไปคิดให้มัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ก.ย. 2012, 10:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
bigtoo เขียน:
กรัชกาย เขียน:
bigtoo เขียน:
กรัชกาย เขียน:
"มาสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติ"

หลักการปฏิบัติ

ความหมายคำว่าสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน คือ การตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่นอยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือ กำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆขณะ

พอเข้าใจมั้ยครับ :b1:



ถูกแต่ยังไม่สมบูรณ์



ในเมื้อไม่สมบูรณ์ เชิญเติมให้สมบูรณ์บริบูรณ์เลยครับ ว่าไป :b1:
สติปัฏฐาน คือ การตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่นอยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือ กำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆขณะ และรู้ชัดด้วยว่าอะไรคืออไรด้วยถึงจะถูกครับ



เมื่อรู้ทันปัจจุบันทุกๆขณะ ไม่หลงอดีตคิดอนาคต มันก็รู้ตามที่มันเป็นของมัน นี่เป็นธรรมดา แต่มิใช่ไปคิดเพ้อให้มันเป็นตามที่ตนเองต้องการให้มัน อย่างนี้จึงจะถูก :b1: รู้ตามที่มันเป็น มิใช่ไปคิดให้มัน
ทุกข์ทั้งน๊า.......น นี่แหละสติ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ทุกข์ทั้งน๊า.......น นี่แหละสติ



อันนี้เพ้อเจ้อ ตามไปตามตัวอักษร :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2012, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
bigtoo เขียน:
ทุกข์ทั้งน๊า.......น นี่แหละสติ



อันนี้เพ้อเจ้อ ตามไปตามตัวอักษร :b1:
ถ้ายังมองไม่เป็นอย่างนี้สติก็ยังใช้ไม่ได้ เพราะทุกข์ในอริสัจข้อที่1ควรกำหนดรู้ คือมันทุกข์ทั้งน๊า...................น ถ้าไม่เห็นตรงนี้จะไม่มีทางละสมุทัยได้ครับ ทุกข์ทั้งน๊า.....................น

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร