วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 00:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 02:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว




ธรรมจักร 14.jpg
ธรรมจักร 14.jpg [ 95.41 KiB | เปิดดู 4565 ครั้ง ]
บทที่14 โสดาบัน
มีพระอริยเจ้าทั้งหลายเคยกล่าวไว้ว่า ธรรมอันแท้จริงนั้น "ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดจบ ไม่มีการบรรลุและผู้บรรลุ" นั้นเป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง เพราะธรรมอันแท้จริงที่ว่านั่น คือ "นิพพานธรรม" นั่นเองเป็นธรรมที่เสร็จเด็ดขาดไปแล้ว แต่ความที่พระพุทธ-องค์ลงมาจุติเพื่อมาประกาศธรรมอันเป็นสัมมาทิฐินั้น พระองค์มีความเมตตาต่อบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายทุกหมู่เหล่า พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นว่าในบรรดาหมู่เวไนยสัตว์นั้นมีความแตกต่างกันเปรียบเสมือนดอกบัวทั้ง 4 เหล่า รอบปัญญาบารมีแต่ละคนทำมาไม่เท่ากัน พระพุทธองค์จึงทรงประกาศธรรมไว้ทุกระดับแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นในเวลาที่มีพราหมณ์หรือบรรดานักบวชนอกศาสนาทั้งหลายมาถามปัญหาในธรรมต่อพระพุทธองค์ พระพุทธ-องค์ก็จะตอบปัญหาข้อข้องใจในธรรมไปตามเหตุตามปัจจัย การตอบธรรมของท่านนั้นมีการกล่าวถึงธรรมในระดับต่างๆกันไปตามความเหมาะสม



ในเส้นทางการบรรลุธรรมเป็นโสดาบันนั้น เป็นรอบบารมีของผู้ที่ได้ดวงตาเห็นธรรมชั้นต้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะละอนุสัยของตัวเองออกจากระบบเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏได้ จุดโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เป็นจุดที่เข้าใจในเส้นทางธรรมชาติแห่งธรรม เข้าใจในเส้นทางวิถีแห่งจิตที่เป็นธรรมชาติของมัน เป็นจุดที่กระบวนการแห่งจิตเริ่มปรับไปสู่ "วิถีธรรมชาติอันดั้งเดิมของมัน" เพื่อมุ่งไปสู่เส้นทางการหลุดพ้นซึ่งเป็นวิถีแห่งธรรมอันเป็น "ธรรมชาติล้วนๆ" จุดตรงนี้เองที่พระพุทธองค์กล่าวไว้ว่าหากผู้ใดบรรลุธรรมอันเป็นโสดาบันแล้ว มันเปรียบเสมือนสายน้ำที่ไม่ไหลกลับ เป็นจุดที่จิตได้เรียนรู้เพื่อความกระจ่างชัดเจนในธรรมและแก้ไขปัญหาคือทุกข์เป็น และด้วยวิธีแก้ทุกข์หรือแก้อวิชชาความไม่รู้ทั้งปวงโดยปรับสภาพจิตไปสู่"ความเป็นธรรมชาติ" ของมันนั้น วิธีหรือวิถีแห่งจิตที่เป็น "ธรรมชาติ"นั่นเองมันเป็นสภาพที่เหมือน "สายน้ำที่ไม่สามารถย้อนกลับไปสู่จุดเดิมที่เคยไหลผ่านมา" ได้ มันมีแต่สายน้ำหรือวิถีอันเป็นธรรมชาตินี้จะไหลไปเรื่อย จะคลายกำหนัดไปเรื่อย เพื่อไปสู่ "ปากน้ำแห่งพระนิพพาน" ในท้ายที่สุด ด้วยวิธี "ไหลหรือคลายกำหนัด" แบบวิธีธรรมชาติ ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้นั่นเอง




การบรรลุโสดาบันนั้น พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ใดๆตามความเห็นส่วนตัวของพระพุทธองค์เองแต่อย่างใดเลย "แต่โดยสภาพแห่งธรรม" หากความรู้ที่ได้เรียนรู้นั้น องค์ประกอบแห่งความรู้ทุกส่วนได้ทำลาย สักกายทิฐิ ศีลพรตปรามาส และวิจิกิจฉา ลงได้ทุกส่วนหมดแล้วเช่นกันไซร้ ก็เท่ากับ "ดวงจิต" นั้น ได้บรรลุเป็นอริยชนชั้นต้น คือ โสดาบันแล้ว
สักกายทิฐิ คือ ความเห็นที่เป็นส่วนอวิชชาล้วนๆว่าเป็นตัวเป็นตนว่าเป็นเราเป็นเขาว่าเป็นอัตตาล้วนๆ เป็นส่วนของดวงจิตที่ยังถูกอวิชชาครอบงำได้ในทุกส่วน วิธีแก้ไขคือ ต้องเรียนรู้และยอมรับเพื่อทำความเป็นสัจธรรมความเป็นจริงให้ปรากฏว่าจริงๆแล้วไม่มีเราไม่มีเขาไม่มีอัตตาไม่มีความเป็นตัวตน แต่ความเป็นจริงมันประกอบขึ้นไปด้วยขันธ์ทั้ง 5 หรือ สิ่งห้าอย่างมารวมตัวกันคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และขันธ์ทั้ง 5 นี้ ก็ล้วนตกอยู่ในกฎธรรมชาติ คือ มันล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองโดยเนื้อหามันเอง มันคือความหมายแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยสภาพของมัน นี่คือความเป็นธรรมดาโดยธรรมชาติของมันเองอยู่แล้ว เมื่อสภาพแห่งธรรมปรากฏขึ้นเช่นนี้ก็ถือว่า ดวงจิตนั้นได้ทำลายอวิชชาแห่งสักกายทิฐิลงได้โดยสิ้นเชิง

ศีลพรตปรามาส คือ ข้อห้าม ข้อวัตรหรือเงื่อนไขหลักเกณฑ์ต่างๆที่ดวงจิตนั้นเข้าไปยึดมั่นถือมั่น โดยคิดว่าจะต้องทำข้อวัตรข้อห้ามเงื่อนไขนั้นๆอยู่ตลอดเวลาเพื่อไปสู่หนทางแห่งพระนิพพาน แต่โดยเนื้อแท้แล้ว ข้อวัตร ข้อห้ามเงื่อนไขเหล่านี้ล้วนเป็นอวิชชาทั้งสิ้น เป็นหนทางที่นำไปสู่ความเป็นโมหะงมงาย ไม่ใช่เส้นทางแห่งธรรมอันเป็นธรรมชาติซึ่งเป็นหนทางอันหลุดพ้นแท้จริง เช่น ลัทธิที่ต้องถือข้อวัตรคลานสี่ขาเหมือนโคแล้วต้องกินหญ้าทุกวัน เมื่อทำเช่นนี้แล้วตนเองจักเชื่อว่าข้อวัตรเหล่านี้จะทำให้ตนพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง แต่ด้วยความเป็นจริงโดยเนื้อหาแห่งข้อวัตรนั้นมันกลับเป็นอวิชชาซึ่งเต็มไปด้วยโมหะอย่างยิ่ง แต่เมื่อนักบวชเหล่านี้ได้ฟังธรรมพระพุทธองค์แล้วเกิดความเข้าใจในธรรมทั้งปวงและปล่อยให้ “จิต” มันดำเนินไปสู่ “ความไม่เที่ยงดับไปตามธรรมดาตามวิถีธรรมชาติ” ของมัน อันเป็นข้อวัตรแห่งธรรมชาติ เมื่อสภาพแห่งธรรมปรากฏขึ้นเช่นนี้แล้วก็ถือว่าดวงจิตนั้นได้ทำลายอวิชชาแห่งศีลพรตปรามาสลงได้โดยสิ้นเชิง






วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยในธรรม เป็นความลังเลสงสัยด้วยความไม่เข้าใจว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุแห่งทุกข์ อะไรคือการดับทุกข์ได้ และอะไรคือหนทางแห่งความพ้นทุกข์ ความลังเลความไม่เข้าใจในธรรมทั้งปวงมันเป็นอุปสรรคต่อการจะเข้าไปแก้ไขปัญหาดวงจิตที่ถูกอวิชชาห่อหุ้มเอาไว้ เสมือนว่ามีปัญหาเกิดขึ้นอยู่แต่ไม่มีความรู้เลยว่าปัญหานั้นคืออะไร มีลักษณะอย่างไร ปัญหาเกิดขึ้นตรงไหนแล้วจะเข้าไปแก้ไขปัญหานั้นด้วยวิธีอะไร หากไม่ยอมศึกษาเรียนรู้ในธรรมว่าอะไรคืออะไรเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงต่อสัจธรรม ก็ย่อมหมายถึงเราไม่สามารถตระหนักชัดถึงเนื้อหาแห่ง “กระบวนการแก้ไขปัญหา” และยังสรุปเอาเองว่าธรรมแบบนี้แบบนั้นใช่แล้วตามความเข้าใจของตน การเข้าไปแก้ไขปัญหาด้วยลักษณะไม่รู้จริงก็ทำให้ปัญหาคืออวิชชานั้นยังคงอยู่ และลักษณะการเข้าไปแบบความไม่รู้จริงก็กลายเป็นอวิชชาตัวใหม่ซ้อนเข้ามาทำให้เกิดปัญหามากขึ้นตามมาอีก

ครั้งในสมัยพุทธกาลที่พระองค์ทรงประกาศธรรมไว้ครั้งแรก ในนาม "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร" พระองค์ทรงตรัสถึงธรรมอันเป็นทางสายกลาง คือมรรคมีองค์ 8 ให้ละเว้นทางที่ตึงเกินไป คือ การบำเพ็ญทรมานกายต่างๆแบบทุกรกิริยา และให้ละเว้นทางที่หย่อนเกินไปคือทางที่เสพกามคุณ และพระพุทธองค์ทรงตรัสว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือสมุทัย(เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์) อะไรคือนิโรธ(การดับทุกข์ได้) อะไรคือมรรค(หนทางแห่งความพ้นทุกข์) ซึ่งเป็นธรรมอริยสัจทั้ง4 พระองค์ทรงชี้ให้ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 แก้ไขปัญหาในอวิชชาอย่างเป็นระบบและถูกต้องตรงต่อสัจธรรม เมื่ออัญญาโกณฑัญญะเข้าใจในธรรมที่พระองค์ตรัสแล้วว่า ความปรุงแต่งความคิดทั้งปวงคือทุกข์ ความไม่รู้คืออวิชชาพาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 จนก่อให้เกิดตัณหาอุปาทานคือ สมุทัย ความไม่เที่ยงโดยสภาพมันเองโดยตัวมันเองของขันธ์ทั้ง5 ของตัณหาอุปาทานทั้งปวงคือ นิโรธ และตรงนี้ก็คือเนื้อหาแห่งหนทางดับทุกข์ได้อยู่แล้ว คือมรรค ก็เท่ากับอัญญาโกณฑัญญะทำลาย สักกายทิฐิ ศีลพรตปรามาส วิจิตรกิจฉา ลงได้แล้ว และเมื่ออัญญาโกณฑัญญะปล่อยให้จิตดำเนินไปสู่ความดับโดยตัวมันเอง ซึ่งเป็นไปตามธรรมดาอันคือสภาพธรรมชาติของมันอยู่แล้ว พระองค์จึงเปล่งวาจาออกมาว่า "อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอรู้แล้วหนอ" อัญญาโกณฑัญญะก็บรรลุเป็นอริยชนชั้นโสดาปัตติผล ณ เวลานั้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 02:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว




ธรรมจักร 15.jpg
ธรรมจักร 15.jpg [ 169.63 KiB | เปิดดู 4565 ครั้ง ]
บทที่15 ศีล
โดยปรกติเมื่อต้นกัปป์นี้อายุมนุษย์ยืนถึง 100,000 ปีนั้น จิตใจมนุษย์มีสภาพปรกติมาก มนุษย์ในยุคนั้นไม่รุ้จักคำว่า “ลักขโมย” เพราะของทิพย์ข้าวทิพย์ขึ้นเกลื่อนกลาดอยู่ทั่วไป ไม่มีความจำเป็นต้องเก็บมารักษาเอาไว้เป็นเจ้าของ จึงไม่จำเป็นต้องลักชิงแย่งกัน ไม่รู้จักคำว่าผิดลูกผิดเมียเพราะจารีตประเพณียุคนั้นนิยมครองเรือนแบบผัวเดียวเมียเดียวจึงไม่มีใครผิดลูกผิดเมียทำชู้กัน ไม่รู้จักคำว่าพูดโกหกเพราะต่างคนต่างมีวาระจิตรู้ความคิดซึ่งกันและกัน เมื่อคิดแบบไหนก็พูดออกมาแบบนั่นเป็นสัจจะวาจา ไม่รู้จักคำว่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเพราะอยู่กันแบบธรรมธิปไตยผู้คนมีศีลธรรมไม่เบียดเบียนชีวิตซึ่งกันและกัน ผู้คนยุคนั้นบริโภคแต่ข้าวทิพย์สีเหลืองหอมกรุ่น กิน 1 มื้อ อยู่ไปได้ 7 วัน ไม่บริโภคเนื้อสัตว์เพราะไม่เหมาะสมแก่ร่างกายของมนุษย์ในยุคนั้นซึ่งเป็นกึ่งกายหยาบกายทิพย์ ซึ่งมีวรรรณะผิวพรรณผุดผ่อง ไม่รู้จักคำว่าหลงลืมสติเพราะผู้คนในยุคนั้นเจริญกรรมฐานเป็นบาตรฐานกันทุกดวงจิตเพราะเป็นพรหมเก่าที่ลงมากินง้วนดินจนร่างกายหยาบกลายเป็นต้นตอเผ่าพันธ์มนุษย์ในยุคนี้ สิ่งของประเภทมึนเมามัวเมาเช่นน้ำสุราคันธบาลคนในยุคนั้นไม่รู้จักและประกอบขึ้นไม่เป็น กล่าวได้ว่าจิตใจในยุคที่มนุษย์มี อายุ 100,000 ปีที่ผ่านมา เป็นจิตใจที่สูงส่ง ผู้คนในยุคนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องรักษาศีลแต่อย่างใดเพราะจิตใจของทุกคนในยุคนั้นมีความเป็นปรกติอยู่แล้วดำรงชีวิตด้วยความผาสุขเรื่อยมา ทุกคนมีธรรมประจำใจคนในยุคนั้นอยู่ร่วมกันด้วยระบบการปกครองแบบธรรมธิปไตย คือ มีธรรมเป็นใหญ่
แต่แล้วด้วย “ความประมาท” ของมนุษย์เอง เมื่อประชากรมนุษย์มากขึ้น เริ่มปักเขตแดนเป็นสถานที่อยู่อาศัย เริ่มสะสมอาหารสิ่งของเริ่มมีตัวกูของกูมากขึ้น จิตใจมนุษย์เริ่มหยาบขึ้น ข้าวทิพย์ก็เลยกลายเป็นข้าวไม่ทิพย์ มนุษย์เลยมีความจำเป็นต้องเอาข้าวมาปลูกในนาในที่ดินของตน เริ่มแบ่งว่าของเราของเขา

จิตมนุษย์เริ่มผิดปรกติเพราะความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกูของกูมากขึ้น เมื่อประชากรมากกว่าปริมาณอาหารมนุษย์ก็เริ่มประมาท มนุษย์ก็ตัดสินใจที่จะลักขโมยข้าวในยุ้งฉางของผู้อื่นจนเป็นเรื่องที่น่าตกใจมากในยุคนั้นว่ามีการแย่งชิงลักขโมยอาหารกันเกิดขึ้นแล้ว เมื่อถูกจับได้ก็เริ่มโกหกเป็น ว่าตัวเองไม่ได้เป็นผู้ขโมยไปเพราะกลัวถูกลงโทษทางอาญา เมื่อมีการสอบสวนว่าได้ขโมยไปจริง มหาจักรพรรดิในยุคนั้นจึงสั่งประหารชีวิตเพราะถือว่าการขโมยเป็นเรื่องร้ายแรงในยุคนั้น ก็เท่ากับว่ามนุษย์เริ่มประหัตประหารชีวิตกันเอง
การที่มนุษย์ทำผิดศีลจิตใจมนุษย์เริ่มผิดปรกติความประมาทของมนุษย์เองทำให้อายุมนุษย์ลดลงต่ำมาเรื่อย จาก 100,000 ปี เหลือ 80,000 ปี เมื่อเกิดประมาทมากขึ้น 80,000 ปี เหลือ 40,000 ปี เมื่อเกิดความประมาทในหลายๆเรื่อง จาก 40,000 ปี ก็ลดลงเหลือ 20,000 ปี จนกาลเวลาผ่านเลยมาถึงปัจจุบันนี้อายุมนุษย์ในยุคนี้เฉลี่ยแล้วมีอายุยืนแค่ 70 ปี เท่านั้น เป็นยุคที่น่ากลัวมากเพราะมนุษย์ในยุคนี้เป็นผู้ที่ขาดศีลขาดธรรมเป็นส่วนใหญ่ เบียดเบียนซึ่งกันและกันอยุ่ตลอดเวลา เป็นยุคที่จะดิ่งต่ำลงไปสู่ยุคมิคคสัญญีอันมืดดำเข้าสู่ยุคคนกินคนในที่สุด เพราะฉะนั้นในเวลาที่พระพุทธองค์มาประกาศธรรมในยุคนี้ท่านจึงทรงสอนให้ทุกคนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องทุกข์และความดับไปแห่งทุกข์นั้น “ใช้จิตปรุงแต่ง” เพื่อเข้าไปรักษาศีล ทั้งนี้เพื่อยังความเป็นปรกติผาสุกในการดำรงชีวิตของมวลหมู่มนุษยชาติให้กลับคืนมา เหมือนเช่นสังคมมนุษย์อันเป็นปรกติในต้นกัปป์ที่ผ่านมา ในการอยู่ร่วมกันของสังคมมนุษย์นั้น “ศีล” คือศิลปะในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับคนอื่นอย่างมีความสุขเป็นปรกติ หากทุกคนมีศีลสังคมที่อยู่ร่วมกันนั้นก็จะหมดความวุ่นวายลงอย่างทันที
เมื่อพระพุทธองค์ทรงประกาศธรรมครั้งแรกที่ชื่อ “ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร” ในเรื่องมรรคมีองค์ 8 นั่น พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสถึงเรื่องศีลไว้ในเส้นทางหลุดพ้นนี้ด้วย คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว ซึ่งเป็นเรื่องของศีล5 ศีล8 ศีล 227 นั่นเองทั้งนี้เพราะอริยชนที่ได้เดินบนเส้นทางหลุดพ้นในมรรคมีองค์แปด ถึงแม้จะหลุดพ้นแล้วจิตถึงความดับสนิทไม่มีเหลือ แต่การครองขันธ์ 5 และการดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นก็ยังมีอยู่ ยังคงต้องมีศีลเพื่อเป็นศิลปะในการดำเนินชีวิตเพื่อให้สอดคล้องแก่คนรอบข้างได้อย่างเหมาะสมลงตัว เป็นศีลปรมัตถ์ที่การแสดงออกทางกาย วาจา เป็นเรื่องปรกติที่ไปในทางที่ชอบอยู่แล้ว มิได้เกิดจากการยึดมั่นถือมั่นของจิตที่จะปรุงแต่งเพื่อเข้าไปที่จะรักษาศีลแต่อย่างใด

และศีลนี้เองที่พระพุทธองค์ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างศรัทธาแก่ศาสนิกชนเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางอีกด้วย ในยุคแรกของการประกาศศาสนานั้น ศีลของภิกขุยังไม่ได้บัญญติเป็นข้อๆถึง 227 ข้อ ที่รวมมาในวินัยปิฏกเพราะยังไม่มีเหตุปัจจัยพระพุทธองค์จึงยังทรงไม่บัญญัติขึ้น แต่พระองค์ท่านทรงวางหลักเกณฑ์ไว้อย่างคร่าวๆว่า ภิกษุผู้ที่ยังชีพด้วยผู้อื่นเลี้ยงคือต้องขอเขากินตลอดชีวิตนั้น การดำรงชีวิตของภิกษุก็ควรดำเนินไปในทางมีศิลปะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความเป็นคนดี กล่าวคือต้องมีวาจาที่ชอบในการพูดออกมาแต่ละครั้ง(สัมมาวาจา) ต้องมีการกระทำที่ชอบไม่เบียดเบียนผู้อื่น(สัมมากัมมันโต) ต้องมีการเลี้ยงชีพชอบไม่ต้องลักขโมยสิ่งของ ของผู้อื่น(สัมมาอาชีโว) และพระพุทธองค์ก็ได้วางหลักเกณฑ์เรื่องศีลอีกครั้งในครา “ ประกาศโอวาทปาฏิโมกข์ ” โดยพระองค์ท่านตรัสว่า “ให้ละเว้นเสียซึ่งความชั่วทั้งปวง ให้ทำแต่ความดี และยังจิตให้บริสุทธิ์” เพราะฉะนั้นการดำเนินชีวิตของภิกษุในยุคเริ่มแรกแห่งการประกาศศาสนานั้นไม่มีศีลเป็นข้อห้ามแต่ละอย่างแต่ละข้อตายตัวเหมือนปัจจุบันนี้ แต่ศีลของภิกษูในยุคแรกนั้นอิงกับมาตรฐานความดีของสังคมชาวชมพูทวีปในยุคนั้นว่า อะไรคือความดีซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป โดยพระพุทธองค์ประสงค์ให้ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว เป็นเนื้อหาอันเดียวกับศีล5 คือ ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ห้ามลักทรัพย์ ห้ามเสพกามคุณ ห้ามพูดโกหก ห้ามดื่มสุราเมรัยของมันเมานั่นเอง
ในการเวลาต่อมาเมื่อมีเหตุปัจจัยตั้งแต่คราวพระสุทินเสพกามคุณเพื่อสืบเผ่าพันธุ์ในตระกูลตนเอง พระองค์ก็เริ่มบ้ญญัติศีลของภิกษุเป็นข้อๆเรื่อยมา โดยอาศัยเหตุปัจจัยที่มีผู้อื่นมาทูลฟ้องพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ก็จำเป็นต้องบัญญัติเป็นเรื่องๆไป ทั้งนี้เพื่อยังให้ศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนายังคงอยู่และมิให้เป็นอุปสรรคขวางกั้นต่อการประกาศธรรมของพระองค์ท่าน และที่สำคัญก็เพื่อประสงค์ให้ภิกษุทั้งหลายดำรงชีวิตกับผู้คนในสังคมปุถุชนได้อย่างเป็นปรกติสุขนั้นเอง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 02:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว




ธรรมจักร 16.jpg
ธรรมจักร 16.jpg [ 104.47 KiB | เปิดดู 4565 ครั้ง ]
บทที่ 16 การตระหนักชัด
การที่เราจะเข้าไปแก้ไขปัญหาในทุกๆปัญหาที่เกิดขึ้น ความจำเป็นจริงๆในสิ่งแรกก็คือ ควรเข้าไปศึกษาดูว่า “ ปัญหา ” นั้น มันคืออะไร หน้าตาแห่งปัญหามันเป็นอย่างไร เมื่อทำความรู้จักปัญหานั้นแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อไปก็คือ ควรเข้าไปศึกษาถึงเหตุปัจจัยว่าอะไรที่มันก่อให้เกิดปัญหานี้ขึ้น ความจำเป็นที่เราจะต้องเข้าไปศึกษาถึงเหตุอันก่อให้เกิดปัญหา ก็เพราะเราจะได้เข้าไปแก้ไขปัญหาให้ถูกทิศทาง มันจึงเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงไม่ให้เกิดการหลงทางอีกด้วย กระบวนการดังกล่าวนี้คือ กระบวนการแห่ง “ การศึกษาถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหา ” เป็นกระบวนการวิธีในการพิสูจน์แบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซี่งอาศัยการพิสูจน์ด้วยหลักทฤษฎี “ การอาศัยเหตุและผล ” อย่างตรงประเด็น และพระพุทธองค์ท่านก็ได้ใช้หลักทฤษฎีนี้มาก่อนนักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน ท่านได้ใช้หลักนี้ในราตรีคืนแห่งการตรัสรู้นั่นเอง เมื่อท่านได้ตรัสรู้แล้วและหลักในทฤษฎีท่านถูกต้องท่านจึงเป็นนักวิทยาศาสตร์เอกในยุคนั้นที่ผ่านมา

เมื่อพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ปัญหาที่เป็นตัวพาทำให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องไปเวียนว่ายตายเกิดนั้น คือ “ ทุกข์ ” เราเองในฐานะนักปฏิบัติจึงมีความจำเป็นต้องเข้าไปศึกษาว่า “ทุกข์ ” นั้นหน้าตาเป็นอย่างไร และต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าอย่างถ่องแท้ว่า “ ทุกข์ ” นั้น มันเกิดขึ้นได้อย่างไรและอาศัยเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้มันเกิด และอีกทั้งจะเข้าไปแก้ไขปัญหาคือ “ ทุกข์ ” นั้นได้ด้วยวิธีอะไร เมื่อศึกษาธรรมะที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ให้เพียงพอจนเกิดความรู้และความเข้าใจแบบถ้วนทั่วว่า อะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุแห่งทุกข์ และอะไรคือความดับทุกข์ สิ่งที่เราเข้าใจแบบ “หมดไปซึ่งความลังเลสงสัย” ในเรื่องกระบวนการเรียนรู้ถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาคือ “ทุกข์” เหล่านี้ข้างต้นและคิดออกเห็นภาพชัดเจน สิ่งเหล่านี้เรียกมันว่า “ การตระหนักชัด ”
การตระหนักชัดนี้เอง คือ เป็นการเริ่มต้นปฏิบัติธรรมที่แท้จริง และ “เป็นคำตอบเดียว ” สำหรับคำถามที่หลายๆคนที่พึ่งจะเข้ามาเป็นลูกศิษย์หน้าใหม่ๆ ถามผู้เขียนเข้ามาแทบทุกคนเลยว่า “ พระอาจารย์ ลูกศิษย์จะเริ่มต้นปฏิบัติธรรมอย่างไรตรงใหนก่อนดี ”
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 02:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว




ธรรมจักร 17.jpg
ธรรมจักร 17.jpg [ 111.12 KiB | เปิดดู 4565 ครั้ง ]
บทที่ 17 สติปัฏฐาน
โดยความเป็นจริง ธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงนั้นมีเพียงข้อเดียวที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ คือ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา หมายถึง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วอย่างนั้นโดยตัวมันเอง แต่เพราะความที่บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายมีรอบปัญญาบารมีไม่เท่ากัน สรรพสัตว์บางพวกก็ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจตระหนักชัดในธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงนั้นได้ เพราะสรรพสัตว์พวกนี้ยังมีความหลงผิดเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่า ยังเห็นว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ เมื่อไม่เข้าใจธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงว่า ความจริงมันไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอยู่เลยมันว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อยังเข้าไปหลงยึดว่า “มี” พระพุทธองค์จึงทรงมีความเมตตาที่จะสั่งสอนสรรพสัตว์พวกนี้ว่า สิ่งที่หลงเข้าไปยึดว่ามีซึ่งมันคือ “ การเกิดขึ้น ” แห่งอัตตาความเป็นตัวตนนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้นั้นย่อมตั้งอยู่ได้ไม่นานและมีความเสื่อมไปดับไปโดยตัวมันเองเป็นธรรมดาตามธรรมชาติของมัน
เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงธรรมอันหากหลงเข้าไปยึดว่ามีแล้วมันย่อมมีความเสื่อมไปดับไปเป็นธรรมดาแก่ชุมชนนิคมชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธัมมะ พระพุทธองค์ท่านได้ทรงแจกแจงลักษณะธรรมอันหลงเข้าไปยึดว่ามี ไว้ทั้งหมด 4 หมวดใหญ่ ได้แก่ หมวดกาย หมวดเวทนา หมวดจิต หมวดธรรม พระพุทธองค์ตรัสธรรมอันคือ สติปัฏฐานทั้ง 4 ไว้ เพื่อชี้ให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังหลงยึดว่ามีนั้น ได้เห็นความเกิดขึ้นแห่งธรรม อันคือ กาย เวทนา จิต ธรรม และได้เห็นความเสื่อมไปดับไปในธรรม อันคือ กาย เวทนา จิต ธรรม นั้นเอง
ทั้งนี้เพื่อเป็นไปในความตั้งมั่นแห่ง สติ สมาธิ ปัญญา อันคือเนื้อหาแห่งมรรคมีองค์แปด ซึ่งเป็นหนทางพ้นจากทุกข์ ( ซึ่งหมายถึง การที่ได้เห็นความเกิดขึ้นแห่งธรรม อันคือ กาย เวทนา จิต ธรรม และได้เห็นความเสื่อมไปดับไปในธรรม อันคือ กาย เวทนา จิต ธรรม นั้น มันคือความตั้งมั่นและมันคือความเป็นไปในอินทรีย์แห่งธรรม คือ สติ สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นหนทางแห่งมรรคมีองค์แปดไปในตัวอยู่แล้ว )
ทั้งนี้เพื่อเป็นไปในความตั้งมั่นแห่ง สติ สมาธิ ปัญญา อันคือเนื้อหาแห่งโพชฌงค์ธรรม 7 ประการ ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หลุดพ้น ( ซึ่งหมายถึง การที่ได้เห็นความเกิดขึ้นแห่งธรรม อันคือ กาย เวทนา จิต ธรรม และได้เห็นความเสื่อมไปดับไปในธรรม อันคือ กาย เวทนา จิต ธรรม นั้น มันคือความตั้งมั่นและมันคือความเป็นไปในอินทรีย์แห่งธรรม คือ สติ สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นโพชฌงค์ธรรม 7 ประการ ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หลุดพ้นไปในตัวอยู่แล้ว)
ทั้งนี้เพื่อเป็นไปแห่ง ความดับไปแห่งตัณหาอุปาทานไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่หลงเข้าไปยึดว่ามีและมันเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นไปแห่ง ความคลายกำหนัดที่แท้จริง

โดยเนื้อแท้อันเป็นธรรมแห่งสติปัฏฐานตามความประสงค์ของพระพุทธองค์นั้น พระองค์ท่านต้องการชี้ให้เห็นถึงธรรมชาติอันดับอยู่แล้วไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยตัวมันเอง เป็นการเจริญสติปัฏฐานในวิถี “ความเป็นธรรมดาความเป็นธรรมชาติแห่งความเสื่อมไป” ในสิ่งที่หลงเข้าไปยึด
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 02:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว




ธรรมจักร 19.jpg
ธรรมจักร 19.jpg [ 131.35 KiB | เปิดดู 4565 ครั้ง ]
บทที่ 18 กาย
ในส่วนกายานุปัสสนาสติหรือสติปัฎฐานในหมวด กาย นั้น เป็นพุทธประสงค์ที่จะให้เราย้อนกลับมาพิจารณาถึงร่างกายเราเองที่เราชอบปรุงแต่งว่า “ ร่างกาย ” นี้คือ “ เรา ” แต่แท้ที่จริงนั้นอวัยวะทั้งหลายที่มาประกอบขึ้นเป็น “ ร่างกาย ” มันก็ล้วนมีสภาพเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ในสภาพเดิมได้ไม่นาน แล้วสภาพเดิมแห่ง “ ร่างกาย ” นั้นก็ต้องเปลี่ยนสภาพไปเพราะมันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาธรรมชาติ ซึ่งเป็นอุบายที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เพื่อให้เราละจากทิฏฐิความเห็นในส่วนที่ว่า “ กาย ” นี้ คือ “ เรา ” และให้เราเห็นถึง “ ลักษณะธรรมที่มันมีสภาพตั้งอยู่ได้ไม่นานเพราะมันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ” พระพุทธองค์ท่านสอนให้เห็นถึงธรรมอันคือ “ อนิจจัง ” ความไม่เที่ยงโดยใช้การพิจารณาการเสื่อมไปแห่งกายเป็นบาทฐาน การพิจารณากายในกายซึ่งอยู่ในสติปัฏฐานหมวดกายนี้ มีดังต่อไปนี้

1. หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
พึงพิจารณาเห็นถึง ความเกิดขึ้นแห่งลมหายใจในจุดใดจุดหนึ่งในร่างกาย และจุดที่เกิดขึ้นแห่งลมหายใจก็เปลี่ยนสภาพไปตั้งอยู่จุดเดิมได้ไม่นานและมีความเสื่อมไปสิ้นไปจากจุดเดิมนั้น
“ ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา ” อันเกิดจากการพิจารณากายในส่วนนี้เป็นบาทฐาน ก็ให้เราควรละทิฏฐิที่เห็นว่ากายนี้คือเรา ไม่ควรเข้าไปเนื่อง ไม่ควรเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน ในทิฏฐิซึ่งเป็นจิตปรุงแต่งแบบนี้อีก กายนั้นเป็นเพียงแค่ได้อาศัยอยู่ชั่วคราวมีความเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดา

2. เมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน และความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้มรส ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง
พึงพิจารณาเห็นถึง ความเกิดขึ้นแห่งอิริยาบถของร่างกาย และอริยาบทที่เกิดขึ้นของร่างกายก็เปลี่ยนสภาพไปตั้งอยู่ในอริยบทเดิมได้ไม่นานและมีความเสื่อมไปสิ้นไปจากอริยบทเดิมนั้น
“ ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา ” อันเกิดจากการพิจารณากายในส่วนนี้เป็นบาทฐาน ก็ให้เราควรละทิฏฐิที่เห็นว่ากายนี้คือเรา ไม่ควรเข้าไปเนื่อง ไม่ควรเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน ในทิฏฐิซึ่งเป็นจิตปรุงแต่งแบบนี้อีก กายนั้นเป็นเพียงแค่ได้อาศัยอยู่ชั่วคราวมีความเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดา
ในส่วนพิจารณาอริยบทนี้ พระพุทธองค์มีความประสงค์ให้เราเรียนรู้ถึงสภาพธรรมอันคือการระลึกรู้แบบถ้วนทั่วซึ่งมันคือ สติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นบาทฐานเทียบเคียงให้เราได้ตระหนักชัดขึ้นถึงลักษณะความเป็นไปในอินทรย์แห่ง สัมมาสติ


3. แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ เส้นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตามันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร


พึงพิจารณาเห็นถึง ความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นเป็นร่างกายสมบูรณ์สวยงามครบ 32 ประการ เมื่อเข้าใจว่าแท้จริงร่างกายนั้นมันเพียงถูกห่อหุ้มและเต็มไปด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ซึ่งเป็นสิ่งไม่สวยงาม ก็ไม่ควรเข้าไปเนื่อง ไม่ควรเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน ในทิฏฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นเป็นร่างกายสมบูรณ์สวยงามครบ 32 ประการ ทิฏฐินี้ก็มีความเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดาธรรมชาติ
“ ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา ” อันเกิดจากการพิจารณากายในส่วนนี้เป็นบาทฐาน ก็ให้เราควรละทิฏฐิที่เห็นว่ากายนี้คือเรา ไม่ควรเข้าไปเนื่อง ไม่ควรเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน ในทิฏฐิซึ่งเป็นจิตปรุงแต่งแบบนี้อีก กายนั้นเป็นเพียงแค่ได้อาศัยอยู่ชั่วคราวมีความเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดา

4.กายนี้ซึ่ง ตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้มี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
พึงพิจารณาเห็นถึง ความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นว่ากายนี้พึงตั้งอยู่ตามที่ พึงตั้งอยู่ตามปรกติ เมื่อเข้าใจว่าแท้จริงร่างกายนั้นมันประกอบไปด้วยธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม และย่อมสลายออกเป็นส่วนๆไปตามกาลเวลาพึงตั้งอยู่ตามที่ พึงตั้งอยู่ตามปรกติ ได้ไม่นาน ก็ไม่ควรเข้าไปเนื่อง ไม่ควรเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน ในทิฏฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นว่ากายนี้พึงตั้งอยู่ตามที่ พึงตั้งอยู่ตามปรกติ ทิฏฐินี้ก็มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดาธรรมชาติ
“ ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา ” อันเกิดจากการพิจารณากายในส่วนนี้เป็นบาทฐาน ก็ให้เราควรละทิฏฐิที่เห็นว่ากายนี้คือเรา ไม่ควรเข้าไปเนื่อง ไม่ควรเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน ในทิฏฐิซึ่งเป็นจิตปรุงแต่งแบบนี้อีก กายนั้นเป็นเพียงแค่ได้อาศัยอยู่ชั่วคราวมีความเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดา

5.พึงเห็น “ สรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ”
- ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด
- อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง
- เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่
- เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่
- เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่

- เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง
- เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์บ้าง
- เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไปบ้าง
- เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว

พึงพิจารณาเห็นถึง ความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นว่ากายนี้ต้องคงอยู่ในสภาพแบบนี้ตลอดไป เมื่อเข้าใจว่าแท้จริงการคงอยู่ตลอดไปของร่างกายนั้นก็มีการเสื่อมสิ้นสลายไปเหมือนที่เห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าและกระจัดกระจายอยู่ในรูปแบบต่างๆอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ก็ไม่ควรเข้าไปเนื่อง ไม่ควรเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน ในทิฏฐิเกี่ยวกับรูปกายที่เห็นว่ากายนี้คงอยู่ในสภาพแบบนี้ตลอดไป ทิฏฐินี้ก็มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามธรรมชาติ
“ ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา ” อันเกิดจากการพิจารณากายในส่วนนี้เป็นบาทฐาน ก็ให้เราควรละทิฏฐิที่เห็นว่ากายนี้คือเรา ไม่ควรเข้าไปเนื่อง ไม่ควรเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน ในทิฏฐิซึ่งเป็นจิตปรุงแต่งแบบนี้อีก กายนั้นเป็นเพียงแค่ได้อาศัยอยู่ชั่วคราวมีความเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดา
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 02:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว




ธรรมจักร 20.jpg
ธรรมจักร 20.jpg [ 162.32 KiB | เปิดดู 4565 ครั้ง ]
บทที่ 19 เวทนา

ในส่วนเวทนานุปัสสนาสติหรือสติปัฏฐานในหมวด เวทนานั้น เป็นพุทธประสงค์ที่จะให้เราทำความเข้าใจพื่อตระหนักชัดว่า
ยามเราเสวยสุขเวทนา(ความรู้สึกที่เป็นสุข) ที่มันเกิดขึ้น โดยธรรมชาติสุขเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนตั้งอยู่ได้ไม่นาน มีความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ยามเราเสวยทุกขเวทนา(ความรู้สึกที่เป็นทุกข์) ที่มันเกิดขึ้น โดยธรรมชาติทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนตั้งอยู่ได้ไม่นาน มีความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ยามเราเสวยอทุกขมสุขเวทนา(ความรู้สึกที่เฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์) ที่มันเกิดขึ้น โดยธรรมชาติอทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนตั้งอยู่ได้ไม่นาน มีความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ถึงแม้ในความเป็นจริง เราไม่หลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ในเวทนาทั้งหลายจนก่อให้เกิดตัณหาอุปาทาน เป็นจิตปรุงแต่ง เป็นเราเป็นเขา เป็นตัวตนขึ้นมา แต่ถ้าหากเรารู้ว่า ขณะนี้มีเวทนาทั้งหลายเกิดขึ้นและเสวยเวทนานั้นๆอยู่ ก็ให้เราทำความเข้าใจเพื่อตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับที่ เวทนาทั้งหลายนั้นมันล้วนดับไปเป็นธรรมดาตามธรรมชาติโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 02:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว




ธรรมจักร 18.jpg
ธรรมจักร 18.jpg [ 131.21 KiB | เปิดดู 4565 ครั้ง ]
บทที่ 20 จิต

ในส่วนของจิตตานุปัสนาสติหรือสติปัฏฐานในหมวด จิต เป็นพุทธประสงค์ที่จะให้เราทำความเข้าใจเพื่อตระหนักชัดว่า เมื่อความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ในเวทนาทั้งหลายแล้วนั้น มันย่อมก่อให้เกิด ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสะ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือความหมายแห่งการปรุงแต่งเป็นจิตในลักษณะต่างๆนั่นเอง และจิตในลักษณะต่างๆนี้ซึ่งมันคือ ปรากฏการณ์ทางจิตหรือพฤติกรรมทางจิต มันย่อมแปรปรวนตั้งอยู่ได้ไม่นานและไม่เที่ยงแท้ดับไปโดยตัวมันเองตามธรรมดาอยู่แล้วในที่สุด
จิตในลักษณะต่างๆ มีดังต่อไปนี้
1.จิตมีราคะ ก็รู้ว่า จิตมีราคะ
2.จิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ
3.จิตมีโทสะ ก็รู้ว่า จิตมีโทสะ
4.จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ
5.จิตมีโมหะ ก็รู้ว่า จิตมีโมหะ
6.จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ
7.จิตหดหู่ ก็รู้ว่า จิตหดหู่
8.จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน
9.จิตเป็นมหรคต* ก็รู้ว่า จิตเป็นมหรคต
10.จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต
11.จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
12.จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
13.จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่า จิตเป็นสมาธิ
14.จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ
15.จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น
16.จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น

ก็พึงเข้าใจว่า จิตก็คือสิ่งที่เราปรุงแต่งขึ้นเพราะความไม่รู้ของเราพาเข้าไปยึดในเวทนาทั้งหลาย ซึ่งจะเรียกมันว่า “ความคิด” ก็ได้ ความคิดของนักปฏิบัตินั้นจะคิดจะปรุงแต่งอยู่แค่สองลักษณะเท่านั้น คือ มีความคิดปรุงแต่งไปในทางเรื่องราวของทางโลกๆ และ มีความคิดปรุงแต่งไปในทางธรรม เช่นในเรื่องการศึกษาพิจารณาถึงความหมายแห่งธรรม อีกทั้งในเรื่องการปฏิบัติธรรมและผลแห่งการปฏิบัติ ซึ่งความคิดความปรุงแต่งในสองลักษณะนี้ ก็ล้วนตกอยู่ในความหมายที่พระพุทธองค์ทรงแจกแจงเป็นจิตไว้ถึง 16 ลักษณะดังกล่าวแล้ว ซึ่งก็คือจิตในลักษณะต่างๆที่นักปฏิบัติทั้งหลายชอบปรุงแต่งไปในทาง “ ทั้งทางโลกและทางธรรม ” นั่นเอง



และจิตลักษณะต่างๆนี้เอง เมื่อมันเกิดขึ้น ก็ตั้งอยู่ได้ไม่นาน เรา “ ก็รู้ว่า ” ไม่ควรเข้าไปเนื่อง ไม่ควรเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน ในการปรุงแต่งในรายละเอียดแห่งเนื้อหาจิตต่างๆนั้น จนจิตต่างๆนั้นมันยืดยาวออกไปด้วยความยึดมั่นถือมั่น และเรา “ ก็รู้ว่า ” จิตต่างๆนั้น เมื่อไม่เข้าไปเนื่อง ไม่เข้าไปเนิ่นช้า ไม่เข้าไปสาละวน จิตต่างๆนั้นมันก็ล้วนไม่เที่ยงดับไปโดยตัวมันเองเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ ( ธรรมดาธรรมชาติแห่งการที่ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งตั้งอยู่ได้นานมีความแปรปรวนตลอด )
เมื่อเข้าใจและตระหนักชัดในความหมายทั้งหมดข้างต้น ก็ควรที่จะ “ ซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกัน ” กับจิตลักษณะต่างๆที่ดับไปนั้น

( มหรคต* คือ ภาวะธรรมแห่งความเป็นใหญ่ได้แก่ฌานจิตขั้นต่างๆ ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน )
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


บทที่ 21 ธรรม

ในส่วนของธรรมนุปัสสนาสติหรือสติปัฏฐานในหมวด ธรรม มีธรรมอยู่ 5 แบบ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้คือ ขันธบรรพะ อายตนบรรพะ นิวรณ์บรรพะ โพชฌังคบรรพะ สัจจะบรรพะ โดยเนื้อหาแห่งธรรมต่างๆแล้วนี้ เป็นส่วนที่ต้องเข้าไปศึกษาพิจารณาเพื่อทำลายความเห็นอันเป็นสักกายทิฐิและความลังเลสงสัยอันเป็นความไม่เข้าใจในธรรมคือวิจิกิจฉา เพื่อทำให้ความเข้าใจในธรรมทั้งปวงเกิดขึ้น เป็นความเข้าใจในธรรมที่ว่าตามธรรมชาตินั้นย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยสภาพมันเองเป็นธรรมดา
การที่พระพุทธองค์ตรัสถึงธรรมานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธ-องค์ทรงประสงค์ที่จะเกื้อกูลหมู่สัตว์ที่มีปัญญามากพอที่จะดำเนินไปในเส้นทาง “ ธรรมชาติ ” อันเป็นเส้นทางหลุดพ้นได้ แต่ยังติดที่ยังมีความไม่เข้าใจในธรรมในส่วนต่างๆที่เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาในทุกข์อย่างถูกวิธี

ขันธบรรพะ คือ การพิจารณาธรรมว่า นี่คือการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้ง 5 เมื่อ รูปเกิด วิญญาณเกิด สัญญาเกิด สังขารเกิด เวทนาเกิด และนี่คือการดับไปแห่งขันธ์ทั้ง 5 เมื่อเวทนาดับ สังขารดับ สัญญาดับ วิญญาณดับ รูปดับ ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจในธรรมว่าขันธ์ทั้ง 5 นั้นเมื่อเกิดขึ้นก็ย่อมดับไปเองอยู่แล้วเป็นธรรมดา

อายตนบรรพะ คือ การพิจารณาธรรมว่า โดยปรกติ เมื่อมีเหตุปัจจัย เข้ามาทางรูป เช่น

รูปภาพ ที่เข้ามาทาง ตา
เสียง ที่เข้ามาทาง หู
กลิ่น ที่เข้ามาทาง จมูก
รสชาด ที่เข้ามาทาง ลิ้น
การสัมผัสสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาทาง ผิวกาย
สิ่งที่ผุดขึ้นในความรู้สึก ที่เข้ามาทาง ใจ
ให้ทำความเข้าใจและรู้จักสังโยชน์ที่อาศัย ภาพที่เข้ามาทางตา ,เสียงที่เข้ามาทางหู ,กลิ่นที่เช้ามาทางจมูก ,รสชาติที่เข้ามาทางลิ้น , การสัมผัสต่างๆที่เข้ามาทางผิวกาย ,สิ่งที่ผุดขึ้นในความรู้สึกที่เข้ามาทางใจ ทั้งหมดนี้ที่สังโยชน์ได้อาศัยเกิดขึ้น อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี 10 อย่าง
1. สักกายทิฏฐิ ความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา
2. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในเนื้อหาธรรม
3. สีลัพพตปรามาส ข้อประพฤติข้อวัตรที่เต็มไปด้วยความงมงาย
4. กามฉันทะ พอใจในกามคุณ
5. ปฏิฆะ มีอารมณ์กระทบใจ จิตมีความโกรธ
6. รูปราคะ หลงในรุปฌาน
7. อรูปราคะ หลงในอรูปฌาน
8. มานะ การถือตัวถือตน
9. อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา ไม่รู้ตามความเป็นจริงเรื่องนิพพาน




นิวรณ์บรรพะ คือการพิจารณาเนื้อหาธรรมอันคือนิวรณ์ทั้ง 5
1.กามฉันทะ จิตที่ปรุงแต่งเกี่ยวกับความพึงพอใจในกาม
2.พยาบาท จิตที่ปรุงแต่งเกี่ยวกับความโกรธแค้นอันเนื่องมาจากโทสะ
3.ถีนมิทธะ จิตที่ปรุงแต่งมีสภาพเกี่ยวกับความง่วงเหงาหาวนอน หดหู่ เซื่องซึม
4. อุทธัจจกุกกุจจะ จิตที่ปรุงแต่งมีสภาพเกี่ยวกับความฟุ้งซ่าน หงุดหงิดรำคาญใจ
5.วิจิกิจฉา จิตที่ปรุงแต่งมีสภาพเกี่ยวกับความลังเลสงสัยคงามไม่เข้าใจในธรรม

ให้พิจารณาถึง ความมีอยู่และความไม่มีอยู่ ของธรรมเหล่านี้ในจิต
ให้พิจารณาถึง ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ให้พิจารณาถึง ธรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ให้พิจารณาถึง ธรรมเหล่านี้ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย


โพชฌังคบรรพะ คือการพิจารณาเนื้อหาธรรมอันคือโพชฌงค์ 7 ประการ
1.สติ 2.ธัมมวิจยะ(การวินิจฉัยสอดส่องธรรม) 3.วิริยะ 4.ปิติ(ความอิ่มใจ) 5.ปัสสัทธิ(ความสงบใจ) 6.สมาธิ 7.อุเบกขา

ให้พึงพิจารณาว่า เมื่อธรรมข้อใดข้อหนึ่งในโพชฌงค์ “มีอยู่” ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัด้วยมีธรรมข้อใดข้อหนึ่งในโพชฌงค์อยู่ ณ ภายในจิตของเรา
ให้พึงพิจารณาว่า เมื่อธรรมข้อใดข้อหนึ่งในโพชฌงค์ “ไม่มีอยู่” ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมข้อใดข้อหนึ่งในโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
ให้พึงพิจารณาว่า เมื่อธรรมข้อใดข้อหนึ่งในโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ให้พึงพิจารณาว่า เมื่อธรรมข้อใดข้อหนึ่งในโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย


สัจจะบรรพะ คือการพิจารณาเนื้อหาธรรมอันคือ อริยสัจจ์ทั้ง 4
1.ทุกข์ คือการที่ความไม่รู้พาเข้าไปยึดขันธ์ทั้ง 5 จนก่อให้เกิดตุณหาอุปาทาน เป็นการปรุงแต่งเป็นจิตขึ้นมา
เมื่อยึดถือเอาแล้ว ซึ่งรูป,ซึ่งเวทนา, ซึ่งสัญญา, ซึ่งสังขาร, และซึ่งวิญญาณ
เพราะความยึดถือ (อุปาทาน) ของเรานั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ;เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ: เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้


แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์
ชาติ คือ ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
ชรา คือ ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้น
มรณะ คือ ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
โสกะ คือ ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะของบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือ ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
ปริเทวะ คือ ความคร่ำครวญ ความร่ำไร รำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
ทุกข์ คือ ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส
โทมนัส คือ ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัส
อุปายาสะ คือ ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว


2.สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ก็คืออวิชชาความไม่รู้ ไม่รู้ในเรื่องที่ว่าแท้ที่จริงทุกสรรพสิ่งมันย่อมไม่ใช่ตัวใช่ตนอยู่แล้ว เมื่อไม่รู้และคิดว่าสิ่งนั้นคือเราคือตัวของเรา อวิชชาความไม่รู้จึงพาเข้าไปยึดมั่นถือมันในขันธ์ทั้ง 5 ในเวทนาทั้งหลายจนก่อให้เกิดตัวตนขึ้นมา

3.นิโรธ คือความดับไปแห่งทุกข์ ก็คือสภาพธรรมดาธรรมชาติของทุกข์ทั้งหลายที่มันตั้งอยู่ได้ไม่นานละต้องดับไป เมื่อรู้ว่ามันตั้งอยู่ได้ไม่นานก็ไม่ควรเข้าไปเนื่องเข้าไปเนิ่นช้า เข้าไปสาละวน เมื่องดเว้นที่จะไม่เข้าไปเนื่องเข้าไปเนิ่นช้า เข้าไปสาละวน ทุกข์นั้นก็ดับไปเองอยู่แล้วเป็นธรรมดาของมัน

4.มรรค คือหนทางแห่งความพ้นทุกข์ ความดับไปเป็นธรรมดาแห่งทุกข์นั่นแหละคือเนื้อหาแห่งมรรคซึ่งเป็นหนทางพ้นทุกข์ไปในตัวอยู่แล้ว มันประกอบไปด้วยเนื้อหาอินทรย์แห่งธรรมแปดประการ คือ 1.สัมมาทิฏฐิ 2.สัมมาสังกัปปะ 3.สัมมาวาจา 4.สัมมากัมมันตะ 5.สัมมาอาชีวะ 6.สัมมาวายามะ 7.สัมมาสติ 8.สัมมาสมาธิ
การที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเรื่องสติปัฏฐานในหมวดธรรมนี้ ท่านมีพุทธประสงค์ให้นักปฏิบัติทั้งหลายทั้งในและนอกศาสนา ที่ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่ท่านประกาศไว้ ให้ได้เข้ามาเรียนรู้ถึงปัญหาที่ทำให้ต้องไปเวียนว่ายตายเกิด คือ ทุกข์ และเรียนรู้ถึงต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ อีกทั้งยังให้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับความสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาซึ่งเป็นความดับทุกข์และหนทางพ้นจากกองทุกข์ด้วย ซึ่งประกอบไปด้วยธรรมหลายหมวดที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ การที่ได้ตระหนักชัดในความหมายในความเข้าใจแห่งเนื้อหาธรรมทั้งหลายที่พระองค์ตรัสไว้นั้น มันเป็นการทำลายสักกายทิฐิคือความเห็นที่เห็นว่านี่กายเรานี่คือเราลงได้ มันเป็นการทำลายวิจิกิจฉาคือความลังเลสงสัยไม่เข้าใจในธรรมซึ่งเป็นธรรมอันว่าด้วยลักษณะทุกข์และการแก้ไขปัญหาแห่งทุกข์ได้อย่างตรงและถูกต้อง และเมื่อเราละข้อวัตรอันคือศิลพรตปรามาสซึ่งเป็นข้อปฏิบัติอันงมงายที่เราเคยยึดถือมาก่อนที่จะมาศึกษาธรรมที่พระองค์ประกาศไว้ เมื่อละได้แล้วกับอีกทั้งได้ตระหนักชัดในธรรมทั้งหมดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับความดับไปแห่งทุกข์ ตรงนี้แหละคือ จุดเริ่มต้นแห่งเส้นทางที่ก้าวเดินออกมาจากกองทุกข์ที่เคยเข้าไปยึดมั่นยึดถือ เป็นเส้นทางแห่งความดับไปเป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติ นี่คือเส้นทางแห่ง “ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ”


และท้ายที่สุดนักปฏิบัติทั้งหลายพึงรู้ด้วยอีกว่า “ การพิจารณาธรรม” ทั้งหมดเหล่านี้ในสติปัฏฐานแห่งหมวดธรรม ก็ล้วนเป็น “สังขตธาตุ” คือธาตุแห่งการปรุงแต่ง มันล้วนคือจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง และพึงรู้ชัดซึ่งเป็นไปในสัมมาสติ ว่า
- จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้น ล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะ บรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้น ล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นโพชฌังค บรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นโพชฌังคบรรพะนั้น ล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นสัจจะบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นสัจจะบรรพะนั้น ล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


บทที่ 22 โพชฌงค์ธรรม
โพชฌงค์ธรรม คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือการบรรลุธรรม ก็คือกำลังหรืออินทรีย์แห่งธรรมที่เกิดจากการที่ได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปเป็นธรรมดาแห่งทุกข์ ความดับไปเป็นธรรมดาแห่งธรรมทั้งหลายในสติปัฏฐานทั้งสี่ ซึ่งเมื่อเป็นความบริบูรณ์ในธรรมอันคือโพชฌงค์นี้แล้วย่อมยังให้ วิชชา คือ ความรู้แจ้ง วิมุติ คือ การหลุดพ้น ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งการตรัสรู้บรรลุธรรมให้บริบูรณ์ เกิดขึ้น
โพชฌงค์ มีอยู่ 7 ประการ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
กำลัง หรือ อินทรีย์แห่งธรรม 7 ประการนี้ เกิดจากการที่ได้ตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปเป็นธรรมดาแห่งทุกข์ ความดับไปเป็นธรรมดาแห่งธรรมทั้งหลายในสติปัฏฐานทั้งสี่เท่านั้น มิใช่เกิดจากการ “เข้าไปทำ ” โพชฌงค์ธรรมที่ละข้อทีละขั้นทีละตอนเพื่อให้เกิดโพชฌงค์ธรรม 7 ประการขึ้นจนครบแล้วพระนิพพานจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะเหตุใดเล่า
ก็เพราะว่านิพพาน คือ ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนี้มรรคาเส้นทางหลุดพ้นนี้จึงเป็นเส้นทางในวิถี “ธรรมชาติ” เท่านั้น “ธรรมชาติ” คือ ความไม่เที่ยงแท้อยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง เป็นความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาของมันเอง คือ ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว เมื่อเข้าใจในธรรมทั้งปวงโดยปราศจากความลังเลสงสัยแล้ว ความไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นและปล่อยให้จิตไปสู่วิถีธรรมชาติที่มันดับเอง ไม่เที่ยงแท้อยู่แล้วเอง เป็นความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาอยู่แล้ว

เอง ซึ่งการดำเนินไปสู่วิถีธรรมชาติแบบนี้ ก็คือไปด้วยกำลัง หรืออินทรีย์แห่งโพชฌงค์ธรรม อันเกิดจากตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปเป็นธรรมดาแห่งทุกข์ ความดับไปเป็นธรรมดาแห่งธรรมทั้งหลายในสติปัฏฐานทั้งสี่นั่นเอง

การที่เราตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปเป็นธรรมดาแห่งทุกข์ ความดับไปเป็นธรรมดาแห่งธรรมทั้งหลายในสติปัฏฐานทั้งสี่นั้น ก็คือเนื้อหาอินทรีย์แห่งโพชฌงค์ธรรมไปในตัวอยู่แล้ว การเข้าใจผิดด้วยการเข้าไปทำโพชฌงค์ธรรมทีละขั้นทีละตอน เช่น การฝึกสติด้วยการเดินจงกรมเพื่อให้มันเกิด “สติสัมโพชฌงค์” การนั่งสมาธิเพื่อให้ได้ฌาณ 4 เพื่อให้มันเกิด “สมาธิสัมโพชฌงค์” เพื่อที่จะทำให้โพชฌงค์บริบูรณ์ เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง การเข้าไปทำโพชฌงค์แบบนี้มันเป็นลักษณะของจิตปรุงแต่งที่เนื่องด้วย อวิชชาความไม่รู้ ตัณหา อุปทานทั้งสิ้น เป็นความยึดมั่นถือมั่นที่กลายเป็นจิตเป็นตัวตนขึ้นมา มิใช่เส้นทาง “ธรรมชาติ” ที่ดับไปเป็นธรรมดา แต่อย่างใด
1.สติ (สติสัมโพชฌงค์)
เมื่อเกิดความเข้าใจในธรรมโดยปราศจากความลังเลสงสัยและมีความระลึกได้ว่า
-จิตที่ปรุงแต่งไปในการเห็นว่ากายนี้คือเรานั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันคือสติปัฏฐานแห่งหมวดกายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-เวทนาทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับเองตามธรรมชาติแล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตลักษณะต่างๆนั้น ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งไปในทางพิจารณาธรรมต่างๆ “อันเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหา” ทั้งหลายอันคือสติปัฏฐานแห่งหมวดธรรมนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
ความระลึกดังกล่าวนี้ คือ สติ แห่งโพชฌงค์ธรรมนั้นเอง (สติสัมโพชฌงค์) เป็นธรรมชาติแห่งความระลึกรู้ เป็นธรรมชาติแห่งสติ อันเป็นสัมมาสติ ในมรรคมีองค์ 8 ด้วย

2.ธัมมวิจยะ(ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์)
เมื่อเข้าใจในการแก้ไขปัญหาแห่งทุกข์ซึ่งมันเป็นวิธีแก้ไขในแบบลักษณะ “ธรรมดาธรรมชาติ” แห่งความไม่เที่ยงแห่งความดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองสภาพมันเองอยู่แล้วนั้น แต่หากเมื่อ “ตราบใดยังมีส่วนแห่งอวิชชาตัณหาอุปทานเหลืออยู่โดยเนื้อหาแห่งการมีอยู่” เพราะฉะนั้นการสอดส่องการสืบค้นธรรม การเลือกธรรมว่าอะไร คือการปรุงแต่ง คือธรรมอันปรุงแต่ง (สังขตธาตุ) ว่าอะไรคือ การไม่ปรุงแต่งซึ่งคือการที่กลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปเป็นธรรมดาคือธรรมไม่ปรุงแต่ง (อสังขตธาตุ) เมื่อรู้ว่าสิ่งนี้คือธรรมอันปรุงแต่ง ก็จะได้ระลึกรู้ว่าธรรมอันปรุงแต่งนี้ก็ล้วนไม่เที่ยงมันดับโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองตามธรรมดาธรรมชาติ การเลือกเฟ้นธรรม การสอดส่องธรรม การสืบค้นธรรมในลักษณะเช่นนี้ ก็คือธัมมวิจยะแห่งโพฌชงค์ธรรมนั้นเอง (ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์) ธัมมวิจยะจึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดธรรมชาติแห่งสติการระลึกรู้

แต่ธัมมวิจยะเป็นธรรมอันประกอบขึ้นชั่วคราวในโพฌชงค์ธรรมเท่านั้น เพราะเหตุที่ว่าด้วยการอาศัยในการเข้าไปเพื่อวินิจฉัยธรรม การสอดส่องสืบค้น เลือกเฟ้นธรรมนั้น ก็เพื่อยังให้เกิดกำลังหรืออินทรีย์แห่งสติการระลึกรู้ แต่โดยเนื้อหามันนั้นการวินิจฉัยวิจัย การสอดส่อง การสืบค้น การเลือกเฟ้น ก็เป็นการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ) หรือจิตปรุงแต่งด้วยลักษณะหนึ่งเช่นกัน เมื่อมีสติระลึกรู้ด้วยว่า “จิตที่ปรุงแต่งไปในทางวินิจฉัย สอดส่องสืบค้น เลือกเฟ้นธรรมนั้นล้วน ไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติ” เมื่อไหร่ อวิชชาความไม่รู้ที่ทำให้เกิดลักษณะเป็นจิตปรุงแต่งไปในทางวินิจฉัย สอดส่อง สืบค้นธรรม ก็จักไม่ปรากฏขึ้นมาอีก ธัมมวิจยะจึงเป็นธรรมอันประกอบขึ้นชั่วคราวในโพชฌงค์ธรรมด้วยเหตุนี้
3.วิริยะ(วิริยะสัมโพชฌงค์)
การที่มีสติที่ระลึกได้ว่า
-จิตที่ปรุงแต่งไปในการเห็นว่ากายนี้คือเรานั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันคือสติปัฏฐานแห่งหมวดกายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-เวทนาทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับเองตามธรรมชาติแล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตลักษณะต่างๆนั้น ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งไปในทางพิจารณาธรรมต่างๆ “อันเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหา” ทั้งหลายอันคือสติปัฏฐานแห่งหมวดธรรมนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
การมีสติระลึกได้อยู่ทุกขณะนั้น มันคือเนื้อหาที่ทำให้กำลังหรืออินทรีย์แห่งสติมากขึ้นไปสู่ความบริบูรณ์แห่งสติ และความบริบูรณ์ในโพชฌงค์ธรรมทุกส่วน การมีสติระลึกได้อยู่ทุกขณะมันคือเนื้อหาแห่งความเพียรอยู่แล้ว มันคือธรรมชาติแห่งความเพียร หรือวิริยะในโพชฌงค์ธรรม (วิริยะสัมโพชฌงค์) หรือ สัมมาวายาโม ในมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง เมื่อกำลังหรืออินทรีย์แห่งวิริยะความเพียรคือการมีสติระลึกได้อยู่ทุกขณะบริบูรณ์แล้ว ความบริบูรณ์ในความเพียรนี้เองที่ส่งผลให้เกิด “ความเป็นปรกติ” หรือ “ความบริบูรณ์” ในโพชฌงค์ธรรมตัวอื่น

4.ปิติ(ปีติสัมโพชฌงค์)
คือ ความอิ่มใจ
5.ปัสสัทธิ(ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์)
คือ ความสงบจิตสงบใจ
โดยธรรมชาติแล้วตราบใดที่อวิชชา ความไม่รู้ยังคงมีอยู่ก็จะทำให้ไปยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมากลายเป็นความปรุงแต่งขึ้นมา เป็นความวุ่นวายในจิตอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อมีสติระลึกรู้ได้อยู่ว่า
-จิตที่ปรุงแต่งไปในการเห็นว่ากายนี้คือเรานั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันคือสติปัฏฐานแห่งหมวดกายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-เวทนาทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับเองตามธรรมชาติแล้ว

-จิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตลักษณะต่างๆนั้น ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งไปในทางพิจารณาธรรมต่างๆ “อันเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหา” ทั้งหลายอันคือสติปัฏฐานแห่งหมวดธรรมนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
ความล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมดาธรรมชาติก่อให้เกิดปิติความอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความสงบจิตสงบใจ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดจากความสงบระงับจากการไม่ปรุงแต่งทั้งปวง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแจกแจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจในความเป็นไปในอินทรีย์แห่งธรรมส่วนนี้เท่านั้น
เพราะสภาพธรรมแห่งปิติและปัสสัทธิ เป็นกำลังหรืออินทรีย์แห่งธรรมที่เกิดขึ้นโดยลักษณะเนื้อหามันเอง แต่หากอวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเป็นจิตปรุงแต่งขึ้นมาเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมาว่ามีเราและเรากำลังมีสภาวะธรรมในปิติ และปัสสัทธิ อยู่ดังนี้ จิตปรุงแต่งลักษณะนี้ ก็ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติเช่นกัน ปิติ และปัสสัทธิ จึงเป็นธรรมประกอบขึ้นชั่วคราวเท่านั้น
6.สมาธิ(สมาธิสัมโพชฌงค์)
เมื่อมีสติระลึกรู้ได้อยู่ว่า
-จิตที่ปรุงแต่งไปในการเห็นว่ากายนี้คือเรานั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันคือสติปัฏฐานแห่งหมวดกายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว

-เวทนาทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับเองตามธรรมชาติแล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตลักษณะต่างๆนั้น ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งไปในทางพิจารณาธรรมต่างๆ “อันเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหา” ทั้งหลายอันคือสติปัฏฐานแห่งหมวดธรรมนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
ความล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมดานี้มันคือเนื้อหาแห่งธรรมชาติในอินทรีย์แห่งความแน่วแน่แห่งความตั้งใจมั่น ซึ่งเป็นลักษณะของความต่อเนื่องแห่งธรรมอันเป็นความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อกำลังหรืออินทรีย์แห่งความตั้งใจมั่นนี้บริบูรณ์ก็จะทำให้เกิดความเป็นปรกติ “ในการที่กลายเป็นเนื้อหาเดียวกัน” กับธรรมชาติล้วนๆแห่งความดับสนิทไม่มีเหลือนั่นเอง ธรรมชาติแห่งความตั้งใจมั่นดังกล่าวนี้ก็คือ สมาธิแห่งโพชฌงค์ธรรม (สมาธิสัมโพชฌงค์) หรือธรรมชาติแห่งสมาธิ หรือ สัมมาสมาธิในมรรคมีองค์8

7.อุเบกขา(อุเปกขาสัมโพชฌงค์)
เมื่อมีสติระลึกรู้ได้อยู่ว่า
-จิตที่ปรุงแต่งไปในการเห็นว่ากายนี้คือเรานั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันคือสติปัฏฐานแห่งหมวดกายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-เวทนาทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับเองตามธรรมชาติแล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตลักษณะต่างๆนั้น ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งไปในทางพิจารณาธรรมต่างๆ “อันเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหา” ทั้งหลายอันคือสติปัฏฐานแห่งหมวดธรรมนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
ความล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมดานี้มันคือเนื้อหาแห่งธรรมชาติในอินทรีย์แห่งความเป็นกลางความวางเฉยที่จะไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในจิตปรุงแต่งข้างต้น ความเป็นกลางความวางเฉยก็คืออุเบกขาในโพชฌงค์ธรรม(อุเปกขาสัมโพชฌงค์) คือธรรมชาติแห่งอุเบกขา หรือ สัมมาทิฐิ ในมรรคมีองค์ 8
โพชฌงค์ธรรม 7 ประการ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา นั้น เป็นธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันในลักษณะมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้ เมื่อกำลังหรืออินทรีย์แห่งสติเต็มจนกลายเป็นธรรมชาติแห่งความบริบูรณ์ในสติ ด้วยความที่ธรรมโพชฌงค์ 7 ประการเป็นธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อสติบริบูรณ์แล้วเลยทำให้ธรรมโพชฌงค์ในส่วนอื่นบริบูรณ์ไปด้วย จนกลายเป็นโพชฌงค์ธรรมบริบูรณ์ในทุกส่วน
เมื่อโพชฌงค์ธรรมบริบูรณ์ซึ่งหมายถึงความเป็นปรกติแห่งธรรมในทุกส่วนของโพชฌงค์แล้ว ย่อมยัง “วิชชาและวิมุติ” ให้บริบูรณ์ไปด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


บทที่ 23 มรรคมีองค์ 8 คือการปรุงแต่ง
เรื่องมรรค ๘ ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่กระแตเขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น นางวิสาขอุบาสกเข้าไปหาธรรมทินนาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
วิสาขอุบาสกครั้นนั่งแล้ว ได้ถามธรรมทินนาภิกษุณีว่า
วิสาขา: ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ ไฉน?
ธรรมทินนา: ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑.
วิสาขา: ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะหรือเป็นอสังขตะ?
ธรรมทินนา: ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะ
วิสาขอุบาสกสรรเสริญธรรมทินนาภิกษุณี
ลำดับนั้น วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณีแล้ว ลุกจากอาสนะ อภิวาทธรรมทินนาภิกษุณี ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลเรื่องที่ตนสนทนาธรรมกถากับธรรมทินนาภิกษุณีให้ทรงทราบทุกประการ.
เมื่อวิสาขอุบาสกกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า
ดูกรวิสาขะ ธรรมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หาก ท่านพึงสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา แม้เราก็พึงพยากรณ์เนื้อความนั้น เหมือนที่ธรรมทินนาภิกษุณี พยากรณ์แล้ว เนื้อความแห่งพยากรณ์นั้นเป็นดังนั้นนั่นแล ท่านพึงจำทรงไว้อย่างนั้นเถิด
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว วิสาขอุบาสก ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนั้นแล.
จบ จูฬเวทัลลสูตร ที่ ๔
ก็โดยลักษณะแห่งสังขตธาตุนั้นมี 3 ประการคือ
1.มีความเกิดขึ้นปรากฏ 2.มีความเสื่อมปรากฏ 3.เมื่อตั้งอยู่มีความแปรปรวนปรากฏ
กล่าวคือ เป็นธาตุหรือคุณลักษณะที่เกิดจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เป็นการปรุงแต่งปรากฏมีสิ่งนี้ขึ้นมาและสิ่งนี้ตั้งอยู่ได้ไม่นาน มีความแปรปรวนมีความเสื่อมสิ้นดับไปเป็นธรรมดา
โดยปรกติตามกฏธรรมชาติอันแท้จริงมีอยู่ข้อเดียวคือ ทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมไม่มีและย่อมไม่เกิดขึ้นอยู่แล้ว มันแสดงเนื้อหาแต่ความว่างเปล่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันคือธาตุแห่งความว่างเปล่าอันไร้ตัวตนอยู่อย่างนั้น (อสังขตธาตุ) ซึ่งมันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น มันไม่มีแม้กระทั้งการบรรลุและผู้ถูกบรรลุ มันไม่มีแม้กระทั่งฝั่งนิพพานและผู้ที่กำลังก้าวขึ้นฝั่งนิพพาน มันไม่มีแม้กระทั้งมรรคมีองค์ 8 และไม่มีแม้กระทั้งผู้ที่กำลังเดินบนทางมรรคมีองค์ 8 เพราะถ้าหาก ” มี ” เมื่อไหร่ สิ่งที่มีนั้นย่อมตั้งอยู่ได้ไม่นาน และแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดาตามลักษณะแห่งสังขตธาตุ
ด้วยเหตุผลนี้ ภิกษุณีธรรมทินนาและพระพุทธองค์จึงตรัสว่า เนื้อหาแห่งมรรคมีองค์แปดนั้นแท้จริงไม่มี แต่ถ้าหากมีมันก็เป็นเรื่องของการปรุงแต่งขึ้นมาโดยปรุงแต่งว่า “มีเรา” และเรากำลังเดินบน”มรรคมีองค์ 8 “ ในเรื่องของมรรคนี้พระพุทธองค์ตรัสไว้ในส่วนที่ “ เมื่อยังเห็นว่า ” มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นและการที่เห็นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองนั้น มันคือความดับทุกข์ (นิโรธ) ซึ่งมันก็คือเนื้อหาแห่งมรรคมีองค์ 8 ที่เป็นหนทางออกจากกองทุกข์ไปในตัวอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมรรคมีองค์ 8 จึงยังเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการที่เห็นว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นอยู่ เมื่อธรรมชาติมันย่อมไม่มีเราไม่มีสิ่งใดเลย “ มันจึงย่อมไม่มีใครเดินบนเส้นทางใด ” มันคงแสดงเนื้อหาแห่งความไม่มีไม่เป็น มันคือเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น มรรคมีองค์แปดจึงเป็นเรื่องของการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ) ด้วยประการฉะนี้
การที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่องมรรคไว้นั้น เป็นพุทธประสงค์ให้หมู่สัตว์ทั้งหลายที่ยังไม่ตระหนักชัดถึงความว่างแห่งความไม่มีไม่เป็นอยู่อย่างนั้น ให้เข้าใจในสิ่งที่เห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่นั้นมันมีความดับไปเป็นธรรมดา และความดับไปนั้นก็คือเนื้อหาหนทางแห่งมรรค ท่านมีความประสงค์ให้หมู่สัตว์เหล่านี้ได้พิจารณาธรรมและทำความเช้าใจในความหมายตรงนี้ แต่ทั้งนี้นักปฏิบัติทั้งหลายพึงเข้าใจอีกด้วยว่า “ การพิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องมรรคนั้น ” โดยเนื้อหาแห่งการพิจารณานั้นมันคือ สังขตธาตุที่เป็นการปรุงแต่งเกิดขึ้นในจิตแล้วด้วยเช่นกัน
ดังนั้นเราจึงควรตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันในเรื่องที่ว่า เมื่อเกิดจิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมเรื่องมรรคมีองค์ 8 ขึ้นมา จิตปรุงแต่งชนิดนี้ ย่อมไม่เที่ยงดับไปตามธรรมดาอยู่แล้วโดยตัวมันเอง
และด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ธรรมอันคือ สติปัฎฐานทั้ง 4 และโพชฌงค์ 7 ก็ล้วนคือ สังขตธาตุ หรือ การปรุงแต่งเช่นกัน ด้วยประการฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


บทที่ 24 กุณฑลิยสูตร

ตถาคตมีวิชชาและวิมุติเป็นผลานิสงส์

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมฤคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้นแล กุณฑลิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญข้าพเจ้าเที่ยวไปในอารามเข้าไปสู่บริษัท เมื่อข้าพเจ้าบริโภคอาหารเช้าแล้ว ในเวลาปัจฉาภัต ข้าพเจ้าเดินไปเนืองๆ เที่ยวไปเนืองๆ สู่อารามจากอาราม สู่อุทยานจากอุทยาน ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าเห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กำลังกล่าวถ้อยคำมีวาทะและการเปลื้องวาทะว่าดังนี้เป็นอานิสงส์ และมีความขุ่นเคืองเป็นอานิสงส์ ส่วนท่านพระโคดมมีอะไรเป็นอานิสงส์อยู่เล่า? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกุณฑลิยะ ตถาคตมีวิชชาและวิมุติเป็นผลานิสงส์อยู่

กุณฑลิยปริพาชก: ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์?

พระโคดม: ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์

กุณฑลิยปริพาชก: ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์?

พระโคดม: ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์

กุณฑลิยปริพาชก: ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์?

พระโคดม: ดูกรกุณฑลิยะ สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.

กุณฑลิยปริพาชก: ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์?

พระโคดม: ดูกรกุณฑลิยะ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์?
ดูกรกุณฑลิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังความกำหนัดให้เกิด และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอเห็นรูปที่ไม่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เก้อ ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดี ในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ที่ชอบใจ ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังความกำหนัดให้เกิด และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอรู้ธรรมารมณ์ ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว ไม่เก้อ ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็คงที่จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว.
จบ กุณฑลิยสูตร
ก็ในสมัยพุทธกาลนั้น ได้มีนักบวชนอกศาสนาประเภทหนึ่งที่ชอบท่องเที่ยวไปจาริกไปในที่ต่างๆเพื่อสืบเสาะค้นหาแสวงหาธรรมะที่ตนเองอยากรู้ เค้าเรียกนักบวชประเภทนี้ว่า “ ปาริพาชก ” ซึ่งหมายถึงนักบวชเร่ร่อนเพศชาย ถ้าเป็นเพศหญิงเรียกว่า “ ปริพาชิกา ” กุลฑลิยะปริพาชกก็เป็นนักบวชประเภทนี้เช่นกันที่ชอบเร่ร่อนไต่ถามถึงธรรมะไปในที่ต่างๆ จนกระทั้งกุลฑลิยะได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์จึงเกิดการไต่ถามธรรมในส่วนที่กุลฑลิยะเองอยากรู้ จึงเป็นที่มาของ “ กุลฑลิยสูตร ”
ในพระสูตรนี้พระพุทธองค์ทรงชี้แจงแสดงถึงผลานิสงค์ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงมีอยู่ โดยพระพุทธองค์ทรงตรัสถึงการมีอินทรีย์สังวร คือการสำรวมทางทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิว กายและใจ เมื่อมีเหตุปัจจัยเข้ามาทางทวารทั้ง 6 นี้คือ รูปภาพ เสียง กลิ่น รสชาติ การสัมผัสและธรรมารมณ์ “ การสำรวมอินทรีย์สังวร ” คือ การที่ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น ในขันธ์ทั้ง 5 ในเวทนาทั้งหลาย เมื่อมีเหตุปัจจัยเข้ามาทางทวารทั้ง 6 ข้างต้น
เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้วก็กลายเป็นความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่มีจิตตั้งมั่นอยู่ด้วยกิเลส การที่ได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปเป็นธรรมดา ของขันธ์ทั้ง 5 ของจิตทั้งหลายนั้น ถือว่าเป็น “การที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว” ซึ่งอินทรีย์สังวร ( การที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มิใช่หมายถึง เอาความเป็น ” เรา ” เข้าไปทำ แต่หมายถึงการตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันแห่งความดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ซึ่งตรงนี้มันจะทำให้ความเป็นเราดับไป หมายถึงขันธ์ทั้ง 5 ดับไป นั่นเอง ) และเป็นเหตุปัจจัยย่อมยัง “สุจริต 3” บริบูรณ์ สุจริต 3 คือ ความประพฤติชอบ 3 ประการ คือ
1. กายสุจริต ได้แก่ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เ ว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
2. วจีสุจริต ได้แก่ เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบและเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
3. มโนสุจริต ได้แก่ ไม่โลภ ไม่พยาบาท และมีทิฐิความเห็นถูกต้อง
และพระพุทธองค์ยังทรงตรัสอีกว่า การที่ได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปเป็นธรรมดาตามธรรมชาติโดยตัวมันเองอยู่แล้วแห่งจิตทั้งหลายแห่งขันธ์ทั้ง 5 ที่เป็นเหตุให้ สุจริต 3 บริบูรณ์นั้น การที่ได้ตระหนักชัดและการที่ได้ซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันดังกล่าวข้างต้นยังเป็นเหตุให้ สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์ โพชฌงค์ธรรม 7 บริบูรณ์ วิชชาและวิมุติบริบูรณ์ ซึ่งเป็นผลานิสงค์ที่พระพุทธองค์มีอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


บทที่ 25 วิวาทะเรื่อง "ก็รู้ชัด" ในสติปัฎฐาน
ผู้ตอบ : พระพุทธองค์ตรัสไว้ครับว่า เมื่อจิตปรุงแต่งว่าจิตหลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่าจิตที่ปรุงแต่งว่าจิตหลุดพ้นนั้น มันก็มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ผู้เถียง : ไม่เคยได้ยินนะแบบนี้ เคยเห็นแต่แบบล่างค่ะ
เพราะการจะพิจารณาว่า จิตหลุดพ้นนั้น ต้องออกมาจากสภาวะนิพพาน และพิจารณาธรรมที่เข้าไปพบมา
เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น เมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น
[๔๔๗] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ
เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ
เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ
เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน
เมื่อจิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ เมื่อจิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหัคคตะ
เมื่อจิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ เมื่อจิตเป็นอนุตตระ ก็ รู้ชัดว่า จิตเป็นอนุตตระ
เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น
เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น เมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้นด้วย อาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภาย นอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส เสียได้ในโลก

ผู้ตอบ : สัจธรรมจริงๆแล้ว ทุกอนูธรรมธาตุไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวเป็นตนเลยคงไว้ซึ่งแต่ธรรมชาติแห่งความไม่มีตัวตน เป็นความว่างเปล่าถ้วนทั่วอยู่อย่างนั้น นี่คือธรรมชาติ แต่เมื่ออวิชชาพาหลงยึดจนเกิดตัวตนขึ้นมา ตถาคตก็ตรัสว่า
“สิ่งนั้น แท้จริงในธรรมชาติย่อมไม่มี หากยึดว่ามีสิ่งนั้น
สิ่งนั้นย่อมไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา”
คำว่า “จิต” ในสติปัฏฐานในหมวดจิต นั้น หมายถึงการที่อวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ในเวทนาทั้งหลายจนก่อให้เกิด ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ซึ่งก็คือจิตในลักษณะต่างๆนั่นเองตามที่คุณพรรณนาอ้างพระไตรปิฎกก๊อบปี้มาให้ผมดู เพราะฉะนั้น คำว่า “ จิตหลุดพ้น ” จึงหมายถึง อวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นจนก่อให้เกิดการปรุงแต่งในภาวะธรรมที่ตนเองคิดว่ามันคือการหลุดพ้น ” จึงเรียกชื่อมันว่า “ จิตหลุดพ้น ” เพราะฉะนั้นข้อความที่มาในพระไตรปิฎกที่ว่า จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น นั้น มันจึงแปลได้ว่า เมื่อจิตปรุงแต่งว่าหลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่าจิตที่ปรุงแต่งว่าหลุดพ้นนั้น มันก็มีความแปรปรวนไปดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
มันมิใช่เป็นเพราะ การจะพิจารณาว่า จิตหลุดพ้นนั้น ต้องออกมาจากสภาวะนิพพานและพิจารณาธรรมที่เข้าไปพบมา ตามที่ “ คุณชอบเถียง ” กล่าวอ้างแต่อย่างใด ภาวะนิพพานนั้นมันไม่ใช่ธรรมที่ต้องเข้าไปพิจารณาเข้าไปสอดส่องอีกต่อไปแล้วครับ มันเป็นธรรมที่แสดงเนื้อหามันเองอยู่อย่างนั้นโดยที่ไม่มีความเป็น “เรา ” เข้าไปเกี่ยวข้องได้เลยในทุกกรณี
คำว่า ก็รู้ชัดนั้น หมายถึงสัมมาสติหรือสติตามธรรมชาติ ที่เป็นธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่หลงเข้าไปยึดขึ้นมาเป็นจิตหลุดพ้นนั้นแท้จริงมันย่อมไม่มี และสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น (จิตหลุดพ้น) ย่อมดับไปแปรปรวนไปตามธรรมดาธรรมชาติอยู่แล้ว
แล้วคุณแปล ก็รู้ชัด อย่างไรเล่า
ผมน่ะแปลความหมายออกมาตรงต่อสัจธรรมแล้วครับ
( วิวาทะนี้ เป็นบทความเก่าที่ผู้เขียนเคยเขียนลงไว้ในเว็บบอร์ดธรรมะแห่งหนึ่ง เป็นการถกเถียงกันในเรื่องวิธีปฏิบัติ )


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


บทที่ 26 วิวาทะเรื่อง เอามารวมกันทีหลัง
ผู้เถียง : ..............................................
ผู้ตอบ : ธรรมที่ลงไว้ค่อนข้างมีหลักเกณฑ์ที่สมบูรณ์ ขึ้นอยู่กับปัญญาของผู้อ่าน
การที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่เที่ยงดับไปเอง เป็นการเจริญ สติ สมาธิ ปัญญา ไปในตัว เป็นเนื้อหาแห่งมรรคมีองค์ 8 ไปในตัวอยู่แล้ว
ไม่ใช่เป็นการใช้จิตปรุงแต่ง เข้ามาทำทีละอย่างๆ แบบเป็นขั้นเป็นตอน
ธรรมอันหลุดพ้น เป็นธรรมสมังคีแล้วครับ มันสมังคีพร้อมเพียงกันไปด้วย “ ความที่เข้าใจในธรรม ” แล้วปล่อยให้ธรรมนั้นมันทำหน้าที่ไปสู่ระบบธรรมชาติของมัน คือ ความดับไปเป็นธรรมดาตามธรรมชาติของมันนั่นเอง
แต่ที่คุณค้านเข้ามา ธรรมะของพวกคุณมันเริ่มจากการฝึกทีละตัว มันไม่ผิดหรอกครับ แต่มันยังเป็นธรรมของกัลยาณชนซึ่งยังไม่เข้าใจเรื่องความดับไปเป็นธรรมดา ไม่ใชอริยชนผู้ซึ่งสามารถตระหนักชัดเข้าใจในเนื้อหาแห่งธรรมอันคือธรรมชาติ ธรรมอันสมังคี เป็นธรรมบนเส้นทางหลุดพ้นแท้จริงแล้วครับ ขี้เกียจอธิบายแล้ว
เอาเป็นว่า คุณไปทำกิจของคุณให้จบดีกว่า เรื่องนิพพาน คุณยังมาโพสต์แบบเดาในความน่าจะเป็นของคุณเลยผมนำเสนอในส่วนที่ผู้ที่เข้ามาอ่านด้วยความสนใจใน “ ธรรมอันดับไปสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา ” ในวิถีธรรมชาติแห่งธรรมเท่านั้นครับ
คุณเข้ามาค้านด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นการทำลายพระพุทธศาสนา แล้วถ้าแนวทางธรรมชาติเป็นแนวทางที่ถูกต้องล่ะ คุณเองจะอยู่ในฐานะไหนดี คุณเองนั่นแหละ ที่ทำลายพระพุทธศาสนาซะเอง “ ก็รู้ชัด ” ในสติปัฏฐาน คุณยังแปลไม่ออกแปลไม่ตรงเลย
ตัวเอง กิจยังไม่จบเลย กระทู้นี้เป็นธรรมปรมัถต์ แต่คุณใช้ความรู้ของคุณที่ยังกระพร่องกระแพร่ง ผมว่า ผู้ที่เค้าอ่านด้วยความสนใจ เขาคงพิจารณาออก ก็นะ แค่นั้นแหละ
( วิวาทะนี้ เป็นบทความเก่าที่ผู้เขียนเคยเขียนลงไว้ในเว็บบอร์ดธรรมะแห่งหนึ่ง เป็นการถกเถียงกันในเรื่องวิธีปฏิบัติ )


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


บทที่ 27 วิวาทะเรื่อง การพิจารณาธรรม
ผู้เถียง : ..............................................
ผู้ตอบ : ชัดเจนนะครับ เนื้อหาธรรมที่ลงไว้ก็บอกอยู่แล้ว หากไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็ศึกษา ก็พิจารณาสิครับ ว่า ขันธบรรพะ อายตนบรรพะ นิวรณ์บรรพะ โพชฌังคบรรพะ สัจจะบรรพะ คือธรรมะ เกี่ยวกับอะไร
แต่ถ้าคุณ อยากจะหลุดพ้นจากกองทุกข์ ทั้งปวง คำว่าทั้งปวง คือ ปรุงแต่งหยาบ ปรุงแต่งละเอียด ก็ล้วนไม่เที่ยงดับไปตามธรรมชาติอยู่แล้ว จุดประสงค์ ในเนื้อหาธรรม ในหนังสือที่ผมเขียน กำลังชี้ให้เห็น ถึงการปรุงแต่ง “ ในทุกระดับ ” ตั้งแต่ปรุงแต่งแบบหยาบๆ ยัน ปรุงแต่งแบบละเอียด
แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญามีความรอบรู้ มีความเข้าใจในธรรมเข้าใจถึงปัญหาและวิธีแก้ปัญหาอย่างชัดเจนตามวิธี “ ธรรมชาติ ” แล้ว ผู้มีปัญญาเหล่านี้พึงรู้ว่า การพิจารณาธรรมทุกๆหมวดเหล่านี้ ก็ล้วนเป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง
เอาแค่นี้ก่อน อ่านแล้วแยกแยะรู้เรื่องหรือเปล่า เมื่อไม่เข้าใจไม่รู้ ในความหมายธรรมะแต่ละตัว ก็ศึกษาพิจารณาสิครับ เพื่อให้หายจากความลังเลสงสัยในธรรม หนังสือที่ผมเขียนก็นำเสนอแบบนี้
แต่ธรรมะที่ผมเขียนไว้ในหนังสือ ก็นำเสนออีกว่า “ การพิจารณาธรรม ” นั้น ก็เป็น สังขตธาตุ หรือ การปรุงแต่งชนิดหนึ่งด้วยเช่นกัน

ก็นำเสนอไว้แบบนี้ แบบองค์ความรู้ถ้วนทั่ว แบบอุชุปฏิปันโน “ปฏิบัติตรงๆ” ตรงตามพุทธะประสงค์ ทั้งนี้ คุณจะเห็นว่า “ การพิจารณาธรรม ” มันก็ล้วนเป็นการปรุงแต่งอย่างหนึ่งโดยสภาพมันเอง มันก็ขึ้นอยู่กับ อินทรีย์แห่งปัญญาของคุณ ว่าจะรอบรู้ขนาดไหน ไม่ใช่เป็นการบังคับให้คุณต้องรู้นี่ เมื่อคุณเข้าใจตรงนี้เมื่อไร คุณก็จะ “ ร้องอ๋อ ” ของคุณเองเมื่อนั้น
ลองทำความเข้าใจในเนื้อความดูอีกทีนะครับ ไม่ใช่การบิดเบือน แต่เป็นการ ชี้ธรรม อันคาดไม่ถึง นะครับ เหมือนเส้นผมบังภูเขา
( วิวาทะนี้ เป็นบทความเก่าที่ผู้เขียนเคยเขียนลงไว้ในเว็บบอร์ดธรรมะแห่งหนึ่ง เป็นการถกเถียงกันในเรื่องวิธีปฏิบัติ )


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


บทที่ 28 วิวาทะเรื่อง ปัญหาต้องเข้าไปแก้ไข
ผู้เถียง : ..............................................
ผู้ตอบ : ก็เพราะ “ อวิชชาพาปรุงแต่ง ” เสมอๆ ว่ามีคุณและคุณกำลังปฏิบัติธรรม คุณมีปัญหา และ ต้องเข้าไปแก้ไขปัญหา
ขอย้ำนะครับ ก็ถ้าหากว่า ยังมีอวิชชา ในส่วนมืดข้างไหนส่วนไหนของคุณ สิ่งนั้นก็ไม่เที่ยง ปรุงแต่งเมื่อไร มันก็ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเองเมื่อนั้น อันนี้คือธรรมชาติ
แต่ถ้าหากยังฝังใจในความเข้าใจว่า มีคุณอยู่ คุณมีปัญหา และคุณต้องเข้าไปแก้ไขปัญหา ในการปฏิบัติธรรมของคุณ
มันก็เทียบเคียงมีความหมาย ว่า จิตคุณปรุงแต่งอยู่เสมอว่า จิตคุณยังไม่หลุดพ้น จิตที่ปรุงแต่งอยู่เสมอว่า จิตยังไม่หลุดพ้นนี้ มันก็ไม่เที่ยงล้วนดับไป เป็นความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
โดยแท้จริง มันไม่มีอะไรต้องแก้ไขกับอะไรอยู่แล้วครับ ปัญหาที่คุณว่านั้น แท้จริงมันก็ไม่เที่ยงดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว เพราะคุณเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามีมันและมันคือปัญหา คุณก็เลยปรุงแต่งซ้อนเข้าไปในการสาละวนที่จะหาวิธีเอาปัญหานี้ออก
แต่โดยความเป็นจริง ตัวปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหา ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้มันคือจิตปรุงแต่งของคุณเองทั้งนั้น
วิธีแก้ไขที่แท้จริงตามที่พระพุทธองค์ตรัส คือ คุณต้องตระหนักชัดว่า ตัวปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหานั้น คือ จิตปรุงแต่ง
และ จิตที่ปรุงแต่งที่บัญญัติว่านี่คือปัญหากับจิตที่ปรุงแต่งในการสาละวนเข้าไปแก้ไขปัญหานั้น จิตทั้งสองนี้ก็ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
มันเป็นการปรับไปสู่ความดับไปเป็นธรรมดาตามธรรมชาติในทุกๆส่วน
การปฏิบัติธรรมที่ตรงต่อสัจธรรมนั้นมันเป็นวิธีการของมันเอง คือ วิธีการธรรมดาวิธีการธรรมชาติของธรรมะที่มันดับไปโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
ไม่ใช่วิธีการที่คุณปรุงแต่งขึ้นว่าจะต้องลงมือทำโน้น ทำนี่และทำนั่น เพื่อให้จิตมันสงบลงนี่มันปรุงแต่งชัดๆ ปรุงแต่งเห็นๆ

( วิวาทะนี้ เป็นบทความเก่าที่ผู้เขียนเคยเขียนลงไว้ในเว็บบอร์ดธรรมะแห่งหนึ่ง เป็นการถกเถียงกันในเรื่องวิธีปฏิบัติ )


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร