วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 04:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


การบรรลุอริยสัจจธรรมขั้นต่อไป คือสกทาคามิมัคควิถี อนาคามิมัคควิถีและอรหัตตมัคควิถีนั้น มหากุศลที่เป็นโคตรภูก็เปลี่ยนเป็นโวทาน (ผ่องแผ้วขึ้น) เพราะท่านข้ามพ้นความเป็นปุถุชนแล้ว

ก่อนที่มัคควิถีจิตจะเกิดขึ้นได้นั้น มหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเกิดขึ้นระลึก ศึกษา รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมไปแต่ละชาติๆ จนกว่าปัญญาที่สังเกตรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมจะเพิ่มขึ้น เมื่อปัญญาสมบูรณ์มั่นคงถึงขั้นใด มหากุศลญาณสัมปยุตตจิตที่เป็นวิปัสสนาญาณก็เกิดขึ้นประจักษ์แจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ตามลำดับขั้นของวิปัสสนาญาณทางมโนทวาร คือ

วิปัสสนาญาณที่ ๑ นามรูปปริจเฉทญาณ

มหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเกิดขึ้นประจักษ์แจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่แยกขาดจากกันทีละอารมณ์ โลกปรากฏสภาพที่สูญเปล่าจากตัวตน ขณะนั้นไม่มีอัตตสัญญาที่เคยทรงจำสภาพธรรมรวมกันเป็นโลก เมื่อสภาพธรรมขณะนั้นปรากฏลักษณะที่เป็นอนัตตา สัญญาจำลักษณะที่เป็นอนัตตาของสภาพธรรมนั้นๆ จึงจะเริ่มมีได้ และสติปัฏฐานก็จะต้องระลึกถึงอนัตตสัญญาที่ได้ประจักษ์แล้วเมื่อพิจารณาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมอื่นๆต่อไป เพราะถ้าไม่ระลึกถึงอนัตตสัญญาที่ได้ประจักษ์แล้วในนามรูปปริจเฉทญาณเพิ่มขึ้นอีก อัตตสัญญาที่สะสมพอกพูนมาเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ก็หมดสิ้นไปไม่ได้

วิปัสสนาญาณที่ ๒ ปัจจยปริคคหญาณ

เมื่อวิปัสสนาญาณดับไปหมดแล้ว โลกก็ปรากฏรวมกันเหมือนเดิม ผู้เจริญสติปัฏฐานจึงรู้ชัดความต่างกันของขณะที่วิปัสสนาญาณเกิดขึ้นและขณะที่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ เมื่อวิปัสสนาญาณดับหมดแล้ว ความไม่รู้ ความสงสัยในนามธรรมและรูปธรรมอื่นๆ ก็เกิดอีกได้ เพราะ ความไม่รู้และความสงสัยยังไม่ดับเป็นสมุจเฉท นามรูปปริจเฉทญาณเป็นญาตปริญญาคือญาณที่รู้เฉพาะลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณเท่านั้น ในขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณนั้น ไม่มีความไม่รู้และความสงสัยลักษณะธรรมที่ปรากฏ นามรูปปริจเฉทญาณเป็นวิปัสสนาขั้นต้นที่นำทางไปสู่วิปัสสนาญาณ ขั้นต่อๆ ไป ที่ประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมเพิ่มขึ้น

เมื่อสติปัฏฐานระลึกรู้และพิจารณาสังเกตลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏต่อๆ ไปอีก ย่อมพิจารณารู้ขณะที่อารมณ์แต่ละอารมณ์ปรากฏว่า สภาพรู้แต่ละอย่างนั้นย่อมเกิดขึ้นตามปัจจัย คือ อารมณ์ ถ้าอารมณ์นั้นๆ ไม่ปรากฏ นามธรรมที่รู้อารมณ์ก็เกิดไม่ได้ การปรากฏของแต่ละอารมณ์ย่อมทำให้ปัญญาเห็นสภาพการเป็นปัจจัยของธรรมที่กำลังปรากฏ ทำให้รู้ลักษณะที่เป็นอนัตตาของธรรมทั้งหลายค่อยๆ คลายการเพ่ง ติดตามอารมณ์ด้วยความเป็นตัวตนลง เมื่อมัคค์มีองค์ ๘ ซึ่งเป็นสังขารขันธ์เจริญขึ้นสมบูรณ์ขณะใดก็ปรุงแต่งให้วิปัสสนาญาณที่ ๒ คือ ปัจจยปริคคหญาณเกิดขึ้น ประจักษ์การเกิดขึ้นของนามธรรมและรูปธรรมตามปัจจัยต่างๆ ในขณะที่สภาพธรรมนั้นๆ เกิดขึ้น เช่น ประจักษ์การเกิดขึ้นของนามได้ยินหรือเสียง ประจักษ์การเกิดขึ้นของสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรือนามคิดนึก ซึ่งปรากฏโดยสภาพที่แยกขาดจากกันทีละอารมณ์ โดยลักษณะสูญเปล่าจากตัวตน เป็นต้น

วิปัสสนาญาณประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นปรากฏตามปกติ แต่เป็นการประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมทางมโนทวาร ซึ่งแยกขาดลักษณะของแต่ละอารมณ์โดยลักษณะที่ว่างเปล่าจากสิ่งอื่นๆ และตัวตน เมื่อวิปัสสนาญาณดับหมดแล้ว โลกก็ปรากฏรวมกันเหมือนเดิม

วิปัสสนาญาณที่ ๓ สัมมสนญาณ

สัมมสนญาณเป็นปัญญาที่ประจักษ์แจ้งการเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็วของนามธรรมและรูปธรรม เมื่อไม่ใช่วิปัสสนาญาณ แม้จะพิจารณารู้ว่านามธรรมและรูปธรรมเกิดดับอย่างรวดเร็ว แต่การเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็วของนามธรรมและรูปธรรมก็ไม่ปรากฏ หรือแม้ในวิปัสสนาญาณที่ ๑ และที่ ๒ การประจักษ์แจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมก็เป็นการประจักษ์เฉพาะลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมทีละอย่างเท่านั้น

วิปัสสนาญาณที่ ๑, ๒, ๓ เป็นตรุณวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาญาณขั้นเริ่มแรกจึงเป็นวิปัสสนาที่ยังอ่อน ไม่ใช่พลววิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่มีกำลังที่เป็นวิปัสสนาญาณขั้นสูงขึ้นๆ ตรุณวิปัสสนายังมีการตรึกถึงนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังประจักษ์แจ้งแม้โดยอาการที่ว่างเปล่าจากโลกที่เคยรวมกัน

เมื่อยังมีการตรึกถึงนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังประจักษ์จึงชื่อว่า จินตาญาณ ซึ่งทำให้บางท่านเข้าใจว่าวิปัสสนาญาณทั้ง ๓ นี้คือขณะที่กำลังระลึก สังเกตรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม และเข้าใจชัดขึ้น แต่ตราบใดที่วิปัสสนาญาณยังไม่เกิดขึ้นก็ย่อมไม่สามารถรู้ได้ว่าวิปัสสนาญาณที่ประจักษ์แจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมทางมโนทวารนั้นจะเกิดขึ้นโดยความเป็นอนัตตา ณ สถานที่ใด ขณะใด และจะมีนามธรรมใดและรูปธรรมใดปรากฏเป็นอารมณ์กี่อารมณ์บ้าง

บางท่านเข้าใจว่า ขณะที่กำลังระลึกรู้ พิจารณาสังเกตรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม และคิดว่ารู้ชัดแล้วนั้นเป็นนามรูปปริจเฉทญาณแล้ว ที่เข้าใจอย่างนี้เพราะยังไม่รู้ว่า วิปัสสนาญาณต้องเกิดขึ้น ปรากฏโดยความเป็นอนัตตา เช่นเดียวกับนามธรรมอื่นๆ และการประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมสืบต่อกันทางมโนทวาร โดยลักษณะที่ทวารอื่นเสมือนถูกมโนทวารปิดบังไว้ โดยนัยตรงกันข้ามกับขณะที่วิปัสสนาญาณไม่เกิด ซึ่งแม้มโนทวารวิถีจิตเกิดคั่นปัญจทวารวิถีจิตทุกวาระ แต่มโนทวารวิถีจิตก็ไม่ปรากฏ เพราะอารมณ์ของปัญจทวารวิถีจิตปิดบังไว้

บางท่านคิดว่า ขณะที่พิจารณารู้ว่านามนี้เกิดจากรูปนี้ รูปนั้นเกิดจากนามนั้น จนเข้าใจแล้วนั้นเป็นวิปัสสนาญาณ คือ ปัจจยปริคคหญาณ แต่เมื่อนามรูปปริจเฉญาณยังไม่เกิดวิปัสสนาญาณอื่นๆ ก็เกิดไม่ได้ และเมื่อนามรูปปริจเฉทญาณเกิดแล้ว จะไม่เข้าใจผิดเลยว่าขณะที่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณนั้นเป็นวิปัสสนาญาณ ผู้ที่วิปัสสนาญาณเกิดแล้ว ย่อมรู้ความเป็นอนัตตาของวิปัสสนาญาณว่า วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นตามที่มัคค์มีองค์ ๘ (ปกติมีองค์ ๕) ปรุงแต่งไปจนถึงความสมบูรณ์ของวิปัสสนาญาณนั้นๆ วิปัสสนาญาณนั้นๆ จึงเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ฉะนั้นจึงเป็นผู้อบรมเจริญเหตุ คือ สติปัฏฐาน ระลึกศึกษา พิจารณา สังเกต รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมเป็นปกติต่อไปเรื่อยๆ เพิ่มขึ้น ละเอียดขึ้น

บางท่านคิดว่า เมื่อสัมมสนญาณเกิดขึ้นนั้น จะเห็นนามธรรมเกิดขึ้นและดับไปเป็นดวงกลมๆ ต่อๆ กัน นามธรรมไม่ใช่รูปธรรม เมื่อไม่รู้ลักษณะของนามธรรมซึ่งเป็นธาตุรู้ เพราะไม่ได้อบรมเจริญสติปัฏฐานระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมแต่ละประเภท ก็คิดว่านามธรรมที่เกิดดับนั้นมีลักษณะเหมือนกับรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ที่ใจร้อนอยากจะให้วิปัสสนาญาณเกิดเร็วๆ นั้น ย่อมพยามยามทำอย่างอื่นแทนการระลึกพิจารณาสังเกตลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดขึ้นปรากฏตามเหตุปัจจัยตามความเป็นจริง แต่ไม่มีทางจะเร่งรัดปัญญาได้เลย เหตุที่จะอบรมปัญญาให้ค่อยๆ เจริญขึ้นได้นั้น มีหนทางเดียว คือ สติปัฏฐานตามปกติในชีวิตประจำวันเท่านั้น ถ้าทำอย่างอื่นที่ผิดไปจากนี้ ก็แน่นอนที่ผลต้องผิดไปตามเหตุที่ผิดด้วย การปฏิบัติผิดนั้น เกิดจากการหวังผลอย่างรวดเร็วเพราะไม่เข้าใจหนทางปฏิบัติที่ถูก โลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับความเห็นผิดจึงเป็นมิจฉามัคค์ที่นำปสู่มิจฉาวิมุตติ คือการพ้นอย่างผิดๆ เพราะไม่ใช่การพ้นจากกิเลสอย่างถูกต้อง แต่ก็เข้าใจผิดว่าพ้นจากกิเลสแล้ว

วิปัสสนาญาณที่ ๔ อุทยัพพยญาณ

แม้ว่าวิปัสสนาญาณที่ ๓ จะประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปสืบต่อกันของนามธรรมและรูปธรรมอย่างรวดเร็วแล้วก็ตาม แม้กระนั้นปัญญาก็ยังไม่ละเอียดพอที่จะละคลายหรือเห็นโทษของการเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรม เพราะการเกิดขึ้นสืบต่อการดับไปนั้นเร็วจนปิดบังโทษของการเกิดดับ ปัญญาจะต้องสมบูรณ์ถึงขั้นต่อไป ที่แทงตลอดการเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมแต่ละประเภทชัดเจนยิ่งขึ้นอีก ซึ่งไม่มีใครจะพากเพียรทำอย่างอื่นได้ นอกจากพิจารณาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมต่อไปโดยไม่หวั่นไหว โดยทั่วไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมนามธรรมประเภทใด กุศลธรรม อกุศลธรรมขั้นใด ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ วิปัสสนาญาณขั้นที่ ๔ ซึ่งเป็นอุทยัพพยญาณนั้น ประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมแต่ละประเภทอย่างชัดเจนยิ่ง ซึ่งอุทยัพพยญาณจะเกิดขึ้นได้เมื่อตีรณปริญญา คือ ปัญญาที่พิจารณาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมได้ทั่วทั้ง ๖ ทางถึงความสมบูรณ์แล้ว ตราบใดที่สติปัฏฐานยังไม่ระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมได้ชัดเจนทั่วทั้ง ๖ ทวาร อุทยัพพยญาณก็ไม่มีปัจจัยที่จะเกิดได้เลย

ผู้ที่อบรมเจริญอริยมัคค์ คือ สัมมามัคค์ที่ถูกต้องจึงรู้ว่าไม่มีทางที่จะรู้แจ้งสภาพของพระ นิพพานซึ่งเป็นธรรมที่ดับกิเลสได้เลย ถ้าไม่อบรมเจริญปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติตามความเป็นจริงก่อน การที่จะรู้แจ้งสภาพของพระนิพพานโดยปัญญาไม่พิจารณารู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมทั้ง ๖ ทวาร โดยทั่วโดยละเอียดนั้น เป็นไปไม่ได้เลย เพราะถ้าไม่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมทั่วจริงๆ ก็ไม่รู้ว่านามธรรมและรูปธรรมแต่ละลักษณะนั้นต่างกันอย่างไร เมื่อไม่ประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่ต่างกันทั้ง ๖ ทวาร ก็ประจักษ์แจ้งการเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมไม่ได้ เมื่อไม่ประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมก็จะดับความไม่รู้ ความสงสัยและความเห็นผิดในสภาพธรรมไม่ได้เลย

วิปัสสนาญาณที่ ๕ ภังคญาณ

แม้ว่าอุทยัพพยญาณจะประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมแต่ละลักษณะอย่างชัดเจนแล้ว แต่ความยินดี พอใจ ยึดมั่นในสภาพธรรมทั้งหลายที่สะสมมาเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ก็ยังเหนียวแน่นอยู่ แสดงให้เห็นมูลรากที่ฝังแน่นของอวิชชาและตัณหาในความเป็นตัวตน ซึ่งปัญญาจะต้องอบรมเพิ่มขึ้นอีก โดยสติปัฏฐานระลึกรู้ลักษณะที่ได้ประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏแก่อุทยัพพยญาณแล้ว และจะต้องใฝ่ใจพิจารณาการดับไปของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏ เพื่อปัญญาจะได้เห็นความไม่มีสาระของนามธรรมและรูปธรรมที่ดับไปๆ เมื่อสติปัฏฐานเจริญขึ้น ปัญญาเพิ่มขึ้นจนมีปัจจัยสมบูรณ์พร้อมเมื่อไหร่ ภังคญาณก็เกิดขึ้นประจักษ์แจ้งความไม่มีสาระของการเกิดขึ้นและดับไปๆ ของสภาพธรรมที่ปรากฏ เป็นปหานปริญญาซึ่งจะนำไปสู่การเจริญปัญญาขั้นต่อๆ ไป ที่เริ่มจะละคลายความพอใจยึดมั่นในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล

วิปัสสนาญาณที่ ๖ ภยญาณ

เมื่อภังคญาณดับหมดแล้ว ผู้อบรมเจริญสติปัฏฐานก็รู้ว่ากิเลสทั้งหลายยังมีกำลังเกิดขึ้นเป็นไปตามการสะสม ซึ่งแม้จะใฝ่ใจระลึกถึงลักษณะที่ดับไปๆ ของนามธรรมและรูปธรรม ความยึดถือนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นตัวตนก็ยังฝังแน่นอยู่ซึ่งจะละคลายลงได้ก็ด้วยการเห็นภัยของการดับไปๆ ของนามธรรมและรูปธรรมนั่นเอง สติปัฏฐานและปัญญาจึงระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมต่อๆ ไป ด้วยการพิจารณาเห็นภัยของการดับไปๆ ของนามธรรมและรูปธรรม เมื่อปัญญาสมบูรณ์พร้อมด้วยปัจจัยขณะใด ภยญาณก็เกิดขึ้นเห็นภัยของนามธรรมและรูปธรรมในขณะที่กำลังประจักษ์แจ้งการเกิดดับของนามธรรมและรูปธรรมในขณะนั้น

วิปัสสนาญาณที่ ๗ อาทีนวญาณ

แม้ว่าภยญาณจะเห็นภัยของการเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมแล้ว เมื่อ ภยญาณดับไปแล้ว ความยินดีพอใจในการยึดถือนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นตัวตนก็ยังไม่หมดสิ้น ผู้เจริญสติปัฏฐานจึงรู้ว่าจะต้องเห็นโทษของนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดดับเพิ่มขึ้น โดยประการต่างๆ อีกจนกว่าจะคลายการยึดถือนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นตัวตนลงไปอีก เมื่อสติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดดับ ปัญญาก็เห็นโทษของการเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมละเอียดขึ้น จนปัจจัยสมบูรณ์พร้อมที่จะปรุงแต่งให้อาทีนวญาณเกิดขึ้นขณะใด อาทีนวญาณก็เกิดขึ้นประจักษ์แจ้งโทษของนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดดับในขณะนั้น

วิปัสสนาญาณที่ ๘ นิพพิทาญาณ

เมื่อประจักษ์แจ้งในโทษของสังขารธรรมทั้งหลาย ดุจเรือนที่ถูกไฟติดทั่วทั้งหลังแล้ว ย่อมคลายความยินดีในภพโดยความรู้ชัดความหน่ายลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏ จึงเป็นนิพพิทาญาณ

วิปัสสนาญาณที่ ๙ มุญจิตุกัมยตาญาณ

เมื่อปัญญารู้ชัดความหน่ายนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏเพิ่มขึ้นอีก ย่อมเกิดปัญญาที่ต้องการจะพ้นจากนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดดับปรากฏในขณะนั้น ปัญญาที่ต้องการจะพ้นจากนามธรรมและรูปธรรมเป็นมุญจิตุกัมยตาญาณ

วิปัสสนาญาณที่ ๑๐ ปฏิสังขาญาณ

เมื่อเกิดปัญญาที่ต้องการจะพ้นจากนามธรรมและรูปธรรมทั้งหลายยิ่งขึ้นแล้ว ปัญญาก็พิจารณาไตรลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายตามสภาวะที่เป็นอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะต่อไปอีก แล้วจึงประจักษ์อนิจจลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายที่เกิดดับๆ นั้น โดยเป็นสภาพที่ไม่แน่นอนเป็นที่สุด เป็นชั่วขณะ ง่อนแง่น แปรผัน ไม่ยั่งยืน ไม่มีสาระ ประจักษ์แจ้งในทุกขลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายที่เกิดดับๆ นั้น โดยสภาพที่บีบคั้นเนืองๆ ไม่มีทางหลีกเลี่ยง ไม่มีทางแก้ไข เป็นทุกขภัย คือ เป็นสภาพที่ไม่น่าพอใจติดข้อง ประจักษ์แจ้งในอนัตตลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายที่เกิดดับๆ นั้น โดยสภาพที่สูญไป สิ้นไป ไม่มีเจ้าของ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาได้ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งไตรลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายนั้นเป็นปฏิสังขาญาณ

วิปัสสนาญาณที่ ๑๑ สังขารุเปกขาญาณ

เมื่อปัญญาประจักษ์แจ้งไตรลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายเพิ่มยิ่งขึ้นแล้ว ทำให้สังขารธรรมทั้งหลายที่เคยปรากฏโดยเป็นสภาพที่เที่ยง เป็นสุข และเป็นตัวตน อ่อนกำลังลงจนเกิดความวางเฉยในสังขารธรรมทั้งหลาย เพราะรู้ชัดว่าตราบใดที่ยังไม่ถึงกาลที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของพระนิพพานโดยมีพระนิพพานปรากฏเป็นอารมณ์ ตราบนั้นก็พิจารณาไตรลักษณะ ลักษณะหนึ่งลักษณะใดเป็นอารมณ์ไปเรื่อยๆ ปัญญาที่รู้ชัดในความวางเฉยในสังขารธรรมทั้งหลายที่เกิดดับปรากฏนั้น เป็นสังขารุเปกขาญาณ สังขารุเปกขาญาณนี้เป็นวิปัสสนาอันบรรลุถึงยอด เป็นวุฏฐานคามินีปัญญา คือปัญญาอันเป็นเหตุพาพ้นออกไปจากภาวะแห่งปุถุชนเมื่อมัคควิถีเกิดขึ้น

วิปัสสนาญาณที่ ๑๒ อนุโลมญาณ

อนุโลมญาณเป็นวิปัสสนาญาณในมัคควิถี ซึ่งอนุโลมต่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม อนุโลมญาณเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๓ ขณะในมัคควิถี คือ บริกัมม์ ๑ ขณะ อุปจาร ๑ ขณะ อนุโลม ๑ ขณะ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๓ ขณะนี้มีไตรลักษณ์ลักษณะหนึ่งลักษณะใดเป็นอารมณ์ คือ มีอนิจจลักษณะของสังขารธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีทุกขลักษณะของสังขารเป็นอารมณ์ หรือมี อนัตตลักษณะของสังขารธรรมเป็นอารมณ์ ซึ่งอนุโลมต่อการที่จะปล่อยอารมณ์ที่เป็นสังขารธรรม๑

สำหรับบุคคลที่เป็นติกขบุคคล คือมีปัญญากล้าบรรลุอริยสัจธรรมได้เร็ว อนุโลมญาณก็มี ๒ ขณะ คือ เว้นขณะบริกัมม์ ๑ ขณะ และเพิ่มผลจิตเป็น ๓ ขณะ

วิปัสสนาญาณที่ ๑๓ โคตรภูญาณ

เมื่ออนุโลมญาณ ๓ ขณะ (สำหรับผู้เป็นมัณทบุคคลคือผู้บรรลุอริยสัจจธรรมช้ากว่าติกขบุคคล) หรือ ๒ ขณะ (สำหรับผู้เป็นติกขบุคคล) ดับไปแล้ว โคตรภูญาณ คือ มหากุศลญาณสัมป ยุตตจิต ก็เกิดต่อโดยน้อมไปมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นอาเสวนปัจจัยให้โสตาปัตติมัคคจิตเกิดต่อมีนิพพานเป็นอารมณ์ โดยเป็นโลกุตตรกุศลจิตที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉท

ธรรมดาของชวนวิถีในวาระเดียวกัน ๗ ขณะนั้นต้องมีอารมณ์เดียวกัน แต่ในมัคควิถีนั้นชวนวิถี ๗ ขณะ มีอารมณ์ต่างกัน คือ บริกัมม์ ๑ ขณะ อุปจาระ ๑ ขณะ อนุโลม ๑ ขณะ มีไตรลักษณ์ลักษณะหนึ่งลักษณะใดใน ๓ ลักษณะเป็นอารมณ์ แต่โคตรภูจิต ๑ ขณะ มัคคจิต ๑ ขณะ ๑ สัจจสังเขป ข้อ ๓๕๗ และผลจิต ๒ ขณะ มีนิพพานเป็นอารมณ์ เมื่อโคตรภูจิตเป็นมหากุศลจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ขณะแรก จึงเป็นดุจอาวัชชนะของโสตาปัตติมัคคจิตซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ต่อจากโคตรภูจิต โสตาปัตติมัคคจิตจึงทำกิจดับกิเลสได้

ข้อความในอัฏฐาสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์ พรรณนาโลกุตตรกุศล และวิสุทธิมัคค์ ญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส อุปมาอนุโลมญาณและโคตรภูญาณ ดุจบุรุษผู้แหงนดูดวงจันทร์ในเวลากลางคืน ขณะนั้นดวงจันทร์ไม่ปรากฏเพราะเมฆหมอกกำบังไว้ ทันใดนั้นมีลมกองหนึ่งพัดเมฆก้อนทึบนั้นให้กระจายไปแล้วลมอีกกองหนึ่งก็พัดเมฆที่กระจายแล้วนั้นให้ออกไปอีก แล้วลมอีกกองหนึ่งก็พัดเมฆแม้ละเอียดที่ปิดบังดวงจันทร์นั้นให้ออกไป บุรุษนั้นจึงเห็นดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆปิดบัง นิพพานเปรียบดุจดวงจันทร์ อนุโลมญาณ ๓ ขณะเปรียบดุจลม ๓ กอง โคตรภูญาณเปรียบดุจบุรุษผู้เห็นดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆปิดบัง

อนุโลมญาณ ๓ ขณะเหมือนลม ๓ กองซึ่งอาจกำจัดเมฆที่ปิดบังดวงจันทร์ได้ แต่ไม่อาจเห็นดวงจันทร์ ฉันใดอนุโลมญาณก็บรรเทาความมืดอันปกปิดสัจจะได้ แต่ไม่อาจเห็นนิพพานได้ ฉันนั้น และบุรุษนั้นอาจเห็นดวงจันทร์ได้อย่างเดียวแต่ไม่สามารถกำจัดเมฆได้ ฉันใด โคตรภูญาณก็ฉันนั้น คือ อาจเห็นนิพพานได้ แต่ไม่อาจทำลายความมืด คือ กิเลสได้

วิปัสสนาญาณที่ ๑๔ มัคคญาณ

เมื่อโคตรภูจิตดับไปแล้ว โสตาปัตติมัคคจิตที่เกิดต่อก็ข้ามพ้นสภาพความเป็นปุถุชนสู่ความเป็นพระอริยบุคคล โสตาปัตติมัคคจิตเกิดขึ้นดับกิเลสเป็นสมุจเฉท ตามขั้นของโลกุตตรปัญญา

วิปัสสนาญาณที่ ๑๕ ผลญาณ

เมื่อโสตาปัตติมัคคจิตซึ่งเป็นโลกกุตตรกุศลจิตดับไปแล้วก็เป็นปัจจัยให้โสตาปัตติผลจิตซึ่งเป็นโลกุตตรวิบากจิตเกิดสืบต่อโดยไม่มีจิตอื่นเกิดคั่นเลย โลกุตตรกุศลจิตเป็นอกาลิโกเป็นกัมมปัจจัยที่ทำให้โลกุตตรวิบากจิตเกิดสืบต่อทันทีโดยไม่มีจิตอื่นเกิดคั่นเลย โลกุตตรวิบากจิตจึงเป็นวิบากจิตที่ต่างกับวิบากอื่นๆ คือ ทำชวนกิจสืบต่อจากโลกุตตรกุศลจิต ๒ หรือ ๓ ขณะ ในมัคควิถี และโลกุตตรวิบากคือผลจิตซึ่งเกิดภายหลังมัคควิถีนั้นก็ทำชวนกิจ ไม่ทำกิจของวิบากจิตอื่นๆ เลย

วิปัสสนาญาณที่ ๑๖ ปัจจเวกขณญาณ

เมื่อมัคควิถีจิตดับไปแล้ว ภวังคจิตก็เกิดสืบต่อ และหลังจากนั้นมโนทวารวิถีจิตก็เกิดขึ้น พิจารณาสภาพธรรมที่เพิ่งประจักษ์แจ้ง ที่ละวาระ คือ พิจารณามัคคจิต วาระ ๑ พิจารณาผลจิต วาระ ๑ พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว วาระ ๑ พิจารณากิเลสที่ยังเหลือ วาระ ๑ พิจารณานิพพาน วาระ ๑

สำหรับผู้ที่บรรลุอรหัตตมัคค์และอรหัตตผลนั้น ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลือ เพราะอรหัตตมัคคจิตดับกิเลสทุกประเภทหมดเป็นสมุจเฉท ไม่มีกิเลสใดๆ เหลือเลย

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เอามาฝากครับ
Quote Tipitaka:
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

พรรณนาปัญหาว่าอะไรเอ่ยชื่อว่า ๒

พระศาสดา ผู้มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์นี้อย่าง

นี้แล้ว จึงตรัสถาม หายิ่งในรูป เหมือนนัยแรกว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า ๒

พระเถระกล่าวซ้ำว่า เทฺว๒ทูลตอบด้วยเทศนาเป็นบุคลาธิษฐานว่า คือนาม

และรูป. บรรดานามและรูปนั้น เรื่องที่มิใช่รูปทั้งหมด ท่านเรียกว่านาม เพราะ

น้อมมุ่งหน้าสู่อารมณ์อย่างหนึ่ง เพราะเป็นเหตุน้อมจิตไปอย่างหนึ่ง. แต่ในที่นี้

ท่านประสงค์เอาธรรมที่มีอาสวะเท่านั้น เพราะเป็นเหตุแห่งนิพพิทาความหน่าย

ส่วนมหาภูตรูป ๔ และรูปทั้งหมดที่อาศัยมหาภูตรูปนั้นเป็นไป ท่านเรียกว่า

รูป เพราะอรรถว่า แตกสลาย. รูปนั้นในที่นี้ ท่านประสงค์เอาทั้งหมด.

แต่พระเถระกล่าวในที่นี้ว่า ชื่อว่า ๒ คือนามและรูป ก็โดยความประสงค์นี้

แล มิใช่กล่าวเพราะไม่มีธรรม ๒ อย่างอื่น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในธรรม๒อย่างภิกษุ

เมื่อหน่ายโดยชอบฯลฯย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ใน

ธรรม๒อย่างคือนานและรูปดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ในธรรม๒อย่างนี้แลภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบฯลฯ

ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้คำนั้นใดว่าปัญหา๒

อุทเทส๒ไวยากรณ์๒ดังนี้คำนี้เราอาศัยอันนี้

กล่าวแล้ว.

ก็ในปัญหาข้อนี้ พึงทราบว่า

ภิกษุละอัตตทิฏฐิความเห็นว่าเป็นตนได้

ด้วยการเห็นเพียงนามรูปแล้ว

เมื่อหน่ายโดยมุขคือการพิจารณาเห็นอนัตตา

ย่อมจะเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ ย่อมบรรลุปรมัตถวิสุทธิได้ เหมือนอย่างที่

ตรัสไว้ว่า

สพฺเพธมฺมาอนตฺตาติยทาปญฺญายปสฺสติ

อถนิพฺพินฺทติทุกฺเขเอสมคฺโควิสุทฺธิยา.

เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งวิสุทธิ ดังนี้.

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 16:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 20:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b23: :b23: :b23:
สงสารตัวเอง...แปลก ๆ...แฮะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b23: :b23: :b23:
สงสารตัวเอง...แปลก ๆ...แฮะ
สงสารเรื่องไร :b12: พี่กบ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 20:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


สงสาร...ที่ไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้เลย...นะดิ...พี่บิ๊ก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สงสาร...ที่ไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้เลย...นะดิ...พี่บิ๊ก
ใช่เหรอ :b12:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับผู้ที่บรรลุอรหัตตมัคค์และอรหัตตผลนั้น ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลือ เพราะอรหัตตมัคคจิตดับกิเลสทุกประเภทหมดเป็นสมุจเฉท ไม่มีกิเลสใดๆ เหลือเลย[/quote]


ไม่ถูกต้องขอรับ (นี้ไม่ได้เป็นการคัดค้านหรือก่อกวนนะขอรับ) เพราะในทางที่เป็นจริงแล้ว มันขึ้นอยู่กับยุคสมัย ถ้าเป็นในสมัยปัจจุบัน แม้จะสำเร็จ อรหันต์ แล้ว ก็ยังต้องพิจารณากิเลสต่างๆที่ได้รับสัมผัสจากการปฏิสัมพันธ์ กับสังคมสิ่งแวดล้อม
เพื่อมิให้คลื่นแห่งกิเลสเข้าครอบงำ ผู้สำเร็จอรหันต์จะต้องกำหนดรู้ภายในจิตของตน และขจัดอาสวะออกจากร่างกายทุกครั้ง
ในยุคสมัยนี้ ผู้คน แสงสี เสียง มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง จะหลบไปอยู่ในป่าก็ยังมี แสงสี เสียง เพราะถ้าบุคคลผู้สำเร้จอรหันต์ เป็นนักบวช ก็ยังคงต้องการอาหารจากผู้ศรัทธา นั่นแหละสะพานนำไปสู่กิเลสขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 20:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ถูก...ทั้งคู่..นั้นแหละ...อิอิ

แต่ถ้าจะถูก.....ก็ถูกแบบมีเงื่อนไข... :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ประวัติอาจารย์ แนบ มหานีรานนท์

โพสท์ในลานธรรมเสวนาโดยคุณ : pug กระทู้ที่ 003398 [ 11 ก.ย. 2544 ]
ชาตะ 31 มกราคม พ.ศ. 2440 มรณะ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2526 อายุ 86 ปี
ท่านเป็นศิษย์เอกของ พระอาจารย์ ภัททันต วิลาสะ ที่ได้รับการถ่ายทอดธุระ 2 อย่างในพุทธศาสนาอย่างดีเยี่ยม และเป็นผู้ที่ทำให้วงการปริยัติศาสนาและปฏิบัติในเมืองไทยตื่นตัว ท่านเป็นคนแรกที่นำพระอภิธรรมมาสอนในเมืองไทย
ชีวิต และ งาน ของ อาจารย์ แนบ มหานีรานนท์
31 ม.ค. 2440 ท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ได้ถือกำเนิดเป็นบุตรีของพระยาสัตยานุกูล อดีตเจ้าเมืองกาญจนบุรี และคุณหญิงแปลก นางพระกำนัลในรัชกาลที่ 5
พุทธศักราช 2474 อายุประมาณ 34 ได้เกิดมีความรู้สึกจากผลการปฏิบัติของตนว่า วิธีที่จะละกิเลสให้ลดน้อยถอยลงไปสู่ทางพระนิพพานได้นั้น น่าจะต้องรู้อยู่ที่ อารมณ์ปัจจุบัน เท่านั้น แต่การทดลองปฏิบัติขณะนั้นได้แต่ทางตาอย่างเดียว จึงเที่ยวแสวงหาพระอาจารย์ต่างๆ ที่จะบอกทางที่เป็นปัจจุบันให้เข้าใจได้ เที่ยวแสวงหาอยู่เป็นเวลานาน ก็ยังไม่พบเหตุผลตรงกับที่เกิดความรู้สึกกับตนเอง ดังกล่าวแล้วได้
พุทธศักราช 2475 ได้พบกับพระอาจารย์วิลาสะ อดีต พระอธิการวัดปรก ตรอกจันทร์ ยานานาวา ได้แนะนำว่า การเจริญธรรม ต้องเจริญโดยกำหนดปัจจุบันอารมณ์ได้ตลอดทั้งหมดทุกทวาร ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ จึงได้เหตุผลตรงกัน และได้มอบตัวเป็นศิษย์ท่านทันที
ขั้นแรก พระอาจารย์สอนให้ทำความเข้าใจใน รูปนาม อันเป็นอารมณ์ปัจจุบัน ตลอดทั่วทั้ง 6 ทวารดังกล่าวแล้ว เรียนอารมณ์รูปนามอยู่ 7 วัน จึงได้เริ่มเข้าปฏิบัติโดยพระอาจารย์วิลาสะ เป็นผู้กำกับตรวจสอบ ประมาณปีเศษ ประสบผลสำเร็จ ดีกว่าบรรดาศิษย์ทั้งปวง
จึงได้เรียนพระอภิธรรมจากพระอาจารย์ ฯ ต่อไปอีกหลายปี โดยมีล่ามภาษาพม่าคอยช่วยเหลืออยู่ตลอดมา นับว่าได้รับคำสอนจากพระอาจารย์รูปนี้อย่างดีเลิศทั้งหมด จนพระอาจารย์ขอร้องให้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์วิปัสสนา และสอนพระอภิธรรมแทนท่าน
พุทธศักราช 2487 ได้จัดตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนา ที่วัดระฆังโฆสิตาราม . วันสามพระยา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สำนักนาฬิกาวัน อยุธยา , วัดป่าธรรมโสภณ ลพบุรี ได้เดินทางไปอบรมสอนวิปัสสนา และสนับสนุนการตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนาในจังหวัดต่างๆ รวมถึง 41 จังหวัด และยังเดินทางไปสอนวิปัสสนา ที่เวียงจันทร์ ประเทศลาว
พุทธศักราช 2496 เปิดการศึกษาพระอภิธรรม และเป็นอาจารย์สอนประจำ ที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นเวลา 10 ปี ได้บันทึกหัวข้อพระอภิธรรมขึ้นประกอบการสอน ที่พุทธสมาคม ไว้ตั้งแต่ปริจเฉทที่ 1 – 9 รวม 14 เล่ม และพิมพ์หนังสือ เกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจากคำสอน และการแสดงปาฐกถาธรรมอีกมากมายหลายเล่ม นับเป็นหนังสือคำสอนพระอภิธรรมและวิปัสสนากัมมัฏฐานเล่มแรกของประเทศไทย ที่ยังไม่เคยมีใครจัดทำมาก่อน
พุทธศักราช 2506 ได้จัดตั้งสมาคมศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา และสมาคมสังคมสงเคราะห์ทางจิต ที่วัดสระเกศราชวรวิหาร และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมทั้งสองแห่ง จนถึงมรณะ
ระหว่างนั้นท่านยังคงเดินทางไปอบรมสั่งสอนที่สำนักวัดระฆัง วัดสระเกศ วัดพระเชตุพน สำนักปฏิบัติวิปัสสนาอ้อมน้อย, สำนักปฏิบัติธรรมบุณยกัญจนาราม พัทยา ชลบุรี, สำนักนาฬิกาวัน, สำนักวิวัฏฏะ , สำนักวัดสบสวรรค์ ที่จังหวัดอยุธยา, วัดไทรยืด, วัดโพธิ์เอน อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง , สำนักที่นครสวรรค์, วัดแจ้งนอก โคราช, วัดป่าธรรมโสภณ ลพบุรี, วัดปราสาททอง สุพรรณบุรี, และยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคณะผู้แปลคำบาลี ที่จารึกในใบลานด้วยอักษรขอมได้เป็นอย่างดีเยี่ยม ถึงแม้ว่าขณะนั้นสุขภาพจะทรุดโทรมลงมากแล้วก็ตาม

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2012, 06:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ คุณ Bigtoo

เพิ่มเติมการบรรยาย เรื่องวิสุทธิ อย่างละเอียด โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์


พระพุทธพจน์

สพฺพโส นามรูปสฺมึ
ยสฺส นตฺถิ มมายตํ
อสตา จ น โสจติ
ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ

[i]ผู้ใดไม่มีความยึดถือในนามรูป
ว่าของเราโดยประการทั้งปวง
และย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มีอยู่
ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นภิกษุ[/i]

ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

-------------------------------------------------------------------

[b]ทิฏฐิวิสุทธิ[/b]

คัดลอกจากหนังสือ แนะแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาและวิสุทธิ ๗ ที่จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส ๑๐๘ ปี อุบาสิกาแนบ มหานีรานนท์

บรรยายที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วันเสาร์ที่ ๑๑ กันยาน ๒๕๐๘

http://larndham.org/index.php?/topic/19 ... %E0%B8%B4/

------------------------------------------------

เพิ่มเติมเรื่อง วิสุทธิ ๗ และโสฬสญาณ ได้จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ดังนี้
๒๔ . รถวินีตสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/p ... a/4.3.html


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๕๐๔๔ - ๕๑๐๘. หน้าที่ ๒๐๕ - ๒๐๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=292


------------------------------------------------------------

จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ กรรมฐานสังคหวิภาค

โสฬสญาณ (วิปัสสนาญาณ ๑๖)

http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/069.htm
-------------------------------------------------

ทิฏฐิวิสุทธิ จาก คณาจารย์แห่ง อภิธรรมมูลนิธิ

วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖
http://abhidhamonline.org/visudhi.htm

------------------------------------------------
:b8: :b8: :b8:

เพิ่มเติม คำสอนของอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ได้ที่

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... x-page.htm

--------------------------------------------------------------
แนะแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2012, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์1 เขียน:
สาธุครับ คุณ Bigtoo

เพิ่มเติมการบรรยาย เรื่องวิสุทธิ อย่างละเอียด โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์


พระพุทธพจน์

สพฺพโส นามรูปสฺมึ
ยสฺส นตฺถิ มมายตํ
อสตา จ น โสจติ
ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ

ผู้ใดไม่มีความยึดถือในนามรูป
ว่าของเราโดยประการทั้งปวง
และย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มีอยู่
ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นภิกษุ


ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

-------------------------------------------------------------------

ทิฏฐิวิสุทธิ

คัดลอกจากหนังสือ แนะแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาและวิสุทธิ ๗ ที่จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส ๑๐๘ ปี อุบาสิกาแนบ มหานีรานนท์

บรรยายที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วันเสาร์ที่ ๑๑ กันยาน ๒๕๐๘

http://larndham.org/index.php?/topic/19 ... %E0%B8%B4/

------------------------------------------------

เพิ่มเติมเรื่อง วิสุทธิ ๗ และโสฬสญาณ ได้จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ดังนี้
๒๔ . รถวินีตสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/p ... a/4.3.html


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๕๐๔๔ - ๕๑๐๘. หน้าที่ ๒๐๕ - ๒๐๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=292


------------------------------------------------------------

จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ กรรมฐานสังคหวิภาค

โสฬสญาณ (วิปัสสนาญาณ ๑๖)

http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/069.htm
-------------------------------------------------

ทิฏฐิวิสุทธิ จาก คณาจารย์แห่ง อภิธรรมมูลนิธิ

วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖
http://abhidhamonline.org/visudhi.htm

------------------------------------------------
:b8: :b8: :b8:

เพิ่มเติม คำสอนของอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ได้ที่

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... x-page.htm

--------------------------------------------------------------
แนะแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180

ขอบคุณ"เฉลิมศักดิ์1มากครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2012, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ตามเข้าไปอ่านใน ลิงค์ ที่คุณเฉลิมศักดิ์ แนะนำ ไปเจอมาครับ

ท่านวางอนิจจลักษณะไว้ ๑๐ อย่าง ทุกขลักษณะ ๒๕ อย่าง และอนัตตลักษณะ ๕ อย่าง รวมทั้งหมดเป็น ๔๐ ด้วยกัน นี่กรรมฐานของวิปัสสนา


อนิจจัง 10 ประการ คือ...........
ทุกขัง 25 ประการคือ............
อนัตตา 5 ประการคือ.............

ตอนนี้ยังไม่มีคำตอบครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร