วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 104 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2009, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ยังมีกลุ่มบุคคลอีกหลายกลุ่ม ที่มองข้าพเจ้าในแง่ร้าย แถมบางกลุ่มยังคิดว่าข้าพเจ้าบ้า
กลุ่มบุคคลเหล่านั้น ล้วนอยู่ในแวดวงเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา จะว่าโดยตรงก็ว่าได้ บ้างก็เปิดเป็นเวบฯ บ้างก็เปิดเป็นสำนัก
สอนกันแบบผิดๆมานานเน
พอข้าพเจ้าเอาหลักการใหม่เข้ามา พวกเขาก็เลยคิดว่าข้าพเจ้าบ้า ข้าพเจ้าจะทำลายพุทธศาสนาบ้าง เพราะความไม่มีความรู้ ไม่มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง คือไม่ได้คิดพิจารณาตามหลักธรรมที่ข้าพเจ้าได้สอนไว้า
ข้าพเจ้าบอกแล้วว่า ในพระไตรปิฎก นั้น เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย บางเวบฯ พอข้าพเจ้ามีความคิดเห็นที่แตกต่างจากพวกเขา พวกเขาก็แบนไม่ให้เข้าก็มี
แล้วข้าพเจ้าก็ใคร่รู้ว่า บรรดาสำนักปฏฺิบัติธรรม บรรดาเวบฯธรรมะต่างๆ พวกเขาเหล่านั้น รักษาศาสนา หรือทำลายศาสนาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
มีกลุ่มบุคคลใดบ้างที่คิดจะทำให้พระไตรปิฎก มีความเข้าใจได้ง่ายในการอ่าน มีแต่คิดว่าคนอ่านย่อมเข้าใจ มีแต่ความกลัว
ไม่รู้กลัวศาสนาพุทธเจริญก้าวหน้ากว่าศาสนาอื่น หรือว่ากลัวศาสนาพุทธเสื่อม
ถ้ากลัวศาสนาพุทธจะเสื่อมโทรม มันก็ต้องพัฒนา ตัองแก้ไข ในหลายๆเรื่อง เพราะอะไรรุ้กันบ้างไหม
เอาแค่นี้ก่อนแล้วจะมาเขียนต่อว่า เพราะอะไรจึงต้องแก้ไข ต้องพัฒนา ศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:
ยังมีกลุ่มบุคคลอีกหลายกลุ่ม ที่มองข้าพเจ้าในแง่ร้าย แถมบางกลุ่มยังคิดว่าข้าพเจ้าบ้า
กลุ่มบุคคลเหล่านั้น ล้วนอยู่ในแวดวงเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา จะว่าโดยตรงก็ว่าได้ บ้างก็เปิดเป็นเวบฯ บ้างก็เปิดเป็นสำนัก
สอนกันแบบผิดๆมานานเน
พอข้าพเจ้าเอาหลักการใหม่เข้ามา พวกเขาก็เลยคิดว่าข้าพเจ้าบ้า ข้าพเจ้าจะทำลายพุทธศาสนาบ้าง เพราะความไม่มีความรู้ ไม่มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง คือไม่ได้คิดพิจารณาตามหลักธรรมที่ข้าพเจ้าได้สอนไว้า
ข้าพเจ้าบอกแล้วว่า ในพระไตรปิฎก นั้น เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย บางเวบฯ พอข้าพเจ้ามีความคิดเห็นที่แตกต่างจากพวกเขา พวกเขาก็แบนไม่ให้เข้าก็มี
แล้วข้าพเจ้าก็ใคร่รู้ว่า บรรดาสำนักปฏฺิบัติธรรม บรรดาเวบฯธรรมะต่างๆ พวกเขาเหล่านั้น รักษาศาสนา หรือทำลายศาสนาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
มีกลุ่มบุคคลใดบ้างที่คิดจะทำให้พระไตรปิฎก มีความเข้าใจได้ง่ายในการอ่าน มีแต่คิดว่าคนอ่านย่อมเข้าใจ มีแต่ความกลัว
ไม่รู้กลัวศาสนาพุทธเจริญก้าวหน้ากว่าศาสนาอื่น หรือว่ากลัวศาสนาพุทธเสื่อม
ถ้ากลัวศาสนาพุทธจะเสื่อมโทรม มันก็ต้องพัฒนา ตัองแก้ไข ในหลายๆเรื่อง เพราะอะไรรุ้กันบ้างไหม
เอาแค่นี้ก่อนแล้วจะมาเขียนต่อว่า เพราะอะไรจึงต้องแก้ไข ต้องพัฒนา ศาสนา


เหตุที่ต้องแก้ไข และพัฒนาศาสนานั้น มีหลายสาเหตุด้วยกัน สาเหตุที่สำคัญนั้น ก็คือ ผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา ไม่สามารถเข้าใจในธรรมทั้งหลายได้ เขาสอนอย่างหนึ่ง ดันบิดเบือน ตีความหมายหรือเปรียบเทียบไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง แถมผู้ที่บิดเบือนหรือเปรียบเทียบหลักธรรมไปเป็นอย่างอื่นนั้น เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาโดยตรงอีกด้วย ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะความไม่เข้าใจในหลักธรรมทางพุทธศาสนาอย่างแท้จริง อีกทั้งไม่มีผู้ที่จะตรวจตราควบคุมในการเรียนการสอน เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องในทางพุทธศาสนา ก็ไม่ได้มีผู้ที่รู้จริงรู้แจ้งในหลักธรรมเหล่านั้น ไม่สามารถชี้แนะท้วงติง ใครอยากคิดใครอยากสอนอย่างไร ทำกันไป ทำให้ผู้ได้รับการเรียนรู้เข้าใจในหลักธรรมทางพุทธะศาสนาไปในทางที่ผิดๆ
สาเหตุที่สอง ที่จำเป็นต้องแก้ไข และพัฒนาพุทธศาสนา ก็เป็นเรื่องของศัพท์ภาษา ความหมายของภาษา และสำนวนของภาษา
ภาษา ในทางศาสนาพุทธ ไม่ใช่ภาษาไทย เป็นภาษาบาลี ที่ได้มีการจดบันทึกไว้ เมื่อหลานพันปีผ่านมาแล้ว สำนวนภาษาบาลีโบราณ กับสำนวนภาษาไทย คนละเรื่องกัน คนละแบบกัน แค่แปลภาษาบาลี ก็มั่วกันแล้ว ยิ่งต้องทำควมเข้าใจในสำนวนภาาษบาลี ยิ่งยากขึ้นไปอีก ความเข้าใจในหลักธรรมที่แจกแจงไว้ ย่อมไม่เกิดความเข้าใจอย่างแน่นอน อีกทั้งความละเอียด และความต่อเนื่องของข้อความที่สำคัญ ก็ขาดหาย ไม่ต่อเนื่องกัน จึงเป็นการอยากที่จะทำความเข้าใจได้ นี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ควรต้องแก้ไข และพัฒนา หรือจะเรียกว่า "สังคายนา" กันใหม่ ก็ได้
ข้าพเจ้า ก็กำลังทำอยู่ แม้จะไม่ละเอียดเท่าของเดิม แต่ก็สามารถใช้เป็นแบบเรียนประกอบได้อย่างไม่ต้องสงสัย พวกหัวเก่า หรือพวกที่มีความคิดความเห็นแบบเก่า อาจจะคัดค้าน เพราะสิ่งที่ข้พาเจ้ากำลังทำอยู่เป็นการใช้ การสังคมเป็นอยู่ และหลักวิชาการในยุคสมัยปัจจุบัน รวมไปถึงการใช้ภาษาไทย ตามสำนวนภาษาไทย บูรณาการผสมรวมในการอธิบายหรือแจกแจงเพื่อให้ ผู้ศรัทธาในพุทศาสนา หรือผู้ที่มีความสนใจในพุทธศาสนา มีความเข้าใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถค้นหา คันคว้า และพิสูจน์ได้ด้วยตัวของท่านผู้ศรัทธา และผู้สนใจในพุทธศาสนา อยู่แล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ยังมีสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ หลักวิชา หรือหลักธรรมบางข้อ เป็นการอธิบายตามแบบโบราณตามยุคสมัย ไม่สามารถอธิบายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงตามยุคปัจจุบันได้ เช่น อากาศ คือ ที่ว่าง ฯลฯ ,หรือ ลม มีดโกนเคลื่อนที่ ก็คือลมฯลฯ อะไรทำนองนี้
ซึ่ง ความรู้ในยุคปัจจุบัน สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่า อากาศคือ อะไร ประกอบด้วยธาตุอากาศอะไรบ้าง หรือ ลม คือ อะไร สิ่งที่ทำให้เกิดลมคือ อะไรบ้าง อย่างนี้เป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:
ยังมีสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ หลักวิชา หรือหลักธรรมบางข้อ เป็นการอธิบายตามแบบโบราณตามยุคสมัย ไม่สามารถอธิบายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงตามยุคปัจจุบันได้ เช่น อากาศ คือ ที่ว่าง ฯลฯ ,หรือ ลม มีดโกนเคลื่อนที่ ก็คือลมฯลฯ อะไรทำนองนี้
ซึ่ง ความรู้ในยุคปัจจุบัน สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่า อากาศคือ อะไร ประกอบด้วยธาตุอากาศอะไรบ้าง หรือ ลม คือ อะไร สิ่งที่ทำให้เกิดลมคือ อะไรบ้าง อย่างนี้เป็นต้น


อีกทั้งยังได้รับการขัดเกลาในเรื่องของการปฏิบัติ ไม่ถูกต้องตามหลักพระไตรปิฎก บิดเบือนไปหมด เพราะความที่ไม่รู้ภาษา และไม่คิดพิจารณา ตามหลักความจริง คิดไปว่า ทางโลก ไม่ใช่ทางธรรม หรือ ทางธรรมไม่ใช่ทางโลก ก็เลยไม่มีความรู้ในหลายๆด้านตามหลักความเป็นจริง ไม่อยากกล่าวว่า "หลงงมงาย ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาล" ทั้งนั้น.........


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2009, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




ee229.jpg
ee229.jpg [ 18.05 KiB | เปิดดู 4927 ครั้ง ]
tongue
อ้างคำพูด:
"ภวังคจิต ตามหลักอภิธรรม ในพุทธศาสนา หมายถึง ดวงจิตที่ได้รับจากบิดามารดา เริ่มตั้งแต่ ปฏิสนธิ ไปจนถึง ดับคือตาย เป็นจิตที่สถิตอยู่หรือทำงานอยู่ในสรีระร่างกายของบุคคล สงบนิ่งอยู่ในขณะที่ยังมิได้สัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก หรือจะเรียกว่า ระบบการทำงานของสรีระร่างกายทุกระบบ ขณะยังมิได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก
ต่อเมื่อ ได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก ก็จะเกิดวิถีจิต คือ ความเป็นไปตามจิตหรือเป็นไปตามระบบการทำงานของร่างกาย จากที่ได้รับการสัมผัสนั้นๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ คิด ระลึกได้ ฯลฯ ต่อเมื่อ วิถีจิตดับหมดไป หรือร่างกายได้ทำงานตามระบบแห่งการได้สัมผัสนั้นๆจนถึงที่สุดหรือสิ้นสุด ภวังคจิต ก็จะกลับไปอยู่ในสภาพตามเดิม หมุนวนอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดา (ขยายความจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)"

cool
สวัสดีครับคุณ บุดด้า ขออนุญาตแจมหน่อย ในกระทู้ภวังคจิตนี้นะครับ เลยเชิญชวนทุกท่านกลับไปที่ต้นเรื่องของกระทู้นี้อีกครั้งหนึ่ง
:b27:
ก่อนอื่น ขอเรียนว่า ผมชักสนใจอยากรู้จักคุณบุดด้า มากขึ้นเลยลองเข้ามาอ่านในกระทู้นี้ พยายามอ่านจนครบทั้ง 7 หน้า เพื่อจะหาว่าคุณ บุดด้าน้ี พอจะมีอะไรดีๆ ให้พูดถึงได้บ้าง จากกระทู้นี้ผมว่าผมพอจับจุดดีของคุณบุดด้าได้บ้าง หลังจากที่ได้อ่านการโต้วาทะกันอย่างดุเดือดของคุณบุดด้ากับคุณ กบนอกกะลา คุณกรัชกาย คุณโคครภู แม้แต่ท่านแสนปราชญ์ และอีกหลายคนหลายท่าน
:b1:
อย่างข้อความที่อ้างอิงมาข้างต้น ผมว่าคุณบุดด้า ได้รับรู้มาค่อนข้างจะถูกต้อง แต่ มันเป็นกำเนิดของภวังคจิต ที่ค่อนข้างจะเป็นอดีตที่ไกลเกินไปหน่อย พิสูจน์ลำบาก คำอธิบายที่ใช้ก็เป็นความพยายาม ที่จะทำให้เป็นภาษาที่ทันยุคสมัย แต่เข้าใจยากไปสักหน่อย
:b16:
เราจะลองมาเรียบเรียงคำอธิบายเสียใหม่ เป็นภาษาปัจจุบัน ใกล้กับปัจจุบันที่สุดและพิสูจน์ดูได้ทันที โดยกล่าวว่าอย่างนี้ น่าจะดีไหมครับ
:b8:
ภวังคจิต คือช่วงว่างระหว่างการเกิดของจิตแต่ละดวง
:b8:
จิตแต่ละดวง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมจะดับลงทันที ช่วงตอนที่ดับลงไปนั้น จะดับลงไปสู่ ภวังคจิต เป็นชื่อจิตอีกดวงหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ คือเป็นอัพยากตาจิต ไม่ก่อกรรมอันใด แต่ตัวภวังคจิตเองกลับเป็นปัจจัย ให้เกิด สันตติ คือความสืบต่อของจิตแต่ละดวง จนทำให้เกิดกระบวนการของชีวิต ขึ้นมาตามระบบของขันธ์ 5 และ ปฏิจจสมุปบาท
:b12:
ประโยชน์ของภวังคจิต เช่น

1.ในชีวิตของปุถุชนคนธรรมดา ภวังคจิต เป็นที่พักการทำงานของจิตปุถุชน เช่นการหลับนอน จิตจะตกสู่ภวังค เป็นระยะๆ ยาวหรือสั้นแล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคน

2.ในชีวิตของนักสมถะผู้ได้ฌาณ สามารถที่จะไปหลบพักจิตอยู่ที่ภวังคจิตได้นานมากน้อย ตามกำลังแห่งฌาณของตน เรียกว่าเสวยฌาณสมาบัติ
เป็นการเสวยสมาธิสูข หรือสุขจากความสงบอยู่ในฌาณ หรืออัปนาฌาณ อย่างฤาษี และ พรหมทั้งหลาย

3.ในชีวิตของนักวิปัสสนาภาวนา ที่ทำมรรค ให้เกิดขึ้นได้แล้ว จะเป็น มรรค 1 (โสดาปัตติมรรค) มรรค 2 มรรค 3 หรือมรรค 4 ส่วนใหญ่ จะสามารถเข้าไปเสวยผลโดยดับลงผ่านภวังคจิต เข้าสู่นิพพานธาตุ ได้ตามชั้นแห่งมรรคของตน นานมากน้อยแล้วแต่ฐานของสมถะภาวนาที่ได้สร้างสมมา เรียกว่าเสวยพละสมาบัติ หรือ ผลสมาบัติของตน

ความดีข้อที่ 2 ของคุณบุดด้า คือคุณบุดด้ากล่าวว่ากำลังพยายามที่จะนำเอาศัพท์แสง คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเป็นภาษาบาลี มา Simplified คือมาทำให้ง่าย เป็นภาษา และอุปมาอุปมัยสมัยใหม่ แต่ไม่ให้ทิ้งเนื้อหาสาระเดิม เพื่อให้ผู้คนยุคใหม่ได้เข้าใจง่าย นำไปปฏิบั้ติจริงได้ง่าย

*****ความดีข้อนี้เป็นปฏิปทาที่น่าสรรเสริญ ขอสนับสนุนด้วยความจริงใจ ผมเองก็มีปณิธานและปฏิปทาอย่างนี้เช่นกัน

*****สิ่งที่เป็นห่วงและอยากจะขอบิณฑบาต คือ เรื่องที่ไปกล่าวอวดอ้างตนไว้ล่วงหน้าว่าเป็นศรีอริยเมตตัยโพธิสัตว์ มีฉัพพัณรังสี อย่าทำอย่างนี้อีกเลย เก็บดีนี้ไว้ข้างใน เผยแพร่ธรรมไปด้วยเมตตา อีกหน่อยคนเขาก็รู้เอง จากข้อธรรมที่คุณนำมาแนะนำ ที่ขอไว้อย่างนี้ เพราะผมเชื่อว่าปัญญาอย่างคุณน่าจะรู้ความนัย ความหมายที่แท้จริงของพุทธวินัยที่ตรัสสอนสาวกมิให้กล่าวอวดอุตริมนุษยธรรม ซึ่งถึงแม้จะมีอยู่ในตนจริง ท่านยังบัญญัติให้เป็นอาบัติปาจิตตีย์

*****ขอให้เจริญในทางโพธิสัตว์ของคุณ จนกุศลผลบุญหนุนให้พ้นวัฏสงสาร ตามปณิธานอันยิ่งใหญ่ เทอญ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2009, 23:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ขนาดกรรมหนักอย่างพระเทวทัต..ยังมีโอกาสกลับตัวเป็นได้ถีงพระปัจเจกพุทธเจ้าได้..
กรรมของคุณ Buddha ก็ไม่ได้หนักขนาดนั้น..เมื่อปรับตัวปรับใจ..อยากจะเป็นอะไร..ก็เป็นได้..

:b12: :b12: :b12:

แต่หากยังกล่าวผิดอยู่..ก็ต้องว่ากันไป..อัดกันไปกันตามระเบียบ :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2009, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_1488.jpg
100_1488.jpg [ 1.84 KiB | เปิดดู 4901 ครั้ง ]
tongue เอาธรรมมะจากคนแท้ ของแท้ กัลยาณมิตรจริงๆ มาฝากคุณบุดด้าด้วยครับ

วิปัสสนาภาวนา
วิ ( วิเศษ , แจ้ง ฯ. ) + ปสฺสนา ( เห็น ) + ภาวนา ( การอบรม , การเจริญ )

การอบรมเพื่อความเห็นแจ้ง , การเจริญปัญญาเพื่อเห็นอย่างวิเศษ หมายถึง

การเจริญปัญญาเพื่อเห็นแจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงตามลำดับขั้น จากขั้นต้น

คือ การอบรมสติปัฏฐาน เป็นการเจริญวิปัสสนาเพื่อเห็นแจ้งลักษณะของนามธรรมและ

รูปธรรม จนสติปัฏฐานถึงความสมบูรณ์ วิปัสสนาญานซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นพร้อม

กับมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ จึงเกิดขึ้นเห็นสภาพธรรมอย่างวิเศษ คือประจักษ์แจ้ง

ไตรลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับขั้น

ของปัญญาที่เจริญยิ่งขึ้น ตั้งแต่วิปัสสนาญาณที่ ๑ ( นามรูปปริจเฉทญาณ ) จนถึง

วิปัสสนาญาณที่ ๑๒ ( อนุโลมญาณ ) จะมีสังขารคือนามธรรมและรูปธรรมเป็นอารมณ์

วิปัสสนาญาณที่ ๑๓ ( โคตรภูญาณ ) วิปัสสนาญาณที่ ๑๔ ( มรรคญาณ ) วิปัสสนา

ญาณที่ ๑๕ ( ผลญาณ ) มีวิสังขารคือพระนิพพานเป็นอารมณ์ วิปัสสนาญาณที่ ๑๖

( ปัจจเวกขณญาณ ) มีมรรคจิต ผลจิต พระนิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลือ

อยู่ เป็นอารมณ์

วิปัสสนาญาณ
วิ ( วิเศษ , แจ้ง , ต่าง ) + ปสฺสนา ( การเห็น ) + ญาณ ( ความรู้ , ปัญญา )

ปัญญาที่เห็นแจ้ง , ปัญญาที่เห็นอย่างวิเศษ , ปัญญาที่เห็นโดยประการต่างๆ

หมายถึง ความสมบรูณ์ของปัญญาซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการอบรมสติปัฏฐาน ได้แก่

ปัญญาเจตสิกที่เกิดกับมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ ที่เห็นแจ้งสภาพธรรมโดยประการ

ต่างๆ คือ เห็นแจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมโดยความเป็นอนัตตา เห็นแจ้ง

ความเกิดดับของนามธรรมรูปธรรม เห็นนามธรรมรูปธรรมโดยความเป็นภัย เห็นโดย

ความเป็นโทษ เห็นโดยความเป็นผู้ใคร่ที่จะพ้นจากสังขาร ฯลฯ

วิปัสสนาญาณมี ๑๖ ขั้น คือ

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความแยกขาดจากกันของ

นามธรรมและรูปธรรมที่ละอารมณ์ โดยสภาพความเป็นอนัตตา

๒. ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง ความเป็นปัจจัยของนาม-

ธรรมและรูปธรรม คือ รู้ชัดว่านามรูปแต่ละอย่างมีปัจจัยเป็นเหตุให้เกิด

๓. สัมมสนญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งการเกิดดับสืบต่อของนาม-

ธรรมรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นโทษของการเกิดดับได้ไม่ชัดเจน

๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง การเกิดดับของนามธรรม

รูปธรรมอย่างละเอียด เป็นวิปัสสนาที่มีกำลัง เห็นโทษของการเกิดดับของ

สภาพธรรมได้ยิ่งขึ้น

๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง ความดับทำลายของนาม

รูป โดยไม่ใฝ่ใจถึงการเกิด

๖. ภยตุปัฎฐานญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูป โดยเห็นความเป็น

ภัยในสังขารทั้งหลาย

๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งรูป โดยเห็นความเป็นโทษ

ในสังขารทั้งหลาย

๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูป โดยเห็นทุกข์โทษ

ภัย จนเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารธรรมทั้งปวง

๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูป โดยความที่ใคร่

จะพ้นจากสังขารธรรมทั้งปวง

๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะทั้ง ๓ ของนามรูป

เป็นเหตุที่จะเปลื้องตนให้พ้นจากสังขารธรรม

๑๑. สังขารุเบกขาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะทั้ง ๓ ของนามรูป

ที่คมกล้ายิ่งขึ้น จนเกิดความมัธยัสถ์ วางเฉยในสังขารธรรมทั้งปวง

๑๒. อนุโลมญาณ ปัญญาในอนุโลมชวนะ ๓ ขณะในมัคควิถี ( บริ-

กรรม อุปจาร อนุโลม ) คล้อยตามเพื่อการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน

๑๓. โคตรภูญาณ ปัญญาในโคตรภูชวนะ กระทำนิพพานให้เป็น

อารมณ์ ข่มเสียซึ่งโคตรปุถุชนเพื่อถึงอริยโคตร เป็นอาวัชชนแก่มรรคญาณ

๑๔. มรรคญาณ ปัญญาในมัคคจิตซึ่งเป็นโลกุตระ สำเร็จกิจ

ทำลายกิเลส ดับวัฏฏทุกข์ ปิดประตูอบาย ๔ เป็นขณะที่ถึงพร้อมด้วย

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

๑๕. ผลญาณ ปัญญาในผลจิตที่เกิดต่อกัน ๒ – ๓ ขณะ เสวย

วิมุตติสุขอันปราศจากกิเลสซึ่งอริยมัคค์ประหารแล้ว

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาในปัจจเวกขณวิถีอันเป็นโลกียะพิจารณา

มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลืออยู่รวม ๕ วาระ สำหรับ

พระอรหันต์ไม่มีกิเลสที่เหลืออยู่ให้พิจารณา จึงมีปัจจเวกขณวิถีเพียง ๔

วาระ ปัจจเวกขณวิถีของพระอริยบุคคลทั้งหมดจึงมี ๑๙ วาระ

ตรุณวิปัสสนา
ตรุณ ( อ่อน , รุ่น , ใหม่ ) + วิ ( แจ้ง , วิเศษ ) + ทสฺส ---> ปสฺส ( เห็น ) การเห็น

แจ้งอย่างอ่อน , วิปัสสนาญาณขั้นต่ำ หมายถึง วิปัสสนาญาณที่ ๑ ที่ ๒

และที่ ๓ คือ นามรูปปริทเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ และสัมมสนญาณ เพราะ

เป็นวิปัสสนาญาณเริ่มต้น จึงไม่มีกำลังเหมือนวิปัสสนาญาณขั้นสูงที่เป็นพลววิปัสสนา
พลววิปัสสนา
พลว ( มีกำลัง , แข็งแรง ) + วิ ( แจ้ง , วิเศษ ) + ทสฺส ปสฺส ( เห็น )

การเห็นแจ้งที่มีกำลัง , วิปัสสนาญาณอย่างกล้าแข็ง หมายถึง วิปัสสนาญาณที่

พ้นจากตรุณวิปัสสนาแล้ว ได้แก่ วิปัสสนาญาณที่ ๔ ( อุทยัพพยญาณ ) เป็นต้นไป

ที่ชื่อว่า พลววิปัสสนาเพราะปราศจากการตรึกถึงนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังประจักษ์

แจ้ง
คำว่า วิปัสสนากับสติปัฏฐาน ในบางแห่งมีความหมายเหมือนกัน ในบางแห่งมีความ

หมายแตกต่างกัน คือ เหมือนกันโดยนัยที่ว่า สติปัฏฐานไม่ใช่กุศลขั้นทาน ศีล หรือ

สมถภาวนา แต่เป็นกุศลขั้นวิปัสสนา ต่างกันโดยนัยว่า สติปัฏฐานเป็นขั้นอบรมเจริญ

สติปัญญา แต่เมื่อปัญญาสมบูรณ์เป็นวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ เรียกว่า วิปัสสนา

มีความสัมพันธ์กันโดยนัยว่า เพราะมีการอบรมเจริญสติปัฏฐานบ่อยๆ เนืองๆ วิปัสสนา-

ญาณจึงเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่อบรมสติปัฏฐานวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นไม่ได้ จริงๆ แล้วเป็น

เรื่องของภาษาที่ใช้


วิปัสสสนา หมายถึง ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมะตามความเป็นนจริง เช่น
วิปัสสานาญาณขั้นที่ 1 ปัญญาที่แยกนามธรรมรูปธรรม ส่วนสติปัฏฐานเป็นเบื้องต้น
เป็นปัญญาที่ยังไม่คมกล้า ยังไม่สามารถแยกขาดจากนามธรรมรูปธรรมได้
วิปัสสนา คือเห็นแจ้ง เห็นแจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ สภาพธรรม

ที่เห็นแจ้งคือสติและปัญญา

สติปัฏฐาน คือ สติและปัญญา ที่ระลึกรู้ลักษณะอันเป็นที่ตั้งให้สติและปัญญารู้

ซึ่งก็คือสภาพธรรมที่มีในขณะนี้
ต่างกันโดยพยัญชนะ ความหมายเหมือนกัน
แต่เมื่อมีคำว่าญาณต่อท้าย คือ วิปัสสนาญาน ญาณคือปัญญา ปัญญามีหลาย
ระดับ สติปัฏฐานมีปัญญาเกิดร่วมด้วย เป็นปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมว่า
เป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นปัญญาเบื้องต้นที่จะนำไปสู่สู่วิปัสสนาญาณระดับต่างๆ
วิปัสสนาญาณ เป็นปัญญาที่สมบูรณ์อันเกิดจากการอบรมสติปัฏฐานบ่อยๆ
วิปัสสนาญาณ แยกขาดว่านี้นามธรรมและรูปธรรม แต่สติปัฏฐานยังไม่ได้แยก
ขาดให้รู้ชัดเจนเพียงแต่รู้ว่าเป็นธรรมแต่จะค่อยๆ ละเอียดมากขึ้น แต่ปัญญายัง
ไม่สมบูรณ์เท่าวิปัสสนาญาณ ดังนั้น วิปัสสนากับสติปัฏฐานบางนัยความหมาย
เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณกับสติปัฏฐานเป็นปัญญาที่ต่างระดับกัน แต่
ก็ไม่พ้นไปจากปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ซึ่งอาศัยสติ
ปัฏฐานที่อบรมจนปัญญาสมบูรณ์ถึงระดับวิปัสสนาญาณ
การอบรมเจริญวิปัสสนาภาวนา

ละกิเลสให้เบาบาง จนดับหมดสิ้นได้ตามลำดับ เพราะว่า

เป็นการอบรมเจริญปัญญารู้ลักษณะที่แท้จริง

ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ.

ความรู้ที่เกิดจากการศึกษา หรือ การฟังพระธรรม

เป็นความรู้ที่เพียงละความไม่รู้ ความเห็นผิด ความเข้าใจผิด

(ในเรื่องราวของธรรม) เพราะไม่เคยฟัง

เพราะไม่เคยรู้ "เรื่องลักษณะของสภาพธรรมทั้งหลาย" เท่านั้นเอง.


และความรู้ขั้นนั้น (ขั้นฟัง...พิจารณา)

ยังไม่สามารถละกิเลสให้ดับหมดสิ้นได้

เพราะไม่ใช่ "การประจักษ์แจ้ง" ลักษณะที่แท้จริง

ของสภาพธรรมนั้นๆ ในขณะที่สภาพธรรมนั้นๆ กำลังเกิดขึ้นจริงๆ

เช่นในขณะนี้ เป็นต้น.


ถ้าตราบใดยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบัน

ยังไม่ได้ดับความยึดมั่นถือมั่นในสภาพธรรมว่าเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน

กิเลสอย่างละเอียดก็ยังมีประจำอยู่ในจิตตลอดเวลา

ถึงแม้ในขณะนอนหลับ ขณะให้ทาน

ขณะรักษาศีล ขณะอบรมเจริญสมถภาวนา.


ขณะที่ให้ทาน รักษาศีล อบรมเจริญสมถภาวนานั้น

ยับยั้ง ระงับกิเลส คืออกุศลจิต ไม่ให้เกิดขึ้น ตามขั้นของกุศลนั้นๆ

ขณะนั้นๆ กิเลสไม่พอกพูนเพิ่มขึ้น

แต่ว่าไม่ได้ขัดเกลากิเลสอย่างละเอียดให้เบาบางลงเลย.


เหตุกับผล ต้องตรงกัน...เมื่อกิเลสมี ๓ ขั้น คือ

กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด

กุศลที่ขัดเกลากิเลส ก็ต้องมี ๓ ขั้นด้วย

กุศลขั้นศีล ขจัดกิเลสอย่างหยาบ

กุศลขั้นอบรมเจริญสมถภาวนา ระงับกิเลสอย่างกลาง

กุศลขั้นอบรมเจริญวิปัสสนาภาวนา ละกิเลสอย่างละเอียด.



การเจริญกุศลขั้น ศีล และสมาธิ ต้องประกอบด้วยปัญญา

แต่เป็นปัญญาคนละขั้น ไม่ใช่ปัญญาขั้นอบรมเจริญวิปัสสนา.


เช่น คนที่เห็นโทษของกายทุจริต วจีทุจริต

แล้วละเว้นด้วยปัญญาขั้นวิรัติทุจริต.

สำหรับคนที่เห็นโทษของกาม คือ ความติดข้อง

ความพอใจยึดมั่นใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ทำให้จิตใจเร่าร้อน ไม่สงบ

ก็เพียรระงับกิเลสเหล่านั้น ด้วยการระลึกถึงอารมณ์ที่ทำให้จิตสงบ

เป็นการอบรมเจริญสมถภาวนา

ซึ่งต้องเป็นปัญญาขั้นที่เห็นโทษของกาม

และรู้ว่าจิตจะสงบระงับจากกามได้นั้น ต้องอบรมเจริญอย่างไร


แต่การเจริญกุศลขั้นวิปัสสนาภาวนา เป็นปัญญาอีกขั้นหนึ่ง

คือ ปัญญาที่รู้ลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมที่ปรากฏ

เพื่อละความไม่รู้ ซึ่งเป็นมูลเหตุให้เกิดความเห็นผิดและกิเลสต่างๆ

ปัญญาที่เป็นวิปัสสนา เมื่อคมกล้าขึ้น

ก็สามารถดับกิเลสได้หมดสิ้นเป็นสมุจเฉท

ตามขั้นของการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม.
กิเลสที่เกิดปรากฏให้รู้ได้

ก็เป็นกิเลสอย่างหยาบ และกิเลสอย่างกลาง

ที่รู้ว่ายังมีกิเลสอย่างละเอียดอยู่

ก็เพราะกิเลสอย่างกลาง และกิเลสอย่างหยาบ เกิดขึ้นนั่นเอง

เพราะกิเลสอย่างละเอียด

เป็นเหตุให้เกิดกิเลสอย่างกลาง และกิเลสอย่างหยาบ.



และกิเลสอย่างละเอียดนั้น จะดับหมดไปได้

ก็เมื่ออบรมเจริญปัญญา จนรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมทั้งหลาย

ที่ปรากฏตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ

และเมื่อปัญญารู้แจ้งอริยสัจจธรรม ๔

กิเลสอย่างละเอียดจึงจะดับหมดสิ้นไป เป็นประเภทๆ.



ก่อนถึงชาติที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นพระอริยบุคคล

ก็ต้องอบรมเจริญปัญญามาแล้วในอดีตชาติ เป็นหมื่นเป็นแสนกัปป์

เพราะการที่จะรู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ ได้นั้น

จะต้องสะสมอบรมเจริญปัญญา จนกว่าปัญญาแต่ละขั้นจะเกิดขึ้น

ซึ่งเป็นปัญญาที่รู้ชัด และประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม

ที่ปรากฏตามความเป็นจริง.


ถ้าใครมุ่งปฏิบัติ

โดยไม่เข้าใจเหตุผลของการปฏิบัติให้ถูกต้องเสียก่อน

ก็ไม่สามารถที่จะอบรมเจริญวิปัสสนาได้เลย.

ถ้าไม่พูดถึงกันเรื่องสภาพธรรมเหล่านี้ ให้เข้าใจก่อน

ก็ไม่มีปัญญาขั้นต้นที่เกิดจากการฟัง หรือการศึกษา

เมื่อไม่มีปัญญาขั้นต้น

ก็เจริญปัญญาขั้นต่อไปไม่ได้เลย.

smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2009, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่าสไตลใครสไตลมัน อย่าเพิ่งแปลกใจหรือตีความไปมากกว่านี้
ในอดีต ก็มีเหมือนกัน ที่ผู้รู้ในเวบนี้ เช่น ท่านที่ใช้ชื่อว่า
"ปราชญ์ขยะ" มีมุมมองความที่แปลก แต่ในความแปลกก็มีสาระซ่อนเร้น
ไว้ให้คิดและศึกษาตาม ๆ ปรัชญาความคิดที่แทรกไว้ อ่านแล้วไม่เข้าใจ
ก้อาจจะมึนๆ แต่จริงๆเป็นภูมิความรู้แฝงไว้ เลยเข้าใจยากสักนิด :b54:

ผู้รู้ที่มาโพสน์ในลานธรรม ส่วนมากมักจะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจตามประสบการณ์
หรือสิ่งที่ได้ยินมา โดยอ่านปั๊บเข้าใจเลย แต่ผู้รู้บางคนหรือบางท่านจะไม่อธิบายเช่นนี้
อาจจะอธิบายหรือเล่าในสิ่งที่อยากเล่าเท่าที่จำเป็น ถ้าบอกมากกว่านี้
ก็จะเหมือนน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหลงเหลง(รู้อย่างเดียวไม่ได้คิดตามไปด้วย)

ดังนั้นจึงไม่ได้หมายความว่า พออธิบายไปแล้วต้องตีโจทย์ปัญหาแตก
ได้ทันที แต่อยากสื่อให้คิดตาม และสิ่งที่ยังไม่ได้บอกนั่นคือต้องเก็บไปคิดเอาเองต่อ
ส่วนจะคิดได้หรือไม่ได้ก้ขึ้นอยู่กับภูมิคนอ่าน เพราะผู้เล่าได้เล่าไปพอสมควรแล้ว ไม่จำเป้น
ที่จะอธิบายให้เหนื่อยไปกว่านี้ :b40:

แต่เมื่อคนส่วนใหญ่ไม่สนใจหรือเฉยๆ จึงไม่เหนคุณปราชญ์ขยะเข้ามาโพสท์อีกนับแต่นั้นมา
ส่วนคุน ใบไม้นอกกำมือหรือคุณพลศักดิ์ นั้นก็มีความคิดที่เหนือโลกมากไปหน่อย
เกินภูมิปัญญาของมนุษย์จะปรับความเข้าใจได้ทัน แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีสาระแฝงอยู่บ้าง
ไม่ถึงกับไม่ใช่ซะทั้งหมด ผู้รู้บางท่าน ก้ยังเหนด้วยกับบางความคิดของคุณพลศักดิ์

หรือแม้กระทั่งคุณรสมน โพสท์ความรู้ธรรมะทิ้งไว้อย่างเดียวที ต้องการให้คนอ่านมากกว่า
จะเสวนา ถามตอบ หรือโต้ตอบตามความเหนตอบกันไปกันมา ก้ไม่รู้เหมือนกันว่าไปเอาตำรา
มาจากไหน ถึงได้โพสท์ได้มากมายขนาดนี้
:b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2009, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ฮ่า ฮ่า ฮ่า เจ้าผู้ใช้ชื่อว่า อโศกะ มันได้ไม่รู้จริง รู้แจ้งอะไรดอกขอรับ ทำเป็นวางฟอร์มไปอย่างนั้น สักแต่ว่าอ่านในตำรามา แต่สมองมีน้อยนิด คิดตื้นๆ ไม่ได้รู้เรื่อง อะไรเลย
ส่วนเจ้าผู้ใช้ชื่อว่า "กบ(ควาย)นอกกะลา" ก็ชอบใช้ความเขลา แล้วอวดฉลาด เขียนพล่ามไปตามความไม่รู้ของมันเท่านั้น นั่นเป็นเพราะ ภวังขณะ ที่มันเขียน จิต และเจตสิกของมัน ไม่มีศีลธรรม อะไรเลย คือ ไม่มีความคิดในทางที่สร้างสรรค์ มีแต่คิดไปในทางเลวทราม นั่นก็เพราะ เซลล์ในตัวของมัน ที่เป็นเซลล์ตั้งต้น เฃลา อลัชชี ไม่รู้จะเขียนสุภาพอย่างไร ฮ่า ฮ่า ฮ่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2012, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 15:30
โพสต์: 36

งานอดิเรก: เล่นแมว
สิ่งที่ชื่นชอบ: นอน
ชื่อเล่น: มู่
อายุ: 24

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
ยังมีกลุ่มบุคคลอีกหลายกลุ่ม ที่มองข้าพเจ้าในแง่ร้าย แถมบางกลุ่มยังคิดว่าข้าพเจ้าบ้า
กลุ่มบุคคลเหล่านั้น ล้วนอยู่ในแวดวงเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา จะว่าโดยตรงก็ว่าได้ บ้างก็เปิดเป็นเวบฯ บ้างก็เปิดเป็นสำนัก
สอนกันแบบผิดๆมานานเน
พอข้าพเจ้าเอาหลักการใหม่เข้ามา พวกเขาก็เลยคิดว่าข้าพเจ้าบ้า ข้าพเจ้าจะทำลายพุทธศาสนาบ้าง เพราะความไม่มีความรู้ ไม่มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง คือไม่ได้คิดพิจารณาตามหลักธรรมที่ข้าพเจ้าได้สอนไว้า
ข้าพเจ้าบอกแล้วว่า ในพระไตรปิฎก นั้น เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย บางเวบฯ พอข้าพเจ้ามีความคิดเห็นที่แตกต่างจากพวกเขา พวกเขาก็แบนไม่ให้เข้าก็มี
แล้วข้าพเจ้าก็ใคร่รู้ว่า บรรดาสำนักปฏฺิบัติธรรม บรรดาเวบฯธรรมะต่างๆ พวกเขาเหล่านั้น รักษาศาสนา หรือทำลายศาสนาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
มีกลุ่มบุคคลใดบ้างที่คิดจะทำให้พระไตรปิฎก มีความเข้าใจได้ง่ายในการอ่าน มีแต่คิดว่าคนอ่านย่อมเข้าใจ มีแต่ความกลัว
ไม่รู้กลัวศาสนาพุทธเจริญก้าวหน้ากว่าศาสนาอื่น หรือว่ากลัวศาสนาพุทธเสื่อม
ถ้ากลัวศาสนาพุทธจะเสื่อมโทรม มันก็ต้องพัฒนา ตัองแก้ไข ในหลายๆเรื่อง เพราะอะไรรุ้กันบ้างไหม
เอาแค่นี้ก่อนแล้วจะมาเขียนต่อว่า เพราะอะไรจึงต้องแก้ไข ต้องพัฒนา ศาสนา


เชื่อก็ชั่งไม่เชื่อก็ชั่งพี่ศรีอาริยะก็สอนเฉาะคนที่เชื่อ ไม่เชื่อก็ปล่อยเข้าเพราะกรรมของแต่ละคนไม่เหมื่อนกัน จิตจะได้ไม่ตก

.....................................................
ใช้ดาบฟาดน้ำน้ำยิ่งไหลโชก ยกแก้วกับโศกโศกยิ่งทุกข์หนัก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2012, 01:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมได้ข้อคิดมากมายจากกระทู้นี้

คิดว่าตัวเองผิด ก็ทุกข์ด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจในตัวเอง

คิดว่าตัวเองถูก ก็ยังทุกข์ เพราะพอได้ยินความเห็นต่าง ก็ขัดใจทุกที ยิ่งคุยกันไปก็ยิ่งร้อนใจ กระทบกระทั่งกันเปล่าๆ

ครูบาอาจารย์ท่านเตือนนักหนาว่ายึดมั่นในสิ่งใดจะต้องทุกข์เพราะสิ่งนั้น

แม้ความคิดเอง จะของเราหรือของเขา ใครจะถูกหรือใครจะผิด จะดีได้อย่างไรหากเราคิดแบบนั้นแล้วต้องทุกข์ หาความสงบไม่ได้เลย

ขอให้ทุกท่านเป็นผู้ตื่นเต็มไปด้วยความสุข

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
ผมได้ข้อคิดมากมายจากกระทู้นี้

คิดว่าตัวเองผิด ก็ทุกข์ด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจในตัวเอง

คิดว่าตัวเองถูก ก็ยังทุกข์ เพราะพอได้ยินความเห็นต่าง ก็ขัดใจทุกที ยิ่งคุยกันไปก็ยิ่งร้อนใจ กระทบกระทั่งกันเปล่าๆ

ครูบาอาจารย์ท่านเตือนนักหนาว่ายึดมั่นในสิ่งใดจะต้องทุกข์เพราะสิ่งนั้น

แม้ความคิดเอง จะของเราหรือของเขา ใครจะถูกหรือใครจะผิด จะดีได้อย่างไรหากเราคิดแบบนั้นแล้วต้องทุกข์ หาความสงบไม่ได้เลย

ขอให้ทุกท่านเป็นผู้ตื่นเต็มไปด้วยความสุข


คุณขอรับ การเสวนาในเวบฯ หรือการแสดงความคิดเห็นในเวบฯ เป็นเพียงว่ากันตามข้อความที่เขียน ไม่ได้แสดงออกถึงสภาพจิตใจของผู้ที่เขียน
คุณอย่าอิน(in) นักเลยขอรับ และก็อย่าอ่านเอาเอง แล้วก็คิดเอาเอง ถ้าคุณคิดจริงนะขอรับ
ไม่มีใครใส่ใจหรือสนใจเก็บเอามาคิดให้เปลืองสมอง เปลืองอารมณ์ดอกขอรับ
คุณยังมีประสบการณ์น้อย แสวงหาไปเถอะแล้วก็จะรู้ว่าทำไมพวกเขาทั้งหลายจึงเข้ามาเสวนากันในเวบฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 20:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
ผมได้ข้อคิดมากมายจากกระทู้นี้

คิดว่าตัวเองผิด ก็ทุกข์ด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจในตัวเอง

คิดว่าตัวเองถูก ก็ยังทุกข์ เพราะพอได้ยินความเห็นต่าง ก็ขัดใจทุกที ยิ่งคุยกันไปก็ยิ่งร้อนใจ กระทบกระทั่งกันเปล่าๆ

ครูบาอาจารย์ท่านเตือนนักหนาว่ายึดมั่นในสิ่งใดจะต้องทุกข์เพราะสิ่งนั้น

แม้ความคิดเอง จะของเราหรือของเขา ใครจะถูกหรือใครจะผิด จะดีได้อย่างไรหากเราคิดแบบนั้นแล้วต้องทุกข์ หาความสงบไม่ได้เลย

ขอให้ทุกท่านเป็นผู้ตื่นเต็มไปด้วยความสุข


:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 20:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
คุณขอรับ การเสวนาในเวบฯ หรือการแสดงความคิดเห็นในเวบฯ เป็นเพียงว่ากันตามข้อความที่เขียน ไม่ได้แสดงออกถึงสภาพจิตใจของผู้ที่เขียน
คุณอย่าอิน(in) นักเลยขอรับ และก็อย่าอ่านเอาเอง แล้วก็คิดเอาเอง ถ้าคุณคิดจริงนะขอรับ
ไม่มีใครใส่ใจหรือสนใจเก็บเอามาคิดให้เปลืองสมอง เปลืองอารมณ์ดอกขอรับ
คุณยังมีประสบการณ์น้อย แสวงหาไปเถอะแล้วก็จะรู้ว่าทำไมพวกเขาทั้งหลายจึงเข้ามาเสวนากันในเวบฯ


:b16: :b16: :b16:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 104 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร